วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

316. Review 4th Decade after October 14 (1973) Uprise: Labour-Farmer-Student


316.  ทบทวน ๔ ทศวรรษ ๑๔ ตุลา (๒๕๑๖) วันมหาวิปโยค: แรงงาน-ชาวนา-นักศึกษา

รายงานเสวนา 3 ประสาน “4 ทศวรรษ บทเรียนและประสบการณ์ขบวนการชาวนา กรรมกร นักศึกษา
-ประชาไท, Sun, 2013-10-13 17:39
Report: Panel Discussion on 3 Confluents “Four Decades and Experiences of Farmer-Labour-Student Movements”
-Prachathai, 13 Oct. 2013
Translation: Darunee Tan
มูลนิธิ 14 ตุลา ร่วมกับกลุ่มเพื่อนประชาชนจัด "สามประสานกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคมถกบทเรียน 4 ทศวรรษ ของการเคลื่อนไหว นักศึกษาร่วมแจมชี้ความคิดแบบปัจเจคนิยม ทำลายพลังนักศึกษา
The 14 October Foundation and Friends of the People Group jointly organized a forum on “Three Confluents and Construction of a Just Society” to discuss lessons learned from the four decades of the movements.  Students added that individualism destroyed Students Power.
13 ต.ค.56 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มูลนิธิ 14 ตุลา ร่วมกับกลุ่มเพื่อนประชาชน “4 ทศวรรษ บทเรียนและประสบการณ์ขบวนการชาวนา กรรมกร นักศึกษาโดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย จตุรงค์ บุญยรัตนสุนทร อดีตรองเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สมปอง เวียงจันทร์ ผู้นำชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูล แตงอ่อน เกาฏีระ อดีตผู้นำสหภาพแรงงานอ้อมน้อย บำรุง คะโยธา อดีตเลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และนวพล อินทรสุวรรณ กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13 October 2013, at the 14 October Monument, the 14 October Foundation and Friends of the People Group held a panel discussion “Four Decades of Lessons and Experiences of Farmer-Labour-Student Movements”.  Panelists are Jaturong Boonyarattanasunthorn (former secretariat of Students Center of Thailand, SCT), Sompong Viangchan (community leader, Pak Moon Dam), Taeng-orn Kaotira (former leader, Orm-noi Labour Union), Bamrung Khayotha (former secretariat, Small-Farmers’ Assembly of Isan), Sawit Kaewwaan (former secretariat, Federation of State Enterprise Labour Relations), and Nawabhon Intharasuwan (Saphansoong Group, Thammasat Univ./TU).
แตงอ่อน เกาฏีระ / Ms.Taneg-orn Kaotira
รัฐประหารทำลายอำนาจกรรมกร
Coup d’etat Destroyed Labour Power
แตงอ่อน เกาฏีระ อดีตผู้นาสหภาพแรงงานอ้อมน้อย เล่าว่าตนทำงานตั้งแต่ 2497 และปี 2499 นั้นคนงานมีการชุมนุมที่บ้านมนังคศิลาจนได้ กฏหมายแรงงานขึ้นมา แต่ใช้ได้เพียงปีเดียว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กฏทำการรัฐประหาร รวมทั้งยกเลิก กฏหมายแรงงาน ส่งผลให้นายทุนเลิกจ้าง ไม่มีการขึ้นค่าแรง ได้อย่างสะดวกนอกจากยกเลิกกฏหมายแรงงานแล้ว ก็มีมาตรา 17 และกฏหมายคอมมิวนิสต์ ในการจัดการกับผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง
Taeng-orn Kaotira, former leader of Orm-noi Labour Union, said: during 1954 and 1956, workers gathered and protested at Ban Manangkhasila (govt. house then) until the Labour Law was passed, but lasted only one year.  FM Sarit Thanarat staged a coup d’etat wiped out that Labour Law, conveniently opened way for layoff, and wage freeze.  In addition, it used Article 17 and Communist Law to clamp down anyone coming out for movements.
แตงอ่อน เล่าว่าตนได้มีโอกาสพบกับคุณประสิทธิ์ ไชโย ที่เข้ามาเป็นช่างในโรงงาน พบกับการกดขี่ไม่ขึ้นค่าแรงจึงอาสาเป็นตัวแทนเจรจากับนายจ้าง ซึ่งขณะนั้นตนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเจรจาเพราะจากบทเรียนของตนที่ผ่านมา หากใครเสนอหน้าเจรจากับนายจ้างมักจะถูกเลิกจ้างและตั้งข้อหาต่างๆมากมาย แต่คุณประสิทธิ์ไม่กลัว โดยในปี 15 โรงงานที่ตนอยู่คนงานทำการสไตร์คเพียงแค่วันเดียวก็ได้ข้อเรียกร้องค่าแรง และสวัสดิการ เนื่องจากคนงานทุกคนพร้อมกันออกมา
Taeng-orn said, she had an opportunity to meet with Mr. Prasit Chaiyo, who was then a factory technician.  Having experienced wage freeze, he volunteered to represent the workers to negotiate with the employers.  At that time, Taeng-orn did not think it was possible based on her past experience: whoever dared to do so would be fired or accused of many wrong doings.  But Prasit was not afraid.  In 1972, workers of her factory organized a strike for only one day.  Consequently, their demand for wage increase and welfare was granted, because all the workers came forward in unison.

บทบาทนักศึกษาช่างกลพระราม 6 และธรรมศาสตร์
Roles of Students from Phra Ram 6 Technical College and Thammasat Univ. (TU)

แตงอ่อน เล่าต่อว่า หลังจากนั้นประสิทธิ์ ไชโย ก็จดทะเบียนเป็นสมาคมลูกจ้าง จึงเริ่มกระบวนการจัดตั้ง และจดทะเบียนเป็นกิจการทอผ้าในลักษณะประเภทอุตสาหกรรมทำให้คนงานโรงงานอื่น สามารถร่วมกันได้มาก จนถึงปี 17 มีการหยุดงาน จากวิกฤติเศรษฐกิจโรงงานสั่งพักงานคนงานจำนวนมาก ทำให้คุณประสิทธิ์ปรึกษากับผู้นำคนงานอื่น จึงตัดสินใจ เดินขบวนจาก อ้อมน้อย ไปพระประแดง เมื่อเดือน มิ.ย. และเดินขบวนจากพระประแดงมาที่ กรมแรงงาน กทม. ส่งผลให้มีคนอื่นเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และคนเยอะมากจึงย้ายออกมาที่สนามหลวง มีการจัดกลุ่มดูแลความปลอดภัย มีนักศึกษาช่างกลพระราม 6 มาช่วยดูแลเป็นหน่วยฟันเฟืองให้ นักศึกษาและอาจารย์ที่นี้เห็นใจคนจน และได้ใช้ที่ธรรมศาสตร์ในการทำอาหาร
Taeng-orn continued, after that Prasit Chaiyo established and registered as Employees Association.  That’s the beginning of labour movements and registration as an organization in the category of textile manufacturing sector.  Workers in other factories followed suit; this enabled them to come closer together.  In 1974, there was a big strike due to economic crisis, many factories laid off a lot of workers.  Prasit consulted with other labour leaders and decided to hit the street in June, marching from Orm-noi to Phra Padaeng, and then from Phra Padaeng to the Labour Department in Bangkok.  A lot of people joined in, so many that the rally had to move to Sanam Luang (a large public field in front of TU).  Students from Phra Ram 6 Technical College came to serve as security guards for the big crowd.  General public including students, teachers/professors who were empathetic with the poor joined the crowd.  A kitchen was set up at TU to feed the crowd there.
ครั้งนั้นเราเจรจา 8 วัน  7 คืน โดยมีประสิทธิ์ ไชโย และเทิดภูมิ ใจดี ผู้นำกรรมกรขณะนั้นเป็นตัวแทนเจรจากับนายกฯ จึงค่าแรงขั้นต่ำ 20 บาทต่อวัน และหลังจากนั้น ม.ค.18 รัฐบาลประกาศให้ค่าแรงขั้นต่ำ 25 บาทต่อวัน จนกระทั้งปี 18 เรามีการชุมนุมกันมา และตอน 17 เรามาก็อาศัยนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ในการหุงข้าว
That time, the negotiation went on for 8 days, 7 nights in which Prasit Chaiyo and Therdphoom Jaidee, a labour leader represented the workers to negotiate with the Prime Minister.  The demand to increase the minimum daily wage from 20 to 25 baht was eventually approved on Jan.1975.  TU students supported both movements in 1974 and 1975 by cooking on campus for the people.

จากสไตร์คถึงการชุมนุมอย่างมีการจัดตั้ง
From Strike to Organized Gathering

แตงอ่อน กล่าวว่ากรรมกรขณะนั้นพึ่งเริ่มต้นเคลื่อนไหวชุมนุมอย่างมีการจัดตั้งรวม กลุ่มกันในปี 17 แต่ก่อนมีจะเป็นเพียงการสไตร์ค จนกระทั่งปี 18 มีการจัดงานวันกรรมกร กรรมกรจึงได้พบกับขบวนการชาวนา นำโดยนายใช่ วังตระกูล ที่มาร่วมจัดงานกับนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ จะเห็นได้ว่ากรรมกร ชาวนา และนักศึกษา มีการรวมกันตั้งแต่ตอนนั้น แต่ไม่มีการจัดตั้งที่เข้มแข็ง จนปี 19 ฝ่ายนายทุนเข้มแข็งมาก มีการจัดตั้ง กอ.รมน. เข้ามาสืบข่าวความเคลือนไหวของกรรมกร ชาวนาและนักศึกษา ซึ่งขณะนั้นมีการก่อตัวเป็นองค์กร 3 ประสานที่มีประสิทธิ ไชโย เป็นรองประธาน และมีเทิดภูมิ ใจดี เป็นประธานองค์กร โดยเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นเลขาธิการ
Taeng-orn said that at that time the labour movements just began to organize as groups in 1974.  Before, they only called for strikes.  In 1975, when a celebration on May Day was organized at TU, the Labour Movements encountered the Farmers Movements led by Mr. Chai Wangtrakoon, who came to celebrate with the students at TU.  So, labours, farmers and students started joining hands since then, but there was no systematic organization.  In 1976, capitalists became so strong that (they influenced the government) an intelligent unit against communism was established, which infiltrated and monitored the movements of labour-farmer-student closely.  By then, the 3 confluents got organized in which Prasit Chaiyo served as vice president, Therdphoom Jaidee as president, and Seksan Prasertkul as secretariat.

กรรมกรใช้กลไกทางกฎหมายมากกว่าการเคลื่อนไหว
Labour Used Legal Mechanism Rather Than Mobilization

สำหรับการเคลื่อนไหวของกรรมกรในปัจจุบันนั้น แตงอ่อน มองว่า กรรมกรรุ่นใหม่เก่งขึ้น สามารถจัดตั้งเข้มแข็งได้มากกว่ารุ่นตน อย่างไรก็ตามตอนนี้มีการสู้เป็นรายบุคคล ใครโดนข้อหาอะไรก็สู้ทางในทางกฏหมายเป็นปีๆ ไม่เน้นการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็ไม่มีการจับกุมคุมขังเหมือนสมัยก่อน
Taeng-orn thought that younger labour mobilizers today were better in organization than those in her time.  However, the struggle was on individual basis through legal course to undo the accusations.  Today’s activism does not emphasize mobilization while no leaders were put in jail like before.
จตุรงค์ บุญยรัตนสุนทร/Mr.Jaturong Boonyarattanasoonthorn
ศนท.กับสหพันธ์นักศึกษาเสรีฯ
Students Center of Thailand (SCT) and Federation of Liberal Students (FLS)

จตุรงค์ บุญยรัตนสุนทร อดีตรองเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่าหลัง 14 ตุลา  16 นั้นองค์กรนำของนักศึกษามี 2 องค์กรใหญ่ คือ
Jaturong Boonyarattanasunthorn, former secretariat of SCT, said that after October 14, 1973, there were two large student organizations.
1.       ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ศนท. ที่มีบทบาทในเหตุการณ์ 14 ตุลา และต่อเนื่องหลังจากนั้นโดย ปี 17 เลขาชื่อ คำนูณ สิทธิสมาน ปี 18 มีเกรียงกมล เลาหไพโรจน์ เป็นเลขาฯ ในปีนี้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้จำนวนมาก ปี 19 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย มีเลขาฯ คือคุณสุธรรม แสงประทุม ที่ไปอยู่พรรคเพื่อไทย และตนอยู่ช่วงสุดท้ายในช่วงปี 19 เป็นรองเลขาธิการฝ่ายเศรษฐกิจ
a.       SCT that played active role in the October-14 uprise, and continued thereafter.  In 1974, Kamnoon Sitthismarn was the secretariat, while in 1975, when there were a lot of struggles, it was Kriangkamol Laohaphairote.  The final year, 1976, it was Mr.Sutham Saengprathum, now MP of Puea Thai Party.  Jaturong was then deputy secretariat of economics.
2.       สหพันธ์นักศึกษาเสรีแห่งประเทศไทย นำโดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ที่ค่อนข้างมีความเห็นไม่ตรงกับ ศนท. ในปี 17 และมีเครือข่ายนักศึกษาเสรี ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เคลื่อนร่วมกับ กรรมกร ชาวนา ประเด็นที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประเด็นปัญหาของแต่ละกลุ่ม กรรมกรมีปัญหาเรื่องค่าแรง นักศึกษาก็เข้าไปช่วย เวลาชุมนุม จะมี นักศึกษาเข้าไปในที่ชุมนุมด้วย ช่วยพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ
a.       The Federation of Liberal Student (FLS) led by Seksan Prasertkul had different ideology from SCT in 1974.  There were networks of liberal students in various universities that mobilized along with labour, farmers on pertinent issues of each groups.  For labour groups, its focus was on wage, students would go in when there were rallies, and helped in negotiating with authority.
จตุรงค์ เล่าว่า กรรมกร ชาวนา นักศึกษา 3 กลุ่ม เชื่อมกันได้ในช่วงที่ชาวนาขึ้นมาชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ และชนชั้นกลางก็คิดว่าการขึ้นมาของชาวนาชุมนุมสร้างความเดือดร้อนให้กับคนใน กรุงเทพ แต่ได้นักศึกษาที่ไปสร้างความเข้าใจให้กับคนเหล่านั้น อย่างไรก็ตามการต่อสู้ของชาวนารุนแรงไปจนถึงถูกสังหาร เช่น พ่ออินถา ศรีบุญเรื่อง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือถูกยิงเสียชิวิตปี 18 และ น้าจำรัส ม่วงยา ถูกจับไปหลัง 6 ตุลา 19 และวันที่ 21 ก.ค. 22 ก็ถูกฆ่า และมีอีกมากที่ถูกลอบสังหาร ดังนั้นการต่อสู้ของชาวนาเข้มข้น เพราะขัดกับกลุ่มนายทุนที่หนุน รัฐบาลอยู่
Jaturong said that labor, farmers and students—three groups—coalesced when farmers gathered at TU.  Urban middle class felt farmers’ gathering caused problems for Bangkokians.  Students went out to explain to those irritated urbanites.  The struggle turned violent when Intha Sribunrueang, president of Federation of Farmers of the North, was gun down in 1975, and Jamras Muangya was jailed after October 6, 1976, and killed on July 21, 1979.  There were so many who were assassinated.  Thus, Farmers’ struggles were heightened as the conflict with those capitalists behind the government intensified.

บทเรียน 3 ประสาน
Lessons from the Three Confluents

อดีตรองเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวถึงบทเรียน 3 ประสาน ในช่วง 14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุล 19 ประกอบด้วย
The former deputy secretariat of SCT talked about lessons from the three confluents during October 14, 1973 to October 6, 1976.
1.       การต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมไม่สามารถสู้แบบโดดเดี่ยวเฉพาะ กลุ่มได้ หลัง 14 ตุลา เรียกว่าเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น ดังนั้นชนชั้นที่ถูกกดขี่คือกรรมกรชาวนา นักศึกษาที่เป็นชนชั้นกลางซึ่งก็ถูดกดด้วย เพื่อให้เกิดพลังก็ต้องรวมพลังกันต่อสู้ เพราะลำพังการต่อสู้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะส่วนนั้น ไม่สามารถมีพลังต่อสู้ได้
a.       The struggle for justice in society tends to be futile if it was done alone and issue-specific.  After October 14, it was class struggle.  The oppressed class was labour and farmers.  Students were the middle class but were also oppressed.  To build up enough power, they worked together, sharing their power to fight.
2.       ช่วงนั้นมีแนวรบทางวัฒนธรรม มีวงดนตรีเพื่อชีวิตจำนวนมาก บทเพลงที่ร้อง เช่น คาราวาน วงกรรมาชน ทุกมหาวัทยาลัยมีวงดนตรีเพื่อชีวิตมาช่วย ตรงนี้จะปลุกเร้าจิตใจการชุมนุมต่อสู้ ในบทเพลงสะท้อนอุดมการณ์ ปลุกเร้าจิตใจในการต่อสู้หลอมรวมจิตใจได้
a.       During that time, there was cultural troop.  Many music for life bands emerged, such as Caravan, Labour Band.  Each university had its own music for life band.  Their performance aroused the fighting spirit of people gathering there.  Lyrics of the songs reflected the ideology (yearning for social justice). These songs not only heightened such spirit but also unite such mind.
3.       ข้อเรียกร้องในการรณรงค์ต่อสู้แต่ละครั้งที่เกิดขึ้น หลัง 14 ตุลา ข้อเรียกร้องบางเรื่องไปในเชิงอุดมการณ์มาก ทำให้ปฏิบัติยาก ดังนั้นเวลาเคลื่อนไหวเรียกร้องโดยชูข้อเรียกร้องในเชิงอุดมการณ์มากกว่า เชิงปฏิบัติจึงทำให้หาทางลงยาก ทั้งที่สภานการณ์การต่อสู้ของเรานั้นมีความอ่อนแรงในบางช่วงได้ การลงยากก็มีผลต่อความรู้สึกพ้ายแพ้หากต้องลงในบางช่วง
a.       Not all demands after October 14 were successful.  Some demands with ideological emphasis were difficult to practice, and got stuck.  Meanwhile, the movements were weakened from time to time.  Those unresolved, difficult, ideological campaigns also created disillusionment and sense of defeat occasionally.
บำรุง คะโยธา/Mr.Bamrung Khayotha
บำรุง คะโยธา อดีตเลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน กล่าวว่า ปัญหามันไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ขณะนี้ปัญหามันซับซ้อนและรุนแรงกว่าเก่า สมัยนายกคึกฤทธิ์ ปราโมช ปี 18 มีโครงการเรียกว่า เงินผันลงไปตามหมู่บ้าน แต่คนก็เอาไปลงเหล้า มายุคเจ็ดหมื่นล้านนี้ คนก็เอาไปซื้อโทรศัพท์ ดังนั้นปัญหามันซับซ้อนขึ้น คิดว่าอนาคตเราจะลำบาก
Bamrung Khayotha, former secretariat of Small Farmers Assembly of Isan, said that the problems have not changed, only more complicate and violent.  During PM Khukrit Pramoj in 1975, the government launched “diverting money” to villages.  It was hijacked to liquor production.  During this time, the fund of 70 billion baht was distributed, and people used it to buy mobile phones.  The problems are getting more complex.  He thought the future is more difficult.
สมปอง เวียงจันทร์ / Mrs. Sompong Viangchan
สมปอง เวียงจันทร์ ผู้นาชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูล เล่าว่าการเคลื่อนไหวของตนมีนักศึกษาลงไปสู้เคียงบ่าเคียงไหลอย่างเช่น คุณวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ และนันทโชติ ชัยรัตน์ ปี 34 คุณวนิดาก็เอาพวกตนมาเชื่อมกับพี่น้องแรงงานที่ชุมนุมหน้าทำเนียบ
Sompong Viangchan, a community leader on Pak Moon Dam, acknowledged that her movements had students working shoulder to shoulder with the villagers, such as Wanida Tantiwithayaphithak and Ananthachote Chairat.  In 1991, Wanida took them to join the labour protest in front of the government house.

ไม่อาจมีชีวิตที่ดีได้หากไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง
We Can’t Have a Better Life Without Political Movements

สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่ได้เห็นภาพความร่วมมือกันของนักศึกษา กรรมกร ชาวนา ในอดีตมีสูง แต่ปัจจุบันทั้งที่มีเครื่องไม้เครื่องมือเทคโนโลยี่ แต่การเคลื่อนไหวยังลำบาก สำหรับกรรมกรในรถไฟ มีความเชื่อว่ากรรมกรไม่มีชีวิตที่ดีได้ถ้าไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง ในอดีตกรรมกรรถไฟจึงมีส่วนร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย
Sawit Kaewwaan, Secretariat of Federation of State Enterprise Labour Relations, noted that the collaboration between students, labour, farmers was high in the past.  But today, despite more equipment and technology, it is difficult to mobilize such collaboration.  Rail workers believe that workers will not have a better life unless they mobilize politically.  That’s why, in the past, rail workers participated in political movements, too.
เหตุการณ์เมื่อ 23 ก.พ. 34 ขบวนการกรรมกรถูกชนชั้นปกครองทำลาย หลังรัฐประหาร จาก พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล (รองหัวหน้า คณะรสช.) ออกกฏหมายการแยกคนงานรัฐวิสาหกิจกับเอกชน ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ กรรมกร แตกตัว อ่อนแอมาก
But the Labour Movement was destroyed on February 23, 1991, when after the coup d’etat, General Kaset Rojananil passed a law to separate state enterprise workers from those in private companies.  Since then labour movement disintegrated and weakened.
สาวิทย์ แก้วหวาน / Sawit Kaewwaan
ปัญหาอุปสรรคของการเคลื่อนไหว
Challenges of the Movements

ปัญหาอุปสรรคของการเคลื่อนไหว สาวิทย์มองว่า ด้านหนึ่ง ทัศนะชนชั้นนำยังไม่เปลี่ยน มีการพยายามทำร้าย ประชาชน ซึ่งรุนแรงและซับซ้อนขึ้น สอง โครงครอบทางวัฒนธรรม ที่ครอบผ่านทางภาษา สุภาษิต เรื่องเวรเรื่องกรรม เป็นต้น ทำหน้าที่ผลิตซ้ำความคิดของชนชั้นนำ สาม ด้านเศรษฐกิจเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก
For obstacles against the movements, Sawit perceived that, on the one hand, the attitude of the elite/upper class has not changed.  There are still attempts to intimidate and harm the people, which are increasingly complex and violent.  Second, cultural domination through language, proverbs, and belief in karmic law, etc., helps reproduce elite thoughts.  Third, economic direction and condition made it more difficult to change.

กำลังของฝ่ายเราไม่เพียงพอ
We Don’t Have Enough Power

สาวิทย์ มองว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการผู้รักความเป็นธรรมนั้นยังไม่เรียบสนิทสำหรับวิธี คิดและการทำงานปัจจุบันกำลังของฝ่ายเรานั้นไม่เพียงพอ ความคิดในเชิงแยกส่วนยังมีอยู่ ไม่รวมศูนย์กัน สำหรับคนงานวันนี้งานมันกระจายไปสู่ห้องแถว ไม่มีการรวมศูนย์ ดังนั้นการรวมตัวก็เป็นไปได้ยาก เพราะรูปแบบการจ้างงานของนายทุนมีการพัฒนาไปมาก ทำให้ขบวนการแรงงานที่ปรับตัวไม่ทันอ่อนแอ
Sawit perceived that the conceptual framework for mobilizing people advocating social justice is not yet smooth, and not adequate human power to work on it today.  Current framework is still fragmented, not coherent nor centralized/focused.  For workers today, work scattered to row houses, not centralized in factory like before.  So it is difficult to organize labour.  Meanwhile, the employment pattern has changed and diversified.  The labour movement can’t catch up with such complexity, therefore is weak.

ความเป็นปัจเจกบุคลภายใต้ความคิดเสรีนิยมใหม่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ
Individualism Underneath Complete Neo-liberalism

ทัศนความคิดทางการเมืองของกรรมกรปัจจุบันยังไม่ลงรากลึกไปสู่การเปลี่ยนแปลง เราจะหาอุมกการณ์ร่วมกันอย่างไร คิดว่าความเป็นปัจเจคบุคลภายใต้ความคิดเสรีนิยมใหม่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ ความคิดเราเห็นแต่ปัญหา เล็กๆ ความคิดอิสระรุกเข้าไปถึงจิตวิญญาณ วันนี้เราถูกกระทำโดยไม่รู้ตัวและส่งออกด้วยทัศนะและการกระทำที่ไม่สนใจส่วนรวมมากนัก
สาวิทย์ มองว่าในอดีตอาจมีการต่อสู้ทางการเมืองที่ดีเนื่องจากมีลักษณะรวมศูนย์ และชนชั้นปกครองก็ชัดว่าเป็นเผด็จการ แต่ปัจจุบันมันกระจายออกจากศูนย์กลาง มีคนอีกจำนวนมากที่อยู่ภายใต้การกดทับทับที่สบับซับซ้อน ในแง่การเปลี่ยนแปลงนั้นจึงย่งยาก
Political perception of workers today has not sunk its root into change.  How can we identify a common ideology?  He thought that individualism under the cloak of neo-liberalism has gained a complete control.  “In our thoughts, we see only small, piecemeal problems; free thinking has penetrated deep into our soul.  Today, we are not aware of being acted upon, and we send out our ideas without thinking whether they are of common interest”.  Sawit felt that in the past there might be stronger political struggles because of centralization/focused, and the ruling class was clearly dictator.  But today, the struggles are decentralized/scattered.  A lot of people are still suppressed but by more complicate factors.  It is therefore more difficult to organize and also to overturn the oppressive structure.
สาวิทย์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า เรายังขาดการคุยกันแบบรวมศูนย์ระหว่าง กรรมกร ชาวนา นักศึกษา และดังนั้นวันนี้เราต้องสร้างกองกำลังของภาคประชาชนขึ้นมา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปล้มล้างรัฐบาล อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลไม่ดีก็เป็นไปได้ที่จะประชาชนจะถอดถอนเพราะสิทธิ
Sawit concluded that we still lack a centralized forum for exchange between workers, farmers, and students.  Therefore, today “we need to build up a troop of people sector.  This does not mean to overthrow the government.  But if the government is no good, it is possible that the people would exercise their rights to fire them”.

ความคิดแบบปัจเจกนิยม เป็นศูนย์กลางจักรวาลของนักศึกษาเสรีนิยมใหม่
Individualism is the Universal Center for Neo-liberal Students
นวพล อินทรสุวรรณ กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเรื่อง 3 ประสานนั้นมีความจำเป็นที่ต้องสอดรับอยู่ เนื่องจากมันไม่ได้ง่ายเลยที่คนที่อยู่ในยุคเสรีนิยมใหม่ เพราะปัจจุบันนักศึกษาทุกคนลึกๆแล้วคิดว่าตนเองเป็นศุนย์กลางของจักรวาล
Nawabhon Intharasuwan, Saphansoon Group of TU, talked about the 3 confluents that they need synergy.  It is not easy to for people submerged in the age of neo-liberalism.  Today, deep inside, every student thinks he/she is the middle of the universe.
จริงๆแล้วพลังนักศึกษาไม่ได้หายไปไหน แต่ว่ามันไปอยู่ตรงไหนต่างหากนวพล กล่าว พร้อมยกตัวอย่างว่าเราจะเห็นภาพที่เชียร์หรีดเดอร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ คณะต่างๆ สามารถซ้อมได้ถึงตี 1 ตี 2 พลังของนักศึกษาได้กระจายไปตามแผนกของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ภายใต้รูปแบบของการเอาตัวรอดตรงนี้ ศัตรูของเราคืออะไรกันแน่ ในขณะที่อำนาจรัฐเริ่มลดลง แต่ความเป็นปัจเจคบุคคล เสรีนิยมเริ่มมีอำนาจมากขึ้น นักศึกษาถูกทำให้เห็นภาพว่าตนเองมีความเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ทั้งๆที่ไม่จริงเลย
“Actually, students’ power has not disappeared. The question: where is it?”  Nawabhon showed images of cheer leaders in various universities and different faculties who practiced till after midnight.  These students are distributed in their own departments, seeking self-fulfilling activities.  Under such a survival pattern, what is actually our enemy?  While state power is increasing, individualism and liberalism also increase in their power.  Students are made to believe that they and all others are equal even though in fact it is not true.

พลังของนักศึกษาอยู่ที่การออกไปร่วมชุมนุม?
Students’ Power is in Participating in Public Rallies?

ลักษณะของการเชื่อม 3 ประสาน นวพล มองว่า จริงๆแล้วมีอยู่บ้าง แต่เบาบาง เนื่อจากมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งตั้งคำถามว่าพลังนักศึกษาต้องไปแสดงออกด้วยการ ชุมนุมหรือไม่ ซึ่งภาวะการณ์ของนักศึกษาอย่างนี้ คิดว่า เราต่างหากที่ควรจะปรับให้มีความสอดคล้องต้องกันกัน เช่น การนำเสนอเชิงโครงสร้าง หากทำให้นักศึกษามีความเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างแล้วออกมาสัมผัสปัญหา เห็นอกเห็นใจกันบ้าง คิดว่าถ้าพลังนี้เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย ไปองค์กรเอกชนนั้นก็จะมีความเห็นอกเห็นใจให้ความเป็นธรรมกับคนงานและสังคม บ้าง
One student asked, is students’ power expressed/counted only in public gatherings? Nawabhon replied that the linkage of the 3 confluents actually still exist today though filmsy.  Under current situation for students, Nawabhon said that we need to adapt to the needs of today’s students.  For example, in presenting something about the structure, may be students should have a chance to come out and be in touch with real problems related to the structure, so that they would develop some empathy.  He thought, when such power of students move out of the university, to work in private organizations, then they will be more open to issues of justice in society and workers.
อย่างไรก็ตามนักศึกษาก็มีภาพที่มองว่ากรรมกร ชาวนา ก็เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่รวมตัวอยู่ ทั้งที่พนักงานออฟฟิสที่จบจากมหาวิทยาลัยก็เป็นแรงงานเหมือนกัน แต่กลับไม่เห็นอกเห็นใจคนงานอื่น ซึ่งจริงๆแล้วนักศึกษาเองก็มีปัญหาในตัวเอง เป็นความขัดแย้งเชิงจิตใจและจิตวิญญาณ เหมือนตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลก แต่ความเป็นจริงแล้วว่างเปล่า ทุกอย่างเป็นเพื่อถมให้จิตใจให้ตัวเองให้เต็ม ซึ่งตนไม่รู้ว่านักศึกษารุ่นอื่นเป็นหรือไม่ แต่รุ่นนี้การถมจิตใจตัวเองก็เพื่อความเพลิดเพลิน แต่สิ่งสำคัญสำหรับพวกเราที่เคลื่อนไหวนั้นคือจะทำอย่างมีโอกาสค่อยๆเชื่อม ต่อตรงนั้นมาสู่ปัญหาสังคมได้ เพราะในคามเป็นจริงแล้วนักศึกษาเหล่านั้นก็เป็นผู้ถูกกดขี่ในสังคมเช่นกัน
Nevertheless, students also have another perception about labour and farmers that they are another group of people, exclusive to themselves.  They don’t realize that an office goer who graduated from a university is also a labour.  Instead they don’t care for other workers.  Actually, students also have their own problems, an inner contradiction mentally and spiritually.  They see themselves as the center of the universe, but in fact, it is all emptiness.  So, they try hard to fill their own inner void without knowing what it was like for students in other generations.  But for this generation, they fill their own emptiness with all sort of entertainments.  For us, it is important to identify how can we move closer to link and bridge the gap, drawing students out from their self-centered world into social problems.  How to make students realize that they too are oppressed in this society?



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น