วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

313. ครบเดือนที่ ๑๐ ของการหายสาบสูญ: การปิดปากทางการของลาวและอาเซียน ไม่สามารถฆ่าตำนานของ สมบัด สมพอน


313.  Completing the 10th Month of Enforced Disappearance:  Lao and Asean Governmental Silence Can’t Kill Sombath Somphone’s Legacy

Where is Sombath Somphone?
By Dr. Lim Teck Ghee, Posted on October 10, 2013 by rsbtws ; The Malay Mail: 10 October 2013
สมบัด สมพอน อยู่ที่ไหน?
-ลิม เต็กกี
 Sombath & Shui Meng

Today, Thursday, 10 Oct 2013, marks 300 days of the disappearance of Sombath Somphone, one of Lao PDR’s most prominent activists. Sombath is a long-time and good friend. In the late 1970s, he and I were part of a small group of human rights activists and social critics from the Southeast Asian region who met regularly to discuss the situation of our countries (at that time Malaysia, Thailand, Indonesia, the Philippines, Laos, Vietnam and Singapore) and to see how we could support each other in work to advance peace and development in our part of the world.
วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ครบ ๓๐๐ วันของการหายตัวไปของ สมบัด สมพอน, หนึ่งในนักกิจกรรมรณรงค์คนสำคัญของลาว.  สมบัด เป็นเพื่อนเก่าแก่ที่ดีของผม.  ในปลายทศวรรษ ๒๕๑๐, เขาและผมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนและนักวิพากษ์สังคมเล็กๆ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เราพบกันสม่ำเสมอเพื่อถกถึงสถานการณ์ของประเทศของเรา (ตอนนั้นมี มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ลาว, เวียดนาม และ สิงคโปร์) และเพื่อดูว่า เราจะช่วยกันสนับสนุนกันและกันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในสันติภาพและการพัฒนาในภาคพื้นของเราในโลก.
The outcome of our efforts was a pioneering regional civil society organisation called the Asian Cultural Forum on Development or ACFOD which was set up in 1977. ACFOD’s mission can be seen in the summary below of the organisation’s alternative vision of development which contrasts strongly with the mainstream development thinking prevalent in the region.
ผลพวงจากความพยายามของเรา คือ องค์กรประชาสังคมภูมิภาครุ่นบุกเบิกหนึ่ง เรียกว่า Asian Cultural Forum on Development หรือ ACFOD ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ๒๕๒๐.  พันธกิจของ ACFOD สรุปไว้ข้างท้าย วิสัยทัศน์ทางเลือกของการพัฒนาขององค์กร ซึ่งต่างกันอย่างแรงเมื่อเทียบกับ การพัฒนากระแสหลัก ซึ่งมีทั่วเต็มภูมิภาค.

ACFOD Mission Statement
แถลงการณ์ พันธกิจของ ACFOD
  • Advocate Holistic Development and to Counter Destructive/ Dehumanised Development.
  • Promote Peace, Harmony, Human Rights and Gender Equality and the Conscientisation of People.
  • Promote Participatory Democracy and Sustainable Development.
  • Respect for Minority Rights and Cultures.
  • Foster Humanist and Moral Values as a Core Part of Development.
  • Provide the Platform for Grassroots and People-to-People Exchange and Action.
    • สนับสนุนการพัฒนาองค์รวม และ ต้านกระแสการพัฒนาที่บ่อนทำลาย / บั่นทอนความเป็นมนุษย์.
    • ส่งเสริมสันติภาพ, ความกลมกลืน, สิทธิมนุษยชน และ ความเสมอภาคเชิงเพศสภาพ และ การสร้างความตื่นรู้ในประชาชน.
    • ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และ การพัฒนาที่ยั่งยืน.
    • เคารพสิทธิและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย.
    • ส่งเสริมคุณค่าความเป็นคนและจริยธรรม ให้เป็นแก่นกลางของการพัฒนา.
    • เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนและปฏิบัติการระดับรากหญ้า ประชาชนต่อประชาชน.
Although we were a small regional grouping with limited resources and hardly any support from our national governments, ACFOD’s member organisations, which included the Consumers Association of Penang of which I was the honorary secretary at that time, pushed hard for this alternative vision of development in our national and regional work.
แม้ว่าเราจะเป็นกลุ่มภูมิภาคเล็กๆ ที่มีทรัพยากรจำกัด และ ไม่มีการสนับสนุนใดจากรัฐบาลของเรา, องค์กรสมาชิกของ ACFOD, ซึ่งประกอบด้วย สมาคมผู้บริโภคแห่งปีนัง ซึ่งผมเป็นเลขาธิการกิติมศักดิ์ขณะนั้น, ได้ผลักดันอย่างหนัก เพื่อให้วิสัยทัศน์ทางเลือกของการพัฒนานี้ อยู่ในงานระดับชาติและระดับภูมิภาคของเรา.

Sombath’s work in PADTC
งานของ สมบัด ที่ PADTC
Among our group of 15 hard core members, perhaps no one was more committed to an alternative and decentralised vision of development than Sombath. He founded the Participatory Development Training Centre in Laos in 1997 and became a respected voice in his country against authoritarianism and anti-democratic development, winning the Ramon Magsaysay Award for Community Leadership – one of the most prestigious awards for human development in Asia.
ในบรรดาสมาชิกหลัก ๑๕ คนของกลุ่มเรา, บางที คงไม่มีคนใดที่อุทิศตัวให้กับวิสัยทัศน์ทางเลือกและกระจายอำนาจของการพัฒนามากไปกว่า สมบัด.  เขาได้ก่อตั้ง PADTC (ศูนย์การอบรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม) ในลาว ในปี ๒๕๔๐ และ ได้กลายเป็นเสียงที่ได้รับความเคารพในประเทศของเขาที่ต่อต้านเผด็จการ และ การพัฒนาที่ต่อต้านประชาธิปไตย, ทำให้ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ ด้านผู้นำชุมชน—อันเป็นรางวัลที่มีเกียรติสูงสุดสำหรับการพัฒนามนุษย์ในเอเชีย.
In striving to bring about reform in his country, Sombath passionately believed that the core features of the ACFOD vision are just as relevant today as they were 30 years ago. He was not a radical dissident in any sense of the word, believing instead in peaceful change that was in line with his own pacifist ideology and gentle nature. However, in pushing for an alternative strategy to development, Sombath made powerful enemies along the way, including corrupt state officials, the landed elite and business leaders, and high level politicians.
ในความมุ่งมั่นที่จะนำการปฏิรูปสู่ประเทศของเขา, สมบัด เชื่อเต็มอกว่า แก่นของวิสัยทัศน์ของ ACFOD ยังใช้ได้ทุกวันนี้ เช่นเดียวกับเมื่อ ๓๐ ปีก่อน.   เขาไม่ใช่คนหัวรุนแรงที่ไม่ยอมเห็นพ้องอย่างสุดโต่งเลย, แต่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงด้วยสันติวิธี ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์รักความสงบและความอ่อนโยนของเขา.  แต่, ในการผลักดันเพื่อให้ได้การพัฒนาทางเลือก, สมบัด ได้สร้างศัตรูที่ทรงอำนาจมาตลอดทาง, รวมทั้งข้าราชการทุจริต, อภิสิทธิ์ชนเจ้าของที่ดิน และ ผู้นำทางธุรกิจ, และนักการเมืองระดับสูง.
Sombath’s disappearance is really not so mysterious given his activism and the dominance of forces in his country’s government which cannot tolerate dissent and are bent on preserving and enhancing their power and privileged positions by all means possible, including foul. He was last seen in Vientiane on the evening of Saturday December 15, 2012 when he was driving home in his jeep. When he failed to return home, his family and friends immediately contacted the police, visited hospitals, and informed embassies.
การหายตัวไปของ สมบัด ที่จริงไม่ใช่เรื่องลึกลับเลย เมื่อพิจารณาจากกิจกรรมรณรงค์และกระแสอำนาจที่ครอบงำในรัฐบาลของประเทศของเขา ที่ไม่ยอมอดทนเสียงคัดค้าน และ โน้มเอียงไปทางพิทักษ์และยกระดับอำนาจและตำแหน่งอภิสิทธิ์ของพวกตนในทุกวิถีทางที่จะเป็นไปได้, รวมทั้งการโกง เล่นสกปรก.  เขาถูกเห็นในเวียงจันทน์ ในยามเย็นของวันเสาร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ในขณะที่เขากำลังขับรถกลับบ้านในรถจี๊ปของเขา.  เมื่อเขาไม่ได้กลับถึงบ้าน, ครอบครัวและมิตรสหายรีบติดต่อตำรวจทันที, ออกเยือนโรงพยาบาล, และแจ้งสถานทูต.
Although no information has been forthcoming as to what has happened to Sombath, what is available is CCTV footage which that shows him being stopped by the police and then abducted. Sombath’s disappearance has been taken up by Amnesty International, Human Rights Watch as well as by other prominent human rights organisations and governments largely outside our region.
แม้ว่าจะยังไม่มีข่าวคราวว่าเกิดอะไรขึ้นกับ สมบัด, สิ่งที่ปรากฏในกล้องวงจรปิด เป็นภาพแสดงให้เห็นว่า เขาถูกตำรวจโบกให้หยุด แล้วจับตัวไป.  การหายตัวไปของ สมบัด ได้ถูก Amnesty International, Human Rights Watch (กลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน) ตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชน และ รัฐบาลสำคัญๆ อื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ภายนอกภูมิภาคของเรา.

Amnesty International’s report on Sombath
รายงาน Amnesty International เกี่ยวกับ สมบัด
In its detailed report titled ‘Laos: Caught on Camera. The Enforced Disappearance of Sombath Somphone’ published in June 2013, Amnesty International has examined the background events that led up to Sombath’s disappearance and chronicled its unsuccessful efforts to meet with the Laotian authorities to discuss the case.
ในรายงานอย่างละเอียดของมัน ชื่อ “ลาว: จับได้บนกล้อง.  การบังคับให้หายสาบสูญของ สมบัด สมพอน” พิมพ์เผยแพร่เมื่อ มิย. ๒๕๕๖, Amnesty International ได้ตรวจสอบเบื้องหลังของเหตุการณ์ที่นำไปสู่การหายตัวของ สมบัด และ บันทึกเวลาวันเดือนปี ที่ได้พยายามขอพบผู้มีอำนาจหน้าที่ของลาว เพื่อถกในกรณีที่เกิดขึ้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ.
The report has concluded that:   รายงานสรุปว่า
“Sombath Somphone has most likely been a victim of enforced disappearance, which is a serious human rights violation and a crime under international law. The organization concludes that Lao officials are responsible for Sombath’s disappearance, whether through direct perpetration or through complicity, support or acquiescence, in violation of Laos’s obligations under international law.”
“สมบัด สมพอน เป็นไปได้สูงที่จะเป็นเหยื่อของการถูกบังคับให้หายสาบสูญ, ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง และ เป็นอาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ.  องค์กรสรุปว่า เจ้าหน้าที่ลาวรับผิดชอบต่อการสูญหายของ สมบัด, ไม่ว่าจะด้วยการกระทำโดยตรง หรือ ด้วยการสมรู้ร่วมคิด, สนับสนุน หรือ ยินยอมโดยดุษฎี, ล้วนเป็นการละเมิดพันธะหน้าที่ของลาว ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ”.

Among its recommendations, Amnesty International has called on the Lao government:
ในบรรดาข้อแนะนำ, Amnesty International ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลลาว:
“to establish a new, independent commission to undertake an impartial and thorough investigation into Sombath’s disappearance and ensure that all steps are taken to locate, rescue him from his captors and return him safely to his family without further delay. The commission should identify those officials responsible for Sombath’s enforced disappearance, including those with command or superior responsibility, with a view to bringing them to justice, in proceedings that meet international standards of fairness. The commission’s report and recommendations should be made available to the public. Sombath and his family should be provided with reparations for the human rights violations and suffering they have entailed.”
“ขอให้จัดตั้งคณะกรรมการใหม่และเป็นอิสระ เพื่อทำการสอบสวนที่เที่ยงตรงเป็นกลางและละเอียดในกรณีของการหายตัวไปของ สมบัด และ ทำให้แน่ใจว่า จะทำทุกวิถีทางเพื่อค้นหา, ช่วยเหลือเขาจากผู้จับกุมตัวเขาไป และ นำเขากลับมาอย่างปลอดภัย คืนสู่ครอบครัวของเขาโดยไม่รีรอต่อไป.  คณะกรรมการควรระบุเจ้าหน้าที่ๆ รับผิดชอบต่อการบังคับให้ สมบัด หายตัวไป, รวมทั้งพวกที่อยู่ในตำแหน่งบัญชาการ หรือ ความรับผิดชอบระดับสูง, ด้วยมุมมองที่จะนำพวกเขามาเข้ากระบวนยุติธรรม, ที่เข้ามาตรฐานสากลของความเป็นธรรม.  รายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ควรเผยแพร่สู่สาธารณชน.  สมบัด และครอบครัวของเขาควรได้รับค่าชดเชยสำหรับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ความทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้น.”
The Amnesty International report and its recommendations have been totally ignored by the Laotian government.
รายงานของ Amnesty International และ ข้อเสนอ ถูกรัฐบาลลาวเมินเฉย ไม่สนใจเลย.

More needs to be done to pressure the Laotian government
จำเป็นต้องกดดันรัฐบาลลาวมากขึ้น
Although strong concern on Sombath’s disappearance has been expressed by the international community, there is less interest in this flagrant human rights violation by governments in the Asean region. Various high level intergovernmental commissions and committees tasked with human rights monitoring have failed to speak out publicly or have not pressed the Laotian government to act transparently, urgently and responsibly to ensure the safe return of Sombath. Clearly much more needs to be done by all quarters, especially by major stakeholders of human rights in this part of the world to ensure a resolution of this case which is a damning indictment of the state of human rights in Laos and also in the Asean region.
แม้ประชาคมระหว่างประเทศจะได้แสดงออกถึงความห่วงใยอย่างแรงต่อการหายสาบสูญไปของ สมบัด, รัฐบาลต่างๆ ในอาเซียน สนใจน้อยกว่าในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันชัดโต้งนี้.   คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลระดับสูงต่างๆ และ  คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายด้านติดตามสิทธิมนุษยชน ต่างล้มเหลวในการพูดในที่สาธารณะ หรือ ไม่ได้กดดันรัฐบาลลาวให้กระทำการที่โปร่งใส, อย่างเร่งด่วนและด้วยความรับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่า สมบัด จะได้กลับมาอย่างปลอดภัย.   ชัดเจนแล้วว่า ทุกภาคส่วน, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของสิทิมนุษยชนในส่วนนี้ของโลก จำเป็นต้องทำอีกมาก เพื่อทำให้แน่ใจว่า จะมีทางแก้ไขกรณีนี้ ซึ่งเป็นการประณามสถานภาพของสิทธิมนุษยชนในลาว และ ในภูมิภาคอาเซียน.
As for me, in addition to the personal pain and concern for Sombath’ family and hope for his safe return, there will always be a question in my mind on how easily I could have been a part of what has transpired. I will always remember the last time we met in his Vientiane home by the bank of the Mekong River. Sombath had teased me about working for an international development agency whose ideology ran counter to that of ACFOD’s. He had also – and this was not in jest – asked me to work with him in PADTC and offered a plot of land adjoining his house which he said could be the site of my new home should I take up his offer. Would my presence – could my presence have made a difference or would I also have disappeared together with Sombath?
สำหรับผม, นอกจากความปวดร้าวส่วนตัวและความห่วงใยต่อครอบครัวของ สมบัด และ หวังว่าเขาจะกลับมาได้อย่างปลอดภัย, ในใจของผมจะมีคำถามอยู่เสมอว่า ผมน่าจะมีส่วนง่ายๆ ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร.  ผมจะจำยังคงจำการพบกันครั้งสุดท้ายของเราที่บ้านของเขาในเวียงจันทน์ ริมฝั่งน้ำโขง.  สมบัด หยอกผมเกี่ยวกับการที่ผมทำงานให้กับหน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศหนึ่ง ที่มีอุดมการณ์ตรงข้ามกับ ACFOD.  เขายังได้—และไม่ใช่เป็นเพียงการล้อเล่น—ขอให้ผมทำงานกับเขาใน PADTC และยังได้ยกที่ดินที่ติดกับบ้านของเขา ซึ่งเขาบอกว่าปลูกบ้านใหม่ให้ผมได้ หากผมยอมรับข้อเสนอของเขา.  การอยู่ที่นั่นจะ—หรือสามารถ—สร้างความแตกต่างไหม? หรือ ผมอาจจะหายตัวไปพร้อมกับ สมบัด ด้วยไหม?
As the days tick by with no sign of his return, I am sure that Sombath will want the causes for which he has fought to be undiminished by his absence but to be inspired towards the path of equality, justice and freedom which he stood for.
ในขณะที่วันเวลาขยับไปอย่างไม่มีวี่แววการกลับของเขา, ผมแน่ใจว่า สมบัด คงต้องการให้เรื่องที่เขาได้ต่อสู้มาตลอด จะไม่ดับสูญไปกับการหายตัวไปของเขา แต่จะเป็นแรงบันดาลใจให้มุ่งสู่หนทางของความเสมอภาค, ยุติธรรม และ อิสรภาพ ที่เขาได้ยืนหยัดต่อสู้ให้ได้มา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น