312. Things We Still Can Do In the Last Hour before
Climate Midnight
Q&A: The Eleventh Hour for
Climate Justice
ถาม &
ตอบ : ชั่วโมงที่ ๑๑ สำหรับภูมิอากาศเป็นธรรม
-ลูชา เชน
Lusha Chen
interviews MARY ROBINSON
ลูชา เชน สัมภาษณ์ แมรี โรบินสัน
- Climate justice – the nexus between
human rights and climate change – must be a pillar of the post-2015 development
agenda, says former Irish president Mary Robinson.
ภูมิอากาศเป็นธรรม—ความเกี่ยวพันกันระหว่างสิทธิมนุษยชน
และ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง—จะต้องเป็นเสาหลักของวาระการพัฒนาหลังปี ๒๕๕๘,
อดีตประธานาธิบดีไอริช, กล่าว.
As global temperatures rise,
low-income communities suffer disproportionately from health problems,
financial burdens, and social and cultural disruptions.
ในขณะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น,
ชุมชนรายได้น้อยต้องประสบความทุกข์ยากมากกว่ากลุ่มอื่น ในปัญหาสุขภาพ, ภาระการเงิน,
และการแตกหักและความวุ่นวายทางสังคมและวัฒนธรรม.
Founder of the Mary
Robinson Foundation – Climate Justice, the former U.N. high commissioner
for human rights spoke with IPS correspondent Lusha Chen about the challenges
and opportunities facing developing countries, especially small island states,
when it comes to their survival or extinction in coming decades.
ผู้ก่อตั้ง
มูลนิธิแมรี โรบินสัน-ภูมิอากาศเป็นธรรม, อดีตกรรมาธิการระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ,
ได้พูดกับลูชา เชน เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่ประเทศกำลังพัฒนาเผชิญอยู่,
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐเกาะเล็กๆ,
เมื่อพูดถึงความอยู่รอดหรือการสาบสูญของพวกเขาในทศวรรษที่จะมาถึง.
Excerpts from the interview follow.
ข้อความต่อไปนี้ ยกมาจากบทสัมภาษณ์
Q: In 2009, when you attended
the Copenhagen Climate Summit, you said you didn’t see journalists or some
ministers from developed countries show urgency to deal with climate change
issues. Do you think this year’s U.N. General Assembly offered any changes?
ถาม:
ในปี ๒๕๕๒,
เมื่อคุณเข้าร่วมประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศที่โคเปนเฮเก็น, คุณบอกว่า
คุณไม่เห็นนักข่าว หรือ รัฐมนตรีจากประเทศพัฒนาที่แสดงความรู้สึกเร่งด่วนที่จะจัดการกับประเด็นภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. คุณคิดว่า การประชุมสมัชชาสามัญปีนี้ของสหประชาชาติ
จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างไหม?
A: I am surprised that more heads of
state and senior ministers of developing countries don’t actually speak about
their reality: that they are suffering more and more from climate shocks.
ตอบ: ดิฉันประหลาดใจที่ผู้นำของรัฐและรัฐมนตรีอาวุโสของประเทศกำลังพัฒนา
ไม่พูดความจริงของพวกเขาที่ ว่า พวกเขากำลังเดือดร้อนเป็นทุกข์มากขึ้นๆ
จากอาการช็อคเพราะภูมิอากาศ.
They talk about it privately, but
they somehow don’t want to project vulnerability. It’s a contrast to the heads
of state of small island states that maybe are going to go under. They have no
choice, so they speak out and they want climate justice.
พวกเขาพูดเกี่ยวกับมันเป็นการส่วนตัว,
แต่บางที พวกเขาก็ไม่ต้องการแสดงให้เห็นว่าอ่อนแอ. มันตรงข้ามกับผู้นำของรัฐเกาะเล็กๆ
ที่อาจจมน้ำ. พวกเขาไม่มีทางเลือก,
ดังนั้น พวกเขาจึงพูดขึ้นมา และ พวกเขาต้องการภูมิอากาศเป็นธรรม.
We know the reality, and we also
understand that communities that haven’t contributed [to the problem] have to
benefit from the low-carbon economy that we must move to. And particularly
access to affordable, renewable energy.
เรารู้สภาพความเป็นจริง,
และเราก็เข้าใจด้วยว่า บรรดาชุมชนที่ไม่ได้มีส่วนสร้าง [ปัญหา] จะต้องได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจที่มีคาร์บอนต่ำ
ที่พวกเราจะต้องเคลื่อนตัวไปสู่. และ
โดยเฉพาะ การเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนที่จ่ายกันไหว.
Q: Many developing countries
are facing a conflict between economic development and paying the cost to
protect the environment. What’s your take on this?
ถาม:
หลายๆ ประเทศกำลังพัฒนา กำลังเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และ การเจียดต้นทุนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม.
คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?
A: I recognise that there are costs,
I think unfair costs if you like, on poor developing countries, and we need
much more support for adaptation for climate resilience, whether it’s rural
areas or in cities.
ตอบ: ดิฉันยอมรับว่า มันต้องมีโสหุ้ย, ดิฉันคิดว่า มันเป็นมูลค่าที่ไม่เป็นธรรม,
ต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน, และ เราจำเป็นต้องให้การสนับสนุนยิ่งมากกว่านั้น เพื่อช่วยให้เกิดการปรับตัวที่มีความยืดหยุ่นเชิงภูมิอากาศ,
ไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือเมือง.
I was talking to [Liberian] President
Ellen Johnson Sirleaf. She may have to move part of her population from
her capital Monrovia – she hasn’t budgeted for that – because of the climate.
So we need much more support for adaptation, and also for the technologies that
will help poor countries to benefit from no-carbon growth.
ดิฉันได้พูดกับ
ประธานาธิบดี [ไลบีเรีย] เอลเลน จอห์นสัน เซอร์รีฟ. เธออาจต้องเคลื่อนย้ายประชากรบางส่วนจากเมืองหลวง
มอนโรเวีย ของท่าน—เธอไม่ได้มีงบประมาณสำหรับเรื่องนี้—เพราะภูมิอากาศ. ดังนั้น เราจำเป็นต้องให้การสนับสนุนยิ่งมากขึ้นกว่านี้เพื่อช่วยให้เกิดการปรับตัว,
และ เพื่อ (สร้าง) เทคโนโลยีที่จะช่วยประเทศยากจนให้ได้รับประโยชน์จากการเติบโตที่ไม่มีคาร์บอนด้วย.
And there are a lot of examples of
south-south cooperation now, which I very much welcome: south-south
engagement in projects for access to energy, even at the local level, and I’m
very keen that we promote as much as possible of that.
และมีตัวอย่างมากมายในความร่วมมือระหว่างซีกโลกใต้ด้วยกันเองตอนนี้,
ซึ่งดิฉันชื่นชมมาก: การมีส่วนร่วม ใต้-ใต้ ในโครงการที่ช่วยให้เข้าถึงพลังงาน,
แม้แต่ในระดับท้องถิ่น, และดิฉันก็ใจจดใจจ่อให้พวกเราช่วยส่งเสริมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เช่นนั้น.
But we have to recognise that we are
coming to a very difficult period, and if we don’t do the right thing in 2015,
and have a fair, robust, equitable agreement that keeps us below two degrees
Celsius [of warming], it will get much more difficult for countries that are
seeing a big expansion in their populations… to cope with food security, to
adapt.
แต่เราต้องยอมรับว่า
เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบากยิ่ง, และหากเราไม่ทำในสิ่งที่ถูกต้องภายในปี
๒๕๕๘, และทำให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรม, แข็งขัน, เท่าเทียม ที่จะทำให้พวกเราลดอุณหภูมิได้
๒ องศาเซลเซียส [ของโลกร้อน],
มันก็จะยากเข็ญยิ่งขึ้นสำหรับประเทศต่างๆ ที่กำลังมีประชากรเพิ่มขึ้น...ที่จะรับมือกับความมั่นคงทางอาหาร,
และปรับตัว.
So this is a very precious time, it’s
a very important time, and that’s why climate justice links to a good
sustainable development agenda post-2015 for all countries, which countries
must take more responsibility to cut their emissions, and also a fair climate
agreement.
ดังนั้น
ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่มีค่ายิ่ง, เป็นเวลาที่สำคัญยิ่ง, และเป็นเหตุผลว่า ทำไม
ภูมิอากาศเป็นธรรมจึงเชื่อมโยงกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังปี ๒๕๕๘
สำหรับประเทศทั้งปวง, ซึ่งทุกประเทศจะต้อง (ร่วมกัน) รับผิดชอบมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก,
และ มีข้อตกลงภูมิอากาศที่ยุติธรรม.
Q: Are you still plugged into
what’s going on in Ireland?
ถาม:
คุณยังมีส่วนพัวพันกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในไอร์แลนด์ไหม?
A: Yes, I would also look to Ireland
to take responsibility. As a former president, I don’t engage politically in
Ireland, and that’s understood. But Ireland is a good country to work on food
security from, because we have a very good reputation for tackling hunger…
and I’m proud of that.
ตอบ: มี, ดิฉันคาดหวังว่าไอร์แลนด์จะรับผิดชอบด้วย. ในฐานะอดีตประธานาธิบดี, (ตอนนี้) ดิฉันไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองในไอร์แลนด์,
และนั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้.
แต่ไอร์แลนด์เป็นประเทศดี ที่ทำงานเรื่องความมั่นคงทางอาหาร,
เพราะเรามีชื่อเสียงที่ดีมากในการแก้ไขปัญหาความหิวโหย...และดิฉันก็ภาคภูมิใจที่เป็นเช่นนั้น.
Please have lead to spread
sasrai-Movement aimed at habitable earth
โปรดแพร่กระจาย
ขบวนการสาสะไร ที่มุ่งทำให้โลกเป็นที่อยู่อาศัยต่อไปได้
Dear Madam/Sir
Greetings from sasrai-Movement that
works voluntarily since 2004 across the globe aimed at promote prudent and
sustainable consumption and conservation, optimum use and reduce the abuse of
resources. sasrai target to animate, activate each individual, family,
community, institution, organization to Combat Climate Change, global warming,
food, fuel, water, poverty, disaster, waste, ecosystem, biodiversity - finally
reverse the devastating trend of globe. Road map towards the implementation of
the United Nations Millennium Declaration -sasrai brings into focus Six MDGs,
09 time-bound targets and 31 quantitative indicators.
สวัสดีจาก
ขบวนการสาสะไร ที่ทำงานด้วยจิตอาสา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ทั่วโลก
มุ่งเน้นส่งเสริมการบริโภคและการอนุรักษ์ที่ฉลาดรอบคอบ และยั่งยืน, ใช้ของให้ได้ผลดีที่สุด
และ ลดการรังแก ทำร้ายทรัพยากร.
เป้าหมายของสาสะไร คือ ดลใจ, กระตุ้น ทุกๆ คน, ครอบครัว, ชุมชน, สถาบัน,
องค์กร ให้ ต่อสู้กับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, โลกร้อน, อาหาร, เชื้อเพลิง, น้ำ,
ความยากจน, ภัยพิบัติ, ของเสีย, ระบบนิเวศ, ความหลากหลายทางชีวภาพ—ในที่สุด
ผันแนวโน้มหายนะของโลก. จากแผนที่เดินทางสู่การดำเนินการตามปฏิญญาสหัสวรรษสหประชาชาติ—สาสะไร
ได้เน้นที่ ๖ ประเด็น ของ MDGs, ๙ เป้าหมายที่จำกัดด้วยเวลา และ ๓๑ ดัชนีเชิงปริมาณ.
USA President in Berlin speech has
said the global threat of our time severe storms, Famine and floods, Coastlines
vanish, Oceans rise and Climate change. UNSG said climate change “is a
humanitarian issue, a development issue, and an issue of security and
stability.” IPCC 5th Assessment Report urges- disrupted climate can do in sea
level rise and acidification, aggravated droughts and wildfires, increased
storm severity and flooding. Those impacts will grow more severe unless we
start reducing global warming pollution, not tomorrow, but now. President Obama
said, "We have to all shoulder the responsibility for keeping the planet
habitable, or we're going to suffer the consequences—together."
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเบอร์ลินถึง พายุรุนแรงแห่งยุค อันเป็นภัยคุกคามโลก,
ความอดอยาก และ น้ำท่วม, ชายหาดที่สูญหายไป, ระดับน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้น และ
ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. UNSG กล่าวถึง ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงว่า “เป็นประเด็นมนุษยธรรม, ประเด็นการพัฒนา, และ
ประเด็นความมั่นคงและเสถียรภาพ”.
รายงานการประเมินครั้งที่ ๕ ของ IPCC เร่งเร้าว่า—ภูมิอากาศที่ผิดปกติ
ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมีความเป็นกรด, ซ้ำเติมความแห้งแล้งและไฟป่า,
เพิ่มความรุนแรงของพายุและน้ำท่วม.
ผลกระทบเหล่านี้จะเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
หากเราไม่เริ่มต้นลดมลภาวะที่ทำให้โลกร้อน, ไม่ใช่พรุ่งนี้, แต่เดี๋ยวนี้. ประธานาธิบดีกล่าวว่า, “พวกเราทั้งหมดต้องร่วมกันแบกความรับผิดชอบในการทำให้พิภพโลกเป็นที่ๆ
อยู่อาศัยได้, หรือ เราจะต้องรับทุกข์จากผลที่ตามมา—ด้วยกัน”.
IPS - Special Issue on COP18 Doha, Climate
Change Conference 29 Nov, Dec 07, 2012 - state that unsustainable human
consumption and production systems are driving changes in average temperatures
and weather patterns, "abnormal" is increasingly becoming the norm.
IPS—ฉบับพิเศษ เรื่อง COP18 โดฮา,
การประชุมภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ๒๙ พย., เมื่อ ๗ ธค ๒๕๕๕—ระบุว่า
ระบบการบริโภคและการผลิตที่ไม่ยั่งยืนของมนุษย์ กำลังกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิเฉลี่ยและแบบแผนของอากาศ,
“ความผิดปกติ” กำลังกลายเป็นของปกติมากขึ้นทุกวัน.
32 million people in 82 countries
were displaced by climate - and weather-related disasters in 2012, nearly twice
as many as in 2011, according to the Internal Displacement Monitoring Centre.
This number is expected to increase as climate change intensifies.
ประชาชน
๓๒ ล้านคนใน ๘๒ ประเทศ กำลังถูกขับไล่ที่โดยภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศและสภาพอากาศในปี
๒๕๕๕, เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๔ เกือบสองเท่าตัว, ตามรายงานของ
ศูนย์การติดตามการถูกขับไล่ที่อยู่อาศัยภายในประเทศ. คาดว่า ตัวเลขนี้ จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเข้มข้นยิ่งขึ้น.
Chinese President Appeals to the Nation
“build a thrifty society”, that sasrai Voice since 2004. Absolute truth for
today’s world careless consumption driving untenable production that driving
changes in temperature and weather patterns and that’s Hotter, Hungry World.
Hungry world will contribute millions of desperate people. Desperate people do
desperate things: They riot, they fight over food, they overthrow governments,
and the mass migrate to food-secure countries.
ประธานาธิบดีจีน
ได้วิงวอนให้ชาติ “สร้างสังคมที่ประหยัด”, ดังที่ สาสะไร ได้ส่งเสียงร้องตั้งแต่ปี
๒๕๔๗. สัจธรรม ของโลกทุกวันนี้ คือ
การบริโภคอย่างประมาทของชาวโลก ได้ผลักดันการผลิตที่คุมไม่อยู่
ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิ และ แบบแผนของสภาพอากาศ ซึ่งทำให้กลายเป็นโลกที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ
และ หิวโหย. โลกที่หิวโหยจะทำให้ประชาชนหลายล้านจนตรอก.
ประชาชนที่จนตรอก จะดิ้นรนแบบคนจนมุม: พวกเขาจะก่อจลาจล,
พวกเขาจะต่อสู้แย่งชิงอาหาร, พวกเขาจะล้มล้างรัฐบาล, และ เกิดการย้ายถิ่นอพยพมหาศาล
สู่ประเทศที่มีความมั่นคงกว่าทางอาหาร.
Confronting the Growing Threat of Climate
Change : sasrai
Commandment for Nature, Next Generation. Wish the Peace for Each, to ensure
Rights for all - save a bit, reserve, preserve, rejuvenate and conserve
resources
Let’s achieve significant change in
mindset, behavior and attitude combat Climate Crisis, Reduce Risk &
Poverty, save Bio-diversity – Peace for Humanity......as the way to achieve the
desired goal - sasrai – work locally-serve globally, initiative local-outcome
global.
เมื่อเผชิญหน้ากับการคุกคามเพิ่มขึ้นของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง : บัญญัติ สาสะไร เพื่อธรรมชาติ, อนุชนรุ่นต่อไป. สันติภาพจงมีแก่ทุกคน, เพื่อประกันสิทธิ์ของคนทั้งปวง—จงเก็บหอมรอมริบ,
เผื่อเหลือเผื่อขาด, ถนอมรักษา, ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากร. ขอให้พวกเราประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนความเชื่อที่ฝังหัวมาช้านาน,
พฤติกรรม และ ทัศนคติ, ต่อสู้กับวิกฤตภูมิอากาศ, ลดความเสี่ยง และ ความยากจน,
รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ—สันติภาพเพื่อมนุษยชาติ...อันเป็นหนทางที่จะบรรลุเป้าหมายสมปรารถนา...สาสะไร—ทำงานในระดับท้องถิ่น รับใช้ระดับโลก, เริ่มในท้องถิ่น
ส่งผลระดับโลก.
AIMED AT
SUSTAINABLE LIVING, ENVIRONMENTAL JUSTICE
มุ่งเน้นชีวิตที่ยั่งยืน,
ความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
Please Keep a hand written sasrai-Movement
Poster in any discussion area
โปรดติดโปสเตอร์
ขบวนการสาสะไร ที่เขียนด้วยมือ ในบริเวณที่มีการอภิปราย
Let’s have zeal to self tune in sasrai-Movement
policy and be committed to save resource and reduce FOOD waste in our daily
living - no matter how small it is. Please relentless to voice from each corner
across the globe
ขอให้พวกเราปรับตัวเอง
ยึดมั่นตามนโยบายของขบวนการ สาสะไร และ สัญญาผูกพันว่าจะรักษาทรัพยากร และ
ลดการทิ้งขว้างอาหารในชีวิตประจำวัน—ไม่ว่าจะเป็นปริมาณเล็กน้อยแค่ไหน.
โปรดไม่ยับยั้งที่จะส่งเสียงจากทุกหัวมุมให้ดังข้ามโลก
Please, save a drop of water daily,
during all water related activities
Please, plant at least a Native tree
annually at own home or community
โปรดรักษาน้ำหนึ่งหยดทุกวัน,
ในระหว่างทำกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับน้ำ
โปรดปลูกต้นไม้พื้นเมืองอย่างน้อย
๑ ต้นทุกปี ในบ้านตนเองหรือในชุมชน
Please, let’s waste not single
particle of food
Please, let’s waste not single
particle of any resource
โปรดอย่าทิ้งขว้างอาหารแม้แต่เศษชิ้นเดียว
โปรดอย่าทิ้งขว้างทรัพยากรแม้แต่เศษชิ้นเดียว
Please, keep off electric appliances
one minute daily
Please, suspend travel by personal
car once a day
Please, keep a day in a week luxury
free
โปรดถอดปลั๊กไฟออกจากเครื่องไฟฟ้า
๑ นาทีทุกวัน
โปรดงดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัววันละครั้ง
โปรดเก็บ
๑ วันในสัปดาห์ให้ปลอดจากของฟุ่มเฟือย
Please, do not throw away the waste
wherever you like
Please, No more junk food
Please, Buy items made from recycled
materials
Please, save one minute to think on
Climate Change and Environment
โปรดอย่าทิ้งขยะตามอำเภอใจ
โปรดอย่ากินอาหารขยะอีกต่อไป
โปรดซื้อของที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
โปรดเจียดเวลาหนึ่งนาทีคำนึงถึงเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและสิ่งแวดล้อม
You Can Reduce CO2 Emissions, Plant
Native Trees Worldwide
คุณสามารถลดการปล่อย
CO2, ปลูกต้นไม้พื้นเมืองทั่วโลก
You could uphold the movement
instantly using sasrai-Movement appeal at the bottom of your all printed material
sasrai Volunteer demand your kind contemplation
to spread sasrai across the globe effectively. Please keep a sasrai-Movement
slogan at the bottom of your each letter or any other publication. Please keep
a sasrai-Movement banner at your office gate.
คุณสามารถสนับสนุนขบวนการทันที
ด้วยการใช้คำวิงวอนของ สาสะไร เขียนใต้สิ่งพิมพ์ทั้งหมดของคุณ. อาสาสมัครของ สาสะไร
ขอให้คุณไตร่ตรองหาทางแพร่กระจาย สาสะไร ไปทั่วโลกอย่างมีประสิทธิผล. โปรดเขียนคำขวัญของ สาสะไร ใต้จดหมาย
หรือสิ่งพิมพ์ใดๆ ของคุณ. โปรดติดป้าย
ขบวนการ สาสะไร ที่ประตูสำนักงานของคุณ.
Regards
SM Farid Uddin Akhter
Secretariat In-charge
sasrai-Movement
email: fgaleeb@gmail.com Phone:+88 01553
748 354
Let's we try
to save one Taka/dollar/pound/yen ........from our daily use, consumption, expenditure,
LUXURY combat the CLIMATE CHANGE, GLOBAL WARMING and the sequences.
ขอให้พวกเราพยายามเก็บออมเงิน
๑ บาท...จากการใช้จ่าย, บริโภค, ซื้อของฟุ่มเฟือย ประจำวัน
ร่วมกันต่อสู้กับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง,
โลกร้อน และ ผลพวงที่ตามมา.
Let's be a
desired friend to all creature, humanity, environment, earth
Plant for planet, water
for world, environment for entire
sasrai – sustainable
augmentation, solicited restraint, animated integrity
ขอให้เราเป็นเพื่อนที่พึงปรารถนาต่อสรรพสิ่ง,
มนุษยชาติ, สิ่งแวดล้อม, โลก
ต้นไม้ (Plant) สำหรับพิภพโลก (Planet), น้ำ (Water) สำหรับโลก (World),
สิ่งแวดล้อม (Environment)
สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง (Everything)
สาสะไร—การเพิ่มพูนที่ยั่งยืน,
เชื้อเชิญให้มีความยับยั้งชั่งใจ, ดลใจให้มีศักดิ์ศรี
Please send us your suggestion,
comment via email: sasraiMovement@groups.facebook.com
see
more
Wish the peace for each to ensure
rights for all save a bit, reserve, preserve, rejuvenate and conserve resources
sasrai ONLY THE PATH TO SAVE MOTHER
PLANET EARTH, NATURE. It’s only the path to Eliminate Racial Discrimination -
End violence against WOMEN and CHILDREN. sasrai only the path to end POVERTY,
VULNEARABILITY, HUNGER, DISASTER, CLIMATE Threat. Each second, minute, hour day needed to
be spent considering earth, environment and humanity.
สันติจงมีแก่ทุกคน
เพื่อให้มั่นใจในสิทธิของคนทั้งปวง
จงเก็บหอมรอมริบ, เผื่อเหลือเผื่อขาด, ถนอมรักษา, ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากร. สาสะไร เป็นหนทางเดียวที่จะรักษาคุ้มครองโลกามาตา,
ธรรมชาติ.
มันเป็นทางเดียวที่จะขจัดการกีดกันทางเชื้อชาติ—ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก. สาสะไร เป็นทางเดียวที่จะยุติความยากจน,
ความเปราะบาง, ความหิวโหย, และการคุกคามของภัยพิบัติ, ภูมิอากาศ. ทุกๆ วินาที, นาที, ชั่วโมงในแต่ละวัน
จำเป็นต้องใช้เพื่อพิจารณาถึงโลก, สิ่งแวดล้อม และ มนุษยชาติ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น