วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

318. เกษตรสรรพสิ่ง...เกษตรไบโอไดนามิค


318.  Whole-Earth-Creature Agriculture…Biodynamic Agriculture

The Consciousness Underlying Agriculture
By Bruno Follador, October 15, 2013
มโนสำนึกที่รองรับเกษตรกรรม
-บรูโน ฟอลลาดอร์
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Bruno Follador discussing compost at the research site where he works in East Troy, WI

Despite the growing awareness of the political and economic drive behind the industrialization of agriculture, seldom is there an in-depth discussion about the mode of consciousness that allowed the development of this mechanized and destructive form of agriculture.
ทั้งๆ ที่ความตระหนักได้ขยายตัวมากขึ้นถึงพลังการเมืองและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการแปลงเกษตรกรรมให้เป็นอุตสาหกรรม, ไม่ค่อยมีการอภิปรายระดับลึกเกี่ยวกับจิตสำนึกที่ยอมให้มีการพัฒนาเกษตรกรรมด้วยรูปแบบที่ใช้เครื่องจักรกลและทำลายล้างนี้.
The sustainable agricultural movement, in a way, arose out of the perception of the symptoms and consequences of our disassociation from nature. Innumerable actions and movements are being taken to counter issues like climate change, the honey bee colony collapse disorder, destruction of our forests, and the proliferation of GMOs. Often the symptoms are said to be the cause of the problem. We might have heard that the bees are dying because of the GMOs, pesticides, climate change, etc. But could there be something deeper underlying the tragedy of industrial agriculture and our current environmental and social problems?
ขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืน, ในทางหนึ่ง, เกิดขึ้นจากความสำเหนียกต่ออาการและผลพวงของการฉีกแยกของพวกเราจากธรรมชาติ.  ปฏิบัติการและขบวนการนับไม่ถ้วนกำลังถูกระดมเพื่อถ่วงดุลกับประเด็น เช่น ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, ความอลหม่านและพังทลายของฝูงผึ้ง, การทำลายป่าของเรา, และ การแพร่ระบาดของ จีเอ็มโอ.  บ่อยครั้งที่อาการต่างๆ ถูกหาว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา.  เราอาจได้ยินว่า ฝูงผึ้งกำลังล้มตาย เพราะ จีเอ็มโอ, ยาฆ่าแมลง, ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, ฯลฯ.  แต่เป็นไปได้ไหมที่มีอะไรบางอย่างที่อยู่ล้ำลึกกว่า ที่อยู่ภายใต้โศกนาฏกรรมของอุตสาหกรรมเกษตร และ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมของเราในปัจจุบัน?
I believe that Ehrenfried Pfeiffer, one of the pioneers of biodynamic agriculture, began to address the essence of the problem when he wrote:
ผมเชื่อว่า Ehrenfried Pfeiffer, หนึ่งในผู้บุกเบิกเกษตรไบโอไดนามิค (พลวัตชีวภาพ/สรรพสิ่ง), ได้เริ่มกล่าวถึงแก่นของปัญหาเมื่อเขาเขียน ดังนี้.
“The whole problem is primarily a moral one. Our future depends upon our choice between death forces and life forces; upon whether or not we will return in humility to the soil. The great questions are: Will we return to a philosophy of life which lays stress upon growth? Will our youth be educated in the spirit of growing things, and of service to life? Will they learn that it means more than money to plant our seeds and harvest crops? If the right inner attitude towards the soil penetrates the human race again, a renaissance of rural life will begin, and not only will new resources be created for our population, but spiritually we will be ‘safe’.”
“ปัญหาองค์รวม เป็นปัญหาทางจริยธรรมในเบื้องต้น.  อนาคตของเราขึ้นกับทางเลือกของเรา ระหว่าง พลังมรณะ และ พลังชีวิต; ที่ว่าเราจะกลับคืนด้วยความถ่อมตัวสู่ดิน.  คำถามยิ่งใหญ่คือ: เราจะกลับคืนไปสู่ปรัชญาแห่งชีวิต ที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโต งอกงาม หรือไม่?  เยาวชนของเราจะถูกฝึกฝน อบรม ให้มีจิตวิญญาณของการเพาะปลูกสิ่งต่างๆ, และ ให้บริการแก่ชีวิตไหม?  พวกเขาจะได้เรียนรู้ไหมว่า มันมีความหมายมากกว่าเงิน ที่จะเพาะปลูกเมล็ดของเราเองและเก็บเกี่ยวพืชผลที่ได้?  หากทัศนคติข้างในที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) ต่อดิน ทะลุทะลวงแผ่ซ่านในมนุษยชาติอีกครั้ง, ยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูชีวิตชนบทจะเริ่มเกิดขึ้นใหม่, และไม่เพียงแต่ทรัพยากรใหม่จะถูกสร้างขึ้นเพื่อประชากรของเรา, แต่ ในเชิงจิตวิญญาณ เราจะ ปลอดภัย ด้วย.
In the light of these words, I have been working with the Biodynamic Association and Michael Fields Agricultural Institute to develop a weekend workshop, More Humus, More Humanity: Insights and Practices out of Biodynamic Agriculture, which will give a historical context of the coming into being of the impulse given by Rudolf Steiner for the renewal of agriculture and what is now called biodynamics. Through the workshop, I will also strive to provide a current context for this work so that its insights and imaginations can come into a practical perspective. A core component of the workshop will be to explore agriculture and biodynamics through Goethean science. We will discuss how Goethean science can deepen our understanding of the current social and ecological crisis, and how we can use it to develop a greater sensitivity towards the nuances and subtleties of our agricultural landscape, farm individuality, Nature, and the movements of our Earth.
ด้วยแสงนำของคำเหล่านี้, ผมได้ทำงานกับสมาคม ไบโอไดนามิค และ สถาบันเกษตรกรรม ไมเคิล ฟิลด์ส ในการพัฒนาการฝึกอบรมสุดสัปดาห์, “ฮิวมัส (ซากพืชเน่าเปื่อยในดิน) มากขึ้น, มนุษยชาติเพิ่มขึ้น: ภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติจากเกษตรไบโอไดนามิค”, ซึ่งจะกล่าวถึงบริบททางประวัติศาสตร์ที่นำมาสู่แรงกระตุ้น ที่รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้นำเสนอ เพื่อฟื้นฟูเกษตร และ สิ่งที่ตอนนี้ เรียกว่า ไบโอไดนามิคส์.  จากการฝึกอบรม, ผมจะพยายามพูดถึงบริบทปัจจุบันของงานนี้ เพื่อว่า ภูมิปัญญา และ จินตนาการ ของงานนี้ จะกลายเป็นทัศนวิสัยที่ปฏิบัติได้.  องค์ประกอบแกนกลางของการฝึกอบรมนี้ จะเป็นการสำรวจเกษตรกรรม และ ไบโอไดนามิค ด้วยวิทยาศาสตร์ Goethean.  เราจะอภิปรายกันว่า วิทยาศาสตร์ Goethean ช่วยให้เราเข้าใจลุ่มลึกขึ้นได้อย่างไร เกี่ยวกับวิกฤตสังคมและนิเวศทุกวันนี้, และ เราจะใช้มันในการพัฒนาให้เกิดความอ่อนไหวมากยิ่งขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ และนัยอันละเอียดอ่อนของภูมิทัศน์ทางเกษตรของเรา, ภาวะปัจเจกของไร่นา, ธรรมชาติ, และการเคลื่อนไหวของพิภพโลก ได้อย่างไร.
The following questions will form our focus: How do I develop an inner organ of discernment as I work and co-create with Nature? How do I become aware of the creative forces of growth in Nature? And how do I begin to take responsibility towards these forces of growth?
คำถามต่อไปนี้ จะเป็นจุดเน้นของเรา: ฉันจะพัฒนาอวัยวะภายในแห่งความสุขุมในขณะที่ฉันทำงาน และ ร่วมสร้างกับธรรมชาติ ได้อย่างไร?  ฉันจะเกิดความสำเหนียกต่อพลังสร้างสรรค์ของการเติบโตในธรรมชาติได้อย่างไร?  และ ฉันจะรับผิดชอบต่อพลังแห่งการเจริญเติบโตเหล่านี้ได้อย่างไร?
At the beginning of twentieth century, Rudolf Steiner was already calling our attention to the fact that “the interests of agriculture are bound up with the broadest spheres of human life…there is practically no field of human endeavor that does not relate to agriculture in some way. Seen from whatever perspective you choose, agriculture touches on every single aspect of human life.”
ในตอนต้นศตวรรษที่ ๒๐, รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้เรียกร้องให้เราสนใจต่อความจริงที่ว่า “ประโยชน์ของเกษตรผูกพันกับชีวิตมนุษย์ในขอบข่ายกว้างขวางที่สุด...ในเชิงปฏิบัติ ไม่มีความมานะบุกบั่นสาขาใดของมนุษย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเกษตรไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง.  ไม่ว่าคุณจะเลือกมองจากมุมไหน, เกษตรจะแตะต้องกับทุกๆ มิติของชีวิตมนุษย์”.
Biodynamic agriculture is not simply concerned with good nutrition or farming practices that cause the least harm to nature. The agricultural foundations laid by Rudolf Steiner have a deeper significance illustrated beautifully by the German ethnobotanist Wolf D. Storl: “Biodynamics is a human service to the Earth and its creatures.”
เกษตรไบโอไดนามิค ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเกี่ยวกับโภชนาการที่ดี หรือ วิธีปฏิบัติทางเกษตรกรรม ที่ทำร้ายธรรมชาติน้อยที่สุด.  รากฐานเกษตรที่รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้วางไว้ให้ มีนัยลึกซึ้งที่บรรยายอย่างงดงามโดย นักชีว-ชาติพันธุ์วิทยา วอล์ฟ ดี.สตอร์ล: “ไบโอไดนามิคส์ เป็นการบริการของมนุษย์ต่อพิภพโลก และ สรรพสิ่งที่โลกสร้างขึ้น”.
So, within this context, this workshop is not only for farmers and gardeners but also to anyone interested and concerned with the present and future of our dear Earth and its people.
ดังนั้น, ในบริบทนี้, การฝึกอบรมไม่ใช่เพียงเพื่อชาวไร่ ชาวนา และชาวสวน แต่ใครก็ได้ที่สนใจและห่วงใยต่อสภาวะปัจจุบัน และ อนาคต ของพิภพโลกอันเป็นที่รักของเรา และ ประชาชนของโลก.
More Humus, More Humanity: Insights and Practices out of Biodynamic Agriculture will be offered November 1-3, 2013 at Michael Fields Agricultural Institute in East Troy, Wisconsin. For more information and to register, please visit our website.

Bruno Follador has been working in biodynamic composting methods for several years and has worked with farmers in Brazil, Europe and the United States. Bruno received his training in Biodynamic gardening and beekeeping at the Pfeiffer Center, in New York. For the last three years he was one of the researchers and consultants of the Ludolf Andreas Lab for Soil Fertility at Andreashof, a biodynamic farm in Germany, where he worked with compost and chromatography. At the moment he is living between Brazil and the U.S.A where he is consulting at different farms.
บรูโน ฟอลลาดอร์ ได้ทำงานเกี่ยวกับวิธีหมักแบบไบโอไดนามิค เป็นเวลาหลายปี และ ได้ทำงานกับเกษตรกรในบราซิล, ยุโรป และ สหรัฐฯ.  บรูโนได้รับการฝึกอบรม การทำสวนและเลี้ยงผึ้งแบบไบโอไดนามิค ที่ ศูนย์ Pfeiffer, ในนิวยอร์ก.   สามปีก่อน เขาเป็นหนึ่งในสามนักวิจัยและที่ปรึกษา ที่ห้องปฏิบัติการ ลูดอล์ฟ อันเดรียส์ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ที่ Andreashof, ซึ่งเป็น ฟาร์มไบโอไดนามิคในเยอรมัน, ที่ๆ เขาทำงานกับปุ๋ยหมัก และ เครื่องโครมาโตกราฟี (เครื่องวัดสารองค์ประกอบจากสีของปฏิกิริยากับสารเหล่านั้น).  ปัจจุบัน เขาอาศัยในบราซิลและสหรัฐฯ ที่ๆ เขาให้คำปรึกษาแก่ฟาร์มต่างๆ.
Agriculture in Service of the Earth and Humanity – Biodynamic Association

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น