วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

307. นักสตรี-นิเวศนิยม ช่วยกู้มนุษยชาติได้อย่างไร


307. How Eco-Feminists Rescue Humanity

Women at Work: India’s Eco-Feminist

By Vibhuti Agarwal, October 1, 2013

 หญิงมุ่งทำงาน: สตรี-นิเวศนิยมของอินเดีย

-วิภูติ อัครวัล

 

Jacques Demarthon/Agence France-Presse/Getty Images
Vandana Shiva at a press conference on genetically modified seeds in Paris.
Vandana Shiva, a longtime environmental campaigner, self-proclaimed eco-feminist and founder of Navdanya,  spoke with The Wall Street Journal’s India Real Time about her work. Edited excerpts:
วันทนา ศิวะ (VS), นักรณรงค์สิ่งแวดล้อมมานาน, เรียกตัวเอง อีโคเฟมินิส—สตรี-นิเวศนิยม—และผู้ก่อตั้งนวธัญญะ, คุยกับ อินเดียเรียลไทมส์ ของ วารสารวอลล์สตรีท (WSJ) เกี่ยวกับงานของเธอ.  ต่อไปนี้เป็นข้อความที่ผ่านการขัดเกลาแล้ว:

The Wall Street Journal: You trained as a physicist. How did you get interested in issues related to the environment, animal welfare and women?
WSJ:  คุณได้ฝึกมาให้เป็นนักฟิสกส์.  แล้วคุณไปสนใจประเด็นที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, สัตวสงเคราะห์ และ สตรีได้อย่างไร?
Vandana Shiva: Even as a physicist, I was involved in the Chipko movement in my home region of Garhwal in the Himalayas since the 1970s. [Chipko, which implies hugging trees to prevent them from being chopped down, was started by local women to protect the Himalayan forests.] Through Chipko, I realized there’s an intimate connection between nature’s economy and the sustenance economy that women look after, as well as a common attack on both from a greed economy. My philosophy of ecofeminism and Earth democracy was inspired by these connections.
VS:  แม้ในฐานะนักฟิสิกส์, ฉันก็มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว ชิปโก้ ในภูมิภาคบ้านเกิดของฉัน ครห์วัล ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๑๓- แล้ว.  [ชิปโก้, หมายถึง “กอดต้นไม้” เพื่อปกป้องมันไม่ให้ถูกโค่น, เริ่มขึ้นด้วยหญิงท้องถิ่น เพื่อป้องกันป่าหิมาลัย.]  จากชิปโก้, ฉันตระหนักว่า มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างระบบเศรษฐกิจของธรรมชาติ และ ระบบเศรษฐกิจยังชีพ ที่ผู้หญิงเป็นผู้ดูแล, ตลอดจน การจู่โจมร่วมต่อทั้งสองฝ่ายจากเศรษฐกิจละโมบ.  ปรัชญาสตรี-นิเวศนิยมของฉัน และ ประชาธิปไตยพิภพ เป็นผลจากแรงบันดาลใจจากความเชื่อมโยงเหล่านี้.

WSJ: What challenges do you face in a country like India?
WSJ:  คุณประสบสิ่งท้าทายอะไรในประเทศเช่นอินเดีย?
Ms. Shiva: The challenges faced in India are similar to those faced elsewhere when it comes to planetary survival. But the crisis of poverty, violence against women and political violence are more intense in India.
VSสิ่งท้าทายที่เผชิญในอินเดีย เหมือนกับที่เผชิญในที่อื่นๆ เมื่อมาถึงเรื่อง ความอยู่รอดของพิภพ.  แต่วิกฤตเรื่องความยากจน, ความรุนแรงต่อผู้หญิง และ ความรุนแรงทางการเมือง เข้มข้นกว่าในอินเดีย.

WSJ: Do you think things are changing for India’s farmers because of technology, government policies and urbanization?
WSJ:  คุณคิดไหมว่า สิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลงในชีวิตเกษตรกรอินเดีย เพราะเทคโนโลยี, นโยบายรัฐบาล และ การขยายความเป็นเมือง?
Ms. Shiva: Yes, things are changing for Indian farmers but in a tragic way. The most significant threats have come from urbanization and corporate influence over government policies, which led to land grabbing and farmers’ suicides. More than 284,000 farmers have committed suicide in India since 1995 due to debt.
VSใช่, สิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลงสำหรับเกษตรกรอินเดีย แต่ไปในทางน่าสลด.  ภัยคุกคามที่มีนัยสำคัญที่สุดมาจากการขยายความเป็นเมือง และ อิทธิพลบรรษัทเหนือนโยบายรัฐบาล, ซึ่งนำไปสู่การฉกฉวยแย่งชิงที่ดิน และ เกษตรกรฆ่าตัวตาย.  ชาวไร่ชาวนากว่า ๒๘๔,๐๐๐ คน ได้ปลิดชีพตัวเองในอินเดียตั้งแต่ ๒๕๓๘ เนื่องจากหนี้.

WSJ: How do farmers respond to you as a woman? Do you tell them what to do?
WSJ:  เกษตรกรตอบสนองต่อคุณในฐานะผู้หญิงอย่างไร?  คุณบอกพวกเขาหรือเปล่าว่าให้ทำอะไร?
Ms. Shiva: Farmers respond to compassion and solidarity. I try to find out their problems and then create programs to save seeds, establish community seed banks, and organize farmer-to-farmer exchange of knowledge in order to practice ecological agriculture. My philosophy is to become the change I want to see. And hope that others get inspired.
VSเกษตรกรตอบสนองต่อความเมตตากรุณาและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.  ฉันพยายามค้นหาปัญหาของพวกเขา แล้วก็สร้างโปรแกมเพื่อเก็บรักษาเมล็ด, ก่อตั้งชุมชนธนาคารเมล็ด, และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ชาวไร่ชาวนา-ต่อ-ชาวไร่ชาวนา เพื่อเรียนรู้วิถีปฏิบัติเกษตรนิเวศ.  ปรัชญาของฉัน คือ การกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ฉันต้องการเห็น.  และหวังว่า คนอื่นๆ จะเกิดแรงดลใจ.

WSJ: Do you think the Indian government gives adequate attention to environmental issues?
WSJ:  คุณคิดว่า รัฐบาลอินเดียให้ความสนใจกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากพอไหม?
Ms. Shiva: Sadly all the gains we made on policy and law to protect the environment in the 1970s and 1980s are being undone by the government.
VSน่าเศร้า ความก้าวหน้าทั้งหมดที่เราได้มาเชิงนโยบายและกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในทศวรรษ ๒๕๓๐ และ ๒๕๔๐ กลับถูกลบล้างโดยรัฐบาลปัจจุบัน.

WSJ: Can you talk about Navdanya and its achievements?
WSJ:  ช่วยเล่าเรื่อง นวธัญญะ และ ผลงานของมันได้ไหม?
Ms. Shiva: I started Navdanya when I realized that chemical companies wanted to genetically engineer and patent seeds and life forms. Thereafter, I began to save seeds to protect their diversity.
VSฉันเริ่ม นวธัญญะ เมื่อฉันตระหนักว่า บริษัทเคมีภัณฑ์ ต้องการจะทำวิศวพันธุกรรมและจดสิทธิบัตรเมล็ด และ สิ่งมีชีวิต.  จากนั้น, ฉันก็เริ่มเก็บรักษาเมล็ดเพื่อปกป้องความหลากหลายของมัน.
We have established 110 community seed banks. As we wanted to use diversity to create sustainable farming systems, we started training farmers to adopt ecological practices and shift to organic farming. We have reached 750,000 farmers through our awareness and training programs. On their part, farmers have demanded that we help organize a distribution network for organic produce. So, Navdanya also runs the only farmer-organized fair trade organic network in the country.
เราได้ก่อตั้ง ธนาคารเมล็ดชุมชน ๑๑๐ แห่ง.  เมื่อเราต้องการใช้ความหลากหลายในการสร้างระบบเกษตรยั่งยืน, เราก็เริ่มฝึกอบรมชาวไร่ชาวนาให้ยอมรับวิถีปฏิบัติเชิงนิเวศ แล้วขยับตัวต่อไปทำเกษตรอินทรีย์.  เราได้เข้าถึงเกษตรกร ๗๕๐,๐๐๐ คน ด้วยโปรแกมปลุกความตื่นรู้และฝึกอบรม.   ดังนั้น, นวธัญญะ ก็เป็นเครือข่ายอินทรีย์แห่งการค้าเป็นธรรม ที่เกษตรกรจัดการกันเองเพียงแห่งเดียวในประเทศ.

WSJ: Do you advocate genetically modified products?
WSJ:  คุณสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็ม) ไหม?
Ms. Shiva: In the 20 years of commercialization of genetically modified organisms, there has been a failure to increase yield, reduce chemicals and control pests and weeds. The most pernicious aspect of GMOs is the patents and intellectual property rights linked to them. This leads to collection of profits and becomes the root of the debt trap pushing Indian farmers to commit suicide. Hence, I do not advocate GMOs.
VSในช่วงเวลา ๒๐ ปีของ จีเอ็มโอ พาณิชย์, มีแต่ความล้มเหลวในการเพิ่มผลผลิต, ลดการใช้สารเคมีและควบคุมแมลงและวัชพืช.  สิ่งที่เป็นอันตรายมากที่สุดของ จีเอ็มโอ คือ สิทธิบัตร และ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับมัน.  นี่นำไปสู่การกอบโกยกำไรและกลายเป็นหลังคาของหล่มหนี้ ที่บีบคั้นให้เกษตรกรอินเดียสู่การฆ่าตัวตาย.  ด้วยเหตุนี้, ฉันไม่สนับสนุน จีเอ็มโอ.

WSJ: You are also a prolific writer. How do you find the time?
WSJ:  คุณเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย.  คุณหาเวลาได้อย่างไร?
Ms. Shiva: While travelling. On the ground there is too much to do.
VSในระหว่างการเดินทาง.  บนพื้นดิน มีงานต้องทำมากมายเหลือเกิน.

Like India Real Time on Facebook here and follow us on Twitter @WSJIndia.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น