วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

317. คอมโมโนมิคส์ ไม่ใช่ คอมมิวนิสต์ แต่อาจแก้ “ไข้เลือดออก” ได้


317.  Commonomics Isn’t Communism But May Stop “Bleeding Fever”

Commonomics: How We Can Build Local Economies That Work for Everyone
by Laura Flanders, October 11, 2013                     (This article first appeared at YES! Magazine.)
คอมโมโนมิคส์เราจะสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ทำงานเพื่อทุกคนได้อย่างไร
-ลอรา แฟลนเดอร์
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

Chokwe Lumumba was an unlikely candidate for high office in Mississippi. But last June, the former black nationalist and onetime attorney to Tupac Shakur was elected mayor of Jackson, Mississippi. He’s now in hot pursuit, not of big box stores or the next silver bullet solution to what ails the state’s capital city. He wants to create worker-owned cooperatives and small-scale green businesses and to invest in training and infrastructure. It’s the program of change he ran on in the election: local self-reliance.
โชเกว ลูมุมบา เป็นม้ามืดสำหรับตำแหน่งสูงในมิสซิสซิปปี.  แต่ในเดือนมิถุนายนที่แล้ว, อดีตชนชาติผิวดำและครั้งหนึ่งเป็นอัยการของ ทูปัค ชากูร ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองแจ็คสัน, มิสซิสซิปปี.  ตอนนี้ เขากำลังไล่ล่าร้อนแรง, ไม่ใช่กับร้านกล่องขนาดใหญ่ หรือ ยิงลูกปืนเงินนัดถัดไปเพื่อแก้ไขสิ่งที่ทำให้เมืองหลวงของรัฐล้มป่วย.  เขาต้องการสร้าง สหกรณ์ที่คนงานเป็นเจ้าของ และ ธุรกิจกรีนขนาดเล็ก และต้องการลงทุนในการอบรมและโครงสร้างพื้นฐาน.  มันเป็นโปรแกมแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่เขาใช้ในการเลือกตั้ง: ท้องถิ่นพึ่งตัวเอง.
Peaches, a soul-food restaurant on Jackson's historic Farish Street. The business was started in 1961 by Wilora "Peaches" Ephram and was frequented by leaders in the Civil Rights movement. (Photo: Sheila Scarborough)

Jackson’s population is 80 percent black, 18 percent white and the rest largely immigrant, with heavy concentrations of Indians, Nigerians and Brazilians.
ประชากรของแจ็คสัน 80% เป็นคนผิวดำ, 18% ผิวขาว และ นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นคนย้ายถิ่นเข้ามา, กระจุกตัวที่ชาวอินเดีย, ชาวไนจีเรีย และ ชาวบราซิล.
“Without question, the ideas of economic democracy that we want to propose come from the Southern context,” says Kali Akuno, a member of the Malcolm X Grassroots Movement and a coordinator of special projects for the Lumumba administration.
“ไม่ต้องสงสัย, ความคิดเรื่องประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ที่เราต้องการนำเสนอ มาจากบริบทของซีกโลกใต้”, กาลี อกูโน กล่าว, เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ ขบวนการรากหญ้ามัลคอล์ม X และเป็นผู้ประสานงานของโครงการพิเศษสำหรับคณะผู้บริหาร/รัฐบาลท้องที่ ลูมุมบา.
That Lumumba won the election came as a surprise to some, but not to Akuno: “There exists an audience in the black community that is way more willing than others to experiment with distribution.”
การที่ ลูมุมบา ชนะการเลือกตั้ง สร้างความประหลาดใจแก่บางคน, แต่ไม่ใช่สำหรับ อกูโน: “มีกลุ่มผู้ฟังอยู่แล้วในชุมชนผิวดำ ที่ยิ่งกว่ายินดีกว่าคนอื่นๆ ที่จะทดลองกับการกระจาย (อำนาจเศรษฐกิจ).”
Self-reliance “is in our history, it had to be,” he continues. “People know about Fannie Lou Hamer organizing black voters to fight segregation but do they know she also helped to start cooperatives with retail distribution across Mississippi that are still around today?”
การพึ่งตนเอง “อยู่ในประวัติศาสตร์ของเรา, มันต้องเป็นเช่นนั้น”, เขาพูดต่อ.  “ประชาชนรู้จัก แฟนนี ลู แฮเมอร์ ที่จัดกระบวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงผิวดำให้ต่อสู้การเดียดแยกสีผิว แต่พวกเขารู้ไหมว่า เธอก็ช่วยเริ่มต้นสหกรณ์ที่มีระบบขายปลีกกระจายไปทั่วมิสซิสซิปปี ที่ยังคงอยู่ทุกวันนี้?”
Far from Mississippi, on the Pine Ridge reservation, indigenous entrepreneur Mark Tilsen has just begun the process of turning ownership of his local food products company over to his workers. Tilsen founded Native American Natural Foods with his partner Karlene Hunter in 2006. Five years later, they won a social innovation award from the Social Venture Network. Today, they’re innovating again: joining a cohort of Native American leaders in a program to strengthen the local economy by democratizing wealth and ownership. The program has been developed by the Democracy Collaborative and the Northwest Area Foundation.
ไกลโพ้นจากมิสซิสซิปปี, ในเขตสงวนไพน์ริดจ์, ผู้ประกอบการพื้นเมืองดั้งเดิม มาร์ค ทิลสัน เพิ่งเริ่มต้นกระบวนการผันความเป็นเจ้าของแห่งบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นของเขา ให้แก่คนงานของเขา.  ทิลสันก่อตั้ง “อาหารธรรมชาติชาวอเมริกันพื้นเมือง” กับคู่ชีวิต คาร์ลีน ฮันเตอร์ ใน พ.ศ.2549.  ห้าปีต่อมา, พวกเขาได้รับรางวัลนวัตกรรมสังคมจาก เครือข่ายกิจการสังคม (Social Venture Network, SVN).  ปัจจุบัน, พวกเขากำลังสร้างนวัตกรรมอีก: เข้าร่วมกับกลุ่มผู้นำอเมริกันพื้นเมืองในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจท้องถิ่น ด้วยการทำให้ความมั่งคั่งและความเป็นเจ้าของ เป็นประชาธิปไตย.  โปรแกมนี้ ได้รับการพัฒนาโดย Democracy Collaborative (ความร่วมมือประชาธิปไตย) และ Northwest Area Foundation (มูลนิธิพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือ).
Tilsen and I talked via cellphone in August, as a hailstorm pelted down on the reservation. For many years, Pine Ridge has ranked as this nation’s poorest place according to the US Census. Eighty percent of the residents are unemployed; 49 percent live below the poverty line. In 2007, life expectancy was estimated at 48 for men and 52 for women. “Why co-ops?” I asked.
ทิลสันและฉัน ได้คุยผ่านมือถือในเดือนสิงหาคม, ในขณะที่พายุลูกเห็บลงในเขตสงวน.  เป็นเวลาหลายปี, ไพน์ริดจ์ ติดอันดับยากจนที่สุดของชนชาตินี้, ตามสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ.  ชาวบ้าน 80% ไร้งานว่าจ้าง; 49% อยู่ใต้ขีดความยากจน.  ในปี 2551, อายุขัยของชาย 48 และ หญิง 52.  “แล้วทำไมถึงสหกรณ์?” ฉันถาม.

Mark Tilsen (back left) with staff of Native American Natural Foods. (Photo: Native American Natural Foods)

“The goal of our company is wealth creation and self-determination on the Pine Ridge Reservation, so we want our employees to own the wealth they’re creating. We didn’t make this company to sell or flip it,” answered Tilsen. “In tribal communities, traditional methods of production were based on ‘tiospaye’ — the Oglala word for extended family structures,” Tilsen explained. “That’s how we survived and how we took care of one another, organizing points of production in a cooperative way. It’s nothing foreign.”
“เป้าหมายของบริษัทของเราคือ การสร้างความมั่งคั่ง และ การปกครองตัวเองในเขตสงวนไพน์ริดจ์, ดังนั้น เราต้องการลูกจ้างที่เป็นเจ้าของๆ ความมั่งคั่งที่พวกเขากำลังสร้างขึ้น.  เราไม่ได้ทำบริษัทนี้เพื่อขาย หรือ ให้มันล้ม”, ทิลสัน ตอบ.  “ในชุมชนของชนเผ่า, วิธีการตามประเพณีดั้งเดิมในการผลิตตั้งอยู่บนฐาน ทิโอสปาเย—คำ โอกลาลา ที่แปลว่า โครงสร้างครอบครัวขยาย”, ทิลสัน อธิบาย.  “นั่นเป็นหนทางที่พวกเราอยู่รอดมาได้ และ เป็นวิธีการที่พวกเราดูแลกันและกัน, การจัดกระบวนองค์กรตามคะแนนการผลิตอย่างร่วมมือเกื้อกูล (สหกรณ์) กัน.  มันไม่ใช่เรื่องต่างด้าวเลย”.
Tilsen hopes to have Native American Natural Foods in employee hands by June, 2014.
ทิลสันหวังว่า อาหารธรรมชาติอเมริกันพื้นเมือง จะอยู่ในมือของลูกจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2557.

Commonomics
คอมโมโนมิคส์

Welcome to “Commonomics,” a new collaboration between YES! Magazine and GRITtv. Starting this month, we’ll be traveling the country asking the question: what makes for a strong local economy? It’s not a question that produces easy answers.
ขอต้อนรับสู่ “คอมโมโนมิคส์”, อันเป็นความร่วมมือใหม่ระหว่าง YES! Magazine และ GRITtv.  เริ่มจากเดือนนี้, เราจะเดินทางไปทั่วประเทศ ด้วยคำถาม: อะไรที่ทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเข้มแข็ง?  มันไม่ใช่คำถามที่จะตอบได้ง่ายๆ.

Beyond GDP: Measuring What Matters
โพ้น จีดีพี: การวัดสิ่งที่มีความสำคัญ (ต่อชีวิต)

Aggregate counts of economic activity like gross domestic product, or GDP, give all activity equal value. The cultivating of an urban farm, which may involve little paid work and consume few bought materials, is less “productive,” in GDP terms, than paving that farm over. “When grain prices go up, that’s good for GDP but terrible for hunger,” says Joshua Farley, a professor in community development and applied economics at the University of Vermont. ”GDP is an excellent measure of cost; a terrible measure of benefit.” To even start a new conversation, we need new measurements. As the Business Alliance for Local Living Economies (BALLE) puts it, it’s time to start “measuring what matters.”
การมัดรวมคะแนนกิจกรรมเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตในประเทศมวลรวม หรือ จีดีพี, ตีมูลค่ากิจกรรมทั้งหมดเท่ากัน.  การเพาะปลูกไร่นาในเมือง, ซึ่งอาจรวมงานจ้างเล็กน้อยและบริโภควัตถุดิบที่ซื้อมาบ้าง, ถือว่ามี “ผลิตภาพ” ต่ำกว่า ในแง่ จีดีพี เมื่อเทียบกับการลาดซีเมนต์ไร่นาแห่งนั้น.  “เมื่อราคาธัญพืชสูงขึ้น, นั่นดีสำหรับ จีดีพี แต่แย่สำหรับคนหิวโหย”, โจชัว ฟาร์เลย์, อาจารย์ พัฒนาชุมชน และ เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์, กล่าว.  “จีดีพี เป็นเครื่องวัดต้นทุนที่ดีเยี่ยม; แต่เป็นตัววัดที่ย่ำแย่ของผลประโยชน์”.  แม้แต่เพื่อเริ่มต้นการสนทนาใหม่, เราจำเป็นต้องมีมาตรวัดตัวใหม่ด้วย.  ดังที่ พันธมิตรธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีชีวิต (BALLE) กล่าว, ถึงเวลาแล้วที่จะเริ่ม “วัดสิ่งที่มีความหมาย/สำคัญ (ต่อชีวิต/ท้องถิ่น)”.
Farley’s been involved in studies of Burlington, Vermont, using a ‘genuine progress indicator,’ a version of the index of sustainable economic welfare that looks at a community’s overall well-being. There are many variations of these alternative indicators. Though most still equate value with consumption and growth, some include factors that GDP leaves out — like the value of unpaid household and volunteer work — and factor in the cost of pollution, depletion of resources and the consequences of uneven distribution of wealth.
ฟาร์เลย์ ได้มีส่วนในการศึกษาของ เบอร์ลิงตัน, เวอร์มอนต์, ซึ่งใช้ ดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าที่แท้จริง, อันเป็นรูปแบบหนึ่งของดัชนีสวัสดิการเชิงเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ที่ดูภาพรวมของความอยู่ดีมีสุขของชุมชน.  ดัชนีทางเลือกเหล่านี้ มีอยู่หลากหลาย.  แม้ว่าส่วนใหญ่จะยังเทียบคุณค่า/มูลค่า กับ การบริโภคและการเติบโต, บางดัชนี เพิ่มปัจจัยที่ จีดีพี มองข้าม—เช่น คุณค่า/มูลค่าของงานในครัวเรือนและจิตอาสาที่ไม่ได้รับค่าจ้าง—และปัจจัยในต้นทุนของการสร้างมลภาวะ, การล้างผลาญทรัพยากร และ ผลพวงของการกระจายความมั่งคั่งที่ไม่สม่ำเสมอ/เสมอภาค.
We don’t yet measure the real costs of these problems in the United States, because, for example, we tend to under-price energy, transportation and education and pay no tax on environmental pollution.
เรายังไม่ได้วัดต้นทุนที่แท้จริงของบรรดาปัญหาในสหรัฐฯ, เพราะ, ยกตัวอย่าง, เรามักจะกดราคาพลังงาน, การขนส่ง และ การศึกษา และไม่ได้จ่ายภาษีสำหรับการสร้างมลภาวะในสิ่งแวดล้อม.
According to Robert Reich, former US labor secretary and a professor at the University of California, Berkeley, “A true tally of all that might reveal the value of being more local.”
ตามคำพูดของ โรเบิร์ต ไรช์, อดีตเลขาธิการกระทรวงแรงงาน และ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบอร์กเลย์, “การรวมคะแนนอย่างแท้จริงของทุกสิ่ง ที่อาจเผยคุณค่า/มูลค่าของความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น”.

Farmer-philosopher Wendell Berry defines economy this way: “I mean not economics but economy, the making of the human household upon the earth; the arts of adapting kindly the many, many human households to the earth’s many eco-systems and human neighborhoods.”
เกษตรกร-ปราชญ์ เว็นแดล เบอร์รี นิยาม เศรษฐกิจ ดังนี้: “ผมไม่ได้หมายถึงเศรษฐศาสตร์ แต่ ระบบเศรษฐกิจ, การสร้าง/ดำรงครัวเรือนของมนุษย์บนพิภพโลก; ศิลปะในการปรับตัวด้วยความเมตตาของครัวเรือนมากมาย ให้เข้ากับระบบนิเวศมากมายของโลก และเพื่อนบ้านมนุษย์”.
By now, we know the signs of a “household” that’s been hollowed out. We’ve seen the food deserts and the chronically vacant homes, the ghostly downtown storefronts and the municipalities in hock to the last sweet-talking corporation to suck up public subsidies and then run away. We’re familiar with the tension in a city where the only thing the rich and poor districts have in common is a subway line. We know what it’s like to be close, everywhere, to the same chain coffee shop and two hours away from the “local” hospital. We’ve seen the sprawl that ate the woodlands and the floodwaters that steadily rose.
ตอนนี้, เราได้รู้แล้วจากสัญญาณของ “ครัวเรือน” ที่กลวงจากในสู่นอก.  เราได้เห็น ทะเลทรายอาหาร และ บ้านที่ร้างอ้างว้างตลอดเวลา, หน้าร้านดั่งผีสิงย่านกลางเมือง และเทศบาลที่กรูเข้าหาบรรษัทปากหวานครั้งสุดท้าย ที่ดูดเงินอุดหนุนสาธารณะไปจนหมด แล้วก็หนีหายไป.  เราคุ้นเคยกับความตึงเครียดในเมืองที่สิ่งเดียวที่ย่านคนรวยและย่านคนจนยังใช้ร่วมกัน คือ รถไฟใต้ดิน.  เรารู้ว่า มันรู้สึกอย่างไร ที่ต้องอยู่ใกล้, มีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง, กับร้านกาแฟห่วงโซ่เดียวกัน และ โรงพยาบาล “ท้องถิ่น” กลับอยู่ห่างออกไปสองชั่วโมง.  เราได้เห็นการแผ่ขยาย (เมือง) ที่เขมือบเขตป่า และ ระดับน้ำท่วมที่มีแต่เพิ่มสูงขึ้น.
In Commonomics we’re going to look at communities that have had enough of all that; places where, by choice or by crisis, people are trying to figure out how to transform what they’ve known into something better for all.
ในคอมโมโนมิคส์ เราจะมองไปที่ชุมชน ที่เหลือทนกับเจ้าพวกนี้แล้ว; สถานที่ๆ, ไม่ว่าจะด้วยการเลือกหรือเพราะวิกฤต, ประชาชนกำลังพยายามหาทางพลิกผันสิ่งที่พวกเขารู้จักกันมา ให้เป็นบางอย่างที่ดีสำหรับทุกคน.
There’s no consensus on the meaning of “local,” let alone agreement on what makes an economy “strong.” Ask 25 people with expertise in the topic and you’ll hear 25 different answers. (I know because that’s what I did.) But there is history here and a breadth of experience we can draw on if we pay attention, especially to those for whom “self-reliance” is not a lifestyle choice.
ไม่มีฉันทามติสำหรับความหมายของคำว่า “ท้องถิ่น”, อย่าว่าแต่มีข้อตกลงกันว่า อะไรทำให้เศรษฐกิจ “แข็งแรง”.  หากคุณถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ 25 คน คุณก็จะได้ฟัง 25 คำตอบ.  (ผมรู้ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ผมได้ทำมาก่อน.)  แต่ ที่นี่มีประวัติศาสตร์ และ มีประสบการณ์กว้างขวาง ที่เราสามารถจะดึงออกมาใช้ได้ หากเราให้ความสนใจ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับพวกที่ “การพึ่งตัวเอง” ไม่ใช่ทางเลือกของลีลาชีวิต.
Wealthy communities, let’s face it, aren’t famous for their embrace of togetherness and sharing. The wealthiest “local” economies are surrounded by locking gates. In Commonomics, we’re going to talk with some of the people and groups who, when it comes to sustainability and localism, have often been excluded from the policymaking and the debate and yet who may have the most rooted and innovative ideas for building strength.
ชุมชนคนรวย, ขอให้เราเผชิญหน้ากับมัน, ไม่ได้มีชื่อเสียงเพราะพวกเขาใช้ชีวิตแบบอยู่ร่วมกันและแบ่งปันกัน.  ระบบเศรษฐกิจ “ท้องถิ่น” ที่มั่งคั่งที่สุดล้อมรอบตัวเองด้วยประตูรั้วใส่กุญแจ.  ในคอมโมโนมิคส์, เรากำลังพูดคุยกับบางคนและบางกลุ่มที่, เมื่อมาถึงเรื่องความยั่งยืน และ ความเป็นท้องถิ่น, มักจะถูกกันออกจากการทำนโยบายและการถกเถียงอภิปรายมาตลอด แต่ก็เป็นผู้ที่มีความคิดที่มีรากยึดเหนี่ยวและมีนวัตกรรมมากที่สุดในการสร้างความเข้มแข็ง.

I’m reminded of the words of J. Bob Alotta, executive director of the Astraea Lesbian Foundation for Justice, referring to the disproportionately low-income LGBT groups she funds: “To be unsafe inside your own skin can be isolating but it is also a value proposition…It begets the possibility of building community in ways that may seem old fashioned.”
ฉันหวลคิดถึงคำพูดของ เจ.บ็อบ อร็อตตา, ผอ บริหารของ Astraea Lesbian Foundation for Justice (มูลนิธิเลสเปี้ยนอาสตราเอียเพื่อความเป็นธรรม), กล่าวถึงกลุ่มข้ามเพศสภาวะรายได้ต่ำที่มีสัดส่วนล้นหลามที่เธอให้ทุนสนับสนุน: “ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่อยู่ภายในผิวหนังของคุณ เป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว แต่ก็เป็นโจทย์/ข้อเสนอที่มีค่า...มันก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการสร้างชุมชนในลักษณะที่ดูเหมือนเดิมๆ”.
Nevertheless, even the best community builders need structural support. Policymakers and economic developers typically fall into two camps: “hunters” and “gatherers.” The former look to tempt big businesses from elsewhere to move to where they are by showering them with tax breaks and benefits that simultaneously siphon money out of a local area. Commonomics will focus on the gatherers, those who are working to foster economic growth from within. We’ll be asking what’s working, what isn’t and by what standard are our local economies to be judged? Environmental health, unemployment, social mobility —  there are many relevant metrics. We’ll prioritize poverty reduction and quality of life. (See sidebar at left.)
อย่างไรก็ตาม, แม้แต่นักสร้างชุมชนที่เก่งที่สุด ก็จำเป็นต้องมีเครื่องสนับสนุนเชิงโครงสร้าง.  นักวางนโยบายและนักพัฒนาเศรษฐกิจโดยปกติ มักแยกเป็นสองค่าย: “พรานนักล่า” และ “พวกเก็บกิน”.  ค่ายแรกมองหาทางยั่วเย้าให้ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไหนก็ได้ ให้เคลื่อนมาลงทุนในที่ของพวกเขา ด้วยการโปรยปรายล่อพวกเขาด้วยการงดภาษีและผลประโยชน์ต่างๆ ที่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นดั่งกาลักน้ำเงินออกจากพื้นที่ท้องถิ่น.  คอมโมโนมิคส์ จะเน้นที่พวกเก็บกิน, พวกที่ทำงานเพื่อหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจจากในสู่นอก.  เราจะถามว่า อะไรที่ทำงานได้, อะไรที่ไม่ทำงาน และ มาตรฐานอะไรที่จะใช้ตัดสินระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นของเรา?   สุขภาพสิ่งแวดล้อม, การไร้งานจ้าง, การเคลื่อนตัวในสังคม—มีมาตรวัดมากมายที่เข้าเรื่อง.  เราจะให้ความสำคัญกับประเด็นการลดความยากจนและคุณภาพชีวิต.  (ดูกล่องว่าด้วย จีดีพี ด้านบน)

What is a local economy, anyway?
แล้วระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นมันเป็นอย่างไร?

“Local” has become a buzzword. There’s “eco-localism,” local food and local farming, local media movements and regional, state and even national ad campaigns urging us to “eat local, buy local and put local first.” Local’s gone global, but what exactly does it mean?
“ท้องถิ่น” ได้กลายเป็นวลียอดนิยม.  มีคำว่า “นิเวศ-ท้องถิ่น”, อาหารท้องถิ่น และ เกษตรกรรมท้องถิ่น, ขบวนการสื่อท้องถิ่น และ ป้ายโฆษณารณรงค์ระดับภูมิภาค, รัฐ และ แม้แต่ชาติ ชักจูงให้เรา “กินท้องถิ่น, ซื้อท้องถิ่น และ วางท้องถิ่นไว้แถวหน้า”.  ท้องถิ่นสู่โลก, แต่จริงๆ แล้ว มันหมายถึงอะไร?
I bought the desk I’m writing on on eBay. I’ve saved a pretty antique from the dump and spared the environment the cost of a bit of fresh manufacturing. But compared to the closest furniture factory, is that nice eBay seller in Oklahoma contributing more or less in terms of jobs and taxes? The mind boggles.
ฉันได้ซื้อโต๊ะที่ฉันกำลังเขียนจาก อีเบย์ (ตลาดทางอินเตอร์เน็ต).  ฉันเก็บของโบราณดูดีชิ้นหนึ่งจากกองขยะ และ ได้ช่วยลดต้นทุนสิ่งแวดล้อมเล็กน้อยที่ต้องใช้เพื่อผลิตสินค้าใหม่.  แต่เมื่อเทียบกับโรงงานเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุด, การค้าขายอันน่ารักบน อีเบย์ ดังกล่าว ได้สร้างงานและภาษีแก่รัฐโอกลาโฮมา มากขึ้น หรือ น้อยลง?  ชักงง.
ในภาพ...
ดอลลาร์ท้องถิ่นอยู่ติดถิ่นอย่างไร

ก.      ผลกระทบตัวคูณท้องถิ่น
การซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ธุรกิจที่คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของ รักษาการหมุนเวียนของเม็ดเงิน ให้อยู่ใกล้กับที่ๆ คุณจ่ายไป.  นี่เป็นการสร้างกระเพื่อมคลื่นกระทบ เพราะในทางกลับกัน ธุรกิจเหล่านั้น และ ลูกจ้างของพวกเขา ก็จะใช้จ่ายเม็ดเงินของคุณในท้องที่.  ส่วนบรรษัทจะส่งเงินส่วนใหญ่ที่คุณจ่าย ออกนอกเมืองนั้น.
-          สำหรับทุกๆ 1 บาท ที่คุณจ่ายที่ธุรกิจท้องถิ่น... 45 สตางค์ จะถูกลงทุนกลับในท้องที่
-          สำหรับทุกๆ 1 บาท ที่คุณจ่ายที่ร้านห่วงโซ่บรรษัท... เพียง 15 สต. จะถูกลงทุนกลับในท้องที่

ข.      นิดหน่อย แต่ไปไกล
หากทุกคนในชุมชนใช้จ่ายซื้อ/ใช้บริการ ท้องถิ่นมากขึ้น, ผลกระทบตัวคูณจะทบทวีเป็นเงินก้อนใหญ่ขึ้นสำหรับเศรษฐกิจท้องถิ่น.  ยกตัวอย่าง, การเพิ่มการใช้จ่ายกับสินค้า/บริการท้องถิ่น จาก 50% เป็น 80% จะเพิ่มผลกระทบท้องถิ่น--จาก 200 บาท เป็น 500 บาท.
-กราฟ
แหล่ง:  ซีแอตเติลที่ยั่งยืน, เศรษฐศาสตร์พลเมือง
YES! Magazine

Stacy Mitchell, director of independent business and community banking initiatives at the Institute for Local Self-Reliance, says “local” varies by sector of the economy. Retail and banking businesses can be considered local if the owners are within a certain geographic area. But every village is not going to start making its own jet aircraft. “Talking manufacturing, you may need to be talking regional or statewide,” says Mitchell.
สเตซี มิตเชล, ผอ ธุรกิจอิสระ และ โครงการธนาคารชุมชน ที่สถาบันท้องถิ่นพึ่งตัวเอง, กล่าวว่า “ท้องถิ่น” แตกต่างกันตามภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ.  ธุรกิจขายปลีก และ การธนาคาร อาจถือได้ว่าเป็นท้องถิ่น หากเจ้าของอาศัยอยู่ภายในขอบเขตภูมิศาสตร์หนึ่งๆ.  แต่ทุกๆ หมู่บ้านจะไม่เริ่มต้นผลิตเครื่องบินเจ็ตของตัวเอง.  “เมื่อพูดถึงโรงงานอุตสาหกรรม, คุณอาจต้องพูดถึงระดับภูมิภาค หรือ รัฐ”, มิตเชลกล่าว.
Geography matters less than goals, she continues: “The goal is having community-led, community-controlled economies where the decision-making is by those who are feeling the effects of the decisions that are made. [We need] humanly scaled systems both in economics and politics.”
ภูมิศาสตร์มีความสำคัญน้อยกว่าเป้าหมาย, เธอกล่าวต่อ: “เป้าหมาย คือ ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ชุมชนนำ, ชุมชนควบคุม ที่ๆ การตัดสินใจ มาจากผู้ที่รู้สึกถึงผลกระทบของการตัดสินใจที่เกิดขึ้น.  เราจำเป็นต้องมีระบบในขนาดของมนุษย์ ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง”.
At the American Sustainable Business Council, David Levine talks about the “triple bottom line” of social, environmental and economic impacts.
ที่สภาธุรกิจที่ยั่งยืนอเมริกัน, เดวิด ลีไวน์ พูดถึง “สามขีดล่าง” ของผลกระทบทางสังคม, สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ.
“Within that frame, local by itself is not enough,” he says. Levine does not want people buying “local first” from a locally owned sweatshop or toxic chemical plant. To avoid that, what’s important to business owners and consumers alike, he says, is that there be “transparency around values.”
“ภายในกรอบนั้น, แค่ท้องถิ่นเอง ไม่เพียงพอ”, เขากล่าว.  ลีไวน์ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนซื้อ “ท้องถิ่นก่อนเพื่อน” จาก ร้านที่กดขี่แรงงานที่ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ หรือ โรงงานสารเคมีพิษ.  เพื่อให้หลีกเลี่ยงได้, สิ่งสำคัญสำหรับทั้งเจ้าของธุรกิจ และ ผู้บริโภค, เขากล่าว, คือ มี “ความโปร่งใสในบริบทของมูลค่า/คุณค่า”.
“The so-called local economy is really best understood as a regional transaction,” says Anthony Flaccavento, a family farmer, community leader and small-business owner from Abingdon, Virginia.
“สิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจท้องถิ่น จริงๆ แล้วเข้าใจได้ดีที่สุดในฐานะที่เป็นการทำธุรกรรมระดับภูมิภาค”, แอนโทนี แฟลคคาเวนโต, เกษตรกรครอบครัว, ผู้นำชุมชน และ เจ้าของธุรกิจรายย่อย จากอบิงดอน, เวอร์จิเนีย.
“You need to think regionally. What does your region support ecologically and where are the markets? The hyper-local focus, within five or 100 miles is foolish. Most goods travel 2,000 miles. If you can build something [to substitute] within 500 miles you’ve made a major impact.”
“คุณจำเป็นต้องคิดในระดับภูมิภาค.  ภูมิภาคของคุณ (ผลิตอะไร) ที่สนับสนุนทางนิเวศ และ ตลาดอยู่ที่ไหน?  การเน้นที่ท้องถิ่นมากจนเกินไป, ภายในร้ศมี 5 หรือ 100 ไมล์ เป็นความคิดตื้นๆ.  สินค้าส่วนใหญ่เดินทางกว่า 2,000 ไมล์.  หากคุณสามารถสร้างบางอย่าง ที่ทดแทนได้ ในรัศมี 500 ไมล์ คุณได้ทำให้เกิดผลกระทบสำคัญแล้ว”.
To Flaccavento, who built a nationally recognized nonprofit, Appalachian Sustainable Development, a critical indicator of a strong local economy is what he calls “synergy” — how much one positive action ignites another. A few large employers help anchor a community’s economy, for sure, but when a community is depending on one or two entities to keep a place ticking over, it’s vulnerable to devastation should that single employer move out. That company may get a better deal somewhere else in tax breaks or community services.
สำหรับแฟลคคาเวนโต, ผู้สร้างองค์กรไม่แสวงกำไรอันเป็นที่ยอมรับระดับชาติ, การพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งอัปปาลาเชียน, ดัชนีสำคัญของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่เข้มแข็ง คือ “synergy” (ความสอดคล้องตอบรับกับปัจจัยอื่นๆ)—ปฏิบัติการบวกหนึ่ง จุดชนวนให้เกิดปฏิบัติการ (ลูกโซ่) อื่นได้มากแค่ไหน.  นายจ้างไม่กี่คน ช่วยเป็นหลักยึด/สมอเรือ ให้เศรษฐกิจชุมชนหนึ่งได้, แน่นอน, แต่เมื่อไรที่ชุมชนต้องพึ่งเพียงหนึ่ง หรือ สองแหล่ง เพื่อทำให้ชุมชนขับเคลื่อนต่อไปได้, มันเป็นความเปราะบางสู่หายนะ หากนายจ้างเดี่ยวนั้น เคลื่อนย้ายออกไป.  บริษัทนั้นๆ อาจได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าจากที่อื่นในแง่การพักภาษี หรือ การบริการในชุมชน.
ในภาพ...
เราได้อะไรจากธุรกิจท้องถิ่น

มาตรฐานสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น
โดยทั่วไป, ธุรกิจนอกถิ่นเป็นผู้นำในการต่อสู้ ต่อต้านมาตรฐานที่แข็งแกร่งกว่าเชิงสิ่งแวดล้อม.

การสร้างความมั่งคั่งมากขึ้น
เหตุที่ธุรกิจนอกถิ่น มาแล้วก็ไป ในขณะที่ ธุรกิจท้องถิ่น อยู่ติดที่หลายปี, แม้กระทั่งหลายชั่วคน, พวกเขาย่อมเป็นผู้น่าเชื่อถือได้มากกว่าในฐานะที่เป็นผู้สร้างความมั่งคั่ง, รายได้, และงานจ้าง.

เสถียรภาพของงานว่าจ้าง
การเปิดและปิดธุรกิจนอกถิ่น ขนาดใหญ่ สร้างความตึงเครียดมหาศาล, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชนขนาดเล็ก.

การวางแผนเมืองที่ยั่งยืน
ธุรกิจที่คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของ ย่อมเป็นนักส่งเสริมตามธรรมชาติ ต่อต้านนโยบายแผ่ขยาย เพราะ พวกเขาให้คุณค่าสูง และมีความนิยมให้ชาวบ้านท้องถิ่น ได้เข้าถึงบริการง่าย.  พวกเขาย่อมสนับสนุนการออกแบบชุมชน ที่รวมการเดิน และ การขี่จักรยาน.  ยานพาหนะที่เล็กกะทัดรัด ซึ่งเก็บไว้ในบ้านเรือนได้ง่าย หรือ ที่ชั้นล่างของอาคารอพาร์ทเม้นท์.
ความรู้สึกถึงอัตลักษณ์
ส่วนที่ทำให้ชุมชนหนึ่งๆ เจ๋ง คือ มันได้ถนอมรักษาความพิเศษของวัฒนธรรม, อาหาร, นิเวศ, สถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์, ดนตรี, และศิลปะ ได้มากขนาดไหน.  ธุรกิจท้องถิ่นเชิดชูคุณลักษณะเหล่านี้, ในขณะที่ พวกนอกถิ่น จะรีดสิ่งเหล่านี้ให้ราบคาบ กลายเป็นร้านห่วงโซ่ค้าปลีกวัฒนธรรมเดี่ยวโดยสิ้นเชิง.

ประชาธิปไตย
จากการศึกษาพฤติกรรมการออกคะแนนเสียง แนะว่า ชาวบ้านอาศัยอยู่ในชุมชนนานขึ้นเท่าไร, ก็จะออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากยิ่งขึ้น, และว่า ชุมชนที่มีความหลากหลายเชิงเศรษฐกิจ จะมีอัตราการมีส่วนร่วมในการเมืองท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น.
แหล่ง:  Michael H. Shuman, ดอลลาร์ท้องถิ่น, ความรู้สึก/ภักดี ท้องถิ่น
YES! Magazine

Buying local is not enough — we have to change the rules
เพียงซื้อจากท้องถิ่นไม่พอ—เราต้องเปลี่ยนกติกาด้วย

To make the substantial shifts that we need, it’s going to take more than consumers buying local, says Michael Shuman, research director of the Business Alliance for Local Living Economies (BALLE). It’s going to require tilting the policy landscape toward local businesses. Rather than simply lecturing consumers on buying local, government will have to lead by doing likewise. The government’s purse is a whole lot more powerful than Joe and Jane Consumer’s. There are many things cities and states already do to benefit business — like offering subsidies, grants and loans. Cities are experimenting with different ways to direct those public benefits to locally owned businesses that benefit the public and through government contracting and procurement. Some, like Cleveland, award extra points in the contract bidding process to businesses that are locally owned, or green, or pay prevailing wages, or hire local workers, or all of the above. But so far, policymakers have generally been reluctant to cut the multinationals off. Charging discrimination, internationally owned firms have been known to challenge local preference rules under international trade law and the fear of lawsuits puts an effective chill on legislators.
เพื่อให้เกิดการขยับตัวอย่างเป็นแก่นสารตามที่เราต้องการ, เราต้องไปไกลกว่าแค่ผู้บริโภคซื้อของท้องถิ่น, ไมเคิล ชูแมน, ผอ วิจัยของ BALLE, กล่าว.  มันจำเป็นต้องกระดกคานภูมิทัศน์ของนโยบายให้เอียงไปทางธุรกิจท้องถิ่น.  แทนที่จะเที่ยวสั่งสอนผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าท้องถิ่น, รัฐบาลจะต้องนำด้วยการทำเช่นนั้นก่อน.  กระเป๋าของรัฐบาลมีพลังอำนาจมากกว่าแค่ผู้บริโภค โจ และ เจน.  มีหลายอย่างที่ระบุไว้แล้ว (ในนโยบายและแผน) ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ—เช่นการให้เงินอุดหนุน, ให้ทุน หรือ ให้กู้ยืม.  หลายเมืองกำลังทดลองวิธีการต่างๆ ในการผันประโยชน์สาธารณะเหล่านั้นสู่ธุรกิจที่คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของ ที่สร้างประโยชน์สาธารณะ ด้วยการทำสัญญาว่าจ้าง หรือ ซื้อขายกับรัฐบาล.  บางแห่ง, เช่น คลีฟแลนด์, ให้คะแนนเพิ่มในขั้นตอนการประมูล แก่ธุรกิจที่ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ, หรือ สีเขียว, หรือ จ่ายค่าแรงตามเกณฑ์, หรือ ว่าจ้างคนงานท้องถิ่น, หรือ ที่กล่าวมาทั้งหมด.  แต่จนถึงบัดนี้, ผู้วางนโยบายยังอึกอักที่จะตัดบรรษัทข้ามชาติออก.  การตั้งข้อหาเลือกปฏิบัติ, เป็นสิ่งที่รู้จักกันดีว่า บริษัทที่มีเจ้าของข้ามชาติ ได้ใช้ท้าทายกฎเข้าข้างท้องถิ่น ภายใต้กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และความกลัวที่จะถูกฟ้องร้อง ได้แช่แข็งฝ่ายนิติบัญญัติอย่างมีประสิทธิภาพ.  (FTA, TPP พยายามผลักดันประเด็นนี้...ทำลายกระบวนยุติธรรมท้องถิ่น และ ของชาติ...ดรุณี)
But, says Flaccavento, “If you’re promoting downtown revitalization and supporting small business, you can’t simultaneously build a big box development on the outskirts of town. One will undermine the other.”
แต่แฟลคคาเวนโต กล่าวว่า, “หากคุณกำลังส่งเสริมให้ร้านรวงย่านกลางเมืองฟื้นคืนชีพได้ และ สนับสนุนธุรกิจรายย่อย, คุณก็ไม่สามารถสร้างกล่องการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ชานเมืองในขณะเดียวกัน.  อันหนึ่งจะขัดขากับอีกอันหนึ่ง”.
Shuman wants government to move its money — all of it, “including everything that requires city staff time and energy, from non-local business and refocus it instead — laser-like — on local business.”
ชูแมนต้องการให้รัฐบาลเคลื่อนเม็ดเงิน—ทั้งหมดของมัน, “รวมทั้งทุกอย่างที่ต้องใช้เวลาและพลังงานของเจ้าหน้าที่เมือง, จากธุรกิจที่ไม่ใช่ของท้องถิ่น/นอกถิ่น และ เปลี่ยนจุดเน้น—เหมือนยิงลำแสงเลเซอร์—ไปที่ธุรกิจท้องถิ่น”.

Local arts …
ศิลปะท้องถิ่น...
“It’s important to do the right kind of asset mapping,” says Sam Miller, director of the Lower Manhattan Cultural Council. Communities with robust local economies create environments where artists can thrive and work. Artists “hire workers, rent space, make stuff, sell it,” says Miller. Good arts policy is good development policy and vice versa. Don’t fetishize artists, fund them: “When you’re defining a economic cluster, do you include artists in the same way you’d include web developers?”
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดแผนที่ทรัพย์สินให้ถูกประเภท”, แซม มิลเลอร์, ผอ สภาวัฒนธรรมแมนฮัตตันตอนใต้, กล่าว.  ชุมชนที่มีเศรษฐกิจท้องถิ่นรุ่งโรจน์ สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ศิลปินสามารถเจริญงอกงามและทำงานได้.  ศิลปิน “จ้างคนงาน, เช่าพื้นที่, ทำของ, ขายมัน”, มิลเลอร์กล่าว.  นโยบายศิลปะที่ดี เป็นนโยบายการพัฒนาที่ดีด้วย และเป็นเช่นนั้นในทางกลับกัน.  อย่าแค่ยกยอ, ให้ทุนสนับสนุนพวกเขาด้วย: “เมื่อคุณนิยาม กลุ่มเศรษฐกิจหนึ่ง, คุณรวมศิลปินในทำนองเดียวกับที่คุณรวมนักพัฒนาเว็บเข้าไปด้วยเปล่า?”

… and local media.
...และสื่อท้องถิ่น.
The strongest local communities have local independent media — think Berkeley, Boulder, Tampa (all are community-radio rich). “People need to be well informed about what’s happening where they live and how it relates to what’s going on around them. People need to get to know each other and be shown a way to respond to the challenges they face,” says Jo Ellen Kaiser, executive director of The Media Consortium, a collaborative organization of independent media outlets (both GRITtv and YES! are members). Put an independent media center in your downtown development district and you give it voice.
ชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งที่สุด มีสื่ออิสระท้องถิ่น—ขอให้คิดถึง Berkeley, Boulder, Tampa (เมืองทั้งหมดอุดมไปด้วยวิทยุชุมชน).  “ประชาชนต้องได้รับรู้อย่างดีว่าเกิดอะไรขึ้นในที่ๆ พวกเขาอาศัยอยู่ และ มันเกี่ยวอะไรกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นรอบๆ ตัวของพวกเขา.  ประชาชนจำเป็นต้องได้รู้จักกัน และ มีคนมาแสดงให้เห็นว่า จะต้องรับมือกับสิ่งท้าทายที่พวกเขาเผชิญหน้าอยู่ได้อย่างไร”, โจ แอลเลน ไกเซอร์ กล่าว, เธอเป็น ผอ บริหาร ของ The Media Consortium, องค์กรประสานความร่วมมือของสื่ออิสระ (ทั้ง GRITtv และ YES! เป็นสมาชิกอยู่).  ตั้งศูนย์สื่ออิสระในย่านพัฒนากลางเมืองของคุณ แล้วคุณก็เติมเสียงให้มัน.

Who is part of a strong local economy?
ใครเป็นส่วน/องค์ประกอบของเศรษฐกิจท้องถิ่นเข้มแข็ง?

Which brings us back to Wendell Berry’s idea of the “household.” There’s not a lawmaker in America who thinks he has more money than his community needs. Deploying that public purse is all about making choices. How are you going to manage the household? And who’s seen and heard in your economic “house”? The human household is a many-faceted thing, not to mention multinational, which can make the language of “local” contentious. Can disparaging non-local businesses spill over into discriminating against non-local workers? Just whom do we call a “local” anyway and do they have to speak our language?
ซึ่งนำเรากลับไปสู่ความคิดของ เว็นเดล เบอร์รี เรื่อง “ครัวเรือน”.  ไม่มีนักกฎหมายคนไหนในอเมริกาที่คิดว่า เขาทำเงินได้มากกว่าเงินที่ชุมชนของเขาจำเป็นต้องมี.  การใช้เงินสาธารณะเป็นเรื่องของการตัดสินทางเลือก.  คุณจะจัดการครัวเรือนอย่างไร?  และ ใครถูกมองเห็น และได้ยินเสียง ในเศรษฐกิจ “บ้าน” ของคุณ?  ครัวเรือนของมนุษย์ มีหลายด้าน, ยังไม่ต้องพูดถึงพหุสัญชาติ, ซึ่งจะทำให้ภาษาของ “ท้องถิ่น” เกิดคำโต้แย้งกัน.  การดูหมิ่นธุรกิจนอกถิ่น จะหกกระเด็น เป็นการกีดกัน/เลือกปฏิบัติต่อคนงานนอกถิ่นด้วยไหม?  แล้วใครเล่า ที่เราเรียกว่า เป็นคน “ท้องถิ่น” และ พวกเขาต้องพูดภาษาของเราด้วยไหม?
Artisanal crafts and local produce are attractive. But if you’re going to serve everybody, scale matters. Wealthy communities can afford to do a lot of sexy things that poor communities cannot because no money is coming in. That’s why Dan Swinney believes manufacturing needs to be part of the strong local economy too.
ช่างฝีมือ และ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นล้วนมีแรงดึงดูด.  แต่หากคุณจะบริการให้ทั่วถึงทุกคน, ขนาด/กำลังผลิตมีความสำคัญ,  ชุมชนที่มั่งคั่ง สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เย้ายวนใจ ที่ชุมชนยากจนไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีเงินเข้ามาสนับสนุน.  จึงเป็นเหตุผลที่ แดน สวินนีย์ เชื่อว่า การผลิตเชิงอุตสาหกรรม จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็งด้วย.
A former machinist who established Manufacturing Renaissance in Chicago, Swinney works in communities that have become job-poor due to globalization and the closure of local businesses for lack of next-generation owners and managers. “A lot of people ignore the material aspect of things,” he said.
อดีตช่างกลผู้ก่อตั้ง Manufacturing Renaissance ในชิคาโก, สวินนีย์ ทำงานในชุมชนที่ได้กลายเป็น ยากจนด้านงานจ้าง เพราะโลกาภิวัตน์ และ การปิดตัวลงของธุรกิจท้องถิ่น เพราะขาดเจ้าของและผู้จัดการรุ่นต่อไป.  “คนจำนวนมากมองข้ามด้านวัตถุ/เงินทอง ของสิ่งต่างๆ”, เขากล่าว.


 “You can have jobs that build people or destroy people but you need an employment base.” Swinney would prefer ownership of his company be local and democratic. He’s all for ESOPs (Employee Stock Ownership Plans) and is in favor of co-ops with worker ownership and worker control. But, he says, “there’s a sequence from lower to higher value.” Swinney’s first priority is on getting people into jobs.
“คุณสามารถมีงานว่าจ้าง ที่สร้างคน หรือ ทำลายคนได้ แต่คุณจำเป็นต้องมีฐานการว่าจ้าง”.  สวินนีย์ฝักใฝ่ไปทางการที่เจ้าของบริษัทของเขาอยู่ในท้องถิ่นและเป็นประชาธิปไตย.  เขาอยู่ข้าง ESOPs (แผนเพื่อให้ลูกจ้างเป็นเจ้าของด้วยการถือหุ้น) และเห็นพ้องกับ การทำสหกรณ์/ร่วมมือ กับ ภาวะที่คนงานเป็นเจ้าของ และ คนงานควบคุมดูแล.  แต่เขาบอกว่า, “มีลำดับจากมูลค่าที่ต่ำกว่า ไปสู่ มูลค่าที่สูงกว่า”.  เรื่องแรกของสวินนีย์ คือ ทำให้ผู้คนมีงานทำ.

Getting institutions on board
นำสถาบันเข้าร่วมด้วย

What’s exciting about getting people engaged in local community-building is getting people engaged in how their community works. But if and when people want to change that, “locals” need not just local shops and arts, but institutions that influence policy.
สิ่งที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการทำให้คนเข้าร่วมในการสร้างชุมชนท้องถิ่น คือ การชักชวนให้คนเข้ามาร่วมในการทำให้ชุมชนของพวกเขาทำงานได้.  แต่หากและเมื่อคนต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว, “ท้องถิ่น” ก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นเพียงร้านและศิลปะท้องถิ่น, แต่รวมถึงสถาบันที่มีอิทธิพลต่อนโยบายด้วย.
The US Chamber of Commerce is, at last, no longer the only business group at most negotiating tables. “I think it’s fair to say there’s a blossoming of alternative economic development models and business associations,” says Greg LeRoy, of Good Jobs First, a group that debunks what it calls the business lobby’s “pseudo-science” around what’s good for the “business climate.” There’s also — among many others — BALLE, the Independent Business Alliance, the Main Street Alliance and the American Sustainable Business Council.
สภาหอการค้าสหรัฐฯ, ในที่สุด, ก็ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มธุรกิจที่โต๊ะเจนจาส่วนใหญ่.  “ผมคิดว่า มันเป็นธรรมที่จะบอกว่า โมเดลเศรษฐกิจทางเลือกและสมาคมธุรกิจทางเลือกกำลังบานสะพรั่ง,” เกร็ก ลีรอย, แห่ง “งานดีมาก่อนอื่น”, กล่าว.  กลุ่มนี้ทำลายชื่อเสียง ของสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “วิทยาศาสตร์จอมปลอม” ที่ว่าด้วยสิ่งที่ดีสำหรับ “ภูมิอากาศธุรกิจ” ของนักล็อบบี้ธุรกิจ.  ยังมี—ในบรรดากลุ่มอื่นๆ—BALLE, พันธมิตรธุรกิจอิสระ, พันธมิตรถนนเมน และ สภาธุรกิจที่ยั่งยืนอเมริกัน.
“There’s much broader thinking now, more rooted in the local community, that’s able to weigh in on development debates such that the Chamber doesn’t have a monopoly any more,” LeRoy says.
“มีการคิดที่กว้างขวางขึ้นตอนนี้, ที่หยั่งรากยึดในชุมชนท้องถิ่น, ที่สามารถถ่วงดุลในการวิวาทะเรื่องพัฒนา เช่น สภาหอการค้า ไม่มีใคนผูกขาดอีกแล้ว”, ลีรอย กล่าว.
On the worker side, “a strong local economy would have to have collective organizing of workers in order to be fully democratic,“ says Michael Lighty, policy director of National Nurses United, based in Oakland, Calif. “Unions are the key institutions that give individuals collective power.”
ในฝ่ายคนงาน, “เศรษฐกิจท้องถิ่นที่เข้มแข็งจะต้องมีการระดมจัดกระบวนองค์กรของคนงาน เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยเต็มที่”. ไมเคิล ไลห์ที, ผอ นโยบาย ของ National Nurses United, ที่มีฐานในโอ๊คแลนด์, แคลิฟอร์เนีย.  “สหภาพเป็นสถาบันกุญแจในการให้พลังอำนาจร่วมแก่หมู่เหล่าปัจเจกชน”.
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 7-26-13\common dream\image\flanders-5-300x224.jpg
Katrina aftermath: Signs like these were found in the New Orleans debris, especially in the Lower Ninth Ward. (Photo: Dan Germony)

Still, “The new economy for us is not simply about peppering the landscape with groovy models, but is part of broader economic justice organizing and political action,” says Sarah Ludwig, founder and co-director of the New Economy Project in New York. Unless there’s broad institutional change — breaking up big banks, effecting some semblance of corporate accountability, getting money out of politics, “you know, just for starters,” Ludwig says — “The creation of model institutions will take us only so far.”
แม้กระนั้น, “เศรษฐกิจใหม่สำหรับพวกเราไม่เพียงแต่เป็นเรื่องการโรยหน้าภูมิท้ศน์ด้วยโมเดลแปลกๆ, แต่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจเป็นธรรมในวงกว้างของการจัดกระบวนองค์กรและปฏิบัติการทางการเมือง”, ซาราห์ ลุดวิก, ผู้ก่อตั้งและ ผอ ร่วมของโครงการเศรษฐกิจใหม่ ในนิวยอร์ค.  หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันในวงกว้าง—ทุบธนาคารใหญ่ๆ ให้แตกกระจุย, ส่งผลต่อท่วงทีของความรับผิดชอบ/เชื่อถือได้ ของบรรษัท,  ดึงเงินออกจากการเมือง, “คุณรู้ไหม, ก็จะได้เพียงเริ่มต้น”, ลุดวิกกล่าว—“การสร้างโมเดลสถาบัน ก็จะพาเราไปได้ไกลแค่นั้นเอง”.
The most participatory local budgeting process isn’t going to stop the crisis in public schools as long as the budget the community’s participating in is an austerity budget. Which brings us to the question of power.
กระบวนการมีส่วนร่วมมากที่สุดในการวางงบท้องถิ่น จะไม่ยุติวิกฤตในโรงเรียนสาธารณะ/รัฐ ตราบที่ งบที่ชุมชนกำลังมีส่วนร่วม เป็นงบรัดเข็มขัด.  ซึ่งนำเราไปสู่โจทย์ของอำนาจ.

So how do ordinary people get power in this economy?
แล้วคนธรรมดาสามัญจะได้อำนาจในระบบเศรษฐกิจนี้ได้อย่างไร?

From Mississippi to Pine Ridge, allies abound for policymakers, entrepreneurs and those who want to build strong local economies. But how do those potential allies build power enough to have an influence?
จากมิสซิสซิปปี ถึง ไพน์ริดจ์, พันธมิตรมีมากมายสำหรับนักวางนโยบาย, ผู้ประกอบการ และ พวกที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นเข้มแข็ง.  แต่พันธมิตรศักยภาพเหล่านั้น จะสร้างอำนาจให้มากพอเพื่อส่งผล (ต่อระดับนโยบาย) ได้อย่างไร?
On the Gulf Coast of Louisiana, Saket Soni works with guest workers. Arriving in New Orleans in the aftermath of Hurricane Katrina, he saw firsthand the decimation of an entire local economy and the eradication of local control — and he watched, up close, the consequences.
บนชายฝั่งอ่าวของหลุยเซียนา, ซาเก็ต โซนี ทำงานกับคนงานอพยพ.  เมื่อมาถึงนิวออร์ลีนส์ หลังจากพายุเฮอริเคน คาตรินา, เขาได้เห็นด้วยตาถึงความย่อยยับของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นทั้งหมด และ การขจัดสิ้นการควบคุมท้องถิ่น—และเขาเฝ้ามอง, อย่างใกล้ชิด, ถึงผลพวง.
“The logic of the corporate model after Katrina was to create a predatory community that could funnel local people into low-wage work with a revolving door to deportation or prison without creating a single stable job or career path for the most vulnerable,” says Soni. Guest workers from other countries were brought in on temporary visas with virtually no rights in a labor supply chain that left local workers out. Antagonism between groups grew just as plans for the area’s reconstruction were being decided and low-income communities suffered as a result. Over time, immigrant and local reconstruction workers organized together and started demanding of Congress that the labor abuses be stopped. After some of their demands were met and fines were levied by government, some of those same organizations got involved in housing and local development planning too.
“ตรรกะของโมเดลบรรษัทหลังจากคาตรินา คือ สร้างชุมชนล่าเหยื่อ ที่ต้อนประชาชนท้องถิ่นสู่งานค่าแรงต่ำ ด้วยประตูหมุนเข้าสู่การเนรเทศ หรือ เข้าคุก โดยปราศจากการสร้างงานที่เสถียรแม้แต่งานเดียว หรือ ครรลองอาชีพสำหรับกลุ่มที่เปราะบางที่สุด”, โซนี กล่าว.  คนงานอพยพจากประเทศอื่นๆ ถูกนำเข้ามาด้วยวีซ่าชั่วคราว ที่แท้จริงไม่มีสิทธิใดๆ ในห่วงโซ่ของแหล่งแรงงาน ที่ทอดทิ้งคนงานท้องถิ่น.  ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาที่มีการตัดสินใจเลือกแผนการบูรณะพื้นที่ และผลคือ ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ต้องรับเคราะห์.  เวลาผ่านไป, คนงานบูรณะพื้นที่ ทั้งคนอพยพและคนท้องถิ่น รวมตัวเป็นกระบวนองค์กรด้วยกัน และ เริ่มเรียกร้องต่อสภาคองเกรส ให้ยุติการกดขี่ข่มเหงแรงงาน.  หลังจากที่รัฐบาลได้ขานรับบางข้อเรียกร้อง และ ปรับ (นายจ้างที่ละเมิดสิทธิแรงงาน), องค์กรเดียวกันบางกลุ่ม ได้เข้าร่วมในการวางแผนการเคหะและพัฒนาท้องถิ่นด้วย.
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 7-26-13\common dream\image\flanders-6.jpg
Saket Soni (left), executive director of the National Guestworker Alliance. (Photo: Jobs With Justice)

“The other side [of the crisis],” Soni says, “was that at the center of the ruin, a core of resilient people, who were in crisis long before the recession, had the vision and relationships to make a set of economic demands and organize to win them.”
“อีกด้านหนึ่งของวิกฤต”, โซนีกล่าว, “คือ ตรงศูนย์กลางของซากปรักหักพัง, เป็นแกนกลางของประชาชนที่มีความยืดหยุ่น, ผู้อยู่กับวิกฤตมานานก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอย, มีวิสัยทัศน์และความสัมพันธ์ที่จะทำให้เกิดชุดอุปสงค์ทางเศรษฐกิจ และ จัดกระบวนองค์กรเพื่อให้ได้มันมา”.
What holds people back from doing more themselves is need, he adds. The low-wage workers he organizes don’t plan their lives more than a week or two in advance. They’re not allowed to by the economy. “They don’t know their next shift, their next job, even the industry they’ll be working in next week.”
สิ่งที่รั้งคนไม่ให้ทำมากกว่านั้นด้วยตนเอง คือ ความจำเป็น, เขาเสริม.  คนงานค่าแรงต่ำที่เขาได้จัดกระบวนขึ้น ไม่ได้วางแผนชีวิตตนเองมากกว่า หนึ่งหรือสองสัปดาห์ล่วงหน้า.  เศรษฐกิจไม่ยินยอมให้พวกเขาทำเช่นนั้นได้.  “พวกเขาไม่รู้เกี่ยวกับกะต่อไป, งานต่อไป, แม้แต่อุตสาหกรรมที่พวกเขาจะเข้าไปทำงานด้วยสัปดาห์หน้า”.
In Soni’s world, the measure of a strong and rooted local economy lies in families’ and communities’ ability to imagine and plan for, their future. That affects everything, including organizing, he says.
ในคำพูดของ โซนี, มาตรวัดเศรษฐกิจท้องถิ่นที่เข้มแข็งและมีรากยึด คือ ความสามารถของครอบครัวและชุมชนในการจินตนาการและวางแผน เพื่ออนาคตของพวกเขา.  นั่นกระทบทุกอย่าง, รวมทั้งการจัดกระบวนองค์กร, เขากล่าว.
“No one wants a sustainable future and a shareable economy more than the low-wage workers we organize.”
“ไม่มีใครต้องการอนาคตที่ยั่งยืน และ เศรษฐกิจที่แบ่งปันกันได้ มากไปกว่าคนงานค่าแรงต่ำที่พวกเราจัดกระบวนอยู่”.
Laura Flanders wrote this article for YES! MagazineCommonomics project. Laura is YES! Magazine’s 2013 Local Economies Reporting Fellow and is executive producer and founder and host of “GRITtv with Laura Flanders.” Follow her on Twitter @GRITlaura.
ลอรา แฟลนเดอร์ เขียนบทความนี้สำหรับ โครงการคอมโมโนมิคส์ ของ YES! Magazineลอรา ได้รับทุนสำหรับโครงการรายงานข่าวเศรษฐกิจท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๕๕ ของ YES! Magazine และเป็นผู้ผลิต และ ผู้ก่อตั้ง และ จัดรายการ GRITtv with Laura Flanders.”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น