วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

90. น้ำแล้งกินผัก...เตรียมรับมือ สงครามน้ำ




Report: Water Scarcity Necessitates Near Vegetarian Diet
รายงาน:  การขาดแคลนน้ำทำให้จำเป็นต้องเข้าใกล้มังสวิรัติ
 - Common Dreams staff
 -คณะทำงานคอมมอนดรีมส์

By 2050 there will not be enough water in the world to continue the global trends of a Western-style, high animal protein diet. Rather, a primarily vegetarian diet is necessary to address growing water insecurity, according to a report released to coincide with the 2012 World Water Week in Stockholm from August 26-31.
ภายในปี 2050 (๒๕๙๓) โลกจะไม่มีน้ำเพียงพอให้ชาวโลกกินตามแบบชาวตะวันตกอีกต่อไป คือ อาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง.   อาหารที่ประกอบด้วยผักเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อแก้ปัญหาความไม่มั่นคงของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น, ตามรายงานที่เพิ่งเผยแพร่ ในเวลาเดียวกับสัปดาห์น้ำโลก 2012 (๒๕๕๕) ที่สต็อคโฮม ระหว่าง 26-31 สิงหาคม.

 A bacon cheeseburger -- not on the menu in 2050. (photo: urban.houstonian / Flickr)

In part of the report, Food Security: Overcoming Water Scarcity Realities, Malin Falkenmark, Senior Scientific Advisor to the Stockholm International Water Institute (SIWI), writes that almost half the world population will be living in chronic water shortage, and that sustainable water consumption means eating a diet with no more than 5% of calories coming from animal protein:  
ในรายงาน, ความมั่นคงทางอาหาร: ความจริงในการเอาชนะการขาดแคลนน้ำ, มาลิน ฟอลเคนมาร์ค, ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันน้ำระหว่างประเทศแห่งสต็อคโฮม, เขียนว่า ประชากรโลกเกือบครึ่ง จะดำรงชีพภายใต้ภาวะขาดแคลนน้ำเรื้อรัง, และการบริโภคน้ำอย่างยั่งยืน หมายถึง การกินอาหารที่มีแคลอรีจากโปรตีนสัตว์ได้ไม่เกิน 5%.

"[T]here will not be enough water available on current croplands to produce food for the expected population in 2050 if we follow current trends and changes towards diets common in Western nations (3,000 kcal produced per capita, including 20 per cent of calories produced coming from animal proteins). There will, however, be just enough water, if the proportion of animal based foods is limited to 5 per cent of total calories and considerable regional water deficits can be met by a well organised and reliable system of food trade."
“จะไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับที่ดินเพาะปลูกปัจจุบัน เพื่อการผลิตอาหาร สำหรับประชากรที่คาดไว้ในปี ๒๕๙๓ หากเรายังมีแนวโน้มการกินตามแบบประเทศตะวันตก (ใน 3,000 กิโลแคลอรีที่ผลิตต่อหัว, มีแคลอรีจากโปรตีนสัตว์ 20%).   แต่จะมีน้ำแค่พอเพียง หากลดสัดส่วนของอาหารทำจากสัตว์ให้เหลือเพียง 5% ของแคลอรีทั้งหมด และมีการควบคุมการขาดดุลน้ำระดับภาคพื้น ด้วยการจัดระบบการค้าอาหารให้ดีและเชื่อถือได้”.

Describing a revealing exhibition at the Stockholm conference on the water-heavy resource of animals raised for food production, Thalif Deen writes in Inter Press Service, "[T]he production of an average hamburger – two slices of bread, beef, tomato, lettuce, onions and cheese – consumes about 2,389 litres of water, compared to 140 litres for a cup of coffee and 135 for a single egg."
ในการบรรยายนิทรรศการในที่ประชุมที่สต็อคโฮม เรื่อง การผลิตอาหารด้วยการเลี้ยงสัตว์ที่ใช้น้ำมาก, ธาลิฟ ดีน เขียน, “ในการผลิตแฮมเบอร์เกอร์ชิ้นหนึ่ง—ขนมปังสองแผ่น, เนื้อวัว, มะเขือเทศ, ผักกาดหอม, หัวหอม และเนยแข็ง—ต้องใช้น้ำ ประมาณ 2,389 ลิตร, เทียบกับ 140 ลิตร สำหรับกาแฟหนึ่งถ้วย และ 135 ลิตรสำหรับไข่ฟองเดียว.”

"An average meal of rice, beef and vegetables requires about 4,230 litres of water while a chunky, succulent beef steak, a staple among the rich in the world’s industrial countries, consumes one of the largest quantum of water: about 7,000 litres," writes Deen.
“โดยเฉลี่ย มื้อหนึ่งๆ ที่ประกอบด้วยข้าว, เนื้อวัว และผัก ต้องใช้น้ำ 4,230 ลิตร ในขณะที่ชิ้น สเต็กเนื้อที่ หนานุ่ม, อันเป็นอาหารหลักของคนรวยในประเทศซีกโลกอุตสาหกรรม, เป็นเมนูหนึ่งใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 7,000 ลิตร”.

The analysis also foresees a future with "virtual water trade" and competition over increasingly scarce water resources.
บทวิเคราะห์ได้เห็นอนาคตของการ “ค้าน้ำ” และการแย่งชิงทรัพยากรน้ำซึ่งจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น

From Food Security: Overcoming Water Scarcity Realities:



Published on Monday, August 27, 2012 by Common Dreams
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น