Pasuk Phongpaichit & Pornthep Benyaapikul. 2012.
“Thailand Locked in the Middle-Income Trap”.
Bangkok: FES
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และพรเทพ เบญญาอภิกุล. 2012. “ประเทศไทยติดกับรายได้ปานกลาง” กรุงเทพฯ :
FES
5. General Evaluation
5. การประเมิน
The past decade has been turbulent for the Thai economy. The
country, recently recovered from the 1997 economic collapse, was engulfed
by the new wave of global financial crises, rising food and energy prices, and
raging domestic political conflict. The Thai economy, however, has been
markedly resilient to both external and domestic shocks. The recovery from 1997 crisis was robust and
inflation was kept low. In the path of recovery, Thailand underwent extensive
economic restructuring especially in the financial sector. This provided a
solid foundation that later helped mitigating the effect of global financial
contagions. Tighter capital requirement rules and regulations have been put in
place to keep NPLs low. Financial institutions have become more cautious on
lending to real estate. Another asset price bubble seemed unlikely, as real
estate NPLs dropped remarkably to just 2.1 percent recently.
ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ปั่นป่วนของเศรษฐกิจไทย พอฟื้นจากเศรษฐกิจที่พังทลายในปี ๒๕๔๐ ก็ต้องผจญกับคลื่นระลอกใหม่ของ
วิกฤตการเงินโลก ข้าวยากหมากแพง
และราคาพลังงานที่สูงขึ้น
รวมทั้งความขัดแย้งทาง
การเมืองอันดุเดือด
ถึงกระนั้น เศรษฐกิจไทยได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกทั้งภายนอกและภายในประเทศ การฟื้นตัวจากวิกฤต ๒๕๔๐ มีความแข็งแกร่ง
และเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับต่ำ
ในหนทางสู่การฟื้นคืน
ประเทศไทยได้ผ่านการปรับแปรโครงสร้างเชิงเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน
ซึ่งได้กลายเป็นรากฐานแข็งแกร่งที่ภายหลังได้ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคการเงินโลก
มีการบังคับใช้กฎและควบคุมด้านทุนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้หนี้เน่าอยู่ในระดับต่ำ
สถาบันการเงินกลายเป็นมีความระมัดระวังยิ่งขึ้นในการให้เงินกู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ ดูเหมือนฟองสบู่ของราคาทรัพย์สินคงจะไม่เกิดขึ้นอีก
ในเมื่อหนี้เน่าจากอสังหาริมทรัพย์ ได้ลดลงเหลือเพียง ๒.๑%
The 1997 crisis also profoundly changed the structure of the
Thai economy. The economy became even more highly export-reliant as post-crisis
investment remained low. With an exception of 2005, the post 1997 current account has
always been in surplus. Foreign debt as a ratio of GDP, hovering around 30-40%, has been well below
the pre-crisis figure. International reserves have been on the rise and
presently, the position is extremely healthy; recent figure showed that the
amount of reserves is 3-4 times greater than the short-term debt.
วิกฤต ๒๕๔๐ ได้เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยด้วย ให้กลายเป็นพึ่งการส่งออกมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การลงทุนหลังวิกฤต
ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นในปี
๒๕๔๘ บัญชีกระแสเงินตราหลังปี ๒๕๔๐
อยู่ในสภาวะล้นเกิน มีหนี้ต่างชาติต่อจีดีพี
อยู่ประมาณ 30-40% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขก่อนวิกฤตมาก
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยจนถึงปัจจุบัน
เป็นสถานภาพที่แข็งแรงยิ่ง ตัวเลขเร็วๆ
นี้แสดงให้เห็นว่า เงินทุนสำรองนี้สูงกว่าหนี้ระยะสั้นถึง ๓-๔ เท่า
Fiscal stance has become more expansionary as the government
increased the spending on both social security and short-term stimulus program.
The public budget has been in deficit for most of the last 10 years. The fiscal position
is currently within the fiscal sustainability limit despite the surging public
debt. However, the position provides less room for future spending and is far
from reassuring, as it is increasingly vulnerable to interest rate rises.
ด้านการเงินแผ่นดินได้แผ่กว้างขึ้น
เมื่อรัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายทั้งในด้านประกันสังคม และโครงการกระตุ้นระยะสั้น งบสาธารณะอยู่ในสภาพขาดดุลตลอดเวลาส่วนใหญ่ใน
๑๐ ปีก่อน
สถานภาพการเงินแผ่นดินปัจจุบัน ยังอยู่ในขอบเขตของความยั่งยืนทางการเงินแผ่นดิน
แม้ว่าหนี้สาธารณะจะพุ่งสูงขึ้น
ถึงกระนั้น สถานภาพเช่นนี้ ไม่ค่อยเหลือพื้นที่ว่างให้ใช้จ่ายมากในอนาคต
และก็ดูไม่น่าไว้วางใจ เพราะมันมีความเปราะบางมากต่อการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
However, the ongoing political conflict remains the looming
threat to economic stability. Aggregate demand components and other key
variables became more volatile in the period after 2006 when the military staged
a coup. Peaceful and democratic solutions to the conflict are essential to
boost confidence and reduce aggregate demand instability.
ถึงกระนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินอยู่
ยังคงเป็นหมอกเมฆภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ปัจจัยรวมเชิงอุปสงค์ และตัวแปรหลักอื่นๆ
ได้มีความอ่อนไหวยิ่งขึ้น ในช่วงเวลาหลังจากรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ การหาทางออกที่เป็นประชาธิปไตย และสันติ
เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะส่งเสริมความมั่นใจและลดความไม่เสถียรของอุปสงค์รวม
The dynamic of globalization has seen the Thai economy
becoming progressively open and deeply integrated to the world economy through
both trade and financial channels. Exports, which propelled the economy out of
recession, were boosted by sharp depreciation of the exchange rate during the
first half of 2000s.
Higher integration accelerated by a proliferation of bilateral FTAs also resulted
in a more diversified trading pattern and the growing trend of intra-regional
trade.
พลวัตของโลกาภิวัตน์ ได้เห็นเศรษฐกิจไทยเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ
และถลำลึกลงไปในเศรษฐกิจโลกผ่านช่องทางทั้งการค้า และการเงิน การส่งออก
ซึ่งได้ฉุดเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะถดถอย ได้รับการสนับสนุนด้วยการลดค่าเงินบาทอย่างแรงในอัตราแลกเปลี่ยนในระหว่างครึ่งแรกของทศวรรษ
๒๕๔๓ การผนวกตัวสูงขึ้น
ถูกเร่งด้วยการตกลงทวิภาคีเขตการค้าเสรีที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ก็ได้ยังผลให้เกิดความหลากหลายในแบบแผนการค้า และแนวโน้มของการค้าระหว่างภาคพื้นมากขึ้น
However, the old export-oriented industrialization, based on
relatively cheap labour is increasingly facing constraints from the dim
prospect of the global demand, the increased competition from many countries
catching up with Thailand, and Thailand’s low technological capability. As
Thailand has been in the middle-income trap for more than 20 years since 1987 (Thawornkraiwong et al, 2011), the country faces a
challenge in sustaining growth and continuing to benefit from globalization.
ถึงกระนั้น การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมมุ่งส่งออกแบบเก่า
ที่พึ่งการใช้แรงงานราคาถูก กำลังเผชิญอุปสรรคจากอุปสงค์โลกที่ลดลง การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากหลายๆ
ประเทศที่พยายามไล่ให้ทันประเทศไทย และสมรรถนะเชิงเทคโนโลยีที่ต่ำของประเทศไทย ความที่ประเทศไทยตกอยู่ในหล่มรายได้ปานกลางมากว่า
๒๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐
ข้อท้าทายซึ่งหน้าของประเทศ คือ การธำรงการขยายตัว
และยังได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ต่อไป
As for financial integration, there is no shortage of
volatile capital flying in and out of a small open economy like Thailand.
Current account surpluses and the influx of capital inflow, particularly in the
second half of 2000s,
put considerable appreciation pressures on the baht. However, in order to
stabilize the currency movement and accommodate export sector, the Bank of
Thailand has been actively intervening its foreign exchange market and, at the
same time, absorbing the excess liquidity by issuing the BOT’s bond. The
sterilized interventions have seen a rapid surge of both foreign reserve and
bond liability and put heavy interest cost to the central bank causing a recent
huge operating loss. Criticisms on BOT’s loss are relatively less important than
the central bank’s exchange rate policy under inflation targeting. The
prolonged period of low inflation had given the Bank of Thailand greater
flexibility to maneuver the exchange rate. However, it is important to note
that exchange rate policy should be used to smooth out short-run volatility,
not as a long-run strategy.
ในด้านการผนวกทางการเงิน
ไม่มีการว่างเว้นจากเงินทุนระเหยง่ายที่บินเข้า-บินออกในเศรษฐกิจน้อยๆ
ที่เปิดกว้างเช่นประเทศไทย
บัญชีกระแสเงินตราที่ล้นเกิน และการทะลักไหลเข้าของเงินทุน โดยเฉพาะในครึ่งหลังของทศวรรษ
๒๕๔๓
ได้สร้างแรงกดดันอย่างมากต่อเงินบาท
ถึงกระนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของการเคลื่อนไหวของกระแสเงินตรา
และปรับให้เข้ากับภาคส่งออก
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
และในขณะเดียวกัน ได้ซึมซับสภาพคล่องด้วยการออกพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ผลพวงจากการแทรกแซง คือ
การพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของทั้งเงินทุนสำรองต่างประเทศและหนี้พันธบัตร
และเป็นภาระหนักทางดอกเบี้ยแก่ธนาคารกลาง
ทำให้เกิดความสูญเสียมหาศาลในการบริหารเมื่อเร็วๆ นี้ คำวิจารณ์ต่อการสูญเสียของธนาคารแห่งประเทศไทย
มีความสำคัญน้อยกว่า นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้เป้าเงินเฟ้อของธนาคารกลาง การปล่อยให้มีช่วงเงินเฟ้อต่ำนานจนเกินไป
ได้ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการยักย้ายอัตราแลกเปลี่ยน ถึงกระนั้น จำเป็นต้องรู้ว่า
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนควรจะใช้เพื่อแก้ปัญหาการระเหยหายไปของเงินทุนในระยะสั้น ไม่ใช่เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว
Against the backdrop of the robust recovery and economic
resilience, economic equality received less attention from the government.
Despite a significant reduction of poverty, the distribution of income improved
little. Thailand’s Gini coefficient has stabilized over the past two decades at
a level far higher than fellow ASEAN neighbours. Wage inequality, though
slightly more balanced, remains very high such that the wage of the top 10 percent earners is 17 times higher than the
bottom 10
percent. Wage dispersion showed ambiguous sign of improvement as higher
dispersion is observed among the richer half of wage earners while wages for
the poorer half of employee have become less dispersed.
เมื่อเทียบกับการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจ
รัฐบาลให้ความสนใจต่อความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทั้งๆ ที่ความยากจนลดลง
แต่การกระจายรายได้ไม่ดีขึ้นมาก
ค่าสัมประสิทธิ์ จินี
ได้คงความเสถียรมาตลอดสองทศวรรษก่อนในระดับที่สูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียนมาก ความไม่เท่าเทียมทางค่าแรง แม้ว่าจะสมดุลกว่า
ยังคงสูงมากขนาดที่คนมีรายได้ ๑๐% ในระดับบน ได้รับเงิน ๑๗
เท่าของคน ๑๐% ในระดับล่าง การแผ่กระจายของค่าแรง
ส่งสัญญาณคลุมเครือว่ามีสถานการณ์ดีขึ้น
ในเมื่อการแผ่กระจายสูงกว่าในฟากที่คนหาเลี้ยงชีพด้วยค่าแรงที่ร่ำรวยกว่า
ส่วนค่าแรงสำหรับฟากลูกจ้างที่ยากจนกว่า มีการแผ่กระจายน้อยกว่า
The adjusted share of wages in factor income has been stable
but low relative to the developed economies. While the average real wage
increased gently over the past few years, the minimum wage, which is a tool to
safeguard the most vulnerable and provide the basic standard of living, has not
been kept up with inflation.
การแบ่งปันของค่าแรงที่ได้รับการปรับแล้ว ในปัจจัยรายได้
ได้คงความเสถียรมาตลอด แต่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
ในขณะที่ค่าแรงจริงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างเนิบนาบในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา
ค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นเครื่องมือปกป้องกลุ่มเปราะบางที่สุด และให้มาตรฐานการครองชีพขั้นพื้นฐาน
ไม่ได้รับการปรับให้ไล่ตามเงินเฟ้อได้
The overall wage policy stance up to now has been one of low
wage approach. There is a growing pressure to move towards a wage policy that
can redress the skewed distribution between labour and non-labour, and to
reduce the high wage differential within labour.
ภาพรวมของนโยบายค่าแรงจนถึงทุกวันนี้ อยู่ในแนวค่าแรงต่ำ
มีแรงกดดันมากขึ้นให้ขยับไปสู่นโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาความบูดเบี้ยวของการกระจายตัวระหว่างผู้ใช้แรงงาน
และผู้ไม่ใช้แรงงาน และเพื่อลดความแตกต่างของค่าแรงในหมู่ผู้ใช้แรงงาน
The nation has been progressively extending the coverage of
its social security system and other welfare programs. Almost all Thais are
covered by some health care scheme. Coverage of other benefits such as old-age
pension is not as extensive and is currently underfunded. The majority of
uncovered labours are workers in the informal sector, which accounted for about
two-third of the labour force.
ประเทศชาติได้ยืดขยายการครอบคลุมถึงระบบประกันสังคมและโครงการสวัสดิการอื่นๆ
อย่างต่อเนื่อง ชาวไทยเกือบทั้งหมด
ได้รับการคุ้มครองสุขภาพด้วยบางมาตรการ
การคุ้มครองอื่น เช่น เบี้ยคนชรา ยังไม่ค่อยกว้างขวาง และได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ
ผู้ใช้แรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองส่วนใหญ่ทำงานนอกระบบ ซึ่งมีอยู่ถึง ๒
ใน ๓ ของแรงงานทั้งหมด
As the benefits from development fail to “trickle down”
fully to the poor, fiscal policy is the most important instrument for
redistribution of income. Unfortunately, the fiscal structure is not very
redistributive and urgently needs to be reformed. The main sources of tax revenue
have been indirect taxes which are regressive. The ratio of tax revenue to GDP
is low compared to other developed and developing countries because the
(direct) personal income tax base is too small. Furthermore, other wealth-based
direct taxes such as inheritance tax, asset tax, capital gain tax and land tax
are not well developed or non-existent. Insufficient farmland for poor workers
in the agricultural sector is the result of the extremely skewed distribution
of land ownership.
ในขณะที่ผลประโยชน์จากการพัฒนาล้มเหลวที่จะ “ไหลลง”
สู่คนยากจนได้อย่างเต็มที่ นโยบายการเงินงบประมาณแผ่นดิน
เป็นกลไกสำคัญที่สุดในการจัดสรรการกระจายรายได้ใหม่ โชคไม่ดี
โครงสร้างงบประมาณแผ่นดินเองไม่ค่อยกระจายทั่วถึง
และจำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน แหล่งหลักของรายได้ภาษี
เป็นภาษีทางอ้อมที่ถอยหลัง
สัดส่วนของรายได้จากภาษีต่อจีดีพี ยังต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
และกำลังพัฒนาต่างๆ เพราะ ฐานภาษีรายได้ส่วนบุคคล (ทางตรง) เล็กเกินไป เหนือกว่านั้น ภาษีตรงอื่นๆ
ที่มาจากความมั่งคั่ง เช่น ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีจากจากการลงทุน/หุ้น และภาษีที่ดิน
ไม่ได้รับการพัฒนาให้ดี หรือไม่มีอยู่
คนงานยากจนไม่มีที่นาพอทำกินในภาคเกษตร เป็นผลของความบูดเบี้ยวอย่างยิ่งในการกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน
Thailand has given higher priority on economic growth over
environmental protection. Rapid economic growth brought about by the
export-oriented industrialization policy came at the expense of various
environmental degradations and ecological problems. There have been numerous
cases of ecological and health damages inflicted by industrial development. In
addition, the country has been affected by progressively pronounced impacts of
climate change: more erratic pattern of rainfall, violent flood and prolonged
drought causing difficulty in water management.
ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญแก่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเหนือการปกป้องสิ่งแวดล้อม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
ที่มาจากนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมมุ่งส่งออก ต้องแลกกับการเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมและปัญหานิเวศมากมาย มีกรณีของความเสียหายทางนิเวศและสุขภาพ มากมาย
ที่ก่อโดยการพัฒนาอุตสาหกรรม นอกจากนี้
ประเทศก็ได้รับผลกระทบมากขึ้นทุกทีจากภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฝนตกผิดฤดู
และไม่สม่ำเสมอ น้ำท่วมรุนแรง และแล้งยาวนาน
ทำให้การจัดการน้ำยากลำบาก
A comprehensive environmental law was enacted out in 1992 but implementation has
been far below expectations. The government is weak on the environment law
enforcement due to close ties between politicians in office and polluting
industries. In addition, public authorities were criticized for handling
environment issues without the participation of stakeholders. Public hearings
and participation for projects with environmental impact is now mandated by the
constitution, but secondary laws supplementing the constitution have not been
drafted. Recent administrative court rulings to suspend investment projects
without EIA and the growing environmental awareness from local residents in
pollution-affected areas have sent a clear signal to the government to place
higher priority on environmental issues.
นโยบายสิ่งแวดล้อมที่มีเนื้อหาครอบคลุมกว้าง ได้ถูกบัญญัติในปี
๒๕๓๕ แต่การดำเนินการอยู่ในระดับต่ำกว่าคาดมาก
รัฐบาลอ่อนแอในการบังคับใช้
เพราะสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนักการเมืองในรัฐบาลและโรงงานสร้างมลภาวะ นอกจากนี้ ข้าราชการยังถูกวิจารณ์ว่า
จัดการประเด็นสิ่งแวดล้อมโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การรับฟังประชาพิจารณ์
และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการที่มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน แม้รัฐธรรมนูญจะได้ระบุไว้
แต่ยังไม่มีการออกกฎหมายลูกรับรอง
เมื่อเร็วๆ นี้ คำพิพากษาให้ระงับโครงการลงทุนที่ไม่มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
และความตื่นตัวมากขึ้นในชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดมลภาวะ
ได้ส่งสัญญาณชัดเจนสู่รัฐบาล ให้คำนึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมในลำดับต้นๆ
Thailand’s contribution to global GHG emissions has been
moderate but accelerating. Per capita emission has tripled in less than three
decades and is now higher than some high CO2-emitting countries such as
Indonesia, India and China. The country is ranked 23rd highest emission
intensity economy in the world. Among the top emitters, Thailand’s growth of CO2 emission is the second
fastest behind China but since the output did not expand as fast, the country
has the fastest emission intensity. This reflects both the production
inefficiency and unpreparedness for the low carbon economy. In the near future,
Thailand may have to conform to global targets for reducing emissions, and this
may be difficult given the recent record.
ประเทศไทยมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกโลกในระดับกลางแต่ก็ได้เร่งเร็วขึ้น การปล่อยก๊าซต่อหัว ได้เพิ่มขึ้น ๓ เท่าตัว ในระยะเวลาไม่ถึง
๓ ทศวรรษ และตอนนี้
ก็สูงกว่าบางประเทศที่ปล่อย CO2 ในระดับสูง เช่น อินโดนีเซีย
อินเดีย และจีน ประเทศไทยอยู่ในอันดับ ๒๓
ในบรรดาเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซอย่างเข้มข้นที่สุดในโลก ในบรรดาประเทศที่ปล่อยสูงสุด
ประเทศไทยอยู่ในอันดับ ๒ ที่มีอัตราการขยายตัวของการปล่อยก๊าซ CO2 สูงสุด ตามหลังจีน
แต่เนื่องจากผลลัพธ์ไม่ได้แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยจึงกลายเป็นที่หนึ่ง ที่ปล่อยก๊าซอย่างเข้มข้น นี่สะท้อนทั้งความไร้ประสิทธิภาพในการผลิต
และความไม่พร้อมสำหรับการเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ในอนาคตอันใกล้
ประเทศไทยอาจต้องยอมทำตามเป้าโลกในการลดการปล่อยก๊าซ และก็จะเป็นเรื่องลำบาก
ด้วยมีประวัติดังได้กล่าวมา
GHG emissions from the energy sector contributed 70% of total emissions in 2000. In 2010 around 60% of energy consumption is
imported amounting to about 10% of GDP.37 The government has recognized the
importance of promoting energy efficiency and mitigating the environmental
impact
of GHG emitted from energy use. The Energy Conservation Promotion Act in 1992 (amended in 2007) established an Energy Conservation Fund to provide subsidies and grants for investment in energy conservation programs. The fund is financed by fees levied from the sale of fuels.
of GHG emitted from energy use. The Energy Conservation Promotion Act in 1992 (amended in 2007) established an Energy Conservation Fund to provide subsidies and grants for investment in energy conservation programs. The fund is financed by fees levied from the sale of fuels.
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน มีส่วนถึง 70% ของทั้งหมดในปี
๒๕๔๓ ในปี ๒๕๕๓ ประมาณ 60%
ของพลังงานที่ใช้มาจากการสั่งเข้า คิดเป็น 10% ของจีดีพี
รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน พรบ การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕
(แก้ไข ๒๕๕๐) ได้ตั้งกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินและทุนสนับสนุนสำหรับการลงทุนในโครงการอนุรักษ์พลังงาน
กองทุนได้เงินจากภาษีที่เก็บจากการขายน้ำมัน/เชื้อเพลิง
A series of Energy Conservation Programs has been rolled
out. The government set up an Energy Credit and Revolving Fund to stimulate
participation from the financial sector in lending to large-scale energy
efficient investment projects of the private sector. Also, ESCO fund was
established to motivate energy service companies, especially small and very
small power producers (SPPs and VSPPs) to play more roles in renewable energy
and energy conservation. The supporting activities include technical assistance,
venture capital, equity investment and R&D grants. Other incentives include
cost-based tax and performance-based tax reduction.
มีการเปิดโครงการอนุรักษ์พลังงานเป็นชุด รัฐบาลได้จัดตั้งเครดิตพลังงาน
และกองทุนหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้ภาคการเงินเข้ามามีส่วนร่วมในการปล่อยกู้แก่โครงการพลังงานขนาดใหญ่
ที่ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาคเอกชน กองทุน
ESCO
ตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นให้บริษัทที่ให้บริการด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ผลิตรายเล็ก และรายจิ๋ว ให้มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน กิจกรรมรองรับ ได้แก่
การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ
การลงทุน และการให้ทุนการวิจัยและพัฒนา แรงจูงใจอื่นๆ รวมถึงภาษีบนฐานของต้นทุน
และผลงาน
Coherence of energy efficiency and conservation policy was
weakened by the distorted energy price structure through heavy price
subsidization. Many subsidies such as diesel, LPG and CNG lack solid economic
rationale. Intervention should be used to remove short-run price fluctuations
and to slowly adjust prices to a long-run trend. Artificially low prices are
not only unsustainable; they also distort the pattern of energy consumption and
obscure the real urgency of the energy conservation the government has been
trying to promote. The government, however, has been reluctant to lift the
price cap as the move would be politically unpopular.
ความสอดคล้องกันระหว่างนโยบายประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน
ถูกทำให้อ่อนแอลงด้วยโครงสร้างราคาพลังงานที่บูดเบี้ยว ด้วยการให้เงินอุดหนุนเพื่อกดราคา มาตรการของการกดราคามากมาย เช่น
น้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และ CNG ไม่ได้เป็นไปตามตรรกะเชิงเศรษฐศาสตร์
การแทรกแซงควรจะใช้เพื่อขจัดความผันผวนของราคาในระยะสั้น และเพื่อค่อยๆ
ปรับราคาให้เป็นแนวโน้มในระยะยาว การกดราคาจอมปลอมเช่นนี้
ไม่เพียงแต่ไม่ยั่งยืน แต่ยังบิดเบือนแบบแผนของการบริโภคพลังงาน
และสร้างความคลุมเครือให้แก่ความเร่งด่วนที่แท้จริง ของการอนุรักษ์พลังงาน
ที่รัฐบาลพยายามส่งเสริม ถึงอย่างไร
รัฐบาลก็ไม่เต็มใจที่จะเปิดฝาครอบราคาออก เพราะการทำเช่นนั้นจะไม่ทำให้รัฐบาลเป็นที่นิยม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น