วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

85. พลังศรัทธาและปฏิบัติในธรรมะ ... จะชะลอวันสิ้นโลกได้ไหม?




Weapons for the Weak in the Climate Struggle
ติดอาวุธผู้อ่อนแอในการดิ้นรนต่อสู้ด้านภูมิอากาศ
by Walden Bello
โดย วอบเด็น เบลโล

This past month was the hottest July in the United States ever recorded. In India, the monsoon rains are long delayed, resulting in the country’s second drought in four years. Triple-digit temperatures in New Delhi and other cities have already provoked the worst power outages in the country’s history and the expected bad harvest is likely to slice at least 5 percent from GDP growth.
เดือนที่ผ่านมา เป็นกรกฎาที่ร้อนที่สุดในสหรัฐฯ เป็นประวัติการณ์.  ในอินเดีย, พายุฝนมรสุมล่าช้าผิดฤดูมาก, ยังผลให้เป็นความแล้งระดับประเทศครั้งที่สองในรอบสี่ปี.   อุณหภูมิในกรุงนิวเดลีขึ้นสูงถึงสามหลัก และในเมืองอื่นๆ ได้เกิดภาวะไม่มีไฟฟ้าใช้ที่สาหัสที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ  และก็คาดว่าการเก็บเกี่ยวจะย่ำแย่ ซึ่งจะเฉือนอย่างน้อย 5% จากการขยายตัวของจีดีพี.

 (Illustration: Norman Isaac via United Nations Development Programme)

In Beijing, which usually suffers from a shortage of water, a storm on July 21 resulted in the worst flooding since recordkeeping began in 1951, according to the Economist. Meanwhile, here in the Philippines, a protracted, weeklong rainstorm plunged Metropolitan Manila into a watery disaster that is probably the worst in recent history.
ในกรุงปักกิ่ง, ซึ่งเคยแต่ขาดแคลนน้ำ, พายุในวันที่ 21 กรกฎาคม ได้ส่งผลให้เกิดอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่มีการบันทึก เมื่อปี ๒๔๙๔, ตามรายงานของ อีคอนอมิสต์.  ในขณะเดียวกัน, ที่นี่ในฟิลิปปินส์, พายุฝนที่ยืดยาวเป็นอาทิตย์ ได้ทำให้นครมนิลากระโจนลงในภัยพิบัติที่เปียกปอน ที่คงจะร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน.

If there is any doubt that the abnormal is now the norm, remember that this is shaping up to be the second straight year that nonstop rains have wreaked havoc in Southeast Asia. Last year, the monsoon season brought about the worst flooding in Thailand’s history, with waters engulfing Bangkok and affecting over 14 million people, damaging nearly 7,000 square miles of agricultural land, disrupting global supply chains, and bringing about what the World Bank estimated to be the world’s fourth costliest disaster ever.
หามีความสงสัยใดๆ ที่ว่า ความผิดปกตินี้ บัดนี้ได้กลายเป็นเรื่องปกติ, คงจำได้ว่า นี่เป็นการก่อตัวที่ได้ดำเนินมาเป็นปีที่สองแล้วว่า ฝนตกยาวไม่หยุด ได้สร้างหายนะในอุษาคเนย์.  ปีกลาย, ฤดูมรสุมได้นำน้ำท่วมร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สู่ประเทศไทย, ที่น้ำท่วมกรุงเทพฯ และกระทบประชาชนกว่า 14 ล้านคน, ทำลายที่ดินเพาะปลูกเกือบ 7,000 ตร.ไมล์, ทำให้ห่วงโซ่การผลิตสินค้าโลกต้องหยุดชะงัก, และนำมาซึ่งสิ่งที่ธนาคารโลกได้ประเมินว่า เป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับที่สี่.

Perhaps the most frustrating thing about the unceasing rainstorms is that we Filipinos could do little to prevent them. We could have made them less calamitous by resettling informal settlers away from the floodways to Manila Bay and reforesting the hills and mountains that border the metropolitan area. We could have passed the Reproductive Health Bill much earlier and propagated family planning to reduce the human impact on the upland, rural, and urban environments. We could have, in short, taken measures to adapt to changing climate patterns. But to prevent the fundamental shifts in regional and global climate was something we could not do. This is the dilemma of most countries in the South: we are victims and our weapons are few and limited.
บางที สิ่งที่ทำให้ท้อแท้มากที่สุดเกี่ยวกับพายุฝนที่ไม่ยอมหยุด คือ พวกเราชาวฟิลิปปินส์ทำอะไรไม่ได้มากที่จะหยุดยั้งมัน.   เราอาจสามารถลดความเลวร้าย ด้วยการโยกย้ายพวกที่ปลูกที่พักอย่างไม่เป็นทางการจากทางน้ำไหลในอ่างมนิลา และ ปลูกป่าบนเขาที่เป็นเขตแดนของนครมนิลา.  เราอาจผ่าน พรบ อนามัยเจริญพันธุ์ ให้เร็วกว่านี้ และบังคับใช้การวางแผนครอบครัว เพื่อลดผลกระทบของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมบนที่สูง, ชนบท, และเมือง.   แต่เราไม่สามารถขยับรากฐานในสภาพภูมิอากาศระดับภาพพื้นและโลกได้.   นี่คือ ความยากลำบากของประเทศส่วนใหญ่ในซีกโลกใต้: เราเป็นเหยื่อ และอาวุธของเรามีน้อยและจำกัด.
                                                                                                                                             
The North-South Divide
แบ่งขั้ว เหนือ-ใต้

Climate change is triggered by the accumulation of carbon dioxide and other greenhouse gases in the atmosphere. Sixty-six percent of the greenhouse gases that have accumulated in the atmosphere from 1890 to 2007, according to Wikipedia, have been contributed by the developed countries — meaning the United States, the European Union, Japan, and Russia. Yet these countries are also the most difficult to persuade to curb their emissions, limit consumption, and provide aid to developing countries to deal with climate change.
ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงปะทุขึ้นเพราะการสะสมคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศ.  ก๊าซเรือนกระจก 66% ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศระหว่างปี ๒๔๓๓ ถึง ๒๕๕๐, ตามวิกิพีเดีย, มาจากประเทศพัฒาแล้ว—หมายถึง สหรัฐฯ, อียู, ญี่ปุ่น, และรัสเซีย.  แต่ประเทศเหล่านี้ ก็ดื้อรั้น ยากแก่การชักจูงให้ลดการปล่อยก๊าซ, จำกัดการบริโภค, และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.

The U.S. Congress is populated by Republican climate skeptics who continue to believe, against all evidence, that climate change is a figment of the liberal imagination. The European Union has committed to curbing greenhouse gas emissions, but only through weak or unrealistic containment measures like carbon trading or technofixes like carbon sequestration and storage, not by moderating economic growth or reducing consumption, which remains the principal engine of greenhouse gas emissions. With their economies still mired in financial crisis, curbing greenhouse gas emissions is a very low priority for European leaders.
สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ที่เต็มไปด้วยริพับลิกัน ที่ไม่เชื่อว่ามีปัญหาภูมิอากาศ ก็ยังคงดึงดันไม่เชื่อต่อไป, ทั้งๆ ที่มีหลักฐานทั้งปวง, ว่า สภาวะอากาศผันผวน เป็นเรื่องที่กุขึ้น โดยจินตนาการเสรีนิยม.   อียู ได้สัญญาผูกพันว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, แต่ใช้มาตรการที่อ่อนแอ หรือ ไม่เป็นจริง เช่น การค้าคาร์บอน หรือ ซ่อมด้วยเทคโนโลยี เช่น การแยกคาร์บอน และการจัดเก็บ, ไม่ใช่ด้วยการชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือลดการบริโภค, ซึ่งยังคงเป็นหัวจักรหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก.   ในภาวะที่เศรษฐกิจยังอยู่ในหล่มวิกฤตการเงิน, การลดก๊าซเรือนกระจก อยู่ในลำดับความสนใจท้ายๆ ของผู้นำยุโรป.
                                                                                                                               
The North-South dimension has added a deadly dynamic to this process as the so-called emerging capitalist economies of the South, notably China and India, make their claims to their share of ecological space to grow, even as the capitalist economies of the North continue to refuse to give up any of the vast ecological space they now occupy and exploit. China is now the world’s biggest contributor of greenhouse gases, but it refuses to entertain mandatory limits on its greenhouse gas emissions because it says its emissions have historically been quite low, standing at some 9 percent of the historical total.
มิติ เหนือ-ใต้ ได้เติมพลวัติพิฆาตแก่กระบวนการที่เรียกว่า เศรษฐกิจทุนนิยมใหม่ที่กำลังอุบัติขึ้นในซีกโลกใต้, ที่ชัดๆ คือ จีน และ อินเดีย, ได้อ้างส่วนแบ่งในพื้นที่นิเวศ เพื่อสนองการขยายตัว, แม้ว่า เศรษฐกิจทุนนิยมในซีกโลกเหนือจะยังปฏิเสธที่จะถอนตัวออกจากการยึดครองและถลุงในพื้นที่มหาศาลในระบบนิเวศ.   จีน ตอนนี้ เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดของโลก, แต่มันปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงในการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะมันอ้างว่า ที่ผ่านมา มันได้ปล่อยในระดับต่ำมาตลอด, มีค่าประมาณ 9% ในค่ารวมเชิงประวัติศาสตร์.

The refusal of the North to curb its high consumption and the effort by the big emerging economies to reproduce the Northern consumption model lies at the root of the deadlock in the climate change negotiations—one symbolized by the failure of the UN-sponsored talks in Copenhagen in 2009 and Durban in 2011 to agree on the contours of a successor agreement to the Kyoto Protocol.
การปฏิเสธของซีกโลกเหนือที่จะลดการบริโภค และความพยายามของเศรษฐกิจอุบัติใหม่ ในการลอกเลียนโมเดลการบริโภคของซีกโลกเหนือ เป็นรากเหง้าของเงื่อนตายในการต่อรองเรื่องภูมิอากาศแปรปรวน—เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ ความล้มเหลวในการเจรจาที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติ ในกรุงโคเปนเฮเกน ปี ๒๕๕๒ และในกรุงเดอร์บาน ในปี ๒๕๕๔ เพื่อตกลงการออกแบบเค้าโครงการขับเคลื่อนข้อตกลงเกียวโต.

What was agreed upon in Durban was that governments would submit their offers for emission reductions by 2015, but these would be implemented only in 2020. But by then, according to many experts, it will already be too late, since countries will already be locked into a high-carbon development path. Scientists say that given the absence of mandatory emissions limits in the next few years, the world is on track to pass the 2-degree Celsius increase to which they would like to confine the rise in global mean temperature, and is already on a trajectory for a 4-to-5-degree temperature rise. This would be nothing short of calamitous. Reflecting what many see as the maddeningly nonchalant attitude of Washington, Todd Stern, a U.S. climate official, recently urged governments to give up the 2-degree target and sought a “more flexible” international agreement based on voluntary targets. This can only provide the governments of countries on a high-growth path an excuse to postpone making commitments, if not junk mandatory reductions altogether.
สิ่งที่ตกลงกันที่ กรุงเดอร์บาน คือ รัฐบาลจะส่งตัวเลขว่าจะลดการปล่อยก๊าซลงเท่าไรภายในปี ๒๕๕๘, แต่ก็จะดำเนินการจริงในปี ๒๕๖๓.  แต่ถึงตอนนั้น, ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายคน, ก็ช้าไปเสียแล้ว, เพราะประเทศต่างๆ ล้วนกักตัวติดแน่นอยู่ในเส้นทางการพัฒนาที่ผลิตคาร์บอนสูงเรียบร้อยแล้ว.  นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เมื่อปราศจากข้อบังคับให้จำกัดการปล่อยก๊าซในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า, โลกก็เข้าสู่ลู่ที่จะเพิ่มอุณหภูมิขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส ซึ่งพวกเขาอยากให้จำกัดการเพิ่มให้อยู่ในอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก, ซึ่งก็เพิ่มอยู่ในช่วง 4-5 องศาแล้ว.   นี่ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากหายนะ.  สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติไม่แยแสแบบไร้สติของวอชิงตัน คือ, ทอดด์ สเติร์น, เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาของสหรัฐฯ, เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เร่งเร้าให้รัฐบาลทั้งหลายยกเลิกเป้าหมาย 2 องศา และแก้เป็น ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ “ยืดหยุ่น” บนพื้นฐานการตั้งเป้าด้วยจิตอาสา.   นี่เป็นเพียงการให้บรรดารัฐบาลของประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง ได้มีข้ออ้างในการเลื่อนเวลาทำตามสัญญา, หากไม่เป็นการโยนข้อบังคับดัวกล่าวทิ้งทั้งหมด.

When Diplomacy Fails
เมื่อการทูตล้มเหลว

The countries that are most threatened by climate change, like the Philippines, must do all they can to break the deadlock. To stress the urgency of arriving at a serious global agreement soon, the governments of these countries can engage in what might be called “anti-diplomacy.”
ประเทศที่ถูกคุกคามโดยภูมิอากาศแปรปรวนมากที่สุด, เช่น ฟิลิปปินส์, จะต้องทำทุกอย่างที่จะทำได้ เพื่อปลดล็อคเงื่อนตายนี้.  เพื่อเน้นให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่จะต้องตกลงระดับโลกกันให้ได้เร็วๆ นี้, รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ สามารถจะมีส่วนร่วมในสิ่งที่อาจเรียกว่า เป็น “การต่อต้านวิถีทูต”.

Given the fact that climate change has become a national security issue, our governments must act in the same manner that they would respond to a national security threat. In the case of the Philippines, for instance, the government can issue a diplomatic protest against Washington. President Benigno Aquino III can call Harry Thomas, the U.S. ambassador, to the palace and return the $100,000-check that the Untied States recently contributed to the government’s relief efforts in Metro Manila. He can tell Ambassador Thomas that what the Philippines really wants is for the United States to immediately agree to deep mandatory cuts in carbon emissions, to be implemented in 2013 instead of 2020. He should also advise Thomas that instead of making paltry disaster relief contributions, the United States should immediately commit to give $25 billion to the $100-billion Green Climate Fund that developed countries agreed to set up during the 2011 Durban Conference but have yet to fund.
ด้วยเรื่องภูมิอากาศแปรปรวนได้กลายเป็นประเด็นความมั่นคงไปแล้ว, รัฐบาลของเราจะต้องทำตัวในแบบเดียวกันกับการตอบโต้ในยามความมั่นคงของชาติถูกคุกคาม.   ในกรณีของฟิลิปปินส์, รัฐบาลสามารถจะออกหนังสือประท้วงทางการทูตต่อวอชิงตัน.  ประธานาธิบดี เบนิโง อคิโน III สามารถเรียก แฮรี โทมัส, ทูตสหรัฐฯ, ไปที่ทำเนียบ และคืนเช็ค $100,000 (สามล้านบาท) ที่สหรัฐฯ มอบให้รัฐบาลช่วยบรรเทาอุทกภัยในมนิลา.   เขาสามารถบอกกับทูตโทมัสได้ว่า สิ่งที่ชาวฟิลิปปินส์ต้องการจริงๆ คือ ให้สหรัฐฯ ยอมรับข้อตกลงให้ลดการปล่อยคาร์บอน, ให้ดำเนินการในปี ๒๕๕๖ แทน ๒๕๖๓.  เขาควรแนะแก่โทมัสด้วยว่า แทนที่จะบริจาคเงินบรรเทาภัยพิบัติขี้ปะติ๋ว, สหรัฐฯ ควรจะสัญญาผูกพันว่าจะให้เงิน $25 พันล้าน แก่กองทุนภูมิอากาศเขียว ซึ่งตั้งไว้ที่ $100 พันล้าน ที่ประเทศพัฒนาแล้วได้ตกลงว่าจะจัดตั้งขึ้น ในระหว่างการประชุมที่เดอร์บาน ปี ๒๕๕๔ แต่ก็ยังไม่ได้ขยับ.

The Philippines should also lead in bringing about a coalition of threatened countries outside the framework of the Group of 77 and China, an artificial coalition that brings together the so-called emerging markets that are mainly committed to high-speed industrial growth with countries whose key interest is to prevent global disasters. This parallel grouping should demand that Brazil, China, and India stop hiding behind the rubric of being “developing countries” and agree to mandatory limits on their greenhouse gas emissions as soon as possible.
ฟิลิปปินส์เองก็ควรจะเป็นผู้นำในการรวมตัวเป็นเครือข่ายในบรรดาประเทศที่เผชิญภัยคุกคาม ที่อยู่นอกกรอบของกลุ่ม จี 77 และ จีน, อันเป็นเครือข่ายเทียมที่รวมพวกที่เรียกว่า ตลาดอุบัติใหม่ ที่ล้วนยึดมั่นเกาะติดกับการขยายภาคอุตสาหกรรมเร่งด่วน กับ ประเทศที่สนใจที่จะป้องกันภัยพิบัติโลก.   การรวมกลุ่มแบบคู่ขนานนี้ ควรเรียกร้องให้ บราซิล, จีน, และ อินเดีย ให้หยุดซ่อนตัวอยู่ข้างหลังความเป็น “ชาติกำลังพัฒนา” และตกลงยอมรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับให้เร็วที่สุด.

Some of the elements for such a coalition are already present in organizations such as the Africa Group, the Alliance of Small Island Countries, and the Least Developed Countries. According to the Overseas Development Institute, “AOSIS and Least Developed Countries (LDCs) are calling for 45% reductions on 1990 levels by 2020 and 85% by 2050. The African Group has called for developing countries to reduce their overall carbon emissions by at least 95% below 1990 levels by 2050. This shall be achieved during subsequent commitment periods by the end of 2050.” The emergence of a broader coalition incorporating these groupings would serve as an important notice to both the North and the big emerging markets that they better get down to the business of negotiating mandatory cuts soon.
องค์ประกอบบางประการของเครือข่ายนี้ มีอยู่แล้วในองค์กร เช่น กลุ่มอาฟริกา, พันธมิตรประเทศเกาะเล็ก (AOSIS), และ ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs).   ตามรายงานของสถาบันการพัฒนาโพ้นทะเล, “AOSIS  และ LDCs กำลังเรียกร้องให้ลดลง 45% ของระดับในปี ๒๕๓๓ ในปี ๒๕๖๓ และ 85% ในปี ๒๕๙๓.   กลุ่มอาฟริกา ได้เรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนา ลดการปล่อยคาร์บอนอย่างน้อย 95% ต่ำกว่า ระดับในปี ๒๕๓๓ ในปี ๒๕๙๓.   อันนี้จะบรรลุได้ในช่วงเวลาผูกพันไว้ตามๆ กันมา ก่อนสิ้นปี ๒๕๙๓.”   การอุบัติของเครือข่ายที่มีกว้างพอที่จะรวมกลุ่มต่างๆ เหล่านี้เข้ามา จะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้ทั้งซีกโลกเหนือ และตลาดใหญ่ๆ ที่เพิ่งอุบัติขึ้นมา ให้เห็นว่า ควรหันหน้ามาเจรจาตกลงลดตามข้อตกลงภาคบังคับเร็วๆ นี้.

But like all diplomacy, demanding action from the other party must be accompanied by offering concessions and substantive goodwill gestures. To show the United States, Europe, and China that it means business, the Philippine government must commit to reducing its own greenhouse gas emissions by some 20 percent by from its levels in the 1990s by 2020, even though the country is not a major emitter. This will mean, among other things, shelving a disastrous plan to set up a national network of coal-generated power plants, which are probably the worst energy generation plants from the perspective of greenhouse gas emissions. The Philippines can’t be seen demanding cuts while increasing its own emissions. Similar potent symbolic moves must be made by other developing countries.
แต่ก็เหมือนการทูตทั้งหลาย, การเรียกร้องจากฝ่ายหนึ่ง จะต้องมาพร้อมกับการเสนอข้อยินยอม และท่าทีมิตรไมตรีที่มีสาระ.   เพื่อแสดงให้สหรัฐฯ, ยุโรป, และจีน เห็นว่า มันเป็นเรื่องที่ต้องเอาจริงเอาจัง, รัฐบาลฟิลิปปินส์ ควรจะผูกพันสัญญาว่าจะลดระดับก๊าซเรือนกระจกของตนเอง ประมาณ 20% จากระดับของมันในปี ๒๕๓๓ ภายในปี ๒๕๖๓, แม้ว่า จะไม่ได้เป็นประเทศหลักในการปล่อยก๊าซ.   นี่หมายความว่า, ในบรรดาสิ่งอื่นๆ, พับเก็บเข้าหิ้งแผนงานสร้างภัยพิบัติ ที่จะก่อตั้งเครือข่ายระดับชาติในการผลิตพลังงานด้วยถ่านหิน, ซึ่งคงเป็นโรงงานผลิตพลังงานที่แย่ที่สุดในมุมมองของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก.   ฟิลิปปินส์ไม่สามารถจะถูกมองว่า เรียกร้องให้คนอื่นลด แต่ตัวเองกลับปล่อยมากขึ้น.   การขับเคลื่อนเชิญสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลเช่นนี้ จะต้องกระทำในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ด้วย.



As the last two years have made very clear, climate has become the No. 1 national security issue for developing countries. When diplomacy fails, the threatened nations have no choice but to resort to strategies like anti-diplomacy to safeguard their national security and national interest. Our weapons are few, and often they are only mechanisms of moral suasion, but we must use them and hope for the best.
ดังที่สองปีที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นชัดแล้ว, ภูมิอากาศได้กลายเป็นประเด็นความมั่นคงแห่งชาติ หมายเลข 1 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา.   เมื่อการทูตล้มเหลว, ชาติที่ถูกคุกคาม ไม่มีทางเลือก นอกจากหันไปใช้ยุทธศาสตร์ที่ต่อต้านการทูต เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ และผลประโยชน์ของชาติ.  อาวุธของเรามีไม่กี่ชิ้น, และมักจะเป็นเพียงกลไกของการโน้มน้าวทางศีลธรรม, แต่เราจะต้องใช้มัน และหวังให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด.

Foreign Policy In Focus columnist Walden Bello is senior analyst of the Bangkok-based institute Focus on the Global South and representative of Akbayan (Citizens’ Action Party) in the House of Representatives of the Philippines. He can be reached at waldenbello@yahoo.com.
คอลัมนิสต์ด้านนโยบายต่างประเทศใน โฟกัส  วอลเด็น เบลโล เป็นนักวิเคราะห์อาวุโส ของสถาบัน โฟกัสในซีกโลกใต้ ซึ่งมีฐานที่ กรุงเทพฯ  และเป็นผู้แทนของพรรค Akbayan (Citizens’ Action Party) ในรัฐสภาของฟิลิปปินส์. 

Published on Friday, August 17, 2012 by Foreign Policy in Focus
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น