วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

88. อนาคต ธนาคารกรามีน มั่นคงแค่ไหน




Bangladesh ‘Fixes’ Grameen Microcredit
By Naimul Haq
บังคลาเทศ “ซ่อม” สินเชื่อจิ๋ว กรามีน
โดย นัยมูล ฮัค

Laboni (left) checks product quality at her lingerie unit. Credit: Naimul Haq/IPS

DHAKA, Aug 15 2012 (IPS) –
Laboni Vhoumik’s lingerie manufacturing unit in the Gopai village of Noakhali district, about 180 km outside the capital, is a forceful argument in favour of the Grameen Bank microcredit model that fosters female entrepreneurship and also relies on it.
หน่วยผลิตชุดชั้นในของ ลาโบนิ วฮูมิก ในหมู่บ้านโกไป อ.เนาคาลิ, ประมาณ 180 กม นอกเขตเมืองหลวง, เป็นข้อโต้แย้งที่ทรงพลังสนับสนุนโมเดลสินเชื่อจิ๋วของธนาคารกรามีน ที่ได้เอื้อให้เกิดผู้ประกอบการหญิง และก็พึ่งหญิงเหล่านี้ด้วย.

But the Grameen Bank is itself under threat of creeping government control sparking a storm of protests by entities ranging from women’s rights groups to the state department of the United States.
แต่ตัว ธ.กรามีน เองกลับถูกคุกคาม จากการคืบคลานเข้ามาบงการโดยรัฐบาล ซึ่งได้จุดประกายให้เกิดพายุการประท้วง จากฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่กลุ่มสิทธิสตรี จนถึง กระทรวงของสหรัฐฯ.

Vhoumik, 36, started out in 2003 with nothing to commend her except tailoring skills. Today, she runs a production unit which employs 12 women and supplies quality undergarments to several major retailers in Noakhali and the adjacent districts.
วฮูมิก, 36, เริ่มต้นในปี 2546 ด้วยไม่มีอะไรที่จะแนะนำตัวเธอนอกจากฝีมือตัดเย็บ.  ทุกวันนี้, เธอดูแลหน่วยการผลิตที่จ้างหญิง 12 คน และส่งชุดชั้นในคุณภาพดีให้สายขายปลีกสำคัญๆ หลายแห่งใน เนาคาลิ และในอำเภอใกล้เคียง.

Joining a local non-government organisation (NGO), Noakhali Rural Development Services (NRDS), helped Vhoumik to borrow Taka 4000 (then about 45 dollars) to buy her first sewing machine.
การเป็นสมาชิกของเอ็นจีโอ, บริการพัฒนาชนบทแห่งเนาคาลิ, ได้ช่วยให้ วฮูมิก ได้ยืมเงินประมาณ 1,350 บาท เพื่อซื้อจักรเย็บผ้าตัวแรกของเธอ.

“We counsel and offer free training to promote such small entrepreneurships. The idea is to ensure that the borrowed money is properly utilized,” Mohammad Kaiser Alam, NRDS microcredit programme coordinator, told IPS.
“เราให้คำปรึกษาและอบรมฟรี เพื่อส่งเสริมกิจการเล็กๆ เช่นนี้.  จุดประสงค์ คือ ทำให้แน่ใจว่า เงินที่กู้ยืมไปนั้น จะถูกใช้อย่างเหมาะสม,” โมฮัมหมัด ไกเซอร์ อลาม, ผู้ประสานงาน โครงการสินเชื่อจิ๋ว NRDS

Vhoumik now earns about 238 dollars a month, which is considered handsome in her village. She also has large savings and recently paid for some major repairing of her home.
ตอนนี้ วฮูมิก มีรายได้เดือนละประมาณ 7,140 บาท, ซึ่งนับว่าดีมากในหมู่บ้านของเธอ.   เธอยังมีเงินออมถุงใหญ่ และเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้จ่ายเพื่อซ่อมบ้านของเธอครั้งใหญ่.

Her group of 65 members discusses social and family problems as well as members’ progress with their business or problems or outstanding loans.
สมาชิก 65 คนในกลุ่มของเธอ มีการถกกันถึงปัญหาสังคม และครอบครัว รวมทั้ง ความก้าวหน้า หรือ ปัญหาของสมาชิกในธุรกิจ หรือ ปัญหาเงินกู้.

Members rarely default as the group is responsible as guarantor for the loans.
สมาชิกไม่ค่อยจะทำผิดสัญญา เพราะทั้งกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้.

But this simple business model that has worked to lift thousands of Bangladeshi women out of poverty is now under threat because one of its pioneers, the Grameen Bank, is undergoing changes at the helm that will allow greater government control.
แต่โมเดลธุรกรรมง่ายๆ นี้ ที่ได้ช่วยยกฐานะของหญิงบังคลาเทศหลายพันคนให้พ้นจากความยากจนนี้ กำลังถูกคุกคาม เพราะหนึ่งในผู้บุกเบิก, ธ.กรามีน, กำลังเปลี่ยนผู้นำ ที่จะยอมให้รัฐบาลควบคุมได้มากยิ่งขึ้น.

The government owns three percent of Grameen Bank, but by suitably changing the ‘Grameen Bank Ordinance’ the new state-appointed chairman will be able to appoint its chief executive officer.
รัฐาลเป็นเจ้าของ ธ.กรามีนอยู่ 3%, แต่ด้วยการเปลี่ยน “พรบ ธ.กรามีน” ประธานที่รัฐแต่งตั้ง จะสามารถแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าพนักงานฝ่ายบริหารได้.

“This represents a de facto imposition of government control of the bank; in other words, the poor women, who are also its owners, are being deprived of their right to manage their own bank and are being made powerless,”  says a statement issued by 60 of Bangladesh’s leading civil society representatives.
“อันนี้แสดงว่า รัฐบาลยัดเยียดการควบคุม ธ.นาคาร โดยพฤตินัย.  อักนัยหนึ่ง, หญิงยากจน, ซึ่งก็เป็นเจ้าของด้วย, กำลังถูกเบียดสิทธิ์ในการจัดการธนาคารของพวกเธอเอง และกำลังถูกกดไม่ให้มีอำนาจ,” จากแถลงการณ์ที่ลงนามโดย ผู้แทนภาคประชาสังคมของ 60 องค์กรแนวหน้าของบังคลาเทศ.

“Grameen Bank is unique in the world for being owned by impoverished women. Representatives of the 8.4 million women borrowers sit on the board of the bank and have participated over the years in its decision making, unlike any other bank in the world,” the statement said.
“ธ. กรามีน มีเอกลักษณ์ของตนในโลก ในฐานะที่มีหญิงยากจนเป็นเจ้าของ.  ผู้แทนของหญิงผู้กู้ยืม 8.4 ล้านคน นั่งอยู่ในบอร์ดของธนาคาร และตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ, ต่างกับธนาคารอื่นๆ ในโลก,” ดังกล่าวในแถลงการณ์.

Shireen Huq, one of the signatories to the statement, told IPS “there is no reason to believe that the changes (to Grameen Bank) are being made with good intent.”
ชิรีน ฮัค, หนึ่งในผู้ร่วมลงนาม, กล่าวต่อ IPS “ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ (ใน ธ.กรามีน) ได้กระทำด้วยความตั้งใจที่ดี.”

Huq, a leading women’s rights activist and founder of the NGO ‘Naripokkho’, said the proposed amendment to the Grameen Bank’s constitution gives the chairman of the board the authority to form a three-member selection committee. “In other words, the majority board members will be in effect disenfranchised.
ฮัค, หนึ่งในนักรณรงค์สิทธิสตรีแนวหน้า และผู้ก่อตั้งเอ็นจีโอ “นารีโป๊คคอ”, กล่าวว่า การแก้ไขธรรมนูญของ ธ,กรามีน ทำให้ประธานบอร์ด มีอำนาจที่จะจัดตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งที่ประกอบด้วยกรรมการ ๓ คน. “อีกนัยหนึ่ง, สมาชิกส่วนใหญ่ของบอร์ดจะถูกตัดสิทธิ์โดยสิ้นเชิง.

“The government’s appointment of a person known for his animosity towards Prof. Muhammad Yunus (Grameen Bank’s founder) as the chairman did not bode well for the institution,” Huq told IPS.
“การที่รัฐบาลแต่งตั้งบุคคลที่รู้กันทั่วว่า มีความเกลียดชังต่อ ศ.มูฮัมหมัด ยานุส (ผู้ก่อตั้ง ธ.กรามีน) ให้เป็นประธาน เป็นสัญญาณไม่ดีต่อสถาบัน,” ฮัคกล่าว.

“This move would diminish the role the largely female borrower-shareholders play in shaping the direction of an institution that has made a difference to millions of impoverished women in Bangladesh, and indeed around the world,” the statement said.
“การขยับตัวเช่นนี้ จะลดบทบาทของหญิงผู้ถือหุ้น-กู้ยืม ในการกำหนดทิศทางของสถาบัน ที่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างแก่หญิงยากจนนับล้านในบังคลาเทศ, และอันที่จริง ทั่วโลก,” ดังกล่าวในแถลงการณ์.

“We are concerned that the latest actions by the government could threaten the future of the bank which was founded by Nobel peace prize laureate Prof.  Muhammad Yunus,” Ventrell said.
“เราเป็นกังวลว่า การกระทำของรัฐบาล อาจเป็นการคุกคามอนาคตของธนาคาร ที่ก่อตั้งโดย ศ.มูฮัมหมัด ยานุส ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ,” เวนเทรล กล่าว.

The plan by the government to increase its role in Grameen Bank has sparked a furious debate in Bangladesh that has pitted economists who favour microcredit as a development tool against those who believe that it is not effective enough.
แผนของรัฐบาลในการขยายบทบาทของ ธ.กรามีน ได้จุดประกายการถกเถียงอย่างดุเดือดรุนแรงในบังคลาเทศ เป็นเหตุให้นักเศรษฐศาสตร์ผู้ค่อนไปทางการใช้สินเชื่อจิ๋ว เป็นอุปกรณ์เพื่อการพัฒนา ปะทะ กับผู้ที่เชื่อว่า มันยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ.

Prof. Abul Barkat, who head the economics department at Dhaka University’s  told IPS that microcredit reaches only small portion of the poor people. “Hardcore poor who need most attention remain out of the reach of such services and who are considered having no potential of repaying loans.”
ศ.อบุล บาร์กัท, คณบดีของคณะเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยดักกา กล่าวว่า สินเชื่อจิ๋วถึงมือคนจนเพียงส่วนน้อย.  “คนจนสุดๆ ผู้ต้องการความสนใจมากที่สุด กลับยังเข้าไม่ถึงบริการดังกล่าว และพวกนี้ ถูกมองว่า ไม่มีศักยภาพที่จะคืนทุนเงินกู้ได้.”

“Out of Bangaldesh’s 150 million population, 98.9 million are poor, 47 million are middle class and 4.1 million are rich people. Out of the 98.9 million, 50 percent form the hardcore poor and remain in the lower bottom. Microcredit only reaches the upper half of the poor who are the potential target group of the NGOs,” the economist explained.
“ในประชากรทั้งหมด 150 ล้านคนของบังคลาเทศ, เป็นคนจน 98.9 ล้านคน, 47 ล้านคนเป็นชนชั้นกลาง และ 4.1 ล้านคนเป็นคนรวย.  ใน 98.9 ล้านคน, ครึ่งหนึ่งเป็นคนจนสุดๆ และยังติดอยู่ในชั้นล่างๆ.   สินเชื่อจิ๋ว เข้าถึงคนจนชั้นบนเท่านั้น ผู้เป็นอาจเป้าหมายของเอ็นจีโออยู่แล้ว,” นักเศรษฐศาสตร์อธิบาย.

According to Barkat economically the upper half of the poor (49.4 million) who get microcredit facilities “bounce in their own orbit” and they “neither come out of poverty nor slide down to the hardcore poor group.”
ตามความเห็นของบาร์กัท ในเชิงเศรษฐกิจ คนจนชั้นบน (49.4 ล้าน) ผู้ได้รับความช่วยเหลือสินเชื่อจิ๋ว “เด้งอยู่ในวงโคจรของพวกตน” และพวกเขา “ไม่ได้หลุดพ้นจากความยากจน หรือ ไถลลงสู่กลุ่มยากจนสุดๆ.”

Qazi Kholiquzzaman Ahmad, another noted economist, told IPS that he has rarely seen poor people getting significant benefit from microcredit programmes. “One of my own studies shows only seven percent of the borrowers actually coming out of poverty from microcredit.”
กาซิ อาห์หมัด, นักเศรษฐศาสตร์อีกคนหนึ่ง, กล่าวว่า เขาไม่ค่อยเห็นว่า คนจนได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากโครงการสินเชื่อจิ๋ว.   “งานศึกษาชิ้นหนึ่งของผม แสดงให้เห็นว่า มีคนกู้ยืมเพียง 7% เท่านั้น ที่หลุดพ้นจากความยากจนได้เพราะสินเชื่อจิ๋ว.”

Ahmad, who currently chairs Palli Karma-Sahayak Foundation or PKSF, said his 2008 study showed that fewer than ten percent of the total 23 million borrowers in the country actually came out of poverty. “This means that microcredit programmes are not always sustainable in poverty alleviation.”
อาห์หมัด, ผู้เป็นประธานปัจจุบันของมูลนิธิ PKSF, กล่าวว่า งานศึกษาปี 2551 ของเขา ได้แสดงว่า ผู้กู้ยืมน้อยกว่า 10% จากทั้งหมด 23 ล้านคนในประเทศ ได้หลุดพ้นจากความยากจน. “นี่หมายความว่า โครงการสินเชื่อจิ๋ว ไม่ยั่งยืนเสมอไปในการบรรเทาความยากจน.”

But, the PKSF itself was launched by the government in 1990 to build on the success of private players and now has over 250 partner organisations (small NGOs) and has 8.6 million borrowers.
แต่, PKSF เอง เป็นโครงการที่รัฐบาลเปิดขึ้นในปี 2543 เพื่อต่อยอดความสำเร็จของเอกชน และตอนนี้ก็มีองค์กรภาคี (เอ็นจีโอเล็กๆ) กว่า 250 แห่ง และมีผู้กู้ยืม 8.6 ล้านคน.

Mohammad Hasan Ali, founder and executive director of Pally Bikash Kendra, an NGO that operates microcredit programmes in the northwestern districts, told IPS that the steady growth in borrowings and repayments showed the robustness of the model.
โมฮัมหมัด ฮัสซาน อาลี, ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการบริหารของ Pally Bikash Kendra, ซึ่งเป็นเอ็นจีโอหนึ่งที่ดำเนินโครงการสินเชื่อจิ๋ว ในอำเภอตะวันตกเฉียงเหนือ, กล่าวว่า การขยายตัวอย่างต่อเนื่องในการกู้ยืม และคืนทุน แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของโมเดล.

“Surely the poor are borrowing because they are getting some benefit in one way or another,” Ali said.
“แน่นอน คนจนกู้ยืม เพราะพวกเขาได้รับประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง,” อาลีกล่าว.

What is important, most economists agree, is that the small borrowings made through NGOs have eliminated traditional village moneylenders who charged usuriously high rates of interest and increased the debt burden of the poor.
“สิ่งสำคัญ, นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วย, คือ การกู้ยืมน้อยๆ ผ่านเอ็นจีโอ ได้ขจัดคนปล่อยเงินกู้แบบเดิมๆ ในหมู่บ้าน ผู้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงมาก และเพิ่มภาระหนี้ให้แก่คนจน.

The real success of microcredit, economists say, lies in the fact that it integrates other programmes like health and hygiene, education, water and sanitation, social safety, legal aid, human rights and other basic issues with the lending process.
ความสำเร็จที่แท้จริงของสินเชื่อจิ๋ว, นักเศรษฐศาสตร์กล่าว, อยู่ในความจริงที่ว่า มันผนวกโครงการแบบอื่นๆ เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, น้ำและสุขอนามัย, ความปลอดภัยทางสังคม, การช่วยเหลือทางกฎหมาย, สิทธิมนุษยชน และประเด็นพื้นฐานอื่นๆ อยู่ในกระบวนการกู้ยืม.

S. M. Ali Aslam, executive director of ADAMS, an NGO operating in the southwestern districts, told IPS, “There is no doubt that the NGOs took the leadership in providing financial security to the poor when the  state failed to offer any secure economic programme.”
เอส.เอ็ม.อาลี อัสลาม, ผู้อำนวยการบริหารของ ADAMS, เอ็นจีโอที่ดำเนินการในอำเภอตะวันตกเฉียงใต้, กล่าว.  “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เอ็นจีโอได้เป็นผู้นำในการให้ความมั่นคงทางการเงินแก่คนจน เมื่อรัฐล้มเหลวในการให้โครงการเศรษฐกิจที่มั่นคงใดๆ.”

Aslam added that foreign donors continue to support microcredit programmes in Bangladesh “because they work.”
อัสลาม เสริมว่า ผู้ให้ทุนต่างชาติ ยังคงสนับสนุนโครงการสินเชื่อจิ๋วต่อไปในบังคลาเทศ “เพราะมันใช้การได้.”

ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น