วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

86. “ความยั่งยืน” ... แสวงหามา ๓ ทศวรรษแล้ว ยังไม่พบ?!?




ความยั่งยืน และ ปัญหาระบบ
การ์ อัลเปอโรวิตซ์ (Gar Alperovitz)
๒๕๓๘ (1996)

Alperovitz, Gar. 1996. “Sustainability and ‘the System Problem’”. In Dennis C. Pirages (ed.). Building Sustainable Societies: A blueprint for a post-industrial world’. Armonk, NY: M.E. Sharpe. Pp. 55-68

แม้ว่าบทความนี้ จะได้เขียนขึ้นเมื่อ ๑๓ ปีก่อน  (สำหรับผู้อ่านในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ที่กล่าวถึงในบทความนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ)   แต่เนื้อหาหลายอย่างก็ยังไม่ล้าสมัย และเหตุการณ์บางอย่างก็ยังเป็นเช่นเดิม.  การเทียบเคียงความเห็นเมื่อ ๑๓ ปีก่อน กับสภาพที่เป็นจริงทุกวันนี้ จะช่วยให้เราต่อยอดกับกระบวนการหักเหทิศทางของความวินาศภัยที่มาจากน้ำมือของมนุษย์.     ดรุณี, ผู้แปล,  ๖ สค ๒๕๕๒

ผมขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำว่า การถกเถียงที่เป็นที่ยอมรับกันเรื่อง ความยั่งยืน นั้น เริ่มกลายเป็นสิ่งไม่ยั่งยืนขึ้นทุกวัน.  ใช่แล้ว ผมต้องการยั่วยุแต่ก็ต้องการจะพูดให้เฉพาะเจาะจงด้วย.
                ในระดับหนึ่ง ได้ค่อยๆ เกิดความเห็นร่วมมากขึ้นว่า  เพื่อหลีกเลี่ยงการฉวยใช้ความต้องการของอนุชนในอนาคต   ระบบการเมือง-เศรษฐกิจใดๆ จะต้องลดแรงบีบคั้นต่อระบบนิเวศ, ซ่อมแซมความสึกหรอที่ได้กระทำต่อสิ่งแวดล้อมในอดีต,  และหันเหแรงโน้มถ่วงให้มากพอที่จะหยุดยั้งการเสื่อมโทรมสุทธิของสิ่งแวดล้อม.  แม้ว่าคำนิยามที่เจาะจงจะต่างกันไป, หลาย ๆ คนก็ยอมรับว่า ความยั่งยืน ต้องการทั้งโครงสร้างสถาบัน กับวัฒนธรรม ที่มีสมรรถภาพเพียงพอที่นำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ในลักษณะต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง.
                แต่ ผมก็เชื่อว่า ทั้งสอง ระบบหลัก ในศตวรรษที่ ๒๐ทุนนิยม และสังคมนิยมต่างก็ไม่ได้จัดตัวเองให้เหมาะสมและพร้อมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น.  ถ้าเป็นเช่นนี้จริง การถกเถียงอันเป็นที่ยอมรับกันแล้วนั้น จำเป็นจะต้องเจาะให้ลึกกว่านั้น เพื่อเผชิญหน้ากับลักษณะต้นแบบที่ฝังลึกในระบบเหล่านี้ และระบบอื่นๆ เพื่อจะได้อันไหนที่อาจจะยั่งยืน.  การถกเถียงอย่างที่เป็นอยู่ในรูปแบบปัจจุบัน ไม่ยั่งยืน.  ไม่ว่าพวกเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม, วิกฤตของความยั่งยืน ได้ผลักพวกเราไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ ให้ไปพ้นตัวมันเอง สู่ ปัญหาระบบ.

ลัทธิสังคมนิยม

ง่ายที่สุด คือ เริ่มขุดคุ้ยที่ลัทธิสังคมนิยม, ระบบที่, อย่างน้อยก็เป็นที่รู้กันในปัจจุบันว่าทำผิดแผกออกไป, ได้ทำให้เกิดความหายนะและก็ไม่ยั่งยืนต่อนิเวศในศตวรรษที่ ๒๐.  ทั่วทั้งยุโรปตอนกลาง และอดีตสหภาพโซเวียต, การผลักดันให้ได้พลังงานราคาถูก และผลิตผลทางอุตสาหกรรมสูงสุด—ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเมามันไม่สนใจเรื่องสาธารณสุขได้ทำให้เกิดพื้นที่เสื่อมโทรมทางนิเวศมากมาย ที่มีอากาศสกปรก, น้ำครำ, และการปล่อยควันและสารพิษที่ทำให้เกิดมลภาวะและเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์.
                ในปี 1988 (๒๕๓๑) ในร้อยกว่าเมืองของอดีตสหภาพโซเวียต ระดับมลภาวะในอากาศสูงกว่าระดับที่กฎหมายอนุญาตถึง ๑๐ เท่า.  น้ำในแม่น้ำของโปแลนด์ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ สกปรกเกินกว่าที่จะนำมาใช้แม้แต่ในภาคอุตสาหกรรม และประชากรส่วนใหญ่ของโปแลนด์ ก็ไม่ได้รับบริการในด้านการบำบัดของเสีย.
                ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในแต่ละประเทศของอดีตสหภาพโซเวียต ก็ล้าหลังกว่าระดับต่ำสุดของสหรัฐฯ ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์.  แหล่งผลิตพลังงานส่วนใหญ่ คือโรงงานถ่านหินที่ปล่อยควันสกปรกสีน้ำตาล, หลายๆ ที่ ไม่มีการควบคุมมลภาวะใดๆ.  ในตอนปลายทศวรรษ 1980s (๒๕๓๓-๔๒) มีการประเมินว่า ทุกๆ ๑ ใน ๗๐ คนที่ตายในฮังการี มีสาเหตุมาจากมลภาวะในอากาศ.  ไม่ว่าคุณจะชี้นิ้วไปที่จุดไหนในแผนที่, นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งตั้งข้อสังเกตเมื่อเร็วๆ นี้,  จะมีพื้นที่สยองขวัญอีกแห่ง.
                เบื้องหลังสถิติที่ยกมาและอีกมากมายที่อ้างอิงได้คือ ความคิดครอบงำของระบบราชการของรัฐบาลกลางที่ว่า จะ เติบโตไม่ว่าจะต้องใช้อะไรก็ตาม (growth-at-all-costs) และอุดมการณ์ ที่แนะนำว่า ธรรมชาติสามารถ และควรจะดัดให้ตามใจมนุษย์ไม่ว่าจะเกิดผลตามมาอย่างไร.  ผู้มีอำนาจปกครองของรัฐสังคมนิยม ขาดความตั้งใจและก็คงรวมความสามารถด้วยที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างคำนึงถึงต้นทุนทางสังคม, และชุมชนท้องถิ่น ไม่มีหนทางใด ที่จะท้าทายค่านิยมที่ต่อต้านนิเวศของอำนาจส่วนกลาง.  ดังที่นักเศรษฐศาสตร์นิเวศ เคน ทาวน์เซนด์ (Ken Townsend) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้, การคิดด้วย เหตุผล (rationality) ได้เปลี่ยนป่าที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เป็นไร่พืชเชิงเดี่ยว และพยายามที่จะย้อนกระแสน้ำในระบบแม่น้ำทั้งหมด.
                เป็นเรื่องน่าเศร้า, รายงานจากรัสเซียหลังระบอบคอมมิวนิสต์ ไม่มีอะไรที่น่าจูงใจเลย.  ในกรุงมอสโคว์, กว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของปล่องไฟ ไม่มีเครื่องกรองควัน, ต้นไม้และที่ว่างเปล่าถูกถางถลุงอย่างเกือบไม่มีข้อจำกัด.  อัตราการเป็นโรคมะเร็งเพิ่ม, โรงงานแห่งหนึ่งถูกสร้างขึ้นเร็วๆ นี้ บนบริเวณที่ทิ้งสารกัมมันตรังสี.  เจ้าหน้าที่เมืองคนหนึ่ง กล่าวด้วยสีหน้าเจ็บปวด, ไม่มีความตื่นตัว ว่ามันมีผลพวงมากมายทางนิเวศ...ตอนนี้ ทุกคนเพียงแต่คิดว่า เมื่อไรเขาจะร่ำรวยได้.
                การที่ลัทธิสังคมนิยม ได้ก่อให้เกิดผลเช่นนั้น เราสามารถจะสาวไปถึงคุณสมบัติเฉพาะที่มาพร้อมกับการออกแบบระบบนี้.  เช่น การที่หน่วยงานที่ดำเนินการโดยภาครัฐ จะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ขยายตัวด้วยแรงกดดันจากภายใน ของพลวัตการจัดการที่ว่า เติบโตไม่ว่าจะต้องใช้อะไรก็ตาม และเป้าหมายแผ่อำนาจไปทั่วทั้งระบบ.  ในขณะเดียวกัน, สถาบันเช่นนี้ ก็รู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ลด หรือผลักต้นทุนให้ออกจากตัวเอง, นั่นคือ ปล่อยมลภาวะ และลดค่าสิ่งแวดล้อม ถ้ามันช่วยลดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันเป็นปกติ.
                ไม่เพียงแต่ระบบสังคมนิยม ตั้งอยู่บนฐานของใบสั่งให้เติบโตขยายตัว, มันยังได้ผลิตระบบลำดับอำนาจที่สุดขั้ว ที่ตัดทอนทั้งเสรีภาพ และความสามารถของกลุ่มพลเมือง ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวก.  ระบบลำดับสถานภาพนี้ ยังได้ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบที่ไม่พึงปรารถนา, ซึ่งทำให้เกิดความหิวกระหายชนิดที่ดับไม่ได้ ในการได้ให้ มากขึ้น อันเป็นการแสดงออกถึงบริโภคนิยมแบบแปลกประหลาดของสังคมนิยม: “คฤหาสน์ในบ้านนอกของฉันใหญ่กว่าของแก!”  ผลสุดท้าย คือ แบบแผนที่ได้ถูกกำหนดโดยโครงสร้างก่อนหน้านี้ ให้ขยายตัวอย่างทำลายล้างสิ่งแวดล้อม.
                แต่สิ่งที่เราต้องย้ำไม่ใช่เพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์ที่ผลลัพธ์, แต่จะต้องเล็งไปที่ สถาปัตยกรรมของสถาบัน, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, และคุณสมบัติเชิงพลวัตของระบบสังคมนิยม ที่ก่อให้เกิดผลพวงวินาศกรรมทางนิเวศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
                ปัญหาฝังอยู่ในระบบ (systemic).

ลัทธิทุนนิยม

มันไม่ยากที่จะมองเห็นกรอบคิดเชิงโครงสร้างเช่นนี้ เมื่อเรามอง ออกนอกตัวเอง ไปสู่ระบบอื่น.  แล้วระบบของพวกเราเองล่ะ?  ปัญหาสิ่งแวดล้อมของลัทธิทุนนิยม ก็เป็นปัญหาที่ฝังอยู่ในระบบหรือเปล่า?  แนวโน้มไปทางการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการบริโภคทรัพยากรอย่างทวีคูณและต่อเนื่อง เป็นผลข้างเคียงของระบบหรือไม่?  หรือว่า มันเป็นผลลัพธ์ที่ต้องเป็นไป ตามที่ระบบของพวกเราได้ถูกออกแบบมา?
                แนวโน้มต่างๆ ไม่น่าดึงดูดใจเลย สำหรับผู้ที่ต้องการคำตอบง่ายๆ.  แม้ว่าจะมีการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งคราว, เช่น การกำจัด ดีดีที, และการปฏิรูปเล็กๆ น้อยๆ, สิ่งที่ต้องการคือให้ผลระยะยาว.  พิจารณาจากการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ: ดังที่ สถาบันทรัพยากรโลก ได้ระบุเมื่อเร็วๆ นี้:
สหรัฐฯ บริโภคแร่เหล็กมากกว่าอินเดีย เกือบ ๓ เท่า, เหล็กกล้า ๔.๖ เท่า, ถ่านหิน ๓.๖ เท่า, ปิโตรเลียม ๑๒ เท่า, วัวและแกะ ๓ เท่า, และไม้ซุง ๑.๗ เท่า.  สหรัฐฯ มีประชากรน้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของอินเดีย, ดังนั้น การเปรียบเทียบการบริโภคต่อหัวย่อมต่างกันมากอย่างมีนัยสำคัญ.  โดยสรุป, การบริโภคพลังงานจากแหล่งฟอสซิล/ซากดึกดำบรรพ์ ทุกอย่าง ในสหรัฐฯ นั้นมหาศาลถึงขั้นที่ว่า การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซตัวหลักที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก, มากกว่าที่เกิดในอินเดียถึง ๑๙ เท่า.
อลัน เดอร์นิ่ง (Alan Durning) รายงานว่า ตั้งแต่ปี 1940 (๒๔๘๓) พวกเราชาวอเมริกัน ได้ถลุงใช้ทรัพยากรแร่ธาตุในโลก มากเท่ากับปริมาณรวมที่ ทุกๆคน ในประวัติศาสตร์โลกใบนี้เคยใช้.  ถ้าเราจะเผชิญหน้ากับ การบริโภคอย่างตะกละตะกรามในระดับนี้และรากลึก ที่เป็นแหล่งกำเนิดของการขยายการเติบโตและบริโภคนิยมแน่นอน เราต้องทำมากกว่าข้อเสนอเพิ่มภาษีของการบริโภคและการโฆษณา.
                เอาอีกตัวอย่างหนึ่ง ในเรื่องผลพวงระยะยาวมากมาย ที่เกี่ยวกับมลภาวะและขยะพิษ, การผลิตสารเคมีในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น ๑๑๕ เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 1970 (๒๕๑๓) และปี 1992 (๒๕๓๕).  แต่ ในปี 1992 (๒๕๓๕) มีสารเคมีพาณิชย์เพียง ๒๒ ตัว ใน ๗๐,๐๐๐ ตัว ที่ได้รับการตรวจสอบว่ามีผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไร: เพียง ๑ เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับการตรวจสอบจาก หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency, EPA).   อีก ๘๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ เคมีภัณฑ์ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตัว (ยกเว้นยาฉีดแมลง, สารปรุงแต่งอาหาร, เครื่องสำอางค์และยา) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์.  ตัวเลขจาก EPA จากปี 1988 (๒๕๓๑) แสดงให้เห็นว่า ๗๙ เปอร์เซ็นต์ ของขยะอันตรายในสหรัฐฯ มาจากอุตสาหกรรมเคมีและทุกๆ ปี จะมีสารเคมีตัวใหม่ๆ เกือบ ๑,๐๐๐ ตัว ถูกวางจำหน่ายในท้องตลาด, บางตัวค่อนไปทางอันตราย, แม้ว่าจะใช้ในปริมาณน้อยนิด.   ถึงกระนั้น หากสามารถทำให้ห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ปัจจุบันทั่วโลก ลงมือตรวจสอบสารเคมีเหล่านี้, ก็คงจะตรวจสอบได้แค่ ๕๐๐ ผลิตภัณฑ์ต่อปีเท่านั้น!
                พวกเรารู้กันหมดว่า ลัทธิทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีคุณสมบัติเบื้องฐานบางอย่าง: ใบสั่งให้เอากำไรสูงสุด ได้ทำให้มันต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และถลุงทรัพยากรในระดับสูงติดต่อกันไป.  มันยังสร้างแรงกดดันให้ผลักต้นทุนออกจากตัวเอง และทำให้เกิดมลภาวะ.  มันยังผลิตรายได้สุดขั้วและลำดับความเหลื่อมล้ำในสถานภาพ, ความไม่เท่าเทียมทางวัฒนธรรม และความทะเยอทะยานทางวัตถุ.
                ทุนนิยมได้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจบางอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือ การรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในบรรษัทขนาดใหญ่.  นี่ไม่ใช่เพราะว่าผู้นำของบรรษัทเป็น คนเลว, แต่เพราะว่า มันเป็นตรรกะ (logic) ของระบบ.  ผู้บริหารของธุรกิจของเรา จะต้อง ดูแลผลธุรกิจมิฉะนั้นแล้ว พวกเขาก็ หลุด จากวงธุรกิจ.
                การศึกษานับไม่ถ้วนและการสังเกตร่วมสมัยชี้ให้เห็นว่า สถาบันบรรษัททั้งหลายต่างมีความสามารถและความสนใจที่จะกุมอิทธิพลทางการเมืองที่มากเกินตัว, เพื่อบิดเบือนหน่วยงานควบคุม, ขัดขวางกิจกรรมของกลุ่มพลเมือง, และส่งผลกระทบต่อระบบเลือกตั้งและการบัญญัติกฎหมาย.  นอกจากนั้น, ความเหลื่อมล้ำทางรายได้จากทุนนิยม ได้มีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการเมือง: ผู้มีเงินมากกว่า มักจะมีอำนาจมากด้วย, และเงินของพวกเขา ก็ช่วยเพิ่มระดับความสามารถของพวกเขาในการครอบงำความสนใจของสาธารณชน.  มันก็ไม่ใช่เรื่องอุบัติเหตุอะไร ที่แหล่งทิ้งขยะ และสารพิษไปลงเอยอยู่ในแหล่งชุมชนยากจนหรือชนกลุ่มน้อย.
                มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะตระหนักว่า การเติบโตของระบบทุนนิยม ไม่ใช่ถูกกระตุ้นด้วยความหิวกระหายที่จะได้กำไรเท่านั้น แต่ความกลัวด้วย.  ตรรกะและพลวัตของระบบทุนนิยม สั่งว่า ทุกๆ บริษัทจะ ต้อง  ตัดต้นทุน หากต้องการจะอึดสู้อยู่ได้ในการแข่งขัน.  พวกเขา ต้อง ผลักภาระต้นทุนออกจากตัว: ถ้าบริษัทใด ยินดีที่จะใช้เงินในการลดปัญหาการสร้างมลภาวะ แล้วต้องเพิ่มราคาผลิตภัณฑ์ เพื่อครอบคลุมต้นทุนที่สูงขึ้น, บริษัทนั้นก็ต้องเสี่ยงกับการลดพื้นที่ตลาดที่ครองอยู่ ที่ถูกคู่แข่งที่มีจิตสำนึกน้อยกว่าแย่งไป.
                ชุมชนหนึ่งๆ ถ้าให้เลือกระหว่าง, เช่นว่า, การตัดไม้ต่อไปในป่าที่เกือบหายไปหมดแล้ว กับการไม่มีงานทำนั้น เป็นเรื่องที่มาจากเหตุผลของความกลัวของคนที่อยู่ในสถานภาพที่อ่อนแอที่จะต้านแรงการเมืองของการเติบโตขยายตัว.  ในภาพใหญ่ขึ้น, เราจะมองเห็นเมืองและรัฐต่างๆ พากันหมอบสยบศิโรราบ ดึงดูดขอให้บรรษัทใหญ่ๆ มาลงทุนไม่ใช่เพียงเพราะความโลภ, แต่เพราะ ผลจากการไม่เติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปนั้น มีความสาหัสและเห็นได้ชัด: การไม่มีงานทำสูง, สังคมแตกสลายอย่างต่อเนื่อง, และแน่นอน, ผลพวงติดลบทางการเมือง สำหรับข้าราชการ.  สำหรับชุมชนก็คล้ายกับบริษัทนายทุนมักจะเป็นเรื่อง ไม่ขยายตัวก็ตาย.
                อนิจจา นี่เป็นญัตติเดียวกันที่แต่ละคนยึดถือทั่วไป.  ความทะเยอทะยานทางวัตถุ ที่หลายคนจะกล่าวโทษง่ายๆ แท้จริงก็เป็นเหรียญอีกด้านหนึ่งของความรู้สึกไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจที่แผ่ซ่านไปทั่ว.  มาลองพิจารณาดูวงจรชีวิตของชนชั้นกลางแบบฉบับหนึ่งดู:  เข้าเรียนวิทยาลัยเพื่อจะได้ก้าวหน้าต่อไป ด้วยเหตุนี้ ก็เริ่มก่อหนี้สิน (สำหรับเป็นค่าเล่าเรียน).  เพื่อล้างหนี้ จะต้องสะสมเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้, และแล้วก็ถึงเวลาสร้างครอบครัว, มีลูก, และถ้าคุณโชคดี, ก็ได้สัญญาจำนองบ้าน.  ความรับผิดชอบมากขึ้น, และแรงกดดันให้สะสมเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก็เพิ่มเป็นเงาตามตัว.  พ่อแม่ตระหนักว่า ถ้าพวกเขาไม่ได้อยู่ในแถบเพื่อนบ้านที่ถูกต้อง, การศึกษาของลูกๆ ก็จะมีปัญหา.  และพวกเขาก็ควรจะเริ่มเก็บเงินสำหรับให้ลูกเข้าวิทยาลัย.  และกว่าจะข้ามพ้นช่วงเวลานั้น, คำถามใหญ่ คือ ใครจะมาดูแลฉัน? ในยามชรา หรือเจ็บป่วย.
                สำหรับชาวอเมริกันส่วนใหญ่, ไม่ว่าความมั่นคงอะไรก็ตามที่เขาพยายามไขว่คว้า ล้วนเปราะบางทั้งสิ้น.  เมื่อไรก็ตามและในตอนนี้ ก็เป็นความจริงสำหรับพวกผู้จัดการปกเสื้อขาว พอๆกับ พวกคนงานปกเสื้อน้ำเงินแต่ละคนก็อาจถูกลอยแพได้เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ, เมื่อบรรษัทเปลี่ยนเจ้าของ, เมื่อเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่, หรือแม้แต่เมื่อมีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา.
                ทางเดียวที่จะได้มาซึ่งความรู้สึกมั่นคงจริงๆ ก็คือหลีกเลี่ยงการล้มเป็นประการแรก.  ดังนั้น จึงเป็นการฉลาด เสมอ ที่จะบากบั่นให้ได้ มากขึ้น”—มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ขณะนี้เพราะ พรุ่งนี้อาจจะได้ น้อยลง”—และแล้ว ก็เล่นเก้าอี้ดนตรีวัตถุนิยมเช่นนี้กันต่อไป.  ในสถานการณ์เช่นนี้, ไม่น่าประหลาดใจเลย ที่ความรู้สึกไม่มั่นคงของมวลชน จะทำให้เกิดการยกยอคนรวยและมั่นคงในระบบ, หรือความสามารถในการบริโภคมักจะกลายเป็นเครื่องวัดความภาคภูมิใจในตัวเองและสถานภาพ.  ในขณะเดียวกัน, บรรษัทก็ต้องขายและต้องโฆษณาชวนเชื่อสินค้าต่าง ๆต่างได้สร้างแรงกดดัน ให้บริโภคมากขึ้น และตอกย้ำวัฒนธรรมวัตถุนิยมของการซื้อ-และ-บริโภค.
                ผมได้สาธยายมายืดยาวในเรื่องที่คนส่วนใหญ่ประจักษ์ดีว่าเกิดขึ้นแล้วในระบบของเราด้วยเหตุผลเดียว: เหล่านี้แหละ คือ คุณสมบัติของระบบ และในทางกลับกัน หมายถึงผลพวงที่ไม่ยั่งยืน ที่พวกเราได้สังเกตเห็นอยู่บ่อยๆนั้น ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติของลัทธิทุนนิยม.
                แต่ แน่นอน, เราทั้งหมดรู้ดีว่า ระบบของพวกเราก็ถูกกำหนดโดย ปัจจัยในการออกแบบไว้ เช่น สถาบัน, โครงสร้าง, และอำนาจ.  ปัญหา คือ เราไม่ค่อยจะไม่กันพูดตรงไปตรงมา.  ที่สำคัญที่สุด, ความหมายโดยนัยของมัน ไม่ค่อยจะถูกผนวกลงไปในการวิเคราะห์ถึงอุปสรรคต่อความยั่งยืนระยะยาว.

การเผชิญหน้ากับประเด็นระบบ

ถ้าเป็นจริงอย่างที่ว่า ปัญหาในประเทศทุนนิยม, เหมือนกับในอดีตรัฐสังคมนิยม, ล้วนเกิดจากปัจจัยในระบบ, เช่นนั้น ก็ไม่ทางเปลี่ยนแปลงอะไรได้ตามคำจำกัดความ นอกเสียจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในระบบ.  และนี่ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้อีก เมื่อเรามอง ออกจากตัว ไปที่ระบบอื่น; แต่เป็นเรื่องน่ากลัวกว่ามาก เมื่อเรามอง เข้า ในระบบของเราเอง.
                ความยากลำบากของพวกเราส่วนหนึ่ง ในการเผชิญหน้ากับประเด็นระบบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คือ พวกเรามักจะมีความลำบากใจในการแยกแยะระหว่าง ปฏิรูป ที่ช่วยปรับปรุง ส่วนที่แย่ที่สุดของสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไป กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงด้วยอานิสงค์ของการหักเหทิศทางของ แนวโน้ม.  ในระดับทั่วไปที่สุด, การเคลื่อนไหวไปในทางบวกที่ลดผลกระทบที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นแล้วในระบบทุนนิยมต่างๆ.  มีการออกกฎหมายควบคุมมลภาวะ; มีความก้าวหน้าในการกำจัดตะกั่วและคลอโรฟลูออโรคาร์บอน; มีการลดซัลเฟอร์อ๊อกไซด์, และอนุภาคต่างๆ.
                ผมขอย้ำว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่เราจะเผยแพร่ แยกแยะความคิดเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลง ให้ชัดเจนมากขึ้นระหว่าง ๓ ประเภท: “A” เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่เป็นครั้งคราว; “B” เป็นการปฏิรูป และ ชัยชนะ ผิวเผิน; “C” เป็นการพลิกผันแนวโน้มอย่างมีนัยสำคัญและระยะยาว.
                แม้ว่าการถกเถียงในเรื่องสิ่งแวดล้อมของพวกเรา ส่วนใหญ่จะเน้นที่ทำให้เกิดการค้นพบที่ยิ่งใหญ่, การปฏิรูปพอเป็นพิธี, และ ชัยชนะ”—และแน่นอน การปฏิรูประดับนโยบายก็ได้สะท้อนผลเหล่านี้หลักฐานส่วนใหญ่ ชี้ไปที่ข้อสรุปที่ว่า แนวโน้มของผลพวงขั้นพื้นฐาน  ที่สำคัญที่สุดในเรื่องความยั่งยืน ไม่ถูกแตะต้องเลยอย่างจริงจัง จากการปรับปรุงทั้ง A และ B.
                ผมได้แสดงคร่าว ๆ ถึงดัชนีเกี่ยวกับการบริโภค/ทรัพยากร มาแล้ว.  นอกจากข้อยกเว้นเล็กน้อย, การศึกษาที่รวมหลายภาคส่วน ถึงแนวโน้มระยะยาวในปัจจัยเชิงสิ่งแวดล้อม ๒๑ ประการ ที่องค์กรที่ผมเป็นหัวหน้าอยู่ได้รวบรวมขึ้น ยืนยันถึงภาวะที่แย่ลงของผลพวงต่างๆ เชิงนิเวศ ในแต่ละประเทศอุตสาหกรรมรวม ๙ ประเทศ ที่สำรวจในระยะเวลา ๒๕ ปีที่ผ่านมา.  ปรากฏการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าวันแห่งโลกครั้งแรกจะผ่านมาแล้ว ๑ ใน ๔ ของศตวรรษ ซึ่งได้ยืดออกไปเป็นความโกลาหลในการออกกฎหมายต่างๆ, การปฏิรูป, และการวางแผนสีเขียว, การก่อตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อม, และการเพิ่มความตื่นตัวในเรื่องนิเวศ และกิจกรรมระดับฐานราก.  ถ้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจสามารถจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ผู้นำธุรกิจและรัฐบาลในประเทศทั้ง ๙ ที่สำรวจ ตั้งเป้าหมายไว้แล้ว,  แนวโน้มสู่ความเสื่อมโทรมในสิ่งแวดล้อม ก็คงจะแย่มากกว่านี้มากทีเดียว.
                หากข้อมูลแนวโน้มเบื้องต้น ที่พวกเรากำลังเห็นอยู่ในหลายๆ พื้นที่ เข้าใกล้ตัวเลขที่ถูกต้อง, อุปสรรคที่เรากำลังเผชิญอยู่  คือ ปัญหาระบบ.  ถ้าการปฏิรูปแบบเดิมสามารถเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มส่วนใหญ่เพียงแค่ชายขอบแล้ว, คุณสมบัติเชิงพลวัตของระบบในทุนนิยมก็ขัดกับเป้าหมายของอนาคตแห่งนิเวศที่ยั่งยืน.
                ยิ่งไปกว่านั้น, ถ้าเป็นความจริงที่ว่า ทั้งลัทธิทุนนิยม และลัทธิสังคมนิยม ต่างถูกออกแบบมาให้ไม่เหมาะกับความยั่งยืนทั้งสองระบบไม่สามารถผลิตผลพวงเชิงนิเวศที่พึงประสงค์ได้ เนื่องจากพิมพ์เขียวและพลวัตที่ติดตัวมันมาเช่นนั้น ทั้งสองก็ไม่มีทางออกจากกล่อง, ซึ่งชัดอยู่แล้วว่า เราจะต้องหาระบบใหม่ที่มีต้นแบบต่างออกไป.
                ในทางตรรกะและด้วยความซื่อสัตย์, พวกเราอาจต้องยอมรับว่า อาจจะไม่มีทางเลือกข้างหน้า; ว่าอาจจะไม่มีคำตอบสำหรับปัญหานี้.  พูดง่ายๆ, ทางเลือกที่เป็นไปได้อันหนึ่ง คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างสถาบันหรือวัฒนธรรมที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุความยั่งยืนที่แท้จริง.
                แต่ ถ้าเรายังไม่ยอมก้มหัวให้กับข้อสรุปที่มองโลกในแง่ร้ายนี้และผมก็ไม่ยอมด้วยแล้ว เราก็จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นด้วยการถกกันอย่างจริงจัง ถึงการออกแบบระบบที่เหมาะสมกับหลักการของความยั่งยืน.
                คำถาม คือ พวกเราเตรียมพร้อมหรือยัง ที่จะเผชิญหน้ากับความจริงที่แสนเย็นยะเยือก ในการรับคำท้าครั้งนี้?
                ใช่, ผมรู้ดี คำโบราณที่ว่า—“คุณเปลี่ยนระบบไม่ได้!”  แต่ ไม่ใช่, ผมไม่เชื่อว่าคุณจะสามารถหลบหน้าซ่อนตัวจากสิ่งที่เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาไปได้ตลอด.  ดังนั้น, ผมขอเสนอว่า อย่างน้อยพวกเราลองพยายามคิดค้นในประเด็นนี้, และเริ่มสนทนาร่วมกัน/สานเสวนา (dialogue) อย่างจริงจัง.  อย่างที่ โจแอน ริเวอร์ (Joan Rivers) ชอบพูดว่า, เรามา คุย กันได้ไหม?

ชุมชน

สิ่งที่พวกเราต้องการ, ในที่สุด, คือ ระบบที่ไม่เพียงแต่จะหยุดยั้งแนวโน้มนิเวศเชิงลบที่เป็นอยู่ แต่ยังช่วยพลิกผันแนวโน้มเหล่านั้น และผลิตผลพวงเชิงบวก.  เราจะเริ่มต้นอย่างไรดี เพื่อที่จะอย่างน้อยก็สามารถยกร่างออกมาคร่าวๆ ถึงคุณสมบัติของระบบ ที่อาจจะตัดส่วนล่างของแรงกดดัน ที่ทำให้เกิดผลพวงที่ไม่ยั่งยืน?
                  เมื่อเราตั้งคำถามแบบนี้, ผมเชื่อว่า อย่างน้อยเราจะสามารถเริ่มคิดค้นหาองค์ประกอบในทางออก, ถ้าหากยังไม่ถึงคำตอบทั้งหมด.
                  ด้วยมีหน้ากระดาษจำกัดและเพียงเพื่อเป็นการสาธิตคุณสมบัติระบบเบื้องต้นประการหนึ่ง, อย่างที่ เฮอร์แมน ดาลี่ (Herman Daly) และ จอห็น คอบบ์ (John Cobb) ได้เน้นในหนังสือของเขา เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม (For the Common Good), เกือบแน่นอน จะต้องมีองค์ประกอบของ วัฒนธรรมของชุมชน (culture of community) หรือ ประโยชน์สุขร่วม (common good) เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับความยั่งยืน.  แต่ผมไม่เชื่อว่า เรื่องนี้จะสามารถทำกันเพียงแค่พูดในลักษณะเป็นวิสัยทัศน์ปรัชญานามธรรม.   ชุมชน ย่อมมีแง่วิสัยทัศน์ (และศีลธรรมและจริยธรรม) ด้วย, แน่นอน, แต่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ต้องการวัฒนธรรมชุมชนที่หยั่งรากเป็นสถาบันซึ่งหมายความว่า มันจะต้องมีตัวตนในโครงสร้างที่ทำหน้าที่ผลิต, ตอกย้ำ, สนับสนุน และหล่อเลี้ยงตัวมัน.
                  ประเด็นตรรกะนั้น ตรงไปตรงมา:  ทั้งระบบทุนนิยมและสังคมนิยม, ทุกบริษัทมีแรงจูงใจที่จะถ่ายเทสิ่งสกปรกลงในชุมชนท้องถิ่น ถ้ามันหมายถึงการลดต้นทุน.  แต่ถ้าชุมชนเป็นเจ้าของบริษัทนั้น ก็จะไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะทำให้ชุมชนของตนเองเหม็นเน่า.  อันนี้เป็นแค่การสาธิต. การออกแบบสถาบันเช่นนี้ อย่างน้อยจะต้องแบกภาระต้นทุนส่วนใหญ่ไว้เอง.
                  ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่มีเหตุผล/ตรรกะ จะทำให้ง่ายดายในระดับสถาบัน.  แต่ความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น ในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลที่ดินชุมชน (community land trust)—สถาบันท้องถิ่นที่มีมากขึ้นและดูเป็นเรื่องปกติแนะให้เห็นว่า ทางหนึ่งที่เป็นไปได้ ในบรรดานวัตกรรมทางสังคมเชิงปฏิบัติ ซึ่งโดยธรรมชาติของมัน จะช่วยนำชุมชนทั้งหมดให้เข้ามาอยู่ในโครงสร้างสถาบันอันเดียวกัน.  จะเป็นไปได้ไหม ที่จะมีการทดลองที่จะค่อยๆ ดันขอบเขตโครงสร้างของการพัฒนาสถาบันประเภทนี้ ให้ขยายออกไปมากกว่านี้?
                  ที่จริง, ภายใต้พื้นผิวของการค้นหาอย่างที่ยอมรับกันอยู่นั้น, มีกองมหึมาของสิ่งที่เรียกว่า บริษัทชุมชนพัฒนา (community development corporations) ที่มีทั้งรูปลักษณ์และขนาดต่างๆ กัน ซึ่งมีกิจกรรมในการสร้างบ้านและธุรกรรมในเกือบทุกเมืองสำคัญๆ.  ฐานชุมชน (community-based), การพัฒนาเศรษฐกิจแบบประชานิยม  ได้แพร่ขยายออกไปในลักษณะบริษัทที่คนงานเป็นเจ้าของและควบคุมแบบประชาธิปไตย นับร้อย และสหกรณ์นับพัน.  บางแห่งเปิดทำโรงงานขนาดใหญ่พอสมควร เช่นอุตสาหกรรมเหล็กกล้า.  ยังมีการเติบโตที่น่าประหลาดใจของเทศวิสาหกิจ ที่ชุมชนเป็นเจ้าของ (community-owned municipal enterprises).  บริษัทสาธารณะขนาดเล็ก (small scale public firms) ก็ได้ทำธุรกิจทุกอย่าง ตั้งแต่ การผลิตก๊าซ มีเทนและอสังหาริมทรัพย์ จนถึงติดตั้งเคเบิลทีวี.
                  ชิ้นส่วนสถาบันเหล่านี้หรือ ต้นกล้า”—เป็นเพียงรูปแบบที่เป็นไปได้สำหรับชุมชน ที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าต้นแบบทุนนิยมหรือสังคมนิยมดังเช่นในปัจจุบัน.  ถ้าเราเห็นด้วยกับประสบการณ์นี้ หรือเห็นด้วยว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเช่นนี้  เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับระบบที่ยั่งยืน, ก็ต้องนำชิ้นส่วนเหล่านี้มาประกอบกันและประเมินดู เพื่อให้ได้ใช้ชิ้นส่วนที่ดีที่สุดของมันในการถักทอเข้าด้วยกัน.
                  ประเด็นที่เกี่ยวโยงกัน คือ ชีวิตในชุมชนอาจจะดีขึ้นอย่างไรหลังจากได้มารวมเข้าด้วยกัน.  การพัฒนาทุนนิยม ในทางปฏิบัติ ได้ทำลายพื้นฐานที่ผสมผสานชุมชนเข้าด้วยกันและความเป็นองค์รวมของชุมชน: บริษัทมาแล้วก็ไป, และงานผุดขึ้นแล้วก็ล้มหายไป.  บ่อยครั้ง มันไม่เพียงแต่กัดเซาะสายใยทางสังคมให้สึกกร่อน, ยังทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นพังทลาย, ชุมชนแตกแยก, และคนหนุ่มสาวผละจากไป.  ระบบเป็นภัยต่อแก่นความคิดที่ว่า พวกเราอยู่ในเรือลำเดียวกัน ในที่สุดก็ต้องปรับโครงสร้างให้ดีขึ้น เพื่อเสถียรภาพของฐานประสบการณ์ของชุมชนท้องถิ่น.

ขนาด

ประเด็นพื้นฐานอีกเรื่องคือขนาด.  ปัญหาหลักข้อหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมและการเมืองที่สามารถจะยับยั้งกระแสที่ทำให้เกิดแนวโน้มที่ไม่เป็นมิตรต่อความยั่งยืน คือ ขนาดของการปกครองที่กล่าวถึง:มันเป็นเรื่องยากและแพงสุดๆ ที่จะสร้างฉันทามติทางสังคมในการปกครองขนาดใหญ่.  มันอาจจะเป็นไปไม่ได้ในระบบระดับทวีป.
                  คำถามของขนาดเคยเป็นส่วนสำคัญ ของการศึกษาทฤษฎีการเมืองการปกครอง; ทุกวันนี้ ประเด็นขนาดได้กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในการศึกษาระดับภาคพื้น และในหมู่นักกิจกรรมนิเวศ ในการขับเคลื่อนชีวภาพระดับภูมิภาค (bioregional movement).  มันกลับมาแน่ๆ ในประเทศกำลังพัฒนา, อดีตสหภาพโซเวียต, และแคนาดาในขณะที่ประเทศใหญ่ๆ เริ่ม แตกสลาย ลงทุกแห่งหน.
                  ในสหรัฐฯ, พวกเรายังไม่ได้เผชิญหน้ากับความมหึมาของขนาดของทวีปที่เป็นประเทศของเรา.  เช่น, การอภิปรายถึงทฤษฎีสังคมและการเมืองที่เกี่ยวพันกับความยั่งยืน, และมีข้อเสนอมากมายสำหรับการเปลี่ยนแปลงในสหรัฐฯ, ด้วยการใช้ต้นแบบจากยุโรปเป็นตัวเปรียบเทียบ: ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียทำอย่างนี้, ชาวเยอรมันทำอย่างนั้น, ชาวดัชท์ทำอย่างนี้.  แต่ความจริง คือ อาณาเขตการปกครองของยุโรปทั้งหมด มีขนาดต่างกับของสหรัฐมากยิ่งนัก ทำให้การเปรียบเทียบต่างๆ มีปัญหา. เช่น เยอรมันตะวันตก, ดินแดนแห่งความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลก, ก็มีขนาดพอๆ กับรัฐออเรกอน (Oregon).  ฝรั่งเศสก็มีขนาดพอๆ กับรัฐเท๊กซัส.  เนเธอร์แลนด์มีขนาดนิดเดียว.  เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ทั้งหมดมีขนาดการปกครองที่เล็กมากๆ.
                  ถ้าพวกเราเห็นร่วมกันว่า ขนาดอาณาเขตการปกครองมีผลต่อการสร้างฉันทามติ, พวกเราก็ต้องมองหาเอกลักษณ์ (entity) บางอย่างที่เล็กกว่ารัฐบาลที่มีขนาดเป็นรัฐทวีป: เช่น มลรัฐ หรือกลุ่มมลรัฐภายในภูมิภาคเดียวกัน.  ดังนั้น ขนาดที่เล็กลง และเขตกึ่งปกครองตัวเองในระดับภูมิภาค ที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับรัฐบาลแห่งชาติ อาจจะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอีกส่วนหนึ่งสำหรับระบบใหม่ถ้าประชาธิปไตยและความยั่งยืน เป็นเป้าประสงค์ที่จริงจัง.
                  ความเป็นไปได้อีกอันหนึ่งสำหรับการพัฒนาในอนาคต อาจจะเป็นการรวมรัฐ/สาธารณะวิสาหกิจ (public enterprise) ขนาดภูมิภาค.  อันที่จริง นี่เป็นกรอบคิดของนิเวศภูมิภาค (regional-ecological concept) ที่อยู่เบื้องหลังแรงดลใจ ประชาธิปไตยรากหญ้า ต้นฉบับ ที่นำไปสู่การก่อตั้ง Tennessee Valley Authority (การไฟฟ้าแห่งหุบเขาเทนเนสซี)ก่อน ที่มันจะถูกโค่นล้มและถูกกลืนหายไปด้วยแรงกดดันต่างๆ ทางการเมือง-เศรษฐกิจ และกองทัพ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒).  ถึงแม้กระแสคลื่นการแปรรูป และมีการกล่าวโทษรัฐวิสาหกิจ (public enterprise) ต่าง ๆ มากมาย, การศึกษาหลายๆ ชิ้น ก็ได้แสดงให้เห็นว่า ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้อง, รัฐวิสาหกิจสามารถจะมีประสิทธิภาพ ในเชิงเศรษฐกิจ.

เสรีภาพ

สิ่งจำเป็นประการที่สาม สำหรับการออกแบบที่เอาจริงเอาจัง คือ เสรีภาพ สำหรับพลเมืองแต่ละคน.  อย่างที่ โรเบิร์ต ไฮบรอนเนอร์ (Robert Heibroner) ได้เตือนพวกเรา, แม้แต่เป้าหมายที่ดีที่สุดของการคืนความสมดุลให้ระบบนิเวศ ก็สามารถจะนำพวกเราไปสู่ลัทธิเผด็จการได้ง่ายๆ.  อันตรายนี้อยู่ที่การบังคับใช้วิสัยทัศน์เชิงศีลธรรมชุดหนึ่งสำหรับสังคมที่มีความสมดุลเชิงนิเวศ โดยไม่ให้ความสนใจต่อโครงสร้างของสถาบันที่สนับสนุนเสรีภาพ.
                  จุดยืนอนุรักษ์ดั้งเดิมหนึ่ง, อย่างที่ มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman), เฮนรี ซิมสัน (Henry C. Simons), และแม้แต่ รัสเซล เคิร์ก (Russell Kirk) ได้พูดถึง, คือ แท้จริง นายทุนน้อยที่เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติที่เป็นอิสระ เป็นผู้ทำให้มีพื้นฐานของระบบของเสรีชนและวัฒนธรรมเสรี.  พ่อค้าหรือนักลงทุน ยืนอยู่บนขาของตัวเอง!  ความคิด เรื่องเสรีภาพในระบบนี้ เป็นการตอกย้ำ พื้นฐานทางวัตถุ (material base), และพื้นฐานทางวัตถุนี้ ก็ตอกย้ำระบบความคิด.
                  ครั้งหนึ่ง ทฤษฎีอนุรักษ์ได้มีส่วนสร้างรากฐานสำหรับเสรีภาพ.  สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นระบบที่ตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมที่เป็นปัจเจก, เจ้าของทรัพย์สมบัติ, นักธุรกิจน้อย/ผู้ประกอบการรายย่อยอิสระ และชาวนานักธุรกิจ ในช่วงสองศตวรรษแรก.  เราจะวางความจริงที่ว่า บริษัทนายทุนทั้งหมด มักจะผลักภาระต้นทุนออกจากตัวเอง และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นภัยคุกคามสิ่งแวดล้อม, ปัญหาทุกวันนี้ คือ พื้นฐานของทฤษฎีระบบของเสรีภาพ ไม่มีเหลืออยู่.  เพียง ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของสังคมอเมริกัน ที่พอจะจินตนาการได้ว่าเป็นผู้ประกอบการหรือชาวนาขนาดเล็ก.
                  ในการออกแบบระบบใหม่, โครงสร้างสถาบันอะไรที่พอจะประกันเสรีภาพได้?  นอกจากการชักจูง, วิสัยทัศน์ทางจริยธรรม, การปฏิรูปสังคม, และการบัญญัติกฎหมาย, ภารกิจ คือ  การตัดสินใจกำหนด พื้นฐานโครงสร้าง ที่อนุญาตให้พลเมืองมีที่ยืนอิสระ ที่สามารถจะต่อต้านแนวโน้มที่จะเผด็จการในการปกครอง และวัฒนธรรมรอบข้าง.
                  บางทิศทางที่เป็นไปได้ ได้ให้ข้อเสนอแนะ:  ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ (Peter Drucker) ได้เสนอให้จัดว่า งาน เป็นรูปแบบหนึ่งของ สิทธิ์สมบัติ, ซึ่งเหมือนกับการถือครองที่ดินผืนน้อยในยุคต้นๆ –ตอนนี้ก็อาจจะใช้เป็นพื้นฐานที่ให้เสถียรภาพ ที่จะช่วยรักษาและยืดเสรีภาพของปัจเจกบุคคลได้.  ในชุมชนคณาจารย์ย่อมคุ้นเคยกับเรื่องนี้ดี: ทุกคนในมหาวิทยาลัยรู้ดีว่า ถ้าคุณต้องการจะมีอิสระ, คุณมี tenure (ตำแหน่งถาวร)!  มิฉะนั้น คุณก็จะไม่มี เสรีภาพ ที่จะพูดในสิ่งที่คุณต้องการจะพูด.
                  อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น จากนักการเมืองทั้งพรรคดีโมแครต และพรรครีพับลิกัน คือ การหารายได้เป็นแต้มหน่วยกิตความเป็นจริง, บางอย่างสำหรับความไม่มีอะไร สำหรับคนที่ทำงาน: เงิน, ที่เติมเข้าไปในค่าจ้างรายวัน ให้เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมความสามารถของคนงานในการเลี้ยงดูครอบครัวแล้วยังเป็นอิสระได้.
                  ยังมีอีกแนวทางหนึ่ง ที่ทำกันในรัฐอลาสกา.  หลักการ คือ ชุมชนเป็นองค์รวมที่สมควรจะได้รับส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ได้ทำให้เกิด กองทุนถาวรอลาสกา (Alaska Permanent Fund), แต่ก็ได้ออกแบบให้สนับสนุนปัจเจกพลเมืองด้วย.  รายได้จากการสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติ จะแบ่งปันประจำปี, ชาวอลาสกาแต่ละคนจะได้รับจำนวนแน่นอน (มากกว่า ๙๐๐ เหรียญสหรัฐฯ เมื่อไม่นานนี้) ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิ์ และส่วนที่เหลือก็เข้าคลังของรัฐ.  แน่นอน ตัวอย่างอันนี้ มีข้อตำหนิอยู่ที่ว่า รายได้นี้ได้มาจากการขุดเจาะน้ำมัน และมักจะเกี่ยวพันกับการทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น.  ถึงกระนั้น, กลไกสถาบันที่ให้อย่างน้อย การสนับสนุนบางอย่างแก่ปัจเจกพลเมือง ก็ช่วยเป็นเครื่องแนะว่า หนทางปฏิบัติเช่นนี้เป็นไปได้ และวันหนึ่ง ก็อาจพัฒนาไปใช้ในเรื่องอื่น.
                  สิ่งสำคัญ คือ พื้นฐาน ที่แข็งแรง สำหรับเสรีภาพ จะต้องเป็นศูนย์กลางของการออกแบบ และสถาปัตยกรรมของสถาบันไม่ว่าจะเป็นระบบใด ที่มีความยั่งยืนเป็นเป้าหมาย.  ไม่เพียงแต่เสรีภาพ เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ในตัวของมันเอง, แต่ถ้าปราศจากเสรีภาพ, ความน่าเชื่อถือ พึ่งพิงได้อย่างแท้จริงก็เป็นไปไม่ได้.  ในระบบที่ไม่มีเสรีภาพที่แท้จริง, รัฐจะครอบงำสังคม, ในขณะที่ผลวัฒนธรรมดังกล่าว จะส่งเสริมให้คนไม่ดิ้นรน แทนที่จะก้าวร้าว, ความตื่นตัวที่ความยั่งยืนและประชาธิปไตยต้องการ.

การเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ระบบที่ขับเคลื่อนโดยวัฒนธรรมวัตถุและบริโภคนิยมน้อย จะมีโครงสร้างที่สนับสนุนวัฒนธรรมทางเลือกที่ๆ บุคคลจะรู้สึกว่ามีความมั่นคงส่วนตัว, มีการหล่อเลี้ยง บำรุงจากชุมชน, และเป็นไปได้ที่จะบ่มเพาะการทำงานที่มีความหมาย.  มันอาจจะช่วยยืนยันความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณของมนุษย์ด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น