วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

83. หยุดปล้นนิเวศ ก่อนสุขภาพมนุษยชาติหมดทางรอด




How Environmental Destruction Causes Illnesses and Diseases
การทำลายล้างสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยอย่างไร
by David Suzuki
โดย เดวิด ซูซูกิ

Preventing illness is the best way to get health-care costs down. So why aren’t governments doing more to protect the environment? We’ve long known that environmental factors contribute to disease, especially contamination of air, water, and soil. Scientists are now learning the connection is stronger than we realized.
การป้องกันไม่ให้เกิดโรค เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดค่าใช้จ่ายการแพทย์.   แล้วทำไมรัฐบาลจึงไม่ทำมากกว่านี้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม?   เรารู้กันมานานแล้วว่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลภาวะในอากาศ, น้ำ, และดิน.   นักวิทยาศาสตร์กำลังเรียนรู้ถึงความเชื่อมโยงนี้ว่า มันมากกว่าที่เราตระหนัก.

 http://farm4.staticflickr.com/3045/2664751781_5949aebdd1_n.jpg
(photo: Flickr user milkfish)

New research shows that 60 percent of emerging infectious diseases affecting humans—those that rapidly increase in incidence or geographic range—start with animals, two-thirds from wild animals. Lyme disease, West Nile virus, Ebola, SARS, AIDS… these are just a few of the hundreds of epidemics that have spread from animals to people. A study by the International Livestock Research Institute concludes that more than two-million people a year are killed by diseases that originated with wild and domestic animals. Many more become ill.
ผลงานวิจัยใหม่ แสดงให้เห็นว่า 60% ของโรคติดต่อสู่มนุษย์—โรคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตราการเกิด หรือ ในแถบภูมิศาสตร์—เริ่มจากสัตว์, สองในสาม จากสัตว์ป่า.  โรคไลม์, ไวรัสเวสต์ไนล์, อีโบลา, ซาส์, เอดส์...เหล่านี้เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างของโรคระบาดหลายร้อยชนิด ที่ได้แพร่ขยายจากสัตว์สู่คน.   งานศึกษาโดยสถาบันวิจัยปศุสัตว์นานาชาติ สรุปว่า ประชากรกว่า 2 ล้านคน/ปี ถูกคร่าชีวิตด้วยเชื้อโรคที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์ป่าและสัตว์บ้าน.   จำนวนมากกว่านั้นล้มป่วย.

According to an article in the New York Times, “Emerging diseases have quadrupled in the last half-century.” The increase is mainly due to human encroachment into and destruction of wildlife habitat. For example, one study concluded that a four percent increase in Amazon deforestation led to a 50 percent increase in malaria because mosquitoes, which transmit the disease, thrive in the cleared areas.
ตามบทความใน นิวยอร์กไทมส์, “โรคภัยใหม่ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น สี่เท่าตัว ในครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้ว”.   สาเหตุหลักที่เพิ่มขึ้นมา เนื่องมาจากการบุกรุกเข้าไป และทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า.   ยกตัวอย่าง, งานศึกษาหนึ่งสรุปว่า การทำลายป่ามากขึ้น 4% ในอเมซอน นำไปสู่การเพิ่มมาเลเรียถึง 50% เพราะยุง, ที่เป็นพาหะของเชื้อโรค, ชอบที่ๆ ปลอดโปร่ง.

Another example from the article shows how interconnected life is. Development in North America has destroyed or fragmented forests and chased many predators away. This has led to a huge increase in white-footed mice, which carry Lyme bacteria. The mice are not good at removing ticks and their larvae and so the ticks pick up bacteria from the mice and spread it to other mammals, including humans. Because the number of Lyme-infected ticks has multiplied, more are transferring the disease to humans.
อีกตัวอย่างหนึ่งจากบทความ แสดงให้ถึงการเชื่อมโยงของมวลชีวิตทั้งหลาย.   การพัฒนาในแถบอเมริกาเหนือ ได้ทำลายล้าง หรือแยกผืนป่าเป็นชิ้นๆ และได้ขับไล่สัตว์นักล่าออกไป.   เช่นนี้ ได้นำไปสู่การเพิ่มประชากรหนูขาขาวอย่างมหาศาล, ซึ่งเป็นพาหะเชื้อแบคที่เรียไลม์.    หนูพวกนี้ไม่เก่งพอที่จะกำจัดตัวเห็บ/หมัด/ไร และไข่ของมัน ดังนั้น เห็บได้แบคทีเรียจากหนู และแพร่ขยายไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ, รวมทั้งมนุษย์.   เนื่องจากจำนวนเห็บที่ติดเชื้อไลม์ได้ทวีคูณรวดเร็ว, การถ่ายทอดเชื้อโรคสู่คนก็มากขึ้นด้วย.

“When we do things in an ecosystem that erode biodiversity—we chop forests into bits or replace habitat with agricultural fields—we tend to get rid of species that serve a protective role,” Lyme disease researcher Richard Ostfeld told them New York Times, adding that our actions tend to favour species that act as disease carriers.
“เมื่อเรากระทำต่อระบบนิเวศหนึ่งๆ ที่เป็นการกัดกร่อนความหลากหลาย—เราหั่นป่าให้เป็นชิ้นๆ หรือทับที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วยแปลงเกษตรกรรม—เรามีแนวโน้มกำจัดสายพันธุ์ที่เล่นบทผู้พิทักษ์,”  นักวิจัยเชื้อโรคไลม์ ริชาร์ด ออสต์เฟลด์ บอก นิวยอร์กไทมส์, เสริมว่า การกระทำของพวกเรา มักจะโน้มไปทางสายพันธุ์ที่ทำตัวเป็นพาหะของเชื้อโรค.

Global warming is adding to the problem. A study in the journal Nature, “Impact of regional climate change on human health”, notes that heart attacks and respiratory illness due to heat waves, altered transmission of infectious diseases, and malnutrition from crop failures can all be linked to a warming planet. And economic and political upheaval brought on by climate change can damage public health infrastructure, making it difficult for people to cope with the inevitable rise in sickness, according to a study in the Archives of Medical Research, “Global Warming and Infectious Disease”.
ภาวะโลกร้อนกำลังเพิ่มเติมลงในปัญหาที่เกิดขึ้น.  การศึกษาหนึ่งในวารสาร Nature, “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภูมิภาคต่อสุขภาพมนุษย์”, ตั้งข้อสังเกตว่า โรคหัวใจและโรคทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากคลื่นความร้อน, ได้เปลี่ยนแบบแผนการแพร่เชื้อโรคติดต่อ, และทุโภชนาการ อันเกิดจากพืชผลที่ล้มเหลว เหล่านี้ ล้วนเชื่อมโยงไปได้ที่โลกร้อนขึ้น.   และความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและการเมือง ก็นำมาโดยภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถจะทำลายระบบสาธรณสุขได้, ทำให้ประชาชนยากลำบากยิ่งขึ้น ในการรับมือกับความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้, ตามผลการศึกษาใน Archives of Medical Research, “โลกร้อนและโรคติดต่อ”.

Research has also shown that warming ocean waters are increasing the incidence of waterborne illnesses, including those caused by toxic bacteria in shellfish.
งานวิจัยได้แสดงว่า น้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น กำลังเพิ่มอัตราเกิดของโรคที่เกิดในน้ำ, รวมทั้งพวกที่เกิดจากแบคทีเรียพิษในสัตว์น้ำชนิดเปลือก/หอย.

This is costly to the economy as well as to human health and survival. The World Bank estimates that a severe influenza pandemic could cost the world economy $3 trillion. Environment Canada says air pollution alone costs the Canadian economy billions of dollars a year because of increased health-care costs, missed work days, and reduced productivity.
นี่เป็นราคาที่แพง สำหรับเศรษฐกิจ รวมทั้งสุขภาพมนุษย์ และการอยู่รอด.  ธนาคารโลกได้ประมาณการว่า โรคระบาดไข้หวัดใหญ่สาหัส คิดเป็นค่าเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกถึง $3 ล้านล้าน (ประมาณ 90 ล้านล้านบาท).   องค์กรสิ่งแวดล้อมแคนาดา กล่าวว่า ลำพังมลพิษในอากาศ สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจแคนาดา ปีละหลายพันล้านเหรียญ เพราะ การเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล, ลา/ขาดวันทำงาน, และการลดลงของผลิตภาพ.

A key solution, according to the One Health Initiative, is to look at the links between human, animal, and ecological health and to manage our activities in a sustainable and holistic way. The U.S.-based initiative is bringing experts in human, animal, and environmental health together to study these links.
กุญแจทางแก้ไขหนึ่ง, ตาม องค์กรการิเริ่มสุขภาพหนึ่งเดียว, คือ ให้มองดูที่จุดเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพของมนุษย์, สัตว์, และนิเวศ และให้จัดการกิจกรรมของเราในวิถีที่ยั่งยืนและเป็นองค์รวม.   การริเริ่มที่มีฐานในสหรัฐฯ กำลังนำผู้เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพมนุษย์, สัตว์, และ นิเวศ มาร่วมกันศึกษาจุดเชื่อมเหล่านี้.

Another promising area of research is natural capital evaluation. Although it’s difficult, if not impossible, to put a dollar value on the numerous services nature provides, leaving them out of economic calculations means they are often ignored. Forests and green spaces filter water and store carbon. Urban green spaces provide cooling and protection from storms. And, ecosystems in balance help to protect us from disease outbreaks. Destroying these systems and replacing them with human-built infrastructure or paying for the consequences often costs much more than profits gained from exploitation.
หัวข้อวิจัยที่ให้ความหวังอีกอันหนึ่ง คือ การประเมินมูลค่าของต้นทุนธรรมชาติ.  แม้ว่าเป็นเรื่องยาก, หากใช่ว่าเป็นไปไม่ได้, ในการติดป้ายราคาดอลลาร์แก่การบริการต่างๆ ที่ธรรมชาติได้จัดหาให้, แต่การไม่นำเข้ามาคำนวณในสมการเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ละเลยบทบาท/คุณค่าของธรรมชาติ.   ป่าและพื้นที่สีเขียว กรองน้ำและกักเก็บคาร์บอน.   พื้นที่สีเขียวในเมือง ให้ความร่มเย็น และช่วยต้านความรุนแรงจากพายุ.  และ, ระบบนิเวศที่สมดุล ช่วยปกป้องพวกเราจากการปะทุของเชื้อโรค.   การทำลายระบบเหล่านี้ และแทนที่มันด้วยระบบสาธารณูปโภคที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือ ตามจ่ายหลังเกิดผลเสียหาย มักจะเสียมากกว่าได้กำไร ที่ได้มาจากการทำลายนิเวศ.

With the world’s human population now at seven billion and growing, and the demand for technology and modern conveniences increasing, we can’t control all our negative impacts. But we have to find better ways to live within the limits nature and its cycles impose. Our physical health and survival, and the health of our economies, depend on it.
ด้วยจำนวนประชากรโลกขณะนี้ อยู่ที่ 7 พันล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ, และความต้องการเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ, เราไม่สามารถบังคับผลกระทบด้านลบทั้งหมดไว้ได้.   แต่เราจะต้องหาทางที่จะมีชีวิตอยู่ในขอบเขตจำกัด และวัฏจักรของธรรมชาติ.   สุขภาพทางกายและการอยู่รอดของพวกเรา, และสุขภาพของระบบเศรษฐกิจของเรา, ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ.

This article was written with contributions from David Suzuki Foundation editorial and communications specialist Ian Hanington.
© 2012 Straight.com

David Suzuki is a well-known Canadian scientist, broadcaster and environmental activist.
เดวิด ซูซูกิ เป็นนักวิทยาศาสตร์แคนาดา, นักจัดรายการสื่อมวลชน, และนักกิจกรรมที่มีชื่อเสียงสิ่งแวดล้อม.

Published on Friday, August 17, 2012 by Straight.com
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น