วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

87. พิสูจน์ “ความสุข” มาจากอะไร




Happiness Comes From Respect, Not Riches
A series of studies shows that wealth doesn’t make us happier—but the respect of others does.
ความสุขมาจากความเคารพ, ไม่ใช่ความร่ำรวย
งานวิจัยชุดแสดงว่า สมบัติพัสถานไม่ได้ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น—แต่จากความเคารพของผู้อื่น.
by Stacey Kennelly
โดย สเตซีย์ เคนเนลลีย์

Money really can’t buy happiness, research shows. Instead, a new study suggests, those pursuing a happier life would be smart to sharpen their social skills.
เงินไม่สามารถซื้อความสุขได้, งานวิจัยแสดงให้เห็น.  ผลการศึกษาใหม่แนะว่า, พวกที่แสวงหาชีวิตที่มีความสุขกว่า จะต้องฉลาดพอที่จะพัฒนาทักษะทางสังคม.

 (Jiri Kabele)
                                                                        
In a series of four experiments, researchers found that it is the level of respect and admiration we receive from peers—not overall wealth or success—that more likely predicts happiness. They refer to this level of respect and admiration as our “sociometric status,” (SMS) as opposed to socioeconomic status (SES).
ในการทดลองชุดสี่ครั้ง, นักวิจัยพบว่า ระดับความเคารพและความชื่นชอบที่เราได้รับจากเพื่อนร่วมงานต่างหาก—ไม่ใช่ความมั่งคั่งหรือความสำเร็จ—ที่เป็นตัวทำนายความสุข.   พวกเขากล่าวถึงระดับความเคารพและความชื่นชอบ/นับถือว่าเป็น “สถานภาพเมตริกสังคม” (SMS) ที่ตรงข้ามกับ สถานภาพเศรษฐกิจสังคม (SES).

In one experiment, 80 college students from 14 different student groups rated how much they respected and admired the other people in their group, and how respected and admired they felt themselves; they also answered questions about their family’s income and their own level of happiness.
ในการทดลองหนึ่ง, นักศึกษา 80 คน จากกลุ่มนักศึกษา 14 กลุ่ม ได้ให้คะแนนว่าพวกเขามีความเคารพและชื่นชอบคนอื่นๆ ในกลุ่มของตนมากแค่ไหน, และรู้สึกเคารพและชื่นชอบตัวเองอย่างไร; พวกเขาได้ตอบคำถามเกี่ยวกับรายได้ของครอบครัว และระดับความสุขของตัวเองด้วย.

The results, published in the journal Psychological Science, show that people with higher sociometric status (SMS) reported greater happiness, whereas their socioeconomic status (SES) was not linked to their happiness.
ผลการศึกษา, ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์จิตวิทยา, แสดงว่าคนที่มีสถานภาพเมตริกสังคม (SMS) สูงกว่า รายงานว่ามีความสุขมากกว่า, ในขณะที่ สถานภาพเศรษฐกิจสังคม (SES) ของพวกเขาไม่สัมพันธ์กับความสุขของพวกเขาเลย.

In a similar experiment, more than 300 people answered questions about the respect and admiration they received within their friends, family, and work circles. They also reported their personal sense of power in those social circles, and how liked and accepted they felt, along with their income and happiness.
ในการทดลองคล้ายๆ กัน, กว่า 300 คน ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความเคารพนับถือที่พวกเขาได้รับจากเพื่อนฝูง, ครอบครัว, และวงการทำงาน.  พวกเขาได้รายงานเช่นเดียวกันว่า ความรู้สึกส่วนตัวเชิงอำนาจในวงสังคมเหล่านี้, และความรู้สึกว่าตนถูกชื่นชอบและยอมรับ, มาพร้อมกับรายได้และความสุข.

Again, people of high sociometric status were much more likely to be happy than were people of high SES. Through their data analysis, the researchers also found that these people were happier because they felt a greater sense of power and acceptance within their groups.
อีกนั่นแหละที่ผู้คนที่มีสถานภาพเมตริกสังคม (SMS) สูงกว่า มีแนวโน้มที่จะมีความสุขมากกว่าผู้คนที่มีค่า SES สูง.  ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล, นักวิจัยได้พบว่า คนเหล่านี้ก็มีความสุขมากกว่า เพราะพวกเขามีความรู้สึกถึงอำนาจและการได้รับการยอมรับมากกว่าภายในกลุ่มของพวกเขา.

“Where people stand in their local hierarchy matters to their happiness,” they write.
“ตำแหน่งที่คนยืนอยู่ในลำดับชั้นของท้องถิ่นของตน  มีความสำคัญต่อความสุขของพวกเขา,” พวกเขาเขียนในรายงาน.

But does feeling respected and admired actually cause people to be feel happier—or could it be that people admire peers who project happiness?
แต่ความรู้สึกที่ว่าได้รับความเคารพและนับถือ แท้จริงแล้ว เป็นปัจจัยทำให้คนรู้สึกเป็นสุขมากขึ้น—หรือเป็นเพราะคนที่ชื่นชอบเพื่อนของตัวนั่นแหละ เป็นคนสะท้อนความสุข?

The researchers addressed that question in two additional experiments. In one, they manipulated people’s sense of status by asking them to compare themselves to people who were much more or much less respected and admired than they were. Other participants had to compare themselves to people who had much more or much less wealth, education, and professional success. Then all participants had to think about how their “similarities and differences” might come into play if they were to interact with these imaginary others.
นักวิจัยตอบคำถามนั้นด้วยการทดลองอีกสองราย.  ในรายแรก, พวกเขาทดสอบความรู้สึกเกี่ยวกับสถานภาพของคนด้วยการบอกให้พวกเขาเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่เขาเคารพและชื่นชอบมากกว่า หรือน้อยกว่าตัวของเขาเอง.   ผู้เข้าร่วมคนอื่น ได้เปรียบเทียบตัวเองกับคนที่ร่ำรวย, มีการศึกษา, และความสำเร็จในวิชาชีพ มากกว่า หรือน้อยกว่าตัวของเขาเอง.   จากนั้น ผู้เข้าร่วมทั้งหมดต้องคิดว่า “ความเหมือนและความต่าง” ของพวกเขา จะออกมาในรูปใด หากพวกเขาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในจินตภาพเหล่านั้น.

In this case, people temporarily made to feel like they were of higher sociometric status were happier than people made to feel like they were of lower sociometric status, regardless of their actual status outside of the experiment. By contrast, people made to feel like they had high socioeconomic status were not happier than people made to feel like they had low SES. The results strongly suggest that feeling respected and admired can actually cause our happiness to increase, whereas feeling wealthy (without also feeling respected) doesn’t carry the same effect.
ในกรณีนี้, คนถูกทำให้รู้สึกชั่วคราว ประหนึ่งว่าพวกเขาอยู่ในสถานภาพเมตริกสังคมสูงกว่า มีความสุขมากกว่า คนที่ถูกทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าพวกเขาอยู่ในสถานภาพเมตริกสังคมต่ำกว่า, ไม่ว่าสถานภาพแท้จริงของพวกเขานอกวงทดลองนี้จะเป็นอย่างไร.   ในทางตรงข้าม, คนถูกทำให้รู้สึกประหนึ่งว่าพวกเขามีสถานภาพเศรษฐกิจสังคมสูงกว่า ไม่ได้มีความสุขมากกว่า คนที่ถูกทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าพวกเขามีสถานภาพเศรษฐกิจสังคมต่ำ.  ผลการศึกษานี้แนะอย่างแข็งขันว่า ความรู้สึกว่าได้รับความเคารพและชื่นชอบ สามารถเป็นเหตุให้ความสุขของเราเพิ่มขึ้น, ในขณะที่ความรู้สึกว่าร่ำรวย (ปราศจากรู้สึกได้รับความเคารพ) ไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบอย่างเดียวกัน.

In the final part of the study, the researchers tracked 156 MBA students, following them from shortly before their business school graduation through nine months after graduation. For many of these students, their graduation brought a change in sociometric status—someone admired on campus, for instance, could be disrespected at his or her post-graduate job, even if his or her income went up.
ในตอนท้ายสุดของการศึกษา, นักวิจัยตามรอย นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ 156 คน, ด้วยการติดตามพวกเขาก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาจนถึงเก้าเดือนหลังจากได้รับปริญญา.  สำหรับนักศึกษาเหล่านี้, การสำเร็จการศึกษาได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถานภาพเมตริกสังคม—เช่น บางคนที่เคยได้รับความชื่นชอบในรั้วมหาวิทยาลัย อาจจะไม่ได้รับความเคารพในงานหลังเรียนจบ, แม้ว่ารายได้จะสูงขึ้น.

The results show that as the students’ sociometric status rose or fell, their happiness level rose or fell accordingly; in fact, changes to their sociometric status were much more strongly linked to happiness than were changes to their socioeconomic status.
ผลแสดงว่า ในขณะที่สถานภาพเมตริกสังคมของนักศึกษาขึ้นสูง หรือลดต่ำลง, ระดับความสุขก็ขึ้นสูง หรือลดต่ำลงตามไปด้วย; อันที่จริง, การเปลี่ยนแปลงในสถานภาพเมตริกสังคมของพวกเขา เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความสุข มากกว่าการเปลี่ยนแปลงในสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของพวกเขา.

The findings echo past research finding that income has surprisingly little effect on happiness, says Cameron Anderson, a professor at the University of Calfiornia, Berkeley’s Haas School of Business and the lead author of the study.
การค้นพบนี้ ตอกย้ำผลงานวิจัยที่ผ่านมาว่า รายได้มีผลกระทบน้อยอย่างน่าประหลาดใจต่อความสุข, แคมเมอรอน แอนเดอร์สัน, อาจารย์ที่มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย, เบอร์กเลย์ และเป็นหัวหน้าผู้เขียน, กล่าว.

Instead, Anderson and his colleagues’ research suggests that what really matters is the respect, admiration, and feelings of power we get from others within our face-to-face groups.
แทนที่จะเป็นเช่นนั้น, งานวิจัยของ แอนเดอร์สัน และคณะ แนะว่า สิ่งที่มีสาระสำคัญจริงๆ  คือ  ความเคารพ, ความชื่นชอบ/นับถือ, และความรู้สึกว่ามีพลังอำนาจ ที่เราได้รับจากคนอื่นในกลุ่มที่เราเห็นหน้ากัน.

“You don’t have to be rich to be happy, but instead be a valuable contributing member to your groups,” says Anderson. “What makes a person high in status in a group is being engaged, generous with others, and making self sacrifices for the greater good.”
“คุณไม่ต้องรวยถึงมีความสุขได้, แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ขอเพียงให้เป็นสมาชิกที่ทำประโยชน์แก่กลุ่มของคุณ,” แอนเดอร์สันกล่าว.  “สิ่งที่ทำให้คนมีสถานภาพสูงในกลุ่ม คือ การมีส่วนร่วม, มีความโอบอ้อมอารีกับผู้อื่น, และเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่.”

This work is licensed under a Creative Commons License

Stacey Kennelly wrote this article for Greater Good, the UC Berkeley-based magazine that covers research into the roots of compassion, happiness, and altruism. This article is republished through a special collaboration between Greater Good and YES! Magazine, a national, nonprofit media organization that fuses powerful ideas with practical actions.
สเตซีย์ เคนเนลลีย์ เขียนบทความสำหรับ Greater Good (ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า), เป็นแม็กกาซีนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบอร์กเลย์ ที่ครอบคลุมงานวิจัยถึงรากเหง้าของความเมตตา, ความสุข, และความกรุณาอย่างไม่มีเงื่อนไข.  บทความนี้ถูกพิมพ์เผยแพร่ใหม่อีกครั้งด้วยความร่วมมือพิเศษระหว่าง Greater Good และ YES! Magazine, ซึ่งเป็นองค์กรสื่อไม่ค้ากำไรระดับชาติ ที่หลอมรวมความคิดที่ทรงพลังพร้อมปฏิบัติการที่ติดดิน.

Published on Sunday, August 5, 2012 by Greater Good / YES! Magazine
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น