วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

82. สุมหัวพลิกเศรษฐกิจกำไรกระจุก สู่ เศรษฐกิจเพื่อคน-นิเวศ




Greetings from the New Economy
 by Abby Scher
สวัสดีจาก เศรษฐกิจใหม่
-แอ็บบี เชอร์

In a race against climate change, a new movement seeks to build a just, sustainable world.
ในการวิ่งแข่งกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, มีการเคลื่อนไหวใหม่ที่แสวงหาทางสร้างโลกที่เป็นธรรม และยั่งยืน.

“Are you ready for a new economy? Are you ready for a new politics?” The challenge at the podium came from Gus Speth, the courtly co-founder of the Natural Resources Defense Council, now a professor at Vermont Law School, who is on the board of the newly created New Economics Institute (NEI). The occasion was the founding conference of NEI, held at Bard College in early June, and Speth was making a call for “an economy whose very purpose is not to grow profit…but sustain people and the planet.”
“คุณพร้อมสำหรับเศรษฐกิจใหม่ไหม?  คุณพร้อมสำหรับการเมืองใหม่ไหม?”  เสียงท้าทายจากแท่นองค์ปาฐกมาจาก กุส สเปธ, ผู้ร่วมก่อตั้ง สภาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ,  ตอนนี้เป็นอาจารย์ที่ วิทยาลัยกฎหมายเวอร์มอนต์,  อยู่ในบอร์ดของสถาบันเศรษฐศาสตร์ใหม่ (NEI) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น.     นี่เป็นวาระของการประชุมก่อตั้ง NEI ที่ได้จัดขึ้น ณ วิทยาลัยบาร์ด เมื่อต้นมิถุนายน,   และสเปธ กำลังเรียกร้องให้ร่วมกันสร้าง “เศรษฐกิจที่มีวัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อปลูกกำไร...แต่เพื่อธำรงประชาชนและผืนพิภพ.”

NEI is the remade E.F. Schumacher Society, the group based in Massachusetts’ Berkshire mountains that promoted the wisdom of the author of Small Is Beautiful: Economics as if People Mattered for over 30 years. In honor of this early champion of a sustainable, just economy and the idea that big is not necessarily better, the Society nurtured economic innovations that support community building—community supported agriculture, local currencies, local land trusts.
NEI  เป็นการแปรสภาพของ สมาคม อี.เอฟ.ชูมาเกอร์,  กลุ่มที่มีฐานอยู่ในเทือกเขาเบอร์กเชอร์ของมลรัฐแมสซาชูเซ็ทส์ ที่ส่งเสริมภูมิปัญญาของผู้เขียน “จิ๋วแต่แจ๋ว: เศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญแก่คน”  (Small Is Beautiful: Economics as if People Mattered) เป็นเวลา ๓๐ ปีมาแล้ว.   เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่แชมเปี้ยนยุคแรกของเศรษฐกิจยั่งยืน, เป็นธรรม และความคิดที่ว่า ความใหญ่ไม่จำเป็นต้องดีกว่า,  สมาคมได้หล่อเลี้ยงนวัตกรรมเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการสร้างชุมชน—เกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน, เงินตราท้องถิ่น. ธนาคารที่ดินท้องถิ่น.

With the help of the London-based New Economics Foundation, the Schumacher Society rethought what kind of “think and do” tank is needed to transform our fossil fuel-powered, finance-bloated, inegalitarian economy into one that is resilient, just, and sustainable in the environmental and economic transition given true urgency by climate change. And with the help of some deep pockets, it re-launched as NEI and pulled together, all in one place on Bard’s rural campus on the Hudson, some of the thinkers and organizers who might have a piece of the puzzle.
ด้วยความช่วยเหลือจากมูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ที่มีฐานในลอนดอน,  สมาคมชูมาเกอร์ ได้ทบทวนความคิดว่า จำเป็นจะต้องมี ถัง “คิดและทำ” แบบไหน เพื่อแปรเปลี่ยนเศรษฐกิจของเราที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์,  การเงินขึ้นอืด,  และไม่เท่าเทียม ให้มีความยืดหยุ่น, เป็นธรรม, และยั่งยืน ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านเชิงสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ ท่ามกลางสภาวะเร่งด่วนอันเกิดจากภูมิอากาศแปรเปลี่ยน.    และด้วยความช่วยเหลือของผู้ที่มีเงินหนาหน่อย, มันได้เปิดตัวใหม่เป็น NEI และดึงบรรดานักคิดและนักจัดรูปองค์กรให้มาอยู่ด้วยกัน ที่วิทยาเขตชนบทของ บาร์ด บนฝั่งน้ำฮัดสัน, ด้วยหวังว่า บางคนอาจมีชิ้นส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ปริศนา.

People reimagining ownership and work on the job or in the academy, ex-Wall Streeters revealing the secrets of how to curb the power of big finance, community people reclaiming the commons—taking air, water, and land out of the market—and rebuilding local economies from the bottom up, advocates struggling with government to make it responsive, and social scientists who are remaking our economic indicators—they may never have talked with one another before the Strategies for a New Economy conference. But as Bob Massie, the new executive director of NEI said, together they created “raw energy.”
ผู้คนจินตนาการใหม่เรื่องความเป็นเจ้าของ และการทำงานในงานจ้างหรือในวงการวิชาการ,  อดีตนักยึดพื้นที่วอลสตรีท เปิดเผยความลับในการจำกัดอำนาจของธุรกิจการเงินขนาดใหญ่,  ประชาชนในชุมชนกำลังทวงคืนพื้นที่ร่วม—ดึงคืนอากาศ, น้ำ, และที่ดิน จากตลาด—และเริ่มสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นใหม่จากล่างขึ้นบน,  นักคุ้มครองสิทธิต่อสู้กับรัฐบาล ให้มันตอบสนอง,  และนักวิทยาศาสตร์ด้านสังคมกำลังปรับปรุงดัชนีชี้วัดเชิงเศรษฐกิจของเรา—พวกเขาอาจไม่เคยพูดคุยกันมาก่อนที่จะมาพบกันในที่ประชุม ยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจใหม่.   แต่ดังที่ บ็อบ มาสซี ผู้อำนวยการบริหารใหม่ของ NEI กล่าว, รวมกัน พวกเขาได้สร้าง “พลังงานดิบ”.

Beyond Growth and Finance
เหนือการขยายตัวและการเงิน

The “New Economy” moniker is bubbling around lately, with a meaning recast far from President Bill Clinton’s neoliberal usage 20 years ago. The venerable Washington DC-based Institute for Policy Studies has its New Economy Working Group, a partnership with Yes! magazine and the 22,000-member Business Alliance for Local Living Economies (BALLE). At the core of the call for a New Economy is an effort to come up with practical alternatives that democratize the control of the economy—including workplaces, finance, and the structure of the firm—in ways that are ecologically sustainable.
ชื่อเล่นๆ “เศรษฐกิจใหม่” ได้ล่องลอยเป็นฟองอากาศเมื่อเร็วๆ นี้, ด้วยความหมายที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ ห่างไกลจากวาทกรรมเสรีนิยมใหม่ของประธานาธิบดี บิล คลินตัน เมื่อ ๒๐ ปีก่อน.    สถาบันนโยบายศึกษาอันทรงเกียรติที่วอชิงตัน ดีซี มีคณะทำงาน เศรษฐกิจใหม่ของมันเอง, ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับ แม็กกาซีน Yes!  และ พันธมิตรธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจมีชีวิตท้องถิ่นที่มีสมาชิก 22,000 คน (BALLE).   ที่แกนกลางของการเรียกร้องให้มีเศรษฐกิจใหม่ เป็นความพยายามค้นคิดหาทางเลือกที่ปฏิบัติได้ และมีความเป็นประชาธิปไตยในการควบคุมเศรษฐกิจ—รวมทั้งสถานที่ทำงาน, การเงิน, และโครงสร้างของบริษัท—ในกระบวนการที่ยั่งยืนเชิงนิเวศ.

The focus on finance—on shrinking a dangerously unstable, extractive banking sector and nurturing an alternative one—is powered by such people as John Fullerton, the former JPMorgan managing director who launched Capital Institute to promote the idea of finance “not as master but as servant” and sees a role for “social impact” investing in the New Economy.
จุดเน้นที่การเงิน—ว่าด้วยการบีบภาคการธนาคารขูดรีดที่ไม่เสถียรอย่างน่ากลัว และหล่อเลี้ยงทางเลือก—ถูกขับเคลื่อนโดยคนเช่น จอห์น ฟูลเลอร์ตัน, และอดีตผู้อำนวยการจัดการ เจพี มอร์แกน ผู้เปิดตัว สถาบันทุน เพื่อส่งเสริมความคิดการเงินว่า “ไม่ใช่เป็นนาย แต่เป็นผู้รับใช้” และเห็นบทบาทสำหรับ “ผลกระทบทางสังคม” ในการลงทุนในเศรษฐกิจใหม่.

It is in the New Economy movement that you’ll hear people talk about how to build a “no-growth” economy that shares more and taxes the earth less, a view promoted in the United States most notably by Boston College professor Juliet Schor. On the board of the new NEI are thinkers like Peter Victor of York University in Toronto, author of 2008’s Managing Without Growth: Smaller by Design Not Disaster, and Stewart Wallis, head of London’s New Economics Foundation, which has been popularizing the no-growth idea for years.
มันอยู่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่ คุณจะได้ยินผู้คนพูดว่า จะสร้างเศรษฐกิจที่ “ไม่มีการขยายตัว” อย่างไร ที่แบ่งปันมากขึ้น แต่เก็บภาษีจากโลกน้อยลง, อันเป็นมุมมองที่ได้รับการส่งเสริมในสหรัฐฯ โดยอาจารย์จูเลียต ชอร์ แห่งวิทยาลัยบอสตัน.   ในบอร์ดของ NEI ใหม่ มีนักคิด เช่น ปีเตอร์ วิคเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยยอร์ก ที่โตรอนโต, ที่เขียนหนังสือ (พ.ศ.๒๕๕๑) “การจัดการที่ปราศจากการขยายตัว: เล็กลงด้วยการออกแบบ  ไม่ใช่ภัยพิบัติ” และสจ๊วต วอลลิส, หัวหน้าของมูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่แห่งลอนดอน ที่ได้เผยแพร่ความคิด ไม่มีการขยายตัวมาหลายปีแล้ว.

“Even if everybody was to rediscover Keynes, that’s not the answer,” Wallis told the NEI crowd, referring to the British economist who popularized government investment in the economy during downturns, even if it means running deficits, in order to boost demand and employment. “We can have an economy with high well-being, high social justice” that destroys the planet. “We need a new model, an economy that runs on very different metrics, maximizing returns to scarce ecological resources, maximizing returns [to] human well-being, good jobs.”
“แม้ว่าทุกคนเกิดกลับไปค้นพบเคนส์ (Keynes) อีก, นั่นก็ไม่ใช่คำตอบ,”  วอลลิสบอกกลุ่มชุมนุม NEI, ด้วยการเอ่ยถึงนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษ ผู้เผยแพร่และส่งเสริมให้รัฐบาลลงทุนในเศรษฐกิจในยามถดถอย, แม้ว่าจะต้องขาดดุล, เพื่อกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์/ความต้องการ และการว่าจ้างงาน.   “เราสามารถจะมีเศรษฐกิจที่มีความอยู่ดี กินดี และสังคมเป็นธรรมในระดับสูง” ที่ทำลายผืนพิภพ.   “เราจำเป็นต้องมีโมเดลใหม่, เศรษฐกิจที่ดำเนินไปบนมาตรวัดที่ต่างกันมาก คือ การทำให้คืนทุนสูงสุดแก่ทรัพยากรนิเวศที่ขาดแคลน,  การคืนทุนสูงสุดแก่ความอยู่ดี มีสุข ของมนุษย์ มีงานทำที่ดี.”

“We have to move from talking about ourselves as consumers to [regarding ourselves as] stewards.” But the New Economy movement is a big tent, and for some growth isn’t the question. For Marjorie Kelly, author of Owning Our Future: The Emerging Ownership Revolution, and a fellow of the Tellus Institute, the Boston-based think tank focused on sustainability, growth isn’t the focus. In a chat at the conference “bookstore,” she said,
“เราต้องขยับตัวจากการพูดเกี่ยวกับตัวเราในฐานะผู้บริโภค ไปเป็น (นั่นคือ ตัวเราเอง) บริกรในนาวา (เช่นเครื่องบิน).”   แต่ขบวนการเศรษฐกิจใหม่เป็นดั่งเต็นท์ขนาดใหญ่ และสำหรับการขยายตัวบางอย่าง ก็ไม่ใช่คำถาม.   มาร์จอรี เคลลีย์ ผู้เขียน “ครอบครองอนาคตของพวกเรา: อุบัติปฏิวัติความเป็นเจ้าของ” และเป็นเฟลโลของ สถาบัน เทลลัส, ที่เป็นกลุ่มนักคิดที่บอสตัน ที่เน้นเรื่องความยั่งยืน ไม่ใช่ที่การขยายตัว.   ในการสนทนาที่ “ร้านขายหนังสือ” ของการประชุม เธอกล่าวว่า

The problem is not growth but too much finance. You have the overlap of debt, unemployment, lack of jobs for youth. ... We can’t have capital markets run the economy. It has a destructive focus. It’s starting to fall apart. That’s terrifying. You hold on desperately to what you have as it collapses. But no, you have an alternative. You have the Right, cutting taxes, deregulating. No serious thinker believes that those are the solutions. ...There’s an inevitable sorting process. There’s some loony ideas and we haven’t sorted that out yet. But they said that about democracy.
ปัญหาไม่ใช่ที่การขยายตัว แต่การเงินมากเกินไป.   คุณมีปัญหาที่คาบเกี่ยวกันระหว่าง หนี้, การว่างงาน, การไร้งานสำหรับเยาวชน...  เราไม่สามารถให้ตลาดทุนบริหารเศรษฐกิจ.  มันมีจุดโฟกัสที่ทำลายล้าง.  มันกำลังเริ่มแตกสลาย.   นั่นเป็นสภาวะที่น่ากลัว.  คุณเกาะสิ่งที่คุณมีอยู่อย่างสิ้นหวังในขณะที่มันล้มครืน.  แต่ไม่ใช่, คุณมีทางเลือกนะ.   คุณมีสิทธิ์, การลดภาษี, การลดการควบคุม.   ไม่มีนักคิดที่เอาจริงเอาจังคนใดเชื่อว่า เหล่านี้เป็นทางแก้ไข...มีกระบวนการจำแนกแยกประเภทที่เลี่ยงไม่ได้อยู่.   มีความคิดบ้าๆ และเราก็ยังไม่ได้ทำการจำแนกแยกมันออกมา.   แต่พวกเขาบอกว่ามันเกี่ยวกับประชาธิปไตย.

Following the NEF and Schumacher, the New Economy umbrella also covers those promoting more realistic economic indicators that measure people’s well-being and ecological costs, including the Green GDP. It considers which business forms—not just worker-owned companies but also so-called B-Corporations that consider social impact—might be compatible with a just, sustainable economy. It covers those challenging the decontextualized, value-free world of neoclassical economics because, as Massie said, “our current theories have blinded us.” In late June, this was the agenda of Juliet Schor’s week-long Summer Institute in New Economics at Boston College, where graduate students sat at the feet of Gar Alperovitz of the University of Maryland, James Boyce of the University of Massachusetts-Amherst, Duncan Foley of the New School, and others.
เดินตามรอย NEF และชูมาเกอร์,  ร่มของ เศรษฐกิจใหม่ ได้ครอบคลุมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดดัชนีที่เป็นจริงกว่าของเศรษฐกิจ ที่วัดความอยู่ดี มีสุข ของประชาชน และต้นทุนนิเวศ, รวมทั้ง จีดีพีเขียว ด้วย.   มันคำนึงถึงธุรกิจรูปแบบไหน—ไม่เพียงแต่บริษัทที่คนงานเป็นเจ้าของ แต่ยังรวมถึง บริษัท บี ที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม—ที่อาจอยู่ร่วมกันได้กับเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืน.   มันครอบคลุมถึงข้อท้าทายต่อเศรษฐศาสตร์คลาสสิคใหม่ ที่ละเลยบริบท ถือว่าโลกปลอดคุณค่า เพราะ, ดังที่ มาสซี กล่าว, “ทฤษฎีปัจจุบันของเราได้ทำให้พวกเราตาบอด.”    ในปลายเดือนมิถุนายน นี่เป็นวาระที่จูเลียต ชอร์ ได้กำหนดสำหรับ สถาบันฤดูร้อนเศรษฐศาสตร์ใหม่ หนึ่งสัปดาห์ ที่วิทยาลัยบอสตัน, ที่นักศึกษาบัณฑิตนั่งอยู่ที่ปลายเท้าของ การ์ อัลเปอโรวิตส์ แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์,  เจมส์ บอยซ์ แห่งมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซ็ทส์-แอมเฮิสต์,  ดันแคน โฟลีย์ แห่งโรงเรียนใหม่, และคนอื่นๆ.

It’s a big tent, and feels a bit like the Progressive Movement of the early 20th century, when many elites and middle-class people began questioning and even challenging how capitalism was organized. Partly because of its high price tag, the Bard gathering was almost entirely white and highly educated, deploring poverty but not necessarily touched by it, yet highly motivated to build a more communal, cooperative economy. How these middle-class reformers will share leadership with low-income immigrants, progressive unions, and co-ops—key social bases for the movement—is a bit of a mystery. It’s no mystery, however, that any massive change in the U.S. political economy needs all these sectors pulling toward change.
มันเป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ และรู้สึกเหมือนกับขบวนการหัวก้าวหน้าในต้นศตวรรษที่ ๒๐  ที่มีการจัดเป็นรูปองค์กรบรรดาคนชั้นสูงและคนชั้นกลาง ให้เริ่มตั้งคำถามรวมทั้งท้าทายระบบทุนนิยมใหม่.   ส่วนหนึ่งเพราะป้ายราคาค่อนข้างสูง, การชุมนุมที่บาร์ด เกือบทั้งหมดเป็นคนผิวขาวและมีการศึกษาสูงมาก, ติเตียนความยากจน แต่ไม่จำเป็นว่าเคยถูกความยากจนแตะต้อง, แต่ก็มีแรงบันดาลใจสูงที่จะสร้างเศรษฐกิจที่มีความเป็นชุมชนแบ่งปันและร่วมมือกันมากขึ้น.   นักปฏิรูปชนชั้นกลางเหล่านี้ จะแบ่งปันสภาวะผู้นำกับคนย้ายถิ่นที่มีรายได้น้อย, สหภาพแรงงานหัวก้าวหน้า, และสหกรณ์—ฐานสังคมที่เป็นกุญแจสำคัญของการขับเคลื่อน—ได้อย่างไร ยังเป็นเรื่องลึกลับอยู่.  ถึงอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องลึกลับที่ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในเศรษฐกิจการเมืองของสหรัฐฯ จำเป็นต้องอาศัยคนจากภาคส่วนทั้งหมดให้ช่วยกันฉุดลากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้.

Andrew Simms, the Brit known for his creative leadership in The Other Economic Summits (which dogged G-7 meetings for years before turning into London’s New Economy Foundation), put class and political power on the table when he told the meeting, “When I hear people talk about sustainable capitalism, they are making a strategic error,” adding “If we could get where we need to be by writing reports, we would have gotten there.” The knowledge that the activists need to raise their game ran through the conference. In his plenary, Massie acknowledged who largely was not represented in the room: unions, communities of color, youth, business. He asked his audience to ask in turn, “How can we work together? How can we make this bigger and make the New Economy a reality?”
แอนดรูว์ ซิมส์, ที่ชาวอังกฤษรู้จักจากความเป็นผู้นำแบบสร้างสรรค์ใน การประชุมสุดยอดเศรษฐกิจแบบอื่น (ที่ได้ไล่รังควาน การประชุมของกลุ่ม จี-7 มาหลายปี ก่อนที่จะกลายเป็นมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่แห่งลอนดอน), ได้วางอำนาจของชนชั้นและการเมืองลงบนโต๊ะ เมื่อเขากล่าวในที่ประชุม, “พอผมได้ยินคนพูดเกี่ยวกับทุนนิยมยั่งยืน, พวกเขากำลังทำผิดพลาดเชิงยุทธศาสตร์,” เสริมว่า “หากเราสามารถจะไปถึงที่ๆ เราต้องการจะไปได้ ด้วยการเขียนรายงาน, เราน่าจะได้ไปถึงที่นั่นแล้ว.”    องค์ความรู้ที่นักกิจกรรมจำเป็นต้องค้นคิดเพื่อยกระดับเกมของพวกเขา มีอยู่ตลอดทั่วการประชุม.   ในเวทีของมาสซี เขาได้เอ่ยถึงกลุ่มที่ไม่ได้มีตัวแทนอยู่ในที่ประชุม เช่น สหภาพ,  ชุมชนของคนผิวสี, เยาวชน, และธุรกิจ.   เขาตั้งคำถามต่อผู้ฟัง เพื่อให้ถามต่อไปว่า, “เราจะมาอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?  เราจะทำให้การชุมนุมเช่นนี้ใหญ่ขึ้น และทำให้เศรษฐกิจใหม่เป็นเรื่องจริงได้อย่างไร?”

Solidarity and Division
การผนึกเป็นหนึ่ง และ การแบ่งแยก

It was only April 2009, at University of Massachusetts-Amherst, that the U.S. Solidarity Economy Network held its own sizeable gathering. That brought together people in progressive unions, worker co-ops, credit unions, food co-ops, green jobs initiatives, and even the peace movement. Inspired by the U.S. Social Forum in Atlanta in 2007 and Solidarity Economy movements in Latin America and Quebec, the network was soon celebrating the United Steel Workers’ announcement that it would try to take over smaller enterprises for worker ownership, based on the example of Spain’s Mondragón cooperatives—an effort slowed by the impact of the economic crisis on the union. Canadian unions reported using their pension funds to support worker ownership.
ในเดือนเมษายน ๒๕๕๒ ที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซ็ทส์-แอมเฮิสต์, ที่เครือข่ายเศรษฐกิจน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสหรัฐฯ ได้จัดการชุมชนใหญ่ขึ้น.   ได้นำผู้คนจาก สหภาพหัวก้าวหน้า, คนงานสหกรณ์, เครดิตยูเนียน, สหกรณ์อาหาร, งานริเริ่มเขียว, และรวมทั้งขบวนการสันติภาพ.   ด้วยแรงบันดาลใจจาก เวทีประชาคมสังคมสหรัฐฯ ที่แอตแลนตาในปี ๒๕๕๐ และขบวนการเศรษฐกิจน้ำหนึ่งใจเดียวกันในลาตินอเมริกาและคิวเบค,  ไม่ช้า เครือข่ายก็ได้เฉลิมฉลองคำประกาศของคนงานเหล็กกล้ายูไนเต็ด ที่ว่า จะซื้อกิจการขนาดเล็กกว่าให้คนงานมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ, ตามตัวอย่างของสหกรณ์มอนดรากอน ของสเปน—แต่ความพยายามนี้ถูกชะลอตัวลงด้วยผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อสหภาพ.   สหภาพแคนาดา ได้รายงานว่า มีการใช้กองทุนเบี้ยบำนาญของพวกเขาเองในการสนับสนุนภาวะคนงานเป็นเจ้าของ.

There is some overlap between the Solidarity Economy and New Economy networks. The NEI conference sought out sustainable business networks and social venture funders while the solidarity framework inspired more lower-income people and people of color. Worker co-ops came to the New Economy gathering at Bard. The green Cleveland co-ops—the complex including industrial laundry and urban farm (see “America Beyond Capitalism,” D&S, November/December 2011)— received a rousing reception. And NEI board member and plenary speaker Gar Alperovitz is one of worker ownership’s most vocal academic champions. But as Donnie Maclurcan, of Australia’s Post-Growth Institute asked me at the opening session: “Where is the acknowledgment of the custodians? [Thanking the janitors] is standard in Australia.”  A participant set up a sign on a picnic table during lunch asking people to come over and talk about race and class. The divide is deep. Speth was another who took on the divisions in the movements directly but warned the group they had to overcome it:
มีจุดคาบเกี่ยวกันบ้างระหว่างเศรษฐกิจน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเครือข่ายเศรษฐกิจใหม่.   ที่ประชุม NEI ได้ค้นหาเครือข่ายธุรกิจที่ยั่งยืน และผู้สนับสนุนทุนกิจการสังคม ในขณะที่กรอบคิดการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ได้สร้างแรงบันดาลใจแก่คนที่มีรายได้ต่ำกว่า และคนผิวสี.   สหกรณ์คนงาน ได้มาที่การชุมนุม เศรษฐกิจใหม่ ที่บาร์ด.   สหกรณ์เขียวคลีฟแลนด์—คอมเพลกซ์ที่รวมโรงซักรีดอุตสาหกรรม และฟาร์มในเมือง—ได้รับการต้อนรับที่อย่างอบอุ่น.   และสมาชิกคณะกรรมการ NEI และวิทยากร การ์ อัลเปอโรวิทซ์ ก็เป็นหนึ่งในนักวิชาการแชมเปี้ยนเสียงดังของกิจการที่คนงานเป็นเจ้าของ.   แต่อย่างที่ ดอนนี แมคลูร์แคน แห่งสถาบัน หลังการขยายตัว ของออสเตรเลีย ได้ถามดิฉันในตอนเปิดงานว่า “มีการขอบคุณภารโรงไหม? มันเป็นมาตรฐานของออสเตรเลีย”.   ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งประกาศให้ผู้สนใจลงชื่อ ที่โต๊ะปิกนิก ในช่วงอาหารกลางวัน เพื่อรวมตัวคุยกันประเด็นเชื้อชาติและชนชั้น.   เส้นแบ่งแยกลึกมาก.   สเปธ เป็นอีกคนหนึ่งที่นำความแบ่งแยกเข้าสู่ขบวนการโดยตรง แต่เตือนกลุ่มผู้เข้าร่วมให้เอาชนะเส้นแบ่งต่างๆ.

Critical here is a common progressive platform. It should embrace a profound commitment to social justice, job creation, and environmental protection; a sustained challenge to consumerism and commercialism and the lifestyles they offer; a healthy skepticism of growth mania and a democratic redefinition of what society should be striving to grow; a challenge to corporate dominance and a redefinition of the corporation, its goals and its management and ownership; a commitment to an array of prodemocracy reforms in campaign finance, elections, the regulation of lobbying; and much more. A common agenda would also include an ambitious set of new national indicators beyond GDP to inform us of the true quality of life in America.
สิ่งสำคัญที่นี่ คือ เวทีร่วมหัวก้าวหน้า.  มันควรโอบรวมความมุ่งมั่นผูกพันอันลุ่มลึกต่อสังคมเป็นธรรม, การสร้างงาน, และการปกป้องสิ่งแวดล้อม; การท้าทายที่ดำรงคงอยู่ต่อบริโภคนิยม และพาณิชย์นิยม และลีลาชีวิตที่มันเสนอให้; ความระแวงสงสัยที่แข็งแรงของพวกคลั่งไคล้การขยายตัว และพวกสร้างคำนิยามใหม่แบบประชาธิปไตยว่า สังคมควรต่อสู้อะไร เพื่อให้ขยายตัว;  การท้าทายการครอบงำของบรรษัท และการนิยามคำว่า บรรษัท ใหม่, เป้าหมาย  การจัดการและความเป็นเจ้าของของมัน;  ความมุ่งมั่นผูกพันต่อการปฏิรูปที่สนับสนุนประชาธิปไตย ในการรณรงค์การเงิน, การเลือกตั้ง, การควบคุมการล็อบบี้; และอื่นๆ อีกมาก.    วาระร่วม ย่อมรวมชุดดัชนีประชาชาติใหม่ ที่อยู่เหนือจีดีพี เพื่อรายงานให้พวกเรารู้ถึงคุณภาพที่แท้จริงในอเมริกา.

Thinkers like Alperovitz support democratizing our economy by building out our existing network of land trusts, consumer and worker cooperatives, employee stock ownership programs with workers participating in governance, and credit unions—building off institutions crisscrossing the country. He mourns the age of unions as past, noting that more workers are in worker co-ops or ESOPs than private-sector unions. He sees these cooperative endeavors as providing a key base for building the future. He gives a political blueprint calling for redirecting federal, state and local government support toward these enterprises from corporations. This echoes the “cooperative commonwealth” envisioned by some 19th-century populists, and has healthy if long-lost roots in American thought. Markets are left intact but so is government action for the common good.
นักคิดเช่น อัลเปอโรวิตส์ สนับสนุนการทำให้เศรษฐกิจของเรามีความเป็นประชาธิปไตย ด้วยการต่อยอดจากเครือข่ายที่มีอยู่ของธนาคารที่ดิน, สหกรณ์ผู้บริโภคและคนงาน, โครงการลูกจ้างเป็นเจ้าของหุ้น ที่คนงานมีส่วนร่วมในการปกครอง, และเครดิตยูเนียน—ถักทอกันนอกสถาบันซิกแซกไปทั่วประเทศ.  เขารำพันอาลัยถึงยุคของสหภาพว่าเป็นอดีตเสียแล้ว, ด้วยข้อสังเกตว่า คนงานมากขึ้นอยู่ในสหกรณ์คนงาน หรือ ESOPs มากกว่าสหภาพภาคเอกชน.  เขามองว่า สหกรณ์เหล่านี้ เป็นฐานสำคัญสำหรับสร้างอนาคต.   เขาให้พิมพ์เขียวทางการเมือง เรียกร้องให้ผันทิศทางการสนับสนุนจากสหพันธ์, มลรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น จากบรรษัท สู่วิสาหกิจเหล่านี้.   นี่สะท้อนวิสัยทัศน์ “สหกรณ์ความมั่งคั่งร่วม” ของนักประชานิยมบางคนในยุคศตวรรษที่ 19, ซึ่งเป็นรากเหง้าที่สูญหายไปนานจากห้วงคิดของชาวอเมริกัน.   ปล่อยให้กลไกตลาดทำงานต่อไป แต่รัฐบาลปฏิบัติการเพื่อผลประโยชน์ร่วม.

With a much greater ecological consciousness than many of her peers, Juliet Schor (like Costas Panayotakis in his new book Remaking Scarcity) calls for a struggle over our subjectivity and how we define our needs in building a more egalitarian, sustainable economy. While Schor was unable to attend the conference, in some ways she captures the downshifting philosophy of much of the audience better than keynoter Alperovitz. She warns us that capitalism’s ability to nimbly create new needs and intensify consumerism needs to be challenged on an ecological and moral basis. Can we remake the common-sense values that are lodged at the core of our current system?
ด้วยจิตสำนึกเชิงนิเวศที่ยิ่งใหญ่กว่าเพื่อนร่วมงานหลายคนของเธอ, จูเลียต ชอร์ ได้เรียกร้องให้ต่อสู้กับความนึกคิดในใจของพวกเรา และเรานิยามความจำเป็นของเราอย่างไร ในการสร้างเศรษฐกิจที่เสมอภาค, ยั่งยืน.  ในขณะที่ชอร์ ไม่สามารถเข้าร่วมในการประชุม, เธอก็สามารถดักช้อนปรัชญาถอยหลังของผู้ฟังส่วนใหญ่ได้ดีกว่าองค์ปาฐก อัลเปอโรวิตส์.  เธอเตือนพวกเราว่า ความสามารถอย่างแนบเนียนของทุนนิยมในการสร้างความจำเป็นแบบใหม่และทำให้บริโภคนิยมเข้มข้นขึ้น จำเป็นต้องถูกท้าทาย บนฐานของนิเวศและศีลธรรม.   เราสามารถจะแปรโฉมคุณค่า/มูลค่าของสามัญสำนึก ที่ฝังอยู่ในแก่นกลางของระบบปัจจุบัน?

Schor lays out the more explicit vision of what almost seems like a social crusade, yet relies on individual action. She argues we need to remove ourselves from the market, step by step where we can: by working part-time, making do with less disposable cash income, and doing more on our own... That means everything from cooking to making clothes to home construction. Drawing on the alternative economy movements promoted by the old Schumacher Society, Schor champions local time dollar schemes, freecycle sharing, and barter. These schemes seek to intensify community values by intensifying your web of support with your neighbors. Ultralocal, home-based solar energy production should spread. People should embrace the slow money movement by investing locally through credit unions other local networks, not through big finance. Meanwhile, she supports expanding the welfare state so that we are not subject to markets when it comes to our health, to expand living-wage jobs and in protecting the commons.
ชอร์ได้คลี่วิสัยทัศน์ที่คมชัด ที่ดูเหมือนเป็นสงครามศาสนาเพื่อสังคม, แต่พึ่งปฏิบัติการของปัจเจกชน.  เธอแย้งว่า เราจำเป็นต้องถอนตัวออกจากระบบตลาด, ทีละก้าวๆ เท่าที่จะทำได้: ด้วยการทำงานไม่เต็มเวลา, ยังชีพด้วยรายได้ที่ขึ้นกับเม็ดเงินให้น้อย, และทำมากขึ้นด้วยตัวเอง...  นั่นหมายความว่า ทำทุกอย่างจากการทำอาหาร ถึงการเย็บผ้า ถึงการสร้างบ้าน.  อาศัยขบวนการเศรษฐกิจทางเลือกที่ส่งเสริมโดยสมาคมชูมาเกอร์, ชอร์ เป็นแชมเปี้ยนของโครงการดอลลาร์เวลาท้องถิ่น, การแบ่งกันใช้รถจักรยานฟรี, และการแลกเปลี่ยนสินค้า.   โครงการเหล่านี้ ต้องการทำให้คุณค่าของชุมนมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้สายใยการสนับสนุนเกื้อกูลกับเพื่อนบ้านของคุณมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น.   ควรแพร่กระจาย ความผูกติดกับท้องถิ่นสุดๆ, ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเอง.   ผู้คนควรโอบรับขบวนการเม็ดเงินสายช้า ด้วยการลงทุนในท้องถิ่นผ่านเครดิตยูเนียนและเครือข่ายอื่นๆ, ไม่ใช่ผ่านบริษัทการเงินขนาดใหญ่.   ในขณะเดียวกัน, เธอสนับสนุนการขยายรัฐสวัสดิการ เพื่อว่า เราจะได้ไม่ต้องอยู่ใต้อำนาจระบบตลาด ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของเรา, ในการขยายงานที่ให้ค่าแรงยังชีพได้ และในการป้องกันพื้นที่ร่วม.

Slow Money
เม็ดเงินสายช้า

While the thinkers and policy heads dominated the panels at Bard, in the hallways I met an organic farmer who is a soil activist and writer, a big-city organizer trying to launch a Cleveland-style worker-owned initiative in an impoverished area, an Occupier, a member of a worker coop, and a Rhode Island man hoping to launch a community currency so that impoverished residents can find value in their skills. I also met Frank Nuessle of the Public Banking Institute, which is championing state banks modeled on North Dakota’s, and Sean McGuire, Maryland’s director of sustainability who championed the Genuine Progress Indicator so the state now measures economic growth with an eye to its social and ecological costs. Attending in force were Transition Woodstock members. These last are part of the international Transition movement begun in the U.K. that tries to encourage communities to downshift and take up resilient, ecologically sound practices so that we respond to climate change in an egalitarian way. NEI’s London partner, New Economy Foundation, actively supports the Transition movement.
ในขณะที่นักคิดและหัวหน้านักวางนโยบาย เป็นเสียงส่วนใหญ่ในหมู่วิทยากรที่บาร์ด, ในทางเดินห้องโถง ดิฉันได้พบเกษตรกรอินทรีย์ ผู้เป็นนักกิจกรรมดินและนักเขียน, เป็นนักจัดขบวนองค์กรในเมืองใหญ่ที่พยายามจะเริ่มโครงการที่ริเริ่มโดยคนงานแบบคลีฟแลนด์ในแถบยากจน, เขาเป็นคนหนึ่งในการยึดครองพื้นที่วอลสตรีท, เป็นสมาชิกของสหกรณ์คนงาน, และเป็นชายชาวโรดไอแลนด์ ที่หวังจะเริ่มระบบเงินตราชุมชน เพื่อว่า ชาวบ้านในแถบยากจน จะสามารถหามูลค่าในทักษะของพวกเขา.   ดิฉันได้พบ แฟรงค์ นูซเซิล จากสถาบันการธนาคารสาธารณะ, ที่เป็นแชมป์ของธนาคารรัฐ ตามต้นแบบของนอร์ดาโกตา, และ ชอน แมคกวาย, ผู้อำนวยการความยั่งยืน ผู้เป็นแชมป์ด้านความก้าวหน้าที่แท้จริง เพื่อให้รัฐสามารถวัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยสายตาที่ครอบคลุมต้นทุนสังคมและนิเวศด้วย.  ที่มาร่วมแบบยกกองกันมา คือ หมู่สมาชิกของ Transition Woodstock.  กลุ่มหลังๆ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนผ่านนานาชาติ ที่เริ่มต้นในอังกฤษ ที่พยายาม ส่งเสริมให้ชุมชนให้ขยับออกจากการปฏิบัติเดิมๆ และให้เปลี่ยนมาเป็นการปฏิบัติที่มีความยืดหยุ่น, และคำนึงถึงนิเวศ เพื่อว่า พวกเราจะตอบสนองต่อภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสมอภาคกัน.   หุ้นส่วนของ NEI ในลอนดอน, มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่, สนับสนุนขบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างแข็งขัน.

One of my deepest conversations was with Bonnie Rukin, regional coordinator of Slow Money Maine, which holds events matching people who can give loans or grants to enterprises creating a local sustainable food system. That might mean an organic member-owned restaurant or seaweed harvesters. Inspired by Woody Tasch, the former venture capitalist who founded Slow Money, the Maine group is one of the more successful regional spinoffs. Other people at the conference reported struggling projects in Ohio and Colorado. “A funder meets a farmer. A farmer meets a legislator. We have a lot of networking time at our meetings,” said Rukin, a 62-year-old former organic farmer with a nonprofit background. “We catalyzed the flow of $3 million … and untold amounts of awareness. In terms of hunger needs, we’re second in the country. We’re on par with Alabama. We want to develop the social fabric.”
หนึ่งในการสนทนาระดับลึกของดิฉัน คือ กับ บอนนี รูกิน, ผู้ประสานงานภูมิภาคของ เม็ดเงินสายช้า แห่งมลรัฐเมน, ที่จัดมหกรรมเพื่อจับคู่คนที่สามารถให้เงินกู้ หรือเงินทุนสนับสนุน แก่วิสาหกิจที่สร้างระบบอาหารยั่งยืนในท้องถิ่น.   นั่นอาจหมายถึง ร้านอาหารอินทรีย์ที่สมาชิกเป็นเจ้าของ หรือ ผู้เก็บเกี่ยวสาหร่ายทะเล.   ด้วยแรงบันดาลใจจาก วู๊ดดี้ ทาสช์, อดีตนายทุน ผู้ก่อตั้ง เม็ดเงินสายช้า, กลุ่มเมน เป็นหนึ่งในกลุ่มที่สามารถเรียกหุ้นคืนบริษัทแม่ทั้งหมด.   คนอื่นๆ ในที่ประชุม รายงานถึงโครงการที่กำลังดิ้นรน ในโอไฮโอ และโคโลราโด.  “ผู้ให้ทุนพบเกษตรกร.  เกษตรกรพบนักตรากฎหมาย (สส).  เรามีการสร้างเครือข่ายกันมากมายในที่ประชุมของเรา,” รูกินกล่าว (อดีตเกษตรกรอินทรีย์ อายุ 62 พร้อมด้วยพื้นเพการไม่แสวงกำไร).  “เรากระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของเงิน 90 ล้านบาท ... และความตื่นตัวจำนวนที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง.   ในแง่ความต้องการของผู้หิวโหย, เราเป็นที่สองของประเทศ.  เราอยู่ในลำดับเดียวกันกับรัฐอลาบามา.   เราต้องการพัฒนาเส้นใยสังคม.”

“We started with 30 people gathering and we’re up to 450 people,” said Rukin. “They’re each given 10 to 15 minutes to tell what they did…then the bell would ring,” said Jonathan Lee, a Belfast, Maine Slow Money activist. He describes the scene: “People in the audience are from foundations, government…” Some skilled businesspeople offer their time.
“เราเริ่มจากการรวมกลุ่ม 30 คน และก็เพิ่มเป็น 450 คน,” รูกินกล่าว.  “แต่ละคนมีเวลา 10 ถึง 15 นาที เล่าว่า ทำอะไร ... แล้วกระดิ่งก็ดังขึ้น,”  โจนาธาน ลี กล่าว (นักกิจกรรมจากเบลฟาสต์ เมน).  เขาบรรยายเหตุการณ์ “ในหมู่ผู้ฟัง เป็นคนจากมูลนิธิ, รัฐบาล...”   นักธุรกิจที่มีความสามารถบางคน ก็ได้ให้เวลาของพวกเขา.

Jonah Fertig, a member of the Local Sprouts cooperative restaurant funded through Slow Money Maine, said simply, “It’s helped us to connect to different resources and people,” including fellow “farmers, cooks, food procecessors…”
โจนาห์ เฟอร์ติก, สมาชิกของ ร้านอาหารสหกรณ์ถั่วงอกท้องถิ่น ได้รับทุนสนับสนุนจาก เม็ดเงินสายช้า เมน, กล่าวง่ายๆ ว่า, “มันช่วยให้เราต่อสายกับแหล่งทุนและผู้คนต่างๆ ได้,” รวมทั้งเพื่อน “เกษตรกร, คนครัว, ผู้แปรรูปอาหาร...”

American Sustainable Business Association
สมาคมธุรกิจยั่งยืนอเมริกัน

Less explicitly anti-capitalist than many of the alternative economy folks are some of the business-oriented elements of the New Economy movement that wrestle to reform traditional market-based tools so they create incentives toward sustainable, socially just practices. Or sometimes they just try to create a counterforce to the big-business lobby. “Policies that provide social benefit are called bad for business,” David Levine, founding director of the American Sustainable Business Association reported to the Bard gathering. “It was time to ask, ‘Bad for whose business?’”
ภาคส่วนที่ต่อต้านทุนนิยมน้อยกว่าทางเลือกอื่นๆ คือ ธุรกิจที่มีปัจจัยของขบวนการเศรษฐกิจใหม่ ที่งัดข้อเพื่อปฏิรูปกลไกตลาด ด้วยเหตุนี้ พวกเขาได้สร้างแรงจูงใจสู่แนวปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืน และสังคมเป็นธรรม.   หรือบางที พวกเขาก็เพียงพยายามสร้างการถ่วงดุลกับการล็อบบี้ของธุรกิจขนาดใหญ่.   “นโยบายที่ให้ประโยชน์เชิงสังคม ถูกเรียกว่า เลวร้ายสำหรับธุรกิจ,”  เดวิด เลไวน์, ผู้อำนวยการก่อตั้ง ของสมาคมธุรกิจยั่งยืนของอเมริกัน (ASBA) รายงานต่อการประชุมที่บาร์ด.   “ถึงเวลาแล้วที่จะถามว่า—เลวร้ายสำหรับธุรกิจของใคร?”

The ASBA formed after the election of President Obama to provide lobbying muscle and build political power for policies that tackle global warming and invest in job growth. “That means showing up before the Energy and Commerce committee and say why regulations are very important for business.” It now networks 150 existing local and specialized business associations representing 150,000 members. The New Mexico Green Chamber of Commerce and women’s business associations are among their members.
ASBA ถูกจัดตั้งขึ้นหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีโอบามา เพื่อเสริมกล้ามให้กับการล็อบบี้ และสร้างอำนาจทางการเมืองสำหรับนโยบายแก้ไขโลกร้อน และการลงทุนเพื่อสร้างงานว่าจ้าง.   “นั่นหมายถึงการปรากฏตัวต่อกรรมาธิการพลังงานและพาณิชย์  และบอกว่า ทำไมการควบคุมจึงสำคัญมากสำหรับธุรกิจ.”   ตอนนี้ มันได้สร้างเครือข่ายกับสมาคมธุรกิจท้องถิ่นและเฉพาะทาง 150 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิก 150,000 คน.   หอการค้าเขียวของนิวเม็กซิโก และสมาคมธุรกิจของผู้หญิง เป็นส่วนหนึ่งของบรรดาสมาชิก.

“We can actually produce chemicals that are not toxic. We can produce materials that are recyclable,” said Levine. “What are we up against? It’s the $200 million budget of the U.S. Chamber of Commerce. While we might not have the money, we can show up and have a voice.”
 “อันที่จริง เราสามารถผลิตสารเคมีที่ไม่เป็นพิษ.  เราสามารถผลิตวัสดุที่นำมาใช้ใหม่ได้,” เลไวน์ กล่าว.  “เรากำลังต่อต้านอะไร?  มันเป็นงบประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ (หกพันล้านบาท) ของหอการค้าสหรัฐฯ.   ในขณะที่เราอาจไม่มีเงินขนาดนั้น, เราสามารถปรากฏตัวที่นั่น และส่งเสียง.”

B-Corporations
บริษัท บี

Being obsessed with profit and growth comes with costs that don’t show up in the numbers. Community stakeholders and goals are ignored in corporate ratings, and companies are captive to Wall Street’s short-termism. And Wall Street’s goals are written into corporate law. A former bond trader came up with a new corporate form, B-corporations, that allows companies to be evaluated by their social performance, not just their economic bottom line. Since 2010, laws allowing B-corps have been enacted in eight states, most recently in Louisiana. Nathan Gilbert’s job at B-Lab, a New York-based nonprofit, is to make it spread.
ด้วยความหมกมุ่นกับกำไรและการขยายตัว ผลคือตัวเลขต้นทุนไม่ปรากฏขึ้น.   ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป้าหมายของชุมชน ถูกมองข้ามในการจัดลำดับบริษัท, และบริษัทก็ถูกสะกดสกัดกั้นให้อยู่กับเป้าหมายระยะสั้นของวอลสตรีท.  และเป้าหมายของวอลสตรีทก็ถูกเขียนไว้ในกฎหมายบริษัท.    อดีตนักค้าพันธบัตรได้เกิดความคิดบริษัทรูปแบบใหม่,  บริษัท บี, ที่อนุญาตให้บริษัทถูกประเมินได้ด้วยผลงานทางสังคม, ไม่ใช่แค่มาตรฐานเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว.    ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓,  แปดมลรัฐ ได้ออกกฎหมายที่อนุญาตให้มี บริษัท บี ได้, ที่ล่าสุดคือ หลุยเซียนา.   งานของนาธาน กิลเบอร์ท ที่ห้องแล็บ บี ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่นิวยอร์ก คือ ทำให้มันแพร่ขยายในวงกว้าง.

Strategists who think investors will voluntarily make better decisions if they knew the true impact of companies are also creating alternatives like GIIRS, the Global Impact Investing Rating System, to reveal what businesses are doing for the environment, job creation, and job quality.
นักยุทธศาสตร์ ผู้คิดว่า นักลงทุนจะทำการตัดสินใจได้ดีขึ้นเอง หากพวกเขารู้ถึงผลกระทบที่แท้จริงของบริษัท  ก็กำลังสร้างทางเลือกใหม่ เช่น   GIIRS, ระบบการจัดลำดับผลกระทบจากการลงทุนระดับโลก, เพื่อเผยให้ประจักษ์ว่า ธุรกิจใด กำลังทำอะไรสำหรับสิ่งแวดล้อม, การสร้างงาน, และคุณภาพของงาน.

But only 500 companies are chartered as B-corporations, mostly small firms. “They have $3 billion total capitalization—that’s cappuccino money at Apple,” said Allen K. White, vice president of Tellus, another speaker. Still, he said, “Ownership does matter. It has a moral and operational quality.”
แต่มีเพียง 500 บริษัทที่เป็นสมาชิกของ บริษัท บี, ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเล็กๆ.   “รวมกันแล้ว  พวกเขามีทรัพย์สิน $3 พันล้าน—นั่นเป็นเพียงเงินค่าดื่มกาแฟที่แอปเปิล,”  อัลเลน เค. ไวท์ กล่าว (รองประธานบริษัท เทลลัส).  ถึงกระนั้น “ความเป็นเจ้าของก็มีความสำคัญ. มันมีคุณภาพเชิงจริยธรรมและการบริหาร” เขากล่าว.

Meanwhile, he pointed out, most of the world’s economic activity is controlled by the 1,000 largest corporations, untouched by many of these ideas and local movements. Richard Branson of Virgin may have told Davos, the gathering of the high and mighty, that we are seeing “the end of capitalism,” as White noted. And indeed the Solidarity Economy and New Economy movements are debating what should replace it.
ในขณะเดียวกัน, เขาชี้ให้เห็นว่า, กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโลก ถูกบงการโดยบรรษัทยักษ์ใหญ่ 1,000 แห่ง, ไม่สัมผัสกับความคิดเหล่านี้ และการขับเคลื่อนในท้องถิ่น.   ริชาร์ด แบรนสัน แห่ง บ.เวอร์จิน อาจได้กล่าวที่ ดาโวส, ที่ประชุมของพวกชนชั้นสูงและมีอำนาจ, ว่า เรากำลังเห็น “จุดจบของระบบทุนนิยม,” ดังที่ไวท์ ได้สังเกตเห็น.   และจริงๆ แล้ว การขับเคลื่อน เศรษฐกิจน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเศรษฐกิจใหม่ กำลังอภิปรายกันว่า จะเอาอะไรมาแทนที่มัน.

The stakes are high. The environmental writer and campaigner Bill McKibben was on hand to give the conference a sense of urgency to curb corporations’ destructive power before the imminent damage caused by climate change is irreversible. “It is a fundamentally altered planet,” he told a packed auditorium. Given our interconnection, it’s not enough to work in our home communities. “If we don’t take care of this large global crisis, we won’t realize the future toward which we are all working.
เดิมพันสูง.   นักเขียนและนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม บิล แมคกิบเบน เป็นคนหนึ่งในที่ประชุมที่ปลุกให้รู้ถึงความเร่งด่วนในการจำกัดขอบเขตอำนาจทำลายล้างของบรรษัท ก่อนที่หายนะจวนตัว ที่เกิดจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะสายเกินแก้.   “มันเป็นพิภพที่ถูกเปลี่ยนถึงขั้นรากฐาน” เขากล่าวในห้องประชุมที่แน่นขนัด.   ดูจากความเชื่อมโยงในระหว่างพวกเรา, มันไม่เพียงพอที่จะทำงานแค่ในชุมชนท้องถิ่นของเรา.  “หากเราไม่ดูแลวิกฤตโลกขนาดมหึมานี้, เราจะไปไม่ถึงอนาคตที่เราทั้งหลายกำลังทำงานมุ่งไปสู่.”

“This is not only a huge practical dilemma but a moral one too,” he said, reporting on the dengue fever epidemic he just faced in Bangladesh which he survived when undernourished people died. “Today we learned this spring was the worst spring and the most extreme. Saudi Arabia had the hottest rainstorm recorded on this planet—109 degrees. We’re building a science fiction story and I don’t know if we can stop it.”
“นี่ไม่ใช่เป็นเพียงสภาวะยากลำบากมากเชิงปฏิบัติดั่งทางสองแพร่ง แต่เป็นปัญหาเชิงศีลธรรมด้วย,” เขากล่าว, พร้อมรายงานโรคระบาดไข้เลือดออกที่เขาเพิ่งประสบมาในบังคลาเทศ ที่เขารอดมาได้ แต่คนที่ขาดอาหารต้องตาย.   “ทุกวันนี้ เราได้เรียนรู้ว่า ฤดูใบไม้ผลิที่เพิ่งผ่านพ้นมา เป็นฤดูใบไม้ผลิที่แย่ที่สุด และสุดโต่งที่สุด.  ซาอุดิอาระเบีย ประสบพายุฝนที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในโลกนี้—109 องศา.   เรากำลังสร้างนิทานบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ และผมไม่รู้ว่า เราจะสามารถหยุดยั้งมันได้.”

“Here’s the good news: Most of what we need to do to deal with global warming will also help [people],” he said. With those marching orders, his middle-class reform army filed out.
“ทีนี้เป็นข่าวดี: อะไรก็ตามที่เราจำเป็นต้องทำเพื่อต่อกรกับสภาวะโลกร้อน ส่วนใหญ่จะช่วย (ประชาชนด้วย),” เขากล่าว.  ด้วยคำสั่งให้เดินหน้าเหล่านั้น, กองทัพปฏิรูปชนชั้นกลางของเขา ได้เคลื่อนตัวออกไป.

© 2012 Dollars & Sense
ดรุณีแปล

Abby Scher is a sociologist and journalist who was co-editor of Dollars & Sense in the 1990s. She is now a D&S Associate and an Associate Fellow of the Institute for Policy Studies.
แอ็บบี เชอร์ เป็นนักสังคมวิทยาและนักวารสารศาสตร์ เป็นบรรณาธิการร่วมของ Dollars & Sense ในศตวรรษ 1990s (๒๕๓๗).  ขณะนี้ เธอเป็นกรรมการของ D&S และ Associate Fellow ของสถาบันนโยบายศึกษา.

Published on Saturday, August 4, 2012 by Dollars & Sense

Typical of what "community" means to so many in the "Progressive" circles. It's their thought, how they've seen it, where they live and not what is out there. What's the goal? To help the poor? That's a lie. You don't know what it is to be poor, to live as a transient, move from one apartment to another, and live on ramen. Coops were no more than fee thieves. Why pay them a fee for the privelege of buying overpriced food? Why?

So, back to ramen, cereal, milk, eggs, cheese and frozen pizza. All cheap, filling and sustain energy to work long shifts for low wages, go home exhausted, and read about unintelligent nitwits schemes to make life better.
08/04/2012 10:48 AM

The above article is simply telling us how some people are getting together to solve their problems collectively instead of on their own, individually. This is a shift. If they happen to be solving some of your problems, you'll join them. If not, you won't...but you may be inspired by their example.
08/04/2012 11:22 PM

Look closer,  it's extolling an ideal which claims to have redemption for the poor. I ask, do you know what it means to be poor, or have you always lived without desperation? This ideal works great in insular community. I'm trying to compel a broader look at "good works" ideals which are being extolled by good meaning people who are clueless.

Go out and make this work in one insular part of their little world. There's absolutely no redeeming long-term value with these experiments.
08/05/2012 10:10 AM

The claims in this article have nothing to do with "the poor" to the exclusion of the "not so poor." Most of the people who are really concerned about the situation we face on the earth know they are  financially insecure...otherwise they/we wouldn't have the intelligence (so-called street smarts), or inclination, to pursue their/our own liberation. There are a few Gore Vidals in the mix but your suggestion that it's "just" liberals who are behind credit unions, labour unions and co-ops is incorrect. It is the invisible 'working class' that is scrambling around oblivious to the bright light surrounding the elite. Within the working class, the poor are simply themselves, their/our friends and neighbours and, far from being a threat, allies.
08/05/2012 02:55 PM

This is an excellent article and the ideas are great the
only obstacle is how to get it from the ideal to the real. I participated in the left forum at pace this past year and the only issue I can see with that forum is that the ideas are either to intellectual for the average person to partake in or the ideas are too outlandish to ever be realized. I am glad that a writer has the courage and ability to commit themselves to such a plan but unless the masses can be convinced this idea would just remain a great idea. 
08/06/2012 09:05 AM

Given our interconnection, it’s not enough to work in our home communities.

As you can see, Bill McKibben is trying to draw our attention away from our local communities, and onto something more umm "kornneckted".

Why would Bill want to do this? Doesn't Bill have a clue that the great challenge for the people today is to return to their local communities and build their local self-determination?

Doesn't Bill realize that our loss of self-determination paralleled our enslavement to das kaptialist konsumption, causing global warming?

What in hell is occupying Bill McKibben's brain cells?

You and I are rational people. We understand that to wean ourselves off the 4x overkonsumption addictions we have to return to our local communities, and rebuild our local economies. We know this is the best thing that can happen for the biosphere. This fits perfectly into the permaculture scheme of things.

Can't Bill McKibben get hip to permaculture? Why can't Bill McKibben support permaculture, localism?

The answer is quite evident, because there have been lots of Bill McKibbens committing the same crime as he. His ego is over the cliff, like so many liberal elites, obsessed with his extremely narrow cause, global warming, which will build him a name, something he can leverage for further personal "successes", write books, build a power egg, ad nauseam, while the world burns. Others will try to follow his lead, find their little niche like him, try to build their little power eggs, ad nauseam, while the world burns brighter. Have we had enough liberal destruction yet?

If McKibben really cared about universal well-being, he'd be in solidarity with the localism movement, with all the social movements. But he can't be. He has to stay in his fraternity of liberal elites, his buddy network where all the buddies do the same thing - support their extremely narrow little kauses, helping to keep the people split up, divided, conquered. McKibben gets his "reward".
08/05/2012 02:39 AM

The problem is not growth but too much finance.

Sounds too familiar, like all the ideas that culminated in the total wreckage of today. When the people gain confidence in their own common sense, they see that growth has to end somewhere. We're building a MINIMALIST economy where we get by with the least we need. Obviously, this leaves us plenty of time to enjoy life.
08/04/2012 09:28 PM

Mondragon in Spain is a massive industrial enterprise with an annual turnover in the billions, employing 80,000 people.They make appliances, car parts, locomotive parts, among other things. Workers are on the board, and the most anyone in management can make is five times what the average worker can make. Everybody shares in the profits. It's success is partly due to ancient traditions of egalitarianism and cooperative enterprise in the Basque country. We don't have enough Basques in America.
08/04/2012 04:39 PM

I see some issues. (1) Why the either/or set at the beginning, "a call for “an economy whose very purpose is not to grow profit…but sustain people and the planet?” Why not both? (2) Ms. Schor wants to see an expanded welfare state, yet advocates bartering, making clothes and food at home, and by-passing the very system of taxes that makes a welfare state possible. Unless he has a different one in mind that wasn't elaborated here. (3) There is always the danger of becoming too centralized and political and giving us what the 20th century Progressives did: The Fed.

Apart form that, I like many of the ideas and directions that people are looking at and investing in. I believe this is what Mike Klingler would call the "empathetic economy."
08/04/2012 11:46 AM

I saw nothing about a welfare state -- nothing about hand-outs to the poor, or anyone else. That seems like a separate issue here, independent of the "new economy". The question seems more like whether power to play dice with the economy and environment will continue to increase their concentration in the hands of the few, to the detriment of all, or whether the economy will become more distributed, a collection of many micro-economies that are mostly independent and mostly self sustaining.

I own Apple stock, but I don't expect the CEO of Apple to behave in my best interest. Same is true of any corporation, large or small. CEOs behave in only their own best interest. For that reason the New Economy needs to be redesigned to be in the best interest of everyone, not just the 1%, or top 1000, or 400, or whatever.
08/06/2012 11:56 PM

Here's the quote, 18th paragraph, "Meanwhile, she supports expanding the welfare state so that we are not subject to markets when it comes to our health, to expand living-wage jobs and in protecting the commons."

I agree that the new economy needs to be restructured, but am baffled that you don't expect the CEO of a company you own in part to act in your interest. Companies like GM were buying their stock back and acting in the interest of the few owners, such as the 1% of the population that owns Exxon's stock for a couple decades. It is the CEOs job to act in stockholder interest.
08/07/2012 01:10 AM

Thank God this article wasn't one of those dreadful "brand new KIA for the new economy" commercials...
08/05/2012 02:17 AM

They have $3 billion total capitalization—that’s cappuccino money at Apple

Her point is that that's chump change, but please you just wait and it's gonna explode in das kapitalist fireworkz soon enough. Puleeeeze!!!

Sing it everybody. We don't need no kapitalization... I really wish these authors would stop trying to light our kapitialist fire. It's so ironic that sustainability can happen, and articles such as this one seem so positive on the surface, seeming to move in the right direction. but there's nothing in this article highlighting the greatness of the people, each and every average person who MUST make the revolution happen. Elites ain't gonna cut it. This is going to be the people's enterprise. So umm duh, a few anecdotes directing a little attention on the everyday regular guy, ehh?
08/05/2012 01:02 AM


On the board of the new NEI are thinkers like Peter Victor

On the terra firma of the earth are 7 billion thinkers who think all the thoughts needed to live their lives with utmost sustainability and fulfillment. If the NEI wants to make a contribution, the NEI will support the people DIRECTLY or get out of the people's way. Today, the people can smell the stench of elitism a thousand miles away and we will have NONE of it.
08/05/2012 12:54 A

Less explicitly anti-capitalist than many of the alternative economy folks are some of

I'm not going to get excited by the "cross-over" concept, or the "diversity of views" idea.  We have to learn when variety, or balance, work for us and when it does not.  In the case of economic ideals, the liberals demonstrated undeniably over the past several decades that half and half, a little of both, one foot in, one foot out, give and take, none of that works.

The topic of this article is extremely important but the author writes in a style that is very dangerously on the edge, almost like a trap or a ploy to let the capitalists into our inner sanctuary, infiltrate, corrupt, terminate our revolution.  In the case of our economic revolution, PURITY is the word.  If this raises red flags in your mind, maybe the raising of the flag is itself the problem.
08/05/2012 12:22 A

a struggle over our subjectivity and how we define our needs in building a more egalitarian, sustainable economy.

Let the people define their own needs. Let the people create their own civic and market demands.

Oh gosh, what and render the elites irrelevant? That's a little bit dangerous, of course. But we love danger!
08/04/2012 11:55 P



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น