Dead Woman Working:
American Dream Died Long Ago
ผู้หญิงทำงานที่ตายแล้ว: ความฝันอเมริกันที่ได้ตายไปนานแล้ว
by Donna Smith
โดย ดอนนา สมิธ
It was a slow and torturous death, my American dream. And for millions of others, I am guessing it
is the same. Nothing this current round
of politicos is planning to do can restore it.
Just like there is nothing to being a little bit pregnant, there is
nothing anyone can do to breathe life back into what once seemed possible. Now I just hang on waiting to die.
มันเป็นความตายที่คืบคลานมาช้าๆ และทรมาน,
ความฝันอเมริกันของฉัน. และสำหรับคนอื่นๆ
นัลล้าน, ฉันเดาว่า มันก็เหมือนๆ กัน.
ไม่มีอะไรที่การเมืองยกปัจจุบันวางแผนจะทำ จะสามารถกู้มันคืนมาได้. ก็เหมือนกับที่
ไม่มีอะไรเหมือนกับความรู้สึกว่าตั้งครรภ์เล็กน้อย, ไม่มีอะไรที่ใครจะทำได้
ในการอัดลมปราณแห่งชีวิต กลับเข้าไปในสิ่งที่ครั้งหนึ่ง ดูเหมือนจะเป็นไปได้. ตอนนี้ ฉันแค่นั่งรอจนกว่าจะถึงเวลาตาย.
(photo: Patrick Haney)
This piece is not about who will or will not be our
president or vice president, as after voting in every election since the 1970s,
I am pretty sure what I need and want isn’t coming from any of them.
บทความนี้ไม่ใช่เกี่ยวกับว่า ใครจะเป็น หรือจะไม่เป็น ประธานาธิบดี
และ รองประธานาธิบดีของเรา, ดังหลังจากการลงคะแนนเลือกตั้วแต่ละครั้งตั้งแต่ทศวรรษ
๒๕๑๓, ฉันค่อนข้างแน่ใจว่า สิ่งที่ฉันจำเป็นต้องมีและต้องการ
จะไม่ได้มาจากคนใดคนหนึ่งในทั้งสอง.
When I launched into my adult life as a rather average
American woman, I held dear all the illusions that I could work my way out of
any financial or societal calamity if only I had the spirit and drive to do
so. I was so wrong. I was born into a working class family where
my parents struggled and worked hard to make sure I was positioned with an
education and life experiences to live a better life than they had and perhaps
struggle a little less. It was all for
naught.
เมื่อฉันเติบโตย่างเข้าวัยผู้ใหญ่
ดังเช่นหญิงอเมริกันเฉลี่ยทั่วไป,
ฉันหวงแหนมายาภาพทั้งมวลที่ฉันสามารถหาทางทำงานเพื่อให้หลุดพ้นจากหายนะทางการเงินหรือสังคมใดๆ
หากเพียงว่าฉันจะมีสปิริต และพลังขับเคลื่อนมากพอที่จะทำเช่นนั้น. ฉันผิดอย่างจัง. ฉันเกิดมาในครอบครัวชนชั้นแรงงาน
ที่พ่อแม่ต้องดิ้นรนและทำงานหนัก เพื่อให้แน่ใจว่า ฉันจะมีที่ยืนในสังคม ด้วยการศึกษาและประสบการณ์ชีวิต
เพื่อชีวิตที่ดีกว่าพวกท่าน และบางทีอาจดิ้นรนน้อยลงหน่อย. มันเป็นความพยายามที่สูญเปล่า.
No matter whether a Republican like Nixon, Ford, Reagan or
Bush -- either one -- or Democrats like Carter, Clinton, or Obama, the real
chances were always next to none that I would actually “make it” and also live
a life of purpose I so desperately wanted.
I once read a text in college about how difficult it really is for most
people in America to break out of their native-born class standings. I didn’t really care much about that as my
mom and dad did a wonderful job of providing all that I needed and then
some. I would have been really happy if
my hard work had been enough to secure that standard of living. But my work was all for naught too.
ไม่ว่าจะเป็นรีพับลิกัน เช่น นิกสัน, ฟอร์ด, เรแกน หรือ บุช—ไม่คนใดก็คนหนึ่ง—หรือ
แดโมแครต เช่น คาร์เตอร์, คลินตัน, หรือโอบามา,
โอกาสที่แท้จริง จะอยู่ถัดจากความไม่มีอะไร เสมอ ที่ฉันจะ “ทำได้”
และดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมายที่ฉันพยายามไขว่คว้าอย่างสิ้นหวังยิ่ง. ครั้งหนึ่ง ฉันได้อ่านตำราเล่มหนึ่งในสมัยที่เรียนในวิทยาลัย
เกี่ยวกับความยากเข็ญมากเพียงไรจริงๆ สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ในอเมริกา ที่จะแหกออกจากชนชั้นที่เขาถือกำเนิดมา. ตอนนั้น ฉันไม่แคร์เรื่องนี้มากเท่าไร
เพราะคุณพ่อคุณแม่ของฉันสุดยอดมากที่จัดหาทุกอย่างที่ฉันต้องการให้ทั้งหมด
และภายหลังก็ยังให้บ้าง.
ฉันน่าจะมีความสุขจริงๆ หากการทำงานหนักของฉัน เพียงพอที่จะทำให้ฉันมีความมั่นคงในมาตรฐานชีวิต. แต่งานของฉันทั้งหมดไปสู่ความสูญเปล่า.
My dreams weren’t outrageous and of great wealth. No, my dreams were of a comfortable home,
food on the table, children, a meaningful job, and perhaps the “freedom from
want” signaled by not being terrified that I wouldn’t make it to my next
paycheck. I wanted to pay the bills
without fretting. I wanted an occasional
vacation from work. And I looked forward
to a little time in retirement with enough health left to spend with my
husband, kids and grandkids before leaving this earth. Now I am so tired in my late 50s of the
struggle and the futility of trying to be heard, that I am angry beyond belief.
ความฝันของฉันไม่ใช่ความมั่งคั่งหวือหวาหรือมหาศาล. ไม่ใช่ค่ะ, ความฝันของฉันก็แค่มีบ้านที่สบาย,
อาหารบนโต๊ะ, ลูกๆ, งานที่มีความหมาย, และบางที “อิสรภาพจากโหยหา” นั่นคือ
ไม่ต้องหวาดผวาว่า ฉันอดหยาก ไม่มีเงินพอก่อนเงินเดือนรอบหน้าจะถึง.
ฉันต้องการจะจ่ายตามใบเรียกเก็บเงินทั้งหมดโดยไม่ต้องกลัดกลุ้ม.
ฉันต้องการมีวันหยุดพักร้อนจากงานเป็นครั้งคราว.
และฉันตั้งหน้าตั้งตาคอยวันปลดเกษียณที่ฉันจะมีเวลาบ้าง และสุขภาพดีพอเหลือ
เพื่อใช้ชีวิตกับสามี, ลูกๆ และหลานๆ ก่อนที่จะจากโลกนี้ไป. ตอนนี้ ในวัยปลาย 50 ของฉัน ฉันเหนื่อยเหลือเกินกับการต่อสู้ดิ้นรน พยายามส่งเสียงให้คนได้ยินแต่ไร้ประโยชน์,
ฉันรู้สึกโมโหอย่างเหลือเชื่อ.
Nothing in my dream was tied to massive wealth or domination
over other people. But that killer
instinct certainly is present in many people I know. That’s the instinct I
apparently lack – the need to be rich and control others even if it means
allowing those many others to suffer and die for my personal achievement.
ไม่มีอะไรในความฝันของฉันที่ยึดโยงกับความมั่งคั่งมหาศาล หรือมีอำนาจเหนือใคร. แต่แน่นอน สัญชาตญาณการฆ่า ย่อมมีอยู่ในหลายๆ
คนที่ฉันรู้จัก. และนั่นเป็นสัญชาตญาณที่ฉันไม่มี—ความต้องการร่ำรวย
และบังคับผู้อื่น แม้ว่า มันจะหมายถึง การยอมให้หลายๆ คนเหล่านั้น ต้องทนทุกข์ทรมานและตาย
เพื่อให้ฉันก้าวหน้าและมีผลงานส่วนตัว.
My real situation is like millions of other people in
America. I’ve worked hard – very
hard. Vacations were almost non-existent
as I either needed to use that time for sick leave when I needed to for
children, my husband, or myself or I “banked” the time knowing the next
financial storm would come. Retirement
security? Come on. When the horrible and crushing moments of
healthcare crisis came and funds were needed to pay deductible, co-insurances,
and co-pays or other bills, any retirement funds were cashed out. I have had to start from scratch so many
times on retirement savings that I know now that Social Security will likely be
my only retirement resource – unless that is stripped away too. Home ownership? Yeah, way back in the 70s, 80s, and early
1990s. Then it was all gone. Still working hard and even harder than ever,
it was all lost. I rent now. I will rent ever more. How will I pay these rents in
retirement? I won’t.
สถานการณ์ที่แท้จริงของฉันก็คล้ายๆ กับคนอื่นๆ ในอเมริกา. ฉันทำงานหนัก—หนักมาก. การหยุดพักร้อนเกือบไม่มีเลย เพราะฉันจำเป็นต้องใช้เพื่อลาป่วยเมื่อฉันต้องดูแลลูกๆ,
สามี, หรือตัวเองที่ป่วย, หรือ ฉัน “เก็บออม” เวลาด้วยรู้ว่า
พายุการเงินระลอกหน้าจะมาถึง.
หลักประกันหลังเกษียณ?
ล้อเล่นหน่ะ.
พอถึงเวลาแห่งความสยดสยองของวิกฤตสาธารณสุข และจำเป็นต้องมีกองทุนเพื่อจ่ายค่า
จ่ายร่วม, ประกันร่วม, และใบเสร็จต่างๆ,
กองทุนปลดเกษียณได้ถูกรีดออกมาใช้หมดไปแล้ว. ฉันต้องเริ่มต้นจากศูนย์หลายครั้งในการออมเพื่อเกษียณจนฉันรู้แล้วเดี๋ยวนี้ว่า
ประกันสังคม คงจะเป็นแหล่งรายได้เดียวที่ฉันจะพึ่งได้ตอนเกษียณ—นอกเสียจากว่า มันจะถูกปลดเปลื้องไปด้วย. กรรมสิทธิ์บ้านหรือ? ใช่ค่ะ, ในอดีตทศวรรษ ๒๕๑๐, ๒๕๒๐, และต้น ๒๕๓๐. และแล้วมันก็สูญไป. ฉันยังทำงานหนัก และก็หนักกว่าเก่า,
มันสูญสิ้นไปหมด. ตอนนี้
ฉันอยู่บ้านเช่า.
ฉันจะเช่าต่อไปเรื่อยๆ.
แล้วฉันจะจ่ายค่าเช่าได้อย่างไร?
ฉันจ่ายไม่ได้.
“Death is one of two things.
Either it is annihilation, and the dead have no consciousness of
anything; or, as we are told, it is really a change: a migration of the soul
from this place to another,” Socrates in “Plato’s Apology,” as I once
read. I always read it to be that
either we have sweet and eternal repose or there is something very different
awaiting us after death. While my faith
allows me to trust in the latter, my life on this earth has made me sometimes
long for either.
“ความตายเป็นหนึ่งในสองสิ่ง.
อาจเป็นการทำลายล้าง ซึ่งคนตายไม่มีความรู้สึกหรือสำนึกต่อสิ่งใด; หรือ, ดังที่เราถูกบอกกล่าว, มันเป็นการเปลี่ยนแปลงจริงๆ : การอพยพย้ายถิ่นของดวงวิญญาณจากที่นี่ไปอีกที่หนึ่ง,” เป็นคำพูดของโสเครติส
ดังที่ฉันเคยอ่านใน “คำขอโทษของเพลโต”.
ฉันเข้าใจว่า มันเป็นไม่อย่างไรก็อย่างหนึ่ง
ที่เรานอนพักผ่อนฝันหวานตลอดกาล หรือ มีอะไรบางอย่างที่ต่างออกไป รอคอยเราอยู่ข้างหน้าหลังความตาย. ในขณะที่แรงศรัทาของฉันยอมให้ฉันเชื่อในประการหลัง,
ชีวิตบนโลกนี้ ทำให้ฉันบางครั้งโหยหาประการไหนก็ได้.
The American system – both our healthcare system and our
broader economic policies – have been stacked against many of us from the
start. And what makes me angriest now is
that I instilled in my own children the same notion my parents instilled in me
that hard work and ingenuity will get you where you want to go. I lied to them, and I didn’t mean to. Hard work might keep you afloat at times, but
in these United States, it’s just not enough.
Work 50 years? Believe you’ll
retire in dignity? It’s an
illusion. It’s a lie.
ระบบอเมริกัน—ทั้งระบบสาธารณสุขของเรา และนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของเรา—ได้กองซ้อนเป็นพเนินสูงขวางกั้นพวกเราตั้งแต่เริ่มต้น. และสิ่งที่ทำให้ฉันโกรธที่สุดตอนนี้ คือ
ฉันยังคงสั่งสอนลูกของฉันแบบเดียวกับที่พ่อแม่ของฉันได้ปลูกฝังฉัน ว่า การทำงานหนักและความเฉลียวฉลาด
จะพาให้คุณไปถึงจุดหมายที่คุณต้องการ.
ฉันได้พูดปดกับลูกๆ, และฉันไม่ได้ต้องการทำเช่นนั้น. การทำงานหนักอาจช่วยให้คุณลอยตัวอยู่ได้,
แต่ในเหล่าสหมลรัฐนี้, มันไม่พอ.
ทำงานมานาน 50 ปีแล้วหรือ?
เชื่อว่าคุณจะปลดเกษียณอย่างมีศักดิ์ศรีหรือ? มันเป็นมายาคติ. มันเป็นเรื่องโกหก.
Those in the classes above us want it kept that way, and
they will kill to do so. Whether it’s a
slow and grueling death like mine through healthcare crisis, debt, and
bankruptcy due to a healthcare system singularly beholden to profit or the
swift and sure deaths in wars waged for profit or the brutality of what we do
to our poor, the class in control doesn’t care how they stay on top. They do not care about you and they do not
care about me.
พวกที่อยู่บนชนชั้นสูงกว่าพวกเรา ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น,
และพวกเขาก็ฆ่าได้ เพื่อให้มันเป็นเช่นนั้น.
ไม่ว่าจะเป็นความตายแบบช้าๆ หรือความตายแบบเหนื่อยแสนทรหดเช่นของฉัน
ผ่านวิกฤตบริการสุขภาพ, หนี้, และการล้มละลาย เนื่องจากระบบบริการสุขภาพมุ่งมั่นเอาแต่กำไร
หรือ ความตายที่ฉับพลันและแน่ใจในสมรภูมิเพื่อกำไร หรือ ความอำมหิตที่เรากระทำต่อคนยากจน, ชนชั้นผู้บัญชาการบังคับ ไม่สนใจว่า
เขารักษาตำแหน่งสูงสุดได้ด้วยวิธีใด. พวกเขาไม่สนใจคุณ
และก็ไม่สนใจแนด้วย.
Our ruling class doesn’t care that many people are
disengaged from the process. The ruling
class counts on that. They do not want
you and me engaged, demanding a Medicare for all for life system or demanding a
Robin Hood Tax. They know – they’ve
studied us. They know we are born, we
grow up believing we can make a difference, we spend a lifetime working for
them and making them rich, fighting to stay afloat, and we wait to die nearly
penniless having been lorded over by those without a conscience who could have
changed our conditions and chose not to in favor or their own aggrandizement.
ชนชั้นปกครองของเรา ไม่ใส่ใจว่า
ประชาชนมากมายถูกกีดกันจากกระบวนการ. ชนชั้นปกครองอยู่ได้ด้วยวิธีนี้. พวกเขาไม่ต้องการให้คุณและฉันมีส่วนร่วม,
ในการเรียกร้องระบบประกันสุขภาพสำหรับทุกๆ คน หรือ เรียกร้องภาษีโรบินฮูด. พวกเขารู้—พวกเขาศึกษาพวกเรา. พวกเขารู้ว่าพวกเราได้กำเนิดเกิดมาแล้ว, พวกเราเติบโตขึ้นด้วยความเชื่อว่า
เราสามารถทำให้เกิดความแตกต่างได้, เราใช้ทั้งชีวิตทำงานเพื่อพวกเขา
และทำให้พวกเขาร่ำรวย, ดิ้นรนเพียงเพื่อให้ลอยตัวอยู่ได้, และเราก็รอคอยที่จะตาย
อย่างไม่มีแม้แต่สตางค์เดียว ด้วยได้เป็นทาสของเจ้านายที่ไร้จิตสำนึก ผู้สามารถเปลี่ยนสภาวะของพวกเรา
และสามารถเลือกที่จะไม่เพิ่มพูนให้แก่ตัวเอง.
So, I am dead woman working.
Like millions of my fellow Americans.
I look at my bank account every day, wonder how long it will hold out,
and pray to die with at least enough to have cremation funds available. Some American dream, eh? It’s not even a nightmare. It’s just a lousy reality.
ดังนั้น, ฉันเป็นผู้หญิงทำงานที่ตายแล้ว. เหมือนกับเพื่อนชาวอเมริกันนับล้าน. ฉันมองดูสมุดเงินฝากธนาคารของฉันทุกวัน, นึกฉงนว่ามันจะยืดไปได้ไกลแค่ไหน,
และอ้อนวอนขอให้ตาย อย่างน้อยมีเงินเหลือพอสำหรับฌาปนกิจ. ความฝันอเมริกันหรือ? มันไม่ใช่แม้แต่เป็นฝันร้าย. มันเป็นเพียงความจริงที่น่ารังเกียจ.
Donna Smith is a community
organizer for National Nurses United (the new national arm of the California
Nurses Association) and National Co-Chair for the Progressive Democrats of
America Healthcare Not Warfare campaign.
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น