วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

89. เกษตรอินทรีย์ จึงจะแก้ปัญหาหิวโหย ขาดอาหาร จากเกษตรอุตสาหกรรมได้




Our Hunger Games
เกมส์ความหิวโหยของเรา
โดย วันทนา ศิวะ

Hunger and malnutrition are man-made. They are hardwired in the design of the industrial, chemical model of agriculture. But just as hunger is created by design, healthy and nutritious food for all can also be designed, through food democracy.
ความหิวโหยและการขาดสารอาหารเป็นประดิษฐกรรมของมนุษย์.   มันถูกฝังตัวอยู่ในการออกแบบของเกษตรกรรมที่มีต้นแบบของอุตสาหกรรมและเคมี.   แต่ก็เหมือนกับการที่ความหิวโหยถูกสรรค์สร้างด้วยการออกแบบ, อาหารเพื่อสุขภาพเพื่อทุกคน ก็สามารถจะออกแบบได้ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยด้านอาหาร.

We are repeatedly told that we will starve without chemical fertilisers. However, chemical fertilisers, which are essentially poison, undermine food security by destroying the fertility of soil by killing the biodiversity of soil organisms, friendly insects that control pests and pollinators like bees and butterflies necessary for plant reproduction and food production.
พวกเราถูกกรอกหูซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เราจะอดตายกันหากปราศจากปุ๋ยเคมี.   แต่ปุ๋ยเคมี, ซึ่งโดยเนื้อแท้ เป็นยาพิษ, ได้กัดเซาะความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการฆ่าความหลากหลายของจุลชีพในดิน, แมลงที่เป็นมิตร ที่ทำหน้าที่กำจัดแมลงบ่อนทำลาย, ผึ้งที่ทำหน้าที่ผสมเกสร และ ผีเสื้อที่จำเป็นสำหรับการสืบสายพันธุ์ของพืช และการผลิตอาหาร.

Industrial production has led to a severe ecological and social crisis. To ensure the supply of healthy food, we must move towards agro-ecological and sustainable systems of food production that work with nature and not against her. That is what movements that promote biodiversity conservation, like our NGO Navdanya, are designing on the ground.
การผลิตภาคอุตสาหกรรมได้นำไปสู่วิกฤตนิเวศและสังคมร้ายแรง.   เพื่อให้มั่นใจว่า จะมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพียงพอ, เราจะต้องมุ่งไปสู่ระบบการผลิตอาหารด้วยเกษตรเชิงนิเวศ และยั่งยืน ที่ทำงานกับธรรมชาติ และไม่ใช่ขัดแย้งกับท่าน.   นี่คือ ขบวนการที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ, เช่น เอ็นจีโอ นวธัญญะ ของเรา, กำลังออกแบบบนพื้นดิน.

Industrialisation of agriculture creates hunger and malnutrition, and yet further industrialisation of food systems are offered as solution to the crisis. In the Indian context, agriculture, food and nutrition are seen independent of each other, even though what food is grown and how it is grown determines its nutritional value. It also determines distribution patterns and entitlements. If we grow millets and pulses, we will have more nutrition per capita. If we grow food by using chemicals, we are growing monocultures — this means that we will have less nutrition per acre, per capita. If we grow food ecologically, with internal inputs, more food will stay with the farming household and there will be less malnutrition among rural children.
การทำให้เกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สร้างความหิวโหยและทุโภชนาการ, ถึงกระนั้น การทำให้ระบบอาหารเป็นอุตสาหกรรม ก็ถูกนำเสนอให้เป็นทางออกจากวิกฤตดังกล่าว.   ในบริบทของอินเดีย, เกษตรกรรม, อาหารและโภชนาการ ถูกมองว่า เป็นอิสระแยกจากกัน, แม้ว่า การปลูกอาหารอะไร และ ถูกปลูกด้วยวิธีใด เป็นเครื่องตัดสิน คุณค่าทางโภชนาการของมัน.   มันยังตัดสินแบบแผนการกระจาย และการมีสิทธิ์.   หากเราปลูกข้าวฟ่าง และถั่ว, เราจะได้สารอาหารมากขึ้นต่อหัว.   หากเราปลูกพืชด้วยการใช้สารเคมี, เราก็ปลูกพืชเชิงเดี่ยว—นี่หมายความว่า เราจะได้สารอาหารน้อยลงต่อเอเคอร์ ต่อหัว.   หากเราปลูกอาหารที่สอดคล้องกับนิเวศ, ที่ใช้วัสดุภายใน, อาหารจะอยู่กับครอบครัวเกษตรกรมากขึ้น และการขาดอาหารในหมู่เด็กชนบทก็จะน้อยลงด้วย.

Our agriculture policy focuses on increasing yields of individual crops and not on the output of the food system and its nutritional value. The food security system — based on the public distribution system — does not address issues of nutrition and quality of food, and nutritional programmes are divorced from both agriculture and food security.
นโยบายเกษตรของเรา มุ่งที่การเพิ่มผลผลิตของพืชแต่ละชนิด และไม่ใช่ผลลัพธ์ในรูประบบอาหารและคุณค่าทางโภชนาการของมัน.   ระบบความมั่นคงทางอาหาร—บนฐานของระบบการกระจายสาธารณะ—ไม่ได้แตะประเด็นโภชนาการและคุณภาพของอาหาร, และโปรแกมโภชนาการ ก็ห่างร้างจากทั้งเกษตรกรรม และความมั่นคงทางอาหาร.

Wherever chemicals and commercial seeds have spread, farmers are in debt.

The agrarian crisis, the food crisis and the nutrition and health crisis are intimately connected. They need to be addressed together. The objective of agriculture policy cannot be based on promoting industrial processing of food. The chemicalisation of agriculture and food are recipes for “denutrification”. They cannot solve the problem of hunger and malnutrition. The solution to malnutrition begins with the soil.
วิกฤตเกษตรกร, วิกฤตอาหาร และวิกฤตโภชนาการและสุขภาพ ล้วนเกี่ยวโยงกันอย่างแนบแน่น.   มันต้องถูกแก้ไขไปด้วยกัน.  วัตถุประสงค์ของนโยบายเกษตร ไม่สามารถจะตั้งอยู่บนฐานการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร.   การทำให้เกษตรและอาหารเป็นกระบวนการทางเคมี เป็นสูตร เพื่อ “ทำลายสารอาหาร”.   มันไม่สามารถแก้ปัญหาความหิวโหยและทุโภชนาการ.   ทางแก้ไขทุโภชนาการเริ่มต้นที่ดิน.

Industrial agriculture, sold as the Green Revolution and the second Green Revolution to Third World countries, is chemical-intensive, capital-intensive and fossil fuel-intensive. It must, by its very structure, push farmers into debt and indebted farmers off the land. In poor countries, farmers trapped in debt for buying costly chemicals and non-renewable seeds, sell the food they grow to pay back debt. That is why hunger today is a rural phenomenon. Wherever chemicals and commercial seeds have spread, farmers are in debt. They lose entitlement to their own produce and hence get trapped in poverty and hunger.
เกษตรอุตสาหกรรม, ดังที่ถูกขายเป็น ปฏิวัติเขียว และ การปฏิวัติเขียวระลอกที่สองแก่ประเทศโลกที่สาม, จะใช้เคมีเข้มข้น, ทุนเข้มข้น และเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เข้มข้น.   ด้วยโครงสร้างของมัน, มันจะต้องผลักดันให้ชาวนาเป็นหนี้ และชาวนาที่ติดหนี้ให้ออกจากผืนดินของพวกเขา.   ในประเทศยากจน, ชาวนาติดหล่มหนี้ เพราะซื้อปุ๋ยเคมีราคาแพง และเมล็ดที่ใช้ใหม่ไม่ได้, แล้วขายอาหารที่พวกเขาปลูก เพียงเพื่อจ่ายล้างหนี้.    นี่คือสาเหตุว่า ทำไม ความหิวโหยทุกวันนี้ เป็นปรากฏการณ์ในชนบท.   ที่ใดที่เคมีภัณฑ์ และเมล็ดพาณิชย์ แพร่ไปถึง, ชาวนาล้วนติดหนี้.   พวกเขาสูญกรรมสิทธิ์ในผลผลิตที่ตนเพาะปลูกมา แล้วก็ติดกับดักของความยากจนและหิวโหย.

Industrial chemical agriculture also creates hunger by displacing and destroying the biodiversity, which provides nutrition. The Green Revolution displaced pulses, an important source of proteins, as well as oilseeds, thus reducing nutrition per acre. Monocultures do not produce more food and nutrition. They take up more chemicals and fossil fuels, and hence are profitable for agrochemical companies and oil companies. They produce higher yields of individual commodities but a lower output of food and nutrition.
เกษตรเคมีอุตสาหกรรม ยังสร้างความหิวโหยด้วยการเบียดขับและทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ, ซึ่งเป็นผู้ให้สารอาหาร.   ปฏิวัติเขียว ได้เบียดที่ถั่ว, ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ, ตลอดจนเมล็ดน้ำมัน, ผลคือ ลดสารอาหารต่อเอเคอร์.   พืชเชิงเดี่ยวไม่ได้ผลิตอาหารและสารอาหารมากขึ้น.  มันใช้สารเคมีและเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มากขึ้น, ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บริษัทเกษตรเคมีภัณฑ์และบริษัทน้ำมัน มีกำไรมากขึ้น.   มันให้ผลผลิตสูงสำหรับสินค้าแต่ละชนิด แต่ให้ผลลัพธ์ทางอาหารและสารอาหารลดลง.

Industrial chemical agriculture’s measures of productivity focus on labour as the major input while externalising many energy and resource inputs. This biased productivity pushes farmers off the land and replaces them with chemicals and machines, which in turn contribute to greenhouse gases and climate change. Further, industrial agriculture focuses on producing a single crop that can be globally traded as a commodity. The focus on “yield” of individual commodities creates what I call a “monoculture of the mind”. The promotion of so-called high-yield crops leads to the destruction of biodiversity.
มาตรวัดผลิตภาพของเกษตรเคมีอุตสาหกรรม มุ่งเน้นที่แรงงาน ว่าเป็นวัตถุดิบ ในขณะที่ทำให้พลังงานและทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบอื่นๆ ดูเป็นของไกลตัว.   ผลิตภาพที่ลำเอียงเช่นนี้ ผลักดันให้ชาวนาต้องละทิ้งที่ดิน และถูกแทนที่ด้วยเคมีภัณฑ์และเครื่องจักร, ซึ่งเป็นตัวการในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และภูมิอากาศผันผวน.   ยิ่งกว่านั้น, เกษตรอุตสาหกรรม เน้นที่ผลิตพืชเชิงเดี่ยว ที่สามารถจะค้าเป็นสินค้าทั่วโลก.   การเน้นที่ “ผลลัพธ์” ของสินค้าแต่ละชนิดได้สร้างสิ่งที่ฉันเรียกว่า “จิตใจเชิงเดี่ยว”.   การส่งเสริม สิ่งที่เรียกว่า พืชผลิตภาพสูง ได้นำความหายนะมาสู่ความหลากหลายทางชีวภาพ.

Biodiverse systems have higher output than monocultures, that is why organic farming is more beneficial for farmers and the earth than chemical farming.

Industrial chemical agriculture also causes hunger and malnutrition by robbing crops of nutrients. Industrially produced food is nutritionally empty but loaded with chemicals and toxins. Nutrition in food comes from the nutrients in the soil. Industrial agriculture, based on the NPK mentality of synthetic nitrogen, phosphorous and potassium-based fertilisers, lead to depletion of vital micro-nutrients and trace elements such as magnesium, zinc, calcium, iron.
เกษตรเคมีอุตสาหกรรมยังเป็นต้นเหตุของความหิวโหยและทุโภชนาการ ด้วยการขโมยพืชและสารอาหาร.   อาหารที่ผลิตด้วยกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม กลวงในสารอาหาร แต่เต็มไปด้วยสารเคมีและสารพิษ.   สารอาหารในอาหารมาจากแร่ธาตุในดิน.   เกษตรอุตสาหกรรม, ที่ฝังหัวเรื่อง เอ็น พี เค ของปุ๋ยสังเคราะห์ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และ โปตัสเซียม, ได้นำไปสู่การสูญหายไปของจุลธาตุอาหารสำคัญ เช่น แมกนีเซียม, สังกะสี, แคลเซียม, เหล็ก.

Biodiverse systems have higher output than monocultures, that is why organic farming is more beneficial for farmers and the earth than chemical farming.
ระบบความหลากหลายทางชีวภาพ อำนวยให้มีผลลัพธ์สูงกว่าเกษตรเชิงเดี่ยว, นี่คือ เหตุผลว่า ทำไม เกษตรอินทรีย์ จึงมีประโยชน์สำหรับชาวนาและผืนพิภพ มากกว่าเกษตรเคมี.

The increase in yields does not translate into more nutrition. In fact, it is leading to malnutrition. To get the required amount of nutrition people need to eat much more food.
ผลผลิตที่มากขึ้น ไม่ได้แปลว่าจะมีสารอาหารมากขึ้นด้วย.  ที่จริง, มันนำไปสู่ทุโภชนาการ.   เพื่อให้ได้สารอาหารมากพอกับความต้องการ คนต้องกินอาหารมากขึ้นมาก.

The most effective and low-cost strategy for addressing hunger and malnutrition is through biodiverse organic farming. It enriches the soil and nutrient-rich soils give us nutrient-rich food.
ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อแก้ปัญหาความหิวโหยและขาดอาหาร คือ เกษตรอินทรีย์หลากหลาย.   มันทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ และดินที่อุดมด้วยธาตุอาหาร ก็จะให้อาหารที่อุดมด้วยสารอาหารแก่เรา.

Earthworm castings, which can amount to four to 36 tons per acre per year, contain five times more nitrogen, seven times more phosphorus, three times more exchangeable magnesium, 11 times more potash and one-and-a-half times more calcium than soil. Their work on the soil promotes the microbial activity essential to the fertility of most soils. Soils rich in micro organisms and earthworms are soils rich in nutrients. Their products, too, are rich in nutrients. On an average, organic food has been found to have 21 per cent more iron, 14 per cent more phosphorous, 78 per cent more chromium, 390 per cent more selenium, 63 per cent more calcium, 70 per cent more boron, 138 per cent more magnesium, 27 per cent more vitamin C and 10-50 per cent more vitamin E and beta-carotene. And the more biodiversity on our farms, the more is the nutrition per acre, at little cost.
การเลี้ยงไส้เดือน, ซึ่งสามารถผลิตได้ถึง 4 - 36 ตันต่อเอเคอร์ ต่อปี, มีไนโตรเจนมากกว่าถึง ห้าเท่า,  ฟอสฟอรัสมากกว่าถึง เจ็ดเท่า, แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่าถึง สามเท่า, โปตัสเซียมมากกว่าถึง 11 เท่า และแคลเซียมมากกว่าหนึ่งเท่าครึ่ง เมื่อเทียบกับดิน.   การทำงานของไส้เดือนในดิน เป็นการส่งเสริมกิจกรรมของจุลชีพ ที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์.  ดินที่ร่ำรวยในจุลินทรีย์ และไส้เดือน เป็นดินที่ร่ำรวยในธาตุอาหาร.   ผลผลิตของมันก็จะร่ำรวยในคุณค่าอาหารด้วย.  โดยเฉลี่ย, พบว่า อาหารอินทรีย์มีเหล็กมากกว่าถึง 21%, ฟอสฟอรัสสูงกว่า 14%, โครเมียมสูงกว่า 78%, เซเลเนียมสูงกว่า 390%, แคลเซียมสูงกว่า 63%,  โบรอนสูงกว่า 70%, แมกนีเซียมสูงกว่า 138%, วิตามินซีสูงกว่า 27%, และวิตามินอีและเบตา-คาโรตีน สูงกว่า 10-15%.  และความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าในที่นาของเรา, สารอาหารมากกว่าต่อเอเคอร์, และต้นทุนเล็กน้อย.

Plants, people and the soil are part of one food web, which is the web of life. The test of good farming is how well it works to increase the health and resilience of the food web.
พืช, มนุษย์ และดิน เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่สายใยอาหาร, ซึ่งเป็นโยงใยแห่งชีวิต.  การทดสอบวิธีการทำเกษตรที่ดี คือ มันทำได้ดีแค่ไหนในการเพิ่มสุขภาพและความยืดหยุ่นของโยงใยอาหาร.

© 2012 The Asian Age
Description: Vandana Shiva
Dr. Vandana Shiva is a philosopher, environmental activist and eco feminist. She is the founder/director of Navdanya Research Foundation for Science, Technology, and Ecology. She is author of numerous books including, Soil Not Oil: Environmental Justice in an Age of Climate Crisis; Stolen Harvest: The Hijacking of the Global Food Supply; Earth Democracy: Justice, Sustainability, and Peace; and Staying Alive: Women, Ecology, and Development. Shiva has also served as an adviser to governments in India and abroad as well as NGOs, including the International Forum on Globalization, the Women’s Environment and Development Organization and the Third World Network. She has received numerous awards, including 1993 Right Livelihood Award (Alternative Nobel Prize) and the 2010 Sydney Peace Prize.
ดร.วันทนา ศิวะ เป็นนักปรัชญา, นักรณรงค์สิ่งแวดล้อม และนักสตรีนิยมเชิงนิเวศ.  เธอเป็นผู้ก่อตั้ง/ผู้อำนวยการของ มูลนิธิ การวิจัย นวธัญญะ เพื่อวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และนิเวศ.  เธอเขียนหนังสือมากมาย รวมทั้ง “ดินไม่ใช่น้ำมัน: ความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในยุควิกฤตภูมิอากาศ”, “การเก็บเกี่ยวที่ถูกปล้น: การจี้ปล้นแหล่งอาหารโลก”,  “ประชาธิปไตยพิภพ: ความยุติธรรม, ความยั่งยืน, และสันติภาพ”, และ “การมีชีวิตดำรงอยู่: ผู้หญิง, นิเวศ, และการพัฒนา”.  ศิวะ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลอินเดีย และในต่างประเทศ ตลอดจนเอ็นจีโอ, รวมทั้ง International Forum on Globalization, the Women’s Environment and Development Organization and the Third World Network.  เธอได้รับรางวัลมากมาย, รวมทั้ง รางวัลสัมมาอาชีวะ 1993 (๒๕๓๖) ซึ่งเทียบเคียงกับรางวัลโนเบล, และ รางวัลสันติภาพซิดนีย์ 2010 (๒๕๕๓).

Published on Tuesday, August 28, 2012 by The Asian Age
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น