วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

76. ทุนนิยมทำลายโลกอย่างไร? ซื้อนักการเมือง


Stop This Culture of Paying Politicians for Denying Climate Change
Protecting the environment requires a sweeping reform of political funding, only then corporations will stop throwing big money at senators
 by George Monbiot
หยุดวัฒนธรรมจ่ายนักการเมืองเพื่อปฏิเสธสภาวะผันผวนทางภูมิอากาศ
การปกป้องสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องปฏิรูปแบบล้มกระดานการให้ทุนทางการเมือง ... ทางเดียวที่บรรษัทจะหยุดฟาดหัว สว ด้วยฟ่อนเงิน
-ยอร์จ Monbiot

"The best lack all conviction, while the worst/Are full of passionate intensity." These words, from WB Yeats's poem The Second Coming, came to mind as I read the testimony from Wednesday's Senate hearings on climate change.
“คนยอดสุดขาดปณิธาน ในขณะที่คนแย่สุด ล้วนเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นเข้มข้น” นี่เป็นคำ จากบทกลอนของ WB Yeats “การมาครั้งที่สอง” ที่ผุดขึ้นในใจของผมในขณะที่อ่านคำให้การภายใต้คำสาบานในวันพุธ จากการรับฟังในวุฒิสภา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ

Republican senator James Inhofe told the environment and public works committee 'climate change is a hoax perpetrated on the American people'. (Photograph: Bill Clark/Getty Images)

They're not a precise description of what took place, as the two most eminent climate scientists who testified before the environment and public works committee, Christopher Field and James McCarthy, were not lacking in conviction. But they were, as scientists should be, careful and meticulous, laying out their evidence calmly and sequentially, saying nothing that was not supported by the data.
บทความดังกล่าว ไม่ได้บรรยายว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างเที่ยงตรง  ในขณะที่นักอุตุศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดสองคน ผู้ให้การต่อหน้าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและกิจสาธารณะคริสโตเฟอร์ ฟิลด์ และ เจมส์ แมคคาร์ธี—ไม่ได้ขาดปณิธาน/ความเชื่ออย่างแรงกล้า   แต่พวกเขา—ในฐานะนักวิทยาศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น—รอบคอบและถี่ถ้วน ในการเรียบเรียงหลักฐานอย่างสงบตามลำดับ ไม่ได้พูดสิ่งใดที่ข้อมูลของพวกเขาไม่สนับสนุน

By contrast, the Senate committee's ranking member (its most senior Republican), James Inhofe, spoke with the demagogic passion of a revivalist preacher. "The global warming movement has completely collapsed … the science of the United Nations Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) was finally exposed … The time has come to put these tired, failed policies to rest and embrace the US energy boom so that we can put Americans back to work, turn this economy around, become totally energy independent from the Middle East, and ensure energy security for years to come."
ในฝ่ายตรงข้าม คณะกรรมาธิการวุฒิสภา เจมส์ อินโฮฟ (รีพับลิกันอาวุโสที่สุด) พูดเร้าอารมณ์แบบนักเทศน์ปลุกกระแสศรัทธาขึ้นใหม่ว่า  “ขบวนการโลกร้อนล่มสลายหมดสิ้นแล้ว...ในที่สุด วิทยาศาสตร์ของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลของสหประชาชาติประเด็นภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (IPCC) ก็ถูกเปิดโปง... ถึงเวลาแล้วที่จะพับเก็บนโยบายที่เหนื่อยล้า และล้มเหลว เข้ากรุ และโอบอุ้มโอกาสทองด้านพลังงานของสหรัฐฯ ที่จะทำให้เรากอบกู้อเมริกาให้กลับมาทำงาน  หมุนเศรษฐกิจกลับ เป็นอิสระจากการพึ่งพลังงานจากตะวันออกกลางอย่างสิ้นเชิง และมั่นใจในความมั่นคงทางพลังงานตลอดไป”

In other words, Inhofe argued, we should take no action on climate change, which he has described as "the greatest hoax ever perpetrated on the American people".
พูดใหม่คือ อินโฮฟแย้งว่า เราไม่ควรทำอะไรในเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งเขาได้บรรยายว่า เป็น “เรื่องหลอกลวงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยยัดเยียดให้ประชาชนอเมริกัน”

Never mind the overwhelming evidence that has accumulated since the last Senate hearings in 2009; never mind the crazy temperatures the US has been experiencing recently, which have alerted many Americans to what climate change is likely to deliver in the decades to come; never mind the prominent sceptic Richard Muller's assessment of the evidence, which led to his change of heart. (It told us nothing we didn't know already, but it should at least have caused the deniers to stop and think).
ไม่ต้องไปสนใจหลักฐานอันล้นหลามที่ได้สะสมกันมา ตั้งแต่การรับฟังในวุฒิสภาครั้งก่อนในปี 2009   ไม่ต้องไปสนใจกับอุณหภูมิสติเฟื่องที่สหรัฐฯ กำลังประสบ ซึ่งได้ปลุกชาวอเมริกันมากมายให้ตื่นขึ้น และคาดเดาได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศน่าจะนำอะไรมาสู่พวกเราในทศวรรษหน้า   ไม่ต้องไปสนใจกับนักสงสัยตัวยง ริดชาร์ด มูลเลอร์ ผู้หลังจากประเมินหลักฐานที่นำเสนอแล้ว ก็ได้เปลี่ยนใจ   (มันไม่ได้บอกอะไรที่เราไม่รู้ แต่อย่างน้อย มันควรทำให้พวกนักปฏิเสธ หยุดสักนิด คิดสักหน่อย)

None of this makes the slightest difference to Inhofe. But how could it? Even if he were persuaded by the great weight of evidence for man-made climate change, changing his mind would be a very expensive decision. It could cost him his seat: not because it would necessarily be an unpopular shift – even in Oklahoma – but because it would jeopardise the massive flow of funds required to remain in high office in the US.
ไม่มีอะไรจากที่กล่าวข้างต้น ที่ทำให้อินโฮฟ เปลี่ยนสักนิด   แต่เขาจะเปลี่ยนได้อย่างไรเล่า?   ถึงแม้เขาจะถูกชักจูงให้เชื่อด้วยน้ำหนักอันมหาศาลของหลักฐานถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยน้ำมือมนุษย์  การเปลี่ยน/กลับใจของเขา ย่อมหมายถึงการตัดสินใจที่มีราคาแพงมากๆ    เขาจะต้องจ่ายด้วยเก้าอี้ของเขา: ไม่ใช่เพราะมันเป็นการขยับจุดยืนที่ไม่เป็นประชานิยม—แม้แต่ในโอกลาโฮมา—แต่ เพราะมันจะขัดขวางท่อเงินสายน้ำเลี้ยงมหาศาล ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการประคองให้เขาคงอยู่ในตำแหน่งสูงในสหรัฐฯ ได้ต่อไป

Take a look at Inhofe's campaign funding. The major source, contributing half a million dollars over the past five years, has been the oil and gas industry.
มาดูที่เงินทุนการรณรงค์หาเสียงของอินโฮฟกัน   แหล่งหลัก บริจาคเงินกว่าครึ่งล้านดอลลาร์ (๑๕ ล้านบาท) ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา คือ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส

Of his individual contributors, the biggest is Koch Industries – an oil, gas, minerals, timber and chemicals corporation, that is described by its owners, Charles and David Koch, as "the biggest company you've never heard of". They fund a number of anti-environmental and anti-tax lobby groups. They set up the organisation which founded the Tea Party movement.
ในบรรดาผู้บริจาครายตัว  โกช อินดัสตรี ที่ใหญ่ที่สุด—บรรษัทน้ำมัน แก๊ส แร่ธาตุ ไม้ซุง และสารเคมี—ที่เจ้าของ ชาร์ล และ เดวิด โกช บรรยายว่า เป็น “บริษัทที่ใหญ่ที่สุดที่คุณไม่เคยได้ยินมาก่อน”  พวกเขาได้ให้เงินแก่กลุ่มนักวิ่งเต้น (ล็อบบี้) ที่ต่อต้านสิ่งแวดล้อม ต่อต้านภาษี มากมาย   พวกเขาได้จัดตั้งองค์กรที่ก่อตั้ง Tea Party movement

The second biggest contributor is Murray Energy, that boasts it is "the largest privately owned coal company in America". The third is the oil and gas company Devon Energy. The fourth is the Contran Corporation, whose billionaire owner Harold Clark Simmons has a political profile similar to that of the Koch brothers.
ผู้บริจาคใหญ่ที่สุดรายที่สอง คือ เมอร์เรย์ เอ็นเนอร์ยี ที่คุยโม้ว่า มันเป็น “บริษัทถ่านหินเอกชนใหญ่ที่สุดในอเมริกา”    รายที่สาม คือ บริษัทน้ำมันและแก๊ส เดวอน เอ็นเนอร์ยี   รายที่สี่ คือ บรรษัท คอนทราน ที่เจ้าของเศรษฐีเงินพันล้าน แฮโรลด์ คลาร์ก ซิมมอนส์ มีประวัติการเมืองคล้ายๆ กับพี่น้องโกช

If Inhofe were to change his position on man-made global warming, is it credible that he would retain all this funding? No. He receives money from fossil fuel companies because he articulates the views to which these funders subscribe, and because he advances their interests in the Senate. Given that keeping your seat means spending a fortune on television advertising and other forms of campaigning, changing your views on a matter of great interest to your sponsors is likely to be political suicide.
หากอินโฮฟเกิดเปลี่ยนจุดยืนของเขาเรื่องโลกร้อนด้วยน้ำมือมนุษย์ เชื่อหรือไม่ว่าเขาจะสามารถรักษาสายเงินท่อน้ำเลี้ยงทั้งหมดไว้ได้?   ไม่ครับ   เขารับเงินจากบริษัทค้าเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ เพราะเขามีความสามารถในการเชื่อมโยง พูดชัด ชักจูงให้เชื่อมุมมองที่เจ้าของทุนเหล่านี้สั่ง  และเพราะเขาเป็นตัวผลักดันผลประโยชน์ของพวกเขาในวุฒิสภา   ที่แท้จริงคือ การรักษาเก้าอี้ของคุณ หมายถึง การจ่ายเงินจำนวนมหาศาลในการโฆษณาบนทีวี และรูปแบบอื่นๆ ในการรณรงค์  การเปลี่ยนมุมมองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์/ความสนใจของสปอนเซอร์ของคุณ น่าจะเป็นการฆ่าตัวตายทางการเมือง

For people like the Kochs, Murray Energy and Harold Clark Simmons, the money they give to politicians is small change. For environmental campaigns, contributions of this size would break the bank. The money available to big business means that there will always be a massive asymmetry of this kind in the potential for political funding. As a result, a political system which imposes no effective cap on campaign finance leads inexorably to plutocracy: governance on behalf of the richest people and corporations.
สำหรับคนเช่น โกช เมอร์เรย์ เอ็นเนอร์ยี และ แฮโรลด์ คลาร์ก ซิมมอนส์  เงินที่พวกเขาจ่ายให้นักการเมือง เป็นเพียงเศษเงินทอน    สำหรับการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เงินบริจาคขนาดนี้ จะทำให้ธนาคารแตกได้   เงินเหลือเฟือในมือธุรกิจใหญ่ๆ หมายความว่า จะมีความไม่สมมาตรในศักยภาพสำหรับให้ทุนสนับสนุนทางการเมือง   ผลคือ ระบบการเมืองที่ไม่มีการกำหนดบังคับขีดจำกัดที่มีประสิทธิภาพด้านการเงินเพื่อการรณรงค์ ได้นำไปสู่ระบอบการปกครองด้วยคนมั่งคั่งอย่างไม่มีทางหยุดยั้ง: การปกครองในนามของคนร่ำรวยที่สุด และบรรษัท

The first prerequisite for protecting the environment is a functioning democracy. In any other system, those with the most money to spend or, in other circumstances, the most thugs to deploy, win the political battles. The further from democracy a nation strays, the greater the opportunities to destroy the world's living systems, however unpopular that destruction may be.
เงื่อนไขประการแรกสุดเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม คือ ระบอบประชาธิปไตยที่ทำงานได้   ในระบบอื่นๆ พวกคนที่มีเงินจ่ายมากที่สุด หรือ ในสถานการณ์อื่น ที่สั่งเคลื่อนกองกำลังโหดเหี้ยมที่สุด  เพียงเพื่อให้ชนะสงครามการเมือง    ชาติพลัดหลงจากเส้นทางประชาธิปไตยไปไกลเท่าไร ก็จะเปิดโอกาสมากขึ้นให้ทำลายระบบชีวิตของโลก ไม่ว่า การทำลายล้างนั้น จะไม่เป็นที่นิยมแค่ไหนก็ตาม

The foremost threat to democratic values in countries like the US and the UK is the freedom with which billionaires and corporations can pay people and parties to represent their views. Protecting the environment, like protecting the welfare of a nation's poorest and weakest people, requires a sweeping reform of political funding, on both sides of the Atlantic.
ภัยคุกคามอันดับแรกต่อคุณค่าประชาธิปไตยในประเทศเช่น สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร คือ อิสรภาพที่เศรษฐีพันล้าน และบรรษัท สามารถจ่ายประชาชนและพรรคให้เป็นตัว (พูด) แทนมุมมองของพวกเขา   การปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับการปกป้องสวัสดิภาพของประชาชนที่ยากจนและอ่อนแอที่สุดของประเทศ  จำเป็นต้องมีการปฏิรูปชนิดล้มกระดานในการสนับสนุนทุนทางการเมือง ในทั้งสองฟากของ (มหาสมุทร) แอตแลนติค

© 2012 Guardian News and Media Limited

George Monbiot is the author of the best selling books The Age of Consent: a manifesto for a new world order and Captive State: the corporate takeover of Britain. He writes a weekly column for the Guardian newspaper. Visit his website at www.monbiot.com
George Monbiot เป็นนักเขียนหนังสือขายดีหลายเล่ม  “ยุคแห่งการยอมรับ: แถลงการณ์สำหรับระเบียบโลกใหม่” และ “รัฐนักโทษ: บรรษัทยึดครองสหราชอาณาจักร”  เขาเขียนคอลัมน์ประจำสัปดาห์สำหรับหนังสือพิมพ์ การ์เดียน

Published on Friday, August 3, 2012 by The Guardian/UK
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น