วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

91. เลิกทาสอาหารอุตสาหกรรม...ทวงสิทธิ์เข้าถึงอาหารที่แท้จริง





A Critical Mass for Real Food
The old logic of the slave plantation is still the logic of our industrial food system, 500 years in the making. There’s a new way of thinking taking off.
มวลวิกฤตเพื่ออาหารของจริง
ตรรกะเก่าของทาสในไร่สวน ยังเป็นตรรกะของระบบอาหารอุตสาหกรรมของเรา, 500 ปีที่ก่อตัวมา.  มีวิธีคิดใหม่ที่กำลังเหินฟ้าสู่สาธารณะ.
by Anim Steel
โดย อนิม สตีล

 (photo: Harsha KR. / Flickr)

Imagine that you are in room.  It’s about 30 by 30 feet. The floor is stone, and the walls and ceiling are a mix of stone and cement. They are a little damp, which you can smell but you can’t quite see. It’s pitch black except for the light that comes in from a low, arched doorway in whose frame is silhouetted an iron gate. When your eyes adjust to the darkness, you can see a narrow stretch of beach and the blue and gray of the ocean beyond.
ลองจินตนาการดูว่า คุณอยู่ในห้องของคุณ ขนาด 30 x 30 ฟุต.  พื้นเป็นหิน, และผนังและเพดานมีส่วนผสมของหินและซีเมนต์.   มันชื้นเล็กน้อย, ซึ่งคุณได้แต่กลิ่น มองไม่ค่อยเห็น.  มันมืดสนิทยกเว้นแสงที่ลอดมากจากช่องทางประตูโค้งเตี้ยๆ ผ่านเงาดำของกรงเหล็ก.  พอสายตาของคนเริ่มปรับตัวเข้ากับความมืดได้, คุณจะเห็นแนวชายหาดแคบๆ และมหาสมุทรน้ำเงิน-เทาที่อยู่ไกลออกไป.

This, a doorway in West Africa's Elmina Fort, is a Door of No Return. It is the last part of Africa you would touch if you were a slave being led from the dungeon to a waiting ship.
นี่เป็นช่องทางประตูใน เอลมินาฟอร์ต ในอาฟริกาตะวันตก, เป็นประตูที่ไม่มีทางหวนกลับ.  มันเป็นส่วนสุดท้ายของอาฟริกาที่คุณแตะต้อง หากคุณเป็นทาสที่กำลังถูกนำจากคุก ไปสู่เรือที่รออยู่.

I stood in front of this door a few years ago while visiting my family in Ghana. It is a place of sorrow and suffering. Countless human beings passed by this spot on their way to either a wretched death at sea or a life of bondage in the New World. They had been snatched up near their villages in slave raids; ripped from their families and everything they knew; shackled to others by the neck for a long march to coast; and thrown in a crowded, reeking dungeon for what might have been months until the next ship arrived. That was just the start of the journey.
ผมยืนอยู่หน้าประตูนี้เมื่อไม่กี่ปีก่อน ในขณะเยือนครอบครัวของผมในกานา.   มันเป็นสถานที่แห่งความเศร้าโศกและทุกข์เข็ญ.  มนุษย์นับจำนวนไม่ถ้วน เดินผ่านจุดนี้ ไปสู่เส้นทางที่อาจนำไปสู่ความตายพร้อมกับเรืออับปางในทะเล หรือ มีชีวิตขของทาสในโลกใหม่.   พวกเขาถูกฉกตัวในหมู่บ้านใกล้เคียง ในการจู่โจมกวาดเก็บทาส;  ทึ้งถอนพวกเขาจากครอบครัวและทุกอย่างที่พวกเขารู้จัก;  ล่ามโซ่เขาเข้ากับคนอื่นที่คอ ในการเดินขบวนทางไกลไปสู่ชายฝั่ง;   และถูกโยนเข้าไปในขุมอัดแน่น และมีกลิ่นเหม็น เป็นเวลาอาจหลายเดือน จนกว่าเรือลำถัดไปจะมาถึง.   นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทาง.

This door represents many things. As human beings, it represents our capacity for cruelty—as well as resilience. Many of the descendants of those who went through it not only survived, but went on to build the "New World" itself. They paved the way for every opportunity I have had in the United States, and I believe their story makes us all stronger.
ประตูนี้เป็นตัวแทนของหลายสิ่ง.  ในฐานะมนุษย์, มันเป็นตัวแทนของความสามารถของเราที่จะโหดร้าย—ตลอดจนยืดหยุ่น.   ลูกหลานหลายคนของผู้ที่ได้เดินผ่านมันไป ไม่เพียงแต่มีชีวิตรอด, แต่ได้เดินต่อไปเพื่อสร้าง “โลกใหม่”.   พวกเขาได้ปูทางสำหรับโอกาสทุกๆ อย่างที่ผมได้มีในสหรัฐฯ, และผมเชื่อว่า เรื่องราวของพวกเขาจะทำให้พวกเราเข้มแข็งขึ้น.
                                                          
But this door also represents a beginning—the beginning of our modern food system.
แต่ประตูนี้ ก็เป็นตัวแทนของการเริ่มต้นด้วย—การเริ่มต้นของระบบอาหารยุคใหม่ของเรา.

If, back in the 18th century, you could see all the way across the Atlantic, you would find an unbroken line of plantations that stretched from Buenos Aires to Baltimore. Down this entire line, slaves harvested sugar for British tea, rice for the West Indian consumption, and cotton for the textile mills of New England. These were vast monocrops that broke the body and ruined the soil—but made money for planters and big companies that traded the goods.
หากย้อนไปได้ในศตวรรษที่ 18, คุณจะสามารถเห็นตลอดทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค, คุณจะพบแปลงไร่เกษตรที่ไม่ขาดสายตลอดแนวตั้งแต่ บัวโนสไอเรส จนถึง บัลติมอร์.   ภายใต้ตลอดเส้นนี้, เหล่าทาสเก็บเกี่ยวน้ำตาลเพื่อชาอังกฤษ, ข้าวสำหรับการบริโภคแถบอินเดียนตะวันตก, และฝ้ายสำหรับโรงทอผ้าในนิวอิงแลนด์.   ทั้งหมดเป็นพืชเชิงเดี่ยวที่ทำลายองคพายพของดินจนแตกสลาย—แต่ทำเงินให้แก่เจ้าของไร่ และบริษัทใหญ่ๆ ที่ทำการค้าสินค้าเหล่านั้น.

Here, you see the logic of the modern industrial food system in its rawest form—a logic of prioritizing profit over human and environmental welfare.  A lot has changed in the 400 years since the Elmina Fort was built, but this principle has not gone away. The logic of the plantation is the logic of today’s industrial food system.
ณ ที่นี้, คุณจะเห็นตรรกะของระบบอาหารอุตสาหกรรมยุคใหม่ ในลักษณะดิบที่สุด—ตรรกะของการจัดลำดับ ให้ความสำคัญแก่กำไร เหนือสวัสดิภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม.   หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 400 ปี ตั้งแต่ ฟอร์ตเอลมินา ถูกสร้างขึ้น, แต่หลักการดังกล่าว ไม่ได้หายไปไหน.  ตรรกะของการทำไร่ใหญ่ เป็นตรรกะของระบบอาหารอุตสาหกรรมทุกวันนี้.

In this system, it is in the interest of the middleman—large companies that dominate the processing and distribution of food—to squeeze farmers and externalize costs. The industrial model may work for some things, but it's time to admit that it doesn’t work for food.  It doesn’t work for Lucas, a tomato-picker in Florida, who toils from dawn to dusk without protection or health care and still cannot escape poverty.  It’s not good for the farmers in Illinois who have nearly been bullied out of existence by Monsanto. It's not good for teenagers in Brooklyn who, when asked how many of them have diabetes or know someone with diabetes, raise every hand in the room. And it’s certainly not good for the 99 percent of us who are left holding the bag of rising health care costs.
ในระบบนี้, พ่อค้าคนกลางได้ประโยชน์—บริษัทใหญ่ๆ ที่มีอำนาจเหนือกระบวนการแปรรูปและการกระจายอาหาร—ในการบีบคั้นชาวนา และเขี่ยต้นทุนไว้ข้างนอกในที่ส่วนรวม.   โมเดลอุตสาหกรรมอาจทำงานได้ดีในบางอย่าง, แต่มันถึงเวลาแล้ว ที่จะยอมรับว่า มันใช้ไม่ได้สำหรับอาหาร.   มันใช้ไม่ได้สำหรับลูคัส, คนเก็บมะเขือเทศในฟลอริดา, ผู้เหน็ดเหนื่อยตั้งแต่รุ่งอรุณจนอาทิตย์ตกดิน โดยปราศจากการปกป้อง หรือการดูแลสุขภาพ และก็ยังไม่สามารถสลัดหนีจากความยากจนได้.   มันไม่ดีสำหรับชาวนาในมลรัฐอิลลินอยส์ ผู้เกือบถูกมอนซานโตรังแกจนต้องสูญหายไป.   มันไม่ดีสำหรับวัยรุ่นในบรู๊คลิน ผู้, เมื่อถูกถามว่า ในพวกเขา มีกี่คนที่เป็นเบาหวาน หรือ รู้จักใครที่เป็นเบาหวาน, ยกทุกมือขึ้นในชั้น.   และแน่นอน มันไม่ดีสำหรับพวกเรา 99% ผู้ถูกทอดทิ้งใหถือกระเป๋าของการบริการสุขภาพที่แพงขึ้นเรื่อยๆ.

It doesn’t work for anyone who wants—and needs—real food: food that nourishes the earth, communities, and individuals, both eaters and producers.
มันใช้การไม่ได้สำหรับใครก็ตามที่ต้องการ—และจำเป็นต้องมี—อาหารจริงๆ: อาหารที่หล่อเลี้ยงผืนพิภพ, ชุมชน, และปัจเจก, ทั้งคนกิน และ คนผลิต.

If the logic of the industrial system is based on profit, the logic of real food is founded on respect and balance. Real food isn't opposed to profit, but it is opposed to profits that aren't shared fairly with those who work the hardest to feed us.  The Door of No Return represents what’s we’re up against: a global industrial food economy 500 years in the making that exploits both people and land.
หากตรรกะของระบบอุตสาหกรรมมีฐานอยู่บนกำไร, ตรรกะของอาหารที่แท้จริง จะพบได้ในความเคารพและความสมดุล.  อาหารที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับกำไร, แต่มันตรงข้ามกับกำไรที่ไม่ได้ถูกแบ่งปันอย่างเป็นธรรมกับผู้ที่ทำงานหนักที่สุดเพื่อเลี้ยงพวกเรา.   “ประตูสู่ทางที่ไม่มีวันหวนกลับ” เป็นตัวแทนของสิ่งที่พวกเรากำลังลุกขึ้นต่อต้าน: ระบบเศรษฐกิจอาหารอุตสาหกรรมโลก ที่ดำเนินมา 500 ปี ที่กดขี่ ขูดรีด ทั้งประชาชน และผืนแผ่นดิน.

But there is also a second door: a wooden door on a busy London street below a hand-painted sign that reads “print shop.” You’d probably miss it if you were just passing by. If you were standing outside of it in one morning in 1787, you might have seen 12 men, mostly Quakers, go inside for a meeting.
แต่ก็ยังมีประตูที่สอง: ประตูไม้บนถนนลอนดอนที่จอแจ ที่อยู่ใต้ป้ายเขียนด้วยมือ “ร้านพิมพ์”.  คุณอาจหาไม่เจอหากคุณเพียงเดินผ่าน.   หากคุณยืนอยู่นอกประตูในเช้าวันหนึ่งในปี 1787, คุณอาจได้เห็นชาย 12 คน, ส่วนใหญ่เป็นพวกเคว็กเกอร์, เดินเข้าไปประชุมกันข้างใน.

That meeting sparked the beginning of the British Anti-Slavery Society, and the very first citizens' campaign of its kind. Its members ran petitions, lobbied parliament, and staged book tours, pioneering many of the social movement tactics we still use today. When those men walked through that door, the whole world economy was built on slave labor.
การประชุมนั้น ได้จุดประกายให้ก่อเกิดสมาคมต่อต้านทาสแห่งสหราชอาณาจักร, และเป็นการรณรงค์ของพลเมืองครั้งแรก.   สมาชิกยื่นคำร้อง, ล็อบบี้ในรัฐสภา, และจัดให้มีการท่องเที่ยวขายหนังสือ,  เป็นการบุกเบิกยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนสังคมหลายชุดที่พวกเรายังใช้กันอยู่ทุกวันนี้.   เมื่อชายเหล่านั้นเดินผ่านประตูบานนั้น, ระบบเศรษฐกิจทั้งโลกตั้งอยู่บนระบบแรงงานทาส.

In 10 years, this group of 12 swelled to hundreds of thousands. And in just a few decades, it did the unthinkable: It ended the slave trade throughout the British Empire.
ในช่วงเวลา 10 ปี, กลุ่ม 12 คน ได้ขยายตัวเป็นหลายแสน.  ในในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ, มันได้ทำสิ่งที่คิดไม่ถึง: มันได้ยุติการค้าทาสทั่วจักรวรรดิ์สหราชอาณาจักร.

To imagine a world without slavery then would be like imagining a world without oil today—and who would be crazy enough to propose that?
การจินตนาการโลกที่ปราศจากทาสในยุคนั้น ก็คงเหมือนกับการจินตนาการโลกที่ปราศจากน้ำมันในทุกวันนี้—และมีใครที่จะบ้าพอที่จะนำเสนอเช่นนั้น?

And yet in one generation, it came to pass. Those activists had no knowledge of the future, but they did have their conviction of what was right and what was wrong.
และในชั่วอายุคนหนึ่งรุ่น, มันก็เกิดขึ้นได้.   นักรณรงค์เหล่านั้น ไม่อาจรู้ได้ถึงอนาคต, แต่พวกเขามีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าของพวกเขาเองว่า อะไรถูก อะไรผิด.

This second door represents something that could be cliché if it weren’t demonstrably, factually true: that a small group of committed people can, in fact, change the world.
ประตูบานที่สอง เป็นตัวแทนของบางสิ่งบางอย่างที่อาจเป็นสำนวนคร่ำครึ หากไม่สามารถสาธิตได้ว่าเป็นจริง: ว่า กลุ่มเล็กๆ ของคนที่ตั้งใจมั่น, แท้จริง, สามารถเปลี่ยนโลกได้.

This is the spirit that sparked the Real Food Challenge: a project that re-imagines a cafeteria tray as a tool for social change. It's just one face of a larger movement that is pressing for a just and sustainable food economy.
นี่คือ สปิริตที่จดุประกาย  “การท้าทายอาหารที่แท้จริง” อันเป็นโครงการที่ จินตนาการใหม่ โดยใช้ถาดอาหารในโรงอาหาร เป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนสังคม.   มันเป็นเพียงหน้าหนึ่งของการขับเคลื่อนที่ใหญ่กว่า ที่ผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรม.

In 2006, I started to meet college students who were active on their campuses.  They were pushing for local food and asking for fair trade coffee and organic produce.  A group of us from all around the country, from Brown University to UC Santa Cruz, started talking and realized that we might accomplish more if we joined forces.
ในปี 2006 (๒๕๔๙), ผมเริ่มออกพบนักศึกษาที่ขยันทำกิจกรรมในรั้ววิทยาลัย.  พวกเขากำลังผลักดันให้เกิดระบบอาหารท้องถิ่น และเรียกร้องให้มีการค้าที่เป็นธรรมด้านกาแฟและผลิตภัณฑ์อินทรีย์.   พวกเรากลุ่มหนึ่ง มาจากทั่วประเทศ, จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ถึง ม.แคลิฟอร์เนีย-ซานตาครูส, ได้เริ่มคุย และตระหนักว่า เราอาจทำได้มากกว่านี้ หากเราผนึกกำลังกัน.

We realized that colleges and universities in this country spend over $5 billion each year to feed their students.  What if we could shift how that money was being spent? Instead of lining the pockets of the biggest and worst food companies, why not support smaller farms and socially responsible business? Why not invest in a real food economy?
เราตระหนักว่า วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในประเทศนี้ ใช้จ่ายกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ทุกปี ในการเลี้ยงดูนักศึกษาของตน.  อะไรจะเกิดขึ้น หากเราสามารถขยับวิธีการใช้เงินก้อนนี้?   แทนที่จะเลือกจากกระเป๋าของบริษัทอาหารที่ใหญ่ที่สุดและแย่ที่สุด, ทำไมไม่สนับสนุนเกษตรกรรายเล็ก และธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม?  ทำไมไม่ลงทุนในระบบเศรษฐกิจอาหารที่แท้จริง?

We thought that shift might actually be possible because students are paying customers of their schools.  But it would depend on strong leadership from students themselves.
เราคิดว่า การขยับตัวอาจเป็นไปได้ เพราะนักศึกษา เป็นลูกค้าที่จ่ายให้โรงเรียน.  แต่มันก็ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำที่เข้มแข็งจากนักศึกษาเองด้วย.

A Real Food Commitment
พันธะสัญญาเพื่ออาหารที่แท้จริง

Alex Sligar grew up in rural Washington State.  When he was a kid, his father lost his farm and ended up working in a nearby feedlot. Alex’s brothers both went into the military and served bravely in Iraq and Afghanistan. Alex was on the same track until he got inspired to serve his country in a different way—by joining the food movement. As a junior at Eastern Washington University, he started a campaign to buy more regional food for his campus so that hard-working people, like his dad, could continue to work the land with dignity.
อเล็กซ์ สลิการ์ เติบโตขึ้นในชนบทของมลรัฐวอชิงตัน.   เมื่อเขายังเด็ก, พ่อของเขาได้สูญเสียไร่นา และกลายเป็นแรงงานในโรงขุนอาหารสัตว์ที่อยู่ใกล้เคียง.   พี่ชายทั้งสองของอเล็กซ์เข้าปฏิบัติการในกองทัพ และแสดงความกล้าหาญในสมรภูมิอิรัค และ อัฟกานิสถาน.   อเล็กซ์ก็อยู่ในเส้นทางเดียวกัน จนกระทั่ง เขาได้รับแรงบันดาลใจให้รับใช้ชาติด้วยหนทางอื่น—ด้วยการเข้าร่วมขบวนการอาหาร.   ในฐานะที่เป็นนักศึกษาปีสาม ที่มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นวอชิงตัน, เขาได้เริ่มรณรงค์ให้ซื้ออาหารในภูมิภาค สำหรับวิทยาเขต เพื่อว่า ประชาสชนที่ทำงานหนัก, เช่นพ่อของเขา, จะสามารถทำงานในผืนดินของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี.

Alex was joined by another student named Mohamud Omar. Mohamud came from Somalia and had never considered himself an activist. But now, while famine ravaged his home country and his family faced obstacles to health and food access in the United States, Mohamud came to recognize food access as "the most important issue in my life right now.”
นักศึกษาอีกคนที่เข้าร่วมกับอเล็กซ์ คือ โมฮาหมัด โอมาร์.  โมฮาหมัด มาจากโซมาเลีย และไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นนักกิจกรรม.  แต่ตอนนี้, ในขณะที่ภาวะข้าวยากหมากแพง กำลังอาละวาดในประเทศบ้านเกิดของเขา และครอบครัวของเขาประสบอุปสรรคในการเข้าถึงสุขภาพและอาหารในสหรัฐฯ, โมฮาหมัด เริ่มตระหนักว่า การเข้าถึงอาหาร เป็น “ประเด็นสำคัญที่สุดในชีวิตของผมในขณะนี้”.

Together, Alex and Mohamud and their teammates have called for transparency in purchasing at their university, and have gained access to the cafeteria’s records.  Now they are urging the president to sign a "Real Food Commitment" that would dedicate at least 20 percent of the school's food budget to local, organic, and fair trade purchases.
ทั้งคู่ อเล็กซ์และโมฮาหมัด และเพื่อนร่วมทีม ได้เรียกร้องให้มีความโปร่งใสในการจัดซื้อที่มหาวิทยาลัยของพวกเขา, และได้รับอนุญาตให้เข้าถึงบันทึกของโรงอาหาร.  ตอนนี้ พวกเขากำลังขอให้อธิการบดีลงนามใน “พันธะสัญญาเพื่ออาหารที่แท้จริง”  ที่จะจัดสรรงบประมาณอาหารของมหาวิทยาลัย 20% เพื่อการจัดซื้ออาหารอินทรีย์ท้องถิ่น และการค้าที่เป็นธรรม.

In three years, the Real Food Challenge has built a network of 5,000 students like Alex and Mohamud at more than 350 schools. Students supported by the Real Food Challenge have won $45 million of real food purchasing commitments—including a commitment by the entire University of California system. We’re estimating that in 10 years, $45 million could become $1 billion of real food commitments—and that we could set a precedent for other kinds of institutions.
ในเวลาสามปี, “การท้าทายอาหารที่แท้จริง” ได้สร้างเครือข่ายนักศึกษาถึง 5,000 คน เช่น อเล็กซ์ และ โมฮาหมัด ในสถานศึกษากว่า 350 แห่ง.   นักศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจาก “การท้าทายอาหารที่แท้จริง” ได้รับชัยชนะ ในสัญญาการซื้ออาหารที่แท้จริง 45 ล้านดอลลาร์—รวมทั้งสัญญาจากระบบมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียทั้งหมด.  เราประมาณการว่า ในเวลา 10 ปี, สัญญาการซื้ออาหารที่แท้จริง 45 ล้านดอลลาร์ จะกลายเป็น หนึ่งพันล้านดอลลาร์—และว่า เราอาจกลายเป็นต้นแบบให้สถาบันอื่นทำตาม.

It’s about more than dollars.  It’s about the change that is happening on the ground. It’s about Alan, an apple farmer in Rhode Island who got a contract from Brown University. He was able to stay in business and is now selling apples to elementary schools as well.  It’s about Eliza, a hog farmer in North Carolina, which is ground zero for factory-farmed pigs. Unlike the factory farms around her, where the animals are confined in tight cages over lagoons of their own excrement, Eliza's pigs run free on their pasture. Students at UNC got the school to start buying her pork.  She’s now selling to five other institutions in the area.  Eliza and Alan and farmers like them are the backbone of the real food economy to come.
มันเป็นเรื่องมากกว่า หนึ่งดอลลาร์.  มันเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังเกิดขึ้นบนพื้นดิน.  มันเป็นเรื่องของอลัน, ชาวสวนแอปเปิล ในโรดไอส์แลนด์ ผู้ได้รับสัญญาจากมหาวิทยาลัยบราวน์.  ทำให้เขาสามารถจะทำธุรกิจของเขาต่อไปได้ และตอนนี้ กำลังขายแอปเปิลให้แก่โรงเรียนประถมด้วย.   มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เอลิซา, เกษตรกรเลี้ยงหมูในมลรัฐแคโรไลนาเหนือ, ซึ่งเป็นไข่แดงในย่านเลี้ยงหมูเชิงอุตสาหกรรม.   เธอเลี้ยงหมูต่างจากอุตสาหกรรมหมูรอบๆ ไร่ของเธอ, ซึ่งกักหมูไว้ในกรงคับแคบ เหนือบ่อที่รองรับการขับถ่ายของมัน.  หมูของเธอวิ่งเล่นเป็นอิสระในไร่ของเธอ.  นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย ได้เรียกร้องให้ซื้อเนื้อหมูจากเธอ.  ตอนนี้ เธอขายเนื้อหมูให้อีก ห้าสถาบันในพื้นที่นั้น.  เอลิซาและอลัน และเกษตรกรอื่นๆ เหมือนพวกเขา เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจอาหารที่แท้จริง.

This may be one of the fastest ways to catalyze change in the food system. Using existing budgets, we can strike at multiple roots of the problem.  Where demand is fragmented, we can organize it.  Where there is too little clarity, we can create transparency and accountability. Where policy is stalled, we can foster new leadership.
นี่อาจเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบอาหาร.  โดยการใช้งบที่มีอยู่, เราสามารถจะจู่โจมที่หลายๆ รากเหง้าของปัญหา.   ในที่ๆ อุปสงค์/ความต้องการ กระจัดกระจาย, เราสามารถจะจัดระเบียบมัน.   ในที่ๆ มีความชัดเจนน้อยมาก, เราสามารถทำให้เกิดความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ.   ในที่ๆ นโยบายหยุดชะงัก, เราสามารถสร้างภาวะผู้นำใหม่ให้เกิดขึ้น.

It’s a different kind of activism.  Instead of voting with one dollar, we’re voting with a billion. Instead of a boycott, we’re mounting a “pro-cott,” strategically investing in the kind of food system that will advance social, economic, and environmental justice.
มันเป็นกิจกรรมที่ต่างออกไป.  แทนที่จะลงคะแนนด้วยเงินหนึ่งดอลลาร์, เรากำลังลงคะแนนเสียงกับหนึ่งพันล้าน.   แทนที่จะคว่ำบาตร, เรากำลังใช้ยุทธวิธี “หงายบาตร”, ที่ลงทุนด้วยยุทธศาสตร์ในระบบอาหารที่จะผลักดันสู่ความเป็นธรรมทางสังคม, เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม.

If we succeed, we will see a profound transformation in the way our food is produced and consumed. Vacant lots will become vibrant gardens.  Family farms and food traditions will thrive.  Hard work will be fairly rewarded.  Our climate and planet will sustain us.  All people will have access to food that is nourishing.
หากเราสำเร็จ, เราจะเห็นการแปรเปลี่ยนที่ลึกล้ำในวิถีที่อาหารของเราถูกผลิต และถูกบริโภค.   แปลงดินที่ว่างเปล่า จะกลายเป็นสวนที่มีชีวิตชีวา.   ไร่ครอบครัวและอาหารตามประเพณีนิยมจะเจริญงอกงามอีกครั้ง.  การทำงานหนักจะได้รับรางวัลที่เป็นธรรม.   ภูมิอากาศและโลก จะเจือจุนชีวิตของเรา.  ประชาชนทั้งหลายจะเข้าถึงอาหารที่หล่อเลี้ยงกายและใจ.

I think food is an incredible thing.  I can’t think of anything else that connects us more intimately to each other and the earth, not to mention our health and our heritage.
ผมคิดว่า อาหารเป็นสิ่งเหลือเชื่อ.  ผมไม่สามารถคิดถึงสิ่งอื่นใดที่เชื่อมโยงพวกเราให้ใกล้ชิดกัน และกับโลก, นี่ยังไม่เอ่ยถึงสุขภาพของเราและมรดกที่ตกทอดมา.

Archimedes said : Give me a lever long enough, and a place to stand, and I can move the world.  Real food is that lever.  Let’s take a stand.
อาร์คิเมดิส บอกว่า : ให้คานงัดที่ยาวพอกับข้าซิ, และจัดที่ให้ข้ายืน, แล้วข้าจะทำให้โลกเคลื่อนได้.  อาหารที่แท้จริงคือ คานงัด.  ขอให้พวกเราลุกขึ้นยืนยันจุดยืน.

This article was adapted from a speech delivered to the 2011 Bioneers conference.

Anim Steel is director of national programs and co-founder of The Food Project (TFP). Prior to his work with TFP, Anim was a consultant with Economic Development Assistance Consortium. He was a 1997 Coro Fellow in Public Affairs, is 2010 Hunt Prime Movers Fellow, and was recently selected for an Echoing Green Social Entrepreneurship.
อนิม สตีล เป็นผู้อำนวยการของโครงการระดับชาติ และผู้ร่วมก่อตั้ง โครงการอาหาร (TFP).  ก่อนที่เขาจะทำงานกับ TFP, อนิมทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับ Economic Development Assistance Consortium.  เขาเป็น Coro Fellow ในสาขากิจสาธารณะ ในปี 1997 (๒๕๔๐), Hunt Prime Movers Fellow ในปี 2010 (๒๕๕๓), และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับเลือกสำหรับ Echoing Green Social Entrepreneurship (การเป็นผู้ประกอบการสังคม/สังคมวิสาหกิจ เขียว).

ดรุณีแปล

90. น้ำแล้งกินผัก...เตรียมรับมือ สงครามน้ำ




Report: Water Scarcity Necessitates Near Vegetarian Diet
รายงาน:  การขาดแคลนน้ำทำให้จำเป็นต้องเข้าใกล้มังสวิรัติ
 - Common Dreams staff
 -คณะทำงานคอมมอนดรีมส์

By 2050 there will not be enough water in the world to continue the global trends of a Western-style, high animal protein diet. Rather, a primarily vegetarian diet is necessary to address growing water insecurity, according to a report released to coincide with the 2012 World Water Week in Stockholm from August 26-31.
ภายในปี 2050 (๒๕๙๓) โลกจะไม่มีน้ำเพียงพอให้ชาวโลกกินตามแบบชาวตะวันตกอีกต่อไป คือ อาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง.   อาหารที่ประกอบด้วยผักเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อแก้ปัญหาความไม่มั่นคงของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น, ตามรายงานที่เพิ่งเผยแพร่ ในเวลาเดียวกับสัปดาห์น้ำโลก 2012 (๒๕๕๕) ที่สต็อคโฮม ระหว่าง 26-31 สิงหาคม.

 A bacon cheeseburger -- not on the menu in 2050. (photo: urban.houstonian / Flickr)

In part of the report, Food Security: Overcoming Water Scarcity Realities, Malin Falkenmark, Senior Scientific Advisor to the Stockholm International Water Institute (SIWI), writes that almost half the world population will be living in chronic water shortage, and that sustainable water consumption means eating a diet with no more than 5% of calories coming from animal protein:  
ในรายงาน, ความมั่นคงทางอาหาร: ความจริงในการเอาชนะการขาดแคลนน้ำ, มาลิน ฟอลเคนมาร์ค, ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันน้ำระหว่างประเทศแห่งสต็อคโฮม, เขียนว่า ประชากรโลกเกือบครึ่ง จะดำรงชีพภายใต้ภาวะขาดแคลนน้ำเรื้อรัง, และการบริโภคน้ำอย่างยั่งยืน หมายถึง การกินอาหารที่มีแคลอรีจากโปรตีนสัตว์ได้ไม่เกิน 5%.

"[T]here will not be enough water available on current croplands to produce food for the expected population in 2050 if we follow current trends and changes towards diets common in Western nations (3,000 kcal produced per capita, including 20 per cent of calories produced coming from animal proteins). There will, however, be just enough water, if the proportion of animal based foods is limited to 5 per cent of total calories and considerable regional water deficits can be met by a well organised and reliable system of food trade."
“จะไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับที่ดินเพาะปลูกปัจจุบัน เพื่อการผลิตอาหาร สำหรับประชากรที่คาดไว้ในปี ๒๕๙๓ หากเรายังมีแนวโน้มการกินตามแบบประเทศตะวันตก (ใน 3,000 กิโลแคลอรีที่ผลิตต่อหัว, มีแคลอรีจากโปรตีนสัตว์ 20%).   แต่จะมีน้ำแค่พอเพียง หากลดสัดส่วนของอาหารทำจากสัตว์ให้เหลือเพียง 5% ของแคลอรีทั้งหมด และมีการควบคุมการขาดดุลน้ำระดับภาคพื้น ด้วยการจัดระบบการค้าอาหารให้ดีและเชื่อถือได้”.

Describing a revealing exhibition at the Stockholm conference on the water-heavy resource of animals raised for food production, Thalif Deen writes in Inter Press Service, "[T]he production of an average hamburger – two slices of bread, beef, tomato, lettuce, onions and cheese – consumes about 2,389 litres of water, compared to 140 litres for a cup of coffee and 135 for a single egg."
ในการบรรยายนิทรรศการในที่ประชุมที่สต็อคโฮม เรื่อง การผลิตอาหารด้วยการเลี้ยงสัตว์ที่ใช้น้ำมาก, ธาลิฟ ดีน เขียน, “ในการผลิตแฮมเบอร์เกอร์ชิ้นหนึ่ง—ขนมปังสองแผ่น, เนื้อวัว, มะเขือเทศ, ผักกาดหอม, หัวหอม และเนยแข็ง—ต้องใช้น้ำ ประมาณ 2,389 ลิตร, เทียบกับ 140 ลิตร สำหรับกาแฟหนึ่งถ้วย และ 135 ลิตรสำหรับไข่ฟองเดียว.”

"An average meal of rice, beef and vegetables requires about 4,230 litres of water while a chunky, succulent beef steak, a staple among the rich in the world’s industrial countries, consumes one of the largest quantum of water: about 7,000 litres," writes Deen.
“โดยเฉลี่ย มื้อหนึ่งๆ ที่ประกอบด้วยข้าว, เนื้อวัว และผัก ต้องใช้น้ำ 4,230 ลิตร ในขณะที่ชิ้น สเต็กเนื้อที่ หนานุ่ม, อันเป็นอาหารหลักของคนรวยในประเทศซีกโลกอุตสาหกรรม, เป็นเมนูหนึ่งใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 7,000 ลิตร”.

The analysis also foresees a future with "virtual water trade" and competition over increasingly scarce water resources.
บทวิเคราะห์ได้เห็นอนาคตของการ “ค้าน้ำ” และการแย่งชิงทรัพยากรน้ำซึ่งจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น

From Food Security: Overcoming Water Scarcity Realities:



Published on Monday, August 27, 2012 by Common Dreams
ดรุณีแปล

88. อนาคต ธนาคารกรามีน มั่นคงแค่ไหน




Bangladesh ‘Fixes’ Grameen Microcredit
By Naimul Haq
บังคลาเทศ “ซ่อม” สินเชื่อจิ๋ว กรามีน
โดย นัยมูล ฮัค

Laboni (left) checks product quality at her lingerie unit. Credit: Naimul Haq/IPS

DHAKA, Aug 15 2012 (IPS) –
Laboni Vhoumik’s lingerie manufacturing unit in the Gopai village of Noakhali district, about 180 km outside the capital, is a forceful argument in favour of the Grameen Bank microcredit model that fosters female entrepreneurship and also relies on it.
หน่วยผลิตชุดชั้นในของ ลาโบนิ วฮูมิก ในหมู่บ้านโกไป อ.เนาคาลิ, ประมาณ 180 กม นอกเขตเมืองหลวง, เป็นข้อโต้แย้งที่ทรงพลังสนับสนุนโมเดลสินเชื่อจิ๋วของธนาคารกรามีน ที่ได้เอื้อให้เกิดผู้ประกอบการหญิง และก็พึ่งหญิงเหล่านี้ด้วย.

But the Grameen Bank is itself under threat of creeping government control sparking a storm of protests by entities ranging from women’s rights groups to the state department of the United States.
แต่ตัว ธ.กรามีน เองกลับถูกคุกคาม จากการคืบคลานเข้ามาบงการโดยรัฐบาล ซึ่งได้จุดประกายให้เกิดพายุการประท้วง จากฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่กลุ่มสิทธิสตรี จนถึง กระทรวงของสหรัฐฯ.

Vhoumik, 36, started out in 2003 with nothing to commend her except tailoring skills. Today, she runs a production unit which employs 12 women and supplies quality undergarments to several major retailers in Noakhali and the adjacent districts.
วฮูมิก, 36, เริ่มต้นในปี 2546 ด้วยไม่มีอะไรที่จะแนะนำตัวเธอนอกจากฝีมือตัดเย็บ.  ทุกวันนี้, เธอดูแลหน่วยการผลิตที่จ้างหญิง 12 คน และส่งชุดชั้นในคุณภาพดีให้สายขายปลีกสำคัญๆ หลายแห่งใน เนาคาลิ และในอำเภอใกล้เคียง.

Joining a local non-government organisation (NGO), Noakhali Rural Development Services (NRDS), helped Vhoumik to borrow Taka 4000 (then about 45 dollars) to buy her first sewing machine.
การเป็นสมาชิกของเอ็นจีโอ, บริการพัฒนาชนบทแห่งเนาคาลิ, ได้ช่วยให้ วฮูมิก ได้ยืมเงินประมาณ 1,350 บาท เพื่อซื้อจักรเย็บผ้าตัวแรกของเธอ.

“We counsel and offer free training to promote such small entrepreneurships. The idea is to ensure that the borrowed money is properly utilized,” Mohammad Kaiser Alam, NRDS microcredit programme coordinator, told IPS.
“เราให้คำปรึกษาและอบรมฟรี เพื่อส่งเสริมกิจการเล็กๆ เช่นนี้.  จุดประสงค์ คือ ทำให้แน่ใจว่า เงินที่กู้ยืมไปนั้น จะถูกใช้อย่างเหมาะสม,” โมฮัมหมัด ไกเซอร์ อลาม, ผู้ประสานงาน โครงการสินเชื่อจิ๋ว NRDS

Vhoumik now earns about 238 dollars a month, which is considered handsome in her village. She also has large savings and recently paid for some major repairing of her home.
ตอนนี้ วฮูมิก มีรายได้เดือนละประมาณ 7,140 บาท, ซึ่งนับว่าดีมากในหมู่บ้านของเธอ.   เธอยังมีเงินออมถุงใหญ่ และเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้จ่ายเพื่อซ่อมบ้านของเธอครั้งใหญ่.

Her group of 65 members discusses social and family problems as well as members’ progress with their business or problems or outstanding loans.
สมาชิก 65 คนในกลุ่มของเธอ มีการถกกันถึงปัญหาสังคม และครอบครัว รวมทั้ง ความก้าวหน้า หรือ ปัญหาของสมาชิกในธุรกิจ หรือ ปัญหาเงินกู้.

Members rarely default as the group is responsible as guarantor for the loans.
สมาชิกไม่ค่อยจะทำผิดสัญญา เพราะทั้งกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้.

But this simple business model that has worked to lift thousands of Bangladeshi women out of poverty is now under threat because one of its pioneers, the Grameen Bank, is undergoing changes at the helm that will allow greater government control.
แต่โมเดลธุรกรรมง่ายๆ นี้ ที่ได้ช่วยยกฐานะของหญิงบังคลาเทศหลายพันคนให้พ้นจากความยากจนนี้ กำลังถูกคุกคาม เพราะหนึ่งในผู้บุกเบิก, ธ.กรามีน, กำลังเปลี่ยนผู้นำ ที่จะยอมให้รัฐบาลควบคุมได้มากยิ่งขึ้น.

The government owns three percent of Grameen Bank, but by suitably changing the ‘Grameen Bank Ordinance’ the new state-appointed chairman will be able to appoint its chief executive officer.
รัฐาลเป็นเจ้าของ ธ.กรามีนอยู่ 3%, แต่ด้วยการเปลี่ยน “พรบ ธ.กรามีน” ประธานที่รัฐแต่งตั้ง จะสามารถแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าพนักงานฝ่ายบริหารได้.

“This represents a de facto imposition of government control of the bank; in other words, the poor women, who are also its owners, are being deprived of their right to manage their own bank and are being made powerless,”  says a statement issued by 60 of Bangladesh’s leading civil society representatives.
“อันนี้แสดงว่า รัฐบาลยัดเยียดการควบคุม ธ.นาคาร โดยพฤตินัย.  อักนัยหนึ่ง, หญิงยากจน, ซึ่งก็เป็นเจ้าของด้วย, กำลังถูกเบียดสิทธิ์ในการจัดการธนาคารของพวกเธอเอง และกำลังถูกกดไม่ให้มีอำนาจ,” จากแถลงการณ์ที่ลงนามโดย ผู้แทนภาคประชาสังคมของ 60 องค์กรแนวหน้าของบังคลาเทศ.

“Grameen Bank is unique in the world for being owned by impoverished women. Representatives of the 8.4 million women borrowers sit on the board of the bank and have participated over the years in its decision making, unlike any other bank in the world,” the statement said.
“ธ. กรามีน มีเอกลักษณ์ของตนในโลก ในฐานะที่มีหญิงยากจนเป็นเจ้าของ.  ผู้แทนของหญิงผู้กู้ยืม 8.4 ล้านคน นั่งอยู่ในบอร์ดของธนาคาร และตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ, ต่างกับธนาคารอื่นๆ ในโลก,” ดังกล่าวในแถลงการณ์.

Shireen Huq, one of the signatories to the statement, told IPS “there is no reason to believe that the changes (to Grameen Bank) are being made with good intent.”
ชิรีน ฮัค, หนึ่งในผู้ร่วมลงนาม, กล่าวต่อ IPS “ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ (ใน ธ.กรามีน) ได้กระทำด้วยความตั้งใจที่ดี.”

Huq, a leading women’s rights activist and founder of the NGO ‘Naripokkho’, said the proposed amendment to the Grameen Bank’s constitution gives the chairman of the board the authority to form a three-member selection committee. “In other words, the majority board members will be in effect disenfranchised.
ฮัค, หนึ่งในนักรณรงค์สิทธิสตรีแนวหน้า และผู้ก่อตั้งเอ็นจีโอ “นารีโป๊คคอ”, กล่าวว่า การแก้ไขธรรมนูญของ ธ,กรามีน ทำให้ประธานบอร์ด มีอำนาจที่จะจัดตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งที่ประกอบด้วยกรรมการ ๓ คน. “อีกนัยหนึ่ง, สมาชิกส่วนใหญ่ของบอร์ดจะถูกตัดสิทธิ์โดยสิ้นเชิง.

“The government’s appointment of a person known for his animosity towards Prof. Muhammad Yunus (Grameen Bank’s founder) as the chairman did not bode well for the institution,” Huq told IPS.
“การที่รัฐบาลแต่งตั้งบุคคลที่รู้กันทั่วว่า มีความเกลียดชังต่อ ศ.มูฮัมหมัด ยานุส (ผู้ก่อตั้ง ธ.กรามีน) ให้เป็นประธาน เป็นสัญญาณไม่ดีต่อสถาบัน,” ฮัคกล่าว.

“This move would diminish the role the largely female borrower-shareholders play in shaping the direction of an institution that has made a difference to millions of impoverished women in Bangladesh, and indeed around the world,” the statement said.
“การขยับตัวเช่นนี้ จะลดบทบาทของหญิงผู้ถือหุ้น-กู้ยืม ในการกำหนดทิศทางของสถาบัน ที่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างแก่หญิงยากจนนับล้านในบังคลาเทศ, และอันที่จริง ทั่วโลก,” ดังกล่าวในแถลงการณ์.

“We are concerned that the latest actions by the government could threaten the future of the bank which was founded by Nobel peace prize laureate Prof.  Muhammad Yunus,” Ventrell said.
“เราเป็นกังวลว่า การกระทำของรัฐบาล อาจเป็นการคุกคามอนาคตของธนาคาร ที่ก่อตั้งโดย ศ.มูฮัมหมัด ยานุส ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ,” เวนเทรล กล่าว.

The plan by the government to increase its role in Grameen Bank has sparked a furious debate in Bangladesh that has pitted economists who favour microcredit as a development tool against those who believe that it is not effective enough.
แผนของรัฐบาลในการขยายบทบาทของ ธ.กรามีน ได้จุดประกายการถกเถียงอย่างดุเดือดรุนแรงในบังคลาเทศ เป็นเหตุให้นักเศรษฐศาสตร์ผู้ค่อนไปทางการใช้สินเชื่อจิ๋ว เป็นอุปกรณ์เพื่อการพัฒนา ปะทะ กับผู้ที่เชื่อว่า มันยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ.

Prof. Abul Barkat, who head the economics department at Dhaka University’s  told IPS that microcredit reaches only small portion of the poor people. “Hardcore poor who need most attention remain out of the reach of such services and who are considered having no potential of repaying loans.”
ศ.อบุล บาร์กัท, คณบดีของคณะเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยดักกา กล่าวว่า สินเชื่อจิ๋วถึงมือคนจนเพียงส่วนน้อย.  “คนจนสุดๆ ผู้ต้องการความสนใจมากที่สุด กลับยังเข้าไม่ถึงบริการดังกล่าว และพวกนี้ ถูกมองว่า ไม่มีศักยภาพที่จะคืนทุนเงินกู้ได้.”

“Out of Bangaldesh’s 150 million population, 98.9 million are poor, 47 million are middle class and 4.1 million are rich people. Out of the 98.9 million, 50 percent form the hardcore poor and remain in the lower bottom. Microcredit only reaches the upper half of the poor who are the potential target group of the NGOs,” the economist explained.
“ในประชากรทั้งหมด 150 ล้านคนของบังคลาเทศ, เป็นคนจน 98.9 ล้านคน, 47 ล้านคนเป็นชนชั้นกลาง และ 4.1 ล้านคนเป็นคนรวย.  ใน 98.9 ล้านคน, ครึ่งหนึ่งเป็นคนจนสุดๆ และยังติดอยู่ในชั้นล่างๆ.   สินเชื่อจิ๋ว เข้าถึงคนจนชั้นบนเท่านั้น ผู้เป็นอาจเป้าหมายของเอ็นจีโออยู่แล้ว,” นักเศรษฐศาสตร์อธิบาย.

According to Barkat economically the upper half of the poor (49.4 million) who get microcredit facilities “bounce in their own orbit” and they “neither come out of poverty nor slide down to the hardcore poor group.”
ตามความเห็นของบาร์กัท ในเชิงเศรษฐกิจ คนจนชั้นบน (49.4 ล้าน) ผู้ได้รับความช่วยเหลือสินเชื่อจิ๋ว “เด้งอยู่ในวงโคจรของพวกตน” และพวกเขา “ไม่ได้หลุดพ้นจากความยากจน หรือ ไถลลงสู่กลุ่มยากจนสุดๆ.”

Qazi Kholiquzzaman Ahmad, another noted economist, told IPS that he has rarely seen poor people getting significant benefit from microcredit programmes. “One of my own studies shows only seven percent of the borrowers actually coming out of poverty from microcredit.”
กาซิ อาห์หมัด, นักเศรษฐศาสตร์อีกคนหนึ่ง, กล่าวว่า เขาไม่ค่อยเห็นว่า คนจนได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากโครงการสินเชื่อจิ๋ว.   “งานศึกษาชิ้นหนึ่งของผม แสดงให้เห็นว่า มีคนกู้ยืมเพียง 7% เท่านั้น ที่หลุดพ้นจากความยากจนได้เพราะสินเชื่อจิ๋ว.”

Ahmad, who currently chairs Palli Karma-Sahayak Foundation or PKSF, said his 2008 study showed that fewer than ten percent of the total 23 million borrowers in the country actually came out of poverty. “This means that microcredit programmes are not always sustainable in poverty alleviation.”
อาห์หมัด, ผู้เป็นประธานปัจจุบันของมูลนิธิ PKSF, กล่าวว่า งานศึกษาปี 2551 ของเขา ได้แสดงว่า ผู้กู้ยืมน้อยกว่า 10% จากทั้งหมด 23 ล้านคนในประเทศ ได้หลุดพ้นจากความยากจน. “นี่หมายความว่า โครงการสินเชื่อจิ๋ว ไม่ยั่งยืนเสมอไปในการบรรเทาความยากจน.”

But, the PKSF itself was launched by the government in 1990 to build on the success of private players and now has over 250 partner organisations (small NGOs) and has 8.6 million borrowers.
แต่, PKSF เอง เป็นโครงการที่รัฐบาลเปิดขึ้นในปี 2543 เพื่อต่อยอดความสำเร็จของเอกชน และตอนนี้ก็มีองค์กรภาคี (เอ็นจีโอเล็กๆ) กว่า 250 แห่ง และมีผู้กู้ยืม 8.6 ล้านคน.

Mohammad Hasan Ali, founder and executive director of Pally Bikash Kendra, an NGO that operates microcredit programmes in the northwestern districts, told IPS that the steady growth in borrowings and repayments showed the robustness of the model.
โมฮัมหมัด ฮัสซาน อาลี, ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการบริหารของ Pally Bikash Kendra, ซึ่งเป็นเอ็นจีโอหนึ่งที่ดำเนินโครงการสินเชื่อจิ๋ว ในอำเภอตะวันตกเฉียงเหนือ, กล่าวว่า การขยายตัวอย่างต่อเนื่องในการกู้ยืม และคืนทุน แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของโมเดล.

“Surely the poor are borrowing because they are getting some benefit in one way or another,” Ali said.
“แน่นอน คนจนกู้ยืม เพราะพวกเขาได้รับประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง,” อาลีกล่าว.

What is important, most economists agree, is that the small borrowings made through NGOs have eliminated traditional village moneylenders who charged usuriously high rates of interest and increased the debt burden of the poor.
“สิ่งสำคัญ, นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วย, คือ การกู้ยืมน้อยๆ ผ่านเอ็นจีโอ ได้ขจัดคนปล่อยเงินกู้แบบเดิมๆ ในหมู่บ้าน ผู้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงมาก และเพิ่มภาระหนี้ให้แก่คนจน.

The real success of microcredit, economists say, lies in the fact that it integrates other programmes like health and hygiene, education, water and sanitation, social safety, legal aid, human rights and other basic issues with the lending process.
ความสำเร็จที่แท้จริงของสินเชื่อจิ๋ว, นักเศรษฐศาสตร์กล่าว, อยู่ในความจริงที่ว่า มันผนวกโครงการแบบอื่นๆ เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, น้ำและสุขอนามัย, ความปลอดภัยทางสังคม, การช่วยเหลือทางกฎหมาย, สิทธิมนุษยชน และประเด็นพื้นฐานอื่นๆ อยู่ในกระบวนการกู้ยืม.

S. M. Ali Aslam, executive director of ADAMS, an NGO operating in the southwestern districts, told IPS, “There is no doubt that the NGOs took the leadership in providing financial security to the poor when the  state failed to offer any secure economic programme.”
เอส.เอ็ม.อาลี อัสลาม, ผู้อำนวยการบริหารของ ADAMS, เอ็นจีโอที่ดำเนินการในอำเภอตะวันตกเฉียงใต้, กล่าว.  “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เอ็นจีโอได้เป็นผู้นำในการให้ความมั่นคงทางการเงินแก่คนจน เมื่อรัฐล้มเหลวในการให้โครงการเศรษฐกิจที่มั่นคงใดๆ.”

Aslam added that foreign donors continue to support microcredit programmes in Bangladesh “because they work.”
อัสลาม เสริมว่า ผู้ให้ทุนต่างชาติ ยังคงสนับสนุนโครงการสินเชื่อจิ๋วต่อไปในบังคลาเทศ “เพราะมันใช้การได้.”

ดรุณีแปล