วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

301. “อนาคตในโบราณกาล” : บทเรียนจาก ส้วม


 301. “Ancient Future” : Lesson from Toilet

Ladakh Invites New Scarcities
ลาดัคเชื้อเชิญความขาดแคลนยุคใหม่
โดย อธาร์ ปาร์เวศ

ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Tourism is adding to the strain on natural resources in Leh. Credit: thar Parvaiz/IPS
การท่องเที่ยวเพิ่มภาระแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเมืองเลห์

LADAKH, India, Sep 24 2013 (IPS) - The Ladakh of today is a different world from the one Skarma Namgiyal remembers as a child. Back then, he had taken for granted the breathtaking beauty of its landscape, the purity of the cold mountain air, and the sweet taste of water in its streams.
ลาดัค, อินเดีย—ลาดัควันนี้ เป็นโลกที่ต่างจากดินแดนที่ สกรรมา นัมกิยัล จำได้สมัยเด็ก.  สมัยนั้น, เขาถือเบาภูมิทัศน์ที่สวยงามตระการตา, ความบริสุทธิ์ของอากาศหนาวเย็นแห่งขุนเขา, และรสหวานเย็นฉ่ำของสายน้ำในลำธาร.
Today, at 47 years of age, this resident of Tukcha village in Leh district in the north of Kashmir cannot believe they are digging borewells for water, using water to flush toilets in their homes in place of the dry toilets they had been accustomed to, and having to cope with sewage flowing right up to their houses.
ณ วันนี้, เมื่ออายุ ๔๗ ปี, ชาวบ้านของหมู่บ้าน ตุกชา ในอำเภอเลห์ ภาคเหนือของแคชเมียร์ รู้สึกเหลือเชื่อที่พวกเขากำลังขุดบ่อบาดาลเอาน้ำ, เพื่อใช้น้ำชะส้วมในบ้านของพวกเขาแทนการใช้ส้วมแห้งอย่างที่พวกเขาคุ้นเคย, และต้องปรับตัวรับมือกับน้ำเสียที่ไหลมาถึงบ้านของพวกเขา.
Climate change, booming tourism and modern practices are wreaking havoc in this high altitude cold desert in India’s Jammu and Kashmir state. The average elevation in Ladakh is 11,000 ft above sea level and temperatures swing between minus 35 degrees Celsius in winters to 35 degrees in summer. Annual rainfall in the region is less than four inches.
ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, การท่องเที่ยวที่รุ่งโรจน์ และวิธีปฏิบัติสมัยใหม่ กำลังอาละวาดใหญ่ในดินแดนทะเลทรายหนาวเหน็บบนที่สูงแห่งนี้ในรัฐชัมมูและแคชเมียร์ของอินเดีย.  ความสูงโดยเฉลี่ยในลาดัค คือ ๑๑,๐๐๐ ฟุตเหนือน้ำทะเล และอุณหภูมิแกว่งอยู่ระหว่าง –๓๕ องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ถึง ๓๕ องศาในฤดูร้อน.  ปริมาณน้ำฝนประจำปีในภูมิภาคนี้ ต่ำกว่า ๔ นิ้ว.
Earlier, water from the melting glaciers would be enough to cater to the needs of the locals, Namgiyal tells IPS. But with less snowfall and warmer summers, some of the glaciers have vanished altogether while others too are fast melting.
ก่อนหน้านี้, น้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็ง มีเพียงพอสำหรับความต้องการของคนท้องถิ่น, นัมกิยัล กล่าว.  แต่ด้วยหิมะที่ตกน้อยลงและฤดูร้อนที่อุ่นมากขึ้น, ธารน้ำแข็งบางสายได้หายวับไปแล้ว ในขณะที่สายอื่นๆ ก็พากันละลายอย่างรวดเร็ว.
“Look at Khardongla,” says Namgiyal’s neighbour Tsering Kushu. “It used to be a huge glacier. It is not there anymore.”
“ดูที่ คาร์ดงกลา สิ”, เซอริง กูชู เพื่อนบ้านของนัมกิยัล กล่าว.  “มันเคยเป็นธารน้ำแข็งมหึมา.  มันไม่อยู่ตรงนั้นอีกแล้ว”.
GERES India, the Indian wing of the Paris-based environmental organisation, had in 2009 done a baseline survey of Ladakh, based on an analysis of meteorological data from 1973 to 2008 and interviews with older villagers. Its results showed glacial retreat in every part of Ladakh, most notably in Khardongla and Stok Kangri, the first north of Leh and the latter to its southwest.
องค์กรสิ่งแวดล้อม GERES อินเดีย, ซึ่งมีฐานอยู่ในปารีส, ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในลาดัค ปี ๒๕๕๒, โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ ถึง ๒๕๕๑ และ สัมภาษณ์ชาวบ้านสูงอายุ.  ผลแสดงให้เห็นถึงการถดถอยของธารน้ำแข็งในทุกส่วนของลาดัค, ที่เห็นชัดที่สุด ในคาร์ดงกลา และ สโตก กังครี, จุดแรกอยู่ทิศเหนือของเลห์ และ จุดหลังอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้.
“Trend analysis clearly indicated a rise of the order of nearly one degree Celsius for all winter months,” says the survey.
“การวิเคราะห์แนวโน้ม ชี้ให้เห็นอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกือบ ๑ องศาเซลเซียสตลอดเดือนทั้งหมดในฤดูหนาว”, ตามรายงานจากการสำรวจ.
“Snowfall and rainfall too have showed a decreasing trend in the studied period,” Tundup Angmo, under whose guidance the survey was carried out, tells IPS.
“ปริมาณหิมะและน้ำฝนด้วย ได้แสดงให้เห็นแนวโน้มลดลงในช่วงที่ทำการศึกษา”, ตุนดุป อังโม, ผู้อำนวยการสำรวจนี้กล่าว.
Kushu has another barometer for gauging the hotter summer. “Now you can see people using refrigerators and ceiling fans in their homes,” he says.
กูชู มีบารอมิเตอร์อีกเครื่องที่ใช้วัดฤดูร้อนที่ร้อนมากขึ้น.  “ตอนนี้ คุณจะเห็นประชาชนใช้ตู้เย็นและพัดลมเพดานในบ้านของพวกเขา”, เขากล่าว.
Ladakh itself has a population of 280,000, according to the 2011 census. In addition, tourist arrivals have vastly increased from the trickle that began when the Indian government first opened the region to tourism in 1974.
ลาดัคเอง มีประชากร ๒๘๐,๐๐๐ คน, ตามสถิติสำมะโนครัวปี ๒๕๕๔.  นอกจากนี้, นักท่องเที่ยวได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างมาก จากทีละหยดที่เริ่มต้นเมื่อรัฐบาลอินเดียเปิดภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรกเพื่อการท่องเที่ยวในปี ๒๕๑๗.
According to figures with the state tourism department, Leh had received 100,179 tourists by the end of August 2013. “The number of arrivals has been less this year because of the increase in air fares,” Mehboob Ali, assistant director for tourism in the Ladakh region, tells IPS.
ตามตัวเลขของกรมการท่องเที่ยวแห่งรัฐ, เลห์รับนักท่องเที่ยว ๑๐๐,๑๗๙ คน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ๑๕๕๖.  “จำนวนคนที่มาได้ลดลงปีนี้ เพราะค่าเครื่องบินสูงขึ้น”, เมห์บูบ อาลี, รอง ผอ. การท่องเที่ยวในลาดัค กล่าว.
To cater to its visitors, Leh has 511 hotels and guest houses. “It is growing very fast,” says Lobzang Sultim, executive director of the environmental NGO Ladakh Ecological Development Group (LEDeG).
เพื่อรองรับผู้มาเยือน, เลห์มีโรงแรมและเกสต์เฮาส์ ๕๑๑ แห่ง.  “มันขยายตัวเร็วมาก”, ล็อบสัง ซัลติม, ผอ.บริหารของ เอ็นจีโอสิ่งแวดล้อม กลุ่มพัฒนานิเวศลาดัค (LEDeG) กล่าว.
LEDeG is conducting a survey titled Urban Water Health Project which was started in October 2012 and will end by March 2014. According to the initial findings of the survey, 375 hotels in the town are extracting 852,000 litres of water a day. Sultim also says that almost 60 percent of Leh’s 20,000 households are using borewells to draw water.
LEDeG กำลังทำการสำรวจ “โครงการน้ำเขตเมือง” ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ และจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม ๒๕๕๗.  ตามผลการสำรวจครั้งแรก, โรงแรม ๓๗๕ แห่งในเมือง กำลังสกัดน้ำ ๘๕๒,๐๐๐ ลิตร/วัน.  ซัลติมบอกอีกด้วยว่า เกือบ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของ ๒๐,๐๐๐ ครัวเรือนในเลห์ สูบน้ำจากบ่อบาดาล.
“We have no choice but to draw water from borewells as the piped water supply is available for just one hour in the morning,” Manav Thakur, the general manager at Hotel Lingzi in Leh, tells IPS.
“เราไม่มีทางเลือกนอกจากสูบน้ำบาดาลใช้ เพราะน้ำประปาจากท่อมีเพียง ๑ ชม.ตอนเช้า”, มานัฟ ฐากูร, ผจก ใหญ่ของโรงแรม ลิงก์ซี ในเลห์, กล่าว.
All this is putting pressure on Ladakh’s already scarce water resources, and with no means to replenish them, the water table is falling rapidly.
ทั้งหมดนี้สร้างความกดดันต่อแหล่งน้ำที่เหลือน้อยมากอยู่แล้ว, และไม่มีทางอื่นที่จะเสริมเพิ่ม, ระดับน้ำบาดาลกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว.
“We are already aware that precipitation in Leh is quite nominal,” says Sultim. “And with the decrease in glacial melt, stream discharge is also decreasing, making the recharging of the water table very difficult.”
“เรารู้ดีอยู่แล้วว่า ปริมาณน้ำฝนในเลห์มีไม่มาก”, ซัลติมกล่าว. “และด้วยธารน้ำแข็งละลายน้อยลง, น้ำในลำธารก็ลดลงด้วย, ทำให้การคืนน้ำสู่บาดาลยากยิ่งขึ้น”.
LEDeG is working on means to conserve water and regenerate groundwater resources. “We are planning a project in which we will divert some of the surface water and allow it to travel slowly to ensure seepage of water to the water table,” says Sultim.
LEDeG กำลังทำงานหาทางอนุรักษ์น้ำ และ ทำให้แหล่งน้ำบาดาลฟื้นคืนมา.  “เรากำลังวางแผนโครงการหนึ่ง ซึ่งเราจะผันน้ำเหนือดินบางส่วน และปล่อยให้มันไหลไปช้าๆ เพื่อให้แน่ใจว่า มันจะซึมลงสู่ใต้บาดาล”, ซัลติม บอก.
Another negative trend that is straining Ladakh’s water resources is the replacement of traditional dry toilets with water flush toilets. All of Leh’s hotels and guest houses have water flush toilets now, though a few also have dry toilets. A few households too have installed water flush toilets.
แนวโน้มลบอีกประการหนึ่ง ที่กดดันแหล่งน้ำของลาดัค คือ การแทนที่ส้วมแห้งแบบดั้งเดิมด้วยส้วมชะด้วยน้ำ.  โรงแรมและเกสต์เฮาส์ทั้งหมดของเลห์ ติดตั้งส้วมน้ำชะ, แม้ว่า บางแห่งจะมีส้วมแห้งด้วย.  มีไม่กี่ครัวเรือนที่ติดตั้งส้วมน้ำชะด้วย.
Dechen Chosto, a housewife in Leh town, is not one of them; her family is happy using a dry toilet. “They need no water, don’t stink and the compost can be used in our agricultural fields,” Chosto tells IPS.
เดเชน โชสโต, แม่บ้านในเมืองเลห์, ไม่ใช่หนึ่งในพวกนี้; ครอบครัวของเธอมีความสุขในการใช้ส้วมแห้ง.  “มันไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ, ไม่เหม็น และ มูลหมักก็ใช้ในไร่เกษตรได้”, โชสโต กล่าว.
Dry toilets, indeed, are ideally suited for Ladakh’s cold climate, says Sultim. “They are easy to use in the winter here when everything else except the blood in the body freezes,” he adds.
อันที่จริง ส้วมแห้งเป็นส้วมอุดมคติที่เหมาะสมกับอากาศเหน็บหนาวของลาดัค, ซัลติม กล่าว.  “มันใช้ง่ายในฤดูหนาว เมื่อทุกอย่างยกเว้นเลือดในกาย แข็งตัว”, เขากล่าวเสริม.
“We cannot afford the luxury of water flush toilets,” says Tashi Tundup, an executive engineer in the public health engineering department in Leh. “Though I am all for change and want people to benefit from modern facilities, I am a strong votary of continuing with dry toilets in Leh,” he tells IPS.
“เรามีไม่พอที่จะใช้ส้วมน้ำชะที่หรูหรา”, ตาชิ ตุนดัป กล่าว, เขาเป็นวิศวกรบริหารใน กรมโยธาสาธารณสุข ในเลห์.  “แม้ว่าผมจะเห็นด้วยทั้งหมดกับการเปลี่ยนแปลงและต้องการให้ประชาชนได้ประโยชน์จากอุปกรณ์ทันสมัย, ผมเป็นผู้สนับสนุนที่เข้มแข็งให้ใช้ส้วมแห้งต่อไปในเลห์”, เขากล่าว.
Leh had so far not felt the need for a sewage system. However, with the growing number of hotels and guesthouses, sewage and waste from these establishments is flowing right into people’s backyards and even into the Leh stream which runs through the town.
จวบจนวันนี้ เลห์ไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องมีระบบน้ำเสีย.  แต่การเพิ่มจำนวนโรงแรมและเกสต์เฮาส์, น้ำเสียและขยะจากสถานที่เหล่านี้ กำลังไหลเข้าถึงหลังบ้านของประชาชน และ แม้แต่เข้าสู่ลำธารที่ไหลผ่านเมือง.
“They not only cause problems for people living in the lower parts, but are also contaminating our water,” says Rigzin Dorge, a resident of Sheynam, a village in the area. “We were better off with our own dry toilets.”
“มันไม่เพียงแต่สร้างปัญหาให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ต่ำ, แต่ยังปนเปื้อนน้ำของเราด้วย”, ริคซิน ดอร์เก, ชาวบ้านใน หมู่บ้านใกล้คียง เชย์นัม,  กล่าว.  “ดีแล้วที่เราใช้ส้วมแห้งของเราเอง”.
LEDeG is now urging people to return to eco-friendly ways. “During our interactions with foreigners, we found that some of them had actually used dry toilets,” says Sultim. “This made us realise that our guests will respect our traditions if we ourselves retain them.”
ตอนนี้ LEDeG กำลังชักชวนประชาชนให้หวนกับไปวิถีที่เป็นมิตรกับนิเวศ.  “ในระหว่างที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ, เราพบว่า ที่จริงบางคนใช้ส้วมแห้งได้”, ซัลติม กล่าว.  “นี่ทำให้เราตระหนักว่า แขกของเราจะเคารพขนบธรรมเนียมของเรา หากพวกเราเอง เป็นผู้รักษามันไว้”.
The organisation is now planning to publish posters and pamphlets to spread awareness about continuing with traditional practices.
ตอนนี้ องค์กรกำลังวางแผนจัดพิมพ์โปสเตอร์และแผ่นพับเพื่อแพร่กระจายความตื่นตัวเกี่ยวกับการปฏิบัติแบบดั้งเดิมต่อไป.
Related IPS Articles

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น