290. Inter-continental Waves of Human Beings
Despite
Recession, Global Migration on the Rise
แม้เศรษฐกิจถดถอย, กระแสย้ายถิ่นโลกกลับเพิ่มมากขึ้น
Bangladeshi
workers at a Singapore construction site. Credit: Kalinga Seneviratne/IPS
UNITED NATIONS, Sep 11 2013 (IPS) -
New international migration figures released by the United Nations Wednesday
show that more people than ever are living abroad. Around 232 million of the
global population of seven billion are considered international
migrants, simply defined as persons living outside their country of birth.
The statistics collected by the United Nations Department of Economic and
Social Affairs (U.N. DESA) show that
despite having been dampened by the international economic crisis,
international migration has weathered the storm and is still on the rise – if
at a slower rate than in 2008 when figures were last released.
สหประชาชาติ—ตัวเลขใหม่ของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศที่สหประชาชาติเผยแพร่เมื่อวันพุธ
แสดงว่า มีคนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่อาศัยอยู่ในต่างแดน. ในประชากรโลก ๗ พันล้าน มีประมาณ ๒๓๒
ล้านคนที่เรียกได้ว่า เป็นคนย้ายถิ่นระหว่างประเทศ, ซึ่งนิยามง่ายๆ ว่า
เป็นคนที่อาศัยอยู่นอกประเทศที่ตนถือกำเนิด.
สถิติที่เก็บโดยแผนกเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ แสดงว่า ทั้งๆ ที่ถูกทำให้ซบเซาลงด้วยวิกฤตเศรษฐกิจสากล
(U.N. DESA),
การย้ายถิ่นระหว่างชาติได้ฝ่าฟันมรสุมและยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ—หากแต่ด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าในปี
๒๕๕๑ เมื่อตัวเลขถูกเผยแพร่ล่าสุด.
In a statement, Wu Hongbo, U.N.
under-secretary-general for economic and social affairs, stressed the positive
impact of migration on development, saying “migration broadens the
opportunities available to individuals and is a crucial means of broadening
access to resources and reducing poverty.”
ในแถลงการณ์, หวู่หงปอ,
รองเลขาธิการสหประชาชาติด้านเศรษฐกิจและสังคม,
เน้นถึงผลกระทบด้านบวกของการย้ายถิ่นต่อการพัฒนา, โดยกล่าวว่า “การย้ายถิ่น
ช่วยขยายโอกาสที่มีอยู่สำหรับปัจเจก และ
เป็นหนทางสำคัญในการขยายช่องทางเข้าถึงทรัพยากรและการลดความยากจน”.
The U.N. team has been preparing
estimates for the last four years, with a majority of the data being drawn from
national censuses. When data is missing for a country, estimates are made by
extrapolating a trend based on previous censuses. This can be difficult – for
example in Lebanon, the last census was taken in 1930. In Afghanistan, the
government is currently trying to collect data, but it has been decades since
the last census.
ทีมสหประชาชาติได้เตรียมรายงานการประเมินนี้เป็นเวลาสี่ปีที่ผ่านมา,
โดยดึงข้อมูลส่วนใหญ่จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ.
เมื่อประเทศใดไม่มีข้อมูล,
ก็จะประมาณตัวเลขด้วยการยืดต่อจากแนวโน้มจากสถิติก่อนหน้า. นี่เป็นงานยาก—เช่น ในเลบานอน, สถิติล่าสุด
เก็บในปี ๒๔๗๓. ในอัฟกานิสถาน,
รัฐบาลกำลังพยายามเร่งเก็บข้อมูล,
แต่เวลาได้ผ่านไปหลายทศวรรษแล้วหลังจากการเก็บสถิติครั้งสุดท้าย.
The United States is still the
world’s most popular destination, with around 45.8 million migrants, having
gained around one million migrants per year since 1990. The second largest gain
since 1990 has been Saudi Arabia which has received seven million. Europe and
Asia are the continents with the largest migrant populations hosting around two-thirds
of all international migrants worldwide.
สหรัฐฯ ยังเป็นจุดหมายปลายทางสุดยอดนิยมของโลก, มีผู้ย้ายถิ่นประมาณ
๔๕.๘ ล้านคน, โดยมีผู้ย้ายถิ่นเพิ่มขึ้น ๑ ล้านคนต่อปี ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓. ประเทศรองลงมาที่มีการเพิ่มมากที่สุดตั้งแต่ปี
๒๕๓๓ คือ ซาอุดิอาระเบีย ที่รับคนย้ายเข้า ๗ ล้านคน. ยุโรปและเอเชียเป็นทวีปที่มีประชากรย้ายถิ่นมากที่สุด
คือ สองในสามของผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติทั่วโลก.
In 2013, 72 million international
migrants were residing in Europe, compared to 71 million in Asia. The
statistics show that migration is highly concentrated in 10 countries,
including the U.S., Russia, Germany and Saudi Arabia.
According to Bela Hovy, chief of the
Migration Section at U.N. DESA, a strong trend has been the rise in movement
from countries in the Southern Asian region to countries in Western Asia.
ในปี ๒๕๕๖, ผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติ ๗๒ ล้านคนอาศัยอยู่ในยุโรป,
เทียบกับ ๗๑ ล้านคนในเอเชีย.
สถิติได้แสดงให้เห็นว่า การย้ายถิ่นกระจุกตัวใน ๑๐ ประเทศ, รวมทั้ง สหรัฐฯ,
รัสเซีย, เยอรมัน และ ซาอุดิอาระเบีย. ตามรายงานของ
เบลา โฮวี, หัวหน้าฝ่ายย้ายถิ่น ที่ U.N.
DESA,
มีแนวโน้มชัดเจนของการเคลื่อนย้ายมากขึ้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้สู่เอเชียตะวันตก.
“What’s new is enormous construction
activity in West Asia, causing movement from developing countries like
Bangladesh, Sri Lanka, Nepal, to move to those areas,” he told IPS. “Saudi
Arabia is the biggest recipient, along with Qatar and the United Arab
Emirates.”
“สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ คือ
กิจการก่อสร้างมหาศาลในเอเชียตะวันตก, ทำให้การเคลื่อนตัวจากประเทศกำลังพัฒนา เช่น
บังคลาเทศ, ศรีลังกา, เนปาล, ให้เคลื่อนไปในพื้นที่เหล่านี้”, เขากล่าว. “ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้รับที่ใหญ่ที่สุด,
ตามด้วยกาตาร์ และ อาหรับเอมิเรตส์”.
Currently, there are 2.9 million people
from India living in the UAE.
ปัจจุบัน, มีคนจากอินเดีย ๒.๙ ล้านคน อาศัยอยู่ในอาหรับเอมิเรตส์.
This has implications for
development in that remittances are becoming a big factor for people in those
South Asian countries. “It’s good for migrant families and their countries. The
kids staying behind are able to go to school and get healthcare,” said Hovy.
อันนี้มีนัยต่อการพัฒนาที่ว่า การส่งเงินกลับ กำลังกลายเป็นปัจจัยใหญ่สำหรับประชาชนในประเทศเอเชียใต้เหล่านี้. “มันดีสำหรับครอบครัวและประเทศของผู้ย้ายถิ่น. ลูกๆ ที่อยู่ข้างหลัง
สามารถเข้าโรงเรียนและได้รับการดูแลสุขภาพ”, โฮวีกล่าว.
However, there have been issues with
rights violations of workers in the West Asian destination countries, notably
for domestic workers, often women. Human Rights Watch has expressed concern
that workers are especially vulnerable in the Middle East.
แต่ก็ยังมีประเด็นของการละเมิดสิทธิ์ของคนงานในเอเชียตะวันตกอันเป็นประเทศปลายทาง,
โดยเฉพาะคนงานบ้าน, มักเป็นผู้หญิง.
กลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนได้แสดงความห่วงใยว่า
คนงานมีความเปราะบางเป็นพิเศษในตะวันออกกลาง.
“The failure to properly regulate
paid domestic work facilitates egregious abuse and exploitation, and means
domestic workers who encounter such abuse have few or no means for seeking
redress,” the group notes.
A landmark change has been the
recent drafting of the International Labour Organisation’s Domestic Workers
Convention, which came into effect
last week.
“ความล้มเหลวในการควบคุมคนงานบ้านที่ได้รับค่าจ้างอย่างถูกต้องทำให้เกิดการกดขี่ข่มเหง,
และหมายความว่า คนทำงานบ้านที่เผชิญกับการถูกรังแก มีช่องทางน้อยมากที่จะร้องทุกข์”,
กลุ่มกล่าว. การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อเร็วๆ
นี้ คือ การร่างอนุสัญญาว่าด้วยคนทำงานบ้าน ขององค์การแรงงานระหว่างชาติ,
ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อสัปดาห์ก่อน.
Hovy explained the changing face of
international migration in terms of population migration from developing to
developed countries.
โฮวี อธิบายถึง การเปลี่ยนโฉมหน้าของกระแสย้ายถิ่นข้ามชาติในแง่ประชากรย้ายถิ่นจากประเทศกำลังพัฒนาสู่ประเทศพัฒนาแล้ว.
“In 1990, most international
migration was global South to global South, but since 2000 this has changed,”
he said. “Now, South-North has become as common as South-South. Most
international migrants originate in developing countries, but they are settling
almost equally in countries of the global South as the global North.”
Nowadays, six out of 10
international migrants reside in the global North.
“ในปี ๒๕๓๓,
การย้ายถิ่นข้ามชาติส่วนใหญ่เป็นในระหว่างซีกโลกใต้สู่ซีกโลกใต้, แต่เริ่มต้นในปี
๒๕๔๓ เป็นต้นมา เส้นทางนี้ได้เปลี่ยนไป”, เขากล่าว. “ตอนนี้, ใต้-เหนือ
ได้กลายเป็นเส้นทางปกติเหมือน ใต้-ใต้.
ผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดในประเทศกำลังพัฒนา,
แต่พวกเขาได้ไปตั้งรกรากใหม่ในประเทศซีกโลกใต้มากพอๆ กับในซีกโลกเหนือ”. ทุกวันนี้, ผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติ ๖ ใน ๑๐ คน
ปักหลักอยู่ในซีกโลกเหนือ.
The population of working-age people
among international migrants proved to be significantly higher than in the
global population, reflecting the large movement of workers to West Asian
countries. Some 74 percent of all international migrants are aged 20-64, compared
to only 58 percent of the global population.
ประชากรในวัยทำงานในบรรดาผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติ
ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีมากอย่างมีนัยสำคัญกว่าในประชากรโลก, สะท้อนว่า
กระแสการเคลื่อนตัวของคนงานสู่ประเทศเอเชียตะวันตก. ประมาณ ๗๔%
ของผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติทั้งหมด มีอายุ ๒๐-๖๔ ปี, เทียบกับเพียง ๕๘% ของประชากรโลก.
In Europe, Germany, France and the
United Kingdom host the largest migrant communities. However, as a percentage
of their total populations, relative to other European countries their figures
were among the lowest.
ในยุโรป, เยอรมัน, ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เป็นที่อยู่ของหลายชุมชนย้ายถิ่นที่ใหญ่ที่สุด. แต่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์ของประชากรของตนเองทั้งหมด,
เทียบกับประเทศยุโรปอื่นๆ ตัวเลขของพวกเขาเหล่านี้กลับน้อยที่สุด.
Worldwide, refugees accounted for a
small part of the migrant population, according to the report. The UN-DESA
works closely in conjunction with The U.N. Refugee Agency to incorporate
accurate figures for refugees in its migration data. Asia hosts the largest
number of refugees at 10.4 million, with this number affected in recent years
by conflicts and unrest in the Middle East.
ทั่วโลก, ผู้ลี้ภัยทางการเมืองเป็นส่วนน้อยของประชากรย้ายถิ่น,
ตามรายงาน. U.N. DESA
ทำงานใกล้ชิดกับหน่วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ในการผนวกตัวเลขผู้ลี้ภัยที่ถูกต้องในฐานข้อมูลการย้ายถิ่น. เอเชียเป็นเจ้าภาพรับผู้ลี้ภัยมากที่สุด ๑๐.๔
ล้าน, ตัวเลขนี้ได้รับผลกระทบในไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากความขัดแย้งและจลาจลในตะวันออกกลาง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น