วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

295. กลไกกาลักน้ำ (เงิน) จากล่างสู่บน


295.  Financial Syphon from the Rest to the Rich 10%

The Shocking Reason Why the Rich Are Getting Ricer Explained Beautifully in 3 Minutes
Posted by Films For Action on Aug. 7, 2013
เหตุผลที่น่าตกใจว่า ทำไมคนรวยจึงมีแต่รวยยิ่งขึ้น (อธิบายทางวีดีโอ ๓ นาที)


1. The current money system distributes money from the bottom 90% to the top 10%
Because 97% of the money in the UK is created by banks, someone must pay interest on nearly every pound in the circulation. This interest redistributes money from the bottom 90% of the population to the very top 10%. The bottom 90% of the UK pays more interest to banks that they ever receive from them, which results in a redistribution of income from the bottom 90% of the population to the top 10%. Collectively we pay £165m every day in interest on personal loans alone (not including mortgages), and a total of £213bn a year in interest on all our debts.
๑. ระบบเงินตราปัจจุบัน กระจายเม็ดเงินจากคน 90% ในชั้นล่าง สู่ 10% บนชั้นยอด
เพราะว่า เม็ดเงิน 97% ในสหราชอาณาจักรสร้างขึ้นโดยธนาคาร, บางคนจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเกือบทุกๆ ปอนด์ที่ไหลหมุนเวียนอยู่ในระบบ.  ดอกเบี้ยนี้ ช่วยกระจายเม็ดเงินใหม่จากประชากรชั้นล่าง 90% ขึ้นสู่คนที่อยู่ชั้นสูงสุด 10%.  คนชั้นล่าง 90% ในสหราชอาณาจักร จ่ายดอกเบี้ยแก่ธนาคาร มากกว่าที่พวกเขาเคยได้รับจากธนาคาร, ผลคือ การกระจายรายได้ใหม่จากรายได้ของประชากรชั้นล่าง 90% ให้คนชั้นบนสุด 10%.  รวมๆ กันแล้ว พวกเราจ่าย £165 ล้านทุกๆ วันเป็นค่าดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคล (ยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนองที่ดิน/บ้าน), และคิดเป็นดอกเบี้ยรวม £213 พันล้านต่อปีสำหรับหนี้ทั้งหมดของเรา.
2. It transfers money from the real economy to the banks
Businesses are also in a similar situation. The 'real' (non-financial), productive economy needs money to function, but because all money is created as debt, that sector also has to pay interest to the banks in order to function. This means that the real-economy businesses - shops, offices, factories etc -- end up subsidising the banking sector.
๒. โอนเงินจากภาคเศรษฐกิจจริงสู่ธนาคาร
ธุรกิจก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันด้วย.  เศรษฐกิจ จริง (นอกภาคการเงิน) ที่มีผลิตภาพ จำเป็นต้องใช้เงินเดินงาน, แต่เพราะเม็ดเงินทั้งหมดถูกสร้างให้เป็นหนี้, ภาคธุรกิจก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ธนาคารด้วย เพื่อให้งานเดินหน้าได้. นี่ย่อมหมายความว่า ธุรกิจในภาคเศรษฐกิจจริง เช่น ร้านค้า, สำนักงาน, โรงงาน ฯลฯ ล้วนลงเอยด้วยการสนับสนุนทางการเงินแก่การธนาคาร.
3. It transfers money from the rest of the UK to the City of London
Banks pay their staff out of their profits, which in large part comes from the interest they charge on loans. Because most of the high earning bank staff work in the City of London, this results in a geographic transfer of wealth from the UK to those working in the City of London.
๓. โอนเม็ดเงินจากส่วนที่เหลือทั้งหมดของสหราชอาณาจักร เข้าสู่เมืองลอนดอน
ธนาคารจ่ายพนักงานของตนจากกำไรที่ได้, ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ยที่พวกเขาเรียกเก็บจากเงินกู้.  เพราะพนักงานที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในเมืองลอนดอน, ผลคือ การโยกเชิงภูมิศาสตร์ ถ่ายโอนความมั่งคั่งจากทั่วสหราชอาณาจักรสู่พวกที่ทำงานในเมืองลอนดอน.
4. The instability that the system causes means that temporary and low-paid jobs are insecure
When banks cause a financial crisis it leads to unemployment. It tends to be low-paid and temporary contract workers who are the first to get made redundant first, so that instability in the economy has a bigger effect on those on low incomes with insecure jobs.
๔. ความไร้เสถียรภาพที่ระบบเป็นต้นเหตุ หมายความว่า งานชั่วคราวและค่าแรงต่ำย่อมไร้ความมั่นคงด้วย
เมื่อธนาคารเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตทางการเงิน มันนำไปสู่การว่างงาน (ที่มีค่าจ้าง).  แนวโน้มคือ คนงานตามสัญญาจ้างชั่วคราวและค่าแรงต่ำ เป็นพวกแรกที่จะถูกทำให้ดูซ้ำซ้อน, ดังนั้น ความไม่เสถียรดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจ มส่งผลกระทบใหญ่หลวงกว่าต่อพวกที่มีรายได้ต่ำทำงานที่ไร้ความมั่นคง.
5. High house prices increase inequality
When house prices are pushed up by banks creating money, those on low incomes suffer the most. People on low incomes often can't get a mortgage big enough to buy a house, so they don't benefit from the rise in house prices. Meanwhile, those who can get access to mortgages can buy multiple houses for buy-to-let and benefit from artificial inflation in house prices. Younger people also lose out, as the cost of buying their first house swallows an ever larger amount of their income, while older and retired people who own houses benefit. This all increases inequality across different income groups and between the young and old.
๕. ราคาบ้านยิ่งสูงก็ยิ่งขยายความไม่เสมอภาค
เมื่อราคาบ้านถูกปั่นให้สูงขึ้นด้วยธนาคารที่สร้างเม็ดเงิน, พวกที่มีรายได้ต่ำต้องเดือดร้อนมากที่สุด.  ประชาชนที่มีรายได้ต่ำมักไม่สามารถจำนองขอกู้เงินให้ได้มากพอที่จะซื้อบ้าน, ดังนั้น พวกเขาไม่ได้รับประโยชน์จากราคาบ้านที่สูงขึ้น.  ในขณะเดียวกัน, พวกที่เข้าถึงการจำนอง สามารถซื้อบ้านได้หลายหลัง เพื่อให้เช่า และ ได้ประโยชน์จากการปั่นราคาบ้าน.  ประชาชนหนุ่มสาวเป็นฝ่ายแพ้, ในขณะที่ต้นทุนในการซื้อบ้านหลังแรกของพวกเขาเบ่งบวมมากจนเกินรายได้ของพวกเขา, ในขณะที่ประชาชนที่สูงอายุและปลดเกษียณผู้เป็นเจ้าของบ้าน เป็นฝ่ายชนะ.  ทั้งหมดนี้ล้วนเพิ่มความไม่เสมอภาคในทุกๆ กลุ่มรายได้ และ ระหว่างคนหนุ่มสาว และ คนสูงวัย.

Help us change the money system!
Our debt-based money system is fuelling inequality. By taking the power to create money away from banks, we can reduce inequality and make the economy more stable. http://www.positivemoney.org/issues/i...
มาช่วยพวกเราเปลี่ยนระบบเม็ดเงินกันเถิด!
ระบบเม็ดเงินบนฐานหนี้สิน เป็นเชื้อเพลิงที่โหมความไม่เสมอภาค.  ด้วยการถอนอำนาจในการสร้างเม็ดเงินจากบรรดาธนาคาร, เราจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำ และ ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น.
Positive Money is a not-for-profit research and campaign group. They work to raise awareness of the connections between our current monetary and banking system and the serious social, economic and ecological problems that face the UK and the world today. In particular they focus on the role of banks in creating the nation's money supply through the accounting process they use when they make loans - an aspect of banking which is poorly understood. Positive Money believe these fundamental flaws are at the root of - or a major contributor to - problems of poverty, excessive debt, growing inequality and environmental degradation.
Positive Money (เม็ดเงินบวก) เป็นกลุ่มวิจัยและรณรงค์ที่ไม่แสวงกำไร.  พวกเขาทำงานเพื่อสร้างความตื่นตัวต่อความเชื่อมโยงระหว่างระบบเม็ดเงินและการธนาคารปัจจุบัน และ ปัญหาร้ายแรงทางสังคม, เศรษฐกิจ และ นิเวศ ที่สหราชอาณาจักรและทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้.  พวกเขาเน้นโดยเฉพาะที่บทบาทของธนาคารในการสร้างแหล่งเม็ดเงินของชาติด้วยกระบวนการทางบัญชี ที่พวกเขาใช้เมื่อให้กู้เงิน—ด้านหนึ่งของการธนาคารที่อึมครึมเข้าใจยาก.  เม็ดเงินบวก เชื่อว่าข้อบกพร่องขั้นรากฐานเหล่านี้ เป็นรากเหง้าของ—หรือเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อ—ปัญหายากจน, หนี้ล้นหลาม, ความเหลื่อมล้ำถ่างกว้าง และ ความเสื่อมทรามของสิ่งแวดล้อม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น