299. Paradigm
Divergence: Toward “Death Trap” or
“Survival Trail”
“Problem ME, Solution WE” and
Mae-Wong-Yatra Agenda
“ของกู
= ปัญหา, ของเรา = ทางออก” กับ วาระแม่วงก์ยาตรา
-ดรุณี
ตันติวิรมานนท์, ๒๓ กย ๒๕๕๖
From:
Pachamama Alliance via Avantgardens
เมื่อคืน
บังเอิญได้ชมรายการ ที่นี่ไทยพีบีเอส ช่วง “ตอบโจทย์” ซึ่งเปิดพื้นที่ให้ อ.ศศิน เฉลิมลาภ (เลขาธิการ
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ผู้เดินนำแม่วงก์ยาตรา ๓๖๘ กม ๑๓ วัน มีชาวไทยระหว่างทางต้อนรับ
ทะยอยเดินสมทบ ร่วมคัดค้านจนรวมกันหลายหมื่น เมื่อถึงใจกลาง กทม ในวันอาทิตย์ที่
๒๒ กย) พบกับ คุณวีรกร (สส ผู้อ้างว่า “เขื่อนของผม” เป็นความต้องการของชาวลาดยาว
คนพื้นที่แม่วงก์) เช้านี้เจอโพสต์ “Problem
ME, Solution WE” ชวนให้ร้อยต่อเรียงความ…แม่วงก์ยาตราให้อะไรแก่สังคมไทย แล้วยังไงต่อ
จุดยืน ศศิน/WE พบ วีรกร/ME
ในรายการเมื่อคืน อ.ศศิน แสดงจุดยืนชัดว่า แม้ตนเป็นนักอนุรักษ์ ที่ไม่อยากให้สร้างเขื่อนแม่วงก์
แต่ที่ตัดสินใจออกมาเดิน เพราะรายงาน EHIA ที่รัฐบาลใช้โน้มน้าวรัฐสภาให้อนุมัติการขอกู้เงินจัดการน้ำ
๓.๕ แสนล้านบาทนั้น ไม่สมบูรณ์
ส่วนคุณวีรกร
พร่ำเถียงซ้ำๆ[1]
ว่า EHIA ฉบับนี้ศึกษาครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว พร้อมชูแผนที่ชี้ว่า
ป่าแม่วงก์เป็นเพียงจุดเล็กๆ ของผืนป่าใหญ่ตะวันตก แถมเป็นเพียง “ป่าเสื่อมโทรม”
คำกล่าวอ้างนี้
ตรงข้ามกับความเห็นของนักวิชาการ ในเวทีสัมมนาที่ มหาวิทยาลัยรังสิต (๒๐ กย) คุณเพชร มโนปวิตร แห่ง WWF แสดงหลักฐานประกอบว่า การเพิ่มจำนวนประชากรของเสือโคร่งอย่างต่อเนื่อง จากที่ใกล้สูญพันธุ์
เมื่อ ๓๐ ปีก่อน (เพราะสัมปทานป่าไม้) เป็นการยืนยันว่า ป่าแม่วงก์ได้เริ่มฟื้นชีพสู่
“ป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” แล้ว ดังนั้น
การสร้างเขื่อนแม่วงก์นอกจากจะลิดรอน (สิทธิ) การเข้าถึงแหล่งอาหารอันสมบูรณ์สำหรับสัตว์ป่าหายาก
เสือโคร่ง นกยูง กวาง เก้ง ฯลฯ ยังเป็นการเชิญชวนให้นายพราน/นักตุนกำไร เข้าไปล่าสัตว์ป่าเหล่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสือโคร่งตัวละเรือนล้าน และกระตุ้นการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่ม ในขณะที่งบประมาณสำหรับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ายังจำกัดอยู่ ด้วยเหตุนี้
หากรัฐบาลยังดันทุรังสร้างเขื่อนแม่วงก์ต่อไป ก็จะเป็นการสร้างแผลเน่าเปื่อย
ไม่ว่าจะเป็นจุดเล็กเพียงไร ซึ่งจะเรื้อรังกลายเป็นแผลพุพอง ลามปามไปทั่วผืนป่าตะวันตก—รวมทั้งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลก—ในที่สุด ดังคำอธิบายของ ดร.สมิทธ์
ตุงคะสมิต ในการสัมมนาเดียวกัน
คนพื้นที่เดือดร้อนเพราะป่า หรือ เพราะความบกพร่อง/วิธีจัดการของเจ้าหน้าที่/อิทธิพลท้องถิ่น
คุณวีรกร
อ้างความเดือดร้อนของชาวลาดยาวจากน้ำท่วมเมื่อเร็วๆ นี้ และยืนยันว่าชาวบ้านต้องการเขื่อน อ.ศศิน
เล่าว่าได้รุดไปดูเหตุการณ์น้ำท่วม กลับพบว่า ในที่หนึ่ง เป็นเพราะความบกพร่องในการขุดท่อ
มีดินโคลนอุดตัน น้ำจึงระบายไม่ได้ และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ ความผิดพลาดในการเปิดปิดประตูน้ำทำให้ลาดยาว—ไม่ต้องการน้ำ—ท่วม แต่บางปลาม้า—รับน้ำได้—แห้งขอด ข้อเท็จจริงดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความเป็นไปได้ของความบกพร่องในการบริหารประตูน้ำ
ไม่ใช่ปริมาณน้ำจากป่าแม่วงก์เสมอไป
เหตุการณ์มหาอุทุกภัย
๒๕๕๔ เป็นหลักฐานชัดเจน นอกจากปริมาณน้ำฝนมากผิดปกติเพราะลานียา
(ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง) และ น้ำทะเลหนุน
ยังเพราะน้ำกักในเขื่อน เมื่อผู้มีอำนาจใจดำ สั่งระงับการพร่องน้ำก่อนเวลาวิกฤต
เพื่อป้องกันนาข้าวที่ใกล้ออกรวงของพรรคพวกตนใน จ.สุพรรณบุรี นั้น
เป็นเรื่องที่จารึกในใจของผู้เดือดร้อนค่อนแผ่นดิน และในประวัติศาสตร์ของน้ำท่วมการเมืองครั้งนั้น
แต่รัฐบาลกลับนำมาใช้บ่มและกระพือความกลัว ในประชาชนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเมือง
แม่วงก์ยาตรา ขยายวงแสงเทียนสาดส่องมุมมืด ไล่ ME/กลัว à WE/กล้า
คุณูปการของแม่วงก์ยาตราครั้งนี้ ผ่านโซเชียลมีเดีย
ไม่ใช่สื่อกระแสหลัก ช่วยให้ชาวเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกลางกรุงเทพและปริมณฑลตาสว่าง ตื่นตัว การเดินมาราธอน ๓๖๘ กม ๑๓ วันจากแม่วงก์เข้ากรุงเทพฯ
เป็นการเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้าน ชาวเมืองได้ออกมาแสดงจุดยืนร่วมกันว่า
ไม่ได้กลัวน้ำท่วมตัวเอง แต่ต้องการรักษาผืนป่าที่เหลือน้อยนิดผืนสุดท้าย[2] เพื่อประโยชน์ร่วม ตลอดจนรักษาให้อนุชนลูกหลานไทยได้ใช้ด้วย
ผลคือ
แนวคิด Solution
WE ปะทะ แนวคิด Problem ME ที่รัฐบาลไทยได้ดึงดันผลักดันโครงการเขื่อนแม่วงก์มาเกือบ
๓ ทศวรรษ อ้างว่า จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
(เมืองและอุตสาหกรรม, วัดด้วย จีดีพี หรือ บริโภคนิยม) นั่นคือ
ทุกอย่างเพื่อการบริโภคของมนุษย์ (แปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน) ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชุดปัจจุบัน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ได้ปรามาสเอ็นจีโอว่า
“เห็นใจเสือโคร่งมากกว่าปากท้องชาวบ้าน” หรือ “ป่าหมดสร้างได้...”
อิทธิพลท้องถิ่น+นักการเมืองชาติ
ชักใย EHIA ด้วยวาระซ่อนเร้น
(ME+ME)
การดันทุรังของคุณวีรกร
ในแนว Problem
ME ที่ว่า EHIA ฉบับนี้ศึกษามากว่า ๒๐ ปี
“สมบูรณ์มากแล้ว” เป็นการพูดแบบปิดตาข้างหนึ่ง
เถียงกำปั้นทุบดิน เข้าข้างตัวเอง
(มากกว่าทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง) ข้อเท็จจริงไม่ใช่เพราะเอ็นจีโอดื้อรั้น
แต่เพราะการ “เล่นแร่แปรธาตุ” ของผู้มีอำนาจและผลประโยชน์ทับซ้อน (จนเกิดฉายา
“รัฐบาลตังค์ทอน”) การสืบสาวความเป็นมาของเขื่อนแม่วงก์ ช่วยเห็นรอยบิดเบี้ยวนี้[3]
๒๕๒๕ กรมชลประทานริเริ่มโครงการเขื่อนแม่วงก์
๒๕๓๘ คชก
(คณะกรรมการผู้ชำนาญการ) ให้กรมชลฯ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม
๒๕๔๐ กรมชลฯ
ทำการศึกษาตามมติ คชก
๒๕๔๑ มติ
คชก ครั้งที่ ๑ “ไม่เห็นชอบกับการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์”
๒๕๔๓ ประชาพิจารณ์
โครงการเขื่อนแม่วงก์
๒๕๔๕ มติครั้งที่
๓ ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ “ไม่เห็นชอบต่อรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ได้ให้กรมชลฯ หาทางเลือกของที่ตั้งโครงการ
และศึกษาเพิ่มเติมการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบแบบบูรณาการ
๒๕๕๕ ๑๐
เม.ย.—มติ ครมเห็นชอบในหลักการ ให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์
ด้วยงบ ๑๓,๒๘๐ บาท ระยะเวลาก่อสร้าง ๘ ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ ๒๕๖๒
๒๕๕๕ ปลายปี—คชก
ให้แก้ไขรายงาน EHIA และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหลายประเด็น
โดยเฉพาะการศึกษาระบบนิเวศของสัตว์ป่า ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า ๑ ปี
เกินกรอบเวลาสำหรับการทำ EHIA
๒๕๕๖ ต้นปี
เมื่อ ดร.ปลอดประสพ สุรัวดี[4]
ได้เป็นผู้รับผิดชอบ โครงการเงินกู้จัดการน้ำ ๓.๕ ล้านบาท ได้ปรับเปลี่ยนบุคลากรของ สผ (สนง
นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และ คชก
-
ตำแหน่งเลขาธิการ สผ. แทนที่ ดร.วิจารณ์
สิมะฉายา (นักวิชาการผู้ได้รับการยอมรับสูงในด้านสิ่งแวดล้อม) ด้วย นายสันติ บุญประคับ (ทำงานพัฒนาจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
- ตำแหน่งประธาน คชก. แทนที่ ดร.สันทัด สมชีวิตา (ผู้ทรงคุณวุฒิใน
คกก สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้มีชื่อเสียงในด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม)
ด้วยข้าราชการประจำเช่นเดียวกับนายสันติ บุญประคับ
- ถอดถอนกรรมการใน คชก ที่ชี้ความบกพร่องของรายงาน
เช่น ดร.อุทิศ กุฏอินทร์ (ผู้เชี่ยวชาญระบบนิเวศป่าไม้) นายสมศักดิ์ โพธิ์สัตย์ (ผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยา)
- ปรับโครงสร้าง คชก
ไม่ให้มีผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และ
ผู้แทนประจำของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นั่งเป็นกรรมการด้วย
อ.ศศินเล่าต่อว่า การเดินเท้าผ่าน
หมู่บ้านลาดยาวของคณะแม่วงก์ยาตรา ทำให้ประจักษ์ถึงสภาพความเป็นจริงในหมู่บ้านที่แตกต่างจากคำขู่ของอิทธิพลท้องถิ่น
และภาพวาดของนักการเมืองระดับชาติที่ว่า ชาวบ้านลาดยาวเป็นอริกับแม่วงก์ยาตรา เหตุการณ์คืนนั้น: แม้จะได้ยินคำขู่ แต่เพราะใกล้ค่ำ คณะฯ ทำ “ใจดีสู้เสือ” เดินต่อเข้าหมู่บ้าน กลับพบชาวบ้านออกมาต้อนรับให้น้ำท่าอาหาร ได้ความว่า ชาวบ้านไม่ได้ต้องการเขื่อน
เพียงแต่ต้องการให้ช่วยจัดการเรื่องน้ำ
หรือ เห็นด้วยกับแม่วงก์ยาตรา แต่แสดงออกมากไม่ได้เพราะกลัวถูกคุกคาม ฯลฯ
(คุณตะวันฉาย พงษ์วิลัย สัมมนา มรส ๒๐ กย)
แม่วงก์ยาตรา
ต่อสู้ มิจฉาทิฐิ อวิชชาของผู้มีอำนาจ เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม
อ.ศศิน
ย้ำว่า ไม่ได้เป็นศัตรูกับคุณวีรกรหรือรัฐบาล คือ ไม่ได้เอาแต่คัดค้านการสร้างเขื่อน วัตถุประสงค์ คือ ต้องการชี้จุดบกพร่องของ EHIA ฉบับนี้ พร้อมทั้งเสนอทางออก (แบบ Solution WE) ใน “ทำไม!!...ต้องค้านเขื่อนแม่วงก์”[5] ซึ่งเอกสารอ้างอิงหนึ่ง คือ
“แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน: วาระน่าน—โครงการปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน” แต่รัฐบาลและผู้มีอำนาจ (เช่นคุณวีรกร) ไม่ปฏิเสธ
ปัดทิ้งข้อมูลและทางเลือกมากมายของเอ็นจีโอต่างๆ รวมทั้ง มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ที่ได้เพียรนำเสนอขึ้นไปทุกช่องทาง ความปิดใจของภาครัฐ เป็นต้นเหตุให้ต้อง “เดิน” เพื่อให้สาธารณชนตั้งแต่ฐานรากขึ้นมา
ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศไทยส่วนใหญ่ ตาสว่าง มีโอกาสออกมาร่วมกันยับยั้งผู้นำชาติที่เดินผิดๆ
อย่างเป็นทางการซ้ำๆ
แนวคิดแบบ Solution
WE คงเป็นสิ่งที่คุณสืบ นาคะเสถียร มีอยู่ในหัวใจและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระแสความตื่นตัวต่อวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกซึ่งรวมตัวประชุมกัน
ณ Rio Earth Summit ครั้งที่ ๑ (๒๕๓๓) ดังความคิดที่บันทึกอยู่ในบทความของเขา[7]
·
ผมอยากเห็นว่า เราควรจะเปลี่ยนแนวทางที่จะพัฒนา ในความเห็นส่วนตัว
ผมไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้
ผมไม่เห็นด้วยที่มัวพูดกันว่า เราจะใช้ทรัพยากรอย่างไรเพื่อการพัฒนาประเทศ
แต่เราควรจะหันมาสนใจว่า เราจะรักษาสภาวะแวดล้อมหรือทรัพยากรที่เหลืออยู่จำกัดได้อย่างไร
เราต้องประหยัดการใช้ใช่ไหม เราจะต้องหามาตรการควบคุมในทางปฏิบัติให้ได้ (สารคดี
ฉบับ ๖๕ หน้า ๙๕, กรกฎาคม ๒๕๓๓)
·
ผมว่าประเทศไทยถ้าสามารถเก็บป่าธรรมชาติเอาไว้ได้ประมาณร้อยละ ๒๐
แล้วเราใช้อย่างถูกต้อง หมายถึง เก็บเอาไว้เพื่อให้มันอำนวยประโยชน์ในแง่ของการควบคุมสภาวะแวดล้อมอะไรต่าง
ๆ เป็นแหล่งผลิตของธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง
ถ้าเราใช้ป่าทั้งหมดที่เป็นแหล่งกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์ไปแล้ว
เราจะไปหาความอุดมสมบูรณ์ได้ที่ไหน (สารคดี ฉบับ ๖๘ หน้า ๑๐๕, ตุลาคม ๒๕๓๓)
·
สิ่งที่ผมมักพูดอยู่เสมอก็คือ ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ
ก็เป็นการอนุรักษ์ที่เราได้ประโยชน์ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตัดมาใช้
ต้นไม้ให้อากาศ ให้น้ำ...นี่เป็นการใช้ใช่ไหม
ใช้โดยที่เราไม่ต้องไปตัดเอาส่วนของมันมาใช้ (สารคดี ฉบับ ๖๕ หน้า ๙๓, กรกฎาคม ๒๕๓๓)
·
ในความรู้สึกของผม เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรอกว่า
เราจะใช้ป่าไม้อย่างไร เพราะมันเหลือน้อยมากจนไม่ควรใช้
จึงควรจะรักษาส่วนนี้เอาไว้
เพื่อให้เราได้ประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ทางอ้อม...มันจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า
การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ จะต้องมองว่ามีการใช้ทั้งทางตรงทางอ้อม
ป่าที่เก็บไว้ในรูปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติควรจะใช้ประโยชน์ในทางอ้อม
(สารคดี ฉบับ ๖๕ หน้า ๙๔, กรกฎาคม ๒๕๓๓)
·
ถ้าเผื่อเรามีทรัพยากรที่เป็นลุ่มน้ำอยู่มาก
แล้วเรารักษาป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ได้บางส่วน ใช้ไปบางส่วน
เหมือนสมัยที่เรามีป่ามาก เราอาจจะสร้างเขื่อนได้บางแห่ง แต่ในปัจจุบัน
ลักษณะของพื้นที่ที่เป็นลุ่มน้ำที่เหมาะจะสร้างเขื่อนให้ได้ปริมาณน้ำมากๆ
เอามาผลิตกระแสไฟฟ้ามันเหลือน้อย และการที่เราสร้างเขื่อนไปก่อน
แล้วค่อยตามแก้ไขผลกระทบทีหลัง ผมคิดว่ามันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้
ในทางปฏิบัติ...เดี๋ยวนี้เขื่อนเริ่มจะเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว
เพราะว่าป่าข้างนอกหมดแล้ว อย่างที่เขาใหญ่ก็เริ่มจะพูดถึงการสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์
หากว่าการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังทำได้อีกต่อไป
ผมคิดว่าป่าอนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่า
เคยเป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน (สารคดี ฉบับ ๖๕ หน้า ๙๖, กรกฎาคม ๒๕๓๓)
·
ถึงแม้จะมี พ.ร.บ.ป่าไม้ แต่ป่าไม้เมืองไทยก็ยังลดลงตลอดเวลา
นโยบายป่าไม้แห่งชาติ จึงออกมาเพื่อควบคุม พ.ร.บ.ป่าไม้อีกที โดยเขาแบ่งป่าออกเป็น
๒ ลักษณะ คือ ป่าอนุรักษ์กับป่าเศรษฐกิจ โดยให้ป่าเศรษฐกิจ ๒๕% กับป่าอนุรักษ์ ๑๕%
ซึ่งจะทำให้พื้นที่ป่าไม้ของประเทศทั้งหมด ๔๐% ซึ่งมองแล้วมันดี
แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันจะเพิ่มในแง่ของป่าเศรษฐกิจ พวกยูคาลิปตัส
ซึ่งไม่ได้เน้นในเรื่องของระบบนิเวศวิทยา การที่เราปลูกไม้โตเร็ว ๒-๓ ชนิด
แล้วไปตัดไม้ในป่าธรรมชาติ ผมคิดว่ามันไม่มีทางรักษาป่า หรือทำให้เป็นป่าธรรมชาติได้อีก
สำหรับป่าธรรมชาติตอนนี้เหลืออยู่เพียง ๑๙% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นป่าอนุรักษ์ต้นน้ำ
ลำธาร อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ประมาณ ๙% ส่วนอีกไม่ถึง ๑๐%
เป็นป่าสงวนที่อยู่รอบ ๆ ป่าอนุรักษ์ ตัวนี้แหละที่ถูกราษฎรบุกรุกอยู่ทุกวันโดยอ้างว่าไม่มีที่ดินทำกินและมีการซื้อขายอย่างผิดกฏหมาย
โดยพวกนายทุนที่อยู่ในเมืองหรือมีอิทธิพล หนทางแก้ไข
มันต้องหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ซึ่งอันนี้ต้องมีการประสานกันทุกฝ่าย หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง
ต้องรับรู้นโยบายกันบ้าง แล้วก็ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ถ้าเขาขายที่ดินอันนี้ไปแล้ว
เขาไม่มีทางไปอีกนั่นแหละจึงจะสามารถหยุดปัญหานี้ได้ (พีเพิล ฉบับ ๒๑ หน้า ๖๑, สิงหาคม ๒๕๓๓)
·
การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย
จะสามารถประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความเข้าใจ
และความจริงใจต่อการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ประมาณร้อยละ ๒๐
ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ไม่เช่นนั้นแล้วจำนวนชนิดของสัตว์ป่าที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์เหล่านี้ก็จะต้องสูญไป
พร้อมกับการบุกรุกทำลายป่า ทั้งในรูปแบบของการพัฒนาที่ต้องตัดป่า
ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าออกและรวมถึงการยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าเพื่อกิจการอื่นๆ
(เอกสารประกอบการสัมมนาสิ่งแวดล้อม ๓๓ หน้า ๔๒)
แต่ในยามนั้น
รัฐบาลจมลึก หลงใหล อยู่ในแนวคิด Problem ME พลังข้าราชการนักอนุรักษ์แนว Solution
WE เช่นคุณสืบ นาคะเสถียร จึงเป็นเพียงแสงเทียนริบหรี่
ยากที่จะต้านพายุแห่งอำนาจของรัฐบาล และ ความเฉยเมย หลับไหลของสังคมไทยส่วนใหญ่ การปลิดชีวิตตนเองเมื่อวันที่ ๑ กย ๒๕๓๓
คงเป็นวิธีสุดท้ายที่เขาหวังว่า จะสามารถเปิดใจสังคมไทยให้ตระหนักถึงคุณค่าองค์รวมของนิเวศป่าที่เหลือในไทย
๒๓ ปี จากวันนั้น ถึง วันนี้ “แผล” ไม่ได้จำกัดแค่ป่าอนุรักษ์แม่วงก์
๑ กย ๒๕๓๓
๑๐-๒๒ กย ๒๕๕๖
เสียงปืนก้องป่าในยามเช้าตรู่ ๒๓
ปีก่อน เมื่อคุณสืบ นาคะเสถียร สังเวยชีวิตตนเอง ได้ปลุกสังคมไทยที่หลับไหลให้ตื่นและฉุกคิด ส่งผลให้ผู้มีอำนาจในรัฐบาลชะงักการสร้างเขื่อนในไทยมากว่า
๒ ทศวรรษ
ปีนี้ อ.ศศิน เฉลิมลาภ เดินนำแม่วงก์ยาตรา ต่อเทียนที่คุณสืบ
นาคะเสถียร ทิ้งไว้ ให้ชาวไทยตาสว่าง “พลังเสือแม่วงก์” ที่อุบัติขึ้นจากการรวมตัวของคนนับหมื่นต้อนรับและร่วมยืนคัดค้านในวันที่
๒๒ กย มีส่วนทำให้ “ผู้ใหญ่” เลื่อนการประชุมตัดสินใจออกไปจากหมายกำหนดการวันที่
๒๓ กย แม่วงก์ยาตรา ได้บรรลุเป้าประสงค์แม้จะยังไม่มีหลักประกันเด็ดขาดว่าจะนักการเมืองจะไม่คุกคามป่าแม่วงก์ต่อไป แต่ภารกิจในการทอแสง เปิดตาเปิดใจ ประสานจิตร่วม
ยังไม่จบ แม่วงก์ยาตรา เป็นเพียงจุดเริ่มต้น
ของการกล้าท้าทาย ME ด้วย WE
“พลังเสือแม่วงก์”
๒๒ กย ๕๖ หน้า หอศิลป์ กทม
การคุกคามของ จิตโลภ แนวคิด ME
แพร่กระจายไปทั่วพิภพ
ส่วนไทยในช่วง ๒๓ ปี ก็ได้ทวีความรุนแรงเสมือนการลุกลามของมะเร็งที่ไร้พรมแดน
ไม่ว่าจะเป็นนิเวศป่า หรือ สุขภาวะของคน
ภายใต้ป้ายโฆษณา “พัฒนาชาติ” ในความเป็นจริง มันเป็นการสยบมอบอธิปไตยทางอาหารของประชาชนให้นายทุน
บรรษัทเก็งกำไรต่างๆ แลกกับเงินตรา ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีต่างๆ ภายใต้นโยบายรัฐ แนวคิด
ME...สวนทางกับ เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ที่ใช้แนวคิด WE... การต่อสู้ระหว่าง
ME และ WE อาจเห็นได้เป็นรูปธรรม เช่น
“เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” มจ.กฤดากร
-
“มหาอำนาจยุคใหม่: แพ้ชนะ วัดกันที่สุขภาพประชาชน”, ไทยรัฐ, ๒๑ กย ๒๕๕๖
-
แต่ในไทยทุกวันนี้ “ข้าวปลา” ที่มีเกลื่อนตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่ใช่อาหารแท้
ตามธรรมชาติ—ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารโลก—แต่ ปนเปื้อนและผ่านกรรมวิธีเหี้ยมโหด
รุนแรง จนเป็นสาเหตุของโรค “ทันสมัย” มากมาย
ป่า
สังเวยพืชเศรษฐกิจ ไล่ตามนโยบายรัฐ และตลาดมืด
-
รัฐบาลใช้แนว ME ดำเนินนโยบายส่งเสริมและประกันราคาพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ยางพารา ข้าวโพด
อ้อย ฯลฯ เพื่อค้าในตลาดโลก แต่ขาดวิสัยทัศน์ปรับตัวทันโลก ได้ชาวไร่ชาวนาติดหล่มหนี้
และ ชาวไทยต้องแบกภาระหนี้เงินกู้ชั่วลูกหลาน
นโยบายเหล่านี้กระตุ้นชาวบ้านให้ถางที่คุกคามป่า
-
ส่วนป่าเล็กป่าน้อยในภาคต่างๆ
ที่หลงเหลืออยู่ ก็กำลังถูกล้างผลาญ “พุพองเป็นหนองเน่าไปทั่ว” ตัวอย่างเช่น
เสียงจากลำปาง: ฟัง อ่านแล้วก้เศร้าใจ มีเรื่องเล่าที่ลำปาง..คนไทยที่สนใจมันก็มีอยู่คะ..แต่น้อยลำปางก็กำลังเคลื่อนเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำปางอ่ายที่อำเภอเมืองปาน..ชาวบ้านกำลังให้ความสนใจดูความเคลื่อนไหวอยู่เหมือนกันคะเพราะป่าไม้เป็นป่าต้นน้ำเลยที่เดียวท่านเคณะจังหวัด(พระราชจินดานายก)ท่านก็ลุกมาปกป้องป่า ขณะเดียวกันชาวบ้านรุกขึ้นมาขายที่กัน เราเริ่งเคลื่อนไหวในพื้นที่แต่พระคุณเจ้าก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นพระมายุ่งกับทางโลกไม่เหมาะ..ดูมันว่าคะ ..เขื่อนแม่วงป่าแม่วง และป่าทุกๆแห่ง..ก็น่าหวงมากๆๆ อนาคตป่าไทยไม่รู้จะเป็นอย่างไร..จะเหลือถึงลูกหลานหรือไม่ก็อยู่ที่คนไทยเท่านั้นคะ
เสียงจากอำนาจเจริญ: ไม้ พยุงกำลังถูกกว้านซื้ออย่างรุ นแรงถ้าใครมีไม่ขายก็ต้องถู กขโมยทันที
เสียงจากลำปาง: ฟัง อ่านแล้วก้เศร้าใจ มีเรื่องเล่าที่ลำปาง..คนไทยที่สนใจมันก็มีอยู่คะ..แต่น้อยลำปางก็กำลังเคลื่อนเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำปางอ่ายที่อำเภอเมืองปาน..ชาวบ้านกำลังให้ความสนใจดูความเคลื่อนไหวอยู่เหมือนกันคะเพราะป่าไม้เป็นป่าต้นน้ำเลยที่เดียวท่านเคณะจังหวัด(พระราชจินดานายก)ท่านก็ลุกมาปกป้องป่า ขณะเดียวกันชาวบ้านรุกขึ้นมาขายที่กัน เราเริ่งเคลื่อนไหวในพื้นที่แต่พระคุณเจ้าก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นพระมายุ่งกับทางโลกไม่เหมาะ..ดูมันว่าคะ ..เขื่อนแม่วงป่าแม่วง และป่าทุกๆแห่ง..ก็น่าหวงมากๆๆ อนาคตป่าไทยไม่รู้จะเป็นอย่างไร..จะเหลือถึงลูกหลานหรือไม่ก็อยู่ที่คนไทยเท่านั้นคะ
เสียงจากอำนาจเจริญ: ไม้
การแย่งชิงทรัพยการธรรมชาติอย่างดุเดือดในไทยและทั่วโลก
และ ทิศทางประเทศไทยใน FTA
-
การขุดเหมืองแร่ การประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ มีลักษณะร่วม คือ ปล้น “ปุ๋ย/ธาตุอาหาร/แหล่งอาหาร”
ธรรมชาติที่ธำรงระบบนิเวศของความหลากหลาย (บก น้ำ ทะเล อากาศ) กำลังถูกขุด/เจาะ/จับลำเลียงเข้าสู่กระบวนการโรงงาน
(ซึ่งต้องใช้พลังงานเข้มข้น) เพื่อแปรรูปเป็นสินค้าในรูปต่างๆ กลับมาปรนเปรอ/หลอกล่อ
พวกเรา—ชนชั้นกลาง (มีอำนาจเงินซื้อบริโภค) และอำนวยความสะดวกสบายของวิถีเมือง
ที่ต้องพึ่งพลังงานเข้มข้นตลอด ๒๔ ชม
-
อาหารกำลังเป็นพิษมากขึ้น
การใช้เคมีภัณฑ์เกษตรผิดวิธีและชนิด จนผู้ผลิตดื้อด้านทางจิตใจ ในขณะที่ภูมิคุ้มกันของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคลดลง แมลง วัชพืชกลับยิ่งดื้อยายิ่งขึ้น ส่งผลให้คนดื้อยา ป่วยง่ายรักษายากตามไปด้วย แทนที่แก้ที่ต้นน้ำ “จิตโลภ” กลับนำไปสู่การตัดแต่งพันธุกรรม ยึดครองเมล็ดพันธุ์ ตลอดจน
“ล่าอาณานิคมแผนใหม่” ด้วย FTA
-
ฯลฯ
กระแสบีบคั้นมหาศาลเหล่านี้
มักทำให้เราประชาชนรู้สึกท้อแท้ “ไม้ซีกหรือจะงัดไม้ซุงได้” ในทางตรงข้าม
เป็นสถานการณ์ล่อใจให้ผู้มีอำนาจ “ขายวิญญาณ”
ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันแน่นอนถึงความปลอดภัยของทรัพยากรธรรมชาติและนิเวศ
รวมทั้งที่ได้ประกาศอนุรักษ์แล้ว ทั้งๆ ที่ภาวะโลกร้อนเข้าขั้นวิกฤต
อย่างไร
การต่อสู้ระหว่างแนวคิด ME และแนวคิด WE ทั่วโลกในลักษณะการรณรงค์ คัดค้าน และให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ เริ่มถักทอ
โยงใย เชื่อมต่อ จนปรากฏเป็นรูปธรรมชัดขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย อาการตาบอดของพวกเรา
ก็ค่อยๆ สว่าง “เห็นช้าง” เต็มตัวยิ่งขึ้น ส่วนแม่วงก์ยาตราได้พิสูจน์ให้เห็นถึงอำนาจต่อรองของพลังร่วมอหิงสา:
การใช้ข้อมูลสหวิชาการอย่างซื่อสัตย์ การมีสติ ปัญญา ขันติธรรม
และเมตตาจิตต่อฝ่ายที่เห็นต่าง แทนการก่นด่า ปะทะคารมด้วยอารมณ์ แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพลังบวก
WE ที่เคารพสิทธิ์ของสรรพชีวิต มีสัตว์ป่าเป็นปฐม “พลังเสือแม่วงก์” เป็นพื้นที่ใหม่ที่เปิดขึ้นในจิตสำนึกร่วมของสาธารณชนไทย
แต่พื้นที่จิตร่วมนี้ จะดำรงอยู่และเข้มแข็งแค่ไหน คงขึ้นอยู่ที่ความสามารถในการถอดบทเรียน/วุฒิภาวะของประชาชนในสังคมและการนำไปประยุกต์ปฏิบัติจัดการกับชีวิตตนเอง
เพื่อแหกคอกกัก ME สู่การมีส่วนร่วมในการเบิกทางรอดร่วม WE
[3]
ข้อมูลจาก “ทำไม!!...ต้องค้านเขื่อนแม่วงก์”
เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม, กค ๒๕๕๕, http://www.ebooks.in.th/ebook/6578/ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์ และ “แถลงการณ์คัดค้าน...” ณ วันที่ ๒๐ กย ๕๖
[4] หลายปีก่อน เมื่อคุณปลอดประสพ ยังเป็นอธิบดี ได้อนุมัติ—มิใยภาคประชาสังคมจะคัดค้านอย่างหนัก—ให้ต่างชาติมาถ่ายทำภาพยนตร์ที่เกาะพีพี ผลคือ
การขุดรากถอนโคนนิเวศพีพีเพื่อจัดฉากหนังอย่างสุดเหวี่ยง ไม่แน่ใจว่า
มีการศึกษาติดตามประโยชน์ที่ได้รับจากการยอมให้ทำลายนิเวศเพื่อถ่ายหนัง
กับเงินภาษีที่ต้องทุ่มฟื้นฟูระบบนิเวศ เป็นเช่นไร และ ผลสุดท้าย ใครได้ ใครเสีย ...
ไม่เพียงแต่เม็ดเงินทางการ แต่ประมวลรวมมูลค่าในมิติอื่นด้วย ... และใช้เวลากี่ปี กว่านิเวศพีพีฟื้น
ได้แค่ไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น