291. Wars,
Human Waves, and Mismanagement
Italy Sees
New Migrants Influx
ระลอกใหม่ของผู้ย้ายถิ่น เข้าอิตาลี
ROME, Sep 11 2013 (IPS) - After what
is remembered as the North Africa emergency of 2011, Italy is again seeing an
increase in the arrivals of migrants, especially asylum seekers.
โรม—หลังจาก สถานการณ์ฉุกเฉินอาฟริกาเหนือ ปี ๒๕๕๔,
อิตาลีก็กลับมาเห็นผู้ย้ายถิ่นเข้ามาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง,
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะผู้ลี้ภัยการเมือง.
According to the latest report
from the United Nations Refugee Agency (UNHCR) on asylum trends, the “Arab
Spring” in North Africa “led to a tripling of the number of asylum applications
in 2011 (34,100 claims) – making Italy the fourth-largest recipient among the
group of 44 industrialised countries. In 2012, however, the number of boat
arrivals dropped significantly.”
ตามรายงานล่าสุดจากหน่วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (UNHCR) ถึงแนวโน้มการลี้ภัยการเมือง,
“อาหรับสปริง” ในอาฟริกาเหนือ
“ได้นำไปสู่จำนวนผู้ยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองเพิ่มขึ้นสามเท่าตัวในปี ๒๕๕๔ –
ทำให้อิตาลีกลายเป็นประเทศรับใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่ ๔ ในบรรดา ๔๔
ประเทศอุตสาหกรรม. แต่ในปี ๒๕๕๕,
ตัวเลขของผู้มาทางเรือได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ”.
Nevertheless, the turmoil in Egypt
and Syria could lead to yet another emergency that Italy, as one of the main
gateways to Europe, will have to face. The number of boats arriving at the
southern shores is increasing and has already surpassed the 2012 total.
ถึงกระนั้น, ความยุ่งเหยิงในอียิปต์และซีเรีย
อาจนำไปสู่ภาวะฉุกเฉินอีกรอบในอิตาลี, ในฐานะที่เป็นประตูหลักสู่ยุโรป,
ที่มันจะต้องเผชิญ.
จำนวนเรือที่มาเทียบท่าในชายฝั่งใต้กำลังเพิ่มมากขึ้น และ ได้ทะลุสถิติของปี
๒๕๕๕ แล้ว.
According to an estimate from UNHCR,
more than 18,000 boat people have turned up this year. Many of them are Syrians
– at least 250 Syrians turned up on just two days, Aug. 23 and 24. Italy
received 15,700 asylum applications in 2012.
ตามการประเมินจาก UNHCR, ผู้ลี้ภัยทางเรือกว่า ๑๘,๐๐๐ คน ได้โผล่ขึ้นมาในปีนี้. หลายคนมาจากซีเรีย—อย่างน้อยชาวซีเรีย ๒๕๐
คนโผล่ขึ้นมาในเวลาเพียง ๒ วัน, ๒๓ และ ๒๔ สค.
อิตาลีได้รับผู้ขอลี้ภัย ๑๕,๗๐๐ ราย ในปี ๒๕๕๕.
Such a scenario represents a tough
challenge to the already weak Italian reception system, which saw a migration
flow of around 60,000 people as an emergency in 2011. The first victims of
these emergencies are usually the asylum seekers themselves for whom, the
government is unable to guarantee basic rights.
ภาพเช่นนี้ เป็นการท้าทายที่ยากเข็ญต่อระบบการต้อนรับของอิตาลีที่อ่อนแออยู่แล้ว,
ที่เพิ่งเห็นการหลั่งไหลของผู้ย้ายถิ่นประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนในปี ๒๕๕๔. เหยื่อกลุ่มแรกๆ ของภาวะฉุกเฉินเหล่านี้ มักจะเป็นผู้ขอลี้ภัยทางการเมือง
ผู้ซึ่งรัฐบาลของตนเองไม่สามารถประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขาได้.
According to Valeria Carlini,
spokesperson for the Italian Refugee Council (CIR) “the CARA system (centres
dedicated to the reception of asylum seekers right after their arrival) is
already collapsing. In these big centres, some of which can host up to 1,800
people, asylum seekers should stay for no more than 35 days, which is also the
time limit to complete the asylum procedure. The truth is that the procedure
can take up to eight months,”
Structures for the second level of
reception, SPRAR, have increased capacity this year from 3,700 to 5,000 “which
is clearly not enough to face the need of all the refugees that Italy
receives,” Carlini told IPS.
ตามคำพูดของ แวเลอรี คาร์ลินี, “ระบบ CARA
(ศูนย์รับผู้ลี้ภัยทางการเมืองทันทีเมื่อมาถึง) ได้ล่มสลายไปแล้ว. ในศูนย์ใหญ่ๆ เหล่านี้, บางที่รับคนได้ถึง
๑,๘๐๐ คน, ผู้ลี้ภัยทางการเมืองควรอยู่ไม่เกิน ๓๕ วัน,
ซึ่งเป็นระยะเวลาสิ้นสุดขั้นตอนการขอลี้ภัยทางการเมือง. ความจริงคือ กระบวนการขอลี้ภัยทางการเมือง
อาจใช้เวลานานถึง ๘ เดือน”.
โครงสร้างสำหรับการรับผู้ลี้ภัยขั้นที่สอง, SPRAR,
ได้เพิ่มปริมาณรับคนในปีนี้ จาก ๓,๗๐๐ เป็น ๕,๐๐๐ คน “ซึ่งเห็นได้ชัดว่า
ไม่เพียงพอที่จะรับมือกับความต้องการของผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่อิตาลีได้รับ”,
คาร์ลินีกล่าว.
“According to a law of 2005,
whenever the system is not able to provide the asylum seeker with a hosting
solution, the prefectures are obliged to guarantee this person with a per diem
to pay for an accommodation. Since the law was approved, we have never seen any
prefecture giving this money.
“ตามกฎหมายปี ๒๕๔๘, เมื่อไรที่ระบบไม่สามารถหาทางออกรับมือกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้,
อำเภอก็มีพันธะที่จะประกันให้ค่าเงินรายวันแก่คนๆ นี้ ให้จ่ายเพื่อยังชีพได้. ตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติ,
เรายังไม่เคยเห็นอำเภอใดที่ให้เงินดังกล่าว”.
“In cities like Rome where the
system is more congested, asylum seekers end up living literally on the
streets,” she said.
“ในเมืองเช่น โรม ที่ๆ ระบบยิ่งคับคั่ง แออัด,
ผู้แสวงหาทางลี้ภัยสุดท้ายต้องอยู่กินบนท้องถนน”, แวเลอรี คาร์ลินี,
โฆษกของสภาผู้ลี้ภัยอิตาลีกล่าว.
Investing in the SPRAR system has
not been a priority for Italy. Giovanni Cervioni with the local association
Filo D’Arianna was responsible for a reception project in Tuscany during the
North Africa emergency of 2011. “The most absurd thing during that time was to
see how a huge amount of public money was spent in creating a new emergency
plan with no coordination nor national guidelines, instead of funding a
structure, SPRAR, that already existed and that was working despite its scarce
resources.”
การลงทุนในระบบ SPRAR ไม่ใช่เป็นเรื่องในลำดับต้นๆ สำหรับอิตาลี. Giovanni Cervioni
กับสมาคมท้องถิ่น Filo D’Arianna รับผิดชอบในโครงการรับคนใน ทัสคานี ในระหว่างภาวะฉุกเฉินในอาฟริกาเหนือ
ปี ๒๕๕๔. “สิ่งที่เหลวไหลที่สุดตอนนั้น
คือ การได้เห็นเงินสาธารณะจำนวนมหาศาลที่ถูกใช้ไปในการสร้างแผนฉุกเฉินใหม่
ที่ไม่มีการประสานงาน หรือ แนวทางแห่งชาติ, แทนที่จะให้งบเพื่อโครงสร้าง, SPRAR, ที่มีอยู่แล้ว และ ที่ยังคงทำงานไปได้ ทั้งๆ ที่มีทรัพยากรเล็กน้อย.
According to Cervioni, the emergency
plan simply consisted in handing out up to 46 euros a day per asylum seeker to
any individual or association who was able and willing to host them, becoming a
temporary business for operators in the hospitality sector.
ตามความเห็นของ Cervioni, แผนฉุกเฉินประกอบด้วยการให้เงิน ๔๖ ยูโร / วัน / ผู้ขอลี้ภัยทางการเมืองหนึ่งคน
แก่บุคคล หรือ สมาคมใด ที่สามารถหรือยินดีเป็นเจ้าภาพของพวกเขา,
ได้กลายเป็นธุรกิจชั่วคราวสำหรับพวกหากินในภาคส่วนโรงพยาบาล.
“Essentially, the aim was to keep
those people for the time required to give them a permit that would be accepted
at the EU borders and then free the structure and let them go wherever they
wanted,” Cervioni told IPS.
Maria De Donato at the legal
department of CIR reveals a more serious detail about Italian management of
migrants. The UNHCR, the International Organisation for Migration and Save the
Children have said that Egyptian and Tunisian migrants are detained and then
expelled from Italy simply on the basis of their nationality.
“This has been going on for months
now, and we have reasons to believe it is an illegal procedure: upon their
arrivals, Egyptian and Tunisian migrants are detained with no possibility to
communicate with the outside and then repatriated after some days or weeks,” De
Donato told IPS.
“อันที่จริง, จุดหมายคือ
ดูแลคนเหล่านี้ในช่วงเวลาที่ต้องใช้เพื่อออกใบอนุญาตที่ใช้ข้ามพรมแดนใน อียู ได้
แล้วปลดล็อคเชิงโครงสร้างให้พวกเขาเป็นอิสระไปไหนก็ได้ตามต้องการ”, เขากล่าว. Maria
De Donato ที่แผนกกฎหมายของ CIR
เผยรายละเอียดที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการจัดการผู้ย้ายถิ่นในอิตาลี. UNHCR และ Save
the Children บอกว่า ผู้อพยพชาวอียิปต์และชาวตูนีเซีย
ถูกกักและขับออกจากอิตาลี ด้วยเพียงสัญชาติของพวกเขา. “เป็นเช่นนี้มาหลายเดือนแล้ว, และ
เรามีเหตุผลพอที่จะเชื่อว่า มันเป็นขั้นตอนที่ผิดกฏหมาย: เมื่อพวกเขามาถึง, คนอพยพอียิปต์และตูนีเซีย จะถูกกักตัว
ไม่มีโอกาสจะสื่อสารกับคนภายนอก แล้วก็จะถูกส่งออกหลังจากหลายวันหรือหลายสัปดาห์”,
เดอ โดนาโตกล่าว.
It is unlikely that these people are
given the chance to ask for asylum, which would make this a serious violation
given the worsening conditions in Egypt. “Targeting these nationalities is
probably due to re-admission agreements between the two and Italy, but we think
this is a case of collective expulsion, which is clearly prohibited by the
Article 19 of the EU Charter of Fundamental Rights,” De Donato said.
คนเหล่านี้ ไม่น่าจะมีโอกาสขอลี้ภัยทางการเมืองได้,
ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ์ขั้นร้ายแรง ในเมื่อสถานการณ์ในอียิปต์แย่ลงเรื่อยๆ. “การพุ่งเป้าไปที่คนสัญชาติดังกล่าว
คงเป็นเพราะข้อตกลงการรับกลับระหว่างสองประเทศนี้กับอิตาลี, แต่พวกเราคิดว่า
นี่เป็นกรณีของการขับหมู่, ซึ่งเป็นข้อห้ามที่ชัดเจนในมาตรา ๑๙ ของกฎบัตร
อียูว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐาน”, เดอ โดนาโต กล่าว.
The North Africa emergency plan
ended in February 2013 “and we are now in the same conditions as before the
emergency,” Cervioni said. “We are facing again a consistent number of arrivals
and we are back from the starting point, only this time I doubt that the
government can afford to spend that much money again.”
แผนฉุกเฉินอาฟริกาเหนือ สิ้นสุดในเดือน กพ ๒๕๕๖ “และตอนนี้
เราอยู่ในภาวะอย่างเดียวกันกับภาวะฉุกเฉินคราวที่แล้ว”, Cervioni กล่าว. “เรากำลังเผชิญอีกครั้ง
กับจำนวนคนที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และเราก็กลับไปที่จุดเริ่มต้นอีก, เพียงแต่ว่า
ครั้งนี้ ฉันไม่แน่ใจว่า รัฐบาลจะสามารถจ่ายเงินมากมายเช่นนั้นได้อีก”.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น