294. Into the 10th
Month of Sombath Somphone’s Disappearance: Australians
Challenge the Regional Leadership of Their Government
Why A
Missing Lao Activist Should Concern Us All
By Kearrin Sims and James
Arvanitakis
ทำไม การหายตัวของนักกิจกรรมชาวลาว จึงควรที่เราจะห่วงใยด้วย
If
Australia wants to show leadership within Asia, drawing attention to the
disappearance of activist Sombath Somphone is a good place to start, write
Kearrin Sims and James Arvanitakis
In February 2013, there was much
fanfare when Laos became the 158th member of the World Trade Organisation
(WTO). This was a big step for the country, and the free trade model of
economic development was again celebrated as providing a pathway to membership
in the global community, improved living standards and a general decline in
poverty. However, amidst these celebrations many both
within and outside the country were pre-occupied with the disappearance of
Sombath Somphone, an internationally recognised Laotian community rights
activist. Just who Sombath was and why his disappearance
is so important, both as an individual and as a representative of his country,
goes to the core of the failings of neoliberalism as a model for development.
It highlights that without a conscious effort to improve human rights and
equality, economic development will make some very rich while leaving the
majority of the population behind. This is not a model for long-term stability. Sombath Somphone is the
founder of the Participatory Development Training Centre (PADETC) in Laos.
ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖, เสียงดนตรีดังกระหึ่ม
เมื่อลาวได้เป็นสมาชิกลำดับที่ ๑๕๘ ของ องค์การค้าโลก (WTO).
นี่เป็นก้าวยิ่งใหญ่สำหรับประเทศ, และโมเดลการค้าเสรีของการพัฒนาเศรษฐกิจ
ก็ได้ถูกเฉลิมฉลองอีกครั้ง ในฐานะที่เป็นตัวเปิดทางสู่สมาชิกภาพของประชาคมโลก,
การมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น และ ความยากจนทั่วไปที่ลดต่ำลง. แต่, ในท่ามกลางการเฉลิมฉลองเหล่านี้ หลายๆ
คนทั้งในและนอกประเทศ กำลังหมกมุ่นอยู่กับการหายตัวไปของ สมบัด สมพอน, ชาวลาวนักรณรงค์สิทธิชุมชน
ผู้เป็นที่นับถือในระดับสากล. เพียงแค่ถามว่า
ใครคือ สมบัด สมพอน และ ทำไมการหายตัวไปของเขาจึงสำคัญยิ่ง,
ในฐานะปัจเจกบุคคลหนึ่ง และ ในฐานะตัวแทนของประเทศของเขา, ก็แทงทะลุไปถึงแก่นของความล้มเหลวของลัทธิเสรีนิยมใหม่
ในฐานะที่เป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนา.
มันชูให้เห็นว่า หากปราศจากความพยายามด้วยมโนสำนึกที่จะปรับปรุงสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาค,
การพัฒนาเศรษฐกิจจะทำให้บางคนร่ำรวยขึ้นมากๆ ในขณะที่ละทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่รออยู่ข้างหลัง. นี่ไม่ใช่ต้นแบบเพื่อเสถียรภาพในระยะยาว. สมบัด สมพอน เป็นผู้ก่อตั้ง
ศูนย์การฝึกอบรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (PADETC) ในลาว.
He is truly a success story. Coming
from an impoverished rural farming family in Laos’ Khammouane province, he was
granted an exchange scholarship to spend his final year of high-school in the
US before being granted another USAID scholarship to study Education and
Agriculture at the University of Hawaii. In 1979 Sombath returned to Laos to
work on rural development issues and, 17 years later in 1996 he started PADETC,
continuing his focus on local-scale development and poverty alleviation. To
this day PADETC represents one of only a few civil society organisations in
Laos that have been driven primarily by Lao citizens, rather than foreign
expatriates.
Sombaths‘ work has been
internationally recognised. In addition to being awarded the Human Resource
Development Award (2001) for empowering the rural poor in Laos from the United
Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific’ (UNESCAP) he
is also a recipient of the prestigious Ramon Magsaysay Award for Community
Leadership (2005).
เรื่องราวของเขา เป็นเรื่องของความสำเร็จที่แท้จริง. เขามาจากครอบครัวชาวนาที่ยากจนในชนบทของ
จ.คำม่วน ของลาว, ได้รับทุนแลกเปลี่ยนให้ไปใช้ชีวิตมัธยมศึกษาตอนปลายปีสุดท้ายในสหรัฐฯ
ก่อนที่จะได้รับอีกทุนจาก USAID ให้ศึกษาด้าน
การศึกษาและเกษตร ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย.
ในปี ๒๕๒๒ สมบัด เดินทางกลับประเทศลาว เพื่อทำงานด้านการพัฒนาชนบท และ, ๑๗
ปีต่อมา ในปี ๒๕๓๙ เขาเริ่มงานภายใต้ PADETC,
เน้นการพัฒนาและบรรเทาความยากจนในบริบทของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง. ตราบจนทุกวันนี้ PADETC
เป็นตัวแทนหนึ่งขององค์กรประชาสังคมเพียงไม่กี่แห่งในลาว ที่ขับเคลื่อนโดยพลเมืองลาว,
แทนที่จะเป็นคนต่างชาติ. งานของสมบัด
ได้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ.
นอกเหนือจากรางวัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (๒๕๔๔) สำหรับผลงานในการเสริมสร้างอำนาจต่อรองแก่คนยากจนในชนบทในลาว
ที่ได้รับจาก UNESCAP, เขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ
รามอน แมกไซไซ ด้านภาวะผู้นำชุมชน (๒๕๔๘).
In October 2012 Sombath and other
PADETC staff became involved in the Asia-Europe People’s Forum (AEPF) held in
Vientiane, Laos.
ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ สมบัด และ เจ้าหน้าที่อื่นๆ ของ PADETC ได้มีส่วนร่วมในเวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป (AEPF) ในเวียงจันทน์, ลาว.
Although the forum had official
approval and was opened by the deputy Prime Minister Thongloun Sisoulith this
was a tense time in Laos. The very sort of communities that Sombath sought to
empower – poor farmers – had come from rural areas to testify about being
displaced from their land. Security agents sat in the back row at every panel
discussion and jumped up to defend the Lao government at the slightest hint of
criticism. All speakers were filmed and at least one villager who complained
about government policy was openly intimidated.
แม้ว่า เวทีนี้ จะได้รับการอนุมัติจากทางการ และ
รองนายกรัฐมนตรี ทองล้วน สิสุลิด ได้มาทำพิธีเปิด มันเป็นเวลาตึงเครียดในลาว. ชุมชนแบบที่ สมบัด หาทางช่วยสร้างเสริมอำนาจต่อรองให้—ชาวนาที่ยากจน—ได้มาจากชนบท
เพื่อมาให้การเรื่องที่พวกเขาถูกขับไล่จากที่ดินของพวกเขา. หน่วยรักษาความมั่นคงนั่งอยู่ที่แถวหลังในทุกๆ
เวทีการอภิปราย และก็จะกระโดดลุกขึ้นปกป้องรัฐบาลลาวทันทีที่มีการวิจารณ์แตะต้องรัฐบาลลาวแม้เพียงนิดเดียว. มีการบันทึกภาพผู้พูดทุกคน และ
อย่างน้อยชาวบ้านคนหนึ่งที่ร้องทุกข์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลได้ถูกข่มขู่อย่างเปิดเผย.
In an atmosphere of intimidation,
Sombath approached members of his government to solve the crisis.
Sombath also presented a keynote
speech (pdf) at the forum’s opening
ceremony and many believe that it was Sombath’s role in this event that led to
his disappearance.
ท่ามกลางบรรยากาศของการข่มขู่, สมบัด ได้เข้าหาสมาชิกของรัฐบาลของเขาหลายคน
เพื่อหาทางคลี่คลายวิกฤตนี้. สมบัด
ได้นำเสนอบทความที่เขากล่าวสุนทรพจน์ ในพิธีเปิดเวที และ หลายๆ คนเชื่อว่า
นั่นเป็นบทบาทของสมบัด ในงานนี้ที่นำไปสู่การหายตัวไปของเขา.
In his keynote, Sombath focussed on
both the failings and achievements of “development”, including ongoing
inequalities:
ในสุนทรพจน์ของเขา, สมบัด เน้นทั้งความล้มเหลว และ ความสำเร็จ
ของ “การพัฒนา”, รวมทั้ง ความไม่เสมอภาคที่เกิดขึ้นด้วย:
“Emotionally and spiritually
speaking we have even fared worse – there is so much greed, so much corruption,
so much intolerance and bigotry, and so much violence that prevail in many of
our societies both in Asia as well as in Europe.
“พูดถึงด้านอารมณ์และจิตวิญญาณ พวกเราแย่ลง—มีความโลภ,
คอรัปชั่น, ความไม่อดทน ดันทุรัง, และความรุนแรง มากมายเหลือเกิน ที่มีอยู่ทั่วไปในหลายๆ
สังคมของเรา ในเอเชียตลอดจนในยุโรป.
…the development model is not
balanced, not connected, and definitely not holistic. Ordinary people, not
politicians, not the rich, and not CEOs, form the majority population in any
society and hence how society develops need to take into consideration their
needs….
...โมเดลการพัฒนาไม่สมดุล, ไม่เชื่อมโยงกัน, และแน่นอน
ไม่เป็นองค์รวม. ประชาชนสามัญ,
ที่ไม่ใช่นักการเมือง, ไม่ใช่คนรวย, และไม่ใช่ซีอีโอ, เป็นประชากรส่วนใหญ่ในทุกๆ
สังคม และดังนั้น สังคมจะพัฒนาอย่างไร
จำเป็นต้องพิจารณาถึงความต้องการของพวกเขาด้วย...
In the Lao context, poverty and
sustainable development are two sides of the same coin, the two are
inter-dependent and interrelated.”
ในบริบทของลาว, ความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน, ทั้งสองด้านต้องพึ่งพาอาศัยกัน และ
เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน”.
Though on first glance Sombath did
not directly criticise the government, stating that “listening to the voices of
the people is the first step to transforming the power structure” is not the
sort of comment that the Lao government likes to hear. Indeed, they could be
interpreted as seditious in Laos.
แม้ว่า ดูครั้งแรก สมบัด ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยตรง,
การกล่าวว่า “การรับฟังเสียงของประชาชน เป็นก้าวแรกของการพลิกโฉมโครงสร้างอำนาจ” ไม่ใช่เป็นความเห็นชนิดที่รัฐบาลลาวชอบฟัง. อันที่จริง, อาจถูกตีความว่า
เป็นการปลุกปั่นให้เกิดกบฏในลาว.
Sombath went missing in December
2012. According to a
website established to support him, CCTC
footage from 15 December 2012 confirms that he was stopped and taken into
custody by police.
สมบัด หายตัวไปในเดือนธันวาคม ๒๕๕๕. ตามข้อมูลในเว็บไซต์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนแก่เขา,
ภาพจากกล้องวงจรปิด จากวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ยืนยันว่า เขาถูกสั่งให้หยุดรถ และ
จับกุมโดยตำรวจ.
On news of Sombath’s disappearance,
both the international community and local activists quickly mobilised and on
20 December 2012, 21 INGOs working in Laos issued a letter to the Government of
Laos Ministry of Foreign Affairs to register their concern and offer their
assistance in “any way possible”.
ในด้านข่าวของการหายสาบสูญไปของ สมบัด, ทั้งประชาคมนานาชาติ
และ นักกิจกรรมท้องถิ่น ได้ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว และ ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕,
เอ็นจีโอสากล ๒๑ องค์กรในลาว ได้ออกจดหมายถึงรัฐบาลลาว ผ่านกระทรวงต่างประเทศ
เพื่อแจ้งบันทึกความห่วงใยของพวกเขา และเสนอตัวช่วยเหลือใน “ทุกทางที่เป็นไปได้”.
The international response to
Sombath’s experience has included statements from Hillary Clinton, Archbishop
Desmond Tutu and United States Secretary of State John Kerry, calling for Laos
to either release Sombath or launch an official investigation. The US embassy
in Vientiane also issued a statement calling for more to be done about
Sombath’s disappearance.
การตอบสนองสากล ต่อประสบการณ์ของสมบัด เช่น แถลงการณ์จาก
ฮิลลารีย์ คลินตัน, บาทหลวง เดสมอนด์ ตูตู และ จอห์น เคอร์รี เลขาธิการสหรัฐฯ,
ที่เรียกร้องให้ลาวปล่อยตัวสมบัด หรือ เริ่มสืบสวนอย่างเป็นทางการ. สถานทูตสหรัฐฯ ในเวียงจันทน์
ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทำอะไรมากกว่านี้เกี่ยวกับการหายตัวไปของ สมบัด.
Australia’s response has been less
impressive.
การตอบสนองของออสเตรเลีย น่าประทับใจน้อยกว่า.
In a radio
interview for ABC Radio Australia, Dr Keith
Barney from the Australian National University discussed a letter that a group
of “concerned scholars” within Australia had sent to the Department of Foreign
Affairs and trade. (The authors of this article are both signatories). The
response from the Department has been, at best, insufficient. With a $50 million
aid program to Laos and Australian companies having invested heavily in Lao
mining and natural resources, there is much more that can be done.
ในการสัมภาษณ์ทางวิทยุ สำหรับสถานีวิทยุ เอบีซี ออสเตรเลีย,
ดร.คีธ บาร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยออสเตรเลียแห่งชาติ อภิปรายถึงจดหมายที่กลุ่ม “บัณฑิตผู้ห่วงใย”
ในออสเตรเลียได้ส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศและการค้า. (ผู้เขียนบทความนี้ทั้งคู่
ได้ลงนามในจดหมายนั้นด้วย).
เสียงตอบสนองจากกระทรวง, อย่างดีที่สุด, ไม่เพียงพอ. ด้วยโปรแกมช่วยเหลือ ๕๐ ล้านดอลลาร์ แก่ลาว และ
หลายบริษัทของออสเตรเลียได้ลงทุนมหาศาลในการขุดเหมืองแร่และทรัพยากรธรรมชาติ,
มีหลายอย่างที่ควรจะทำได้มากกว่านี้.
As Barney emphasised, Sombath’s
disappearance sends a “chilling message to those working in community development,
particularly Lao nationals, about their ability to speak freely on critical
issues of resource rights and development policy in Laos”.
ดังที่ บาร์นีย์ ได้กล่าวเน้น, การหายตัวไปของสมบัด ส่ง “สารเสียววาบแก่พวกที่ทำงานพัฒนาชุมชน,
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนสัญชาติลาว, เกี่ยวกับขอบเขตที่พวกเขาจะพูดได้อย่างเสรีในประเด็นสำคัญๆ
ด้านสิทธิในทรัพยากร และ นโยบายการพัฒนาในลาว”.
“Most European countries have made
Mr Sombath’s case a priority issue in any bilateral meetings, and Lao ministers
travelling in Europe are constantly reminded of the case. In Thailand, a broad
network has been set up by friends, NGO workers, journalists and academics to
help search for Mr Sombath and keep the pressure on Lao authorities.”
“ประเทศยุโรปส่วนใหญ่ได้จัดให้กรณีของ คุณสมบัด อยู่ในลำดับต้นๆ
ของการประชุมทวิภาคีใดๆ, และ รัฐมนตรีลาวทั้งหลายที่เดินทางไปยุโรป
ก็จะถูกเตือนถึงกรณีนี้อย่างสม่ำเสมอ.
ในประเทศไทย, มิตรสหาย, คนทำงานเอ็นจีโอ, นักข่าว และ นักวิชาการ ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่าย
เพื่อช่วยค้นหา คุณสมบัด และ คอยกดดันผู้มีอำนาจของลาว”.
Australia needs to do more. The year
2012 marked a coming of age for tiny landlocked Laos.
ออสเตรเลียต้องทำอะไรมากกว่านี้. ปี ๒๕๕๕ เป็นปีที่ประเทศเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยแผ่นดินโตแล้ว.
In July Hillary Clinton became the
first US secretary of state since the 1950s to visit the country. The World
Trade Organization formally voted in October to allow Laos into the trade
grouping after years of negotiations. In early November, Laos’s capital
Vientiane hosted the Asia-Europe Meeting, which was attended by dozens of world
leaders and senior officials, including the Prime Minister of China and the
President of the European Council. Laos’ estimated economic growth of 8.3 per
cent last year made it Southeast Asia’s second highest economic performer
(after East Timor) and the 17th fastest growing national economy in the world. https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2003rank.html. However, all is not well in Laos.
ในเดือนกรกฎาคม ฮิลลารีย์ คลินตัน ได้เป็นเลขาธิการแห่งรัฐคนแรกของสหรัฐฯ
ที่ได้ไปเยือนประเทศลาว ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๙๓-. องค์การค้าโลก ได้ลงคะนนเสียงอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม
อนุญาตให้ลาวเข้าร่วมกลุ่มการค้าหลังจากต่อรองกันมาหลายปี. ในต้นเดือนพฤศจิกายน, เวียงจันทน์ เมืองหลวง
ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเชีย-ยุโรป, ซึ่งมีผู้นำระดับโลกและเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมด้วยหลายสิบคน,
รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศจีน และ ประธานาธิบดีแห่งสภายุโรป. ตัวเลขปีกลาย ที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจของลาวที่
๘.๓ เปอร์เซ็นต์ ทำให้ลาวติดอันดับสองของอุษาคเนย์ที่โตมากที่สุดทางเศรษฐกิจ
(หลังติมอร์ตะวันออก) และเป็นเศรษฐกิจชาติอันดับที่ ๑๗ ที่โตเร็วที่สุดในโลก. แต่ใช่ว่าทุกอย่างในลาวจะเป็นไปด้วยดี.
The disappearance of Sombath shows
that the Lao state has no intention of allowing its increased integration with
global economic flows to lead to increased political freedom, or for that
matter to meet the commitments that it made in 2009 to ratify the International
Covenant on Civil and Political Rights.
การหายสาบสูญไปของ สมบัด แสดงให้เห็นว่า รัฐลาวไม่มีเจตนาที่จะยอมเพิ่มการผนวกตัวเองเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก
ที่นำไปสู่เสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น, หรือ เพื่อบรรลุพันธกิจที่ได้สัญญาไว้ในปี
๒๕๕๒ ในการให้สัตยาบันกับอนุสัญญาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง.
The Lao state has a history of human
rights abuses against its citizens, especially the Hmong, and international
institutions such as Médecins
Sans Frontières and Amnesty International have raised concerns over these matters. Economic growth has
not changed this. If anything, it has given corrupt officials new opportunities
for wealth appropriation and exploitation, and a new incentive to use violence
as a means to silence the public.
รัฐลาวมีประวัติของการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองของตนเอง,
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวม้ง, และสถาบันนานาชาติ เช่น Médecins
Sans Frontières และ Amnesty International ได้แสดงความห่วงใยต่อเรื่องนี้มาตลอด. การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้เปลี่ยนแนวโน้มนี้เลย. หากมีอะไรบ้างที่เปลี่ยน, ก็คือการให้โอกาสใหม่ๆ
แก่เจ้าหน้าที่ทุจริต ได้ฉกฉวยและขูดรีดสร้างความมั่งคั่งแก่ตนเอง,
และแรงกระตุ้นใหม่ให้ใช้ความรุนแรงเป็นวิธีการปิดปากสาธารณชน.
Despite verbal pressure from the
international community, no economic sanctions have followed. It is no wonder
that if there are members of the Lao state who know what happened to Sombath,
they are not listening.
ทั้งๆ ที่มีแรงกดดันด้วยวาจาจากประชาคมนานาชาติ,
แต่ไม่มีการลงโทษทางเศรษฐกิจตามหลังเลย.
จึงไม่น่าประหลาดใจที่หากมีสมาชิกในรัฐลาว ที่รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นกับสมบัติ,
พวกเขาก็ไม่ฟัง.
Even worse, the month before
Sombath’s disappearance, the ASEAN Declaration of Human Rights was signed – with Laos as a signatory.
ที่แย่กว่านั้น, เดือนก่อนการหายตัวไปของ สมบัด, ลาวได้ร่วมลงนามใน
ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษชน.
Civil society groups from Malaysia,
the Philippines and Thailand have pushed for greater support of Sombath, but
the ASEAN Intergovernmental Commission for Human Rights (AICHR) (established in
2009), been weak in its response. ASEAN needs to recognise that Laos’ poor
response to human rights reflects poorly on the region.
กลุ่มประชาสังคมจากมาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และ ไทย ได้ผลักดันให้สนับสนุน
สมบัด มากขึ้น, แต่คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (AICHR ก่อตั้งในปี ๒๕๕๒),
อ่อนแอในการตอบสนอง.
อาเซียนจำเป็นต้องตระหนักว่า การตอบสนองที่แผ่วเบาของลาวต่อสิทธิมนุษยชน เป็นภาพสะท้อนที่ไม่งามเลยของภูมิภาคนี้.
Sombath’s disappearance reveals the
fallacy of the AEPF and the front that such meetings like to put forward about
development – a front that justifies greater private investment and that seeks
to represent development as “working” when this is anything but the case. It
reveals that economic liberalization in a politically repressive environment
means the rights of the poor are almost non-existent; they become seen merely
as inconveniences in the way of greater wealth accumulation for elites.
การหายสาบสูญไปของ สมบัด เผยให้เห็นความผิดพลาดของ AEPF และหน้าฉากที่การประชุมเช่นนี้
ชอบจัดขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนา—ฉากที่สร้างความชอบธรรมให้แก่การลงทุนภาคเอกชนมากขึ้น
และ ที่แสวงหาทางแสดงว่า การพัฒนา “กำลังทำงาน”
ในเมื่อไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากคดีความ.
มันเปิดเผยว่า การเปิดเศรษฐกิจเสรีในสภาวะแวดล้อมที่มีการปราบปรามทางการเมือง
ย่อมหมายถึง สิทธิของคนยากจนเกือบไม่มีเหลือเลย; พวกเขากลายเป็นเพียงพวกก่อความวุ่นวาย ขวางหนทางการสะสมความมั่งคั่งสำหรับเหล่าอภิสิทธิ์ชน.
Sombath’s position on development is
important to reflect on: he believed that engaging with youth was crucial to
successful sustainable development. He also believed strongly in the link
between education and development. These are values that we share. He was a man
who called for new approaches to teaching that focused on the linkages between
economics, sociology, cultural awareness, nature and people’s well being –
essential ingredients in the development of a sustainable society.
จุดยืนของ สมบัด เรื่องการพัฒนา เป็นเรื่องสำคัญที่พึงใคร่ครวญ: เขาเชื่อว่า การมีส่วนร่วมกับเยาวชน
เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การพัฒนาสำเร็จอย่างยั่งยืน. เขาเชื่อด้วยว่า
การศึกษาและการพัฒนามีความเชื่อมโยงกันมาก.
เหล่านี้ เป็นคุณค่าที่พวกเราขอแบ่งปัน.
เขาเป็นผู้เรียกร้องให้ใช้แนวทางใหม่ในการสอน
ที่เน้นเรื่องความเชื่อมโยงระหว่าง เศรษฐศาสตร์, สังคมศาสตร์, ความตื่นตัวเชิงวัฒนธรรม,
ธรรมชาติ และ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน—องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน.
Sombath’s disappearance also speaks
to the weakness of regionalism in Asia, which remains driven almost exclusively
by economic ties. Over the past year there has been much fanfare about
Australia’s engagement with the ‘Asian Century’. However, the
desire for increased economic integration must not be an excuse to fall silent
against human rights abuses. Australia was once a chief global advocate of
democratic social and political freedoms. If Australia wants to show leadership
within Asia, Sombath’s disappearance is a good place to start.
การหายสาบสูญไปของ สมบัด บอกถึงความอ่อนแอของความเป็นภูมิภาคเดียวกันของเอเชียด้วย,
ซึ่งยังคงถูกขับเคลื่อนเกือบทั้งหมดโดยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว. ในช่วงปีที่แล้ว มีการตีฆ้องร้องป่าวมากมายประกาศถึงการมีส่วนร่วมของออสเตรเลียกับ
“ศตวรรษเอเชีย”. แต่, แรงปรารถนาที่จะผนวกรวมมากขึ้นเชิงเศรษฐกิจ
จะต้องไม่กลายเป็นคำแก้ตัวที่ปิดปากเงียบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน. ครั้งหนึ่ง ออสเตรเลียเคยเป็นหัวหน้าในการรณรงค์สนับสนุนเสรีภาพในสังคมและการเมืองแบบประชาธิปไตย. หากออสเตรเลียต้องการแสดงภาวะผู้นำภายในเอเชีย,
การหายสาบสูญไปของ สมบัด เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น