296.
Is
FDR’s Government Theory Still Alive/Applicable Today?
Defending the Public From Greed
FDR's classic 1932 campaign speech
ปกป้องสาธารณะประโยชน์จากความละโมบ
สุนทรพจน์หาเสียงคลาสสิคของ แฟรงกลิน ดี.รูสเวลต์ (FDR) ปี ๒๔๗๓
A month before the 1932 election,
Franklin Roosevelt traveled to Portland, Oregon to deliver a speech about
government and governance. Some 80 years later, his talk, given in the depths
of the Depression to a nation that had yet to accept government as a key
player, remains one of the clearest and most accessible explications of the
relationship between the public and the private.
หนึ่งเดือนก่อนการเลือกตั้ง ปี ๒๔๗๕, แฟรงกลิน รูสเลต์ (FDR) เดินทางไปเมืองปอร์ตแลนด์, รัฐโอเรกอน
เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับรัฐบาลและการปกครอง.
แปดสิบปีต่อมา, คำพูดของเขา (ที่กล่าวในยามเศรษฐกิจตกต่ำสุดๆ ในประเทศที่ยังไม่ยอมรับว่ารัฐบาลเป็นพระเอกตัวหนึ่ง)
ยังคงเป็นอรรภวิภาคของความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ/สาธารณะ และ ภาคเอกชน/ธุรกิจ ที่ชัดเจนที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุด.
FDR specifically addressed the
relationship of government to electric utilities but one could easily translate
the theory and principles he proposes to today’s banks, or cable companies or airlines.
FDR กล่าวเฉพาะเจาะจงถึงความสัมพันธ์ของรัฐบาลต่อระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า
แต่เราก็สามารถแปลทฤษฎีและหลัการที่เขานำเสนอนั้น มาใช้กับธนาคาร หรือ
บริษัทเคเบิล หรือ สายการบินของทุกวันนี้ ได้อย่างง่ายดาย.
In the decade before FDR’s visit to
Portland the electricity sector had undergone a sea change. Power companies
that once served neighborhoods now served cities and even states. The era of
competition when Chicago had 29 electric companies and New York at least 6 had
given way to a consensus that the inherent nature of electricity production and
distribution lent itself to monopolies.
ทศวรรษก่อนหน้าการเยือนปอร์ตแลนด์ของ FDR ภาคการผลิตไฟฟ้าได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่. บริษัทผลิตพลังงานที่ครั้งหนึ่งให้บริการแก่ละแวกบ้าน
ตอนนี้ให้บริการแก่เมืองและแม้กระทั่งแก่รัฐ.
ยุคสมัยแห่งการแข่งขันเริ่มขึ้น เมื่อชิคาโกมี ๒๖ บริษัทที่ขายไฟฟ้า และ
นิวยอร์กมีอย่างน้อย ๖ แห่ง ได้ยอมรับมติเอกฉันทน์ที่ว่า เป็นธรรมดาของการผลิตและการกระจายไฟฟ้าจะกลายเป็นธุรกิจผูกขาด.
The key question after 1920 was who
would own and control these monopolies. At the local level, the war between the
public and the private raged for a decade. More than 2200 smaller cities
eventually built their own electric networks. Most large cities lost the battle
although a few like Los Angeles, Seattle and Cleveland emerged victorious.
คำถามหัวใจหลังจากปี ๒๔๖๓ คือ ใครจะมีกรรมสิทธิ์ถือครองและควบคุมการผูกขาดเหล่านี้. ในระดับท้องถิ่น, สงครามระหว่างรัฐ/สาธารณะ และ
เอกชน/ธุรกิจ ได้ลามปามมาหนึ่งทศวรรษแล้ว.
เมืองเล็กๆ กว่า ๒,๒๐๐ แห่ง ในที่สุด ได้สร้างโครงข่ายไฟฟ้าของตนเอง. เมืองใหญ่ๆ ส่วนมากพ่ายแพ้ในสงครามนี้ แม้จะมีไม่กี่เมือง
เช่น ลอสแองเจิลลิส, ซีแอตเติล และ คลีฟแลนด์ ที่ชนะ.
FDR began with the basic question,
then and now. Why not leave electricity production and distribution in private,
unregulated hands? He answered:
FDR เริ่มตั้งคำถามพื้นฐาน, ตอนนั้น และ
ตอนนี้. ทำไมจึงไม่ปล่อยให้การผลิตและการกระจายไฟฟ้าอยู่ในมือของธุรกิจเอกชนที่ไม่มีการควบคุม? เขาตอบว่า:
“Let me take you back three hundred
years to old King James of England. The reign of this king is remembered for
many great events—two of them in particular. He gave us a great translation of
the Bible, and, through his Lord Chancellor, a great statement of public
policy. It was in the days when Shakespeare was writing Hamlet and when the
English were settling Jamestown, that a public outcry rose in England from
travelers who sought to cross the deeper streams and rivers by means of
ferry-boats. Obviously these ferries, which were needed to connect the highway
on one side with the highway on the other, were limited to specific points.
They were, therefore, as you and I can understand, monopolistic in their
nature. The ferryboat operators, because of the privileged position which they
held, had the chance to charge whatever the traffic would bear, and bad service
and high rates had the effect of forcing much trade and travel into long
detours or to the dangers of attempting to ford the streams.”
“โปรดให้ผมพาคุณย้อนกลับไปสามร้อยปีสู่ยุคเก่าของกษัตริย์เจมส์แห่งอังกฤษ. รัชสมัยของกษัติริย์องค์นี้ ถูกจดจำว่ามีหลายๆ
เหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น—โดยเฉพาะสองเหตุการณ์. พระองค์ได้ให้พระคัมภีร์ฉบับแปลที่ยิ่งใหญ่,
โดยผ่านอัครเสนาบดี, ซึ่งเป็นรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ด้านนโยบายสาธารณะ. มันเป็นวันเวลาที่เชคสเปียร์กำลังเขียนวรรณคดี
แฮมเล็ต และเมื่อชาวอังกฤษปักหลักลงที่เจมส์ทาวน์,
ที่เกิดเสียงโวยวายสาธารณะในอังกฤษ จากบรรดานักเดินทางที่หาทางข้ามลำธารและแม่น้ำลึกๆ
ด้วยเรือข้ามฝั่ง. เห็นได้ชัดว่า เรือข้ามฟากเหล่านี้,
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่เชื่อมเส้นทางหลวงบนฝั่งหนึ่งกับอีกฝั่งหนึ่ง, มีจำกัดอยู่เฉพาะในบางจุด. ที่เหล่านี้, ดังที่คุณและผมสามารถเข้าใจได้,
มีลักษณะผูกขาด. ผู้เดินเรือข้ามฟาก,
เพราะอยู่ในตำแหน่งอภิสิทธิ์, มีโอกาสเรียกเก็บเงินเท่าไรก็ได้ที่คนเดินทางจะทนไหว,
และการบริการแย่ๆ ในอัตราแพงๆ ยังผลบังคับให้การค้าและการเดินทางส่วนใหญ่ ต้องเดินทางอ้อม
หรือ เสี่ยงอันตรายลุยข้ามลำธาร”.
“The greed and avarice of some of these
ferryboat owners were made known by an outraged people to the King himself, and
he invited his great judge, Lord Hale, to advise him.”
“ความละโมบและตะกละของเจ้าของเรือข้ามฟากถูกร้องทุกข์ต่อองค์กษัติริย์,
และพระองค์ได้เชิญผู้พิพากษา, ลอร์ดฮาเร, ให้มาถวายคำปรึกษา”.
“The old law Lord replied that the
ferrymen’s business was quite different from other businesses, that the ferry
business was, in fact, vested with a public character, that to charge excessive
rates was to set up obstacles to public use, and that the rendering of good
service was a necessary and public responsibility. “Every ferry,” said Lord
Hale, “ought to be under a public regulation, to-wit: that it give attendance
at due time, keep a boat in due order, and take but reasonable toll.”
“นิติเสนาบดีผู้เฒ่าตอบว่า
ธุรกิจเรือข้ามฟากต่างจากธุรกิจแบบอื่นๆ, ธุรกิจเรือข้ามฟาก, แท้จริง,
มีลักษณะสาธารณะ, ว่าการเรียกเก็บเงินเกินตัวเป็นการสร้างสิ่งกีดขวางต่อสาธารณชนในการใช้ประโยชน์สมบัติสาธารณะ,
และว่า การให้บริการที่ดี เป็นความรับผิดชอบที่จำเป็นต่อสาธารณะ. “เรือข้ามฟากทุกลำ”, ลอร์ดฮาเรกล่าว, “ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ/สาธารณะ,
นั่นคือ, มันต้องเอาใจใส่ให้บริการตามเวลากำหนด, รักษาเรือให้เรียบร้อย,
และเก็บค่าบริการที่พอสมควรอย่างมีเหตุผล”.
Electric utilities, FDR argued, were
also “vested with a public character” subject to public oversight. He then
turned to the next question. How should government protect the public interest?
สาธารณูปโภคไฟฟ้า, FDR แย้งว่า, ก็เช่นเดียวกัน “ที่มีลักษณะสาธารณะ” จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ/สาธารณะ. แล้วเขาก็ตั้งคำถามถัดไป. รัฐบาลควรปกป้องสาธารณะประโยชน์อย่างไร?
By 1932 virtually all states had
created utility regulatory commissions. Interestingly among the leaders of the
movement to create such commissions was Samuel Insull, former secretary and
salesman for Thomas Edison and the creator of utility holding companies that
controlled hundreds of utilities across many states. Insull had been the
leading proponent of utilities as monopolies and promoted state regulatory
commissions as the trade off for monopoly.
ถึงปี ๒๔๗๕ มลรัฐทั้งหมดได้ตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการจัดระเบียบควบคุมระบบสาธารณูปโภค.
น่าสนใจที่ในบรรดาผู้นำการขับเคลื่อนเพื่อก่อตั้งคณะกรรมาธิการเหล่านี้ คือ
ซามูเอล อินซัล, อดีตเลขาฯ และ เซลส์แมนของโทมัส เอดิสัน
และเป็นผู้สร้างกลุ่มบริษัทสาธารณูปโภคที่ควบคุมระบบสาธารณูปโภคหลายร้อยแห่งในหลายๆ
มลรัฐ. อินซัล
เป็นผู้นำสนับสนุนการผูกขาดระบบสาธารณูปโภค
และส่งเสริมให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการจัดระเบียบรัฐ ในฐานะที่เป็นการแลกเปลี่ยนกับระบบผูกขาด.
FDR embraced the public service
commission as “a proper way for the people themselves to protect their
interests.” But he noted that regulatory commissions had largely abandoned
their public interest role, exhibiting what today would be called regulatory
capture. Roosevelt stated:
FDR เลือกใช้คณะกรรมาธิการบริการสาธารณะในฐานะที่เป็น
“วิธีการที่ถูกต้องเพื่อประชาชนเอง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา”. แต่เขาตั้งข้อสังเกตว่า
คณะกรรมาธิการจัดระเบียบควบคุม ส่วนใหญ่ได้ละทิ้งบทบาทรักษาผลประโยชน์ต่อสาธารณะ,
แสดงพฤติกรรมแบบที่ทุกวันนี้ เรียกว่า กักกันการควบคุม. รูสเวลต์ กล่าว.
“It is an undoubted and undeniable
fact that in our modern American practice the public service commissions of
many States have often failed to live up to the very high purpose for which
they were created. In many instances their selection has been obtained by the
public utility corporations themselves. These corporations, to the prejudice of
the public, have often influenced the actions of public service commissions.
Moreover, some of the commissions have, either through deliberate intent or
through sheer inertia, adopted a theory, a conception of their duties wholly at
variance with the original object for which they were created.”
“มันเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องสงสัยและปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในวิธีปฏิบัติแบบอเมริกันสมัยใหม่
คณะกรรมาธิการบริการสาธารณะของหลายๆ มลรัฐ
มักล้มเหลวในการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์อันทรงเกียรติสมกับที่ถูกก่อตั้งขึ้นมา. ในหลายๆ กรณี การเลือกตั้งของพวกเขา
กระทำโดยบริษัทสาธารณูปโภคเอง.
บริษัทเหล่านี้, ทำให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณชน,
มักมีอิทธิพลเหนือการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ.
เหนือกว่านั้น, บางคณะกรรมาธิการ, อาจด้วยเจตนา หรือ ด้วยความเฉื่อยชา,
ได้ยอมรับทฤษฎีหนึ่ง, กรอบคิดหนึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขาที่แตกต่างจากวัตถุประสงค์แรกเริ่มเมื่อตอนก่อตั้งโดยสิ้นเชิง”.
FDR proposed a regulatory principle
he had embraced when governor of NY, one that in most states would be
considered controversial to this day. “(T)he Public Service Commission…is not a
mere arbitrator as between the people and the public utilities, … (but) must
act as agent of the public, upon its own initiative as well as upon
petition…The regulating commission, my friends, must be a Tribune of the
people…(engaged in) positive and active protection of the people against
private greed!”
FDR เสนอหลักการจัดระเบียบที่เขาใช้อยู่เมื่อดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก,
ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่ถูกมองว่า มีการโต้แย้งกันในตัวมากที่สุดจวบจนทุกวันนี้. “คณะกรรมาธิการบริการสาธารณะ...ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ชี้ขาด
ระหว่างประชาชน และ สาธารณูปโภค, ... แต่จะต้องทำตัวเป็นผู้แทนของสาธารณชน, ด้วยการริเริ่มของตนเองตลอดจนเมื่อได้รับคำร้องทุกข์...
คณะกรรมาธิการจัดระเบียบ, มิตรสหายทั้งหลาย, จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปกป้องเสรีภาพของประชาชน...
(ที่มีส่วนร่วมใน) การป้องกันเชิงบวกและเชิงรุกของประชาชนต่อต้านความละโมบของภาคธุรกิจเอกชน!”
FDR provided his audience the
clearest example of private greed in his time, the “Insull monstrosity.” By
1930, ten holding companies owned 75 percent of the electric industry. Insull’s
empire was the biggest. Valued at $500 million it had only $27 million in
equity. When the stock market faltered his holding company collapsed, wiping
out the life savings of 600,000 shareholders. FDR explained:
FDR ได้แสดงตัวอย่างความละโมบเอกชนที่ชัดเจนที่สุดในยุคของเขา,
“หฤโหดอินซัล”. ถึงปี ๒๔๗๓,
สิบกลุ่มบริษัทถือครอง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้า, และ อาณาจักรอินซัลก็ใหญ่โตที่สุด. ด้วยมูลค่าถึง ๕๐๐ ล้านดอลลาร์
มันมีอิควิตี้เพียง ๒๗ ล้านดอลลาร์. เมื่อตลาดหุ้นสะดุด
กลุ่มบริษัทของเขาล้มครืน, ทำลายล้างเงินออมชั่วชีวิตของผู้ถือหุ้น ๖๐๐,๐๐๐
ราย. FDR อธิบายว่า.
“They did not realize that there had
been arbitrary write-ups of assets and inflation of vast capital accounts. They
did not realize that excessive prices had been paid for property acquired…They
did not realize that sound subsidiaries had been milked and milked to keep
alive the weaker sisters in the great chain. They did not realize that there
had been borrowings and endings, an interchange of assets, of liabilities and of
capital between the component parts of the whole.”
“พวกเขาไม่ตระหนักว่า
มีการนั่งเทียนเขียนมูลค่าทรัพย์สินและปั่นบัญชี.
พวกเขาไม่ตระหนักว่า ได้จ่ายราคามากเกินจริงกับทรัพย์สินที่ได้มา...พวกเขาไม่ตระหนักว่า
การอุดหนุนทางการเงินที่ถูกต้อง ได้ถูกรีดแล้วรีดอีกเพื่อรักษาบริษัทน้องๆ
ที่อ่อนแอในกลุ่ม. พวกเขาไม่ตระหนักว่า
มีการกู้ยืมและการสิ้นสุดลง, การเวียนเทียนทรัพย์สิน, หนี้ และ ทุน
ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ขององคาพยพทั้งหมด”.
The role of the public service
commission was to protect the investor as well as the electric customer against
private financial manipulation.
บทบาทของคณะกรรมาธิการบริการสาธารณูปโภค คือ
ป้องกันผู้ลงทุนตลอดจนลูกค้าไฟฟ้าต่อการถูกธุรกิจการเงินเอกชนต้มตุ๋น.
FDR then addressed the question of
direct public ownership:
แล้ว FDR ก็กล่าวถึงประเด็นของการที่สาธารณะถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของโดยตรง.
“I do not hold with those who
advocate Government ownership or Government operation of all utilities. But the
exceptions are of vital importance, local, state and national….it is by no
means possible, in every case, for Government to insure at all times by mere
inspection, supervision and regulation that the public get a fair deal—in other
words, to insure adequate service and reasonable rates.”
“ผมไม่เห็นด้วยกับพวกที่สนับสนุนให้รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือ
รัฐบาลบริหารระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด.
แต่ข้อยกเว้นเหล่านี้ มีความสำคัญยิ่ง, ในระดับท้องถิ่น, รัฐ และ
ชาติ...มันเป็นไปไม่ได้, ในทุกๆ กรณี, ที่รัฐบาลจะประกันได้ตลอดเวลาด้วยเพียงวิธีการตรวจสอบ,
กำกับดูแล และ ควบคุม ให้สาธารณชนได้รับความเป็นธรรม—พูดอีกอย่าง,
ที่จะประกันได้ว่า มีการบริการพอเพียง และ อัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล”.
“I therefore lay down the following
principle: That where a community—a city or county or a district—is not
satisfied with the service rendered or the rates charged by the private
utility, it has the undeniable basic right, as one of its functions of
Government, one of its functions of home rule, to set up, after a fair
referendum to its voters has been had, its own governmentally owned and
operated service…the very fact that a community can, by vote of the electorate,
create a yardstick of its own, will, in most cases, guarantee good service and
low rates to its population.”
“ดังนั้น ผมขอวางหลักการต่อไปนี้: ว่า ที่ใดที่ชุมชนหนึ่ง—เมือง หรือ จังหวัด หรือ เขต—ไม่พอใจกับการบริการที่ได้รับ
หรือ อัตราค่าบริการของธุรกิจสาธารณูปโภค,
ที่นั้นมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้,
ในฐานะที่เป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาล, หน้าที่หนึ่งของการดูแลกติกาในบ้าน,
ให้จัดตั้ง, หลังจากมีการรับฟังประชามติที่เป็นธรรมจากผู้มีสิทธิออกเสียง,
การบริการที่รัฐบาลของตนเป็นเจ้าของและบริหาร...ความจริงที่ว่า ชุมชนหนึ่งสามารถ,
ด้วยการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง, สร้างบรรทัดฐานของตนเอง,
ในกรณีส่วนใหญ่ จะประกันได้ว่า มีการบริการที่ดี ในอัตราค่าบริการต่ำสำหรับประชากรของตน”.
Finally, FDR addressed the question
of the ownership of the vast natural resources on public lands, specifically
because of its immense potential to generate electricity, the
nation’s rivers.
ในที่สุด, FDR กล่าวถึงประเด็นกรรมสิทธิ์เหนือทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลบนที่ดินสาธารณะ,
โดยเฉพาะ เพราะศักยภาพอันมหาศาลของมัน ในการสร้างไฟฟ้า, แม่น้ำของชาติ.
“The water power of the State should
belong to all the people. The title to this power must rest forever in the
people. No commission—not the Legislature itself—has any right to give, for any
consideration whatever, a single potential kilowatt in virtual perpetuity to
any person or corporation whatever. It is the duty of our representative bodies
to see that this power is transferred into usable electrical energy and
distributed at the lowest possible cost…and no inordinate profits must be allowed
to those who act as the people’s agent in bringing this power to their homes
and workshops.”
“พลังงานน้ำของมลรัฐ ควรเป็นของประชาชนทั้งปวง. โฉนดของพลังงานนี้
จะต้องเป็นของประชาชนตลอดไป.
ไม่มีกรรมการคนใด—ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัติเอง—ที่มีสิทธิ์ใดที่จะให้,
ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ, แม้แต่ศักยภาพของกิโลวัตต์เดียวต่อเนื่องกันแก่บุคคลใดหรือ
บริษัทใด.
เป็นหน้าที่ขององคาพยพผู้แทนของเราที่จะดูแลให้พลังงานนี้
ได้ถ่ายโอนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ได้ และ กระจายในต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้...และจะต้องไม่ยอมให้คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนทำกำไรที่ผิดปกติในการนำพลังงานนี้สู่บ้านและโรงงานของพวกเขา”.
In less than 30 minutes, the
Presidential candidate had delivered a theory of government that has stood the
test of time. Government is a bulwark against greed. The natural resources of
the country are a commons, a public trust to be used for the maximum public
good. Government ownership is justified when the private sector fails or when
corporations grow so large that local and state regulatory authorities can no longer
“by mere inspection, supervision and regulation” protect the public interest.
In the same speech FDR likened public ownership to a “’birch rod in the
cupboard to be taken out and used only when the ‘child’ gets beyond the point
where a mere scolding does no good.”
ในเวลาน้อยกว่า ๓๐ นาที, ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้มอบทฤษฎีว่าด้วยรัฐบาลที่ได้ยืนหยัดต่อการพิสูจน์ของเวลา. รัฐบาลเป็นกำแพงขวางกั้นความละโมบ. ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นสมบัติร่วม,
เป็นสิ่งที่สาธารณชนได้ฝากฝังด้วยความเชื่อใจให้ใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณชน. การให้รัฐบาลเป็นเจ้าของมีความชอบธรรมต่อเมื่อภาคธุรกิจเอกชนล้มเหลว
หรือ เมื่อบริษัทเติบใหญ่มากจนเกินความสามารถของเจ้าหน้าที่ๆ จะควบคุมด้วยวิธี
“เพียงตรวจสอบ, กำกับดูแล หรือ ควบคุม” เพื่อปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ. ในสุนทรพจน์เดียวกัน, FDR เปรียบความเป็นเจ้าของ (กรรมสิทธิ์) สาธารณะ/รัฐ
ว่าเป็น “ ‘ไม้เรียว’ ในตู้ ที่จะเอาออกมาใช้
ต่อเมื่อ ‘เด็กๆ’ ไปไกลเกินกว่าที่การดุด่าสั่งสอนจะเอาอยู่”
David Morris is Vice President and director
of the New
Rules Project at the Institute for Local Self-Reliance, which is based in Minneapolis and Washington, D.C.
focusing on local economic and social development.
เดวิด มอร์ริส เป็นรองประธาน และ ผอ ของโครงการกฎระเบียบใหม่
ที่ สถาบันท้องถิ่นพึ่งตนเอง, ซึ่งมีฐานอยู่ในมินนีอาโปริส และ วอชิงตัน ดีซี
เน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น