วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

292. ตาสว่างกับบริโภคนิยม, หันมาแบ่งปันกันเถิด!


292.  Disillusioned with Consumerism, Let’s Share!

“Bring What You Want, Take What You Want”
“เอาสิ่งที่คุณต้องการมา, เอาสิ่งที่คุณต้องการไป”


In the face of an intense wave of consumerism, some people in Argentina are beginning to discover the advantages of sharing goods and services, instead of buying them.
ท่ามกลางคลื่นบริโภคนิยมที่เข้มข้น, ประชาชนบางคนในอาร์เจนตินา กำลังค้นพบข้อได้เปรียบของการแบ่งปันข้าวของและการบริการ, แทนที่จะซื้อมัน.
Nothing is for sale at this street market in Plaza Italia, in the Palermo district of Buenos Aires. Credit: Juan Moseinco/IPS

BUENOS AIRES, Sep 8 2013 (IPS) - Disillusioned with an economy that promotes individualism and ruthless consumption, thousands of people in Argentina are giving things away in street markets, organising car pools with strangers or offering free accommodation to travellers from abroad.
บัวโนสไอเรส—ตาสว่างจากเศรษฐกิจที่ส่งเสริมปัจเจกนิยมและการบริโภคอย่างไม่ยับยั้ง, ประชาชนหลายพันคนในอาร์เจนตินา กำลังบริจาคข้าวของบนตลาดท้องถนน, จัดการรถร่วมที่เดินทางไปกับคนแปลกหน้า หรือ ให้ที่พักฟรีแก่นักท่องเที่ยวจากต่างแดน.
These are early trends in this South American country, but they are expanding, based on Web 2.0 platforms. Users share a concern for the environment and a rejection of consumerism. But they also have a desire to strengthen a sense of community and trust.
เหล่านี้เป็นแนวโน้มในระยะเริ่มต้นในประเทศอเมริกาใต้แห่งนี้, แต่มันกำลังแผ่ขยาย, บนพื้นฐานของ ฐาน Web 2.0.   ผู้ใช้มีความห่วงใยร่วมกันต่อสิ่งแวดล้อมและปฏิเสธบริโภคนิยม.  แต่พวกเขาก็มีความปรารถนาที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ความรูสึกของความเป็นชุมชนและความเชื่อใจกัน.
“We need much less than we consume. The basis of our street markets is detachment, the need to free ourselves from the concept of private ownership,” said Ariel Rodríguez, the creator of La Gratiferia (The Free Market) which operates under the slogan: “Bring what you want (or nothing), take what you want (or nothing).”
Launched in 2010, the first market was in Rodríguez’s home, in the Buenos Aires district of Liniers. Rodríguez offered friends and neighbours books, CDs, clothes, furniture and other goods that he had accumulated and didn’t need. He offered food and beverages as well.
“เรามีความจำเป็นต้องใช้น้อยกว่าที่เราบริโภคมาก.  พื้นฐานของตลาดท้องถนนของเราคือ การไม่ยึดติด, ความต้องการที่จะปลดปล่อยพวกเราเองจากความคิดของการเป็นเจ้าของเอกชน”, แอเรียล รอดริกัส กล่าว.  เขาเป็น ผู้สร้าง La Gratiferia (ตลาดเสรี) ที่ปฏิบัติการภายใต้คำขวัญ: “เอาสิ่งที่คุณต้องการ (หรือไม่มีอะไร) มา,  เอาสิ่งที่คุณต้องการ (หรือไม่มีอะไร) ไป”.  เริ่มต้นในปี ๒๕๕๓, ตลาดแห่งแรก คือ ที่บ้านของ รอดริกัส, ในบัวโนสไอเรส อำเภอ Liniers.  รอดริกัส ให้ข้าวของแก่มิตรสหายและเพื่อนบ้าน เช่น หนังสือ, ซีดี, เสื้อผ้า, เฟอร์นิเจอร์ และ สิ่งของอื่นๆ ที่เขาได้สะสมและไม่จำเป็นต้องใช้.  เขาให้อาหารและเครื่องดื่มด้วย.
In time, people began to follow his lead. He recalls that the 13th market “went out on the street and exploded” with dissemination on social networks. “This breaks with traditional mindsets,” Rodríguez said. Visitors are initially incredulous, in doubt about whether or not they can really take things without leaving something else in exchange.
เวลาผ่านไป, ผู้คนเริ่มทำตามเขา.  เขาเล่าถึงตลาดครั้งที่ ๑๓ “ออกไปสู่ถนนและระเบิด” ด้วยการเผยแพร่ทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค.  “อันนี้ทะลวงความคิดฝังหัวแบบเดิมๆ”, รอดริกัสกล่าว.  เหล่าผู้มาเยือนตอนแรกไม่ค่อยเชื่อน้ำมนตร์, ไม่แน่ใจว่า พวกเขาสามารถเอาของไปจริงๆ โดยไม่ต้องหาอะไรมาแลกเปลี่ยน.
People can come to a gratiferia with the stuff they wish to get rid of, and they do not have to worry about whether someone will take it. The idea is that someone will be interested in extending items’ useful life, instead of buying new goods.
ผู้คนมาตลาย gratiferia พร้อมกับสิ่งของที่พวกเขาต้องการกำจัด, และพวกเขาก็ไม่ต้องกังวลว่า จะมีใครเอามันไปหรือไม่.  จุดคือ จะมีบางคนที่สนใจจะยืดอายุการใช้งานของข้าวของนั้นๆ, แทนที่จะซื้อของใหม่.
“It’s a reorganisation of material objects that also generates an interesting kind of socialisation, by creating a sense of community,” Rodríguez said.
“มันเป็นการจัดกระบวนวัตถุข้าวของใหม่ พร้อมกับสร้างรูปแบบการคบหาสมาคมกันที่น่าสนใจ, ด้วยการสร้างความรู้สึกถึงความเป็นชุมชน”, รอดริกัส กล่าว.
Gratiferias have spread to cities in some of the provinces, as well as to Chile, Mexico and other countries, he said.
ตลาด gratiferia ได้แพร่หลายไปยังเมืองต่างๆ ในบางจังหวัด, ตลอดจนใน ชิลี, เม็กซิโก และ ประเทศอื่นๆ, เขากล่าว.
This free give-and-take, according to Rodríguez, did not arise during a situation of crisis, like the bartering systems that were so popular during the 2001-2002 economic and social meltdown. “This is an attempt to respond to a much longer crisis in our relationship with material goods,” he said.
การให้-และ-รับฟรีเช่นนี้, ตามคำพูดของรอดริกัส, ไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างวิกฤตกาล, ดังเช่นระบบการแลกเปลี่ยนที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในระหว่างการหลอมละลายทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปี ๒๕๔๔-๔๕.  “นี่เป็นความพยายามโต้ตอบกับวิกฤตที่ยาวนานกว่าในความสัมพันธ์ของเรากับวัตถุข้าวของ”, เขากล่าว.
The practice has caught on in other areas. At the University of Buenos Aires engineering department, a group of students is offering lecture notes and study materials at a free fair this month.
แนวปฏิบัตินี้ ได้แพร่ไปในพื้นที่อื่น.  ที่มหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส คณะวิศวกรรมศาสตร์, นักศึกษากลุ่มหนึ่งจัดงานให้ฟรีในเดือนนี้ ซึ่งพวกเราได้แจกสมุดจดเล็คเชอร์ และ เอกสารเรียนฟรี.
“The idea is in the spirit of the gratiferias, and it should be a wider movement involving other departments, but for the moment we are trying to establish it in engineering,” Santiago Trejo, one of the students organising the fair, told Tierramérica*.
“จุดอยู่ในสปิริตของ gratiferia, และมันควรจะเป็นการขับเคลื่อนที่กว้างขวางขึ้น รวมคณะอื่นๆ, แต่ตอนนี้ เรากำลังพยายามก่อตั้งมันในคณะวิศวะ”, ซานติอาโก เทรโจ, หนึ่งในนักศึกษาที่จัดงานนี้, กล่าว.
These are original forms of “collaborative consumption”, an expression coined in the United States to describe mechanisms for sharing or exchanging electrical appliances, books, clothes, shoes, instruments, furniture, bicycles and even cars.
เหล่านี้ เป็นรูปแบบของ “การบริโภคแบบร่วมมือกัน” ที่ไม่เลียนแบบใคร, เป็นการแสดงออกที่ถูกตั้งฉายาในสหรัฐฯ เพื่อบรรยายกลไกเพื่อการแบ่งปัน หรือ แลกเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้า, หนังสือ, เสื้อผ้า, รองเท้า, เครื่องมือ, เฟอร์นิเจอร์, จักรยาน และแม้แต่รถ.
In 2011, Time magazine named collaborative consumption one of the 10 ideas capable of changing the world.
Similar ideas have emerged among people who regard travel as not just going to another part of the world, but having a human and social experience with people who live in a different country.
ในปี ๒๕๕๔, แมกกาซีนไทมส์ ได้ให้ การบริโภคแบบร่วมมือกัน เป็น ๑ ใน ๑๐ ความคิด ที่สามารถเปลี่ยนโลกได้.  ความคิดในทำนองเดียวกันได้ผุดขึ้นมาในบรรดาประชาชนที่เห็นว่า การท่องเที่ยว ไม่ใช่เป็นเพียงการไปอีกที่หนึ่งในโลก, แต่เป็นประสบการณ์มนุษย์และสังคมร่วมกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างจากของตนเอง.
“When I went to Europe I stayed at hostels, and when I came home I realised I hadn’t much idea of how people lived in those countries, or what they thought of ours,” 24-year-old Aranzazú Dobantón, who is working and studying film, told Tierramérica.
“เมื่อฉันไปยุโรป และ พักอยู่ในโฮสเต็ล, และเมื่อฉันกลับมาบ้าน ฉันตระหนักว่า ฉันไม่รู้อะไรมากนักว่าประชาชนในประเทศเหล่านั้นอยู่กินกันอย่างไร, หรือ พวกเขาคิดอย่างไรกับวิถีชีวิตของพวกเรา”, อรันซูซา โดบานตอง กล่าว.  เขาอายุ ๒๔ ปี ทำงานและศึกษาด้านภาพยนตร์.
Four years ago, she uploaded her profile on Couchsurfing, an international platform that puts people willing to host foreign visitors in touch with would-be travellers. The exchange involves no money: just sharing a roof, and the experience.
สี่ปีก่อน, เธอได้อัพโหลดประวัติของเธอบน Couchsurfing, ฐานนานาชาติที่เอื้อให้ผู้คนที่ยินดีที่จะเป็นเจ้าภาพรับรองแขกต่างชาติ ให้ได้รู้จักกับว่าที่นักท่องเที่ยว.  การแลกเปลี่ยนนี้ ไม่มีการใช้เงินตรา: เพียงแต่แบ่งปันหลังคา, และประสบการณ์.
The local group has 5,000 registered users.
กลุ่มท้องถิ่น มีผู้ลงทะเบียนใช้ถึง ๕,๐๐๐ คน.                                  
“So far I have hosted about 15 people from different parts of the world, many of them from Denmark, and also from Mexico, the Philippines, France, and a Turkish person who lived in Germany,” Dobantón said.
“ถึงบัดนี้ ฉันได้รับรองประมาณ ๑๕ คน จากซีกต่างๆ ของโลก, หลายคนมาจากเดนมาร์ก, แล้วก็มีจากเม็กซิโก, ฟิลิปปินส์, ฝรั่งเศส, และ คนตุรกีที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสด้วย”, โดบานตองกล่าว.
As the hostess, she sets the conditions. She and the potential guest correspond by e-mail, and once the visitor is in Buenos Aires they meet first in a public place.
ในฐานะเจ้าภาพ, เธอวางเงื่อนไข.  เธอและว่าที่แขก ติดต่อกันทางอีเมล, และเมื่อแขกอยู่ในบัวโนสไอเรส ทั้งสองก็พบกันเป็นครั้งแรกในที่สาธารณะ.
“The visitors are very willing. Sometimes I cook for them, sometimes they prepare the food. They realise it’s not easy to look after guests when I’m working. But they are ordinary people, with the same concerns that I have, although the reality of where they live is different,” she said.
“แขกล้วนสมัครใจ.  บางทีฉันทำอาหารให้พวกเขา, บางครั้งพวกเขาทำอาหาร.  พวกเขารู้ว่า มันไม่ง่ายที่จะดูแลแขกเมื่อฉันกำลังทำงาน.  แต่พวกเขาเป็นคนธรรมดาๆ, ที่มีข้อห่วงใยเหมือนกับที่ฉันมีอยู่, แม้ว่า ในชีวิตจริงของที่ๆ เราอยู่อาศัยจะต่างกัน”, เธอกล่าว.
The visitors later write on the website about how they felt staying at her home, and these comments encourage other people to make the same trip – or not. Dobantón, in turn, can use the network to stay at someone’s home when she wants to travel. So far she has only tried out the system in neighbouring Uruguay.
เหล่าแขกผู้มาเยือน ภายหลัง เขียนบนเว็บไซต์ว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรในการอยู่ที่บ้านของเธอ, และความเห็นเหล่านี้ ทำให้คนอื่นๆ เดินทางตามมา—หรือไม่มา.  โดบานตอง, ในทางกลับกัน, สามารถใช้เครือข่ายดังกล่าว เพื่อพักอาศัยที่บ้านใครคนหนึ่งเมื่อเธอต้องการเดินทาง.  เท่าที่ผ่านมา เธอได้ลองใช้ระบบนี้เพียงครั้งเดียวในประเทศเพื่อนบ้าน อูรูกวัย.
Collaborative consumption is growing so big in the United States that the brokerage and financial services firm ConvergEx wrote an article claiming it could have “catastrophic” ripple effects on the economy.
การบริโภคแบบร่วมมือกัน ขยายตัวไปใหญ่มากในสหรัฐฯ จนบริษัทตัวกลางและบริการด้านการเงิน ConvergEx ได้เขียนบทความหนึ่ง ที่อ้างว่า มันอาจทำให้เกิดผลกระทบแบบระลอกคลื่น “หายนะ” ต่อระบบเศรษฐกิจที่เดียว.
Carpooling has grown the most in Argentina. With the aim of saving money and cutting down on pollution and traffic congestion, a number of platforms exist to connect people willing to share a car, the journey and the expenses.
การเดินทางที่ใช้รถร่วมกัน ได้ขยายตัวมากที่สุดในอาร์เจนตินา.  ด้วยจุดประสงค์เพื่อประหยัดเงินและลดมลภาวะ และ รถติด, มีฐานมากมายเพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่ยินดีแบ่งปันใช้รถ, ร่วมทาง และลงขันค่าใช้จ่าย.
“Vayamos juntos” and “En Camello” are two of the Argentine networks where interested parties publish their offer or requirements for point-to-point journeys. Some just want to share rides from home to work, while others wish to travel from one province to another, or go to a concert or football match.
“Vayamos juntos” และ “En Camello” เป็นสองเครือข่ายอาร์เจนไตน์ ที่ผู้สนใจพิมพ์ข้อเสนอ หรือ ความต้องการ สำหรับการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง.  บางคนเพียงแต่ต้องการแบ่งปันการโดยสารจากบ้านถึงที่ทำงาน, ในขณะที่คนอื่นๆ ต้องการเดินทางจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัด, หรือ ไปฟังคอนเสิร์ต หรือ ชมการแข่งฟุตบอล.
In other countries, like Mexico, there are different forms of shared transport, such as multi-user cars which provide access to a vehicle when needed for an hourly rate, or a monthly or annual subscription. As with public bicycles, cars are picked up in one parking lot and left in another.
ในประเทศอื่นๆ, เช่น เม็กซิโก, มีรูปแบบต่างๆ ในการขนส่งแบบแบ่งปัน, เช่น ผู้ขับหลายคน ที่เข้าถึงการใช้พาหนะคันเดียวกันเมื่อจำเป็นต้องใช้ในอัตรารายชั่วโมง, หรือ บอกรับเป็นสมาชิกรายเดือน หรือ รายปี.  เช่นเดียวกับจักรยานสาธารณะ, ก็สามารถขึ้นรถได้ในทีจอดรถแห่งหนึ่ง แล้วไปจอดไว้อีกที่หนึ่งได้.
In Argentina, each of the options already has thousands of registered users.
ในอาร์เจนตินา, ทางเลือกแต่ละรายการ มีผู้ใช้ลงทะเบียนแล้วหลายพันคน.
This story was originally published by Latin American newspapers that are part of the Tierramérica network.
Related IPS Articles

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น