219.
If We Hold On Together, We May Be Able to Slow Down Global Warming
Food,
Farms, Forests, and Fracking: Connecting the Dots
by Ronnie Cummins and Zack Kaldveer
อาหาร, ฟาร์ม,
ป่า, และ การขุดเซาะ: เชื่อมจุดต่างๆ
โดย รอนนี คัมมินส์ และ แซค
คาลด์เวีย
ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล
If ever there was a time for activist
networks and the body politic to cooperate and unite forces, it's now. Global
warming, driven in large part by the reckless business-as-usual practices of
multi-billion-dollar fossil fuel and agribusiness corporations, has brought us
to the brink of a global calamity.
หากจะมีเวลาหนึ่งใด
ที่เครือข่ายนักกิจกรรม และ องคาพยพการเมือง ที่จะร่วมมือและผนึกกำลังกัน, มันคือ
เดี๋ยวนี้. โลกร้อน, ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยการปฏิบัติสะเพร่า
ที่ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ของบรรษัทเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และธุรกิจเกษตรขนาดมหึมา
มูลค่าหลายพันล้านเหรียญ, ได้นำพวกเรามายืนอยู่ที่ริมขอบของวิบัติโลก.
Greenhouse
gas (GHG) pollution in the atmosphere has now reached 400 ppm of carbon dioxide
(CO2), the highest level since our hunter and gatherer ancestors evolved
200,000 years ago. We are now facing, even though millions are still in denial,
the most serious existential threat that humans have ever encountered. Through
ignorance and greed, through unsustainable land use and abuse, through reckless
deforestation, through unsustainable food, farming and ranching practices, and
through overconsumption of fossil fuels, we have overloaded the atmosphere with
dangerous levels of greenhouse gases: CO2, methane, nitrous oxide, and black
soot.
มลภาวะก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในชั้นบรรยากาศ ได้ถึงระดับ 400 ppm CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์),
เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ยุคบรรพชนที่ยังล่าสัตว์ เก็บผลหมากรากไม้ยังชีพ
ที่วิวัฒนาการมาเป็นเวลา 200,000 ปีก่อน. เรากำลังเผชิญตอนนี้,
แม้ว่าอีกหลายล้านคนจะยังไม่ยอมรับรู้,
ภัยคุกคามการคงอยู่ที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยเจอ. ด้วยความเขลาและความโลภ,
ด้วยการใช้ที่ดินอย่างไม่ยั่งยืนและข่มเหง, ด้วยการทำลายป่าอย่างไม่ไตร่ตรอง, ด้วยอาหาร,
การทำเกษตร และ การทำฟาร์มปศุสัตว์ที่ไม่ยั่งยืน, และด้วยการบริโภคเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มากเกิน,
เราได้เติมก๊าซเรือนกระจกใส่ชั้นบรรยากาศเกินพิกัด จนถึงระดับอันตราย เช่น CO2, มีเธน, ไนตรัสออกไซด์, และ ควันดำ.
If
we look back 150 years, before the advent of modern energy-intensive
agriculture, the industrial revolution, desertification and massive
deforestation, there was once twice as much carbon matter or CO2 sequestered in
the soil as there is right now. So where is this carbon that used to be in our
soils, forests, farmlands, grasslands and wetlands? An alarming amount of GHG
is up in our atmosphere right now, heating up the planet, melting the polar
icecaps, and disrupting the traditional climate patterns that have enabled
modern agricultural (post hunter-gatherer) civilizations to raise food, obtain
water, and survive over the past 10,000 years.
หากเรามองหวนกลับไป 150 ปีก่อน, ก่อนที่จะย่างเข้าสู่ยุคสมัยใหม่แห่ง
เกษตรกรรมที่ใช้พลังงานอย่างเข้มข้น, การปฏิวัติอุตสาหกรรม, การทำให้เป็นทะเลทราย
และ การทำลายป่าอย่างมหาศาล, ครั้งหนึ่ง ยังมีอินทรีย์คาร์บอน หรือ CO2 ที่ยึดอยู่ในดิน เป็นปริมาณมากกว่าปัจจุบันถึงสองเท่าตัว. แล้ว เจ้าคาร์บอนที่เคยอยู่ในดิน, ป่า,
ไร่นาเรือกสวน, ทุ่งหญ้า และ ที่ชุ่มน้ำ ของเรา ตอนนี้อยู่ที่ไหน? ปริมาณ GHG ที่น่าตกใจในชั้นบรรยากาศตอนนี้,
กำลังเผาโลก, ละลายน้ำแข็งขั้วโลก, และ สร้างความปั่นป่วนโกลาหลแก่ แบบแผนภูมิอากาศดั้งเดิม
ที่ได้เอื้อให้เกิดอารยธรรมเกษตรกรรมสมัยใหม่ (หลังยุคล่าสัตว์-เก็บกิน)
ในการเพาะปลูกอาหาร, หาน้ำ, และ อยู่รอดมาได้กว่า 10,000 ปีที่ผ่านมา.
Besides
overloading the atmosphere, a dangerous portion of this GHG pollution has
supersaturated the oceans, causing elevated temperatures and acidity to kill
off coral reefs and plankton, in effect undermining the entire web of marine
life. Scientists warn that these continued business-as-usual practices will,
once atmospheric GHG pollution rises to 450 ppm and above, detonate runaway
global warming and literally exterminate most life on earth.
นอกจากการบรรทุกก๊าซเกินพิกัดในชั้นบรรยากาศแล้ว,
มลภาวะ GHG ในปริมาณอันตราย ได้ละลายอยู่ในมหาสมุทรมากยิ่ง,
เพิ่มอุณหภูมิและความเป็นกรด ฆ่าปะการังและแพลงตอน, ผลคือ กัดกร่อนห่วงโยโครงข่ายทั้งมวลของสิ่งมีชีวิตใจทะเล. นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่า
การปฏิบัติแบบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเช่นนี้ ต่อไป จะ, เมื่อไรที่ มลภาวะ GHG ในชั้นบรรยากาศขึ้นถึง 450 ppm และกว่านั้น, กดระเบิดโลกร้อนแบบยั้งไม่อยู่
และ จะฆ่าสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนผืนพิภพ.
So
why is there 50-80 percent less carbon naturally sequestered in the plants,
trees and soil relative to 150 years ago? Why are levels of methane (50-100
times more damaging per unit than CO2) and nitrous oxide (200 times more
climate-disrupting per unit than CO2) steadily increasing? For starters,
farmers and corporate agribusiness have ploughed up billions of acres of
prairies and rangelands, destroying the deep-rooted perennial prairie grasses
that sequestered billions of tons of greenhouse gases. In addition, in North
America, European settlers slaughtered the vast herds of buffalo, 60 million animals,
whose traditional migratory “mob” grazing preserved and maintained the
perennial grasses. “Modern” agriculurists planted vast monocrops of grain and
cotton, most often leaving the land completely bare between harvests. We
drained the natural wetlands. Starting after the Second World War and
accelerating ever since, we have allowed farmers to pour billions of tons of
chemical fertilizer (the major source of nitrous oxide pollution) and
pesticides on the soil, killing its natural capacity to stimulate plant growth
and sequester carbon. Last but not least, we have allowed giant timber
companies and now agribusiness multinationals to whack down a large portion of
the world’s forests, especially the tropical rainforests, the lungs of the
planet.
แล้ว ทำไมคาร์บอนจึงมีน้อยกว่า 50-80% ที่ถูกยึดตามธรรมชาติในพืช, ต้นไม้ และ ดิน เมื่อเทียบกับเมื่อ 150
ปีก่อน? ทำไมระดับมีเธน
(ซึ่ง มีอำนาจทำลายล้างต่อหน่วยมากกว่า CO2 ถึง 50-100
เท่า) และไนตรัสออกไซด์ (ทำให้ภูมิอากาศปั่นป่วนต่อหน่วยมากกว่า CO2 ถึง 200 เท่า) พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ? สำหรับผู้เพิ่งเริ่มสนใจ, เกษตรกร และ บรรษัทธุรกิจเกษตร
ได้ไถพรวนทุ่งหญ้า ทิวเขานับพันล้านเอเคอร์, ทำลายอย่างถอนรากถอนโคน
หญ้าที่มีรากลึก ที่ยึดก๊าซเรือนกระจกหลายพันล้านตัน. นอกจากนี้, ในอเมริกาเหนือ, ผู้บุกเบิกยุโรป
ได้ฆ่าควายฝูงมหึมา, สัตว์ 60 ล้านตัว, ที่ตามวิถีดั้งเดิม
อพยพย้ายถิ่น เล็มหญ้าแบบถนอมและธำรงหญ้ายืนต้น.
เกษตรกร “ทันสมัย” เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ธัญพืช และ ฝ้าย ใช้พื้นที่มหาศาล,
ส่วนมาก ทิ้งผืนดินให้เปล่าเปลือยระหว่างการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง. เราทำที่ชุ่มน้ำให้แห้ง. เริ่มต้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และ
เร่งเร็วขึ้นตั้งแต่นั้นมา, เราได้ยอมให้เกษตรกรรินรดปุ๋ยเคมีหลายพันล้านตัน
(แหล่งหลักของมลภาวะไนตรัสออกไซด์) และ ยากำจัดแมลงลงในดิน,
เข่นฆ่าสมรรถนะธรรมชาติของดินในการกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต และ
ยึดคาร์บอนไว้. สุดท้าย
แต่ก็ไม่ด้อยความสำคัญ, เราได้ยอมให้บริษัทยักษ์ตัดไม้ และ ตอนนี้ ธุรกิจเกษตรข้ามชาติ
ให้ฟันปราบผืนป่าใหญ่ของโลก, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าดงดิบในเขตศูนย์สูตร,
ปอดของพิภพโลก.
A
continuation of industrial farming, ranching and forestry practices is a recipe
for disaster, not only for humans but for every living organism. It’s not just
the coal plants heating up the planet and creating climate chaos. It’s not just
the gas-guzzling cars. It’s not just our poorly designed and badly insulated
buildings and our overuse of heating systems, electrical appliances and air
conditioning. Severe climate change is a direct result of what we eat every day
and how we farm and confine and feed farm animals. We’ve got to get back to the
traditional ways of organic farming, ranching, animal husbandry, cooking, and
eating, and launch a global crash program of reforestation if want not just our
children and grandchildren, but our species to survive.
ความต่อเนื่องของการทำเกษตร,
ฟาร์มปศุสัตว์ และ ป่าไม้อุตสาหกรรม เป็นสูตรของความหายนะ, ไม่เพียงแต่สำหรับมนุษย์
แต่สำหรับทุกๆ สิ่งมีชีวิต. มันไม่ใช่แค่โรงถ่านหินที่เผาโลก
และ สร้างความอลวนในภูมิอากาศ. มันไม่ใช่แค่รถยนต์ที่สวาปามน้ำมัน. มันไม่ใช่แค่อาคารที่ออกแบบและมีฉนวนที่แย่มาก
และ การใช้ระบบทำความร้อน, อุปกรณ์ไฟฟ้า และ เครื่องปรับอากาศมากเกินไป. ภูมิอากาศผันผวนรุนแรง
เป็นผลโดยตรงจากสิ่งที่เรากินทุกวัน และ วิธีทำฟาร์ม, กักขัง และป้อนอาหารสัตว์. เราจะต้องกลับไปสู่วิถีดั้งเดิมของการทำเกษตรอินทรีย์,
การเลี้ยง ดูแลสัตว์แบบธรรมชาติ, การทำอาหาร และ การกิน, และ เริ่มโครงการปลูกป่า
หากต้องการไม่เพียงแต่ลูกหลานของเรา, แต่สายพันธุ์ของเราให้อยู่รอดได้.
Powerful,
potentially world-changing grassroots movements are still for the most part
working separately. If we want to solve the climate crisis, anti-GMO consumers,
anti-fracking forces, the climate movement, alternative food and farming
activists, animal welfare advocates, forest, wildlife and marine life
conservationists, and the natural health community must connect the dots
between our related issues. We must unite and create a powerful synergy between
our public education and campaign efforts. Before it’s too late.
ขบวนการรากหญ้าที่ทรงพลัง
และมีศักยภาพจะเปลี่ยนโลก ยังคงต่างคนต่างทำ.
หากเราต้องการแก้ปัญหาวิกฤตภูมิอากาศ, ผู้บริโภคที่ต่อต้าน จีเอ็มโอ,
พลังต่อต้านการขุดเซาะ, ขบวนการภูมิอากาศ, นักกิจกรรมอาหารและเกษตรทางเลือก,
นักรณรงค์สนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์, นักอนุรักษ์ป่า, สัตว์ป่า และ สัตว์ทะเล, และ
ชุมชนสุขภาพธรรมชาติ จะต้องเชื่อมจุดระหว่างประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน. เราจะต้องผนึกกำลัง และ สร้างเสริมฤทธิ์เดชของกันและกันอย่างมีพลัง
ระหว่างการศึกษาสาธารณะ และ การรณรงค์. ก่อนที่มันจะสายเกินไป.
Time
is short. The stakes are sky high.
เวลาเหลือน้อย. เดิมพันสูงเทียมฟ้า.
Scientists
warn that if we don’t rapidly make the transition to renewable energy,
drastically limit the burning of fossil fuels, halt deforestation, and begin to
naturally sequester carbon by ending our industrial farming system and shifting
to a sustainable, organic alternative, we and our children and grandchildren
will be forced to endure the catastrophic consequences of a 7- to 11-degree
Fahrenheit rise in temperature by the end of the century.
นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนแล้วว่า
หากเราไม่รีบเร่งทำการเปลี่ยนผ่านสู่พลังหมุนเวียน,
จำกัดการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์อย่างเฉียบขาด, หยุดการทำลายป่า,
และเริ่มยึดคาร์บอนตามธรรมชาติ ด้วยการยุติระบบเกษตรอุตสาหกรรมของเรา และ
ขยับไปทางเลือกอินทรีย์ที่ยั่งยืน, เราและลูกหลานของเรา จะถูกบังคับให้ต้องก้มหน้ารับผลกรรมแห่งภัยพิบัติหายนะ
ของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 7-11 องศาฟาห์เรนไฮต์ ในตอนปลายของศตวรรษนี้.
If
we fail to heed scientific research and continue to ignore the chaotic weather
right in front of our eyes, we can expect permanent dust bowl conditions over
the southwestern U.S., parts of the Great Plains and in heavily populated
farming regions around the world. The oceans will rise by one foot by the year
2050, by 4 - 6 feet by 2100 and an additional 6 to 12 inches or more each
decade, destroying our coast lines and coastal communities. The Earth will
experience massive species extinction on land and sea, resulting in a
50-percent loss of biodiversity. Weather patterns will shift dramatically.
We’ve already been hit by extreme weather events, events whose worst impacts,
scientists say, will be “largely irreversible” for at least a thousand years.
หากเราไม่เอาใจใส่ต่องานวิจัยวิทยาศาสตร์
และ ยังคงเมินเฉยต่ออากาศอลวนที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาพวกเราอีกต่อไป,
เราสามารถคาดหมายได้ว่า ภาวะชามฝุ่น จะเกิดขึ้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ,
บางส่วนของพื้นที่ราบ (the
Great Plains) และในภูมิภาคที่มีการเพาะปลูกและชุมชนหนาแน่นทั่วโลก. มหาสมุทรจะเอ่อสูงขึ้น
หนึ่งฟุต ในปี 2050, ขึ้น 4-6 ฟุต ในปี
2100, 6-12 นิ้ว หรือกว่านั้นในทุกๆ สิบปี, ทำลายเขตชายทะเล และ
ชุมชนชายฝั่ง.
โลกจะประสบกับการวาบสูญสายพันธุ์มหาศาลทั้งบนบกและในทะเล, ผลคือ 50%
สูญหายไปจากความหลากหลายทางชีวภาพ.
แบบแผนของภูมิอากาศจะปั่นป่วนอย่างมาก.
เราได้ถูกกระหน่ำด้วยภาวะอากาศสุดโต่งแล้ว, ภาวะที่มีผลกระทบที่แย่ที่สุด,
นักวิทยาศาสตร์กล่าว, ส่วนใหญ่จะไม่สามารถหวนคืนสู่ปกติเช่นเดิมได้
เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งพันปี.
It’s
not just a fossil fuel problem.
มันไม่ใช่แค่ปัญหาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.
Industrial
agribusiness and hydraulic fracturing, or “fracking,” separately and combined,
play an even greater role in climate change than the overconsumption of fossil
fuels.
ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และ
การขุดเซาะด้วยพลังน้ำ, หรือ “fracking,” ทั้งแยกกัน และ รวมๆ
กัน, เล่นบทที่ยิ่งใหญ่กว่าในการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ มากกว่า
การบริโภคเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์มากเกิน.
Factory
Farms, also called Confined Animal Feeding Operations (CAFOs), are responsible
for up to 51 percent of the world’s
greenhouse gas emissions, more than the entire global transportation industry.
Some scientists have labeled these factory farms “mini Chernobyls” for the way
they pollute our air, soil, ground and surface water.
ฟาร์มอุตสาหกรรม, ที่เรียกว่า
กระบวนการเลี้ยงสัตว์กักขัง (CAFOs), มีส่วนรับผิดชอบถึง 51%
ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่พ่นออกไปในโลก, มากกว่าจากอุตสาหกรรมขนส่งทั่วโลก. นักวิทยาศาสตร์บางคน ได้ขนานนามโรงงานฟาร์มเหล่านี้ว่าเป็น
“เชอร์โนบิลส์จิ๋ว” สำหรับวิธีการที่มันสร้างมลภาวะในอากาศ, ดิน, น้ำบนและใต้ดิน.
To
feed the millions of tortured animals confined in CAFOs, the biotech industry
supplies industrial farms with genetically engineered corn, soy, canola and
cottonseed, crops that farmers douse with toxic herbicides and pesticides. This
chemical-intensive, GMO industrial-model farming system threatens human health,
the environment, and the livelihood of small farmers around the world. It also
destroys the soil’s natural ability to sequester carbon, because of massive
amounts of fossil fuels used on industrial farms and the billions of pounds of
climate-disrupting chemical fertilizers and pesticides dumped on these farms.
เพื่อเลี้ยงสัตว์นับล้านที่ถูกทารุณและกักขังใน
CAFOs,
อุตสาหกรรมไบโอเทค จัดให้ขายเมล็ด จีเอ็ม ข้าวโพด, ถั่วเหลือง,
กาโนลา และ เมล็ดฝ้าย ให้แก่ฟาร์ม, พืชที่เกษตรกรฉีดบาพิษฆ่าวัชพืชและแมลงจนชุ่ม. ระบบโมเดลอุตสาหกรรม จีเอ็มโอ
ที่ใช้เคมีอย่างเข้มข้นนี้ เป็นภัยคุกคามสุขภาพมนุษย์, สิ่งแวดล้อม,
และวิถีชีวิตของเกษตรกรรายย่อยทั่วโลก.
มันยังทำลายความสามารถตามธรรมชาติของดินในการยึดคาร์บอน,
เนื่องจากปริมาณมหาศาลของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์บนฟาร์มอุตสาหกรรม และ
ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงที่ทำให้ภูมิอากาศปั่นป่วนนับหลายพันล้านปอนด์
ที่ทุ่มใส่ฟาร์มเหล่านี้.
The
petroleum industry’s answer to reducing fossil fuel use, whether on industrial
farms, on highways, or to cool or heat energy-inefficient buildings, is to sell
us on its latest reckless scheme: hydraulic fracturing, better known as
“fracking.” Fracking involves injecting massive amounts of water, sand and
hundreds of highly toxic chemicals a mile deep into the ground to fracture
shale rock in order to extract oil and gas. Companies like Chevron,
Exxon-Mobil, Halliburton, and BP claim this process represents a “bridge to a
clean energy future.” But independent scientists and informed citizens
recognize extreme energy extraction for what it is: a superhighway to
environmental and climate catastrophe.
คำตอบของ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม
เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์, ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มอุตสาหกรรม, ถนนหลวง, หรือ
เพื่อทำความเย็นหรือความร้อนในอาคารที่ไม่มีประสิทธิภาพเชิงพลังงาน, ก็คือ
การขายให้พวกเรา แผนการที่สะเพร่าล่าสุด:
การขุดเซาะด้วยพลังน้ำ, หรือ “fracking.” ซึ่งเป็นการฉีดน้ำปริมาณมหาศาล, พร้อมกับทราย
และ สารพิษเคมีหลายร้อยตัว เจาะลงดินลึกหนึ่งไมล์ เพื่อกระแทกชั้นหินให้แตก
เพื่อสกัดน้ำมันและแก๊ส. บริษัท เช่น
เชฟรอน, เอ็กซอน-โมบิล, ฮอลลิเบอร์ตัน, และ บีพี ต่างอ้างว่า กระบวนการนี้ เป็น “สะพานสู่อนาคตที่สะอาด”. แต่นักวิทยาศาสตร์อิสระ และ พลเมืองที่รู้เรื่อง
ตระหนักว่า การใช้พลังงานสุดโต่งในการสกัดสิ่งที่เรียกว่า : ถนนซูเปอร์ไฮเวย์
สู่ หายนะทางสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ.
Natural
gas and oil development is already the second-largest contributor to greenhouse
gas pollution in the U.S. The climate change footprint of natural gas, once the
extraction process and the resulting methane (a greenhouse gas that is up to
105 times more powerful at trapping heat in the atmosphere than carbon dioxide)
is factored in, is worse than coal. And, according to the U.S. Energy and
Information Administration, if we pursue natural gas as a central component of
our energy portfolio as planned, we’ll suffer an increase in temperature of
approximately 7 degrees Fahrenheit by 2060 (a shocking 660 CO2 ppm).
การพัฒนาแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน
เป็นตัวการใหญ่ที่สอง ในการสร้างมลภาวะก๊าซเรือนกระจก ในสหรัฐฯ. รอยเท้าการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของแก็สธรรมชาติ,
เมื่อไรที่กระบวนการสกัด และ ผลลัพธ์มีเธน (ก๊าซเรือนกระจกที่มีพลังสูงถึง 105 เท่า ในการดักจับความร้อนในชั้นบรรยากาศ มากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์)
รวมเข้ามา, ผลจะแย่กว่าถ่านหินมาก. และ,
ตามรายงานของ สนง การบริหารพลังงานและข้อมูล สหรัฐฯ,
หากเราไล่ล่าแก๊สธรรมชาติให้เป็นปัจจัยศูนย์กลางในแฟ้มพลังงานตามแผน,
เราจะต้องทนทุกข์ทรมานจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิประมาณ 7 องศาฟาห์เรนไฮต์
ในปี 2060 (ระดับน่าตระหนกถึง 660 CO2 ppm).
Many
movements. One voice
หลายขบวนการขับเคลื่อน. หนึ่งเสียง
The
climate change movement is growing louder and stronger every day. But slashing
fossil fuel use can’t be our only solution to the impending climate calamity.
And the climate movement can’t be the lone voice for calling for change.
การขับเคลื่อนในประเด็นภูมิอากาศแปรปรวน
กำลังส่งเสียงดังขึ้นและเข้มแข็งขึ้นทุกวัน.
แต่การลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ไม่สามารถเป็นเพียงคำตอบเดียว
ต่อหายนะภูมิอากาศที่ใกล้เข้ามาทุกที.
และขบวนการภูมิอากาศไม่สามารถเป็นเสียงโดดเดี่ยวที่เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง.
Fortunately,
it doesn’t have to be. Resistance to our out-of-control food and farming system
has spawned an increasingly powerful and sophisticated alternative food and
farming movement. Millions of Americans are demanding and purchasing healthy
sustainable foods and are turning away from GMOs, factory farmed and highly
processed foods, demanding truthful labels and a ban on harmful practices. Poll
after poll show as many as 90 percent of Americans support labeling foods with
GE ingredients. Some cities and counties are banning GE crops altogether. Consumers
in dozens of states, through ballot initiatives or state legislation, are
seeking to label foods containing GMOs. The U.S. Food & Drug Administration
(FDA) has received over a million comments, the most ever submitted on one
issue, from citizens demanding labels on GMOs.
โชคดี,
มันไม่ต้องเป็นเช่นนั้น.
การต่อต้านระบบอาหารและการเกษตรที่อาละวาดอย่างคุมไม่อยู่
ได้ขยายเป็นขบวนการอาหารและเกษตรทางเลือก ที่ทรงพลังและช่ำชอง. ชาวอเมริกันหลายล้านคน กำลังเรียกร้อง และ
ซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน และ กำลังหันหลังให้กับ จีเอ็มโอ,
อาหารจากฟาร์มอุตสาหกรรมและถูกแปรรูปสูง, เรียกร้องให้มีการติดฉลากความจริง และ
คว่ำบาตรวิธีปฏิบัติที่อันตราย. การสุ่มความเห็นครั้งแล้วครั้งเล่า
ได้แสดงให้เห็นว่า ชาวอเมริกันมากถึง 90% สนับสนุนการติดฉลากอาหารที่มีส่วนประกอบ
จีอี. บางเมืองและเขต กำลังคว่ำบาตรพืช
จีอี ด้วย. ผู้บริโภคในหลายสิบรัฐ,
ด้วยการทำประชาพิจารณ์ หรือ การออกกฎหมายรัฐ, กำลังแสวงหาทางบังคับให้ติดฉลากอาหารที่มี
จีเอ็มโอ. อย.สหรัฐฯ
ได้รับความเห็นหลายล้าน, มากที่สุดเท่าที่มีมาต่อประเด็นเดียว,
จากพลเมืองเรียกร้องให้ติดฉลาก จีเอ็มโอ.
Similarly,
a powerful grassroots movement has sprung up around resistance to fracking. The
movement has successfully banned fracking in Vermont and Quebec, and won
temporary moratoriums in New York and New Jersey. Other states, including
California, have proposed bans or moratoriums, as have cities and counties in
Colorado, Oregon and other states. At last count, nearly 350 U.S. counties and
cities had implemented moratoriums or outright bans.
ในทำนองเดียวกัน,
ขบวนการรากหญ้าที่ทรงพลังหนึ่ง ได้ผุดขึ้นมารอบๆ การต่อต้าน fracking. ขบวนการนี้ ได้คว่ำบาตร fracking สำเร็จในเวอร์มอนต์ และ ควีเบค,
และได้ชัยชนะในการระงับการทำงานในนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี. รัฐอื่นๆ เช่น แคลิฟอร์เนีย,
ได้เสนอให้คว่ำบาตร หรือ ระงับชาวคราว, เช่นเดียวกับบางพื้นที่ใน โคโลราโด, โอเรกอน
และ รัฐอื่นๆ. จำนวนล่าสุดที่นับได้, เขตปกครองเกือบ
350 เขตในสหรัฐฯ และเมือง ได้ดำเนินการระงับชั่วคราว หรือ
คว่ำบาตรไปแล้ว.
Rethinking
the solutions
คิดใหม่หาคำตอบ
We
need to mobilize consciousness and action on multiple fronts to avert runaway
global warming. These fronts include:
เราจำเป็นต้องขับเคลื่อนจิตสำนึก
และ ปฏิบัติการ ในหลากหลายด้าน เพื่อพลิกผันภาวะโลกร้อนที่เอาไม่อยู่. ด้านเหล่านี้ เช่น.
–
Massive reductions (90 percent) in fossil fuel use over the next 20-30 years,
not only in transportation, utilities, housing and industry, but most
importantly in our food and farming sector. We must phase out GMOs, factory
farms, chemical- and energy- intensive food production, processing,
transportation and waste, and make the Great Transition to an organic,
relocalized, humane and sustainable system of food and farming.
-ลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์อย่างมหาศาล
(90%) ในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า, ไม่เพียงแต่ในการขนส่ง,
สาธารณูปโภค, ที่อยู่อาศัย, และอุตสาหกรรม, แต่ที่สำคัญที่สุด
ในภาคส่วนอาหารและเกษตรของเรา.
เราจะต้องทำให้ จีเอ็มโอ, ฟาร์มโรงงาน, การผลิตอาหารที่ใช้เคมีและพลังงานอย่างเข้มข้น,
การแปรรูป, การขนส่งและขยะ หมดไป, และ ทำการเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่สู่
ระบบอาหารและการเกษตรที่เป็นอินทรีย์, คืนถิ่น, มีมนุษยธรรม และ ยั่งยืน.
– Massive energy conservation through the
retrofitting of buildings, transportation, utilities and industry, in order to
make the transition to renewable forms of energy.
-การอนุรักษ์พลังงานอย่างมหาศาลด้วยการถอยกลับมาปรับปรุงอาคาร,
การขนส่ง, สาธารณูปโภค และ อุตสาหกรรม เพื่อทำให้เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน.
– Massive natural sequestration of excess CO2
(50-100 ppm of CO2 over next 50 years) through global reforestation, organic
and no-till farm practices on cropland, and holistic grazing (carbon ranching)
of animals on pastureland and grasslands.
-การยึด CO2 ที่มากเกิน ด้วยวิธีธรรมชาติอย่างมหาศาล (50-100 ppm ของ CO2 ใน 50 ปีข้างหน้า)
ด้วยการปลูกป่าโลก, วิธีปฏิบัติเกษตรอินทรีย์และไร้ไถในแปลงเพาะปลูก,
การปล่อยให้สัตว์เล็มหญ้าในทุ่ง.
– Bans on fracking, nuclear power, coal
plants, deepwater oil exploration and other extreme energy extraction methods.
-คว่ำบาตร fracking, พลังงานนิวเคลียร์, โรงงานถ่านหิน, การสำรวจน้ำมันในทะเลลึก และ
วิธีสกัดพลังงานสุดโต่งอื่นๆ.
New
studies indicate that organic crop cultivation and holistic rotational grazing
of animals on perennial pastures dramatically increase the amount of organic
carbon material in the soil. By abandoning industrial crop production, GMOs and
factory farms in favor of organic and holistic farming and ranching we can
accelerate plant photosynthesis on a global scale, reversing desertification
and literally drawing down billions of tons of excess greenhouse CO2 out of the
atmosphere. As the world's 3.5 billion acres of cropland and 8.3 billion acres
of pasture and rangelands are transitioned to no-till organic farming and
carbon ranching, we will be able to sequester anywhere from 1,000-7,000 pounds
of carbon dioxide per acre per year, enough to restabilize the climate if we
simultaneously embark on a program of global reforestation, energy conservation
and conversion to renewable forms of energy. At the same time we must
regenerate the 5 billion acres of forest
that have been destroyed over the past 150 years.
งานศึกษาใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่า
พืชเพาะปลูกแบบอินทรีย์ และ วิธีให้สัตว์เล็มหญ้าแบบหมุนเวียนและเป็นองค์รวม
ในทุ่งหญ้ายืนต้น จะเพิ่มปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินอย่างเห็นได้ชัด. ด้วยการละทิ้งการผลิตพืชอุตสาหกรรม, จีเอ็มโอ
และ อุตสาหกรรมฟาร์ม มาเป็น เกษตรและฟาร์มเลี้ยงสัตว์อินทรีย์และองค์รวม
เราสามารถเร่งกระบวนการสังเคราะห์แสงในพืชในระดับโลก, จะผันกลับการเกิดทะเลทราย และดึงก๊าซเรือนกระจก
CO2
หลายพันล้านตัน ออกจากชั้นบรรยากาศ. ในขณะที่ พื้นดินเพาะปลูกของโลก 3.5 พันล้าน เอเคอร์ และ ทุ่งหญ้าและไร่ปศุสัตว์ 8.3
พันล้านเอเคอร์ กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรอินทรีย์ไร้ไถ และฟาร์มคาร์บอน, เราจะสามารถยึดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1,000-7,000
ปอนด์ ต่อเอเคอร์ ต่อปี, เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเสถียรในภูมิอากาศ
หากเราเริ่มไปพร้อมกันโครงการโลกในการปลูกป่า, อนุรักษ์พลังงาน และ
สับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน.
ในขณะเดียวกัน เราต้องทำให้ป่าเกิดใหม่ 5 พันล้านเอเคอร์
จากที่ได้ถูกผลาญทำลายในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา.
By
abolishing factory farms and industrial and GE crop cultivation, and making the
Great Transition to traditional rotational “carbon” ranching and organic
farming we can potentially sequester almost 100 percent of excess greenhouse
gas emissions, and help bring the CO2 level back down to the safe level of 350
ppm.
ด้วยการยกเลิกฟาร์มอุตสาหกรรม
และ การปลูกพืช จีอี, และ ทำการเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ สู่การเลี้ยงสัตว์ในทุ่ง
ที่ยึดคาร์บอน และ เกษตรอินทรีย์ แบบหมุนเวียนดั้งเดิม,
เราจะสามารถยึดก๊าซเรือนกระจกที่พ่นออกมามากเกินเกือบ 100%, และ ช่วยนำระดับ CO2 ให้กลับสู่ระดับที่ปลอดภัยที่ 350
ppm.
The
task at hand is daunting, but absolutely necessary. We need to jump start our
21st century revolution in consciousness, coalition building and action. Now.
This doesn’t mean we have to give up on all of our daily responsibilities and
our primary passions. But it does mean that we must all, or at least a critical
mass of us, immediately connect the dots between climate-friendly food, energy,
transportation, forestry, media, public education, public policy, and politics.
We must harmonize our discourse, broaden our alliances and bring together the
myriad currents of a U.S. and global movement for survival and revival into an
unstoppable force.
ภารกิจเฉพาะหน้าขณะนี้น่ากลัวมาก,
แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่ง.
เราจำเป็นต้องเริ่มด้วยก้าวกระโดดในการปฏิวัติศตวรรษที่ 21 ของเรา ในด้านจิตสำนึก, การสร้างเครือข่ายและปฏิบัติการ. เดี๋ยวนี้.
นี่ไม่ได้หมายความว่า เราต้องละทิ้งความรับผิดชอบในชีวิตประจำวัน และ
สิ่งที่เราชอบอย่างเป็นชีวิตจิตใจทั้งหมด.
แต่มันหมายความว่า พวกเราทั้งหมด, หรืออย่างน้อย มวลวิกฤตในหมู่เรา, จะต้อง
เชื่อมจุดทันที ระหว่าง อาหาร, พลังงาน, การขนส่ง, ป่า, สื่อ, การศึกษาสาธารณะ,
นโยบายสาธารณะ, และ การเมือง ที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ. เราจะต้องสร้างความกลมกลืนในวาทกรรมของเรา,
ขยายวงพันธมิตรของเรา และ นำกระแสการขับเคลื่อนมากมายมหาศาลในสหรัฐฯ และในโลก
เพื่อความอยู่รอด ให้รวมตัวกัน และ ฟื้นคืนให้เป็นพลังงานที่หยุดไม่ได้.
Starting
today, not next year, we've all got to become climate hawks, forest protectors,
anti-fracking activists, proponents of healthy and climate-friendly organic
farming and ranching, and democracy activists, to break up corporate control
over the marketplace and over our elections, media and public policy. Starting
today we must move together to save our climate, our civilization and Mother
Earth.
เริ่มต้นวันนี้, ไม่ใช่ปีหน้า,
เราทั้งหมดต้องกลายเป็นเหยี่ยวภูมิอากาศ, ผู้ปกป้องป่า, นักกิจกรรมต่อต้านการขุดเซาะกระแทก,
ผู้สนับสนุนเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์อินทรีย์ ที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ, และ
นักกิจกรรมประชาธิปไตย, เพื่อตีกระจุยอำนาจการควบคุมของบรรษัทเหนือตลาด และ
เหนือการเลือกตั้ง, สื่อ และ นโยบายสาธารณะของพวกเรา. เริ่มต้นวันนี้ เราจะต้องเคลื่อนไปด้วยกัน
เพื่อรักษาภูมิอากาศของเรา, อารยธรรมของเรา, และ พระแม่ธรณี.
Ronnie Cummins is a veteran activist,
author, and organizer. He is the International Director of the Organic
Consumers Association and its Mexico affiliate, Via Organica.
http://www.organicconsumers.org; http://www.viaorganica.org
Zack Kaldveer is assistant media
director at the Organic Consumers Association.
Published on
Tuesday, May 14, 2013 by Common Dreams
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น