วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

231. การแทรกซึมของ จีอี-จีเอ็มโอ เข้าประเทศไทย และ ภาคพื้นอุษาคเนย์


231. Infiltration of GE-GMO into Thailand and Southeast Asian Region

Ofreneo, Rene E.  2004. “From the Green Revolution to the Gene Revolution: Agriculture, AFTA and the TNCs”, Paper presented at Asia Pacific Network on Food Sovereignty Regional Workshop, Manila, Philippines, 6-9 Nov. 2004
“จากปฏิวัติเขียวสู่ปฏิวัติยีน (พันธุกรรม): เกษตร, อนุสัญญาค้าเสรี อาฟตา และ บรรษัทข้ามชาติ (TNCs)”

In Bali October of last year, the heads of the different member states of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) declared their vision of an integrated ASEAN Community by 2020. According to the Bali
Concord II, this ASEAN Community will be achieved through ‘three pillars’ – the ASEAN Security Community, the ASEAN Socio-Cultural Community and the ASEAN Economic Community.
ในบาหลี ตุลาคมปีกลาย, ผู้นำรัฐต่างๆ ของอาเซียน ได้ประกาศวิสัยทัศน์ ของการผนวกรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๖๓.  ตามแถลงการณ์บาหลี ๒, ประชาคมอาเซียนจะบรรลุผ่านเสาหลักสามต้น—ประชาคมความมั่นคงอาเซียน, ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน, และ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC-เออีซี).
Among the three pillars, what has received great attention and publicity is the concept of an ASEAN
Economic Community (AEC), characterized by zero internal tariffs (within the ASEAN borders) and the SEAsian region constituting one integrated economy. The ASEAN, which started in l967 as a politico-security bloc aimed at countering the influence of the Communist bloc in Asia, is better known inside and outside the ASEAN as a regional economic integration project.
ในสามเสาหลัก, ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ เออีซี, คือ กำแพงภาษีเป็นศูนย์ (ภายในขอบเขตอาเซียน) และ อุษาคเนย์ ให้เป็นเศรษฐกิจเนื้อเดียวกัน.   อาเซียน, เริ่มในปี ๒๕๑๐ ในฐานะกลุ่มการเมือง-ความมั่นคง มุ่งหมายที่ถ่วงดุลอิทธิพลของกลุ่มคอมมิวนิสต์ในเอเชีย, เป็นที่รู้กันดีทั้งในและนอกอาเซียน ว่าเป็นโครงการผนวกรวมเศรษฐกิจของภาคพื้นนี้.
But if regional economic integration is indeed the ultimate goal, who is doing the integration? And how is such integration reflected in the agricultural sector?
แต่หากการผนวกรวมเศรษฐกิจภาคพื้นเป็นเป้าหมายสูงสุดจริง, ใครจะเป็นคนทำการผนวกรวม?  และ การผนวกรวมนี้ สะท้อนภาคเกษตรอย่างไร?
The thesis of this paper is that the regional integration, in particular agricultural integration, is happening mainly through the efforts of the transnational corporations (TNCs). This paper outlines how the integration process is taking place in ASEAN’s agriculture. To clarify the overall trajectory of integration, a summary of the ASEAN economic integration project, the ASEAN Free Trade Agreement (AFTA)-Common Effective Preferential tariffs (CEPT) or AFTA-CEPT, is given at the beginning. The paper ends with an outline of challenges and tasks facing the non-government or civil society movement in the light of the tightening hold of the TNCs on the ASEAN agricultural sector. This paper is focused mainly on the role of the TNCs in the regional agricultural integration process; as such, industrial integration and other regional agricultural concerns are discussed here only in passing.
สมมติฐานของบทความนี้ คือ การผนวกภาคพื้นนี้, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผนวกรวมภาคเกษตร, กำลังเกิดขึ้นผ่านความพยายามของ TNC.  บทความนี้ ให้เค้าโครงกระบวนการผนวกรวมที่เกิดขึ้นในภาคเกษตรของอาเซียน.  เพื่อความกระจ่างในภาพรวมของการผนวกรวม, จะเริ่มด้วยการย่อโครงการผนวกรวมเศรษฐกิจอาเซียน, อาฟตา (AFTA, ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน)-เซพต์ (CEPT, พิกัดภาษีร่วมที่พอใจและมีประสิทธิผล).  บทความนี้ จะจบลงด้วยการวางเค้าโครงข้อท้าทาย และ ภารกิจ ที่ภาคประชาสังคม/เอ็นจีโอต้องเผชิญ ในภาวะที่ บรรษัทข้ามชาติ (TNC) กระชับงุ้มมือมากขึ้นในภาคเกษตรของอาเซียน.  บทความนี้ มุ่งเน้นที่บทบาทของ TNC ในกระบวนการผนวกรวมเกษตรในภาคพื้น, ดังนั้น, การผนวกด้านอุตสาหกรรม และ ประเด็นห่วงใยด้านอื่นของเกษตรในภาคพื้น จะอภิปรายอย่างผ่านๆ เท่านั้น.

THE AFTA-CEPT PROJECT: AN OVERVIEW
Under the AFTA-CEPT program, products traded within the ASEAN region are supposed to go down to
0-5 per cent by the year 2008 but the target date was advanced to 2003 during the ASEAN Economic Ministers (AEM) Meeting in September 1994. It should be pointed out that the AFTA-CEPT was launched in l992 with an original 15-year time frame. The ASEAN economic ministers became ambitious and decided to accelerate the free-trade arrangement process through tariff reductions.
ภายใต้ โปรแกม AFTA-CEPT, ผลิตภัณฑ์ค้าขายภายในภาคพื้นอาเซียน คาดว่าควรจะลดลง 0-5% ในปี ๒๕๕๑ แต่ เป้าเวลา ได้ก้าวหน้าเป็น ๒๕๔๖ ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ในเดือนกันยายน ๒๕๓๗.  โปรดทราบว่า AFTA-CEPT เริ่มในปี ๒๕๓๕ ด้วยกรอบเวลาตอนแรกเป็น ๑๕ ปี.  รมต เศรษฐกิจอาเซียน เกิดทะเยอทะยาน และตัดสินใจว่า จะเร่งกระบวนการค้าเสรีให้เร็วขึ้นผ่านการลดพิกัดภาษี.
The AFTA-CEPT is implemented through a schedule involving four product lists:
การดำเนินการของ AFTA-CEPT มีกำหนดตารางเวลา และผลลัพธ์สี่ประการ ดังนี้.
• The Inclusion List (IL): products in the IL are those that have to undergo immediate liberalization through reduction in intra-ASEAN tariff rates, and removal of quantitative restrictions and other non-tariff barriers. Tariffs on these products should have been reduced to a maximum of 20 per cent by the year 1998, and to less than 5 per cent by the year 2002 (by 2006 or later for new members of the ASEAN – Vietnam, Kampuchea, Laos and Myanmar).
-          Inclusion List (IL) รายการในระบบ: ผลิตภัณฑ์ในรายการนี้ จะปลดเสรีทันทีด้วยการลดอัตราภาษีระหว่างประเทศในอาเซียน, และ ยกเลิกการจำกัดเชิงปริมาณ และ เครื่องกีดขวางที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ.  พิกัดภาษีจะลดสูงสุด 20% ในปี ๒๕๔๑, และ เป็นต่ำกว่า 5% ในปี ๒๕๔๕.
• The Temporary Exclusion List (TEL): products in TEL are shielded from trade liberalization for a temporary period, after which, all of these products would have to be transferred to the IL and subjected to the usual process of tariff reduction.
-          Temporary Exclusion List (TEL) รายการกันออกชั่วคราว: ผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้ อยู่นอกการปลดเสรีชั่วคราว, จากนั้น, ทั้งหมดจะถ่ายโอนไปสู่ IL และเป็นไปตามครรลองการลดพิกัดภาษี.
• The Sensitive List (SL): this list contains unprocessed agricultural products such as rice and sugar, which are given a longer period for integration into the free trade area. For the SL category, the commitment to reduce tariffs to 0-5 per cent and to remove non-tariff barriers is extended up to the year 2010 for the ASEAN-6 (Brunei, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand), up to 2013 for Vietnam, 2015 for Lao PDR and Myanmar, and 2017 for Cambodia.
-          Sensitive List (SL) รายการที่มีความละเอียดอ่อน: ประเภทนี้มี ผลิตภัณฑ์เกษตรไม่แปรรูป เช่น ข้าว และ น้ำตาล, ที่ให้เวลามากหน่อยในการผนวกรวมสู่พื้นที่ค้าเสรี.  สำหรับประเภท SL นี้ พันธกิจในการลดภาษีให้เป็น 0-5% และ ขจัดเครื่องกีดขวางที่ไม่ใช่ภาษี ได้ยืดออกไปถึงปี ๒๕๕๓ สำหรับ อาเซียน-๖, ...
• The General Exception List (GEL): the products in this list are permanently excluded from the free trade area for reasons of national security, the protection of articles of cultural value, and other reasons. In their 2001 Hanoi meeting, the ASEAN leaders decided to fast-track the application of the zero tariff for 60 per cent of the ASEAN products of the ASEAN 6 to 2003.
-          General Exception List (GEL) รายการยกเว้นทั่วไป :  ผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้ ถูกกันออกถาวรจากการค้าเสรี ด้วยเหตุผลความมั่นคงแห่งชาติ, การปกป้องวัตถุที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม, และเหตุผลอื่นๆ.  ในการประชุมที่ฮานอย ปี ๒๕๔๔, ผู้นำอาเซียน ตัดสินในให้ใช้มาตรการเร่งด่วน (ทางสายด่วน) ทำให้ 60% ของผลิตภัณฑ์ของอาเซียน มีภาษีเป็น ศูนย์...
Table 1 shows the number of tariff bindings committed by the ASEAN 6 and ASEAN 4 under the four product lists. Table 2, on the other hand, shows the implementation of tariff reductions for the ASEAN 6 as of 2001 under the IL list.

Based on the 2001 CEPT Package, all the ASEAN 6 signatories to the CEPT Agreement were able to meet the target of reducing tariffs to 0-5% for 90% of their IL list (see table 2). In fact, the ASEAN 4 members are not too far behind in the liberalization process. As shown in Figure 1, the average tariffs have gone down to 2.68 per cent as of January 2003. According to the ASEAN Secretariat, as of January 2004, the ASEAN 6 signatories were also able to reduce to zero tariff 60 per cent of the products covered by the IL list.
ตามข้อตกลง CEPT ปี ๒๕๔๑, ทั้ง ๖ สมาชิกอาเซียนที่ได้ลงนามใน เซพตา สามารถบรรลุเป้าของการลดด่านภาษีเป็น 0-5% สำหรับสินค้าประเภท IL ถึง 90%.  ….
The ultimate target of the ASEAN is that by 2010, the ASEAN 6 originals would have eliminated all import duties, and 2015 for the ASEAN 4, with some flexibility for the sensitive products.
…………
To publicize the CEPT Scheme for the ASEAN Free Trade Area to the business community, a series of workshops on the CEPT Scheme (CEPT Outreach Programme) are being held in key cities in ASEAN, with the help of the ASEAN Centre, Japan, in cooperation with the ASEAN Secretariat and the National AFTA Units of the host countries.
เพื่อประชาสัมพันธ์แผนงาน CEPT สำหรับ พื้นที่การค้าเสรีอาเซียน ให้วงการธุรกิจรู้จัก, มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แผน CEPT ในเมืองสำคัญๆ ต่างๆ ในอาเซียน, ด้วยความช่วยเหลือของ ศูนย์อาเซียน, ญี่ปุ่น, ร่วมกับเลขาธิการอาเซียน และ หน่วยอาฟตาแห่งชาติ ของบรรดาประเทศเจ้าภาพ.
In the area of differing tariff nomenclatures, the ASEAN tried to develop an ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature, an 8-digit level tariff nomenclature based on the Harmonised System (HS) of the World Customs Organisation.
มีการทำให้เกิดความกลมกลืนในคำศัพท์ วิธีการจัดเก็บพิกัดภาษีแต่ละประเทศ ให้เป็น ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature, …
Five ASEAN member countries – Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand – have also implemented customs valuation method in accordance with the WTO (World Trade Organization) Valuation Agreement.
ห้าประเทศ—อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และ ไทย—ได้ดำเนินการแปลงวิธีการศุลกากร ตามแนวของ องค์การค้าโลก WTO Valuation Agreement.

Growth of intra-trading  / การค้าระหว่างสมาชิกอาเซียน

One success indicator of integration is the level of intra-trading that has developed among the ASEAN member countries.
ดัชนีชี้ถึงความสำเร็จในการผนวก คือ ระดับของการค้าระหว่างกันในหมู่สมาชิก.
Table 3 shows that ASEAN countries have been trading with one another by as much as one-fourth of their total exports and imports. This is a significant development, since the intra-trade of the ASEAN countries had been very limited till the l980s. Table 4 shows how, in the case of the Philippines, its intra-ASEAN trade increased sharply in the l990s.
...
However, it should be noted that intra-ASEAN trade, both at the export and import sides, have not increased significantly in the second half of the l990s up to 2002. As shown by the Philippine statistics, intra-ASEAN trade grew substantially in the first half of the l990s. This means the AFTA-CEPT impact, which was implemented mainly in the late l990s up to the present, is quite limited. The tremendous intra-ASEAN trade expansion in the l990s can be explained not by AFTA but by the unilateral trade liberalization policy that the Philippines and other ASEAN countries adopted in the first half of the l990s.
ที่น่าสังเกต ในการค้าระหว่างกันในอาเซียน, ทั้งการส่งออกและสั่งเข้า, ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงหลังของทศวรรษ ๒๕๓๓ จนถึง ๒๕๔๕.  ...  หมายความว่า ผลกระทบของ AFTA-CEPT, ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ครึ่งแรกของทศวรรษ ๒๕๓๓ จนถึงปัจจุบัน, มีจำกัดมาก.  การขยายตัวมากมายระหว่างกันในอาเซียน ในทศวรรษ ๒๕๓๓ อธิบายได้ว่าไม่ใช่จาก อาฟตา แต่จากนโยบายการค้าเสรีด้านเดียว ที่ฟิลิปปินส์ และ ประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้รับไปใช้ในครึ่งแรกของทศวรรษ ๒๕๓๓.

Industrial complementation / การเกื้อกูลกันทางอุตสาหกรรม

It is also well known that many ASEAN economies such as those of Indonesia, Philippines, Thailand, Malaysia and Vietnam have similar agro-industrial structures, meaning they produce similar industrial products such as shoes, rubber, garments, rice, corn, sugar and so on. Hence, the limited growth of intra-ASEAN trading.
เป็นที่รู้กันดีว่า หลายเศรษฐกิจอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย และ เวียดนาม มีโครงสร้างอุตสาหกรรมเกษตรที่คล้ายคลึงกัน, หมายความว่า ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคล้ายกัน เช่น รองเท้า, ยาง, เสื้อผ้า, ข้าว, ข้าวโพด, น้ำตาล ฯลฯ.  ดังนั้น จึงมีการขยายตัวที่จำกัดในการค้าระหว่างกัน.
However, the integration or regional complementation is also facilitated by the regional operations of TNCs (transnational corporations). For example, some automotive TNCs set up assembly plants and even parts manufacturing in the individual ASEAN countries to overcome high tariff and non-tariff barriers and capture the domestic markets for their products. With the tariffs and trade restrictions going down, these TNCs are now able to re-align and optimize their regional operations by changing their regional division of labor such as developing automotive hubs in areas with large emerging markets such as Thailand, promoting specialized parts production in others such as the Philippines which has become a major producer of wire harnesses, and so on and so forth.
แต่ การผนวก หรือ การเกื้อกูลระดับภาคพื้น ก็ได้เกิดขึ้นโดยการบริหารระดับภาคพื้นของ TNCs.  เช่น บางบรรษัทข้ามชาติรถยนต์ จัดตั้งโรงงานสายพาน และ แม้แต่ผลิตชิ้นส่วนในปัจเจกประเทศอาเซียน เพื่อเอาชนะด่านภาษีสูง และ เครื่องกีดขวางที่ไม่ใช่ภาษี และ รุกตลาดในประเทศ.  พอภาษีและข้อจำกัดการค้าลดลง, บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ สามารถปรับลำ และ จัดกระบวนสายงานในระดับภาคพื้นด้วยต้นทุนต่ำลง โดยการเปลี่ยนระบบแยกส่วนแรงงาน เช่น พัฒนาพื้นที่แก่นผลิตรถยนต์ ในตลาดที่เริ่มขยายใหญ่ เช่น ไทย, ส่งเสริมให่ผลิตชิ้นส่วนพืเศษในประเทศอื่น เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ได้กลายเป็นแหล่งผลิต wire harnesses, ฯลฯ ที่สำคัญ.
The point is that trade liberalization across the region has made it possible for TNCs to move products and processes more freely and to locate some aspects of work in certain countries based on profit maximization and market optimization.
การค้าเสรี ทำให้ TNCs เคลื่อนผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตไปมาอย่างไร้พรมแดน อืสระมากขึ้น และมองหาแหล่งปักหลักลงทุน และ ตลาดที่เหมาะสำหรับตน ให้ได้กำไรสูงสุด.
The above observation is validated by the fact that the main participants in the original ASEAN industrial complementation program are TNCs. ASEAN industrial complementation projects are projects based in two or more ASEAN countries complementing one another. In the past, several names had been given to this initiative.
............การร่วมมือระหว่างโครงการที่เกื้อกูลกัน ระหว่างอย่างน้อยสองประเทศ.  ในอดีต มักมีชื่อโครงการริเริ่มร่วมมือมากมาย.
The latest name is AICO – ASEAN Industrial Cooperation (AICO) Scheme, supposedly to promote ‘a more competitive ASEAN industry’.
แผนงานล่าสุด AICO – ASEAN Industrial Cooperation (AICO), ควรจะส่งเสริม “อุตสาหกรรมอาเซียนที่มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น”.
An AICO project enjoys preferential tariff rates of 0-5 per cent on all intermediate and raw material inputs.
However, the AICO list shows mainly the following big TNCs as AICO producers –
• Auto and motorcyles – Toyota, Volvo, Nissan, Isuzu, Honda, Ford, Harada, Daihatsu;
• Electronics – Matsushita, Mistubishi, Mitsubishi, Samsung, Showa, Sony, Yamaha;
• Others – Asahi, Bowden, Denso, Mistuba, Sanden, Yanmar; and
• Food – Nestle.

The only identifiable ‘ASEAN’ company in the AICO list is Thai Steel Cable, although it is not clear if this is really dominated by Thai nationals.
บริษัทเดียวที่พอจะระบุได้ว่า เป็น บริษัท “อาเซียน” ในรายการ AICO คือ Thai Steel Cable, แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่า จะเป็นของคนไทยจริงๆ.

Integration in agriculture / การผนวกรวมภาคเกษตร

As to agriculture, the trajectory of the integration process taking place is not clear, if not totally confusing.
ภาพรวมของกระบวนการผนวกรวม ไม่ชัด หากไม่สับสนทั้งหมด.
One reason is that most of the ASEAN countries are not necessarily complementing one another in terms of food and agricultural production. For example, with the exception of Singapore and Brunei, most are producing their own agricultural requirements, with some like Thailand, Vietnam and Malaysia able to produce enough surpluses for exports.
เหตุผลหนึ่ง คือ ประเทศอาเซียนส่วนมาก ไม่จำเป็นต้องเกื้อกูลกันในด้านอาหารและผลผลิตเกษตร.  ยกเว้น สิงคโปร์และบรูไน, ส่วนใหญ่ผลิตพอสำหรับตัวเองได้, เช่น ไทย, เวียดนาม และ มาเลเซีย สามารถผลิตเกินพอสำหรับส่งออกได้.
Another source of confusion is the lack of unified trade and tariff regimes, exacerbated in recent years by the tendency of some countries to forge bilateral free trade agreements with non-ASEAN countries. For example, Singapore has BFTA with Australia, US, Japan, Chile and other countries. Thus, strangely, Singapore is able to market in the ASEAN canned juices and other agri-based products even if it is not an agricultural producer. Singapore’s behavior is highly opportunistic. It is a source of trade diversion in the region. It shows why AFTA is not like EU, known as Fortress Europe.
ปัจจัยอื่นของความสับสน คือ ขาดระบบการค้าและพิกัดภาษีที่เป็นเอกภาพ, ปัญหาแย่ลงในไม่กี่ปีมานี้ เมื่อมีแนวโน้มบางประเทศทำข้อตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคีกับประเทศนอกอาเซียน.  เช่น สิงคโปร์ ทำ BFTA กับออสเตรเลีย, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ชิลี และ อื่นๆ.  จึงน่าแปลกที่สิงคโปร์ สามารถตีตลาด น้ำผลไม้กระป๋อง และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ ของอาเซียน ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่ผู้ผลิตด้านเกษตร.  พฤติกรรมของสิงคโปร์ จึงเป็นการฉวยโอกาสอย่างยิ่ง.  มันเป็นเหตุของความแตกแยกทางการค้าในภูมิภาคนี้.  มันแสดงให้เห็นว่า อาฟตา ไม่เหมือน อียู, ที่รู้จักในฐานะ เป็นป้อมปราการของยุโรป.
On paper, ASEAN has launched numerous agricultural initiatives. In 1993, the ASEAN adopted the following as its priorities on the agricultural front – food security, intra-/extra-ASEAN trade, technology transfer and productivity, human resources development, private sector participation, conservation of natural resources, and ASEAN cooperation on varied agriculture-related issues. However, despite the numerous meetings and declarations on the above thrusts, not much has happened in regional agricultural integration. This is so because there is hardly any budget and concrete organizational structures to back up the ASEAN intents in these priority areas.
บนหน้ากระดาษ, อาเซียนได้ริเริ่มหลายโครงการ.  ในปี ๒๕๓๖, อาเซียนยอมรับลำดับความสำคัญด้านเกษตร ดังนี้ – ความมั่นคงทางอาหาร, การค้าระหว่างภายใน/ภายนอก อาเซียน, การถ่ายเทเทคโนโลยี และ ผลิตภาพ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การมีส่วนร่วมของภาค (ธุรกิจ) เอกชน, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, และ ความร่วมมืออาเซียน ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับเกษตร.  แต่, ทั้งๆ ที่มีการประชุมและแถลงการณ์ดังกล่าวมากมาย, ไม่มีอะไรมากเกิดขึ้นในการผนวกรวมเกษตรระดับภูมิภาค.  เพราะเกือบไม่มีงบหรือ โครงสร้างองค์กรที่เป็นรูปธรรม เพื่อหนุนเจตนารมณ์ของอาเซียนในวาระที่ได้ให้ความสำคัญต้นๆ เหล่านี้.

So who is doing agricultural integration?  /  งั้นแล้วใครเป็นคนทำการผนวกรวมภาคเกษตร?

This is not easy to answer given the fact that trade liberalization in agricultural commodities has been the most contentious in the ASEAN. Note that most of the excluded items in the Sensitive List (SL) and in the Temporary Exclusion List (TEL) are agricultural items.
ตอบไม่ง่าย เพราะ การค้าเสรีในสินค้าเกษตร เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากที่สุดในอาเซียน.  โปรดสังเกต สินค้าส่วนใหญ่ที่ถูกกีดกันออกจากรายชื่อสินค้าละเอียดอ่อน (SL) และ ในกีดกันชั่วคราว (TEL) เป็นสินค้าเกษตร.
However, a closer scrutiny of developments in the region will reveal the following actors in the agricultural integration process:
แต่พอพิเคราะห์ลึกลงไป ถึงการพัฒนาในภูมิภาค พบ ตัวละครต่อไปนี้ ในกระบวนการผนวกรวมภาคเกษตร.
• Home-grown ASEAN agri-based TNCs. The big agribusiness corporations such as CP of Thailand, San
Miguel of the Philippines, the palm oil interests in Malaysia and the big food processors in Singapore are active in the region, putting up not only trading posts but also production plants in the various ASEAN member states. For example, San Miguel Corporation of the Philippines, has several brewery projects and agribusiness undertakings in Thailand, Vietnam and Malaysia.
TNC (บรรษัทข้ามชาติ) เกษตรอาเซียนที่เกิดในประเทศ.  บรรษัทธุรกิจเกษตรใหญ่ๆ เช่น ซีพี ของไทย, ซานมิเกล ของฟิลิปปินส์, น้ำมันปาล์มในมาเลเซีย และ กิจการแปรรูปอาหารขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ ล้วนกระฉับกระเฉงเชิงรุกในภาคพื้นอยู่แล้ว, ไม่เพียงแต่ตั้งป้ายการค้า แต่ยังปลูกโรงงานการผลิตในรัฐสมาชิกต่างๆ ของอาเซียน.  เช่น บรรษัท ซานมิเกล ของฟิลิปปินส์, มีโครงการต้มกลั่นและธุรกิจเกษตรในไทย, เวียดนาม และ มาเลเซีย.
In May this year, the ASEAN came up with a short list of 11 PIPs or priority integration projects, one of which is agri-based. In this agri-based project, the development of a white shrimp project in Luzon has been identified. This is going to be developed by a well-known Thai TNC, CP Thailand, together with its sister company in Indonesia, CP Indonesia.
ในเดือน พค ปีนี้ (๒๕๔๗), อาเซียนออกรายการสั้นลง เรียกว่า 11 PIPs หรือ โครงการผนวกรายการที่มีสิทิพิเศษ, หนึ่งในรายการมีฐานเกษตร.  ในโครงการที่มีฐานเกษตรนี้, ได้ระบุถึงโครงการพัฒนา กุ้งขาว ในลูซอน.  อันนี้จะถูกพัฒนาโดย TNC ไทยที่รู้จักกันดี, ซีพี-ประเทศไทย, ร่วมกับบริษัทน้องของมันในอินโดนีเซีย, ซีพี-อินโดนีเซีย.
• Traders-investors from South Korea, Japan and China. These giant economies in Asia are now major agriculture-deficit countries. All these countries are competing with one another – via the proposed ASEAN-China, ASEAN-Japan and ASEAN-South Korea agreements – to transform ASEAN, with its rich land and water resources, into their backyard garden, or a source of food and raw materials. This is the deeper meaning of China’s initiative, the ‘Early Harvest Program’, which is focused on agricultural products. China itself is not coy in baring its intent, as demonstrated by the cooperation programs it forged recently with the Philippines. It wants to help develop the Philippine coconut industry, as China needs all the coco fiber and other coco materials it can get hold of for its varied industrial and raw material requirements. It also wants Philippine fruits such as banana and mango, which it is unable to produce in commercial quantity.
นักลงทุนการค้าจากเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, และ จีน.  เศรษฐกิจยักษ์เหล่านี้ในเอเชีย ตอนนี้กลายเป็นประเทศหลักๆ ที่พร่องเกษตร.  ประเทศเหล่านี้ แข่งขันกันเอง—ผ่านการเสนอข้อตกลง อาเซียน-จีน, อาเซียน-ญี่ปุ่น, อาเซียน-เกาหลีใต้—เพื่อพลิกโฉมอาเซียน, ซึ่งอุดมด้วยที่ดินและทรัพยากรน้ำ, ให้เป็นสวนหลังบ้าน, หรือแหล่งอาหารและวัตถุดิบ.  นี้คือ ความหมายระดับลึกของ การริเริ่มของจีน, “โปรแกม เก็บเกี่ยวก่อน”, ซึ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์เกษตร.  จีนเองไม่ขวยอายที่จะเผยความตั้งใจของตน, ดังสาธิตในโปรแกมความร่วมมือ ที่มันทำกับฟิลิปปินส์เมื่อเร็วๆ นี้.  มีนต้องการช่วยฟิลิปปินส์พัฒนาอุตสาหกรรมมะพร้าว, เพราะจีนต้องการใยมะพร้าวและวัตถุดิบส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เท่าที่มันจะคว้าได้ เพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ ของมัน และ ความต้องการวัตถุดิบอื่นๆ.  มันยังต้องการผลไม้จากฟิลิปปินส์ เช่น กล้วยและมะม่วง, ซึ่งมันไม่สามารถผลิตได้เองในปริมาณพาณิชย์.
• Agribusiness firms from US, Canada, Australia and EU. The agribusiness TNCs from these countries look at the ASEAN, with its half a billion population and a large land-sea territory, as a huge market with huge economic potentials. Aside from looking at the ASEAN as a market destination for their surplus goods such as corn and soya beans, these western agribusiness TNCs also view the ASEAN as a potential market for farm inputs, seeds and agricultural machinery.
บริษัทธุรกิจเกษตรจากสหรัฐฯ, แคนาดา, ออสเตรเลีย และ อียู.   ธุรกิจเกษตร TNC จากประเทศเหล่านี้ มองดูอาเซียน ในลักษณะ ประชากรครึ่งพันล้าน และ อาณาเขตบก-ทะเลที่กว้างใหญ่, ว่าเป็นตลาดมหึมา ที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจมหึมา.  นอกจากมองว่า อาเซียนเป็นตลาดจุดหมายปลายทางของสินค้าส่วนเกินของตนเอง เช่น ข้าวโพด และ ถั่วเหลือง, บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ จากตะวันตกเหล่านี้ ก็ยังมองอาเซียนว่ามีศักยภาพเป็นตลาดสำหรับวัสดุฟาร์ม, เมล็ด และ เครื่องจักรกลการเกษตรด้วย.

FROM THE GREEN REVOLUTION TO THE GENE REVOLUTION
จากปฏิวัติเขียว สู่ ปฏิวัติยีน

However, the biggest agricultural integration project taking place in the region is happening not through formal trading and investment arrangements – but through technology, specifically biotechnology. Quietly and without much fanfare, the big agri-based biotech companies such as Cargill, Monsanto and Dupont are transforming the ASEAN countryside, with some help from the Asian Development Bank (ADB) and the ‘converted’ agricultural ministries of the different ASEAN governments, into a giant biotech lake.
แต่ สินค้าเกษตรไม่อยู่ในข้อตกลงการค้าอย่างเป็นทางการ แต่ค้าเทคโนโลยีชีวภาพ อย่างเงียบๆ กับบรรษัท เช่น คาร์กิลล์ มอนซานโต ดูปองต์ เพื่อ “พลิกโฉมชนบทอาเซียน” ด้วยความช่วยเหลือของ ธนาคารพัฒนาเอเชีย เอดีบี  และ แปลงกระทรวงเกษตรในรัฐบาลต่างๆ ของอาเซียนให้เป็น ทะเลสาบยักษ์แห่ง ไบโอเทค (เทคโนโลยีชีวภาพ)
How is this happening?  / มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

The agribusiness TNCs have taken the bull by the horns by selling to the ASEAN governments the idea that the perennial problems of food and hunger in Asia can only be solved through trade liberalization and food production intensification. But since the Green Revolution of the l960s-l970s is an exhausted project, they are promoting the Gene Revolution as the logical sequel to the Green Revolution. In promoting the Gene Revolution, the agribusiness TNCs are working at several levels – first, at the policy level, that is by mobilizing the support of the region’s leading rural creditor, the ADB, and by convincing ASEAN governments on the importance of free trade and food production intensification through biotechnology; second, through back-channeling and talks with the ASEAN and member states; and third, through training, demonstration farms and technical assistance on biotechnology extended in each of the targeted countries. And since the GMO technology, which is part of the larger biotechnology, is a controversial issue in many parts of the world
and some publics in Asia, the agribusiness TNCs keep their marketing of biotechnology as quietly and unobtrusively as possible, taking care that the word ‘biotechnology’ (which also covers other forms of hybrid agriculture) is mentioned rather than the controversial term GMO.
บรรษัทข้ามชาติธุรกิจเกษตร ได้จับโคถึกที่เขา ด้วยการขายความคิดต่อ รัฐบาลต่างๆ ของอาเซียน ว่า ปัญหาแบบยืนต้นเรื่องอาหารและความหิวโหยในเอเชีย สามารถแก้ได้ด้วย การค้าเสรี และ การเพิ่มความเข้มข้นในการผลิต.  แต่ เพราะปฏิวัติเขียว ยุคทศวรรษ ๒๕๐๓-๒๕๑๓ เป็นโครงการที่หมดแรงไปแล้ว, พวกเขากำลังส่งเสริม ปฏิวัติยีน/พันธุกรรม ว่าเป็นเฟสเชิงตรรกะต่อเนื่องจากปฏิวัติเขียว.  ในการส่งเสริม ปฏิวัติยีน, บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ กำลังทำงานในหลายระดับ—ระดับแรก ที่นโยบาย, ด้วยการขับเคลื่อนให้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย, ผู้นำในการปล่อยเครดิตชนบทในภาคพื้นนี้, สนับสนุน และ ด้วยการโน้มน้าวรัฐบาลต่างๆ ของอาเซียน ให้ยอมรับว่า การค้าเสรี และ การผลิตอาหารอย่างเข้มข้นขึ้น ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นเรื่องสำคัญ. 
การแทรกซึม บรรษัทยักษ์เหล่านี้
๑.       ระดับนโยบาย ขับเคลื่อน เอดีบี นายทุนเงินกู้ในชนบท และ โน้มน้าวรัฐบาลอาเซียนให้ติดใจ การค้าเสรี และ การเพิ่มผลิตภาพด้วยไบโอเทค
๒.      เข้าประตูหลังแต่ละประเทศสมาชิก
๓.      จัดอบรม ฟาร์มสาธิต ช่วยเหลือทางเทคโนโลยีในแต่ละประเทศเป้าหมาย
เนื่องจาก จีเอ็มโอ เป็นประเด็นขัดแย้งในตัวเอง ถกเถียงกันสูง บรรษัทข้ามชาติ จึงทำการตลาดเงียบกริบ ใช้คำว่า ไบโอเทคโนโลยี/เทคโนโลยีชีวภาพ (ซึ่งครอบคลุมรูปแบบอื่นของเกษตรพันธุ์ผสม) แทนใช้คำว่า จีเอ็มโอ

The Green Revolution: a brief backgrounder / ปฏิวัติเขียว: สังเขปภูมิหลัง

Southeast Asia is the birthplace of the Green Revolution — for rice.
อุษาคเนย์ เป็นที่เกิดของปฏิวัติเขียว—สำหรับข้าว.
In the l960s, the Club of Rome warned direly of the riotous outcomes of world food shortages, especially in Asia. This was the raison d’etre for the establishment of the International Rice Research Institute (IRRI) in Laguna, Philippines, which received a lot of financial and technical assistance from multilateral and bilateral institutions as well as agribusiness TNCs such as Dow Chemicals.
ในทศวรรษ ๒๕๐๓, Club of Rome เตือนถึงสภาวะเลวร้ายของความโกลาหลอันเนื่องมาจากอาหารขาดแคลน, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย.  นี่เป็นเหตุผลให้ก่อตั้ง สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) ใน ลากูนา, ฟิลิปปินส์, ที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิค จากสถาบันต่างๆ มากมาย รวมทั้ง บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ เช่น ดาว เคมิเคิลส์.
In the late l960s, IRRI began churning out new ‘miracle rice’ seeds, achieved mainly through cross-breeding of known high-yielding Asian varieties gathered in the IRRI’s seed bank and cultivated in IRRI’s Laguna farms. With one miracle rice variety coming after one another, the world’s fear over food shortages disappeared. However, it also became clear soon enough that the new miracle varieties produce miraculous harvests only if they gobble enough water, grow on well-fertilized soil and are well protected against all kinds of pests. The HYVs, as the new high-yielding rice varieties came to be known, are water-intensive and farm-input-dependent.
ในปลายทศวรรษ ๒๕๐๓, IRRI เริ่มเสกเมล็ด “ข้าวมหัศจรรย์”, ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์ ดังที่รู้จักกันว่า เป็นพันธุ์เอเชียที่ให้ผลผลิตสูง ที่รวบรวมอยู่ที่ธนาคารเมล็ดที่ IRRI และ เพาะปลูกในฟาร์มลากูนา ของ IRRI.  เมล็ดข้าวมหัศจรรย์ เริ่มทยอยออกมาตามๆ กัน, ความกลัวของโลกเรื่องอาหารขาดแคลนหายวับไป.  แต่ ไม่นานมันเริ่มปรากฏชัดว่า พันธุ์มหัศจรรย์ใหม่ ผลิตการเก็บเกี่ยวมหัศจรรย์ ก็ต่อเมื่อพวกมันสวาปามน้ำมากพอ, ปลูกในดินที่มีปุ๋ยมากพอ และ ได้รับการปกป้องอย่างดีไม่ให้แมลงทั้งหลายคุกคาม.  เมล็ด HYVs, อย่างที่รู้จักว่าเป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง, ต้องใช้น้ำมาก และ วัสดุเกษตรมาก.
Propagating the HYVs was like creating new markets for the agribusiness TNCs producing fertilizer, chemicals, agricultural machinery and irrigation pumps.
การตัดกิ่งต่อตา HYVs จึงเป็นเหมือนการสร้างตลาดใหม่สำหรับ บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ ที่ผลิตปุ๋ย, เคมีภัณฑ์, เครื่องจักรเกษตร และ ปั่มน้ำ.
In the Philippines, the HYVs were promoted nationwide, with a lot of help from the martial-law government. The government borrowed a lot from the World Bank and ADB to build dams, irrigation canals and waterpumping stations. It also borrowed a little more to promote the HYVs via seed-credit package or Masagana 99, which means borrowing farmers could harvest as much as 99 cavans by using the new seed varieties and buying the necessary farm inputs with the loan extended by the government.
ในฟิลิปปินส์, HYVs ได้รับการส่งเสริมทั่วประเทศ, ด้วยความช่วยเหลืออย่างมากจากรัฐบาลเผด็จการ/ใช้กฎอัยการศึก.  รัฐบาลยืมเงินมากมายจากธนาคารดลก และ เอดีบี เพื่อสร้างเขื่อน, คลองชลประทาน สถานีปั๊มน้ำ.  มันยังได้ยืมเงินมากอีกหน่อย เพื่อส่งเสริม HYVs ผ่านโครงการ เมล็ด-เครดิต หรือ มาซากานา 99, ซึ่งหมายถึง ชาวนาที่ยืมเงินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากถึง 99 คาวานส์ ด้วยการใช้เล็ดพันธุ์ใหม่ และ ซื้อวัสดุเกษตรจำเป็น ด้วยเงินกู้จากรัฐบาล.
For a while, in the initial years, many rice farmers did well. But once the HYV system was in place and when prices of farm inputs began rising while farm output price remained stagnant, farmers started realizing that they were not better than before. In fact, with higher level of indebtedness, some farmers even sold off their lands (Ofreneo, 1980).
ในปีแรกๆ สักระยะหนึ่ง ชาวนาหลายคนทำได้ดี.  แต่พอระบบ HYVs เข้าที่เข้าทาง และ เมื่อราคาวัสดุเกษตรเริ่มสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผลผลิตยังคงแช่แข็งเหมือนเดิม, ชาวนาเริ่มประจักษ์ว่า พวกเขาไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม.  อันที่จริง, ด้วยระดับหนี้สูงขึ้น, ชาวนาบางคนถึงกับขายที่ดินทิ้ง.
In the meantime, with less pressure to have more lands devoted to rice production, the government was able to promote the development of new agribusiness ventures, carving out of Mindanao and Palawan thousands of hectares for banana, palm oil and other new crops controlled by agribusiness TNCs and big domestic growers (Ofreneo, 1980).
ในขณะเดียวกัน, ด้วยแรงกดดันที่ลดลง ที่ต้องหาที่ดินเพิ่มเพื่อผลิตข้าว, รัฐบาลก็สามารถส่งเสริมธุรกิจเกษตรใหม่ๆ, แล่ที่ดินหลายพันเฮกเตอร์จาก มินดาเนา และ พาลาวัน เพื่อปลูกกล้วย, น้ำมันปาล์ม และ พืชใหม่ๆ ที่ควบคุมโดย บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ และ ผู้ปลูกในประเทศขนาดใหญ่.
The world’s experience with the Green Revolution is a mixed one. On one hand, it helped create grains surpluses. On the other hand, it failed to liberate the farmers from poverty. Nor did it ease the food hunger of the masses, including a large number of the rural population, who have limited access to the markets because of their marginal incomes. For access to food is not only a function of production but also a question of having secure jobs and incomes.
ประสบการณ์ของโลกกับปฏิวัติเขียว มีทั้งดีทั้งร้าย.  ในด้านหนึ่ง, มันได้ช่วยให้เกิดธัญพืชเกินพอ.  ในอีกด้าน, มันล้มเหลวที่จะปลดแอกความยากจน ให้ชาวนาเป็นอิสระ.  มันก็ไม่ได้ช่วยลดความหิวโหยในมวลชนด้วย, รวมทั้งประชากรชนบทจำนวนมาก, ผู้เข้าไม่ถึงตลาด เพราะมีรายได้เพียงน้อยนิด.  เพราะการเข้าถึงอาหาร ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการผลิต แต่เป็นปัญหาของการเข้าถึงงานและรายได้ที่มั่นคงด้วย.

The ADB’s tack: Promoting the Gene Revolution as the successor program of the Green Revolution
เอดีบี เปลี่ยนเรื่อง: ส่งเสริม ปฏิวัติยีน ในฐานะที่เป็นโครงการต่อเนื่อง ของปฏิวัติเขียว

According to the ADB (Rosegrant and Hazell, 2000), “the green revolution has already run its course in Asia”. Hence, in their reasoning, the need for a new food production intensification program.  This the ADB found in biotechnology. Biotechnology or agricultural genetic engineering, which includes the GMO technology, is expected to achieve what the Green Revolution accomplished in the l970s – miracle harvest of grains which tamed the so-called threat of mass hunger in Asia and the world.
ตาม เอดีบี, “ปฏิวัติเขียวได้ทำหน้าที่ของมันแล้วในเอเชีย”.  ดังนั้น, ในเหตุผลของมัน, จำเป็นต้องมีโปรแกมใหม่ในการผลิตอาหารอย่างเข้มข้น.  เอดีบี พบคำตอบใน เทคโนโลยีชีวภาพ.  เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ เกษตรวิศวพันธุกรรม, ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี จีเอ็มโอ, ถูกคาดหมายให้สัมฤทธิ์ผลเหมือนในทศวรรษ ๒๕๑๓—การเก็บเกี่ยวธัญพืชอันมหัศจรรย์ ที่สยบ สิ่งที่เรียกว่า ภัยคุกคามของความหิวโหยมวลชนในเอเชีย และ ในโลก.
In reality, the ADB has developed a comprehensive view of how to promote rural development in Southeast Asia and the rest of Asia. In Transforming the Rural Asian Economy: The Unfinished Revolution, a work commissioned by the ADB and subjected to several policy workshops by the Bank in l998-99, Mark Rosegrant and Peter Hazell (2000) summed up the policy instruments which should guide the ADB’s rural lending in the new millennium. The first three are – a) enhancing rural markets through investments in infrastructures, property rights, crop-specific research, economic liberalization (to promote comparative advantage), etc.; b) reversing environmental degradation, and c) improving governance.
ในความเป็นจริง, เอดีบี ได้พัฒนามุมมองที่ครอบคลุมกว้าง ว่าจะส่งเสริมการพัฒนาชนบทอย่างไรใน อุษาคเนย์ และ เอเชียที่เหลือ.   ใน “พลิกโฉมเศรษฐกิจชนบทเอเชีย: การปฏิวัติที่ยังไม่สิ้นสุด”, งานจ้างโดย เอดีบี และ ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการนโยบายหลายรอบ จัดโดย เอดีบี ในระหว่าง ๒๕๔๑-๔๒, มาร์ค โรเซนแกรนท์ และ ปีเตอร์ เฮเซลล์ (๒๕๔๓) สรุปเครื่องมือนโยบาย ที่ควรใช้เป็นแนวทางการปล่อยเงินกู้ชนบทของ เอดีบี ในศตวรรษใหม่.  สามประการแรก คือ
ก.       ขยายตลาดชนบทด้วยการลงทุนในระบบสาธารณูปโภค, กรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน, การวิจัยพืชเฉพาะอย่าง, เศรษฐกิจเสรี (เพื่อส่งเสริมความได้เปรียบกว่า) ฯลฯ
ข.       ผันกลับสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
ค.       ปรับปรุงระบบปกครอง (ให้มีธรรมาภิบาล)
However, the last two policy guideposts are the most meaningful – ‘managing a new revolution in agricultural technology’ and ‘managing globalization’.
แต่สองนโยบายประการสุดท้าย มีความหมายมากที่สุด—“การจัดการปฏิวัติใหม่ในเทคโนโลยีเกษตร”  และ “การจัดการโลกาภิวัตน์”.
On the first, Rosegrant and Hazell wrote on the need to strengthen the new role of IRRI “to serve as an important intermediary between multinational companies, developed-country research centers, and the needs and capacities of national agricultural research systems in Asia”. There the cat is out. The agribusiness TNCs, which monopolize the world’s R & D on biotechnology, shall play the pivotal role of providing research outputs to the so-called research centers of both developed and developing countries, not the other way. And the role of the IRRI is nothing but that of an intermediary.
ในประการแรก, ผู้เขียน ระบุถึงความจำเป็นต้องเสริมบทบาทของ IRRI ให้เข้มแข็งขึ้น “เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำคัญระหว่าง บรรษัทข้ามชาติ, ศูนย์วิจัยในประเทศพัฒนาแล้ว, และ ความต้องการและสมรรถนะ ของระบบวิจัยเกษตรแห่งชาติในเอเชีย”.  ตรงนี้แหละที่แมวหลุดออกมา (เห็นหางหมาจิ้งจอกในคราบแกะ).  บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ, ที่ผูกขาด การวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในโลก, จะเล่นบทสำคัญในการกำกับผลลัพธ์งานวิจัย ให้กับ พวกที่เรียกว่า ศูนย์วิจัย ของทั้งในประเทศพัฒนาแล้ว และ กำลังพัฒนา, ไม่ใช่ในทางกลับกัน.  และ บทบาทของ IRRI ไม่มีอะไรอื่น นอกจากเป็นเพียง นกต่อ.
And for the biotechnology program to succeed, Rosegrant and Hazell are suggesting that governments should enhance ‘local capacity’ to absorb the technology and form “effective partnerships with relevant multinational companies and biotechnology research centers in developed countries”.
และเพื่อให้โปรแกมเทคโนโลยีชีวภาพสำเร็จได้, ผู้เขียนทั้งสอง แนะว่า รัฐบาลทั้งหลาย ควรเพิ่ม “สมรรถนะท้องถิ่น” เพื่อให้ซึมซับเทคโนโลยี และ กลายเป็น “ภาคีที่มีประสิทธิภาพกับ บรรษัทข้ามชาติและศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้อง ในประเทศพัฒนาแล้ว”.
As to ‘managing globalization’, the authors want “Full and effective economic liberalization and linkage with the global economy”, which entail “continued reform of fiscal and financial policies and institutions, property and contract laws that foster modern commerce, flexible and efficient factor and product markets, and continued development of technology and human capital”.
ส่วนเรื่อง “การจัดการโลกาภิวัตน์”, ผู้เขียนทั้งสอง ต้องการ “ปลดเศรษฐกิจให้มีอิสรเสรีเต็มที่และอย่างมีประสิทธิผล และ เชื่อมต่อกับเศรษฐกิจโลก”, ซึ่งจะต้อง “ปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในนโยบายและสถาบันงบประมาณและการเงิน, กฎหมายทรัพย์สินและสัญญา ที่รองรับพาณิชย์สมัยใหม่, ตลาดปัจจัยและผลิตภัณฑ์ที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ, และ การพัฒนาเทคโนโลยีและต้นทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง”.

Neo-liberal agricultural policy And food security in Asia and the world
นโยบายเกษตรเสรีนิยมใหม่ และ ความมั่คงทางอาหารในเอเชียและโลก

In short, what the ADB seeks to promote is the intensification of food production via biotechnology in a liberalized and globalized economy.
สิ่งที่ เอดีบี แสวงหาทางส่งเสริมให้เพิ่มปริมาณการผลิตอาหารอย่างเข้มข้น ด้วย เทคโนโลยีชีวภาพ ในเศรษฐกิจเสรีและโลกาภิวัตน์.
The linkage between biotechnology and agricultural trade liberalization is a theme that is taken up by other spokesmen of neo-liberalism in agriculture, who also talk of both as the means for securing food security of developing nations. C. Ford Runge and Benjamin Senauer of the International Food Research Institute (IFRI), writing in the influential Washington Foreign Affairs journal (May-June 2000), summed up the meaning of food security and its relationship with trade liberalization and biotechnology as follows:
จุดเชื่อมระหว่าง เทคโนโลยีชีวภาพ และ การค้าเสรีเกษตร เป็นหัวข้อที่โฆษกอื่นๆ ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในเกษตร, ที่ได้พูดถึงว่าเป็นทั้ง มรรควิถีเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในประเทศกำลังพัฒนา.   C. Ford Runge and Benjamin Senauer แห่ง สถาบันวิจัยอาหารระหว่างประเทศ (IFRI), เขียนในวารสารทรงอิทธิพล Washington Foreign Affairs (พค-มิย ๒๕๔๓), สรุปความหมายของ ความมั่นคงทางอาหาร และ ความสัมพันธ์ กับการปลดปล่อยให้ค้าเสรี และ เทคโนโลยีชีวภาพ ดังนี้.
“First, it involves improving a developing nation’s access to cheaper food from comparatively advantaged exporting countries. It is generally more efficient and cheaper than self-sufficiency, in which a nation tries to produce all crops that its population needs, regardless of the cost of the country’s natural endowments. Food security also requires that richer countries lower their tariffs on all goods from developing countries so that emerging markets can earn cash to import the food they need. Finally, the drive for food security should tap the potential of the GM technology for developing countries to both enhance nutrition and boost agricultural output.”
“ประการแรก, มันรวมถึงการปรับปรุงการเข้าถึงของประเทศกำลังพัฒนา สู่อาหารราคาถูกลง จากประเทศส่งออกที่มีข้อได้เปรียบมากกว่า.  มันมีประสิทธิภาพและถูกกว่า การพึ่งตัวเอง/พอเพียง,  ที่ประเทศหนึ่งพยายามที่จะผลิตพืชทั้งหมดที่ประชากรของตนต้องการ, ไม่ว่าต้นทุน เชิงสมรรถนะธรรมชาติของประเทศจะเป็นอย่างไร.  ความมั่นคงทางอาหารยังต้องให้ประเทศร่ำรวยกว่า ลดพิกัดภาษีสำหรับสินค้าทั้งหมดที่มาจากประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ตลาดที่เพิ่งอุบัติขึ้น สามารถทำเงิน เพื่อสั่งเข้าอาหารที่พวกเขาต้องการ.  ในที่สุด, การขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหาร ควรใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี จีเอ็ม สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อทั้ง เพิ่มสารอาหาร และ เพิ่มผลผลิตเกษตร”.
In short, food security is defined as having access to the market, and such access is made possible by a free trade arrangement and earnings by a developing country from GM-based production.
ความมั่นคงทางอาหาร ถูกนิยามว่าเป็นการเข้าถึงตลาด, และ การเข้าถึงนี้ ทำให้เป็นไปได้ด้วยการจัดให้มีการค้าเสรี และ ประเทศกำลังพัฒนาหาเงิน ได้จากการผลิตที่ใช้ จีเอ็ม.
The above definition of food security is echoed by neo-liberal economists practically everywhere. In the Philippines, a well-known agricultural economist, Dr. Cristina David (1996), wrote:
คำนิยามนี้ สะท้อนก้องโดย นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ ทุกแห่งหน.  ในฟิลิปปินส์, นักเศรษฐกศาสตร์เกษตรที่รู้จักกันดี, ดร. คริสตินา เดวิด (๒๕๓๙) เขียนว่า.
“Economists would define food security as having adequate supply of food at affordable prices. The popular view is that food security means being self-sufficient in food."
“นักเศรษฐศาสตร์จะนิยามความมั่นคงทางอาหารว่า มีอุปทานอาหารในราคาที่ซื้อได้.  มุมมองยอดนิยม คือ ความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ในด้านอาหาร”.
“…in practice, protectionism is inherently in conflict with the objective of food security… trade liberalization means…lower food prices, and with a more efficient allocation of resources, higher incomes. This is the only way to achieve food security.”
“...ในทางปฏิบัติ, การปกป้อง/กีดกัน เป็นความขัดแย้งที่ฝังตัวอยู่ในวัตถุประสงค์ของความมั่นคงทางอาหาร...การปลดให้การค้าอิสรเสรี หมายถึง...ลดราคาของอาหาร, และ ด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น, รายได้สูงขึ้น.   นี่เป็นทางเดียวที่จะบรรลุความมั่นคงทางอาหาร”.
Another colleague of Dr. David, Dr. Bruce Tolentino (2002) concluded:
เพื่อนร่วมงานของเธอ, ดร.บรูซ ทอเรนติโน (๒๕๔๕) สรุป.
“The forces of globalization, in tandem with domestic economic realities and politics, and the influence of international institutions such as the World Trade Organization (WTO), Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the Asian Development Bank (ADB) are reshaping food security policy and strategy of nations such as the Philippines.”
“กระแสของโลกาภิวัตน์, เคียงคู่กับความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสภาพการเมืองในประเทศ, และ อิทธิพลของสถาบันระหว่างประเทศ เช่น WTO, อาเซียน และ เอดีบี กำลังปั้นแต่งใหม่แก่นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์.
The reality, however, is that other Southeast and Asian countries are being subjected to the same policy influences of WTO and ADB, which the agribusiness TNCs are naturally exploiting.
แต่ในความเป็นจริง ประเทศอื่นๆ ในเอเชียและอุษาคเนย์ กำลังถูกกดทับด้วยอิทธิพลนโยบายเดียวกันของ WTO และ เอดีบี, ซึ่ง บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ กำลังฉวยโอกาสหาประโยชน์เข้าตัวอยู่เรียบร้อย.

Agribusiness TNCs in the promotion of biotechnology in the ASEAN
บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ ในการส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพในอาเซียน

The leading TNCs supporting GMO/biotechnology propagation in Asia are Cargill and Monsanto. They happen to be very active in the ASEAN policy corridors, through the ASEAN-US Business Council which organizes regular policy meetings and consultations.
บรรษัทข้ามชาติแนวหน้าที่สนับสนุน การแพร่พันธุ์ จีเอ็มโอ/เทคโนโลยีชีวภาพ ในเอเชีย คือ คาร์กิลล์ และ มอนซานโต ซึ่งทำงานเชิงรุกยิ่งในระเบียงนโยบายของอาเซียน, ผ่าน สภาธุรกิจ อาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งจัดการประชุมและหารือด้านนโยบายสม่ำเสมอเป็นปกติ.
The most active committee in the ASEAN-US Business Council is the food and agricultural committee. Meetings of the food and agriculture committee are generally well attended and involved senior agricultural ministers and officials of the different ASEAN governments.
คณะกรรมการที่กระฉับกระเฉงรุกคืบที่สุดใน สภาดังกล่าว คือ คกก อาหารและเกษตร.  การประชุมของ คกก นี้ มักมีคนเข้าประชุมเต็มที่ รวมทั้ง รมต เกษตร และ จนท เกษตรอาวุโส จากรัฐบาลต่างๆ ของอาเซียน.
The committee is headed by no less than Cargill, which openly bats (see the web for their views) for the adoption of GMO/biotechnology as well as free markets so that they can do business in the region freely. Among the priority policy issues identified by the committee and the Council are the following:
คกก นี้ นำโดย คาร์กิลล์, ที่พูดอย่างเปิดเผยให้รับ จีเอ็มโอ รวมทั้ง ตลาดเสรี เพื่อพวกเขาจะได้ทำธุรกิจในภาคพื้นนี้อย่างอิสระ.  ในบรรดานโยบายต้นๆ ของ คกก และ สภา มีดังนี้.
• ‘Recognition of the food sector in bilateral and multilateral trade agreements, ’
• ‘Fair, scientific, and regionally consistent treatment of biotechnology,’
• ‘Commitments by ASEAN governments to reduce tariffs/non-tariff barriers to food products, ’and
• ‘Advancing the APEC Open Food System.’
“ยอมรับภาคส่วนอาหารในข้อตกลงทวิ- และ พหุภาคี”
“การปฏิบัติต่อเทคโนโลยีชีวภาพอย่าง เป็นธรรม, วิทยาศาสตร์, และสม่ำเสมอในระดับภูมิภาค”
“รัฐบาลอาเซียนผูกพันสัญญาว่า จะลดกำแพงภาษี/ไม่ใช่ภาษี ต่อผลิตภัณฑ์อาหาร” และ
“เดินหน้าระบบ อาหารเปิด เอเปค”
Robert McRae of Cargill, in the ASEAN Finance Ministers Meeting in Manila on August 6, 2003, stressed:
โรเบริต แมคเร แห่ง คาร์กิลล์, ในที่ประชุม รมต การเงิน อาเซียน ในมนิลา เมื่อ ๖ สค ๒๕๔๖, เน้นว่า.
“providing MNCs opportunities effectively is providing your citizens opportunities”, as if the interests of MNCs and ASEAN citizens are one and the same. Cargill and Monsanto, in the 17th ASEAN-US Dialogue, held in Bangkok January of this year, argued that ASEAN is a significant importer of food, while the US is a major producer of agricultural products. They said ASEAN should establish an ‘open food system’ to benefit from trade.
“การให้โอกาสแก่บรรษัทข้าม/นานาชาติ (MNCs)อย่างมีประสิทธิผล เป็นการให้โอกาสแก่พลเมืองของท่าน”, ประหนึ่งว่า MNCs และ พลเมืองอาเซียน เป็นหนึ่งเดียว หรือ เหมือนกัน.  คาร์กิลล์ และ มอนซานโต, ในการเสวนา อาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๑๗, ณ กทม เมื่อ มค ปีนี้ (๒๕๔๗), แย้งว่า อาเซียนเป็นผู้สั่งเข้าอาหารที่มีนัยสำคัญ (???), ในขณะที่ สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตหลักใน ผลิตภัณฑ์เกษตร.  พวกเขาบอกว่า อาเซียน ควรจัดตั้ง “ระบบอาหารเปิด” เพื่อรับประโยชน์จากการค้า. (???)
In the promotion of the GMO-based agriculture, the ASEAN has adopted several protocols and conducted workshops and experiments, with the help of the governments and agribusiness firms from the US, Canada and Australia.
ในการส่งเสริม เกษตรแบบ จีเอ็มโอ, อาเซียนได้ยอมรับพิธีสารหลายฉบับ และ ได้จัดการประชุมเชิงปกิบัติการและการทดลอง, ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล และ บริษัทธุรกิจเกษตร จากสหรัฐฯ, แคนาดา และ ออสเตรเลีย.
Since 2001, the ASEAN has been the ‘beneficiary’ of annual GMO/biotechnology workshops conducted by the US-based International Life Sciences Institute (ILSI), Health Canada, Australia/New Zealand Food Authority, Sante Canada and AVA. In the workshops, the focus was on how to apply the ASEAN Guidelines on Risk Assessment of Agriculture-related GMOs, which have been developed with technical assistance from these countries and the agribusiness TNCs. In these workshops, GMO rice, GMO corn, GMO soy bean and GMO papaya were introduced and discussed. The workshops are done annually in various ASEAN capitals.
ตั้งแต่ ๒๕๔๔, อาเซียน ได้ เป็น “ผู้รับประโยชน์” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จีเอ็มโอ ประจำปี ที่จัดขึ้นโดย สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวิตระหว่างประเทศ (ILSI), Health Canada, Australia/New Zealand Food Authority, Sante Canada and AVA.  ในการประชุมดังกล่าว, เน้นที่การใช้แนวปฏิบัติ อาเซียน เรื่องการประเมินความเสี่ยงของ จีเอ็มโอ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตร, ซึ่งได้ถูกพัฒนาด้วยความช่วยเหลือทางเทคนิคจากประเทศเหล่านั้น และ บรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ.  ในการประชุมเหล่านี้, ข้าว จีเอ็มโอ, ข้าวโพด จีเอ็มโอ, ถั่วเหลือง จีเอ็มโอ และ มะละกอ จีเอ็มโอ ได้นำเข้า และ อภิปราย.  การประชุมทำประจำปีในเมืองหลวงต่างๆ ของอาเซียน.
There are no records of any ASEAN government or ASEAN agriculture ministers opposing GMO/biotechnology.
ไม่มีบันทึกว่า รัฐบาลอาเซียนใด หรือ รมต เกษตรใดของอาเซียน คัดค้าน จีเอ็มโอ.
What is recorded are comments on how to overcome civil society opposition to the propagation of GMO/ biotechnology in each ASEAN country. Technical assistance is also provided to the individual ASEAN countries.
ที่อยู่ในบันทึก มีแต่ความเห็น...จะเอาชนะแรงต่อต้านจากภาคประชาสังคมได้อย่างไร ในแต่ละประเทศ.  การช่วยเหลือทางเทคนิค ได้ให้แก่แต่ละประเทศ.
Thailand is trying to develop its capacity in GMO technology with the establishment of Biotec; in turn, Biotec has been receiving technical assistance from USAID, Cornell, Monsanto, Cargill, Pioneer, Novartis, etc., especially in the conduct of experiments on papaya, peppers, pineapple, cassava, cotton, orchids and rice. Prime Minister Thaksin Shinawatra and Agriuclture Minister Somsak Thepsuthin have also hinted of Thailand’s plan to become a regional biotechnology hub, with the possible growth of 100 Thai biotech companies. In August 2004, Thaksin was reported to have said that the country’s ban on commercial production and trade of GMOs ‘the government won’t let the country miss the biotechnology train’. And this despite the controversial leakage of GM papayas in non-GM fields in July 2004!
ไทยกำลังพยายามพัฒนาสมรรถนะตัวเองในเทคโนฯ จีเอ็มโอ ด้วยการตั้ง ไบโอเทค, ในทางกลับกัน, ไบโอเทค ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค จาก USAID, Cornell, Monsanto, Cargill, Pioneer, Novartis, etc., โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำการทดลอง มะละกอ, พริกไทย, สับปะรด, มันสำปะหลัง, ฝ้าย, กล้วยไม้ และ ข้าว.  นายกทักษิณ และ รมตเกษตร สมศักดิ์ เทพสุทิน ได้พูดเป็นนัยว่า แผนของไทย คือ เป็นศูนย์กลางไบโอเทคในภูมิภาค, เป็นไปได้ที่จะขยายเป็น ๑๐๐ บริษัทไบโอเทคไทย.  ใน สค ๒๕๔๗, มีรายงานว่า  ทักษิณ ได้พูดว่า ข้อห้ามของประเทศที่ไม่ให้ผลิตและค้า จีเอ็มโอ เชิงพาณิชย์ “รัฐบาลจะไม่ยอมให้ประเทศพลาดขบวนรถไฟไบโอเทค”.  และนี่เป็นคำพูด ทั้งๆ ที่เกิดความขัดแย้งจากการรั่ว  ของมะละกอ จีเอ็ม สู่ไร่ไร้จีเอ็ม ใน กค ๒๕๔๗!
Other ASEAN countries are also planning to go into GMO/biotechnology research. Thus, the tie-ups of Malaysia with the University of Clemson, South Carolina, a premier biotech research institution in the United States. A 40-man Malaysian delegation to the BIO2004 conference in June 2004 in San Francisco was led by no less than Prime Minister Abdullah Ahmad Badawi, who talked to Monsanto, Novartis and Chiron BioPharmaceuticals. In 2003, Malaysia launched BioValley, a hub for biotech companies and research institutions, with special focus on agriculture.
ประเทศอาเซียนอื่นๆ กำลังวางแผนก้าวสู่การทำวิจัย จีเอ็มโอ.  มาเลเซีย ผูกคู่กับ University of Clemson, South Carolina, สถาบันไบโอเทคชั้นนำ ในสหรัฐฯ. ...  ในปี ๒๕๔๖, มาเลเซียเปิด หุบไบโอ (BioValley), ศูนย์กลางบริษัทไบโอเทค และ สถาบันวิจัย, เน้นพิเศษที่เกษตร.
Malaysia and Indonesia have also accepted GM corn but are debating if it is halal.
มาเลเซียและอินโดนีเซีย ยังยอมรับ ข้าวโพด จีเอ็ม แต่กำลังถกว่าเป็น ฮาลาล หรือไม่.
Singapore, on the other hand, initiated last year the move for the establishment of an ASEAN Genetically Modified (GM) Food Testing Network.
สิงคโปร์ เริ่มปีกลาย ตั้งเครือข่ายการตรวจสอบอาหาร จีเอ็ม อาเซียน.
The Philippines, in the ASEAN-US Business Council meeting held in Singapore, October 2003, reported that it is experimenting on GMO/biotechnology in rice, corn, papaya, banana, tilapia fish, coconut, mango, tobacco, soybean, cotton, seaweeds and tomatoes. Agriculture Secretary Luis Lorenzo also reported that the Philippines has allowed the commercial production of Bt corn. He also spoke warmly of the father of the Green Revolution, Dr. Norman Borlaug, saying that “Borlaug said that extending the Green Revolution to the Gene Revolution will provide a better diet at lower prices to many more food-insecure people”. Of course, Lorenzo was silent on the downsides of GMO technology that many environmentalists have written about.
ฟิลิปปินส์, ในการประชุมสภาธุรกิจ อาเซียน-สหรัฐฯ ในสิงคโปร์, ตค ๒๕๔๖, รายงานว่า กำลังทำการทดลอง จีเอ็มโอ ในข้าว, ข้าวโพด, มะละกอ, ปลานิล, มะพร้าว, มะม่วง, ยาสูบ, ถั่วเหลือง, ฝ้าย, สาหร่ายทะเล และ มะเขือเทศ.  เลขาฯ เกษตร รายงานว่า ประเทศ ได้อนุญาตให้ผลิต ข้าวโพด บีที เชิงพาณิชย์ได้. ...  เขาปิดปากเงียบ เรื่องข้อเสียของ จีเอ็มโอ ที่นักสิ่งแวดล้อมได้เขียนไว้.
And since GMO has acquired a very negative connotation in the Philippines and almost everywhere, the term often used by agricultural officials is ‘biotechnology’.
เพราะ จีเอ็มโอ มีภาพลบ ทั่วโลก จึงใช้คำว่า “เทคโนโลยีชีวภาพ”.

Some issues and concerns          ประเด็นห่วงใย

It is abundantly clear that the agricultural and economic integration taking place in the ASEAN region is happening outside the control of the rural masses in the region. One integration instrument is the propagation of GMO/biotechnology, which is in the hands of agribusiness TNCs, which have managed to worm their way in in the policy corridors of the ASEAN.
การผนวกรวมทางเกษตร เกิดขึ้นนอกการควบคุมของมวลชนในชนบทของภูมิภาค.  เครื่องมือหนึ่ง คือ จีเอ็มโอ ในเงื้อมมือของ TNCs เกษตร, ที่ได้ชอนไชเข้าถึงระเบียงนโยบายของอาเซียนได้.
They also maintain an active but low-profile presence in the research centers, demonstration farms and policy institutes of the individual ASEAN countries.
พวกเขารุกหนัก แต่หลบซ่อนอยู่ในศูนย์วิจัย, ฟาร์มสาธิต และ สถาบันนโยบาย ของแต่ละประเทศของอาเซียน.
There is even a silent competition taking place among the agribusiness TNCs. Cargill has no less than 11,000 people in Asia, out of its total global work force of 82,000. Monsanto is very active in developing demonstration GMO farms and looking for farmer-cooperators. DuPont is trying to develop a positive public image by publicizing its efforts to produce a ‘golden rice’, which is high-yielding and yet genetically fortified with vitamins (A, B and micronutrients). Other active TNCs: Syngenta (merger of Novartis and AstraZeneca of Switzerland), Advanta (UK), Aventis (France), Dow Agrosciences (US), Japan Tobacco and Gene-Shears (Australia).
คาร์กิลล์มีกองกำลัง 11,000 คนในเอเชีย จากทั้งหมด 82,000.  มอนซานโต ...ฟาร์มสาธิต และเกษตรกร.   ดูปองต์ สร้างภาพพจน์สวย ผลิต “ข้าวทอง”....  TNCs รุกคืบแข็งขัน อื่นๆ : Syngenta (merger of Novartis and AstraZeneca of Switzerland), Advanta (UK), Aventis (France), Dow Agrosciences (US), Japan Tobacco and Gene-Shears (Australia).
Ronald Cantrell, the present IRRI director remarked:

“a lot of the slickest and most important stuff (is) coming out from the private sector. That’s all going to be owned by the private sector.”

With their favored economists, they argue for a loose definition of food security to mean access to food. And such access, by their definition, means trade liberalization, industrial export orientation and GMO/biotechnology propagation.

Will the above neo-liberal triad formula (food security, trade liberalization and biotechnology) solve unemployment, inequality, poverty and hunger in the developing countries of the region?
สูตรเสรีนิยมใหม่สามเส้า (ความมั่นคงทางอาหาร, ค้าเสรี และ ไบโอเทค) จะแก้ปัญหาการว่างงาน, ความไม่เท่าเทียม, ความยากจน และ ความหิวโหย ในประเทศกำลังพัฒนาของภูมิภาคไหม?
This is doubtful. For unemployment, inequality, poverty and hunger are rooted in the unequal distribution of resources and access to economic opportunities in society. They are also rooted in the uneven development of the economy, which is partly a legacy of past colonialism, bad economic advice by neo-liberal economists and poor global and regional integration. Note that in the neo-liberal economic thinking, no space is given to food sovereignty or the ability of a nation to determine its food and agricultural priorities in the service of its people nor any reference is made to structural issues such as lack of farmers’ access to land, credit and other resources, much more control over the technology.
สงสัยไม่.  การว่างงาน, ความไม่เท่าเทียม, ความยากจน และ ความหิวโหย มีรากเหง้าในความไม่เท่าเทียมในการกระจายทรัพยากร และ เข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ ในสังคม.  รากเหง้าคือ ความไม่สม่ำเสมอของการพัฒนาเศรษฐกิจ, ที่ส่วนหนึ่งเป็นมรดกจากลัทธิล่าอาณานิคมในอดีต, คำปรึกษาชุ่ยๆ โดยนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ และ กระบวนการผนวกโลกและภูมิภาคที่แย่มาก.  ในความคิดของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่, ไม่มีที่ว่างเลยสำหรับ อธิปไตยทางอาหาร หรือ ความสามารถของชาติ ในการตัดสิน กำหนดลำดับความสำคัญเรื่องอาหารและการเกษตรเอง เพื่อรับใช้ประชาชนของตนเอง หรือ การกล่าวถึงประเด็นโครงสร้าง เช่น ชาวนา ขาดการเข้าถึงที่ดิน, เครดิต และ ทรัพยากรอื่นๆ, หรือ การควบคุมเทคโนโลยี.
There are also many ‘unknowns’ and ‘uncertainties’ about biotechnology, GMO in particular, such as the issues of health and safety, gene/seed monopolies, environmental concerns and so on. And yet, despite the huge policy headway biotechnology and GMO has made in the ASEAN and in some individual ASEAN countries, there is very little public debate on these aspects of the technology. There are only western-supported projects on GMO testing, standard setting and the likes. In fact, the propagation of biotechnology and GMO is being done quietly and without much fanfare.
มีสิ่ง “ยังไม่รู้” และ “ไม่แน่นอน” เกี่ยวกับไบโอเทค, โดยเฉพาะ จีเอ็มโอ, เช่น ต่อสุขภาพและความปลอดภัย, การผูกขาด ยีน/เมล็ด, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ.  กระนั้น, ทั้งๆ ที่นโยบายไบโอเทค/จีเอ็มโอ ได้ก้าวรุดหน้าไปไกลมาก, ก็ยังไม่มีการอภิปรายในที่สาธารณะ.  มีแต่โครงการทีสนับสนุนโดยตะวันตก ในการทดสอบ จีเอ็มโอ, การกำหนดมาตรฐาน ฯลฯ.  การแพร่พันธุ์ ตัดกิ่ง ต่อตา ไบโอเทค/จีเอ็มโอ ทำอย่างเงียบกริบ ไร้ข่าวคึกโครมใดๆ.
Civil societies active in the countryside should, therefore, be alerted on what is cooking not only in the Green Rooms of WTO and AFTA but also in the board rooms of some agribusiness TNCs active in the region.
ภาคประชาสังคมที่ทำงานในชนบท จึงควรตื่นตัว รู้เท่าทันว่า อะไรกำลังต้มตุ๋นอยู่ในห้องสีเขียว ของ WTO and AFTA แต่ยังในห้องผู้บริหารของ บางบรรษัทธุรกิจเกษตรข้ามชาติ ที่รุกคืบในภูมิภาค.
There is a need to know the technology, the policy package, the patenting system and the campaign program that the agribusiness TNCs have developed for the ASEAN in the name of food security and trade liberalization.
จำเป็นต้องรู้เทคโนโลยี, ชุดนโยบาย, ระบบลิขสิทธิ์ และ โปรแกมการรณรงค์ ที่ TNCs เกษตร ได้พัฒนาขึ้น ในอาเซียน ในนามของความมั่นคงทางอาหาร และ ค้าเสรี.
What this paper has done is only outline what is apparently an emerging trend. More in-depth research and investigation is needed to understand what is going on in ASEAN and Asian agriculture.
เค้าโครงที่ได้ให้ไว้ในบทความนี้ เป็นแนวโน้มที่กำลังอุบัติขึ้น.  จำเป็นต้องมีการค้นคว้าวิจัยระดับลึก และ การสืบสวน มากขึ้น เพื่อให้เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นในเกษตรของอาเซียนและเอเชีย.
Like the Green Revolution, the Gene Revolution can verily become another technology trap, which can only enrich the agribusiness TNCs and keep Asia’s rural producers poor and indebted.
เช่นเดียวกับปฏิวัติเขียว, ปฏิวัติ ยีน อาจเป็นหล่ม/กับดักเทคโนโลยีอีกอัน, ที่มีแต่กอบโกยให้ TNCs เกษตรร่ำรวย และ ธำรงภาวะหนี้สินและยากจน ให้แก่ ผู้ผลิตชนบทของเอเชีย.