วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

287. เสียงแห่งจิตสำนึก...เพื่อผู้ไร้เสียง: อึังชุ่ยเม้ง, คู่ชีวิตของ สมบัด สมพอน


287.  Voice of Conscience…for the Voiceless:  Shui-Meng Ng, Wife of Sombath Somphone
Letter from Shui Meng on the International Day of the Disappeared
Posted on August 30, 2013 by rsbtws
จดหมายจาก ชุ่ยเม้ง ในวันผู้หายสาบสูญสากล
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

Today (August 30) is the International Day of the Disappeared. Shui Meng has shared the following letter with friends and colleagues to call attention to this terrible practice.
๓๐ สิงหาคม เป็นวันของผู้หายสาบสูญนานาชาติ.  ชุ่ยเม้ง (ภรรยาของ สมบัด สมพอน...ผู้ถูกลักตัวและสูญหายไป ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธค ๒๕๕๕, เป็นเวลา ๘ เดือนครึ่งแล้ว) ได้เขียนจดหมายนี้ แบ่งปันกับเพื่อนและผู้ร่วมงาน เพื่อเรียกร้องให้ใส่ใจกับวิธีปฏิบัติที่น่าสะพรึงกลัวนี้.
A number of groups and media organisations are doing research on the number and nature of Enforced Disappearances in Laos. If you have any verifiable, documented evidence, please share it.
หลายกลุ่มและองค์กรสื่อ กำลังทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับจำนวนและลักษณะของการ บังคับให้สาบสูญ ในลาว.  หากคุณมีหลักฐาน บันทึก ใดๆ ที่ พิสูจน์ได้, โปรดแบ่งปัน.

Dear All,
สวัสดีทุกท่าน,

August 30 marks the International Day of the Disappeared. In many Asian countries, there are activities marking the day to show solidarity with the victims of Enforced Disappearances.
๓๐ สิงหาคม เป็นวันผู้สาบสูญสากล.  ในหลายประเทศในเอเชีย, มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันนี้ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเหยื่อของการถูกบังคับให้สูญหาย.
Although Laos is a signatory to the UN Convention Against Enforced Disappearances, and many other human rights conventions and protocols, and despite receiving substantial assistance from development partners for awareness and capacity building on HR issues, there is little awareness or even recognition that Enforced Disappearance is an HR issue in Laos.
แม้ว่าลาวจะเป็นผู้ร่วมลงนามหนึ่งใน อนุสัญญาต่อต้านการบังคับให้สาบสูญ ของสหประชาชาติ, และอนุสัญญาและพิธีสารสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อีกหลายฉบับ, และแม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือมากมาย จากภาคีการพัฒนา เพื่อสร้างความตื่นตัวและสมรรถนะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน, ก็มีความตื่นตัวเพียงเล็กน้อย หรือ แม้แต่จะยอมรับว่า การบังคับให้สาบสูญ เป็นประเด็นสิทธิมนุษยชน ในลาว.
In fact, in HR terms Enforced Disappearance is considered the “Mother of HR Violations” because a disappeared person is a “non-person,” and until the person’s whereabouts and proof of life or otherwise are known, the family is left in limbo; left waiting without any possibility of “closure”; left hanging between hope and despair. Nobody, except those who have experienced such violations, can even describe the agony and trauma they face every minute of the day, and outsiders can never understand those feelings and emotions.
อันที่จริง, ในแง่ของ สิทธิมนุษยชน การบังคับให้สาบสูญ เป็น “มารดาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ” เพราะ ผู้หายสาบสูญไป เป็น “ไม่มีความเป็นบุคคล” (อ-บุคคล), และ จนกว่าจะรู้ว่า บุคคลนั้นอยู่ที่ไหน และ พิสูจน์ได้ว่ายังมีชีวิตอยู่ หรือ เป็นอื่น, ครอบครัวนั้นจะถูกทอดทิ้งให้ตกนรกทั้งเป็น; ถูกทอดทิ้งให้ตั้งหน้าตั้งตารอคอยโดยปราศจากความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะมีการ “ปิดฉาก”; ถูกทอดทิ้งให้ห้อยแขวนอยู่ระหว่างความหวังและความสิ้นหวัง.  ไม่มีใคร, ยกเว้นผู้ที่มีประสบการณ์ของการละเมิดเช่นนี้, จะสามารถแม้แต่บรรยายความเจ็บปวดทรมานและความชอกช้ำ ที่พวกเขาต้องเผชิญทุกๆ นาที ในแต่ละวัน, และคนข้างนอกก็ไม่มีทางเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นเลย.
I write this not because I am venting my feelings, but to urge you all, as development practitioners and HR advocates, to do more about raising awareness of the issue of disappearances in the HR context of Laos.
ดิฉันเขียน ไม่ใช่เพราะดิฉันต้องการระบายความรู้สึกของดิฉัน, แต่เพื่อเร่งเร้าให้พวกท่านทั้งหลาย, ในฐานะนักพัฒนาและนักรณรงค์ สิทธิมนุษยชน, ให้ทำอะไรมากกว่านี้เกี่ยวกับการปลุกความตื่นตัวถึงประเด็นของ การหายสาบสูญในบริบทของสิทธิมนุษยชนในลาว.
There are many cases of disappearances in Laos, more than are admitted, because the family members of the victims are too afraid to speak or reach out for help. Recently, I wanted to reach out regarding one case which was reported to the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances, but was told that the family wants it to remain confidential. Such is the scale of fear, and that is why the perpetrators in Laos can continue to act with impunity and know that they will face little or no consequences.
มีหลายกรณีของการหายสาบสูญในลาว, มากกว่าที่ได้ถูกยอมรับไปแล้ว, เพราะสมาชิกในครอบครัวของเหยื่อ ต่างหวาดกลัวเกินกว่าที่จะพูด หรือ ยื่นมือออกไปขอความช่วยเหลือ.  เมื่อเร็วๆ นี้, ดิฉันต้องการจะยื่นมือออกไปช่วยกรณีหนึ่ง ที่ถูกรายงานต่อ คณะทำงานเรื่อง การหายสาบสูญด้วยการถูกบังคับ หรือ ด้วยความไม่สมัครใจ, แต่กลับถูกบอกว่า ครอบครัวดังกล่าวไม่ต้องการเปิดเผยตัวเอง.  นี่คือระดับของความหวาดกลัว, และ นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไม ผู้กระทำผิดในลาว สามารถปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีความผิด และ รู้ว่า ไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นกับพวกเขา หรือ หากมี ก็เพียงนิดหน่อย.
I have spent my entire working life working on development in Laos and elsewhere to improve the lives and rights of the poor and disenfranchised, and I have been very proud of our mission. So, I urge you all, my development colleagues, to take a firmer and more forthright stand on the issue of disappearances with your Lao partners at the national and at the local levels. I at least have a voice, please be the voice and conscience of those Lao people who are voiceless and afraid.
ดิฉันได้ใช้ชีวิตทำงานทั้งหมด ทำงานพัฒนาในลาวและที่อื่นๆ เพื่อยกระดับชีวิตและสิทธิของคนยากจนและคนที่ถูกกีดกัน, และดิฉันก็ภาคภูมิใจในภารกิจของเรา.  ดังนั้น, ดิฉันขอเร่งเร้าท่านทั้งหลาย, ผู้ร่วมงานในการพัฒนาของดิฉัน, ให้มีจุดยืนที่หนักแน่นขึ้น และ เปิดเผยเฉียบขาดยิ่งขึ้น ต่อประเด็นการหายสาบสูญ กับภาคีลาวของท่านในระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น.  ดิฉัน อย่างน้อย เป็นเสียงหนึ่ง, โปรดเป็นเสียงและจิตสำนึกของประชาชนชาวลาวเหล่านั้น ผู้ไร้เสียงและหวาดกลัว.

Yours sincerely, Shui Meng
นับถือ, ชุ่ยเม้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น