วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

277. ยังเงียบสนิท หลังจาก สมบัด สมพอน ถูกลักพาตัวไป ๘ เดือนแล้ว


277. Still Silence after the 8th Month of Enforced Disappearance of Sombath Somphone

UnHappy Laos
ชาวลาวไม่สบาย
christinainlaos, ๑๘ มค ๒๕๕๖
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
A man who is wise and kind has disappeared and I am sad.
I don’t really know what else to write, but there is nothing else that I can do.
ชายผู้ทรงความสุขุมคัมภีรภาพและใจดี ได้หายสาบสูญไป และฉันรู้สึกเศร้าสลด.
ฉันไม่รู้จริงๆ ว่าจะเขียนอะไรได้, แต่ก็ไม่มีอะไรอื่นใดที่ฉันสามารถทำได้ด้วย.


Sombath Somphone and I first met briefly in 2008. I’m sure that he doesn’t remember that meeting but he told me about PADETC – the community development organization that he had started and of which he was then Director – and I decided that if I ever had the opportunity to come back to Laos I wanted to connect with him and with PADETC. At that point I was unaware of Sombath’s long background of promoting happiness in development, but I made contact again when I returned to Laos at the end of 2010. We connected over a couple of long and inspiring conversations about happiness, particular after we discovered a common love of the teachings of Thich Nhat Hanh and of Plum Village.
สมบัด สมพอน และฉัน พบกันครั้งแรกเป็นเวลาสั้นๆ ในปี ๒๕๕๑.  ฉันแน่ใจได้เลยว่า เขาจำการพบกันครั้งนั้นไม่ได้ แต่เขาได้เล่าให้ฉันฟังเกี่ยวกับ PADETC (ปาเด็ท์ค)—องค์กรพัฒนาชุมชน ที่เขาได้ริเริ่ม และ ที่ๆ เขาเป็น ผอ ในขณะนั้น—แล้วฉันก็ตัดสินใจว่า หากฉันมีโอกาสกลับมาลาว ฉันต้องการติดต่อเขา และ PADETC.  ตอนนั้น ฉันไม่รู้เลยว่า สมบัด มีพื้นเพยาวเยียดในการส่งเสริมความสุขในการพัฒนา,  แต่ฉันก็ได้ติดต่อกับเขาอีกครั้งเมื่อฉันกลับไปลาวตอนสิ้นปี ๒๕๕๓.  เราได้เชื่อมต่อกันในการสนทนาที่ยืดยาวและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ ๒-๓ ครั้ง เกี่ยวกับความสุข, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เราพบความรักที่มีร่วมกันต่อคำสอนของ ติช นัท ฮันห์ และ หมู่บ้านพลัม.
I started to work more closely with Sombath in December 2011 when we collaborated to show the international documentary “Happy” to as wide a Lao audience as possible. Then, in a quick conversation in February 2012, the idea for “Happy Laos” was born and a piece of work that took up a significant amount of my last 6 months in Laos was begun.
ฉันเริ่มทำงานใกล้ชิดขึ้นกับ สมบัด ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เมื่อเราร่วมจัดงานฉายสารคดีนานาชาติ เรื่อง“ความสุข” แก่ผู้ชมลาวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้.   และแล้ว, ในการสนทนาสั้นๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕, ความคิดเรื่อง “ลาว (สุข) สบาย” ก็เกิดขึ้น และ งานชิ้นหนึ่งที่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของฉันในช่วง ๖ เดือนในลาวก็เริ่มขึ้น.
I have talked about Happy Laos at length on here, but only in terms of trying to persuade you to part with your cash. I never actually shared the final short film, which was very remiss of me. So, here it is. Please watch it and pay particular attention to the gentle mannered grey-haired ‘happiness advocate’ who talks about (among other things) how we need to stop looking outside ourselves to find happiness.
ฉันได้พูดเกี่ยวกับ “ลาวสบาย” มามากแล้วที่นี, แต่แค่เป็นความพยายามชักจูงให้คุณปล่อยวางเงินของคุณ.  ฉันไม่เคยแชร์หนังสั้นฉบับสุดท้าย, ซึ่งเป็นความเลินเล่อของฉันมาก.  เอาล่ะ, มันอยู่ที่นี่.  โปรดแวะชมและสังเกตอากัปกิริยาอันอ่อนโยนของ นักรณรงค์ความสุข ผมดอกเลา ผู้พูดเกี่ยวกับ (ในบรรดาเรื่องอื่นๆ) เรื่องที่ว่า เราจำเป็นต้องหยุดขวนขวายค้นหาความสุข จากสิ่งของนอกตัวเรา.

We (I hope I can talk on behalf of the many people who were involved) are very proud of the finished short film which encourages Lao people to think and talk about the things that truly make them happy.  Maybe I’ll write more about this another time; everything is interconnected, but this is a post about Sombath.
เรา (ฉันหวังว่า ฉันสามารถพูดแทนหลายๆ คนที่มีส่วนร่วมด้วย) มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ถ่ายทำหนังสั้นเสร็จ ซึ่งชักชวนให้ชาวลาวคิดและพูดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้พวกเขาเป็นสุขอย่างแท้จริง.   บางทีฉันจะเขียนเรื่องนี้อีกหน่อยในเวลาอื่น; ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน, แต่การโพสต์นี้ เกี่ยวกับ สมบัด.
I left Laos at the end of October, spent a wonderful month in Thailand studying yoga, and came back to Scotland at the beginning of December.  Then on Sunday 16th December I heard that Sombath had disappeared. I won’t retell the story, which is easily accessible in the international press, but instead offer links to two open letters written by Sombath’s niece, Somchit Phankham, and his wife, Shui Meng Ng and a link to the campaign to Find Sombath Somphone:
ฉันออกจากลาวตอนปลายเดือนตุลาคม, ได้ใช้เวลาที่แสนมหัศจรรย์ในไทย ศึกษาโยคะ, และ กลับสู่สก๊อตแลนด์ ตอนต้นเดือนธันวาคม.  และแล้ว ในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม ฉันก็ได้ข่าวว่า สมบัด หายตัวไป.  ฉันจะไม่เล่าเรื่องซ้ำ, ซึ่งหาอ่านได้ในข่าวนานาชาติ,  แต่ขอแนะนำ ลิงค์ ของจดหมายเปิดผนึก ๒ ฉบับ ที่เขียนโดยหลานสาวของสมบัด, สมจิด พันคำ, และ ภรรยาของเขา, ชุยเม็ง งัก และ ลิงค์ ของการรณรงค์เพื่อค้นหา สมบัด สมพอน:

Sombath has now been missing for over a month with absolutely no word from whoever is holding him and no update on the promised government investigation into his disappearance.
สมบัด ได้หายตัวไปนานกว่าหนึ่งเดือนแล้ว  (บทความนี้โพสต์เมื่อ มค ๕๖)  โดยไม่มีแม้แต่คำเดียวจากใครก็ตามที่จับตัวเขาไป และ ไม่มีข่าวคืบหน้าจากคำสัญญาของรัฐบาลในการสืบสวนสอบสวนการหายตัวไปของเขา.
There is so much else to be said and nothing else to be said.
มีเรื่องมากมายที่ต้องพูด และ ไม่มีอะไรเลยที่ได้พูดออกมา.
I don’t want to speculate about motives or politics or implications because all of this is unknown and I am a very long way away. What I want to do is to focus on Sombath and to remember that a wise, kind, determined, gentle, sometimes infuriating, always inspiring man is missing. I keep wondering what advice he would give in this situation.
ฉันไม่ต้องการคาดเดาถึงแรงจูงใจ หรือ การเมือง หรือ นัย เพราะทั้งหมดนี้ ไม่มีใครรู้ และ ฉันก็อยู่ห่างไกลมาก.   สิ่งที่ฉันต้องการเจาะจง คือ สมบัด และ รำลึกถึงชายคนหนึ่งที่สุขุมทรงคัมภีรภาพ, ใจดี, แน่วแน่, อ่อนโยน, บางครั้งก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ, ที่เป็นแรงดลใจของฉันเสมอ หายตัวไป.  ฉันเฝ้าครุ่นคิดว่า เขาจะให้คำแนะนำอะไร ในสถานการณ์เช่นนี้.

In May 2012 I interviewed Sombath for my research. As in all my research interviews I started by talking about research ethics and, in particular about how the interview was confidential. With a twinkle in his eye Sombath asked me why he would want his ideas to be confidential, requesting that I summarise everything that he would say so that he could widely share his views. I laughed. It was typical Sombath  – on the one hand it made perfect sense but on the other it felt in potentially messy conflict with the ethical guidelines that I’d signed up to in the UK. He flattered me by claiming that I (a native speaker) could write it in a way that was much clearer in English language than he. I muttered something non-committal and thought about the exchange several times over the next few months, but he never asked again.
ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ฉันได้สัมภาษณ์ สมบัด เพื่องานวิจัยของฉัน.  เช่นเดียวกับในการสัมภาษณ์เพื่องานวิจัยทั้งหมดของฉัน ฉันเริ่มต้นด้วยการพูดถึงจรรยาบรรณในการทำวิจัย และ, โดยเฉพาะเกี่ยวกับว่า การสัมภาษณ์เป็นเรื่องที่ต้องเก็บเป็นความลับ.  สมบัด ถามฉัน ด้วยนัยน์ตาแวววับ ว่า ทำไมเขาจะต้องการให้ความคิดของเขาเป็นความลับ, เขากลับขอให้ฉันสรุปทุกอย่างที่เขาจะพูด เพื่อว่าเขาจะได้แบ่งปันมุมมองของเขาอย่างกว้างขวาง.   ฉันหัวเราะ.  นั่นคือ สมบัด—ในด้านหนึ่ง มันเป็นเรื่องสามัญสำนึก แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็รู้สึกถึงศักยภาพของความขัดแย้งยุ่งเหยิงกับแนวทางจรรยาบรรณ ที่ฉันได้เซ็นสัญญาในสหราชอาณาจักร.  เขาเยินยอฉันด้วยการอ้างว่า ฉัน (ที่มีอังกฤษเป็นภาษาถิ่น) สามารถเขียนให้ชัดเจนกว่าเป็นภาษาอังกฤษเมื่อเทียบกับเขา.   ฉันพึมพำบางอย่างแบบไม่กล้ารับปาก และ ก็ครุ่นคิดเกี่ยวกับการสนทนาแลกเปลี่ยนดังกล่าวหลายหนในช่วงเวลาหลายเดือนต่อมา, แต่เขาก็ไม่เคยถามอีกเลย.
In very different circumstances, I now come back to that interview transcript. I’ve talked to my supervisors and decided to share. Ethics are – or at least should be – about doing the right thing and the only right thing I can do just now is to add my own tiny voice to all the amazing people who are working to keep Sombath in the public eye and raise awareness of his work and philosophy. So I’ll finish this post with a (tidied but otherwise unchanged) extract from that interview and let him explain his view of happiness in his own words.
ในสถานการณ์ที่ต่างกัน, ตอนนี้ ฉันกลับมาที่ต้นฉบับของการสัมภาษณ์.  ฉันได้พูดกับหัวหน้าของฉัน และ ตัดสินใจที่จะแบ่งปัน.  จรรยาบรรณ คือ —หรืออย่างน้อย ควรเป็น—เรื่องเกี่ยวกับ การทำสิ่งที่ถูก และ สิ่งเดียวที่ถูกที่ฉันทำได้ในตอนนี้ คือ เติมเสียงกระจิดริดของฉัน ในบรรดาผู้คนทั้งหมดที่กำลังทำงานเพื่อให้ สมบัด ธำรงคงอยู่ในสายตาสาธารณะ และ ปลุกระดมให้ตื่นรู้ ถึงงานและปรัชญาของเขา.  ดังนั้น ฉันจะยุติโพสต์นี้ด้วยบทสนทนาที่ตัดจากการสัมภาษณ์ (ที่ได้เรียบเรียงให้เป็นระเบียบ แต่ไม่เปลี่ยนแปลง) และ ให้เขาอธิบายมุมมองของเขาเรื่อง ความสุข ด้วยคำพูดของเขาเอง.

Sombath: People perceive that happiness is something magic, something superior, and therefore we need to look for the answer. but the answer is in everyday life…
สมบัด:  คนมองว่า ความสุขเป็นอะไรที่เหมือนมนต์วิเศษ, บางอย่างที่เหนือกว่า, และ ดังนั้น เราจำเป็นต้องมองหาคำตอบ.  แต่คำตอบนั้น มีอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว...
Christina: It’s right in front of us?
คริสตินา:  มันอยู่ตรงหน้าของเราใช่ไหม?
S: It’s right in front of us – but we look through it.
มันอยู่ตรงหน้าของเรา—แต่เรามองทะลุมันไป.
C: How do you define happiness?
คุณนิยามคำว่า ความสุข อย่างไร?
S: Well, people define poverty, right? People define stress. Happiness? …there is a baseline happiness which is having no poverty or no stress…but if you want to be REALLY happy…then there are many types of happiness. People tend to think only of sense happiness…tastes good, feels good, looks beautiful, is  good to your ears and so on. But these senses are reacting to something…you sense something and you have a perception of whether it’s true or not and that perception is a judgment which depends on your culture, your past experience, your age…you make a judgment about whether that’s good or not good…if it’s good then you want it. Taste spicy food? Wow…that’s good… but if you’re not used to hot food you might think it’s terrible!  These are the senses’ happiness and we can become addicted to these sensory happinesses.  But they are temporary because your senses will never be the same…as you grow older what you used to eat is no longer good… when you were young your taste buds were more for sweet taste but as you grow older you enjoy bitter tastes. Things change…so  that is happiness but it is temporary happiness depending on your situation, what age you are, your relationships and so on.  It is happiness but it is superficial happiness… if we can go deeper than that, then we can find happiness that does not depend on the senses.
เอาล่ะ, คนนิยาม ความยากจน, ใช่ไหม?  คนนิยาม ความเครียด.  ความสุข? ... มีความสุขขั้นบรรทัดฐาน ที่ไม่มีความยากจนหรือความเครียด...แต่หากคุณต้องการเป็นสุขจริงๆ...แล้วละก็ มันมีความสุขอยู่หลายประเภท.   คนมักคิดถึงแต่เพียงความรู้สึก สัมผัส ที่เป็นสุข...รสชาดดี, รู้สึกดี, แลดูสวยงาม, ฟังระรื่นหู ฯลฯ.  แต่ความรู้สึกสัมผัสเหล่านี้ เป็นปฏิกิริยาของบางอย่าง...พอคุณสัมผัสบางอย่าง มุมมองความคิดก็เกิดขึ้นว่า มันดี หรือไม่ดีนะ  และมุมมองความคิดนั้น เป็นการพิพากษาที่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของคุณ, ประสบการณ์ในอดีตของคุณ, อายุของคุณ...คุณพิพากษาว่า สิ่งนั้น ดี หรือ ไม่ดี ...ถ้ามันดีแล้ว คุณก็อยากได้มันมา.  เคยลองอาหารรสจัดไหม?  ว๊าว...อร่อยมาก...แต่หากคุณไม่เคยชินกับอาหารเผ็ดๆ คุณอาจคิดว่า มันแย่มากเลย!   เหล่านี้เป็นความสุขทางประสาทสัมผัส และเราก็เสพติดกับความรู้สึกสัมผัสที่เป็นสุขเหล่านี้.   แต่มันเป็นอยู่เพียงชั่วขณะ เพราะความรู้สึกสัมผัสของคุณไม่เคยเหมือนกันเลย...เมื่อคุณแก่ตัวขึ้น สิ่งที่คุณเคยกิน ก็ไม่อร่อยเหมือนเดิมอีกต่อไป...เมื่อคุณยังอายุน้อย ลิ้นของคุณชอบรสหวานมากกว่า แต่พอคุณอายุมากขึ้น คุณชอบรสขมขึ้น.   สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลง...ความสุขก็เช่นเดียวกัน แต่มันเป็นความสุขชั่วประเดี๋ยวประด๋าว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ, อายุของคุณ, ความสัมพันธ์ของคุณ เป็นต้น.  มันเป็นความสุข แต่มันเป็นความสุขแบบผิวเผิน...หากเราลงไปลึกกว่านั้นได้, แล้วเราก็จะพบความสุข ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัส.
C: What does that deeper happiness depend on?
ความสุขที่ลึกล้ำกว่านั้น ขึ้นอยู่กับอะไร?
S: Oh yes, there is deeper level of happiness but it requires a lot of awareness that the senses are only temporary…if you look below the surface then you see something else below the waves for sure…
โอ ใช่, มีความสุขที่ลึกล้ำกว่า แต่มันต้องมีความตื่นรู้มากทีเดียวว่า ความรู้สึกทางประสาท เป็นเพียงชั่วขณะ...หากคุณมองทะลุลงไปใต้ผิว คุณจะเห็นบางอย่างอีกมากใต้คลื่นแน่นอน...
C: So in a sense the deeper happiness is in realising that the thing isn’t permanent, it is in the non-attachment, being able to let go?
ถ้างั้น ความรู้สึกสัมผัสถึงความสุขที่ลึกล้ำกว่า อยู่ที่การตระหนักว่า สิ่งต่างๆ ไม่ถาวร, มันอยู่ที่การไม่ยึดติด, ความสามารถปล่อยวาง ใช่ไหม?
S: It is in the non-attachment. But that doesn’t mean you should not enjoy your senses…just with awareness that they are temporary. Otherwise you attach to something that is good…you desire it…want more of it… but then there is also something painful that comes with that…because nothing is permanent. If you don’t know it is non-permanent, when someone says they loves you you say “ahh she’s gonna love me forever” right? But there’s no such thing as forever and then, if you don’t have awareness, it’s painful when you find out that’s not true…so your happiness caused you pain.
มันเป็นความไม่ยึดมั่นถือมั่น.  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ควรมีความสนุก เพลิดเพลินกับความรู้สึกสัมผัสเหล่านั้น...เพียงแต่ให้มีสติตื่นรู้ว่า มันตั้งอยู่เพียงชั่วคราว.  มิฉะนั้น คุณจะยึดติดกับบางอย่างที่ดี...คุณปรารถนามัน...อยากได้มันมากขึ้นๆ...แต่แล้ว ก็มีบางอย่างที่เจ็บปวด ที่มากับสิ่งนั้นด้วย...เพราะ ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร.  หากคุณไม่รู้ว่า มันไม่เที่ยงแท้ถาวร, เมื่อบางคนบอกว่า เขารักคุณ “อา เธอจะรักผมตลอดไป” ใช่ไหม?   แต่ไม่มีอะไรที่ตลอดไป และแล้ว, หากคุณไม่มีความตื่นรู้นี้, ก็จะเจ็บปวดมาก เมื่อคุณพบว่า มันไม่จริง...ดังนั้น ความสุขของคุณเป็นต้นเหตุให้คุณเป็นทุกข์.
You should enjoy with awareness. This is not a pessimistic view but at the same time it’s not an optimistic view. There are good times there are bad times. If you can accept that then nothing really moves you.
คุณควรสนุกเพลิดเพลินอย่างมีสติตื่นรู้.  นี่ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ใช่การมองโลกในแง่ดี.  มียามดี ก็มียามร้าย.  หากคุณยอมรับ (ความจริง) นั้นได้ ก็จะไม่มีอะไรกระทบกระเทือนคุณได้.
C: How does that fit with PADETC and with development? Where do you see happiness should fit?
อันนั้น เข้ากับ PADETC และกับการพัฒนาได้อย่างไร?  คุณเห็นว่า ความสุข ควรอยู่ที่ตรงไหนจึงจะเหมาะ?
S: Well, I think this ability to understand things is very important. I keep stressing that we need to understand the present, learn from the past and based on these two things we should strategise for the future. But you know the future is always going to be changing, it will never be what you expect and you should not expect it to be the way you would like it to be.
เอาล่ะ, ผมคิดว่า ความสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ สำคัญมาก.  ผมได้ย้ำอยู่เสมอว่า เราจำเป็นต้องเข้าใจปัจจุบัน, เรียนรู้จากอดีต และ ใช้ทั้งสองประการนี้ เป็นฐานในการวางยุทธศาสตร์สำหรับอนาคต.  แต่คุณรู้ว่า อนาคตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ, มันไม่เคยเป็นอย่างที่คุณคาดคิด และ คุณก็ไม่ควรคาดหวังว่ามันจะเป็นไปตามที่คุณอยากให้มันเป็น.
And if we understand this when we work, we will not be too attached to the things that don’t work out because we will understand why they don’t work…but if something works we also should not be too excited about it but simply be aware of the conditions that makes it work. Those conditions will not be the same in every situation and, if you understand that, you will be continuously motivated to do things that are not to satisfy yourself, but really are for the common good…and that common good depends on all the conditions that surround the situation.
แล้วหากเราเข้าใจเรื่องนี้ เมื่อเราทำงาน, เราจะไม่ยึดติดกับสิ่งต่างๆ ที่ใช้การไม่ได้ เพราะเราจะเข้าใจว่า ทำไมมันจึงใช้การไม่ได้...หากบางอย่างใช้การได้ เราก็ไม่ควรจะตื่นเต้นจนเกินไป  เพียงแต่มีสติตื่นรู้ถึงเงื่อนไขที่ทำให้มันเดินหน้าได้.  เงื่อนไขเหล่านั้นจะไม่เหมือนกันเลยในทุกๆ สถานการณ์ และหากคุณเข้าใจ(ความจริงข้อ)นั้น, คุณก็จะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องให้ทำสิ่งที่ไม่ใช่เพียงแต่จะทำให้คุณพอใจ, แต่เพื่อประโยชน์ร่วมของสาธารณะจริงๆ...และ ประโยชน์ร่วมนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทั้งหมดที่อยู่รอบๆ สถานการณ์นั้นๆ.
C: And that non-attachment maybe allows or opens up the possibility for things happening that we don’t expect to happen, right?
และความไม่ยึดติดนั้น อาจช่วย หรือ เปิดหนทางที่เป็นไปได้ เพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่เราไม่ได้คาดหวังมาก่อน เกิดขึ้นได้, ใช่ไหม?
S: Yes, and the deeper happiness comes in creating an environment or conditions where everyone can be happy. You will see the greater reward, when you see your fellow humans…your partners… really enjoying life…being very calm… and this will make you even more happy.
ใช่แล้ว, และความสุขระดับลึกกว่า จะสร้างสิ่งแวดล้อม/บรรยากาศ หรือ เงื่อนไขที่ทุกคนจะมีความสุขได้.  คุณจะเห็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่กว่า, เมื่อคุณเห็นเพื่อนมนุษย์...หุ้นส่วน / คู่หู / คู่ชีวิต ของคุณ...เพลิดเพลิน สนุกกับชีวิตจริงๆ ... มีความสงบจริงๆ ... และ นี่จะทำให้คุณเป็นสุขมากยิ่งขึ้น.
But you can become attached to doing good also too…if you are doing good without expecting anything in return that’s non-attachment.
แต่คุณก็สามารถกลายเป็นยึดมั่นถือมั่น เกาะติดอยู่กับการทำดีด้วยนะ...หากคุณทำดีโดยปราศจาก ความคาดหวังว่าจะต้องได้สิ่งตอบแทนใดๆ  นั่นคือ การไม่ยึดติด.
C: Do you think that is why there is some resistance to the idea of happiness in the development world?
คุณคิดไหมว่า นั่นเป็นสาเหตุที่มีการต่อต้านความคิดเรื่อง ความสุข ในโลกพัฒนา?
S: I think it’s because we are not used to think this way, you see it’s just perception, your mind is lured into accepting what it’s told, so it is important to train it to really analyse things, especially to analyse yourself. We are always judging things outside us, we have been trained to distract ourselves from the self with what is out there. But then the self becomes based on what is out there. But, out there, there is always change so we will never find rest. So it’s all about the mindset. If we only look outwards we are like rats on a wheel…
ผมคิดว่า เป็นเพราะเราไม่เคยชินกับการคิดแบบนั้น, คุณเห็นไหม มันเป็นเพียงมุมมอง, จิตของคุณถูกล่อให้ยอมรับคำพูดที่กรอกใส่หูคุณ, ดังนั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะฝึกจิตให้วิเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างจริงจัง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิเคราะห์ตัวคุณเอง.   เราจะพิพากษาสิ่งต่างๆ ภายนอกตัวเราเสมอ, เราถูกฝึกให้ตัวเราเอง เขวห่างจากตัวเอง/อัตตา ด้วยการจับจ้องอยู่กับสิ่งภายนอก.   แต่แล้ว ตัวเอง/อัตตา ก็กลายเป็นต้องตั้งอยู่บนสิ่งที่อยู่ภายนอกนั้น.   แต่, ภายนอกกาย, ก็เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น เราก็ไม่เคยมีเวลาพักผ่อนเลย.   ทั้งหมดนี้ มันเป็นเรื่องของความเชื่อฝังใจที่มีผลต่อพฤติกรรม.   หากเรามุ่งมองแต่สิ่งนอกกาย เราก็จะเหมือนหนูที่วิ่งไต่วงล้อ...
C:…and it’s really interesting what you say about that rat in the wheel could be an attachment to doing good… because it’s a very familiar idea to me that that rat in the wheel is a attachment to getting more money or having more things or having a good status….but attachment to doing good, to making the world how you want the world to be… that’s interesting….
... มันน่าสนใจจริงๆ ที่คุณพูดถึงหนูวิ่งไต่กงล้อ ว่าเป็นการยึดติดอยู่กับการทำความดี...เพราะมัน (หนูไต่กงล้อ) เป็นความคิดที่ฉันคุ้นเคยมาก ที่ว่า เจ้าหนูตัวนั้นในกงล้อ คือ การยึดติดอยู่กับการทำเงินให้ได้มากๆ หรือ ให้ได้ข้าวของมากๆ หรือ ให้ได้สถานภาพที่ดี...แต่ว่า การยึดติดอยู่กับการทำดี, เป็นการทำให้โลก เป็นอย่างที่คุณต้องการให้มันเป็น ... นี่น่าสนใจ.
S:.. yes that’s attachment, because you are going to be disappointed (laughs) for sure you are going to be disappointed.
... ใช่ นั่นก็เป็นการยึดติดด้วย, เพราะคุณจะถูกทำให้ผิดหวัง (หัวเราะ) อย่างแน่นอน  คุณจะต้องผิดหวัง.
C: What do you think is the connection between doing good and happiness?
คุณคิดอย่างไร กับความเชื่อมโยงระหว่าง การทำดี และ ความสุข?
S: I think doing good is really part of happiness because down deep if you feel that you are doing good you will be happy.
ผมคิดว่า การทำดี จริงๆ แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของความสุข เพราะ ในเบื้องลึก หากคุณรู้สึกว่า คุณกำลังทำดี คุณจะเป็นสุข.
C: A distinction is often made, at least in western philosophy, between doing the right thing and doing the pleasurable thing…and one of the reasons I think that people are sometimes resistant to the concept of happiness is because they often connect it to doing the pleasurable thing rather than doing the right thing…
มักมีการแยก, อย่างน้อยก็ในปรัชญาตะวันตก, ระหว่าง การทำสิ่งที่ถูก และ การทำสิ่งที่น่าพึงพอใจสนุกสนาน...และเหตุผลหนึ่ง ฉันคิดว่า คนบางที ก็ต่อต้านกรอบคิดของความสุข เพราะ พวกเขามักจะเชื่อมโยงมันกับการทำสิ่งที่เพลิดเพลิน พอใจ แทนที่จะทำสิ่งที่ถูก...
S: Yes! That’s because the west has focused too much on a shallow and individual version of sensory happiness. Happiness is about understanding how connected we are and how temporary everything is…about sharing good times and sharing the pain…it’s about giving…
ใช่แล้ว!  นั่นเพราะชาวตะวันตกจดจ่อมากเกินไปที่ความสุขทางประสาทสัมผัสแบบตื้นๆ และ ปัจเจก.   ความสุข เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงเกี่ยวพันที่พวกเราดำรงอยู่ และ ความไม่เที่ยงของทุกสิ่ง ว่าเป็นอย่างไร...เกี่ยวกับการแบ่งปันเวลาที่ดีๆ และ แบ่งปันความทุกข์ ความเจ็บปวด...มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้...
C: (tentatively) it’s relational?
มันเป็นความสัมพันธ์ ใช่ไหม?
S: It’s all relational. It all depends on the particular conditions and connections.
ทั้งหมดเป็นเรื่องของความสัมพันธ์.  ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องเฉพาะ.
C: Yes
เช่นนั้น
S: If you do something to make another person happy it is likely that they will return the same kind of positive thing to you.
When the west talks about happiness it’s individual sensory happiness, it’s only one sense at a time but if you have two or three senses together…wow…you feel really high (laughs). But here actually, you know, like we said earlier, it’s just doing mundane things…but sharing them with other people and being satisfied with them. If you get greedy you have to continue to be greedier and greedier to be happy- it never ends.
หากคุณทำบางอย่าง เพื่อทำให้อีกคนหนึ่งเป็นสุข  เป็นไปได้ที่พวกเขาจะตอบแทนในทางบวกแบบเดียวกันกับคุณ.   เมื่อชาวตะวันตกพูดถึงความสุข มันเป็นความสุขทางประสาทสัมผัสเชิงปัจเจก, มันเป็นเพียงความรู้สึกสัมผัสด้านเดียว ในขณะเดียว  แต่หากคุณมี ประสาทสัมผัสสองหรือสามทางพร้อมกัน...ว๊าว...คุณจะรู้สึกตัวลอยเลย (หัวเราะ).  แต่ในที่นี้ ที่จริง ก็เหมือนกับที่คุณพูดก่อนหน้า, มันเป็นเพียงการทำเรื่องธรรมดาสามัญ...แต่ด้วยการแบ่งปัน กับคนอื่นๆ และ มีความพึงพอใจร่วมกัน.   หากคุณเริ่มโลภ คุณก็จะโลภมากขึ้นเรื่อยๆ และ โลภที่จะเป็นสุข—มันจะไม่สิ้นสุด.
C: So there’s an irony where you think that you are doing what you need to do to make you happy but actually what you are doing in keeping you stuck in a cycle?
มันก็กลายเป็นเรื่องน่าหัวร่อ  คุณคิดว่า คุณกำลังทำสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อทำให้คุณเป็นสุข แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ เป็นการทำให้ตัวคุณติดกับ ตกหล่ม อยู่ในวงจรหนึ่งๆ ใช่ไหม?
S: Yes, we have the wrong path. We have the wrong path and that path is defined by our mind when we have no control over our mind. That is the case for 99.9% of the people.
ใช่, เรามีเส้นทางที่ผิด.  เรามีเส้นทางที่ผิด และ เส้นทางนั้น ถูกนิยามด้วยจิตของเราเอง เมื่อเราไม่สามารถบังคับจิตใจของเราเองได้.  นี่เกิดขึ้นกับผู้คน 99.9%.
C: And we are right back to the mindfulness again?
แล้วเราก็ย้อนกลับมาเรื่อง การตื่นรู้ อีกแล้ว ใช่ไหม?
S: Yes!
ใช่แล้ว!

As I was writing this post I received an email saying that from today (Friday 18th January) and then every Friday at 17.00 Laos time (10am UK time) until Sombath returns, there will be a worldwide meditation chain in which we peacefully channel our intentions, prayers and positive thoughts to Sombath and to those who hold him. Even if you have never meditated before and even if you can only spare a few moments I invite you to please join us.
ในขณะที่ฉันกำลังเขียนโพสต์นี้ ฉันได้รับอีเมล บอกว่า เริ่มจากวันนี้ (ศุกร์ ๑๘ มค) และทุกๆ วันศุกร์ เวลา ๑๗.๐๐ น.ของลาว (๑๐ น. เวลาสหราชอาณาจักร) จนกว่า สมบัด จะกลับมา, จะมีการนั่งสมาธิทั่วโลก ซึ่งพวกเราจะร่วมกันส่งกระแสจิต เจตนา, ภาวนา และความคิดบวก อย่างสันติ ให้แก่ สมบัด และ คนที่จับกุมตัวเขาไป.  แม้ว่าคุณจะไม่เคยนั่งสมาธิมาก่อน และ แม้ว่าคุณจะเจียดเวลาได้เพียงไม่กี่ขณะ  ฉันขอเชิญชวนให้คุณเข้าร่วมกับพวกเราด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น