285. Watching
Education Reform in US … To Mind Our Own Education Reform
Back To School Season Reveals
Education Policy Disconnect
ฤดูโรงเรียนคืนสู่โรงเรียน เผยนโยบายการศึกษาสับสน
-เจฟ ไบรอันท์
Chicago Police patrol the
neighborhood as safety guard Renee Green, center, watches for children heading
to Gresham Elementary School on the first day of classes Monday, Aug. 26. 2013
in Chicago. Thousands of students will walk newly designated “Safe Passage”
routes after CPS announced in May it would close about 50 schools and programs.
Workers hired to help students get to and from school safely will be stationed
along those routes, as well as police, firefighters and even public library
security guards. (Photo: AP / M. Spencer Green)
The annual ritual of Back to School Season had education in
the headlines more than usual this week, and what it revealed were two starkly
different narratives about the present state and future of the nation’s
schools.
One story is a continuation of promises coming from
prominent individuals claiming to know what will fix the nation’s schools and
make them more “accountable,” while the other is a much more troubling tale
about schools that is plainly visible to most Americans – except those at the
top.
พิธีกรรมประจำปีของการคืนสู่โรงเรียน ทำให้การศึกษาเป็นข่าวพาดหัวนานกว่าปกติในสัปดาห์นี้,
และสิ่งที่เผยออกมา คือ
สองบทบรรยายที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของโรงเรียนของชาติ.
เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความต่อเนื่องของคำสัญญาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงที่อ้างตัวว่า
รู้วิธีแก้ไขปัญหาโรงเรียนของชาติและทำให้มัน “น่าเชื่อถือ” ยิ่งขึ้น,
ในขณะที่อีกเรื่อง เล่าถึงปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นตำตา—ยกเว้นพวกที่อยู่เบื้องสูงสุด.
So much evidence – from both anecdotal reporting and
objective data – revealed this vast disconnect.
Promoters of what has been caste as an “education reform”
movement continue to take on the the mantle of civil rights
cause, but reports from the frontlines of America’s classrooms show the
negative consequences that reform policies actually have on poor black and
brown school children they’re purported to serve.
มีหลักฐานมากมาย—จากรายงานเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย และ ข้อมูลเชิงประจักษ์—เผยถึงความไม่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเช่นนี้.
In Chicago, mayor Rham Emanuel has “waxed poetic”
about school reforms he claimed will “bridge the divide” between low-income
kids on the South Side with their better off white peers. Yet this year in
Chicago, back to school on the South Side required a police escort,
including a helicopter, to get elementary children through dangerous gang
territory because the schools that the mayor had promised to “fix” were closed
under his leadership instead.
ในชิคาโก, นายกเทศมนตรี ราม เอมานูเอล มีภาพสวยหรูเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนที่เขาอ้างว่า
จะ “เชื่อมช่องว่าง” ระหว่างเด็กจากครอบครัวรายได้ต่ำในแถบทิศใต้ กับเพื่อนๆ
ที่ร่ำรวยกว่า. แต่ในปีนี้ในชิคาโก,
การคืนสู่โรงเรียนที่แถบทิศใต้ ต้องมีตำรวจคอยคุ้มกัน, รวมทั้งใช้ เฮลิคอปเตอร์,
เพื่อพาเด็กชั้นประถมให้เดินผ่านย่านแก๊งอันตราย
เพราะโรงเรียนที่นายกเทศมนตรีสัญญาว่าจะ “แก้ไข” กลับถูกปิดลงภายใต้การนำของเขา.
Due to the closing of so many neighborhood schools in
neighborhoods where the presence of safe schools should matter most, city
officials have had to double the number of police-protected routes –
dubbed “Safe Passageways” – and dramatically increased security costs to $15.7
million.
เนื่องจากการปิดโรงเรียนย่านมากมายในละแวกเพื่อนบ้านที่ๆ การมีโรงเรียนปลอดภัยตั้งอยู่
ควรจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด,
เจ้าหน้าที่เมืองกลับต้องเพิ่มถนนหนทางที่มีตำรวจคุ้มกันเป็นสองเท่า—ที่ถูกเรียกขานเป็น
“ทางผ่านที่ปลอดภัย”—และ เพิ่มค่าใช้จ่ายความมั่นคงอย่างรวดเร็วเป็น $15.7 ล้าน.
While the mayor claimed that police protection would ensure
“kids will think about their studies, not their safety,” a concerned mother
more aptly described what should be a routine, even boring experience, for
children as “a zoo.”
ในขณะที่ นายกเทศมนตรีอ้างว่า
การคุ้มกันของตำรวจจะทำให้มั่นใจว่า “เด็กๆ จะได้คิดถึงแต่เรื่องการเรียน,
ไม่ต้องพะวงเรื่องความปลอดภัย”,
คุณแม่ที่ห่วงใยคนหนึ่งกลับบรรยายถึงสิ่งที่ควรเป็นเรื่องประจำวันสำหรับเด็กๆ นี้,
ว่าแม้เป็นประสบการณ์ที่น่าเบื่อหน่าย, ก็เหมือน “สวนสัตว์”.
Education “reform” doesn’t look any better in North Carolina,
where that state’s relatively new governor, Pat McCrory
has proclaimed a “passion” for schools that more closely resembles a resentment
toward them.
“การปฏิรูป” การศึกษาไม่ได้ดูดีกว่าเลยสักนิดในรัฐแครอไลนาเหนือ,
ที่ๆ ผู้ว่าการรัฐที่ค่อนข้างใหม่, แพ็ต แมคครอรีย์ ได้ประกาศว่าตนมีความ “หลงใหล”
กับโรงเรียนที่ดูเหมือนจะใกล้เคียงกับความขุ่นเคืองต่อพวกมัน.
This summer, the state passed legislation
eliminating teacher positions, increasing class sizes, and lowering teacher
qualifications in charter schools, while creating voucher programs that send
more tax money to private schools and expanding funding for Teach for America
to stock classrooms for the least served children with teachers who are the
least experienced and least prepared. All of this is portrayed
as an effort to help low-income children out of “low-performing schools,” even
though the vast majority of poor kids in the state are likely to see the quality of their education decline.
ฤดูร้อนปีนี้, รัฐได้ผ่านกฎหมายที่ขจัดตำแหน่งครู,
เพิ่มขนาดของห้องเรียน, และ ลดคุณสมบัติของครูในโรงเรียนที่อยู่ในสัญญา,
ในขณะที่สร้างโปรแกมใบเสร็จการจ่ายที่ส่งเงินภาษีมากขึ้นให้โรงเรียนเอกชน และ
ขยายกองทุนสำหรับ “การสอนเพื่ออเมริกา”
เพื่อรวบรวมห้องเรียนสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาสที่สุด
ด้วยครูที่มีประสบการณ์น้อยที่สุด และ มีการเตรียมตัวน้อยที่สุด. ทั้งหมดนี้ ถูกสร้างภาพว่า
เป็นความพยายามช่วยเด็กจากครอบครัวรายได้ต่ำให้หลุดพ้นจาก “โรงเรียนที่มีผลงานระดับต่ำ”,
แม้ว่าเด็กยากจนส่วนใหญ่ในรัฐ คงจะเห็นว่า คุณภาพของการศึกษาของพวกเขาเอง ที่ถดถอยลง.
North Carolina is not alone in seeing the quality of its
education program severely cut at the same time a reform agenda promises to fix
everything. New curriculum standards known as the Common Core – which have been
adopted by most states – have been promoted as the latest “game changer”
that will transform America’s schools for the better. Yet many of the states
that have adopted the Common Core are in the process of slashing the money
needed to implement the new standards.
รัฐแครอไลนาเหนือ
ไม่ใช่เป็นรัฐเดียวที่เห็นคุณภาพโปรแกมการศึกษาถูกตัดงบอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกัน
ก็มีวาระการปฏิรูปที่สัญญาว่าจะซ่อมแซมแก้ไขทุกๆ อย่าง. มาตรฐานหลักสูตรที่รู้จักในนาม คอมมอนคอร์
(แก่นร่วม)—ที่รัฐส่วนใหญ่ได้ยอมรับมาใช้—ได้ถูกส่งเสริมเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ฉบับล่าสุด
ที่จะพลิกโฉมโรงเรียนของอเมริกาให้ดีขึ้น.
แต่หลายๆ รัฐที่ได้ยอมรับ คอมมอนคอร์
กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตัดลดเงินที่จำเป็นเพื่อดำเนินตามมาตรฐานใหม่.
According to this article
from the Pew Charitable Trusts, a new study found that education agencies in 28
states had gotten less or no additional funding for implementing the Common
Core, and 12 reported having to scale their implementation effort back. “Less
than a quarter of the states that responded said they had adequate staff
expertise, staffing levels, and resources to implement the Common Core,” the
article explained.
ตามรายงานจาก Pew
Charitable Trusts, มีงานศึกษาใหม่ที่พบว่า วาระการศึกษาใน ๒๘
รัฐได้รับงบน้อยลง หรือ ไม่มีงบเพิ่มสำหรับดำเนิน คอมมอนคอร์, และ ๑๒ รัฐ
ต้องลดทอนขอบเขตการดำเนินการ.
“รัฐที่สนองต่อการศึกษานี้ น้อยกว่า ¼ กล่าวว่า พวกเขามีกำลังคนที่มีความชำนาญ,
ระดับ, และ ทรัพยากรเพียงพอที่จะดำเนินการตาม คอมมอนคอร์”.
Rising above anecdotal reports, a trio of recent surveys
revealed the growing disillusionment Americans are having with the education
policy agenda that has been in place for nearly 20 years.
พอยกระดับสูงกว่ารายงานเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย,
การสำรวจสามทีมเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันมากขึ้นเริ่มตาสว่าง
กับความหลงเชื่อในวาระนโยบายการศึกษาที่ติดตั้งมาเกือบ ๒๐ ปี.
Writing at Politico, Stephanie Simon
reviewed the survey results and pronounced it a “mixed report card for
education reforms.” But one finding from all three surveys seemed especially
jarring compared to the rhetoric coming from the top.
สเตฟานี ไซมอน เขียนใน Politico ทบทวนผลการสำรวจ และวินิจฉัยมันว่าเป็น “สมุดพกที่มีรายงานปนเปสำหรับการปฏิรูปการศึกษา”. แต่การค้นพบหนึ่งจากผลการสำรวจทั้งสาม ดูเหมือนจะน่ากังวลยิ่ง
เมื่อเทียบกับวาทกรรมที่มาจากพวกที่อยู่เบื้องสูงสุด.
Despite the incessant drumbeat, for many years – and
amplified by a deep pocketed PR campaign including feature-length films Waiting
for Superman and Won’t Back Down – that school teachers are
principally to blame for the nation’s education problems, the masses don’t seem
to be buying it. Contrary to the distrust of educators spread by the elite, the
American people have a great deal of confidence in their local schools and the
teachers in those buildings.
แม้จะมีการตีฆ้องร้องป่าวไม่หยุดหย่อน, เป็นเวลาหลายปี—และขยายเสียงด้วยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อที่ทุ่มเงินหนัก
รวมทั้งภาพยนตร์ยาว “รอคอยซูเปอร์แมน และ จะไม่ยอมถอย”—ที่ว่า ครูโรงเรียนเป็นกลุ่มหลักที่พึงถูกตำหนิสำหรับปัญหาการศึกษาของชาติ,
เหล่ามวลชนดูเหมือนจะไม่เห็นด้วย.
ตรงข้ามกับความไม่เชื่อใจนักการศึกษาที่ถูกขจรขจายโดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชน,
ชาวอเมริกันมีความมั่นใจอย่างใหญ่หลวงในโรงเรียนท้องถิ่นและครูของพวกเขาในอาคารเหล่านั้น.
“Asked how they would grade the school their oldest child
attends,” Simon noted, “71 percent of public school parents” graded their local
school “A or ‘B” according to the poll conducted by PDK/Gallup. Another poll,
from AP-NORC, showed “76 percent of respondents rating their child’s current
education as good or excellent, and 82 percent giving their child’s teachers
high marks.”
“พวกเขาถูกขอให้ลงคะแนนโรงเรียนที่ลูกคนโตได้เข้าเรียน”,
ไซมอนกล่าว, “71% ของผู้ปกครองในโรงเรียนสาธารณะ” ให้คะแนน “เอ” หรือ “บี”
แก่โรงเรียนท้องถิ่นของพวกเขา ตามการสุ่มความเห็นที่ดำเนินโดย PDK/Gallup.
อีกการสุ่มความเห็น, จาก AP-NORC, แสดงว่า “ผู้ตอบ 76% ให้คะแนนการศึกษาปัจจุบันของลูกๆ ว่า ดี หรือ ยอดเยี่ยม, และ 82% ได้ให้คะแนนสูงสุดแก่ครูของลูกๆ”.
“Americans like and trust teachers,” concluded Anne Wujcik,
a blogger for an education marketing firm, noting “72 percent of the PDK/Gallup
respondents agree that they ‘have trust and confidence in the men and women who
are teaching children in the public schools.’ Eighty-two percent of parents
surveyed by AP-NORC rate their child’s teacher as excellent/good.”
“ชาวอเมริกัน ชอบ และเชื่อใจ ครู”, แอน วุจซิค สรุป,
นักเขียนบล็อกสำหรับบริษัทการตลาดด้านการศึกษา, ระบุว่า “72% ของ ผู้สนองต่อ PDK/Gallup
เห็นพ้องว่า พวกเขา ‘เชื่อใจและมั่นใจในชายหญิงที่สอนลูกๆ
ของตนในโรงเรียนสาธารณะ’.
ผู้ปกครอง 82% ในการสำรวจโดย AP-NORC ให้คะแนนครูของลูกๆ ว่า ดีเยี่ยม/ดี”.
Journalists at Education Week
noted that support for firing teachers based on student test scores – a
favorite of the reform crowd – is now in reverse. “The PDK/Gallup survey …
found that 58 percent of respondents oppose requiring teacher evaluations to
include student scores on standardized tests. That’s a reversal of public
opinion from just last year, when 47 percent of PDK/Gallup respondents opposed
using test scores in evaluations.”
นักข่าวที่ Education Week ตั้งข้อสังเกตว่า แรงสนับสนุนให้ไล่ออกครูออก
บนพื้นฐานของคะแนนสอบของนักเรียน—ซึ่งเป็นวิธีการโปรดปรานของกลุ่มปฏิรูป—ตอนนี้กำลังสวนทางกลับ. “การสำรวจของ PDK/Gallup...พบว่า ผู้ตอบ 58%
คัดค้านการใช้คะแนนสอบมาตรฐานของนักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการทำงานของครู.
นั่นเป็นการผันกลับที่สวนทางกับผลการสำรวจปีกลาย, เมื่อ 47% ของผู้ตอบ PDK/Gallup คัดค้านการใช้คะแนนสอบในการประเมิน”.
The article quoted William J. Bushaw, the executive director
of Phi Delta Kappa International, who said, “I think parents are listening to
their children’s teachers and are hearing their concerns about these new
evaluation systems that are untested and deciding that maybe it’s not fair.”
บทความได้อ้าง วิลเลียม เจ.บุชอว์, ผอ.บริหารของ Phi Delta Kappa International, ผู้กล่าวว่า,
“ผมคิดว่า ผู้ปกครองกำลังเงี่ยหูฟังครูของลูกๆ
และได้ยินความห่วงใยของครูเกี่ยวกับระบบการประเมินใหม่เหล่านี้
ที่ไม่ได้ผ่านการทดสอบ และก็ตัดสินใจว่า มันอาจไม่เป็นธรรม”.
What really concerns Americans? Lack of resources.
อะไรที่ชาวอเมริกันกังวล?
ขาดแคลนทรัพยากร.
A report on the PDK survey at USA Today
looked at the data and noticed, “Thirty-six percent of public school parents
cited a lack of financial support as the biggest problem facing schools in
their community, the largest proportion surveyed. Eleven percent put
overcrowding atop their list of concerns. Only 4 percent were concerned with
testing or regulations.”
รายงานเรื่องการสำรวจของ PDK ใน นสพ USA Today วิเคราะห์ข้อมูลและสังเกตเห็นว่า,
“ผู้ปกครองในโรงเรียนสาธารณะ 36% อ้างการขาดแคลนเงินทุนสนับสนุน
ว่าเป็นปัญหาใหญ่สุดที่โรงเรียนในชุมชนของพวกเขาเผชิญอยู่, อันเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มที่ถูกสำรวจ. 11% บอกว่า
ความเบียดเสียดในห้องเรียนเป็นความห่วงใยสูงสุด.
เพียง 4% กังวลถึงการสอบหรือ ข้อบังคับ”.
The article quoted Helen Gym, co-founder of Parents United
for Public Education in Philadelphia, who explained that policies under the
reform umbrella – such as the Common Core, standardization, testing, and
teacher evaluations linked to test scores – are “removed from our reality … In
the Philadelphia public schools, where they’ve stripped out almost everything,
you can’t have a conversation about the Common Core … It’s almost laughable to
talk about kids being college and career ready when 60 percent of high schools
may not even have a guidance counselor.”
บทความได้อ้าง เฮเลน จิม, ผู้ร่วมก่อตั้ง
สามัคคีผู้ปกครองเพื่อการศึกษาสาธารณะในฟิลาเดลเฟีย, ที่อธิบายว่า
นโยบายภายใต้ร่มการปฏิรูป—เช่น คอมมอนคอร์, มาตรฐาน, การสอบ, และ
การประเมินครูที่โยงใยกับคะแนนสอบ—ล้วน “ไม่ติดดิน / ห่างไกลจากความเป็นจริงของเรา...
ในโรงเรียนสาธารณะในฟิลาเดลเฟีย, ที่ๆ พวกเขาถูกปลดเปลื้องเกือบทุกอย่าง,
คุณไม่สามารถสนทนาเกี่ยวกับ คอมมอนคอร์... มันน่าขันที่จะพูดถึงเด็ก ๆ ให้พร้อมเข้าเรียนในวิทยาลัย
และ อาชีพการงาน เมื่อ โรงเรียนมัธยม 60%
อาจไม่มีแม้แต่ครูที่ปรึกษาแนะแนว.
Writing at The Huffington Post,
education historian Diane Ravitch questioned what reform measures like the
Common Core can really accomplish given the circumstances on the ground:
นักประวัติศาสตร์ ไดแอน เรวิตช์, เขียนใน The Huffington Post, ตั้งคำถามว่า มาตรการปฏิรูปเช่น คอมมอนคอร์ จะสามารถบรรลุผลอะไรได้จริงๆ
ในเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่เป็นดังต่อไปนี้.
Across the nation, our schools are suffering from budget
cuts.
ทั่วประเทศ, โรงเรียนของเรากำลังถูกตัดงบ.
Because of budget cuts, there are larger class sizes and
fewer guidance counselors, social workers, teachers’ assistants, and
librarians.
เพราะการตัดงบ, ห้องเรียนจึงใหญ่ขึ้น และ ครูแนะแนว, นักสังคม,
ผู้ช่วยครู, และ บรรณารักษ์ ก็น้อยลง.
Because of budget cuts, many schools have less time and
resources for the arts, physical education, foreign languages, and other
subjects crucial for a real education.
เพราะการตัดงบ, หลายๆ
โรงเรียนมีเวลาและทรัพยากรลดลงสำหรับวิชาศิลปะ, พละศึกษา, ภาษาต่างประเทศ, และ
วิชาอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาจริงๆ.
As more money is allocated to testing and accountability,
less money is available for the essential programs and services that all
schools should provide.
ในขณะที่ทุ่มเงินใส่การทดสอบและความน่าเชื่อมากขึ้น,
กลับลดเงินจัดสรรให้แก่โปรแกมและการบริการที่จำเป็นที่โรงเรียนทั้งหมดพึงมี.
Our priorities are confused.
การลำดับความสำคัญของเราดูสับสน.
So with this year’s Back to School Season revealing
widespread evidence that lack of resources – rather than lack of accountability
– is the foremost problem troubling the nation’s schools, let’s see if any of
the education reform crowd mounts a well-funded campaign to reform that.
ดังนั้น ในฤดูกาลของการคืนสู่โรงเรียนปีนี้
ได้เผยให้เห็นชัดเจนถึงความขาดแคลนทรัพยากร—แทนที่จะขาดแคลนความน่าเชื่อถือ—เป็นปัญหานำหน้าที่ทำให้โรงเรียนของชาติตกต่ำ,
ขอให้พวกเราคอยดูว่า จะมีใครจากกลุ่มปฏิรูปการศึกษาออกมาทำการรณรงค์ที่ด้วยเงินทุนมากพอ
เพื่อปฏิรูป ด้านนั้น.
© 2013 Education Opportunity Network
Jeff Bryant is an associate fellow at Campaign for America's
Future and editor of the recently launched Education
Opportunity Network, a project of the Institute for America’s Future, in
partnership with the Opportunity to Learn Campaign.
เจฟ ไบรอันท์ สังกัดกับ การรณรงค์เพื่ออนาคตของอเมริกา
และเป็นบรรณาธิการของ เครือข่ายโอกาสการศึกษา ที่เพิ่งเริ่ม, อันเป็นโครงการของ
สถาบันเพื่ออนาคตอเมริกา, ร่วมกับ การรณรงค์โอกาสในการเรียนรู้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น