281. 2012 : Paradigm-Shifting Documentaries
The Top 20 Social Change
Documentaries of 2012
By Tim Hjersted
๒๐ สุดยอดสารคดีเปลี่ยนสังคม แห่งปี ๒๕๕๕
- Tim Hjersted
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
2012 was another big year for
break-out films in the social change genre. With most of the bases covered for
all of the major problems we're facing, more and more films this year focused
on the solutions side of the equation, giving a voice to the uplifting stories
of people working to realize their dreams of a thriving, sustainable world.
๒๕๕๕ เป็นปีสำคัญอีกปีหนึ่งสำหรับภาพยนตร์ประเภทเปลี่ยนแปลงสังคม. ด้วยพื้นฐานส่วนใหญ่ของปัญหาหลักๆ ทั้งหมดที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ได้ถูกนำเสนอไปแล้ว,
ในปีนี้ ภาพยนตร์มากขึ้น เน้นไปที่ฟากทางออกของสมการ, เป็นกระบอกเสียงของเรื่องราวที่ชะโลมดลใจเกี่ยวกับผู้คนที่ทำงานเพื่อให้ฝันวาดโลกที่มีชีวิตชีวา
และ ยั่งยืน เป็นจริงได้.
For the films that focused on the
problems-side, it's no longer enough to advance the well-trodden ideas of the
past. It's a time of creative destruction, where all of our assumptions about
the world are no longer taken for granted, giving air to fresh, radical new
perspectives and ideas.
สำหรับภาพยนตร์ที่เน้นฟากปัญหา, มันไม่เพียงพออีกต่อไป ที่จะยืดความคิดเห็นของอดีตที่ถกกันมามากพอแล้ว.
มันเป็นเวลาของการทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์,
ที่ๆ สมมติฐานทั้งปวงของพวกเราเกี่ยวกับโลก จะถือเบาอีกต่อไปไม่ได้, ด้วยการช่วยถ่ายทอดความคิดเห็นของมุมมองและความคิดเห็นที่ใหม่สุดเหวี่ยง.
While many are quick to still focus
on the growing and troubling consolidation of the world's major powers, it's
critical to not lose sight of the greater narrative unfolding, which resembles
the birthing pains of an old order toppling, fighting to hold onto the last
vestiges of its power as a new global consciousness shifts us into the next
era.
ในขณะที่หลายคนยังงุ่นเน้นอยู่ที่การแผ่ขยายของการผนึกรวมตัวที่มีปัญหาของมหาอำนาจหลักๆ
ของโลก, จำเป็นยิ่งที่จะไม่มองข้ามบทละครที่ยิ่งใหญ่กว่าที่กำลังคลี่คลายเผยโฉมหน้าใหม่,
ซึ่งคล้ายกับความเจ็บปวดเวลาคลอดของการล้มครืนของระเบียบ (อำนาจ) เก่า, ที่ต่อสู้เพื่อเกาะยึดอยู่กับร่องรอยสุดท้ายของอำนาจของมัน
ในขณะที่จิตสำนึกใหม่ของโลกได้ขยับเคลื่อนพวกเราเข้าสู่ยุคถัดไปแล้ว.
The Mayan 2012 prophesy got it
right. The world as we've known it is coming to an end. But not in an
apocalyptic shower of fire and doom as many misinterpreted. The end of 2012
marks a symbolic shift in the evolution of humankind - from empire to earth community,
from an endless growth economy to a stable-state economy, from an era of rulers
and kings to an era of direct democracy and decentralized, egalitarian power
relationships. From power over, to power with.
คำพยากรณ์มายัน ๒๕๕๕ (2012) พูดถูก. โลกอย่างที่พวกเรารู้จักกันมา กำลังมาถึงจุดจบ. แต่ไม่ใช่เป็นห่าฝนไฟบรรลัยกัลป์ และ โลกาวินาศดังที่หลายคนได้ตีความไว้. จุดจบของ 2012 เป็นเครื่องหมายของการขยับตัวเชิงสัญลักษณ์ในวิวัฒนาการของมนุษยชาติ—จากจักรวรรดิสู่ชุมชนโลก,
จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างไม่สิ้นสุด สู่ เศรษฐกิจที่มีสภาวะเสถียร,
จากยุคของราชาผู้ปกครอง สู่ ยุคของประชาธิปไตยตรงและกระจายอำนาจ, ที่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจเท่าเทียมกัน. จากอำนาจเหนือกว่า, สู่อำนาจร่วมกัน.
You don’t need a telescope or a
calendar to see the real-time paradigm shift that is on-going now. The
mainstream media may not be talking about it – they, too, like the political
elites whose interests they favor, still continue to promote the status quo
narratives of the past, much like the dinosaurs grazing in the forests as the
comet of the next world shadows overhead.
คุณไม่จำเป็นต้องใช้กล้องส่องทางไกล หรือ ปฏิทินเพื่อติดตามดูชนิดวินาทีต่อวินาที
การขยับตัวของกระบวนทัศน์ที่กำลังเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น. สื่อกระแสหลักอาจไม่พูดเกี่ยวกับมันนัก—พวกเขาด้วย
ก็เช่นเดียวกับพวกอภิสิทธิ์ชนนักการเมือง ผู้ปกป้องแต่ผลประโยชน์ตัวเอง,
ยังคงส่งเสริมบทละครสถานภาพอำนาจของอดีต, เหมือนกับไดโนเสาร์ที่กำลังและเล็มกินป่า
ในขณะที่ดาวหางของโลกถัดไปทอดเงาอยู่เหนือหัว.
Tapping into independent media and
the independent films below, though, and it’s clear that we’re living during
the beginnings of what many believe is the greatest renaissance of world
systems we’ve ever known.
ด้วยการเจาะไปที่สื่ออิสระและภาพยนตร์อิสระข้างล่าง,
แม้จะเห็นชัดว่า เรากำลังอาศัยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของสิ่งที่หลายคนเชื่อว่า
เป็นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของระบบโลก เท่าที่เราเคยรู้จักกันมาก่อน.
Here then, is Films For Action’s top
20 social change inspiring documentaries of 2012, most of which have been
generously made available to watch free online by the film-makers. Just click
the titles and enjoy.
แล้วนี่ก็เป็น สุดยอด ๒๐ ภาพยนตร์เพื่อปฏิบัติการ
อันเป็นสารคดีที่มีพลังบันดาลใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม แห่ง ปี ๒๕๕๕,
ส่วนใหญ่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากเจ้าของผู้ผลิต ให้ชมได้ฟรีออนไลน์. เพียงแต่คลิกที่หัวเรื่อง.
After that, if you’re feeling pumped
up by these films and want to channel that energy into something positive,
check out our guide to hosting public film screenings, and consider using our action template as a spring-board
to launch a community initiative in your home town.
จากนั้น, หากท่านรู้จักฮึกเหิมจากการชมภาพยนตร์เหล่านี้ และ
ต้องการถ่ายเทพลังงานดังกล่าวไปสู่บางอย่างในเชิงบวก, ก็สามารถใช้แนวทางในการจัดการฉายในที่สาธารณะ
(คลิก), และ ขอให้พิจารณาใช้แผงปฏิบัติการของเรา เป็นไม้กระดกให้ดีดเริ่มกิจกรรมชุมชนในเมืองของท่านเอง.
Punishment: A Failed Social
Experiment provides a detailed, critical analysis of the current legal and
justice system generally in operation across the planet whilst also providing
potential solutions which work on preventing crime and creating a much more
socially sustainable society.
“การลงโทษ: การทดลองทางสังคมที่ล้มเหลว” :
เสนอการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
ต่อระบบกฎหมายและความยุติธรรมที่ดำเนินการอยู่ทั่วไปในพิภพอย่างละเอียด ในขณะที่เสนอทางออกที่เป็นไปได้
ในด้านป้องกันอาชญากรรม และ สร้างสังคมที่ยั่งยืนมากกว่านี้.
97% owned present serious research
and verifiable evidence on our economic and financial system. This is the first
documentary to tackle this issue from a UK-perspective and explains the inner
workings of Central Banks and the Money creation process.
“97% เป็นเจ้าของ”: นำเสนอผลงานวิจัยที่เอาจริงเอาจังและมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้
เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและการเงินของพวกเรา.
นี่เป็นสารคดีเรื่องแรกที่เจาะประเด็นนี้ จากมุมมองของสหราชอาณาจักร และ
อธิบายกลไกการทำงานภายในของธนาคารกลาง และ กระบวนการสร้างเงินตรา.
Seeds of Freedom charts the story of
seed from its roots at the heart of traditional, diversity rich farming systems
across the world, to being transformed into a powerful commodity, used to
monopolise the global food system.
“เมล็ดแห่งอิสรภาพ”:
แสดงผังเรื่องราวของเมล็ดจากรากของมันที่อยู่ใจกลางของระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมทั่วโลก
ที่รุ่มรวยด้วยความหลากหลาย, สู่การถูกแปรเป็นสินค้าที่ทรงพลัง,
ที่ถูกใช้เพื่อผูกขาดระบบอาหารของโลก.
The school has been around for more
than 200 years and is still considered the main form of access to education.
Today, the school and education are concepts widely discussed in academia,
public policy, educational institutions, media and civil society spaces. Since
its inception, the school has been characterized by structures and practices
that are now considered largely obsolete and outdated.
“การศึกษาต้องห้าม” : โรงเรียนมีอยู่มากว่า
๒๐๐ ปีแล้ว และ ก็ยังถือว่าเป็นรูปแบบหลักของการเข้าถึงการศึกษา. ทุกวันนี้, โรงเรียนและการศึกษา
เป็นกรอบคิดที่ถูกอภิปรายอย่างกว้างขวางในวงการวิชาการ, นโยบายสาธารณะ,
สถาบันการศึกษา, สื่อและประชาสังคม.
ตั้งแต่ก่อตั้งมา,
โรงเรียนได้ถูกตีกรอบโดยโครงสร้างและวิธีปฏิบัติที่ตอนนี้ ถือว่าส่วนใหญ่ตกรุ่นและล้าสมัยแล้ว.
“We Are Legion: The Story of the
Hacktivists” is a documentary that takes us inside the world of Anonymous, the
radical “hacktivist” collective that has redefined civil disobedience for the
digital age.
“เราเป็นกองทัพ: เรื่องราวของนักแฮ็ค”
เป็นสารคดีที่นำเราเข้าไปภายในโลกนิรนาม, กลุ่มหัวรุนแรง “นักแฮ็ค”
ที่ได้เปลี่ยนคำนิยามของอารยะขัดขืนสำหรับโลกยุค ดิจิตอล.
In the spring of 2005, Jim Miller, a
Native spiritual leader and Vietnam veteran, found himself in a dream riding on
horseback across the great plains of South Dakota. Just before he awoke, he
arrived at a riverbank in Minnesota and saw 38 of his Dakota ancestors hanged.
At the time, Jim knew nothing of the largest mass execution in United States
history, ordered by Abraham Lincoln
“ดาโกต้า 38”: ในฤดูใบไม้ผลิปี
๒๕๔๘, จิม มิลเลอร์,
ผู้นำทางจิตวิญญาณชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมและเป็นทหารผ่านศึกเวียดนาม,
พบตนเองขี่บนหลังม้าในห้วงฝันครั้งหนึ่ง เขาท่องไปทั่วแดนที่ราบกว้างอันยิ่งใหญ่ของ
เซาท์ดาโกตา. ก่อนที่เขาจะตื่น,
เขาได้มาถึงฝั่งแม่น้ำในมินเนโซตา และ เห็นบรรพบุรุษดาโกตาของเขา ๓๘
คนถูกแขวนคอ. ในขณะนั้น,
จิมไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ,
ซึ่งเป็นคำสั่งของ อับราฮัม ลินคอล์น.
The OFFICIAL TRAILER for 2012
Sundance Award-Winning film "Chasing Ice," opening in theaters
starting November 2012. In the spring of 2005, National Geographic photographer
James Balog headed to the Arctic on a tricky assignment: to capture images to
help tell the story of the Earth's changing climate.
นี่เป็นริ้วเสี้ยวตัวอย่างเพื่อแนะนำภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ เรื่อง
“ไล่ตามน้ำแข็ง” ที่ได้รับรางวัล ซันแดนซ์ ปี ๒๕๕๕, ซึ่งเปิดโรง
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕. ในฤดูใบไม้ผลิ
๒๕๔๘, ช่างภาพของ National Geographic
เจมส์ บาล็อค มุ่งสู่ขั้วโลกเหนือหลังจากได้รับมอบหมายงานที่ไม่ธรรมดา: ให้เก็บภาพเพื่อช่วยเล่าเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลก.
Everyone is talking about the Mayan
Prophecies of 2012. But who is listening to the Maya? This
groundbreaking film brings us the voices of the Mayan people as they share
their perspectives on the prophecies of their ancestors and their fight to
defend Mother Earth and their culture from destruction. 2012 The
Mayan Word is both a message of hope and a call to action.
“2012: คำมายัน”: ทุกคนพูดถึงคำพยากรณ์มายัน ปี
๒๕๕๕. แต่ใครเล่าที่ฟังชาวมายา? ภาพยนตร์เรื่องนี้ นำเสนอเสียงของชนชาวมายัน
ที่แบ่งปันมุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับคำพยากรณ์ของบรรพบุรุษของพวกเขา และ
การต่อสู้ของพวกเขา เพื่อปกป้องโลกามาตา และ
วัฒนธรรมของพวกเขาให้พ้นจากการทำลายล้าง.
โลกมายัน 2012 เป็นทั้งสาส์นแห่งความหวังและเสียงเพรียกให้ปฏิบัติการ.
A free online documentary created by
The Venus Project, which examines the root causes of the systemic value
disorders and detrimental symptoms caused by our current established system.
“สวรรค์ หรือ การไม่ได้ผุดเกิด” เป็นสารคดีฟรีออนไลน์
ที่สรรค์สร้างโดย โครงการวีนัส,
ที่ชำแหละรากเหง้าของความปั่นป่วนของค่านิยมที่ฝังตัวอยู่ในโครงสร้าง และ
อาการเสื่อมโทรมที่เกิดจากระบบของเราปัจจุบัน.
Education For a Sustainable Future
presents information on how today's practices in schools are socially
unsustainable. The documentary film critically analyzes what is considered
socially relevant in a new education system which brings out the most potential
in all of humanity whilst also detailing specific educational methods from a
wide range of sources
“การศึกษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”
นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในโรงเรียนปัจจุบันว่า
ไม่ยั่งยืนทางสังคมอย่างไร. สารคดีชุดนี้
วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ถึงสิ่งที่นับว่ายังมีความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระบบการศึกษาใหม่
ที่หล่อเลี้ยงศักยภาพส่วนใหญ่ของมนุษยชาติทั้งหมด
ในขณะที่ยังให้รายละเอียดของวิธีการเฉพาะของการศึกษา จากหลากหลายแหล่ง.
The Superior human? is the first
documentary to systematically challenge the common human belief that humans are
superior to other life forms. The documentary reveals the absurdity of this
belief while exploding human bias.
“มนุษย์ที่เหนือกว่า?”
เป็นภาพยนตร์สารคดีชุดแรกที่ท้าทายอย่างเป็นระบบต่อความเชื่อร่วมของมนุษย์
ที่ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เหนือว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ. สารคดีเรื่องนี้เผยความเหลวไหลไร้สาระของความเชื่อนี้
ในขณะที่ถล่มทะลายอคติของมนุษย์.
Occupied Cascadia is a documentary
film both journalistic and expressionistic. Exploring the emerging
understanding of bioregionalism within the lands and waters of the Northeast
Pacific Rim, the filmmakers interweave intimate landscape portraits with human
voices both ideological and indigenous.
“ยึดครอง คาสคาเดีย”
เป็นภาพยนตร์สารคดีทั้งในเชิงวารสารศาสตร์และการแสดงออก. ด้วยการสำรวจความเข้าใจที่กำลังผุดขึ้นมาเกี่ยวกับ
สภาวะชีวภูมิภาค
ภายในแผ่นดินและผืนน้ำของแถบรอบมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออกเฉียงเหนือ,
ผู้ถ่ายทำได้ถักทอภาพภูมิทัศน์ กับเสียงมนุษย์
ที่เป็นทั้งอุดมการณ์และเก่าแก่ดั้งเดิม.
"A gripping, deeply informative
account of the plunder, hypocrisy, and mass violence of plutocracy and empire;
insightful, historically grounded and highly relevant to the events of
today." - Michael Parenti
“หลักการอำนาจ: จักรวรรดิบรรษัท และ
อรุณรุ่งของรัฐความมั่นคงแห่งชาติ”:
“นี่เป็นการเล่าเรื่องที่เต็มไปด้วยข้อมูลระดับลึก
และ ถึงใจ เกี่ยวกับการล้างผลาญ, ความหลอกลวง/ปากว่าตาขยิบ, และ
ความรุนแรงมหาศาลของระบอบการปกครองด้วยคนมั่งมีและจักรวรรดิ์; เป็นเรื่องเรืองปัญญา, ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันได้ และ
ยังสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในโลกทุกวันนี้อย่างยิ่ง”. –ไมเคิล พาเรนติ
Edible City, a 60 minute documentary
film, tells the stories of the pioneers who are digging their hands into the
dirt, working to transform their communities and do something truly
revolutionary: grow local Good Food Systems that are socially just,
environmentally sound, economically viable and resilient to climate change and
market collapse.
“เมืองกินได้: ปลูกปฏิวัติ”: เป็นภาพยนตร์สารคดี ๖๐ นาที,
ที่เล่าเรื่องราวของนักบุกเบิกต่างๆ ผู้ขุดดินด้วยมือเปล่าของพวกเขา,
ที่ทำงานเพื่อพลิกโฉมชุมชนของพวกเขา และ ทำบางอย่างที่เป็นการปฏิวัติอย่างแท้จริง: ปลูกระบบอาหารที่ดีในท้องถิ่น ที่มีความเป็นธรรมเชิงสังคม,
เหมาะสมเชิงสิ่งแวดล้อม, ใช้การได้เชิงเศรษฐกิจ และ
ยืดหยุ่นต่อภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง และ การล่มสลายของตลาด.
America is in the grip of a societal
economic panic. Lawmakers cry “We’re Broke!” as they slash budgets, lay off
schoolteachers, police, and firefighters, crumbling our country’s social fabric
and leaving many Americans.
“พวกเราไม่ได้ถังแตก”:
อเมริกาจดจ่ออยู่กับภาวะขวัญเสียทางสังคมเศรษฐกิจ. ฝ่ายนิติบัญญัติป่าวร้อง “พวกเราถังแตกแล้ว!” ในขณะที่พวกเขาตัดเฉือนงบ, ลอยแพครู, ตำรวจ, และนักดับเพลิง,
ทำให้สายใยสังคมของประเทศของเราล่มสลาย และทอดทิ้งชาวอเมริกันมากมาย.
An investigation into BP’s 2010 Gulf
of Mexico oil spill. “The film’s scope is staggering, including its detailed
outlining of BP’s origins and fingerprints across decades of unrest in
Iran. By doing smart, covert reporting that shames our news media, by
interviewing uncensored journalists, by speaking with locals whose health has
been destroyed,
“การแก้ไขครั้งใหญ่”:
เป็นสารคดีสอบสวนเจาะกรณีน้ำมันทะลักของ บีพี ในอ่าวเม็กซิโก. “ขอบข่ายของภาพยนตร์เรื่องนี้สูงเป็นพะเนิน,
รวมทั้งการให้เค้าโครงเรื่องอย่างละเอียดถึงแหล่งกำเนิดของ บีพี และ
รอยนิ้วมือมากมายเปื้อนอยู่บนความไม่สงบในอิหร่านตลอดหลายทศวรรษ. ด้วยการทำงานอย่างชาญฉลาด, แอบซุ่มรายงานชนิดที่สื่อข่าวของเราต้องอาย,
ด้วยการสัมภาษณ์นักสื่อข่าวที่ไม่ถูกเซ็นเซอร์,
ด้วยการพูดกับคนในท้องถิ่นที่สุขภาพของพวกเขาถูกทำลาย,
In Transition 2.0 is an
inspirational immersion in the Transition movement, gathering stories from
around the world of ordinary people doing extraordinary things. You’ll hear
about communities printing their own money, growing food everywhere, localizing their economies and setting up community power
stations
“ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 2.0” (ริ้วเสี้ยวตัวอย่าง) เป็นการดำดิ่งที่บันดาลใจในการขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่าน,
ด้วยการรวบรวมเรื่องราวของคนธรรมดาๆ ที่ทำเรื่องเหนือธรรมดาจากทั่วโลก.
ท่านจะได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับการพิมพ์เงิน/เบี้ยของตนเอง,
ปลูกอาหารทุกแห่งหน, สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น และ จัดตั้งสถานีพลังงานชุมชน.
In celebration and exploration of
all things green, two bicyclists are on a year-long journey around the United
States to share what they've learned about sustainable communities. They’ve
traveled more than 6,000 miles to visit and film 100 sustainable communities of
all types, working to capture in film the abundance of community-oriented
solutions out there that are already working.
“แค่เอื้อม” (ริ้วเสี้ยวตัวอย่าง) : ในการเฉลิมฉลองและสำรวจสิ่งสีเขียวทั้งหมด, นักขี่จักรยานสองคน
ได้ออกเดินทางรอบสหรัฐฯ เป็นเวลาหนึ่งปี
เพื่อแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนยั่งยืน. พวกเขาได้เดินทางกว่า ๖,๐๐๐ ไมล์
เพื่อเยี่ยมเยียนและถ่ายภาพยนตร์ ๑๐๐ ชุมชนที่ยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ, ด้วยการบันทึกทางออกที่ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
ที่มีอยู่มากล้นอยู่ข้างนอกโน่น ที่กำลังทำงานอยู่แล้ว.
REAL ESTATE 4 RAN$OM outlines a
genuine alternative to the global property speculation that forced so many into
debt. Doubling the pressure, the tax game has become just that, with tax havens
a favored option for the wealthy. The result - we are taxing the wrong things,
causing more problems whilst bankrupting once proud economies.
“อสังหาริมทรัพย์ เพื่อเรียกค่าไถ่”: แสดงเค้าโครงของทางเลือกที่แท้จริง
เกี่ยวกับการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ของโลก
ที่ได้บังคับให้คนมากมายตกหล่มหนี้.
ด้วยการเพิ่มแรงกดดันเท่าตัว, เกมภาษีได้กลายเป็นเรื่องเช่นนั้น, โดยการพักภาษีเป็นทางเลือกที่เข้าข้างคนรวย. ผลคือ—เรากำลังเก็บภาษีผิดที่, สร้างปัญหามากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ทำให้เศรษฐกิจที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ภาคภูมิใจ ล้มละลาย.
From "Sabine": Here is the
formal statement I gave to Federal Police on 16 June 2012: On a
trip to visit family in Seoul in April, I was approached by a man and a woman
who claimed to be North Korean defectors. They presented me with a DVD that
recently came into their possession and asked me to translate it.
“โฆษณาชวนเชื่อ”: จาก “ซาบิเน”: นี่เป็นแถลงการณ์ทางการที่ฉันได้ให้กับกองตำรวจสหพันธรัฐ เมื่อวันที่ ๑๖
มิย ๒๕๕๕ : ในการเดินทางเพื่อเยือนครอบครัวในกรุงโซล
ในเดือนเมษายน, มีชายหนึ่งหญิงหนึ่งเดินเข้ามาหาฉัน และอ้างตัวว่าเป็นนักสืบเกาหลีเหนือ.
พวกเขายื่น ดีวีดี ตลับหนึ่ง
ซึ่งพวกเขาเพิ่งได้มา และ ขอให้ฉันช่วยแปล.
_______________________________________________________________
Finally, this list wouldn't be
complete without mentioning our favorite film about 2012. We think this
film perfectly captures the essence and spirit of the global (r)evolution,
featuring an amazingly inspiring section in the last half dedicated to the
brightest solutions and big ideas that are catalyzing the transition from this
paradigm to the next.
สุดท้าย,
รายชื่อนี้คงไม่สมบูรณ์หากไม่ได้เอ่ยถึงภาพยนตร์ที่โปรดปรานของพวกเรา เกี่ยวกับ
2012. เราคิดว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้
บันทึกได้อย่างดีเยี่ยม ถึงแก่นแท้และวิญญาณของ การวิวัฒนาการ (ปฏิวัติ) โลก,
ด้วยการนำเสนอส่วนที่มีแรงบันดาลใจอย่างน่ามหัศจรรย์ในครึ่งหลังของภาพยนตร์
ที่อุทิศให้กับทางออกที่บรรเจิดที่สุด และ ความคิดเห็นใหญ่โตต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านจากกระบวนทัศน์ปัจจุบันสู่กระบวนทัศน์ถัดไป.
“2012: Time for Change”
presents an optimistic alternative to apocalyptic doom and gloom. Directed by
Emmy Award nominee João Amorim, the film follows journalist Daniel Pinchbeck,
author of the bestselling 2012: The Return of Quetzalcoatl, on a quest
for a new paradigm that integrates the archaic wisdom of tribal cultures with
the scientific method.
“2012:
เวลาเพื่อการเปลี่ยนแปลง”: นำเสนอทางออกที่มองโลกในแง่ดี แทน ความพินาศมหาปะลัยและมืดมนสิ้นหวัง. ผู้อำนวยการสร้าง เป็นผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมี่
João Amorim, ภาพยนตร์
ติดตาม นักข่าว เดเนียล พินชเบ็ค, ผู้เขียนหนังสือขายดีที่สุด “2012: การกลับคืนมาของ Quetzalcoatl”, ซึ่งเป็นการแสวงหากระบวนทัศน์ใหม่ ที่ผสมผสานภูมิปัญญาเก่าคร่ำครึของวัฒนธรรมชนเผ่ากับวิธีการทางวิทยาศาสตร์.
For one eventful year, filmmaker
Emily James gains unprecedented access to document the work of a group of environmental
activists engaged in nonviolent direct-action campaigns across England.
Embedded in the activists' clandestine activities, she captures the triumph,
setbacks, secret planning sessions, and feverish passion of a group of
remarkable characters.
“ทำเลย: นิทานของนักแหกกฎหมายสมัยใหม่”:
เป็นเวลาหนึ่งปีที่เต็มไปด้วยเรื่องตื่นเต้น, นักสร้างภาพยนตร์ เอมิลี เจมส์
ได้เข้าถึงแหล่งที่ไม่เคยเปิดให้ใครเข้าไปได้มาก่อน
เพื่อบันทึกงานของกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
ที่ทำการรณรงค์ปฏิบัติการตรงแบบอหิงสา ทั่วอังกฤษ. ด้วยการฝังตัวอยู่กับกิจกรรมดังกล่าว,
เธอได้บันทึกเรื่องราวของชัยชนะ, พ่ายแพ้, การวางแผนลับ, และความคลั่งไคล้ของกลุ่มที่ประกอบไปด้วยคนพิเศษเหล่านี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น