วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

51. พลังธรรมะทวงคืนความสมดุลจากพลังอธรรม


Leading Intellectuals Call for 'Global Democracy' to Challenge Corporate Globalization
 - Common Dreams staff

ปัญญาชนแนวหน้า เรียกร้องเพื่อ “ประชาธิปไตยโลก” ท้าทายโลกาภิวัตน์บรรษัท
-คณะทำงาน Common Dreams


Well-known intellectuals from over ten countries, citing the failure of nation-states and international institutions to halt the destructive trends of environmental destruction and corporate-driven globalization, have initiated a 'Manifesto for Global Democracy' which calls for the development of a supranational institution of governance capable of adequately and rapidly addressing the challenges of the 21st century.
ปัญญาชนที่รู้จักกันดีจากกว่าสิบประเทศ อ้างถึงความล้มเหลวของรัฐชาติและสถาบันระหว่างประเทศในการหยุดแนวโน้มหายนะของโลกาภิวัตน์ที่ทำลายล้างสิ่งแวดล้อมและผลักดันโดยบรรษัท ได้ริเริ่ม “แถลงการณ์สำหรับประชาธิปไตยโลก” ที่เรียกร้องให้มีการพัฒนาสถาบันการปกครองที่เกี่ยวพันกับหลายๆ ชาติ ที่สามารถรับมือกับสิ่งท้าทายในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเพียงพอและรวดเร็ว

The document, signed by twenty-seven original signatories under the banner of Democracia Global, is being publicly unveiled on Wednesday in London with other international events to be held later in Rome, New York, Brussels, Buenos Aires and New Delhi.
เอกสารนี้ มีผู้ร่วมลงนาม 27 คน ภายใต้ป้าย ประชาธิปไตยโลก ถูกเปิดป้ายเมื่อวันพุธในกรุงลอนดอน ตามด้วยงานระหว่างประเทศต่อมา จัดในกรุงโรม นิวยอร์ก กรุงบรัสเซล  กรุงบัวโนสไอเรส และ กรุงนิวเดลฮี

Making the case that the institutional politics at the national and international level have proved unable to adequately regulate or challenge the power of multi-national corporations which operate across borders and without national loyalties, the manifesto argues that the “economy has been globalized but political institutions and democracy have not kept pace.”
ด้วยการตั้งกระทู้ว่า สถาบันการเมืองในระดับชาติและนานาชาติ ได้พิสูจน์ว่า ไม่สามารถควบคุมหรือท้าทายได้เพียงพอ ต่ออำนาจของบรรษัทสหชาติ ที่ดำเนินการข้ามพรมแดน และปราศจากความภักดีต่อชาติ  แถลงการณ์แย้งว่า “เศรษฐกิจได้ขยายครอบคลุมโลก แต่สถาบันการเมืองและประชาธิปไตย กลับตามไม่ทัน”

"The globalization of finance, production chains and communication systems, and the planetary power reached by destructive technologies, require the globalization of the political institutions responsible for their regulation and control, and the global crises require coherent and effective global solutions.”
“โลกาภิวัตน์ของการเงิน ห่วงโซ่การผลิต และระบบการสื่อสารคมนาคม และอำนาจครองแผ่นพิภพ ที่ใช้เทคโนโลยีทำลายล้าง ทำให้ต้องมีโลกาภิวัตน์สถาบันการเมืองที่รับผิดชอบต่อการกฎข้อบังคับและการควบคุม และวิกฤตโลกจำเป็นต้องมีทางออกระดับโลกที่มีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ”

Signed by Noam Chomsky, Dr. Vandana Shiva, Richard Falk, Susan George and other familiar academics and experts, the statement says that "global problems demand global solutions" and calls on "political, intellectual and civil-society leaders of the world" to join in their advocacy of its creation and actively participate in its constitution.
ผู้ลงนามมี Noam Chomsky, Dr. Vandana Shiva, Richard Falk, Susan George และนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่คุ้นเคย  แถลงการณ์กล่าวว่า “ปัญหาโลก เรียกร้องทางออกโลก” และเรียกร้องให้ “ผู้นำทางการเมือง ปัญญาชน และประชาสังคมของโลก” ให้ร่วมรณรงค์ให้ก่อตั้ง และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเขียนธรรมนูญด้วย”

*  *  *

The full text of the signed statement follows:
สาระเต็มของแถลงการณ์ที่ร่วมกันลงนาม:

MANIFESTO FOR A GLOBAL DEMOCRACY
แถลงการณ์เพื่อประชาธิปไตยโลก

Politics lags behind the facts. We live in an era of deep technological and economic change that has not been matched by a similar development of public institutions responsible for its regulation.  The economy has been globalized but political institutions and democracy have not kept pace. In spite of their many peculiarities, differences and limitations, the protests that are growing all over the world show an increasing discontent with the decision-making system, the existing forms of political representation and their lack of capacity for defending common goods. They express a demand for more and better democracy.
การเมืองอ่อนล้า วิ่งตามหลังข้อเท็จจริง   เราอาศัยอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจอย่างลึกล้ำ อย่างเทียบไม่ได้กับการพัฒนาของสถาบันสาธารณะที่รับผิดชอบการตั้งกฎเกณฑ์ควบคุมมันในแบบเดียวกัน    เศรษฐกิจได้กลายเป็นครอบคลุมทั่วโลก แต่สถาบันการเมืองและประชาธิปไตย ตามไม่ทัน  แม้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะ ความแตกต่างและข้อจำกัด การประท้วงที่ขยายตัวมากขึ้นทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น  ต่อระบบการตัดสินใจ รูปแบบที่มีอยู่ในการเลือกผู้แทนทางการเมือง และ ความไร้ความสามารถของระบบดังกล่าวในการปกป้องประโยชน์ร่วมสาธารณะ   พวกเขาแสดงออกเป็นการเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยที่มีสาระมากกว่า และดีกว่า

Global welfare and security are under threat. The national and international order that emerged from the end of World War II and the fall of the Berlin Wall has not been able to manage the great advances in technology and productive systems for the benefit of all humanity. On the contrary, we are witnessing the emergence of regressive and destructive processes resulting from the economic and financial crisis, increased social inequalities, climate change and nuclear proliferation. These phenomena have already affected negatively the lives of billions of human beings, and their continuance and mutual reinforcement menace the peace of the world and threaten the survival of human civilization.
สวัสดิภาพและความมั่นคงของโลกกำลังถูกคุกคาม   ระเบียบประเทศชาติและระหว่างประเทศที่อุบัติขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน ไม่สามารถจัดการกับความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในระบบเทคโนโลยีและการผลิต เพื่อผลประโยชน์ของมนุษยชาติทั้งมวล   ในทางตรงข้าม เรากำลังเป็นพยานรู้เห็น การอุบัติขึ้นของกระบวนการล่นถอยหลังและทำลายล้าง ที่เป็นผลของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน  ความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น  ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และการแผ่แสนยานุภาพอาวุธนิวเคลียร์   ปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อชีวิตของคนนับพันล้าน และความต่อเนื่อง และสนับสนุนกันและกัน ได้คุกคามสันติภาพของโลก และความอยู่รอดของอารยธรรมของมนุษย์

Global crises require global solutions. Within a social universe determined by globalization, the democratic capabilities of nation-states and international institutions are increasingly restricted by the development of powerful global processes, organizations and systems whose nature is not democratic. In recent years, the main national and international leaders of the world have been running behind global events. Their repeated failures show that occasional summits, intergovernmental treaties, international cooperation, the multilateral system and all the existing forms of global governance are insufficient. The globalization of finance, production chains and communication systems, and the planetary power reached by destructive technologies, require the globalization of the political institutions responsible for their regulation and control, and the global crises require coherent and effective global solutions. That’s why we call for the urgent creation of new global agencies specialized in sustainable, fair and stable development, disarmament and environmental protection, and the rapid implementation of forms of democratic global governance on all the issues that current intergovernmental summits are evidently incapable of solving.
วิกฤตโลก ต้องการทางแก้ไขระดับโลก   ภายในจักรวาลสังคมที่ถูกตัดสินโดยโลกาภิวัตน์  สมรรถนะประชาธิปไตยของสถาบันรัฐ-ชาติและนานาชาติ กำลังถูกจำกัดมากขึ้น โดยพัฒนาการของกระบวนการโลกที่ทรงอำนาจ อันเป็นองค์กรและระบบที่มีลักษณะไม่เป็นประชาธิปไตย    ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ผู้นำระดับชาติและนานาชาติสำคัญๆ ของโลก ได้วิ่งตามหลังเหตุการณ์ต่างๆ ในโลก   ความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าของพวกเขา แสดงให้เห็นว่า การประชุมสุดยอดเป็นครั้งคราว  สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล  ความร่วมมือระหว่างประเทศ  ระบบพหุภาคี และบรรดารูปแบบโลกาภิบาล ล้วนไม่เพียงพอ   โลกาภิวัตน์ของการเงิน ห่วงโซ่การผลิต และระบบการคมนาคมสื่อสาร และอำนาจครองแผ่นพิภพ ที่ใช้เทคโนโลยีทำลายล้าง ทำให้ต้องมีโลกาภิวัตน์สถาบันการเมืองที่รับผิดชอบต่อการกำหนดกฎข้อบังคับและการควบคุมรักษา   และวิกฤตโลกจำเป็นต้องมีทางแก้ไขระดับโลกที่มีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ   ด้วยเหตุนี้ พวกเราเรียกร้องให้มีการสรรค์สร้างอย่างเร่งด่วนให้มีหน่วยงานโลกใหม่ ที่มีความสามารถพิเศษในการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นธรรม และเสถียร  การลดอาวุธ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการของรูปแบบโลกาภิบาลประชาธิปไตยในทุกๆ ประเด็น ที่ปัจจุบัน การประชุมสุดยอดระหว่างประเทศไม่สามารถแก้ไข

We need to move forward to new, more extensive and deeper forms of democracy. The current model of technological-economic globalization must give way to a new one which puts these processes at the service of a fairer, more peaceful and more humane world. We need a new paradigm of development which has to be sustainable on a global basis and which benefits the poorest of humanity. In order to avoid the deepening of global crises and to find viable solutions to the challenges posed by globalization we must move forward to more extensive and deeper forms of democracy. The existing national-state organizations have to be part of a wider and much better coordinated structure, which involves democratic regional institutions on all the continents, the reform of the International Court of Justice, a fairer and more balanced International Criminal Court and a United Nations Parliamentary Assembly as the embryo of a future World Parliament. Yet, this institutional change will not be successful if it only accrues from the actions of a self-appointed elite. On the contrary, it must come from a socio-political process open to all human beings, with the goal of a creating a participative global democracy.
เราจำเป็นต้องเดินหน้าสู่รูปแบบประชาธิปไตยที่ใหม่ ครอบคลุมกว้างขวางกว่า และลึกล้ำกว่า   โมเดลโลกาภิวัตน์ทางเทคโนโลยี-เศรษฐกิจ ปัจจุบัน จะต้องหลีกทางให้รูปแบบใหม่ ที่จะจัดวางกระบวนการเหล่านี้ ให้ทำหน้าที่บริการต่อโลกที่เป็นธรรมกว่า มีสันติมากกว่า และมีมนุษยธรรมมากกว่า    เราต้องการกระบวนทัศน์ของการพัฒนาใหม่ ที่มีความยั่งยืนในพื้นฐานของโลก และที่ให้ประโยชน์แก่มนุษยชาติที่ยากจนที่สุด   เพื่อหลีกเลี่ยง การทำให้วิกฤตโลกจมลึกไปกว่านี้ และเพื่อหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้ ต่อการท้าทายที่โลกาภิวัตน์นำมา พวกเราจะต้องเดินหน้า สู่รูปแบบประชาธิปไตยที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น และลึกล้ำกว่า    องค์กรรัฐ-ชาติที่มีอยู่ จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างประสานถักทอที่กว้างขวางกว่า และดีกว่า ที่รวมสถาบันภูมิภาคที่เป็นประชาธิปไตย ในทวีปทั้งหมด   การปฏิรูประบบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศที่เป็นธรรมกว่า และมีความสมดุลกว่า และสมัชชาสภาผู้แทนสหประชาชาติ ในฐานะเป็นระยะเริ่มแรก/ตัวอ่อน ของสภาผู้แทนของโลกในอนาคต    แต่ การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันนี้ จะไม่ประสบความสำเร็จ หากมันเพียงแต่พอกพูนจากปฏิบัติการของกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่แต่งตั้งตัวเอง   ในทางตรงข้าม  มันจะต้องมาจากกระบวนการสังคม-การเมือง ที่เปิดกว้างสำหรับมนุษย์ทั้งปวง ด้วยเป้าหมายของการสรรสร้างประชาธิปไตยที่ทั่วโลกมีส่วนร่วม

Globalizing democracy is the only way to democratize globalization. Beyond our differences about the contents and appropriate methods to move towards a fairer and more stable world order, we the signatories share a strong commitment to the development of a global democracy. On behalf of Peace, Justice and Human Rights we do not want to be governed at the world level by those who have only been elected to do so at the national one, neither do we wish to be governed by international organizations which do not represent us adequately. That is why we work for the development of supranational political spaces and for regional, international and global institutions that live up to the challenges of the twenty-first century; institutions that express the different viewpoints and defend the common interests of the seven billion people who shape humankind today.
โลกาภิวัตน์ประชาธิปไตย เป็นทางเดียวที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยทั่วโลก   เหนือกว่าความแปลกแยกในสาระและวิธีการที่เหมาะสม เพื่อเดินไปข้างหน้าสู่ระเบียบโลกที่เป็นธรรมกว่า และมีเสถียรภาพมากกว่า  พวกเราที่ลงนามข้างท้ายนี้ มีความปณิธานแรงกล้าร่วมกันในการพัฒนาประชาธิปไตยโลก   ในนามของสันติภาพ  ความยุติธรรม  และสิทธิมนุษยชน  พวกเราไม่ต้องการถูกปกครองในระดับโลกโดยพวกที่ถูกเลือกให้กระทำเช่นนั้นในระดับชาติ และก็ไม่ต้องการจะถูกปกครองโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่เป็นตัวแทนของพวกเราได้เพียงพอ    นั่นเป็นสาเหตุที่พวกเราทำงานเพื่อพัฒนา พื้นที่การเมืองที่เกี่ยวพันกับหลายๆ ชาติ และสำหรับสถาบันภาคพื้น ระหว่างชาติ และโลก ที่สามารถยืนหยัดรับมือกับความท้าทายของศตวรรษที่ ๒๑   สถาบันที่แสดงออกถึงความแตกต่างทางมุมมอง และปกป้องผลประโยชน์ร่วมของประชาชน เจ็ดพันล้านคน ผู้ปรุงปรับรูปแบบของมนุษยชาติปัจจุบัน
                                                                                                                                           
We ask every human being to participate in the constitution of a global democracy. We share the appeal to “unite for global change” and for “real democracy” with the world social movements. Both postulates express the growing rejection of being governed by political and economic powers on which we have no influence. Autonomy and self-determination are not only valid at the local and national level. That’s why we champion the principle of the right to participate in the making of fundamental global decisions that directly affect our lives. We want to be citizens of the world and not its mere inhabitants. Therefore we demand not just a local and national democracy, but also a global democracy, and we commit to work for its development and call on all the political, intellectual and civil-society leaders of the world, all the democratic organizations, parties and movements, and all persons of democratic persuasion on the planet to actively participate in its constitution.
เราขอให้มนุษย์ทุกคน เข้าร่วมในการก่อตั้งประชาธิปไตยโลก   เราร่วมกันอุทธรณ์ให้ “สามัคคีกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก” และเพื่อ “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” ด้วยการขับเคลื่อนทางสังคมระดับโลก   สมมติฐานทั้งสอง แสดงออกถึงการปฏิเสธที่ขยายมากขึ้น ต่อการถูกปกครองโดยอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่พวกเราไม่มีอิทธิพลใดๆ    ความเป็นเอกเทศ และตัดสินชะตากรรมตนเอง มีเหตุผลและถูกต้องไม่เพียงแต่ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ   นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมพวกเราจึงเป็นแชมเปี้ยนในหลักการของสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจโลกขั้นพื้นฐาน ที่มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเราโดยตรง   พวกเราต้องการเป็นพลเมืองของโลก และไม่ใช่เป็นเพียงผู้อยู่อาศัย   ดังนั้น พวกเราเรียกร้องไม่เพียงแต่ประชาธิปไตยท้องถิ่นและชาติ แต่ประชาธิปไตยโลก   และพวกเรามุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนาการนี้ และเรียกร้องให้ ผู้นำของโลกทั้งหมดทั้งด้านการเมือง ปัญญา และประชาสังคม  องค์กรประชาธิปไตย  พรรคและขบวนการ ทั้งหมด และทุกผู้ทุกนามที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตยในผืนพิภพนี้ ให้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการก่อสร้างนี้

Published on Wednesday, June 27, 2012 by Common Dreams

ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น