At the Crossroads Between the 'Green Economy' and Rights of
Nature
by Pablo Solón
จุดตัดระหว่าง “เศรษฐกิจเขียว”
และ “สิทธิธรรมชาติ”
-
พาบโล โซลอน
Almost one thousand dolphins are lying dead on the beach.
Another five thousand pelicans have also been found dead. What is the cause of
this massacre? There are different explanations. Some argue that it was the
offshore oil exploration while others say that these birds are dying because
anchovy, their main food, has disappeared as a result of the sudden heating of
coastal waters due to climate change.
โลมาเกือบหนึ่งพันตัวนอนตายบนชายหาด นกกระทุงอีกห้าพันตัวก็ถูกพบว่าตายหมู่ อะไรเป็นสาเหตุของการสังหารหมู่เช่นนี้? คำอธิบายมีมากมาย บ้างเถียงว่า
เป็นเพราะการสำรวจแหล่งน้ำมันกลางทะเล ในขณะที่คนอื่นๆ บอกว่า
นกเหล่านี้ตายเพราะปลาแอนโชวี ซึ่งเป็นอาหารหลักของมัน ได้สูญหายไป
เพราะน้ำชายฝั่งร้อนขึ้นกะทันหัน เพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
(Image courtesy of the
Transnational Institute / tni.org)
Whatever the explanation, the fact is that during the past
months, the coasts off Peru have become the silent witness of what the
capitalist system is doing to Nature.
ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร
ความจริงคือ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ชายฝั่งของเปรูได้กลายเป็นพยานเงียบๆ
ต่อสิ่งที่ระบบทุนนิยม กำลังกระทำต่อธรรมชาติ
In the period from 1970 to 2008, the Earth System has lost
30% of its biodiversity. In tropical areas, the loss has even been as high as
60%. This is not happening by accident. This is the result of an economic
system that treats nature as a thing, as just a source of resources. For
capitalists, nature is mainly an object to possess, exploit, transform and
especially to profit from.
ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1970
ถึง 2008
ระบบพิภพได้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปถึง
30%
ในเขตศูนย์สูตร การสูญเสียนี้สูงถึง 60% นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุ
นี่เป็นผลของระบบเศรษฐกิจที่กระทำต่อธรรมชาติประหนึ่งสิ่งของ เป็นเพียงแหล่งทรัพยากร สำหรับนายทุน ธรรมชาติเป็นเพียงวัตถุเพื่อครอบครอง
เพื่อขูดรีด เพื่อแปรรูป
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อทำกำไร
Green economy is about cheating nature while making profit
out of it
เศรษฐกิจเขียว คือ
การโกงธรรมชาติในขณะที่ทำกำไรจากมัน
Humanity is at the edge of a cliff. Instead of recognizing
that nature is our home and that we must respect the rights of all members of
Earth’s community, transnational corporations are promoting more capitalism
under the misleading name of “green economy.”
มนุษยชาติกำลังยืนอยู่ที่ขอบหน้าผา แทนที่จะสำเหนียกว่า ธรรมชาติคือบ้านของเรา
และว่า เราต้องเคารพสิทธิ์ของสมาชิกทั้งมวลในชุมชนของผืนพิภพนี้
บรรษัทข้ามชาติกำลังส่งเสริมให้ขยายลัทธิทุนนิยมมากขึ้น
ภายใต้ชื่อที่บิดเบือน “เศรษฐกิจเขียว”
According to them, the mistake of capitalism that led us to
this current multiple crises is that the free market had not gone far enough.
And so with the “green economy,” capitalism is going to fully incorporate
nature as part of capital. They are
identifying specific functions of ecosystems and biodiversity that can be priced
and then brought into a global market as “Natural Capital.”
พวกเขาเห็นว่า
ความผิดพลาดของลัทธิทุนนิยมที่ได้นำให้พวกเราตกอยู่ในภาวะวิกฤตทบทวีนี้ คือ
ระบบตลาดเสรีไปไม่ไกลพอ ดังนั้น ด้วย “เศรษฐกิจเขียว”
ทุนนิยมจะทำการผนวกธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของทุนอย่างเต็มที่ พวกเขาได้ระบุกลไกการทำงานเฉพาะของระบบนิเวศ
และความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สามารถติดป้ายราคาได้
และสามารถจะนำเข้าสู่ตลาดโลกในฐานะ “ทุนธรรมชาติ”
We need to recognize that humans are part of Nature and that
Nature is not a thing to possess or a mere supplier of resources
เราจำเป็นต้องตระหนักว่า
มนุษย์ทั้งปวงเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และธรรมชาติไม่ใช่สิ่งของสำหรับครอบครอง
หรือเป็นเพียงผู้จัดหาทรัพยากร
In a report of EcosystemMarketplace.com, we can read a
brutally frank description of what they are after when they speak of Green
Economy:
ในรายงาน EcosystemMarketplace.com
เราสามารถจะอ่านบทบรรยายที่พูดตรงๆ แบบขวานผ่าซาก
ว่าพวกเขากำลังพุ่งเป้าไปที่อะไร เมื่อพวกเขาเอ่ยถึง เศรษฐกิจเขียว
“Given their enormous impact on our daily lives, it’s
astounding that we don’t pay more attention, or dollars, to ecosystem services.
Ecosystems provide trillions of dollars in clean water, flood protection,
fertile lands, clean air, pollination, disease control – to mention just a few.
These services are essential to maintaining livable conditions and are
delivered by the world’s largest utilities. Far larger in value and scale than
any electric, gas, or water utility could possibly dream of. And the
infrastructure, or hard assets, that generate these services are simply:
healthy ecosystems.
“ด้วยผลกระทบอันมหาศาลของพวกเขา
ต่อชีวิตประจำวันของพวกเรา
น่าประหลาดใจนักที่พวกเราไม่ได้ให้ความสนใจมากขึ้น
หรือให้มูลค่าเป็นดอลลาร์ แก่การบริการของระบบนิเวศ ระบบนิเวศได้ให้บริการคิดเป็นมูลค่า
ล้านล้านดอลลาร์ ในรูปน้ำสะอาด ป้องกันน้ำท่วม ผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ อากาศบริสุทธิ์ การผสมเกสร
การควบคุมโรค—นี่เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง การบริการเหล่านี้
มีความจำเป็นยิ่งยวดที่จะรักษาสภาวะให้ชีวิตดำรงอยู่ได้
และโลกเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุด
มูลค่าและขนาดนี้ยิ่งใหญ่กว่าหน่วยงานจ่ายไฟฟ้า แก๊ส หรือน้ำประปาใดๆ
จะฝันได้ และสาธารณูปโภค
หรือทรัพย์สินแก่นนี้ ที่สร้างการบริการเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายๆ: ระบบนิเวศที่มีสุขภาพแข็งแรง
So how do we secure this enormously valuable infrastructure
and its services? The same way we would electricity, potable water, or natural
gas. We pay for it.”
ดังนั้น ทำอย่างไร
เราถึงจะได้ระบบสาธารณูปโภคและการบริการที่มีค่ามหาศาลนี้เป็นของเราอย่างมั่นคง? ในทำนองเดียวกับที่เราทำกับไฟฟ้า น้ำประปา
หรือแก๊สธรรมชาติ เราจ่ายเพื่อให้ได้มันมา”
In simple terms, they will no longer just privatize material
goods that can be taken from nature, such as wood from a forest. Instead, they
want to go beyond that and privatize the functions and processes of nature,
label them environmental services, put a price on them and bring them into the
market. Already in the same report, they have estimated values for these
environmental services for the years 2014, 2020 and beyond.
พูดง่ายๆ พวกเขาจะไม่เพียงแต่เอาสิ่งของที่เป็นวัตถุ
ที่สกัดมาจากธรรมชาติ—เช่น ไม้ซุงจากป่า—ให้ตกอยู่ในความครอบครองของเอกชนอีกต่อไป พวกเขาต้องการจะไปไกลกว่านั้น
และจะทำให้กลไกและกระบวนการทำงานของธรรมชาติกลายเป็นทรัพย์สินเอกชน
ด้วยการติดป้ายให้เป็น การบริการสิ่งแวดล้อม
ติดราคา และนำมันเข้าสู่ตลาดซื้อ-ขาย
ในรายงานฉบับเดียวกัน
พวกเขาได้ประเมินมูลค่าสำหรับการบริการสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ สำหรับปี 2014,
2020 และต่อจากนั้น
To illustrate, look at the leading example of “green
economy,” the program called REDD (Reduction of Emissions from Deforestation
and Forest Degradation). REDD’s purpose is to isolate one function of forests,
their ability to capture and store carbon, and then measure how much CO2 it can
capture. Once they have estimated the value of the potential carbon storage of
the forest, carbon credits are issued and sold to rich countries and big
corporations who use them as offsets, to buy and sell polluting permits in the
carbon markets.
ยกตัวอย่าง
ขอให้มองไปที่ “เศรษฐกิจเขียว”
โปรแกมที่เรียกว่า REDD (Reduction of Emissions from Deforestation
and Forest Degradation การลดก๊าซที่ปล่อยจากการทำลายป่าและป่าเสื่อมโทรม) จุดประสงค์ของ REDD คือ แยกกลไกการทำงานหนึ่งของป่า
ความสามารถในการดักจับและเก็บสะสมคาร์บอน
และจับมาวัดว่ามันดักเก็บก๊าซ CO2 ได้มากเท่าไร
ทันทีที่พวกเขาสามารถประเมินมูลค่าของศักยภาพของป่าในการดักเก็บคาร์บอน
ก็จะตราเป็นราคา หรือคาร์บอนเครดิตและขายให้ประเทศที่ร่ำรวย และบรรษัทยักษ์ใหญ่ ที่จะใช้มันเป็นตัวชดใช้
เพื่อจะได้ซื้อและขายใบอนุญาตให้สร้างมลภาวะในตลาดคาร์บอน
The new commodities of the REDD market will be financial
papers or carbon credits, that will account for a certain amount of CO2 that a
forest has not decreased in it’s storage. For example, if Indonesia has a
deforestation rate of 1.700,000 hectares per year and then next year instead of
destroying this amount, they only deforest 1.500,000 hectares, they will be
able to sell in the REDD market, the carbon credits for the amount of CO2 that
is stored by the 200.000 hectares that was not deforested.
สินค้าใหม่ของตลาด REDD
จะอยู่ในรูปเอกสารการเงิน หรือคาร์บอนเครดิต
ที่จะรับผิดชอบว่า ป่าแห่งหนึ่งจะรักษาปริมาณ CO2 ตามสัญญา ไม่ให้ลดลง
ยกตัวอย่าง หากอินโดนีเซีย มีอัตราการทำลายป่า 1.700,000 เฮกเตอร์ต่อปี และในปีถัดมา แทนที่จะทำลายป่าในอัตรานี้ ก็ทำลายเพียง 1.500,000 เฮกเตอร์ พวกเขาก็จะสามารถขายใน
ตลาด REDD คือ คาร์บอนเครดิตสำหรับปริมาณ CO2 ที่กักเก็บในเนื้อที่ป่า 200.000
เฮกเตอร์ที่ไม่ถูกทำลาย
In essence, REDD provides a monetary incentive for not
deforesting. However, this incentive has a doubly perverse effect.
สรุป REDD ได้ให้แรงจูงใจในรูปเม็ดเงิน เพื่อไม่ให้ทำลายป่า แต่แรงจูงใจนี้ได้ส่งผลตรงข้ามเป็นสองเท่า
First, the company of a country that buys those carbon
credits will be able to keep polluting and releasing to the atmosphere that
amount of CO2 they paid for. In other words, carbon credits are polluting
permits for the rich.
ประการแรก
บริษัทของประเทศหนึ่งที่ซื้อคาร์บอนเครดิตไป จะสามารถสร้างมลภาวะได้ต่อไป และปล่อย
CO2 สู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่พวกเขาได้จ่ายเงินไปแล้ว นั่นคือ คาร์บอนเครดิต ก็คือใบอนุญาตให้คนรวยสร้างมลภาวะได้ต่อไป
Why should we only respect the laws of human beings and not
those of nature?
ทำไมเราควรเคารพเพียงกฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น
และไม่เคารพกฎธรรมชาติ?
Second, only countries that reduce their deforestation will
be able to put carbon credits in the REDD market. So if a region doesn’t have
deforestation, and has always preserved its forest, they will not be able to
sell any carbon credits from reduction of deforestation. So what is happening
now, for example, in some parts of Brazil, is that in order to be prepared for
REDD, trees are being cut with the purpose of increasing the deforestation, so
that, tomorrow, the reduction of the “deforestation” will be higher and the
amount of carbon credits that can go into the market will be bigger.
ประการที่สอง ประเทศที่ลดการทำลายป่าเท่านั้น
ที่สามารถจะเร่ขายคาร์บอนเครดิตในตลาด REDD ดังนั้น หากภูมิภาคใดไม่มีการทำลายป่า และได้อนุรักษ์ป่ามาโดยตลอด
พวกเขาจะไม่สามารถขายคาร์บอนเครดิตจากการลดการทำลายป่า ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ เช่น
ในบางส่วนของบราซิล กำลังถูกสั่งให้เตรียมตัวสำหรับ REDD
มีการโค่นต้นไม้ด้วยจุดประสงค์ของการเพิ่มการทำลายป่า เพื่อว่า พรุ่งนี้ ปริมาณทำลายป่าที่ลดลง
จะมีสถิติสูงขึ้น และมูลค่าของคาร์บอนเครดิตที่จะเร่ขายในตลาดได้ ก็จะมีค่ามากขึ้น
The whole system is about cheating nature while making
profit from it.
ระบบโดยรวม
เป็นเรื่องของการโกงธรรมชาติในขณะที่ทำกำไรจากมัน
This is just one face of “green economy” for forests.
Imagine what will happen if and when the same logic is applied to biodiversity,
water, soil, agriculture, oceans, fishery and so on. Add to this the proposal
to perform geo-engineering and other new technologies in order to further the
exploitation, tampering and disruption of nature.
นี่เป็นเพียงหน้าด้านหนึ่งของ
“เศรษฐกิจเขียว” สำหรับป่าไม้ ลองจินตนาการดู
อะไรจะเกิดขึ้นหากและเมื่อตรรกะแนวเดียวกันถูกนำมาใช้กับความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำ
ดิน เกษตร มหาสมุทร
การประมง ฯลฯ เพิ่มในรายการนี้ คือ
โครงการวิศวธรณี และเทคโนโลยีใหม่ๆ อื่นๆ เพื่อการสกัด ขูดรีด แทรกแซง
ขัดขวางธรรมชาติ
This will open the door to the development of a new
speculative market.
การกระทำเช่นนี้
จะเป็นการเปิดประตูให้เกิดการพัฒนาตลาดเก็งกำไรแบบใหม่
This will allow some banks, corporations, brokers and
intermediaries to make a lot of profit for a number of years until their
financial bubble explodes as can be seen with past speculative markets. More
importantly, though, this market also has a real deadline, because there are
limits to exploiting the Earth system: passing those limits means devastating
our home.
นี่จะยอมให้บางธนาคาร
บริษัท นายหน้า และคนกลางต่างๆ เข้ามาทำกำไรมหาศาลได้หลายปี
จนกระทั่งฟองอากาศการเงินระเบิด
อย่างที่เราได้เห็นมาแล้วในตลาดเก็งกำไรในอดีต
ที่สำคัญกว่านั้น ตลาดนี้มีวันตายที่แน่นอน
เพราะมีขอบเขตจำกัดในการขูดรีดระบบพิภพ:
เมื่อไรที่ก้าวข้ามขอบเขตจำกัดนี้ ย่อมหมายถึงความหายนะสู่บ้านของพวกเรา
In order to promote such an assault on nature, the
capitalists have first labeled their greed economy as “green economy.” Second,
they have promoted the view that because of multiple global crises, cash
strapped governments do not have the public money to take care of Nature and
that the only way to get the billions of dollars needed for the preservation of
water, forests, biodiversity, agriculture and others is through private
investment.
เพื่อส่งเสริมการโจมตีธรรมชาติเช่นนี้ ขั้นแรก
นายทุนได้ติดป้ายให้เศรษฐกิจโลภของพวกเขา เป็น “เศรษฐกิจเขียว” ขั้นที่สอง พวกเขาส่งเสริมมุมมองที่ว่า
เพราะวิกฤตโลกได้ทวีคูณ รัฐบาลยากจนลง ไม่มีเงินสาธารณะใช้ดูแลธรรมชาติ และว่า
ทางเดียวที่จะได้เงินนับพันล้านดอลลาร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษาน้ำ ป่า
ความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตร และอื่นๆ คือ การลงทุนจากภาคเอกชน (ธุรกิจ)
The future of Nature relies on the private sector, but the
private sector will not invest the billions of dollars that they accumulated by
exploiting labor and nature’s wealth, without incentives. And so, governments
need to offer them this new business of making profit from the processes and
functions of nature.
อนาคตของธรรมชาติ
ขึ้นอยู่กับภาคเอกชน (ธุรกิจ) แต่ภาคเอกชนจะไม่ยอมลงทุนนับพันล้านเหรียญ
ที่พวกเขาได้สะสมมาตลอดด้วยการขูดรีดแรงงานและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
โดยปราศจากแรงจูงใจ ดังนั้น
รัฐบาลจำเป็นต้องเสนอทางเลือกใหม่นี้ ให้เป็นธุรกิจใหม่ที่พวกเขาจะทำกำไรได้
จากกระบวนการและกลไกการทำงานของธรรมชาติ
Most promoters of “green economy” are very straightforward
on this: if there is no pricing of some functions of nature, new market
mechanisms and guarantees for their profit … the private sector will not invest
in ecosystem services and biodiversity.
นักส่งเสริม “เศรษฐกิจเขียว”
ส่วนใหญ่ ล้วนไม่อ้อมค้อมในประเด็นนี้:
หากไม่มีการติดราคาสำหรับกลไกการทำงานของธรรมชาติ ไม่มีกลไกตลาดใหม่
และไม่มีการประกันกำไรของพวกเขา...ภาคเอกชนก็จะไม่มาลงทุนในการบริการของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
“We cannot command nature except by obeying her”
“เราไม่สามารถบัญชาธรรมชาติ
นอกจากเชื่อฟังท่าน”
The “green economy” will be absolutely destructive because
it is premised on the principle that the transfusion of the rules of market
will save nature. As the philosopher Francis Bacon has said, we cannot command
nature except by obeying her.
“เศรษฐกิจเขียว” จะมีแต่การบ่อนทำลายอย่างแน่นอน
เพราะมันตั้งอยู่บนสมมติฐานของหลักการที่ว่า
การถ่ายเลือดจากตลาดจะรักษาธรรมชาติให้รอดได้
ดังที่นักปรัชญา ฟรานซิส เบคอน ได้กล่าวไว้ “เราไม่สามารถบัญชาธรรมชาติ นอกจากเชื่อฟังท่าน”
Instead of putting a price on Nature, we need to recognize
that humans are part of Nature and that Nature is not a thing to possess or a
mere supplier of resources. The Earth is a living system, it is our home and it
is a community of interdependent beings and parts of one whole system.
แทนที่จะติดป้ายราคาให้ธรรมชาติ
เราจำเป็นต้องตระหนักว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และธรรมชาติ
ไม่ใช่สิ่งของที่ใครจะครอบครอง หรือเป็นเพียงผู้จัดหาทรัพยากร ผืนพิภพเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นบ้านของเรา
และเป็นชุมชนแห่งชีวิตที่พึ่งพิงอิงอาศัยกัน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์รวมหนึ่งทั้งหมด
Nature has its own rules that govern its integrity,
interrelationships, reproduction and transformation and these rules have worked
for millions of years. States and society must respect and assure that rules of
nature prevail and are not disrupted. This means we need to recognize that our
Mother Earth has also rights.
ธรรมชาติมีกฎของตัวเองในการปกครองความสมบูรณ์
ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน การผลิตซ้ำ และการแปรเปลี่ยน และกฎเหล่านี้
ก็ทำงานมาเป็นเวลานับล้านๆ ปี
รัฐและสังคมจะต้องเคารพ และประกันให้กฎธรรมชาติเหล่านี้ ยืนยงต่อไป
และไม่เข้าไปขัดขวาง นั่นคือ เราจำเป็นต้องตระหนักว่า
พระแม่ธรณีของเรา ก็มีสิทธิ์เหมือนกัน
Scientists have been telling us that we are all part of an
Earth System that includes the atmosphere, the biosphere, the lithosphere, and
the hydrosphere. We humans are just one element of the biosphere. So why would
it be that only we humans have rights and all the rest are just materials for
human life?
นักวิทยาศาสตร์
ได้เพียรบอกพวกเราว่า พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบพิภพ ที่รวมถึงบรรยากาศโดยรอบ
พื้นผิวโลกและบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เปลือกโลก และส่วนที่เป็นน่านน้ำ เราเหล่ามนุษย์ เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของพื้นผิวโลกและบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แล้วไฉนเราเหล่ามนุษย์จึงมีสิทธิ์
และส่วนอื่นๆ ทั้งหมด เป็นเพียงวัตถุสำหรับสนองชีวิตมนุษย์?
To speak of equilibrium in our Earth system is to speak of
rights for all parts of the system. These rights are not identical for all
beings or parts of the Earth System, since not all the elements are identical.
But to think that only humans should enjoy privileges while other living things
are simply objects is the worst mistake.
พูดถึงความสมดุลในระบบพิภพของเรา
คือ การพูดถึงสิทธิของทุกส่วนทั้งหมดของระบบ
สิทธิเหล่านี้ ไม่เหมือนกันสำหรับชีวิตทั้งหมด หรือส่วนต่างๆ ของระบบพิภพ
เนื่องจากองค์ประกอบทั้งหมดไม่ได้เหมือนกัน
แต่การคิดว่า เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น ที่ควรมีอภิสิทธิ์
ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นเพียงผู้ถูกกระทำ เป็นความผิดพลาดที่แย่ที่สุด
"Nature cannot be submitted to the wills of markets or
a laboratory."
“ธรรมชาติไม่สามารถสยบกดหัวให้สนองแรงปรารถนาของตลาดหรือห้องทดลอง”
Why should we only respect the laws of human beings and not
those of nature? Why do we call the person who kills his neighbor a criminal,
but not he who extinguishes a species or contaminates a river? Why do we judge
the life of human beings with parameters different from those that guide the
life of the system as a whole if all of us, absolutely all of us, rely on the
life of the Earth System?
ทำไมเราควรเคารพแต่กฎหมายของมนุษย์
และไม่เคารพกฎธรรมชาติ? ทำไมเราเรียกคนที่ฆ่าเพื่อนบ้านว่าเป็นอาชญากร
แต่ไม่เรียกคนที่บดบี้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตจนสาบสูญ หรือทำให้แม่น้ำปนเปื้อน?
ทำไมเราตัดสินชีวิตของมนุษย์ด้วยมาตรฐานต่างจากสิ่งนำพาชีวิตต่างๆ
ในระบบอย่างเป็นองค์รวม พวกเราทั้งหมด
ต้องพึ่งชีวิตของระบบพิภพ?
There is a contradiction in recognizing only rights of
humans while all the rest of the Earth system is reduced to a business
opportunity in the “green economy.”
มีความขัดแย้งในการยอมรับเพียงสิทธิของมนุษย์
ในขณะที่สิทธิของชีวิตที่เหลือในระบบพิภพถูกลดทอนให้เป็นเพียงโอกาสทางธุรกิจใน “เศรษฐกิจเขียว”
Decades ago, to talk about slaves having the same rights as
everyone else seemed like the same heresy that it is now to talk about
glaciers, or dolphins, or rivers, or trees, or orangutans as having rights.
หลายทศวรรษที่แล้ว
พอพูดถึงสิทธิ์ของทาส ว่าจะต้องเท่าเทียมกับทุกๆ คน
มันฟังเหมือนสิ่งนอกรีตนอกรอยดั่งที่เรากำลังพูดถึงธารน้ำแข็ง หรือโลมา
หรือแม่น้ำ หรือต้นไม้ หรือลิงอูแรงอูตัน ว่า มีสิทธิ์เช่นกัน
In an interdependent system in which human beings are only
one component of the whole, it is not possible to only recognize the rights of
the human part without instigating an imbalance in the system. To guarantee
human rights and to restore harmony with nature, it is necessary to effectively
recognize and apply the rights of Nature.
ในระบบที่พึ่งพิงอิงอาศัยกัน
ที่มนุษย์เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งขององค์รวม
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเพียงยอมรับสิทธิในส่วนของมนุษย์
โดยปราศจากการทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบ
เพื่อประกันสิทธิมนุษยชนและเพื่อกู้ความปรองดองกับธรรมชาติ จำเป็นที่จะต้องยอมรับ และนำสิทธิของธรรมชาติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
Nature cannot be submitted to the wills of markets or a
laboratory. The answer for the future lies not in scientific inventions that
try to cheat nature but in our capacity to listen to nature. Science and
technology are capable of everything including destroying the world itself. It
is time to stop geo-engineering and all artificial manipulation of the climate,
biodiversity and seeds. Humans are not gods.
ธรรมชาติไม่สามารถสยบให้ก้มหัวสนองแรงปรารถนาของตลาดและห้องทดลอง คำตอบสำหรับอนาคต
ไม่ได้อยู่ที่การประดิษฐ์คิดค้นเชิงวิทยาศาสตร์ ที่พยายามโกงธรรมชาติ
แต่อยู่ที่ความสามารถของเราในการฟังเสียงของธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้วนสามารถทำทุกอย่าง
รวมทั้งทำลายล้างโลกเอง
ถึงเวลาแล้วที่จะหยุดปฏิบัติการวิศวธรณี และเครื่องมือแปลกปลอมต่างๆ
ที่พยายามแทรกแซงการทำงานของภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และเมล็ดพันธุ์ มนุษย์ไม่ใช่พระเจ้า
The capitalist system is out of control. Like a virus its
going to kill the body that feeds it… it is damaging the Earth System in ways
that will make human life as we know it impossible.
ระบบทุนนิยมแหกคอกนอกการควบคุมแล้ว
เหมือนกับไวรัสที่กำลังมุ่งฆ่าร่างกายที่ให้อาหารแก่มัน...มันกำลังทำลายล้างระบบพิภพ
ด้วยวิธีการที่จะทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์แบบที่เรารู้จัก เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
We need to overthrow capitalism and develop a system that is
based on the Community of the Earth.
เราจำเป็นต้องล้มล้างระบบทุนนิยม
และพัฒนาระบบที่ตั้งอยู่บนฐานของชุมชนแห่งผืนพิภพ
© 2012 Pablo Solón
Pablo Solón is the Executive Director of Focus on the Global
South. He was the former Bolivian ambassador, under the Evo Morales government,
to the United Nations. As ambassador to the UN, he became known as a tireless
advocate for the rights of nature; he delivered the now famous speech
explaining why Bolivia chose to “stand alone” by not signing the Cancun climate
agreement in 2010. Before holding this post, he had been a social activist
involved in indigenous movements, workers’ unions, student associations, human
rights and cultural organizations in his native Bolivia. He is also extensively
involved in the global justice movement.
พาบโล โซลอน
เป็นผู้อำนวยการของ Focus on the
Global South
เขาเคยเป็นทูตของโบลิเวีย ภายใต้รัฐบาลของ อิโว มอราเลส
ต่อสหประชาชาติ ในฐานะทูตต่อสหประชาชาติ
เขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นนักรณรงค์เพื่อสิทธิของธรรมชาติอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียง
ที่อธิบายว่า ทำไมโบลิเวียจึงเลือกที่จะ “ยืนโดดเดี่ยว”
ไม่เซ็นชื่อในข้อตกลงภูมิอากาศ ณ แคนคูน ในปี 2010 ก่อนที่เขาจะมาดำรงตำแหน่งปัจจุบัน
เขาเป็นนักกิจกรรมสังคม ที่ทำงานกับการขับเคลื่อนชนพื้นเมืองดั้งเดิม สหภาพแรงงาน
สมาคมนักศึกษา สิทธิมนุษยชน
และองค์กรวัฒนธรรมต่างๆ ในมาตุภูมิโบลิเวีย
เขาทำงานกว้างขวางกับขบวนการยุติธรรมในโลก
Published on Tuesday, June 19, 2012 by Hoy es Todavía
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น