น้ำท่วม กินผัก
... จุดเปลี่ยน ประเทศไทย
“น้ำท่วมกินผัก”
เป็นการรณรงค์ (เชิงบูรณาการ) แบบครบวงจร
เพื่อนำประเทศไทยให้ปรับตัวได้เท่าทันกับสภาวะโลกร้อน
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
และอบรมสมาชิกเกษตรกร “อาหารอินทรีย์สู้โรค” ซึ่งเชื่อมโยงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการฟื้นฟูศักยภาพของร่างกาย
๒.
เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ห่วงใยต่อวิกฤตสุขภาพ-สังคม-โลก
เป็นวงจรผู้บริโภค-ผู้ผลิต หรือวิสาหกิจสังคมเพื่อกู้สุขภาพคน-นิเวศ
๓.
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติด้วยกลไกตลาดที่ลดคนกลางและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตและรักษาโรคด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์พอเพียง
๔.
เพื่อรณรงค์ให้นโยบายรัฐในการพัฒนามีสุขภาพคน-นิเวศเป็นตัวตั้ง
และมีธรรมาภิบาลเป็นหลัก
เป้าหมาย
ระยะสั้น/เฉพาะหน้า
: ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมในปลายปี
๒๕๕๔ได้อย่างต่อเนื่องด้วยกลไกตลาดที่ไม่มีคนกลาง
ระยะยาว
: ผลักดันให้นโยบายการพัฒนาประเทศมีความสมดุลระหว่างภาคเกษตร
ภาคบิการ และภาคอุตสาหกรรม โดยมีสุขภาพคน-นิเวศเป็นศูนย์กลาง และมีธรรมาภิบาล
การมีส่วนร่วม
-
ผู้สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกทั่วไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าสมัคร
เพื่อติตามข่าวสาร
-
สมาชิกสามารถเลือกร่วมกิจกรรมได้ ในฐานะต่างๆ ดังนี้
o
ผู้บริโภค:
“โครงการกินผักวันละ
๓๐ บาท ช่วยชาติพ้นวิกฤตน้ำท่วม” หรือ
o
ผู้ผลิต : “โครงการเกษตรกรพอเพียง
ประกันรายได้ ๒๐,๐๐๐ บาท”
-
ท่านที่มีปัญหาสุขภาพและต้องการรักษาด้วยแนวทาง
“อาหารเป็นยา” ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิก Health Club 6009
ได้
บทย่อ
“น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
เป็นการตกผลึกทางความคิด จากการปฏิบัติการเชิงวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ในระยะแรก เป็นการเน้นที่รักษาโรคของตนเอง ด้วยการศึกษาค้นคว้าศาสตร์การปรับหยิน-หยางในร่างกายให้สมดุลด้วยอาหารที่ทำจากวัตถุดิบอินทรีย์/ธรรมชาติที่หาซื้อจากตลาด
จนหายจากโรคโดยไม่ต้องใช้ยาสมัยใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการขยายผลเป็นชมรมสุขภาพ
โดยเริ่มจากโครงการบ้านไร่ไพโรจน์ ได้ทำการทดลองฟื้นฟูชีวิตดินให้ผลิตพืชผลเกษตรอินทรีย์คุณภาพสูงสำหรับรักษาสมาชิกที่ป่วย
มหาอุทุกภัยปลายปี ๒๕๕๔ ทำให้เล็งเห็นว่า
แนวทาง “อาหารเป็นยา” นี้ หากสามารถขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย จะสามารถป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของภัยพิบัติอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนได้
เพราะการขุดบ่อเพื่อการเกษตร ย่อมทำหน้าที่เป็นแก้มลิงไปในตัว
ส่วนการปลูกป่ารักษาดิน ย่อมช่วยลดความรุนแรงของน้ำหลากหรือน้ำแล้งด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การรักษาสุขภาพที่ต้นเหตุ คือ ห่วงโซ่อาหาร
แทนการแก้ไขที่ปลายเหตุหรืออาการป่วยด้วยยา
จะช่วยประหยัดงบสาธารณสุขของชาติได้มหาศาล เพื่อให้แนวคิดนี้สัมฤทธิ์ผลได้ จะต้องถูกยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ
แต่การเมืองไทยเท่าที่ผ่านมากว่า 80 ปี ได้แสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาที่บิดเบี้ยว
เพราะนักการเมืองไม่ว่ายุคใด ต่างมุ่งนโยบายการพัฒนาที่ยึดเงินตรา/กำไรเป็นตัวตั้ง
และปกป้องผลประโยชน์และพวกพ้องของตน
ผลคือระบบการเมืองไทย ได้ถูกคอรัปชั่นกัดกร่อน
จนไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์เผยแพร่ให้มีสมาชิกกว้างขวางขึ้น—ที่เห็นร่วมกับแนวคิดในการผลิตอาหารเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและรักษาโรคนี้ได้อย่างแท้จริง
การมีจำนวนสมาชิกมากพอเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูสังคมและสร้างการเมืองกระแสใหม่ที่มีสุขภาพคนและสุขภาพนิเวศน์เป็นศูนย์กลางแทนเงินตรา ตลอดจนจัดตั้งรัฐบาลประเภทใหม่ที่ปลอดคอรัปชั่น
หรือ ธรรมาภิบาล
การรณรงค์นี้
จึงเป็นกิจกรรมต่อยอดจากประสบการณ์ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เป็นวิวัฒนาการจากการแสวงหาวิถีทางเลือกเพื่อรักษาโรคส่วนตัว
สู่การขยายผลเพื่อช่วยรักษาโรคให้เพื่อน สู่ปณิธานที่จะขยายแนวทางนี้ให้เป็นพื้นฐานในการบ่มเพาะความเป็นประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมอย่างแท้จริง
สู่การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
วิกฤตน้ำท่วม
ได้กลายเป็นโอกาสที่จะเผยแพร่ให้เกิดการสร้างเครือข่ายสมาชิกที่ให้การช่วยเหลือเจือจุนกันในยามปกติ
การปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต—กาย ใจ และจิตวิญญาณ—เป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันภัยพิบัติร่วม...จากธรรมชาติ...ที่มนุษย์เป็นต้นเหตุสำคัญ
ภูมิหลัง
๑.
จากการช่วยชีวิตตัวเอง สู่การช่วยฟื้นฟูสุขภาพเพื่อน
ก. สถานการณ์อาหารและสุขภาพ: ช่องว่างระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต
เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตผลเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะข้าวผักผลไม้ธัญพืชและสมุนไพรมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่การผลิตและบริโภคอาหารดังกล่าว
กลับไม่แพร่หลายนัก เมื่อเทียบกับพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนและมีผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว สาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1. กลไกตลาดกระแสหลักถูกนายทุนใหญ่ควบคุม/ผูกขาด
(ทำให้ราคาผลิตผลเกษตรอินทรีย์แพงกว่าเกษตรเคมี) เกษตรกรอินทรีย์/ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังขาดการรวมกลุ่ม
(จึงขาดอำนาจต่อรองกับตลาด ในขณะที่ต้นทุนสูง คือ ต้องใช้เวลา ความอดทน กำลังกาย
คอยเอาใจใส่ระหว่างปลูกมากกว่าวิธีใช้สารเคมีมาก แต่ต้องยอมเสียเปรียบตลาดคนกลาง ยอมให้ซูเปอร์มาร์เก็ตจ่ายเชื่อเป็นเครดิตยาวนานถึง
2-3 เดือนโดยไม่ต้องรับผิดชอบหากขายไม่หมด)
2. ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทั้งทราบและไม่ทราบถึงโทษของการรับประทานพืชผักผลไม้ที่ใช้สารเคมี
ต่างไม่หวาดกลัวพอ เพราะไม่เห็นผลทันที จึงยังลังเลที่จะซื้อ (ราคาแพงกว่าประกอบกับความไม่แน่ใจในคุณภาพ ชนิด/จำนวนพืช-ผัก-ผลไม้ที่มีจำหน่าย รวมทั้งช่องทางจำหน่าย
มีจำกัดและไม่ค่อยแน่นอน) นอกจากผู้ป่วยและผู้รักสุขภาพตัวเองจริงๆ
ผู้บริโภคทั่วไปจะเลือกเกษตรเคมีเพราะราคาถูกกว่าถึง 50-100% ส่วนผลร้ายจะใช้เวลาสะสมในร่างกายและจะสำแดงเมื่อไรก็ได้ในระยะยาว
ข.
กำเนิด “โครงการบ้านไร่ไพโรจน์”
ประมาณปี
พ.ศ. ๒๕๔๙ คุณไพโรจน์ รุ้งรุจิเมฆ เริ่ม “โครงการบ้านไร่ไพโรจน์” ขึ้น
หลังจากสังเกตเห็นเพื่อนฝูงป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
จึงคิดช่วยเพื่อนด้วยการขยายผลจากประสบการณ์ของตนในการรักษาตัวเองจนหายจากโรคตับอักเสบ
(ไวรัสบี) โดยไม่ต้องพึ่งยา แผนปัจจุบัน ในระยะแรก เป็นการบุกเบิกที่นาเก่า ๔๐ ไร่ที่
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ให้เหมาะสมสำหรับผลิตพืชผลอินทรีย์คุณภาพสูงสำหรับรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ (อาจโพสต์“สู่ชีวิตที่สมดุลอย่างครบวงจร:
ความเป็นมาของ “บ้านไร่ไพโรจน์”และ
เฮลท์คลับ 6009” เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิง) โดยเริ่มด้วยการฟื้นฟูคุณภาพดินในที่นาเสื่อมโทรมนี้ด้วยการใช้ดินจากป่า
๑๐๐ ปีที่อยู่ใกล้เคียง
ต่อมาได้ใช้วิธีสังเกตและเลียนแบบวงจรธรรมชาติที่เอื้ออำนวยให้ป่าธำรงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้
หลังจากบุกเบิกและวิจัยอยู่เกือบ ๒ ปี
บ้านไร่ไพโรจน์ก็ได้ใบรับรองมาตรฐานจาก IFOAM (มกท)
ในปี ๒๕๕๑ (ภาคผนวก ข. ใบรับรองมาตรฐาน มกท) ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบผลจากการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในต้นกระเจี๊ยบที่ปลูกที่บ้านไร่ไพโรจน์
กับที่อื่นๆ
ตารางที่ 1
เปรียบเทียบผลจากการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในกระเจี๊ยบที่ปลูกในไร่ไพโรจน์
กับที่อื่น ๆ โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ธาตุอาหาร
|
บ้านไร่ไพโรจน์
|
Organic supplier
อื่น
|
มหิดล
|
หนังสือผัก
333 ชนิด
|
โปแตสเซียม (มก)
|
2,648
|
204.6
|
198
|
-
|
แคลเซียม (มก)
|
422
|
76.5
|
11
|
11
|
สังกะสี (มก)
|
5.43
|
0.6
|
0.4
|
-
|
วิตามินเอ
(ในรูปเบตาแคโรทีน) (RE)
|
51
|
87.6
|
66
|
5.6
|
ในขณะเดียวกัน
เพื่อนๆ และผู้สนใจก็รวมกลุ่มเป็นชมรม Health Club 6009
ในปี ๒๕๕๒ (ภาพหมู่ –บุคลากรที่เกี่ยวข้อง www.fcthai.com)
ค.
หลักการและผลการฟื้นฟูสุขภาพด้วยอาหาร
คุณไพโรจน์อาศัยหลักแมคโครไบโอติกที่ว่า
ความเจ็บป่วยเป็นอาการของความไม่สมดุล ระหว่าง พลัง หยิน และพลังหยางในร่างกาย การรักษาโรคจึงต้องเริ่มต้นที่การปรับความสมดุลนี้
ด้วยการรับประทานอาหารในพื้นที่ เช่นพืชผักข้าวธัญพืชคุณภาพสูงจากเกษตรอินทรีย์รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกิจวัตรและภาวะจิต ผลผลิตจากบ้านไร่ไพโรจน์จึงถูกใช้ประกอบอาหารคุณภาพให้เพื่อนๆ
ที่ล้มป่วยได้ทดลองรับประทาน ผลคือ ไม่เพียงแต่สุขภาพของผู้ป่วยฟื้นดีขึ้น
โรค (ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย)
ก็หายได้ด้วย (ภาคผนวก ค. สมาชิกเฮลท์คลับ
6009 ที่ประสบความสำเร็จในการใช้อาหารรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ) ความสำเร็จในการรักษาโรคนี้
ได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพของผลผลิตจากบ้านไร่ไพโรจน์ อีกระดับหนึ่ง
๒. วิสัยทัศน์ จากชมรมสู่สังคม
หลังจากดำเนินกิจกรรมเชิงวิจัยและพัฒนาอยู่
๔-๕ ปี ผ่านชมรมสุขภาพ 6009 (Health Club 6009) โครงการบ้านไร่ไพโรจน์มีความมั่นใจในองค์ความรู้และคุณประโยชน์จากแนวทางผลิตและวิธีฟื้นฟูสุขภาพ/รักษาโรค
โดยเฉพาะต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค เมื่อพิจารณาในระดับมหภาค จะเห็นได้ว่า
แนวทางนี้จะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณสาธารณสุขแก่ประเทศได้ด้วย
ก.
ผู้ผลิตขายได้ราคาสูงขึ้น
ส่วนผู้บริโภคซื้อได้ในราคาถูกลง ดังนี้
ราคาเดิม (บาท/ก.ก.)
|
ราคาใหม่ (บาท/ก.ก.)
|
ส่วนต่าง (%)
|
|
ผู้ผลิต/ขาย
|
20-30
|
50-60
|
+50 ถึง 100
|
ผู้ซื้อ
|
70-120
|
50-60
|
-50 ถึง 100
|
ข.
ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน
จากการประมวลข้อมูลการรักษาโรคของสมาชิก
Health
Club 6009 ที่ฟื้นสุขภาพและหายจากโรคต่างๆ
ด้วยแนวทาง “อาหารเป็นยา” นี้ สามารถประเมินได้ว่า
แนวทางเลือกนี้ มีศักยภาพที่จะช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดินด้านสาธารณสุขได้ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐บาท/คน/เดือน เพราะค่าใช้จ่ายในแนว
“อาหารเป็นยา” ต่ำกว่าการใช้ยามาตรฐานที่ใช้รักษาตามโรงพยาบาลทั่วไปมาก หากแนวทาง “อาหารเป็นยา”
สามารถเข้าถึงหรือรักษาผู้ป่วยได้ปีละ ๓ ล้านคน ก็จะประหยัดเงินได้ถึง
๙,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ล้านบาท/เดือน หรือประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท/ปี
ค.
“วิสาหกิจทางสังคม” (Social Entrepreneurship)
โครงการบ้านไร่ไพโรจน์
จึงเริ่มขยายผลด้วยการรณรงค์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ในแนว “วิสาหกิจทางสังคม” ที่เน้นการรักษาโรคและลดคนกลาง
โดยบ้านไร่ไพโรจน์ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางสร้างเครือข่ายเชื่อมผู้ผลิตและผู้บริโภค
ตลอดจนผลักดันเชิงนโยบาย จึงเกิด โครงการเกษตรกรพอเพียง ประกันรายได้ ๒๐,๐๐๐ บาท (รายละเอียด
ภาคผนวก...เรียบเรียงจากเว็บ)
มีผู้มีจิตศรัทธาต่อวิสัยทัศน์ของโครงการฯ
(เช่น คุณพันท์พิไล ใบหยก) ได้แนะนำให้ทำการทดลองให้เป็นระบบด้วยการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่า
โครงการเกษตรกรพอเพียงฯ นี้ สามารถสร้างอาชีพเกษตรกรอินทรีย์และรักษาโรคได้จริงในระดับตำบลหรือหมู่บ้าน แต่เมื่อลงพื้นที่เตรียมปฏิบัติจริง
กลับเจออุปสรรคเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นไม่ให้ความร่วมมือ โครงการบ้านไร่ไพโรจน์จึงสรุปว่า
ชุมชนจะต้องมีการรวมตัวที่เข้มแข็ง โปร่งใส และมีผู้นำที่มีคุณธรรมก่อน แนวทาง “อาหารเป็นยา” หรือ
โครงการเกษตรกรพอเพียง จึงจะเข้าถึงชาวบ้านรากหญ้าได้
ในทางตรงข้าม
วงการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้เริ่มให้ความสนใจ
โดยเชิญให้ โครงการบ้านไร่ไพโรจน์ ร่วมในกิจกรรม/กิจการต่างๆ
ของการรักษาแบบธรรมชาติและเป็นองค์รวม เช่น ความร่วมมือกับโรงพยาบาลพัทยาเมมโมเรียล
และบ้านไร่คุณนาย-วังน้ำเขียว
ถึงอย่างไร การขยายผลก็ไม่สามารถดำเนินได้รวดเร็วดังคาดหมาย
๓.
น้ำท่วมใหญ่: ผันวิกฤตเป็นโอกาสขยายผล
โครงการ
“กินผักวันละ ๓๐ บาท...ช่วยชาติพ้นวิกฤตน้ำท่วม”
ในระหว่างที่ โครงการบ้านไร่ไพโรจน์
ยอมรับว่า จำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไปในการขยายแนวทาง “อาหารเป็นยา” สู่สังคมเพราะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ประสิทธิผล
และอาจต้องต่อสู้กับระบบราชการที่ไม่ให้ความร่วมมือที่ดี ก็เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี
๒๕๕๔ ปรากฏการณ์ในระหว่างวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ทำให้เห็นพลังประชาชนไทย เสียงเพลง “คนไทยไม่เคยทิ้งกัน” ได้ช่วยสลายการแบ่งขั้วสี
โดยเฉพาะ ภาพของทหารที่ออกมาตระเวนช่วยประชาชนที่เดือดร้อนไม่ว่าจะเป็นเหลือง แดง
หรือหลากสี รวมทั้ง
การบริจาคที่หลั่งไหลและภาคประชาสังคม/เอ็นจีโอที่ทำหน้าที่กระจายความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าภาครัฐ ส่วนบรรดาผู้แทนที่ประชาชนเลือกตั้งให้เป็นที่พึ่งในระดับท้องถิ่น
จนถึงระดับชาติ ส่วนใหญ่กลับไม่อยู่ในพื้นที่
ที่ร้ายกว่านั้น ผู้แทนบางคนกลับเอาชื่อของตนติดถุงบรรจุสิ่งของที่ได้รับจากการบริจาค
ฯลฯ แม้มหาอุทุกภัยและพฤติกรรมของนักการเมือง
ตลอดจนความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการจัดการน้ำจะเป็นเรื่องหดหู่น่ากังวล
แต่น้ำใจของชาวไทยทั่วประเทศที่แสดงออกถึงความเห็นใจอย่างชัดเจนต่อเพื่อนร่วมชาติที่ทุกข์ร้อนจากภัยพิบัติ และความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมไทย กลายเป็นแรงบันดาลใจให้
โครงการบ้านไร่ไพโรจน์ ริเริ่ม
“โครงการกินผักวันละ ๓๐ บาท”
ก.
วิสัยทัศน์
เนื่องจากโครงการบ้านไร่ไพโรจน์ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์เกษตรอินทรีย์คุณภาพสูงอยู่แล้ว การสร้างแก้มลิงเพิ่ม จะเป็นทั้งปัจจัยในการทำเกษตร
เพื่อการทำนาผสมผสานที่เลี้ยงปลา เป็ด ไก่ และเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการป้องกันน้ำท่วม-น้ำแล้ง การปลูกป่า รักษาดิน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ คือวิถีเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง
โครงการกินผักวันละ ๓๐ บาท
เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วประเทศที่มีกำลังทรัพย์น้อย แต่ต้องการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม ด้วยการสมัครเป็นสมาชิก ในฐานะผู้บริโภคผลิตผลเกษตรอินทรีย์
ข.
การซื้อ-ขายอย่างเป็นสมาชิกโดยบ้านไร่ไพโรจน์เป็นสื่อกลาง
จะช่วยลดคนกลางและผู้ผลิต-ผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์สูงสุด
เนื่องจากปัญหาของเกษตรกรอินทรีย์ส่วนใหญ่
คือ ผลิตแล้วขายในตลาดมักได้ราคาไม่คุ้มค่าเหนื่อย (ใช้สารเคมีสบายกว่ามาก) ทำให้เกิดเสียงบ่นว่า ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการสูง
แต่เกษตรกรไม่สนใจ การเปิดตัวของโครงการกินผักฯ
นี้ ที่มุกดาหาร พบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากแสดงความสนใจ ตรงข้ามกับเสียงบ่น เพราะโครงการกินผักฯ เสนอว่าสามารถประกันรายได้
๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ถ้าเกษตรกรสามารถผลิตถึงขั้นรักษาโรคได้ โดยทางโครงการกินผักฯ
จะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นพี่เลี้ยง และเป็นผู้รับรองมาตรฐาน ตลอดจนลดคนกลาง/ช่องว่างระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภค ปรากฏการณ์ที่มุกดาหาร ทำให้เชื่อได้ว่ามีเกษตรกรทั่วประเทศพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
หากมีการทำความเข้าใจในเงื่อนไข และรับรองผลตอบแทน
ไม่ใช่เพียงแต่สอนให้เกษตรกรต้อง “พอเพียง”
หรือ รัดเข็มขัดตัวเองอยู่ร่ำไป นอกจากนี้โครงการกินผักฯ
นี้ ยังสามารถรองรับผู้ใช้แรงงานที่ถูกปลด หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพเป็นเกษตรกร
ค.
สมาชิกและการผลักดันระดับนโยบาย
เพื่อให้สามารถเยียวยาผู้ประสบน้ำท่วมได้
จะต้องระดมหาสมาชิกให้ได้มากที่สุด จากการประเมินตามข่าวหนังสือพิมพ์
มีผู้ประสบภัยน้ำท่วม ๑๐ ล้านคน แต่จากการคำนวณ
ถ้ามีสมาชิก ๒๐-๓๐ ล้านคน ก็จะขับเคลื่อนโครงการนี้ให้ปรับทิศทางนโยบายพัฒนาของประเทศไทยได้
ภาพรวมของโครงการ ความคาดหวังในอนาคต
โครงการน้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย
ประกอบด้วย การรณรงค์ (ริเริ่มหลังน้ำท่วมใหญ่เกือบทั่วประเทศ ปลายปี ๒๕๕๔) คือ
“กินผักวันละ ๓๐ บาท ช่วยชาติพ้นวิกฤต” และ “เกษตรกรอินทรีย์พอเพียงประกันรายได้
๒๐,๐๐๐ บาท/เดือน” ที่ต่อยอดจาก ชมรมสุขภาพ 6009 ที่ดำเนินอยู่แล้ว
(ตั้งแต่ ๒๕๕๐) โดยรวมเป็นโครงการวิจัยเชิงพัฒนา (Research & Development, R&D) แบบบูรณาการครบวงจร ด้วยการต่อยอด/ร่วมมือกับกิจกรรมและผลงานการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมไทยและโลก
สู่สังคมธรรมาภิบาล เพื่อฟื้นฟูสุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และนิเวศ ที่มีคนเป็นตัวตั้ง
การดำเนินโครงการนี้
จะเป็นลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่สมาชิกมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลประสบการณ์ด้วยตัวเอง
ในฐานะผู้บริโภค หรือผู้ผลิต ที่ทำงานร่วมกับเอ็นจีโอ นักวิชาการ
ผู้นำชุมชน และสื่อมวลชน
เพื่อคืนพลังและชีวิตแก่พระแม่โพสพและพระแม่ธรณี
ให้ช่วยกระดับภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยให้เป็นครัวอาหารสุขภาพโลก
และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ-สุขภาพที่แท้จริง
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยมี คน-นิเวศ เป็นศูนย์กลาง
แบบประชาธิปไตย-โปร่งใส-กินได้ ด้วยการเป็นหุ้นส่วนอย่างแท้จริง แทนการปั่นหุ้น
หรือใช้ความรู้เก็งกำไร แย่งชิงตลาดโดยใช้จิตวิทยาควบคุมทั้งจิตใจผู้ผลิต-ผู้บริโภค
เพียงเพื่อประกันกำไรเม็ดเงินถ่ายเดียว
หากพลเมืองไทยพร้อมใจให้ความร่วมมือ ก็จะเกิดเป็นกระบวนการส่งเสริมให้สังคมไทยพัฒนารับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก
ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากทุนนิยมเข้มข้น...ก่อนถึงเฮือกสุดท้าย และให้ประเทศไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างเชื่อมั่นในตัวเอง
และสมศักดิ์ศรี
ความสำเร็จของโครงการนี้
ขึ้นอยู่กับมวลจิตสำนึกของประชาพลเมืองไทย
............................
|
โปรดดูรายละเอียดเพิ่มจาก
www.fcthai.com
ภาคผนวก ก
แนวคิดหยิน-หยาง
และความสำคัญของดิน-น้ำ-อากาศ กาย-ใจ
ภาคผนวก ข
ใบรับรอง มกท
ภาคผนวก ค
ตัวอย่างรายชื่อสมาชิกเฮลท์คลับ
6009
ที่ประสบความสำเร็จในการใช้อาหารรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ
ชื่อ
|
อาการ
|
|
1.
|
นายปฎิภาณ อริยเดช
|
ไขมันสูง, CEA
|
2.
|
ดร.เทียม เจนงามกุล
|
คลอเรสเตอรอลสูง
|
3.
|
นายเธียร ชูพิศาลยโรจน์
|
ไขมันสูง
|
4.
|
นายสรศักดิ์ แสนสมบัติ
|
ไขมันสูง
|
5.
|
นางปราณี วาริการ
|
CEA, ระบบขับถ่ายไม่ปกติ
|
6.
|
นายวิทวัส พรกุล
|
อ้วนนอนกรนกรดไหลย้อน
ใช้เครื่องช่วยหายใจ
|
7.
|
นายวันชัย คิดหาทอง
|
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คีโม
|
8.
|
นายพิพัฒน์ รัตนไตรภพ
|
โรคหัวใจเส้นเลือดขั้วหัวใจตีบ
|
9.
|
นายเมธา มณีรัตนพร
|
โรคเก๊าความดัน 90/140
|
10.
|
นายพีรพงศ์ นิคมขำ
|
มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA > 100
|
11.
|
นายสมเกียรติ
|
อ้วนคลอเรสเตอรอลสูงเบาหวานความดัน
|
12.
|
นายชนะ โตวัน
|
เบาหวานน้ำตาล 300
|
13.
|
นายสุรชัย อาภรณ์สุสัมฤทธิ์
|
ความดันไขมันสูง
|
14.
|
นายพิเชษฐ์ ลิมปิพิพัฒนากร
|
อ้วนความดันไขมันสูง
|
15.
|
นางสาวกนกวรรณ
|
เนื้องอกที่กระดูกสันหลังผอม
|
16.
|
นางวัชรี คุณกิตติ
|
เนื้องอกที่เต้านม
|
17.
|
นางกัลยา
|
มะเร็งเต้านม
|
18.
|
นางชนิศา
|
มะเร็งเต้านมกระดูกสะโพก
|
19.
|
อาจารย์ปรีชา
|
ไขมันสูงเสียดแน่นหน้าท้องบริเวณชายโครง
|
20.
|
นางอำไพ อุสบณาจิตต์
|
มะเร็งเต้านม คีโมรอบ 2
|
21.
|
แม่นางอำไพ อุสบณาจิตต์
|
มะเร็งเต้านมมะเร็งปอดมะเร็งลำไส้มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
|
22.
|
นายไพโรจน์ รุ้งรุจิเมฆ
|
ไวรัสตับอักเสบบีภูมิแพ้
|
23.
|
นางบุ้ง แซ่เจี่ย
|
เบาหวานความดันหัวใจไอเรื้อรัง
|
24.
|
นางอรัญญา ทวีลาภาภรณ์
|
อ้วน
|
25.
|
นายนรินทร์
|
อ้วน
|
26.
|
ดร.บูรพา ชดเชย
|
เบาหวานโรคไต ฟอกไต 3 ครั้ง/สัปดาห์
|
กราฟแสดง
สารเมตาโบไลท์เม็ดเลือดแดงสเต็มเซลล์
6-25-12
ดิฉันมีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์และเพื่อสุขภาพมาก จึงตามลงไปดูที่ไร่ที่อ้างอิงไว้ที่ หมู่13 บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา และได้โทรถามเบอร์ติดต่อที่ให้ไว้ในหน้าเวบที่อ้างอิงบ้านไร่ไพโรจน์ คือ 0-2320-3400-2, 08-6367-4362 และก็ยังได้รับการยืนยันว่ามีแปลงเกษตรตามที่ว่าจริง แต่ไม่สะดวกต้อนรับเนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ในวันนั้น ดิฉันเห็นว่าไหนๆ วันนี้ก็ผ่านเลยตั้งใจจะผ่านไปดู เลยกลายเป็นคนละเรื่องกับที่ชาวบ้านบอกว่า ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้จักไร่นี้และบอกว่าพื้นที่นี้ไม่มีปลูกผัก ส่วนมากเป็นนาข้าว แต่มีพี่ผู้ชายที่อยู่ติดกับพื้นที่แปลงที่บอกว่าเป็นไร่ไพโรจน์ พี่เค้าบอกว่า ที่เค้าบอกว่าทำเกษตรอินทรีย์ใช่ไหม มีแต่ที่ดินนะ ไม่มีการปลูกผักอะไร เริ่มแรกเห็นมีนิดหน่อยแต่เป็นกระถางในบ้านและจ้างต่างด้าวเฝ้า แต่ไม่เคยเห็นลงแปลงอะไรฯลฯ อีกมากที่แสดงถึงทัศนคติด้านลบ .... ถึงกระนั้นดิฉันก็ยังโทรถามเบอร์ที่มีและก็ยืนยันว่ามีไร่นั้นและมีการปลูกผักจริง ...หรือว่าดิฉันจะไปผิดแปลง แต่ยืนยันว่าทั้งหมู่ 13 และพื้นที่ที่ระบุ ดิฉันขับรถหาทั่วจริงๆ ค่ะ เพราะไหนๆก็ตั้งใจแล้ว แต่ก็ได้ยินชาวบ้านบอกว่า ไม่มีจริงๆค่ะ แล้ว..........
ตอบลบ