Backdoor
Talks on Trans-Pacific Trade Deal Aim to Globalize Corporatocracy
by Michelle Chen
การเจรจาท้ายครัวตกลงการค้าข้ามแปซิฟิกมุ่งสร้างระบบราชการบรรษัท
-มิเชล
เชน
(Photo by JIM WATSON/AFP/Getty Images)
President
Obama speaks to US Trade Representative Ron Kirk (R) during a meeting with
Trans Pacific Partnership (TPP) leaders at the Asia-Pacific Economic
Cooperation summit on November 12, 2011. You might think corporate money
corrupts our political system, but the international trade system is where
money really talks.
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวต่อ
ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ รอน เคิร์ก ในระหว่างการประชุมกับผู้นำ หุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (Trans
Pacific Partnership, TPP) ที่การประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation, APEC)
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2011 คุณอาจคิดว่า
เม็ดเงินบรรษัทได้ทำให้ระบบการเมืองของเรามีมลทิน แต่ระบบการค้าระหว่างประเทศ
เป็นที่ๆ เม็ดเงินพูดจริงๆ
The
White House is touting the Trans-Pacific Partnership as a "21st
century" trade deal, but many activists see it as a regression into
economic imperialism. The pact currently in negotiations—covering Australia,
Brunei Darussalam, Chile, Malaysia, New Zealand, Peru, Singapore, the United
States and Vietnam, with Canada and Mexico recently joining the talks—aims to
establish a new trade regime that could intrude on domestic laws that affect
millions of workers and consumers, from their weekly paycheck to their
prescription medicines.
ทำเนียบขาวกำลังชักชวนให้
หุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก เป็นการตกลงการค้า “ศตวรรษที่ 21”
แต่นักกิจกรรม/รณรงค์มากมาย เห็นว่า
เป็นการล่นถอยหลังสู่ลัทธิจักรวรรดินิยมเชิงเศรษฐกิจ ข้อตกลงที่กำลังต่อรองกันอยู่ขณะนี้—ครอบคลุม
ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเวียดนาม
พร้อมทั้งแคนาดา และเม็กซิโก ที่เข้าร่วมการเจรจาเร็วๆ นี้—มุ่งที่จะจัดตั้งระบอบการค้าใหม่
ที่สามารถบุกรุกกฎหมายบ้านเมืองในประเทศ ที่มีผลต่อคนงานและผู้บริโภคนับล้าน
ตั้งแต่ค่าจ้างรายสัปดาห์จนถึงใบสั่งยา
Thanks
to some intrepid activists with Public Citizen and the Citizens Trade Campaign,
the public can glimpse at the closed-door negotiations through a batch of
leaked documents. So far, what’s trickled out suggests that Washington is
determined to scale up the controversial framework of the North American Free
Trade Agreement (NAFTA), creating a new trade regime that exploits inequality
between workers and employers within countries, and global inequalities between
the “developed” and “developing” worlds.
ต้องขอบคุณนักรณรงค์ผู้กล้าหาญบางคนที่ทำงานกับ
พลเมืองสาธารณะ และ พลเมืองรณรงค์การค้า (Public Citizen and the Citizens
Trade Campaign) สาธารณชนจึงสามารถเห็นเสี้ยวหนึ่งของการต่อรองหลังประตูปิดมิดชิด
ผ่านเอกสารที่รั่วไหลออกมา จนถึงตอนนี้ จากข้อมูลที่รั่วหยดออกมา ชี้เค้าว่า
วอชิงตัน ตั้งใจเด็ดเดี่ยว ที่จะขยายระดับและขอบเขตของ
นาฟตา-ข้อตกลงการค้าเสรีแห่งอเมริกาเหนือ (North American Free Trade
Agreement, NAFTA) เพื่อสร้างระบอบการค้าใหม่
ที่ฉวยโอกาสความไม่เท่าเทียมระหว่าง คนงาน และ นายจ้าง ภายในประเทศ และความไม่เท่าเทียมในโลก
ระหว่าง “ซีกโลกพัฒนาแล้ว” และ “ซีกโลกกำลังพัฒนา”
The
TPP, if current proposals are enacted, would grant extreme powers for
corporations to act as quasi-legal entities, and to take states to court in
order to dismantle environmental, consumer safety, or labor protections that
they feel “unfairly” pinch their profit margins. Building on previous trade
agreements like NAFTA that have given foreign investors sweeping powers to
circumvent domestic regulations, the proposed framework would establish a
litigation system designed to protect the “rights” of investors above citizens.
หากข้อเสนอปัจจุบัน
ถูกตราเป็นกฎหมาย TPP
จะให้อำนาจสุดโต่งเพื่อบรรษัทจะประพฤติปฏิบัติการได้ดั่งเป็นนิติบุคคล
และสามารถลากรัฐชาติขึ้นศาล
เพื่อรื้อถอนกลไกเพื่อความปลอดภัยทางสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค
หรือเพื่อปกป้องแรงงาน ที่พวกเขารู้สึกว่าจิกกำไรของพวกเขาอย่าง “ไม่เป็นธรรม” ด้วยการนต่อยอดจากข้อตกลงก่อนๆ เช่น นาฟตา
ที่ให้อำนาจมหาศาลแก่นักลงทุนต่างชาติ หลีกเลี่ยงกฎข้อบังคับในประเทศ กรอบข้อเสนอนี้
จะสร้างระบบการฟ้องร้องที่ออกแบบให้ปกป้อง “สิทธิ์” ของนักลงทุนเหนือพลเมือง
Such
trade deals have often been marketed to American workers as a boon for jobs and
domestic industries, but they’ve generally been condemned by unions and
activists as a lose-lose for workers at home and abroad, encouraging companies
to capitalize on poorer economies where sweatshops can flourish unfettered by
regulatory protections. Historically, trade deals like NAFTA and its Central
American counterpart, CAFTA, are associated with economic displacement and
instability, the erosion of labor and human rights standards, and the
subordination of national sovereignty to foreign investors.
ข้อตกลงการค้าเช่นนี้
มักถูกเร่ขายต่อคนวงานอเมริกันมาตลอด ว่าเป็นบุญหล่นทับสำหรับการสร้างงาน
และอุตสาหกรรมในประเทศ แต่มันได้ถูกประณามโดยสหภาพแรงงาน
และนักรณรงค์ว่าเป็นข้อตกลงที่คนงานในประเทศและต่างประเทศ มีแต่แพ้-แพ้
ด้วยการชักจูงให้บริษัทสะสมทุน/กอบโกยฉวยโอกาสจากเศรษฐกิจที่ยากจนกว่า ที่ๆ
โรงงานอาบเหงื่อ สามารถผุดขึ้นทั่วโดยไม่ถูกกักกันด้วยกฎเกณฑ์ปกป้องสิทธิ์ จากประวัติศาสตร์ ข้อตกลงการค้า เช่น นาฟตา
และคู่ค้าในอเมริกากลาง คาฟตา (Central American counterpart, CAFTA)
เกี่ยวโยงกับการเบียดขับและความไม่เสถียรของเศรษฐกิจ การกัดกร่อนมาตรฐานแรงงานและสิทธิมนุษยชน
และการสยบอธิปไตยของชาติให้อยู่ใต้นักลงทุนต่างชาติ
This
new “partnership” aims to lock poorer nations like Vietnam and Peru, which are
known for weak labor protections and violations of workers’ rights, even more
tightly into a labor and trade system in which capital trumps law. Meanwhile in
“emerging economies” like China, often seen as the chief beneficiaries of
global trade, such trade deals seem designed specifically to kick the labor
standards even further down. "A lot of corporations and major retailers
seem to feel that Chinese workers are now demanding too much, that they're
being paid too much, and they want to move offshore to even lower [paying]
countries like Vietnam," says Arthur Stamoulis, executive director of
Citizens Trade Campaign. "So this is absolutely about increasing and
furthering the global race to the bottom."
“หุ้นส่วน” ใหม่นี้
มุ่งที่จะกักขังประเทศที่ยากจนกว่า เช่น เวียดนามและเปรู ที่รู้กันว่า
มีกลไกอ่อนแอในการปกป้องแรงงาน และละเมิดสิทธิคนงาน ให้แน่นหนายิ่งขึ้นในระบบแรงงานและการค้า
ที่ทุนอยู่เหนือกฎหมาย ในขณะเดียวกัน ใน
“เศรษฐกิจที่กำลังโผล่ขึ้นมา” เช่น จีน ที่มักถูกมองว่าเป็นผู้ได้รับประโยชน์ต้นๆ
ในการค้าโลกนั้น ข้อตกลงดังกล่าว ดูเหมือนจะออกแบบเฉพาะเพื่อถีบมาตรฐานแรงงานให้จมลึกลง “บรรษัทมากมาย และผู้ขายปลีกหลักๆ
ดูเหมือนจะรู้สึกว่า คนงานจีน เริ่มเรียกร้องมากเกินไปแล้ว ว่า พวกเขาได้รับค่าจ้างมากเกินไปแล้ว
และพวกเขาต้องการถอนฐานย้ายไปประเทศที่ (จ่าย) ต่ำกว่า เช่น เวียดนาม” อาร์เธอร์ สตามูลิส
กล่าว (ผอ. พลเมืองรณรงค์การค้า) “ดังนั้น
อันนี้มันเป็นเรื่องของการเพิ่มระดับการแข่งขันในโลกเต็มที่จนสุดก้นบึ้ง”
For
U.S. workers, Stamoulis says the TPP will draw workers in both wealthy and poor
countries into a hemispheric downward spiral. "The more trade pacts we
approve like this, the less and less tax revenue there is for new public
services, the greater the downward pressure on wages and benefits of the jobs
that are left," Stamoulis says. "This is an example of a trade
agreement that only benefits those at the very top."
สำหรับคนงานในสหรัฐฯ
สตามูลิสบอกว่า TPP
จะดึงคนงานจากประเทศทั้งร่ำรวยและยากจน เข้าสู่การดิ่งพสุธาลง “ข้อตกลงการค้าเช่นนี้
หากเรายอมให้ผ่านมากเท่าไร
ก็จะเก็บเกี่ยวเงินภาษีสำหรับการบริการสาธารณะได้น้อยลงๆ มากเท่านั้น จะยอมให้มีแรงกดดันขาลงต่อค่าแรงและผลประโยชน์ในงานที่หลงเหลืออยู่
... นี่เป็นตัวอย่างของข้อตกลงการค้าหนึ่ง
ที่มีแต่คนชั้นสูงสุดเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์”
Market
liberalization has previously spelled disaster for many U.S. workers. The
recently finalized South Korea-U.S. trade deal, for instance, has been
projected to eliminate about 159,000 U.S. jobs, according to a 2010 study by
the Economic Policy Institute, and threatens to disrupt trade regulations in
both nations' auto industries.
ตลาดเสรี
(ปลดปล่อยให้ตลาดไม่ถูกรัฐควบคุม หรือ “ออกนอกระบบ”) ได้ยังผลหายนะต่อคนงานในสหรัฐฯ
มากมาย เช่น ข้อตกลงการค้า
เกาหลีใต้-สหรัฐฯ ที่เพิ่งเสร็จสมบูรณ์ลง ได้ถูกคาดหมายว่า จะขจัดงานในสหรัฐฯ ถึง159,000 รายการ จากการศึกษาในปี 2010
โดยสถาบันนโยบายเศรษฐกิจ และขู่ที่จะรื้อถอนกฎข้อบังคับทางการค้าต่ออุตสาหกรรมรถยนต์
ในทั้งสองชาติ
According
to Public Citizen’s analysis, working people might not only face the threat of
job loss under TPP, but also the undermining of Medicare and Medicaid programs,
new copyright restrictions that inhibit internet freedom, or attacks on the Buy
American policy, which promotes the use of U.S. goods and services for
government contracts.
จากการวิเคราะห์ของ
พลเมืองสาธารณะ ประชาชนที่ทำงาน
ไม่เพียงแต่จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการสูญเสียงานว่าจ้าง ภายใต้ข้อตกลง TPP แต่ยังจะกัดกร่อนโปรแกมดูแลสุขภาพทั่วหน้า ข้อจำกัดปกป้องลิขสิทธิ์ใหม่ๆ
จะยับยั้งอิสรภาพในอินเตอร์เน็ต หรือคุกคามนโยบาย อเมริกันซื้อ
ที่ส่งเสริมให้โครงการที่ทำสัญญากับรัฐบาล ให้ใช้สินค้าที่ผลิตและการบริการในสหรัฐฯ
As
Josh Eidelson reported at Salon, union officials have criticized the lack of
transparency in the negotiations and denounced the administration’s pandering
to multinationals. But the secrecy surrounding the agreement poses a challenge
for labor and community groups, which are isolated both from the trade talks
and from the lawmakers expected to rubber stamp it.
ดังที่โจช ไอเดลสัน
ได้รายงานที่ ซาโลน เจ้าหน้าที่ของสหภาพ
ได้วิจารณ์การเจรจาต่อรองที่ไร้ความโปร่งใส และประณามรัฐบาล
ที่ทำตัวเหมือนแม่เล้าให้บรรษัทนานาชาติ
แต่การทำตัวลึกลับรอบๆ ข้อตกลง กลายเป็นความท้าทายสำหรับแรงงานและกลุ่มชุมชน
ที่ถูกกีดกันออกจากทั้งโต๊ะเจรจาการค้า และคนเขียนกฎหมาย
ที่ถูกคาดหมายให้เป็นตรายางอนุมัติ
When
investors are able to invoke their “rights” against national governments, the
effects may manifest in unexpected aspects of our lives. Huffington Post
reports that the pretext of destroying trade barriers has been used to attack
U.S. measures like “dolphin-safe tuna labelling and anti-teen smoking efforts.”
เมื่อนักลงทุนสามารถอ้าง
“สิทธิ์” ของพวกเขาสู้กับรัฐบาลแห่งชาติ ผลกระทบต่อชีวิตของพวกเรา ย่อมคาดไม่ได้ นสพ ฮัฟฟิงตัน รายงานว่า การปลอมตัวว่าเป็นการทำลายอุปสรรคในการค้า
ได้ถูกใช้โจมตีมาตรการในสหรัฐฯ เหมือนกับ “ความพยายาม ติดป้ายปลาทูนา
เพื่อปกป้องโลมา และห้ามวัยรุ่นสูบบุหรี่”
In
one CAFTA investor-state dispute case, documented by Public Citizen, the
Wisconsin-based mining firm Commerce Group Corporation waged a legal challenge
against El Salvador after losing environmental permits due to a failed audit,
“claiming expropriation and denial of fair and equitable treatment.”
ในกรณีขัดแย้งหนึ่งระหว่าง นักลงทุนคาฟตา-รัฐ
ที่บันทึกโดย พลเมืองสาธารณะ
บรรษัทกลุ่มพาณิชย์ ซึ่งเป็นบริษัทขุดแร่ มีฐานที่รัฐวิสคอนซิน
ได้ฟ้องร้องรัฐบาลเอลซาลวาดอร์ หลังจากถูกริบใบอนุญาตทางสิ่งแวดล้อม
เพราะบัญชีไม่ผ่านการตรวจสอบ “อ้างว่า การยึดทรัพย์สิน
และการไม่ยอมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม”
Neoliberal
ideology has redefined “fair and equitable treatment” as deference to corporate
sanctity. As the talks speed ahead, the public may not even become aware of the
Trans Pacific Partnership until it begins to directly harm their livelihoods.
Now the damage is already happening behind closed doors, as trade officials
quietly change the locks on the institutions that are supposed to serve the
public.
อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่
ได้ให้คำนิยามใหม่แก่ “การปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียม”
ว่าเป็นการเชื่อฟัง/เคารพนับถือ ความศักดิ์สิทธิ์ของบรรษัท ในขณะที่การเจรจาแล่นฉิวไปข้างหน้า
สาธารณชนอาจไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่ามี TPP
จนกว่ามันจะเริ่มทำร้ายวิถีชีวิตของเรา
ตอนนี้ ความเสียหายได้เริ่มเกิดขึ้นข้างหลังประตูห้องเจรจา
เมื่อเจ้าหน้าที่การค้าแลกเปลี่ยนแม่กุญแจของสถาบันที่ควรจะรับใช้สาธารณะ...อย่างเงียบกริบ
©
2012 In These Times
Michelle
Chen is a contributing editor at In These Times. She is a regular contributor
to the labor rights blog Working In These Times, Colorlines.com, and Pacifica's
WBAI. Her work has also appeared in Common Dreams, Alternet, Ms. Magazine,
Newsday, and her old zine, cain.
Published
on Thursday, June 21, 2012 by In These Times
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น