Feeding the World in the 21st Century
การเลี้ยงดูโลกในศตวรรษที่ 21
Over the last two
decades of the 20th century, a global movement took shape with the aim of defending
and promoting more sustainable forms of agricultural production. Resulting from
a decentralised and diversified movement, and building on the work of millions
of farmers all over the world, agro‑ecology emphasizes the development and maintenance
of complex ecological processes. This has proved to have the potential to meet the
food challenge in the 21st century.
Jean Marc von der Weid
ในสองทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ได้เกิดการขับเคลื่อนระดับโลก
ที่มุ่งหมายปกป้องและส่งเสริมรูปแบบการผลิตทางเกษตรที่ยั่งยืนกว่า เกษตรนิเวศ—เป็นผลจากการขับเคลื่อนแบบดาวกระจายและหลากหลาย
และต่อยอดจากงานของชาวนานับล้านทั่วโลก—ได้เน้นการพัฒนาและการธำรงกระบวนการที่ซับซ้อนของนิเวศ มันได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพที่จะรับมือกับข้อท้าทายด้านอาหารในศตวรรษที่
21
-จีน มาร์ค วอน เดอร์ หวีด
The introduction of chemical fertilizers and the scientific genetic
improvement of crop species in the final quarter of the 19th century heralded
the possibility of surpassing the Malthusian limit, which predicted that the
expansion of the world population would eventually be checked by the limited
global capacity for food production. At the end of the 20th century this
promise appeared fulfilled.
การเริ่มใช้ปุ๋ยสังเคราะห์เคมีและประเภทของพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุกรรมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ใน 25 ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 เป็นการป่าวประกาศถึงความเป็นไปได้ที่จะก้าวพ้นขอบเขตจำกัดที่
มัลธุส ได้พยากรณ์ว่า ประชากรโลกจะขยายตัวเรื่อยๆ จนในที่สุดเกินขีดความสามารถของโลกในการผลิตอาหาร ในท้ายศตวรรษที่ 20
ดูเหมือนคำสัญญานี้ ก็ได้มาถึง
Despite the rapid expansion of the world’s population, the
relative number of people suffering from hunger had fallen steadily to around
840 million.
ทั้งๆ ที่ประชากรโลกขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แต่ตัวเลขเปรียบเทียบของคนหิวโหยได้ลดลงตลอดถึง 840 ล้านคน
This situation changed abruptly at the start of the 21st century.
Just three years before the 2015 deadline established by the world community
for halving the number of undernourished people in the world, the spectre of
endemic hunger has come back to haunt us with a resurgence of problems with
aggregate food production. Not only has the pledged reduction in the number of
hungry people not occurred, but there has been an increase in the absolute
number of hungry people to over one billion. This situation is even more
alarming when we consider that food production will have to increase 100% by
the mid 21st century, when the global population is predicted to stabilise at
between 9 and 10 billion inhabitants.
สถานการณ์นี้เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันตอนเริ่มศักราชของศตวรรษที่
21
เพียงสามปีก่อนปีเส้นตาย 2015 ที่กำหนดโดยประชาคมโลก
ที่ว่าจะลดจำนวนประชากรทุโภชนาทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ปรากฏการณ์ความหิวโหยในถิ่นต่างๆ
ได้กลับมาหลอกหลอนพวกเรา พร้อมกับการคืนชีพของปัญหาการผลิตมวลอาหาร
ไม่เพียงแต่จำนวนคนหิวโหยไม่ได้ลดลงตามที่ได้ให้สัญญาไว้
แต่จำนวนสุทธิของคนหิวโหยกลับเพิ่มมากกว่าพันล้านคน สถานการณ์เช่นนี้ดูยิ่งน่าตระหนกยิ่งขึ้น
เมื่อเราคำนึงถึงการเพิ่มผลผลิตอาหารที่จะต้องมากขึ้น 100%
ในกลางศตวรรษ ๒๑ เมื่อประชากรโลกถูกพยากรณ์ว่า จะคงที่ๆ 9
และ 10 พันล้านคน
The roots of the food production crisis
รากเหง้าของวิกฤตการผลิตอาหาร
The modernized production system that was so successful in
surpassing the Malthusian limit also contained, within itself, the seeds of the
present crisis. Firstly, it engendered an enormous concentration of land in the
hands of small numbers of producers, excluding hundreds of millions of family
farmers from access to land. Because production is capital intensive, it also
denied access to work for millions of agricultural workers. However, the greatest
vulnerability of this system is its dependence on the unsustainable use of
renewable and nonrenewable natural resources.
ระบบการผลิตสมัยใหม่ที่ได้ประสบความสำเร็จมากมายทะลุขีดจำกัดของมัลธุส
ก็มีอยู่ในตัวเอง เมล็ดพันธุ์แห่งวิกฤตทุกวันนี้
ประการแรก มันก่อให้เกิดการกระจุกตัวของที่ดินในมือของผู้ผลิตจำนวนน้อยนิด
และกีดกันครอบครัวชาวนานับหลายร้อยล้านไม่ให้เข้าถึงที่ดินทำกิน เนื่องจากการผลิตต้องใช้ทุนสูง
มันได้ปฏิเสธแรงงานเกษตรนับล้านไม่ให้มีงานทำ
ถึงกระนั้น ความเปราะบางที่สุดของระบบนี้ คือ
การพึ่งอิงกับการนำทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้และทดแทนไม่ได้
มาใช้อย่างไม่ยั่งยืน
This system has been depleting renewable resources for many years,
and their loss is already being felt.
ระบบนี้
ได้ถลุงทรัพยากรทดแทนได้มาหลายปีแล้ว และเราเพิ่งรู้สึกถึงการสาปสูญของทรัพยากรเหล่านี้
Farming now occupies almost 30% of the global land area and has a
bigger impact on natural ecosystems than any other human activity. Of the 8.7
billion hectares used for crop production, pasture and forests, 2 billion have
been degraded since the end of the Second World War. Farming consumes 70% of
all water utilised by humans. Intensive irrigation systems, which are now
widespread in many parts of the world, are exhausting the aquifers on which
they rely. Estimates suggest that 75% of the world’s agricultural biodiversity
has become extinct over the last century. Much of this loss has occurred in the
last 50 years with the replacement of traditional varieties and species by
commercial genotypes, developed for large-scale use and making substantial
profits for the companies that develop and sell them.
การทำไร่นาทุกวันนี้ ครอบคลุมเกือบ 30%
ของผืนดินบนโลก และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศธรรมชาติมากกว่ากิจกรรมอื่นใดของมนุษย์ ในบรรดา 8.7
พันล้านเฮกเตอร์ที่ใช้ผลิตพืช ทุ่งหญ้า และป่าไม้ พื้นที่ 2
พันล้านเฮกเตอร์ ได้ถูกทำให้เสื่อมโทรมตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง การทำไร่นาต้องใช้น้ำถึง 70% ที่มนุษย์ใช้
ระบบชลประทานที่เข้มข้น ที่แพร่ขยายไปในหลายภาคส่วนของโลก
กำลังดูดใช้แหล่งน้ำในท้องที่จนหมดสิ้น
มีการประเมินแนะว่า ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 75% ในช่วงศตวรรษที่แล้ว
การสูญหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นใน 50 ปีหลัง
ด้วยการแทนที่สายพันธุ์ดั้งเดิมด้วยสายพันธุ์พาณิชย์ที่ได้รับการตัดแต่งทางพันธุกรรม
ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิตมากๆ และให้ได้กำไรสูงๆ
สำหรับบริษัทที่พัฒนาและขายมัน
This
reduction in genetic variability makes farming more vulnerable to pests and
diseases. And this steep decline in the genetic variability of cultivated species
has been accompanied by changes in the agro-food system, which have further
contributed to reducing the overall number of species consumed.
การถดถอยความหลากหลายทางพันธุกรรม
ทำให้การทำไร่นาเปราะบางยิ่งขึ้นต่อแมลงและโรค
และการดิ่งลดลงในเชิงความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์พืชเพาะปลูก
ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในระบบเกษตร-อาหาร
ที่ได้ส่งผลให้ลดจำนวนประเภทที่มนุษย์บริโภคได้
Taken
together, this narrowing of the food base and genetic variability is
contributing decisively to the loss of food sovereignty and the increase in
food and nutritional insecurity.
พอเอามารวมกัน
การทำให้ฐานอาหารและความหลากหลายเชิงพันธุกรรมแคบลง
ส่งผลให้สูญเสียอธิปไตยทางอาหารและเพิ่มความไม่มั่นคงทางอาหารและโภชนาการ
The
accelerating degradation of non-renewable natural resources by conventional
farming also poses a grave risk to the future capacity to feed the world’s population.
Conventional food production, rooted in the technical-scientific principles of
the Green Revolution, depends on the intensive and systematic use of fossil
fuels and natural sources of phosphates and potassium, resources that are now
becoming scarce. Higher oil prices, caused by the growing depletion of the
world’s reserves, directly inflate food prices. This is a result of the importance
of this energy source in the production of chemical fertilizers and pesticides,
as well as in operating farm machinery and the processing, storage,
refrigeration and long-distance transportation of farm produce.
การลดถอยอย่างเร่งด่วนของทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนไม่ได้
โดยการทำไร่นากระแสหลัก
ก็มีส่วนสร้างความเสี่ยงมหันต์ในสมรรถภาพของอนาคตที่จะเลี้ยงดูประชากรโลก การผลิตอาหารกระแสหลัก
ที่ตั้งอยู่บนหลักการเทคนิค-วิทยาศาสตร์ของ ปฏิวัติเขียว ใช้วิธีการที่เข้มข้นและเป็นระบบ
ในการสกัดและใช้เชื้อเพลิงจากซากพืช-สัตว์ดึกดำบรรพ์
และธาตุฟอสเฟสและโปตัสเซียมจากแหล่งธรรมชาติ
อันเป็นทรัพยากรที่ตอนนี้ขาดแคลน ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
เพราะน้ำมันสำรองในโลกถดถอยลดหายไปอย่างรวดเร็ว
ได้ทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้นโดยตรง
นี่เป็นผลจากการที่แหล่งพลังงานนี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง
รวมทั้งขับเคลื่อนเครื่องจักรกลและการแปรรูป การเก็บรักษา การแช่เย็น
และการขนส่งผลิตผลจากไร่นาไปไกลๆ
Fertilizer
prices rose substantially between 1999 and 2008 and, although they fell with
the recent global economic crisis, they remain 3
times more expensive than at the start of the 21st century and are likely to continue
to rise. Pesticide costs have also continued to escalate, pushed upwards by
high oil prices. These inputs are also becoming less effective in controlling “undesirable”
organisms. Despite the systematic increase in the volume of pesticides applied
to crops, harvest loss rates have risen in recent decades. Since the start of
the 1990s, the imbalance has worsened, particularly due to the growing
resistance of pests and weeds to pesticides employed in protecting transgenic
crops.
ราคาปุ๋ยได้พุ่งสูงขึ้นมากระหว่างปี 1999 และ 2008 แม้ว่า
ราคาจะตกลงบ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกเร็วๆ นี้ มันก็ยังคงแพงกว่าราคาตอนเปิดศักราชศตวรรษที่
21 ถึง 3 เท่าตัว
และก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ราคายาฆ่าแมลง
ก็พุ่งขึ้นเรื่อยๆ ตามราคาน้ำมัน
วัตถุดิบเหล่านี้ก็มีประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ ในการควบคุมสิ่งมีชีวิต
“ที่ไม่พึงประสงค์” ทั้งๆ
ที่มีการเพิ่มปริมาณยาฆ่าแมลงอย่างเป็นระบบในพืชที่เพาะปลูก
อัตราการสูญเสียในยามเก็บเกี่ยวก็เพิ่มมากขึ้นในทศวรรษใกล้ๆ นี้ ตั้งแต่เริ่มทศวรรษ 1990 ความไม่สมดุลทรุดแย่ลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เนื่องจากแมลงและวัชพืชมีภูมิต่อต้านยาฆ่าแมลงที่ใช้ป้องกันพืชที่ข้ามสายพันธุ์
The agro-ecological alternative
ทางเลือกเกษตรนิเวศ
Over the last two decades of the 20th century, a global movement
took shape with the aim of defending and promoting more sustainable forms of
agricultural production. The emergence of this movement has been completely
decentralised and diversified, and employs a variety of names and concepts.
Explicitly opposing the conventional pattern of agricultural development founded
on the paradigm of the Green Revolution, the movement was initially described
as an “alternative agriculture”. From the 1990s onwards, and especially in
Latin America, this vague term has been replaced by the term “agro-ecology”.
ในช่วงสองทศวรรษหลังของศตวรรษที่ 20
ได้เกิดการขับเคลื่อนระดับโลก
ที่มุ่งหมายปกป้องและส่งเสริมรูปแบบการผลิตทางเกษตรที่ยั่งยืนกว่า การอุบัติขึ้นของการเคลื่อนไหวนี้ เป็นไปแบบดาวกระจายและหลากหลายเต็มที่
และใช้ชื่อและกรอบคิดต่างๆ มากมาย
ที่เห็นได้ชัดเจนคือ งัดข้อกับแบบแผนการพัฒนาเกษตรกรรมกระแสหลัก
ที่ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ของปฏิวัติเขียว
การขับเคลื่อนนี้ ในระยะแรกถูกเรียกว่า “เกษตรทางเลือก” ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในลาตินอเมริกา คำคลุมเครือนี้
ได้ถูกแทนที่ด้วย “เกษตรเชิงนิเวศ”
Defined
as a science that applies ecological concepts and principles to the design of
sustainable agroecosystems, agro-ecology emphasises the development and
maintenance of complex ecological processes capable of enhancing soil
fertility, as well as the productivity and health of crops and livestock. The degree
to which agro-ecology represents a rupture from conventional systems can vary
considerably:
มีการให้คำจำกัดความว่า
เป็นวิทยาศาสตร์หนึ่งที่ประยุกต์ใช้แนวคิดและหลักการเชิงนิเวศ
เพื่อออกแบบระบบเกษตร-นิเวศ ที่ยั่งยืน
เกษตร-นิเวศ เน้นการพัฒนาและธำรงกระบวนการนิเวศที่ซับซ้อน
ที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งผลิตภาพ
และสุขภาพของธัญพืชและปศุสัตว์
ระดับของเกษตร-นิเวศ ที่ฉีกแนวจากระบบกระแสหลัก มีหลากหลาย
Some
approaches simply seek to reduce or replace the use of chemical fertilizers and
pesticides; others involve completely restructuring the logic behind the
technical and economic organisation of farming systems. An agro-ecosystem
designed in accordance with agro-ecological principles will establish a strong structural
and functional correspondence with the natural ecosystems in which it is
embedded.
บางแนวเพียงแค่ลดหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง วิธีอื่นๆ
รื้อถอนโครงสร้างของตรรกะที่อยู่เบื้องหลังกลไก/องค์กรด้านเทคนิคและเศรษฐกิจของระบบเกษตรกรรม ระบบเกษตร-นิเวศ ที่ถูกออกแบบตามหลักเกษตร-นิเวศ
จะสร้างโครงสร้างและระบบการทำงานที่แข็งแรง สอดคล้องกับระบบนิเวศธรรมชาติ
ที่มันฝังตัวอยู่
Agro-ecosystems
have a high degree of local specificity. This means that their development,
which is along agro-ecological lines, requires much local innovation. This is
in stark contrast to the diffusion of universal technical packages, the
solution that is implicit in the Green Revolution paradigm.
ระบบเกษตร-นิเวศ มีระดับความเฉพาะเจาะจงตามท้องที่ๆ
มันตั้งอยู่ ซึ่งหมายความว่า
การพัฒนาของมัน ในแนวทางของเกษตร-นิเวศ จะพึ่งนวัตกรรมท้องถิ่นมาก อันนี้ตรงข้ามอย่างมากกับการแพร่กระจายชุดเชิงเทคนิคครอบจักรวาล
อันเป็นทางออกที่ไม่เคยถูกตั้งคำถามในกระบวนทัศน์ ปฏิวัติเขียว
Agro-ecological
efficiency involves developing and maintaining agro-ecosystems with a wide
diversity of livestock breeds and crops, the latter of which is achieved
through crop combinations, rotations and successions. Managing the complexity
inherent to this type of agricultural system sets limits on the size of the
production units and the possibilities for mechanising farm work. For this
reason, the system requires highly skilled and flexible labour that is attentive
to detailed management issues, implying that labour in agro-ecological systems is
highly involved in the management of the system. This is also in stark contrast
to conventional systems, where much of the work is
essentially mechanical and separated from the
management process. Small- and medium-sized family units are well placed to
indivisibly integrate work and management, a
basic condition for managing the complexity inherent to agro-ecological systems.
Even though agro-ecological principles can be employed by large private sector
producers, the level of economic and ecological efficiency in these larger
production units tends to be much lower than in small family managed units. In
summary: peasant family farming is the ideal socio-cultural base for promoting
the agroecological alternative on a large scale.
ความมีประสิทธิภาพของเกษตร-นิเวศ
รวมถึงการพัฒนาและธำรงระบบเกษตร-นิเวศ
ด้วยความหลากหลายของพันธุ์ปศุสัตว์และธัญพืช
ประการหลัง เกิดขึ้นได้จากการผสมผสานพืช การปลูกแบบหมุนเวียน
และการปลูกต่อเนื่องกัน
การจัดการความซับซ้อนที่เป็นปกติวิสัยของระบบเกษตรกรรมแบบนี้ ขีดเส้นจำกัดขนาดของการผลิตต่อหน่วย
และความเป็นไปได้ในการใช้เครื่อวจักรกลในไร่นา
ด้วยเหตุนี้ ระบบจึงจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะและมีความยืดหยุ่นสูง
ที่ให้ความสนใจต่อรายละเอียดของประเด็นการจัดการ หมายความว่า
แรงงานในระบบเกษตร-นิเวศ มีส่วนร่วมในการจัดการระบบอย่างสูง นี่ก็เป็นความแตกต่างอย่างมากจากระบบกระแสหลัก
ที่งานส่วนใหญ่ทำด้วยเครื่องจักรกล และแปลกแยกจากกระบวนการจัดการ ครอบครัวขนาดเล็กและขนาดกลาง
เหมาะสำหรับงานและการจัดการที่แยกส่วนไม่ได้แต่ผสมผสานกัน อันเป็นเงื่อนไขพื้นฐาน
สำหรับจัดการความซับซ้อนที่เป็นปกติวิสัยของระบบเกษตร-นิเวศ แม้ว่า ผู้ผลิตภาคเอกชน/ธุรกิจขนาดใหญ่
จะนำหลักการของเกษตร-นิเวศ ไปใช้ได้ แต่ระดับประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจและนิเวศในหน่วยการผลิตขนาดใหญ่เหล่านี้
มักจะด้อยกว่า ในหน่วยที่จัดการโดยครอบครัวขนาดเล็ก สรุปคือ ครอบครัวชาวไร่ชาวนา
เป็นฐานสังคม-วัฒนธรรมในอุดมคติ เพื่อส่งเสริมทางเลือกเกษตร-นิเวศในวงกว้าง
The potential to meet the food challenge in the 21st century
ศักยภาพในการตอบโจทย์ท้าทายด้านอาหารในศตวรรษที่ 21
According to a survey conducted by Jules Pretty, professor at the
University of Sussex, more than 1.4 million farmers across the world have
adopted agro-ecological approaches. His study identified average increases of
100% in the productivity of hundreds of projects after adoption of these
principles with records of 400% increases in more advanced agro-ecological
systems. As well as high productivity levels, the agro-ecological systems also
showed other benefits, countering many of the factors responsible for the
crisis in conventional farming: they have a positive energy balance and low
fossil fuel energy use; they are economic in their use of water; they
recuperate and conserve soil fertility without the use of external inputs, as
well as being resistant to soil erosion; they function as “carbon sinks” and
emit few greenhouse gases; they are
functionally integrated with the natural vegetation, providing greater
stability to local microclimates and they do not
generate chemical or genetic contamination.
จากการสำรวจโดย จูลส์ พริตตี้
ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยซัสเส็ก
ชาวไร่ชาวนากว่า 1.4 ล้านคนทั่วโลก ได้ยอมรับแนงทางเกษตร-นิเวศ
การศึกษาของเขาได้ระบุหลายร้อยโครงการที่มีผลิตภาพเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 100% หลังจากปรับเปลี่ยนไปใช้หลักการเหล่านี้ และในกลุ่มที่มีระบบเกษตร-นิเวศก้าวหน้ากว่า
ก็พบว่า ผลิตภาพเพิ่มถึง 400% ในทำนองเดียวกับผลิตภาพที่เพิ่มสูงขึ้น
ระบบเกษตร-นิเวศ ก็มีประโยชน์อื่นๆ ที่ถ่วงดุลกับหลายๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตในเกษตรกรรมกระแสหลัก: พวกมันมีพลังสมดุลในทางบวก
และใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์น้อยมาก
พวกมันประหยัดน้ำ
พวกมันฟื้นฟูและอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
โดยไม่ต้องเติมวัตถุดิบจากภายนอก รวมทั้งต่อต้านการพังทลายของดิน พวกมันทำงานเสมือน “อ่างเก็บคาร์บอน”
และถ่ายก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก พวกมันทำงานแบบบูรณาการ/ผสมผสานกับพืชพรรณธรรมชาติ
ทำให้เกิดความเสถียรมากกว่าต่อภูมิอากาศระดับจุลภาค และพวกมันไม่ถ่ายสารเคมีหรือทำให้ปนเปื้อนระดับพันธุกรรม
Taken as a whole, these positive effects indicate that promoting
agro-ecology is a strategy that is consistent with providing a comprehensive
structural response to the crisis in the conventional farming model, and specifically
with meeting the challenge of feeding an expanding world population while
respecting the constraints imposed by considerations of sustainability conditions.
This potential was confirmed by the International Assessment of Agricultural
Science and Technology for Development, an initiative financed by organisations
linked to the United Nations. This research project combined the efforts of a
group of 400 scientists from various different disciplines and countries from
every continent in the world over a period of three years. More explicitly, the
United Nations Special Rapporteur on the Human Right to Food issued a statement
in 2010 in which he argues that agro-ecology can simultaneously increase
agricultural productivity and food security, improve the incomes of family
farmers and contain the genetic erosion created by industrial farming.
ในภาพรวม ผลกระทบบวกเหล่านี้
ชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมเกษตร-นิเวศ
เป็นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับการตอบสนองเชิงโครงสร้างอย่างครอบคลุม
ต่อวิกฤตในโมเดลของเกสรกรรมกระแสหลัก
และเป็นคำตอบต่อโจทย์ท้าทายในการเลี้ยงดูประชากรโลกที่ขยายตัว
ในขณะที่เคารพข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อทรงสภาวะของความยั่งยืน ศักยภาพนี้ ได้รับการยืนยันจาก
การประเมินวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางเกษตรเพื่อการพัฒนา
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรที่เชื่อมโยงกับสหประชาชาติ โครงการวิจัยนี้
ได้รวมงานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ 400 คน
จากสาขาวิชาต่างๆ จากหลายๆ ประเทศในทุกทวีปในโลก เป็นเวลาสามปี ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติในด้านสิทธิมนุษยชนด้านอาหาร
ได้แถลงในปี 2010 ว่า เกษตร-นิเวศ
สามารถจะเพิ่มผลิตภาพของเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร ช่วยเพิ่มรายได้ของครอบครัวชาวไร่ชาวนา
และช่วยสกัดการสึกกร่อนของพันธุกรรมที่ก่อเกิดโดยอุตสาหกรรมเกษตร
A political challenge
การท้าทายทางการเมือง
The main challenge
to widespread adoption of the agro-ecological approach is not technical but
political. It involves the need to overcome the political, economic and ideological
might of the agribusiness sectors that drive the continued expansion of the
industrial farming model. Among the many well-documented negative effects of
this approach, the expansion of the agribusiness model has been the main factor
responsible for the disappearance of small-scale family farming worldwide. This
disappearance not only means fewer family production units capable of making
the much-needed agro-ecological transition, it also implies the loss of the
traditional culture of rural peoples and communities, an essential element in
the construction of agro-ecological knowledge that can be adapted to a wide
variety of socio-environmental contexts.
ความท้าทายต่อการแพร่ขยายแนวทางเกษตร-นิเวศ
ไม่ใช่เรื่องทางเทคนิค แต่เป็นการเมือง
มันจำเป็นต้องเอาชนะอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และอุดมการณ์ของภาคเกษตรพาณิชย์
ที่ขับเคลื่อนการแผ่อิทธิพลของโมเดลอุตสาหกรรมเกษตรอย่างต่อเนื่อง ในบรรดาผลกระทบเชิงลบของแนวทางนี้
ที่ถูกบันทึกมากมาย คือ การแผ่อิทธิพลของโมเดลเกษตรพาณิชย์
เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ครอบครัวชาวไร่ชาวนาขนาดเล็กสูญหายไปทั่วโลก การสูญหายไปนี้ ไม่เพียงหมายถึงมีไม่กี่หน่วยผลิตระดับครอบครัวที่สามารถทำการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เกษตร-นิเวศ
ที่เร่งด่วนนี้
มันยังหมายถึงการสูญเสียวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวชนบทและชุมชน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการก่อสร้างองค์ความรู้เกษตร-นิเวศ
ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคม-สิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
The
crisis engendered by the unsustainable nature of globalised agriculture based
on industrialised monocrops has been masked by the constant rise in public
subsidies for agribusiness. However, the permanent accentuation of this crisis,
along with the continuing depletion of natural resources and the increase in
global demand for food, are indisputable and inescapable facts. In the context
of the Rio+20 Summit, it remains to be seen what, if any, concrete measures are
taken to move humanity away from this destructive yet entirely avoidable
trajectory.
วิกฤตที่เกิดจากความไม่ยั่งยืนของเกษตรกรรมโลกที่ตั้งอยู่บนอุตสาหกรรมพืชเชิงเดี่ยว
ได้ถูกปกคลุมบดบังโดยการที่รัฐบาลให้ความสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอแก่เกษตรพาณิชย์ แต่การปะทุขึ้นอย่างถาวรของวิกฤตนี้
รวมทั้งการลดทอนสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง
และการเพิ่มความต้องการอาหารในโลก
ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้และหลีกหนีไม่พ้น ในบริบทของการประชุมสุดยอดริโอ+20 เราคงจะได้เห็นกัน
ว่าจะมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมใดจากมติที่ประชุม
ที่จะขยับมนุษยชาติออกจากวิถีโคจรแห่งความหายนะ แต่ก็ยังหลีกเลี่ยงได้
In
practice the question is: how do we create the conditions needed for
agro-ecology to supersede the agribusiness model? An assessment conducted in
the United States found that the country would need 40 million production units
in order for U.S. agribusiness production to be supplanted by agroecological family
farming. As the current number of farming units in the United States is around
2 million, this difference would have to be filled by “neopeasants”.
The
difficulties in incorporating so many people in farming activities would make
this transition extremely difficult and painful for U.S. society.
ในทางปฏิบัติ คำถามคือ
เราจะสร้างภาวะที่จำเป็นต้องมีสำหรับ เกษตร-นิเวศ เพื่อแซงหน้าโมเดลเกษตรพาณิชย์ได้อย่างไร? การประเมินที่กระทำในสหรัฐฯ พบว่า
ประเทศนี้ต้องการหน่วยผลิตดังกล่าวถึง 40 ล้านหน่วย
เพื่อแทนที่การผลิตของเกษตรพาณิชย์ ด้วยครอบครัวชาวไร่ชาวนาเกษตร-นิเวศ เพราะทุกวันนี้ สหรัฐฯ มีเพียง 2 ล้านหน่วย ช่องว่างนี้
จะต้องถมให้เต็มด้วย “ชาวนายุคใหม่”
ความยากลำบากในการรวมคนจำนวนมากในกิจกรรมทำไร่นา
จะเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ยากมากและเจ็บปวดสำหรับสังคมสหรัฐฯ
Yet,
despite its radical nature, such a change is not entirely inconceivable. We
already have the example of Cuba, a country forced to
create a new class of peasants after the abrupt cessation in the supply of inputs
and energy subsidised by the Soviet Bloc. The initial difficulties encountered
by these neo-peasants when learning the principles and practices of agroecology
were partly responsible for the drop in the efficiency of the country’s food
production system for some years and the consequent supply deficit. The most
serious social consequences of this were only averted by the government’s
capacity to distribute the available food among the entire population.
แต่ แม้จะเป็นเรื่องสุดขั้ว
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ก็ใช่ว่าจะเข้าใจไม่ได้
เราได้เห็นตัวอย่างแล้วในคิวบา ประเทศที่ถูกบังคับให้สร้างชนชั้นชาวนาใหม่
หลังจากโซเวียตหยุดส่งวัตถุดิบและให้การสนับสนุนยทางพลังงานอย่างกะทันหัน ความยากเข็ญในระยะแรกที่ชาวนายุคใหม่เหล่านี้ต้องเผชิญ
ในระหว่างการเรียนรู้หลักการและวิธีปฏิบัติของเกษตร-นิเวศ
ส่วนหนึ่งมาจากการที่ระบบการผลิตอาหารของประเทศได้เสื่อมประสิทธิภาพลงหลายปีแล้วและยังผลให้ขาดเสบียงสำรอง ผลทางสังคมที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนี้
ถูกพลิกผันโดยความสามารถของรัฐบาลในการกระจายอาหารที่มีอยู่แก่ประชากรทั้งหมด
The Cuban experience should be taken as a planet-wide alert on the
enormity of the challenges faced by humanity as a whole. Many countries still have
peasant farmers with the knowledge needed for developing agro-ecology,
especially if they are supported by adequate public policies. But, in many other
regions, policies that will protect or re-establish peasant farming are
urgently needed, for example through agrarian reforms and measures that
guarantee territorial rights as well as other measures.
ประสบการณ์ของคิวบา
ควรจะใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยทั่วแผ่นพิภพ
ถึงความท้าทายที่มหาศาลต่อมนุษยชาติทั้งมวล
หลายๆ ประเทศยังมีชาวนาแบบเดิม
ที่มีพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นสำหรับพัฒนาเกษตร-นิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาได้รับการสนับสนุนเพียงพอจากนโยบายสาธารณะ แต่ในอีกหลายๆ ภูมิภาค
จะต้องรีบเร่งกำหนดนโยบายปกป้อง หรือฟื้นฟูเกษตรกรรมชาวนา เช่น ด้วยการปฏิรูปที่ดิน
และมาตรการที่สร้างหลักประกันสิทธิในอาณาเขต รวมทั้งมาตรการอื่นๆ
The sooner we implement measures for promoting agro-food systems
based around agro-ecology peasant farming, the less painful the transition from
an economy based on fossil fuel energy to an effectively sustainable economy
will be.
การลงมือดำเนินการส่งเสริมระบบเกษตร-อาหารบนฐานเกษตร-นิเวศโดยชาวไร่ชาวนาได้เร็วเท่าไร
การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจบนฐานพลังงานจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
สู่เศรษฐกิจยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเจ็บปวดน้อยลงเท่านั้น
Jean Marc von der
Weid works as co-ordinator of the AS-PTA Public Policies Programme. E-mail: jean@aspta.org.br
references
De Schutter, O., 2010.
Report submitted by the Special Rapporteur on the Right to Food. UN General
Assembly. Human Rights Council Sixteenth Session, Agenda item 3 A/HRC/16/49 IAASTD,
2009. Synthesis report: a synthesis of the global and sub-global IAASTD
Reports. Washington, DC. Available at http://www.agassessment.org.
Source: Farming Matters, June 2012, pp.8-11
ดรุณีแปล
/
6-21-12
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น