Governments Gamble with
our Future.
South Feminists Demand
Responsible Action Now
22 June 2012, Rio de Janeiro
รัฐบาลเอาอนาคตของพวกเราเป็นเดิมพันในการพนัน
นักสตรีนิยมในซีกโลกใต้เรียกร้องให้มีความรับผิดชอบ เดี๋ยวนี้
While governments were locked in their semantic battles in
the Rio+20
process, women's and other social movements continue to fight on multiple
fronts for human rights, justice and sustainability. These struggles take place
on diverse territories and geographies including the body, land, oceans and
waterways, communities, states, and epistemological grounds. Each of these
terrains is fraught with the resurgent forces of patriarchy, finance
capitalism, neo-conservatism, consumerism, militarism and extractivism.
ในขณะที่รัฐบาลต่างๆ
งัดข้อกันในสงครามวาทกรรมในกระบวนการ ริโอ+๒๐
การขับเคลื่อนของผู้หญิงและกลุ่มสังคมอื่นๆ ยังคงต่อสู้ต่อไปในด่านต่างๆ
เพื่อสิทธิมนุษยชน ความยุติธรรม และความยั่งยืน
การดิ้นรนเหล่านี้ เกิดขึ้นในปริมณฑลและภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย
รวมทั้งบนเนื้อตัวร่างกาย บนแผ่นดิน ในมหาสมุทรและเส้นทางน้ำ ชุมชน
รัฐ และวงการทฤษฎีของธรรมชาติและความรู้
ในแต่ละพื้นที่ ล้วนเต็มไปด้วยปัญหาของการคืนชีพของพลังปิตาธิปไตย การเงินทุนนิยม อนุรักษ์นิยมใหม่ บริโภคนิยม
การแผ่แสนยานุภาพทางทหาร และการสกัดเบียดขับ
An understanding of the deeper structural roots of the
crises we face today and analytical clarity on the interlinkages between
different dimensions are both critical. There is no core recognition that the
multiple crises we face are caused by the current anthropocentric development
model rooted in unsustainable production and consumption patterns, and
financialisation of the economy that are all based on and exacerbate gender,
race and class inequities.
เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดที่จะต้องเข้าใจรากเหง้าเชิงโครงสร้างระดับลึกของวิกฤตที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้
และวิเคราะห์ให้เห็นชัดเจนถึง ความเชื่อมโยงระหว่างมิติต่างๆ ไม่มีแกนกลางที่ยอมรับว่า
บรรดาวิกฤตทวีคูณที่เราเผชิญอยู่ มีสาเหตุมาจาก
โมเดลการพัฒนาที่มนุษย์เอาตัวเองเป็นเอก ที่หยั่งรากในแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน
และการทำให้ระบบเศรษฐกิจมีแต่เรื่องการเงิน
ที่ตั้งอยู่บนฐาน และเพิ่ม ความไม่เท่าเทียมกันในเชิงเพศสภาพ เชื้อชาติ และชนชั้น
In sharp contrast to twenty years ago at the historic Earth
Summit when linkages between gender and all three pillars of sustainable
development were substantively acknowledged, the Rio+20 outcome document has
relegated women's rights and gender equality to the periphery without
recognition of a wider structural analysis.
เทียบกับการประชุมพิภพสุดยอดประวัติศาสตร์เมื่อ
๒๐ ปีก่อน จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ครั้งนั้น ความเชื่อมโยงระหว่าง
เพศสภาพ/เจนเดอร์ (ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความเป็นหญิงและความเป็นชาย)
และเสาหลักทั้งสามของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้รับการบอมรับในเชิงสาระ ในริโอ+๒๐ เอกสารที่ออกมา ได้ไล่สิทธิสตรี และความเสมอภาคเชิงเจนเดอร์ไปที่ชายขอบ
โดยปราศจากการยอมรับการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างในระดับกว้าง
Over the past few months we have witnessed and confronted
attempts by a small group of ultra conservative states (with the strong support
of an observer state - the Holy See), to roll back hard won agreements on
women's rights. We are outraged that a vocal minority have hijacked the text on
gender and health and blocked mention of sexual and reproductive rights,
claiming that these have nothing to do with sustainable development. Meanwhile
most states concentrate on what they considered their 'big ticket' items of
finance, trade and aid with little interest to incorporate a gender analysis
into these macroeconomic issues.
ในช่วง ๒-๓ เดือนที่ผ่านมา เราได้เป็นพยานรู้เห็น
และปะทะกับความพยายามของรัฐอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง
(ด้วยการหนุนหลังอย่างเข้มแข็งจากรัฐผู้สังเกตการณ์—วาติกัน)
ในการถอนข้อตกลงเรื่องสิทธิสตรีที่ได้มาด้วยการต่อสู้อย่างหนักหน่วง เราเดือดดาลที่ชนกลุ่มน้อยเสียงดังหนึ่ง
ได้ปล้นข้อความว่าด้วย เจนเดอร์และสุขภาพ และขีดฆ่าคำบรรยายถึง
สิทธิทางเพศสัมพันธ์และการเจริญพันธุ์
โดยอ้างว่าเรื่องเหล่านี้ ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน
รัฐส่วนใหญ่เพ่งอยู่ที่ประเด็นพวกเขาคิดว่าเป็น “ตั๋วใบใหญ่” เช่น การเงิน การค้า
และการให้ช่วยเหลือ แต่สนใจนิดเดียวที่จะผนวกการวิเคราะห์เชิงเจนเดอร์ในประเด็นเศรษฐกิจมหภาค
There is a reference to women's "unpaid work" but
without recognizing the unequal and unfair burden that women carry in
sustaining care and wellbeing (para 153). This is further exacerbated in
times of economic and ecological crisis when women's unpaid labour acts as a
stabilizer and their burden increases. For example, reference to the root
causes of excessive food price volatility, including its structural causes, is
not linked to the risks and burdens that are disproportionately borne by women
(para 116).
Development is not sustainable if care and social reproduction are not
recognized as intrinsically linked with the productive economy and reflected in
macroeconomic policy-making.
มีการอ้างอิงถึง “งานที่ไม่มีค่าจ้าง” ของผู้หญิง
แต่ไม่มีการพูดถึงภาระที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรมที่ผู้หญิงต้องแบกเพื่อดูแล
ความอยู่ดีมีสุข (ย่อหน้า 153) เรื่องนี้ยิ่งแย่ลงในยามวิกฤตเศรษฐกิจและนิเวศ
เมื่อแรงงานที่ไม่มีค่าจ้างของผู้หญิง ทำหน้าที่เป็นตัวปรับเสถียร
และภาระของพวกเธอเพิ่มขึ้น เช่น
การอ้างอิงถึงรากเหง้าของปัญหาราคาอาหารลอบสูงลิ่ว รวมทั้งสาเหตุเชิงโครงสร้าง
ไม่ได้เชื่อมโยงกับการที่ผู้หญิงต้องแบกรับความเสี่ยงและภาระมากกว่าชาย (ย่อหน้า 116)
การพัฒนาจะไม่ยั่งยืนได้ตราบเท่าที่ การดูแลเอื้ออาทร
และการผลิตซ้ำทางสังคม ไม่ได้รับการยอมรับว่า
มีเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจการผลิตและถูกคำนึงถึงในการกำหนดนดยบายมหภาค
Reference is made to the critical role that rural women play
in food security through traditional sustainable agricultural practices
including traditional seed supply systems (para 109). However these are under
severe threat unless governments stop prioritising export oriented
agribusiness. The reason why such wrong-headed policies are not adequately
addressed is because of corporate interests that are protected in the Rio+20 outcome.
มีการอ้างอิงถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงชนบทในเรื่องความมั่นคงทางอาหารด้วยวิธีปฏิบัติเกษตรที่ยั่งยืนแบบดั้งเดิม รวมทั้งระบบการเก็บเมล็ดพันธุ์ (ย่อหน้า 109) แต่ประเด็นนี้ก็ถูกคุกคาม
ตราบที่รัฐบาลไม่หยุดจัดเกษตรพาณิชย์เพื่อการส่งออกให้มีความสำคัญสูงสุด
เหตุผลที่ทำไมนโยบายที่ผิดทางเช่นนี้ไม่ได้ถูกนำขึ้นมาอภิปราย
ก็เพราะผลพวงของริโอ+๒๐ ได้ปกป้องผลประโยชน์ของบรรษัทเหล่านี้
Northern governments advocating for such corporate interests
have warped the sustainable development paradigm in the so-called 'green
economy' that is skewed toward the economic pillar, emphasising sustained
economic growth over equitable development and without any ecological limits.
Within this section women are regarded as either welfare recipients or as a
supplier of labor for the green economy, but not acknowledged as rights
holders, especially of economic, social and cultural rights (paras 58k & l).
รัฐบาลซีกโลกเหนือเป็นตัวตั้งตัวตี
สนับสนุนผลประโยชน์ของบรรษัท ได้บิดเบือนกระบวนทัศน์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้วยคำที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจเขียว” ที่เอียงไปทางเสาหลักเศรษฐกิจ
เน้นการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เหนือการพัฒนาที่เท่าเทียม
โดยปราศจากข้อจำกัดเชิงนิเวศ ในหมวดนี้
ผู้หญิงถูกจัดให้เป็นผู้รับการสงเคราะห์ หรือ เป็นแหล่งแรงงานของเศรษฐกิจเขียว
แต่ไม่ได้พูดถึงในฐานะผู้มีสิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม (ย่อหน้า 58k & l)
The 'green economy' concept is somewhat challenged in the
text by an affirmation of diverse visions, models and approaches to development
as well as the policy space to integrate all three dimensions of sustainable
development (para 56). While the recognition of policy space and sovereignty
over natural resources, is important, there is a need to deeply question a
development model that is based on extractivism and that fails to take into
account social and ecological costs.
แนวคิดของ “เศรษฐกิจเขียว” ได้ถูกท้าทายในข้อเขียนบ้างเล็กน้อย
ด้วยการรับรองว่ามีวิสัยทัศน์ โมเดลและแนวทางที่หลากหลาย รวมทั้งพื้นที่เชิงนโยบาย
ในการบูรณาการทั้งสามมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน (ย่อหน้า 56)
ในขณะที่การยอมรับพื้นที่เชิงนโยบายและอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นเรื่องสำคัญ
จำเป็นต้องตั้งคำถามระดับลึกต่อโมเดลการพัฒนา ที่ตั้งอยู่บนฐานการขุดสกัด
และที่ล้มเหลวในการคำนึงถึงต้นทุนทางสังคมและนิเวศ
While the Rio principles including common but differentiated
responsibilities are reaffirmed at Rio+20, the outcome is imbalanced across
the three pillars of sustainable development without sufficient attention to
gender and social justice, including women's rights. It fails to tackle the systemic
inequities of the international monetary, financial and trading systems; and
prioritises economic growth over the ecology and equity.
ในขณะที่หลักการริโอ ที่รวมความรับผิดชอบร่วม
แต่ต่างประเภท ได้รับการรับนองในที่ประชุม ริโอ+๒๐ ผลพวงไม่ได้มีความสมดุลในสามเสาหลักของการพัฒนาที่ยังยืน
ด้วยปราศจากการให้ความสนใจอย่างพอเพียงกับประเด็นเจนเดอร์และความยุติธรรมในสังคม
รวมทั้งสิทธิสตรี
มันล้มเหลวในการแก้ไขความไม่เท่าเทียมในระบบของการเงินระหว่างประเทศ
การเงินและการค้า
และให้ความสำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหนือระบบนิเวศและความเท่าเทียม
Feminists across the global South will continue to demand
that governments stop regressing on their commitments and begin to seriously
address the structural transformations that are required for genuine
sustainable development.
นักสตรีนิยมในซีกโลกใต้
เรียกร้องต่อไปให้รัฐบาลต่างๆ หยุดถอยหลังในพันธสัญญา
และเริ่มแก้ไขปัญหาการแปรเปลี่ยนทางโครงสร้างอย่างจริงจัง
ที่จำเป็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
Endorsed by:
DAWN Executive Committee:
Nicole Bidegain -
Uruguay
Cai Yiping - China
Gigi Francisco -
Philippines
Noelene Nabulivou -
Fiji
Anita Nayar -
India/USA
Kumudini Samuel - Sri
Lanka
Gita Sen - India
DAWN Team at Rio+20:
Sophea Chrek, Social
Action for Change/ GEEJ-Asia Alumni - Cambodia
Hibist Kassa,
Socialist Worker Student Society/ GEEJ-Africa Alumni - Ghana
Rosa Koian, Bismark
Ramu Group - Papua New Guinea
Romyen 'Mo'
Kosaikanont, Mae Fah Luang University – Thailand
ร่มเย็น โกศัยกานนท์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง—ประเทศไทย
Mónica Novillo,
Coordinadora de la Mujer/ DTI Alumni - Bolivia
Maureen Penjueli,
Pacific Network on Globalisation - Fiji
Lalaine Viado, DAWN
Associate - Philippines
Wang Jue, DTI Alumni
- China
For more information -
DAWN Media Focal Point: Cai Yiping
Email: caiyiping2000@gmail.com
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น