วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

44. ทุนนิยมล่ม มีทางเลือกไหม? วิสาหกิจสหกรณ์ในสเปน...อาจเป็นทางรอด


Yes, There Is an Alternative to Capitalism: Mondragon Shows the Way
Why are we told a broken system that creates vast inequality is the only choice? Spain's amazing co-op is living proof otherwise
 by Richard Wolff
ใช่แล้ว มีทางเลือกแทนระบบทุนนิยม : มอนดรากอน แสดงหนทางนั้น
ทำไมเราต้องทนฟังเจ้าระบบที่ปรักหักพัง ที่มีแต่สร้างความไม่เท่าเทียมมหันต์ ว่ามันเป็นเพียงทางเลือกเดียว?  สหกรณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจของสเปน เป็นหลักฐานที่ยังมีชีวิต
-           ริชาร์ด วูล์ฟ

There is no alternative ("Tina") to capitalism?
ไม่มีทางเลือกอื่น (เรียกย่อๆ ว่า Tina มาจาก There is no alternative) แทนระบบทุนนิยม จริงหรือ?

Dani Martinez, innovation director at Orbea bicycles, part of Mondragon Co-operative Corporation, in Mallabia, 2011. (Photograph: Vincent West/Westphoto for the Guardian)

Really? We are to believe, with Margaret Thatcher, that an economic system with endlessly repeated cycles, costly bailouts for financiers and now austerity for most people is the best human beings can do? Capitalism's recurring tendencies toward extreme and deepening inequalities of income, wealth, and political and cultural power require resignation and acceptance – because there is no alternative?
จริงรึ?  พวกเราควรจะเชื่อตามมาร์กาเร็ต แธทเชอร์ ว่า ระบบเศรษฐกิจที่มีวงจร (อุบาทว์) ซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด  การกู้ชีพสถาบันการเงินที่แพงหูฉี่ และตอนนี้ การรัดเข็มขัดสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ ว่าเป็นสิ่งดีที่สุดที่มนุษย์สามารถทำได้   แนวโน้มของระบบทุนนิยมที่เกิดซ้ำๆ สู่ความไม่เท่าเทียมสุดขั้วและลึกลงๆ ในด้านรายได้ ความมั่งคั่ง และอำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรมต้องการให้เราปลงตก และยอมรับ – เพราะไม่มีทางเลือกจริง?

I understand why such a system's leaders would like us to believe in Tina. But why would others?
ผมเข้าใจว่า เหตุใดผู้นำของระบบดังกล่าวต้องการให้เราเชื่อใน Tina   แต่ทำไมคนอื่นต้องเชื่อด้วย?

Of course, alternatives exist; they always do. Every society chooses – consciously or not, democratically or not – among alternative ways to organize the production and distribution of the goods and services that make individual and social life possible.
แน่นอน ทางเลือกมีอยู่ มันมีอยู่เสมอ   ทุกๆ สังคมเลือก—ด้วยจิตสำนึกหรือไม่  อย่างมีประชาธิปไตย—ในบนนดาทางเลือกต่างๆ เพื่อจัดรูปแบบการผลิตและการกระจายสินค้าและบริการ ที่เอื้อให้การดำรงชีวิตของปัจเจกและชีวิตสังคมเป็นไปได้

Modern societies have mostly chosen a capitalist organization of production. In capitalism, private owners establish enterprises and select their directors who decide what, how and where to produce and what to do with the net revenues from selling the output. This small handful of people makes all those economic decisions for the majority of people – who do most of the actual productive work. The majority must accept and live with the results of all the directorial decisions made by the major shareholders and the boards of directors they select. This latter also select their own replacements.
สังคมสมัยใหม่ส่วนใหญ่ได้เลือกองค์กร/รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม   ในระบบทุนนิยม เจ้าของเอกชนก่อตั้งวิสาหกิจ และเลือกผู้อำนวยการที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และที่ไหน และจะทำอย่างไรกับรายได้สุทธิจากการชายผลิตภัณฑ์    คนเพียงหยิบมือเดียวนี้ เป็นผู้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนส่วนใหญ่—ผู้ทำงานการผลิตส่วนใหญ่   คนส่วนใหญ่จะต้องยอมรับและยังชีพอยู่กับผลที่มาจากการตัดสินใจของผู้อำนวยการ/ผู้กำหนดทิศทาง ที่กระทำโดยผู้ถือหุ้นหลัก และบอร์ดผู้อำนวยการที่พวกเขาเลือก   กลุ่มหลังก็เลือกตัวแทนของพวกเขาเองด้วย

Capitalism thus entails and reproduces a highly undemocratic organization of production inside enterprises. Tina believers insist that no alternatives to such capitalist organizations of production exist or could work nearly so well, in terms of outputs, efficiency, and labor processes. The falsity of that claim is easily shown. Indeed, I was shown it a few weeks ago and would like to sketch it for you here.
ดังนั้น ระบบทุนนิยมส่งผลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และผลิตซ้ำองค์กร/แบบแผนการผลิตที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยภายในวิสาหกิจเหล่านี้  ผู้ที่เชื่อใน Tina ยืนยันว่า ไม่มีทางเลือกอื่น ที่จะแทนระบบการผลิตแบบทุนนิยมที่คงอยู่นี้ได้ หรือสามารถทำงานได้ดีพอๆ กัน ในเชิงผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ และกระบวนแรงงาน   ความไม่ถูกต้องของข้ออ้างนี้แสดงให้เห็นได้ง่ายมาก   อันที่จริง ผมได้แสดงให้เห็นในไม่กี่สัปดาห์ก่อน และขอเล่าคร่าวๆ ณ ที่นี้

In May 2012, I had occasion to visit the city of Arrasate-Mondragon, in the Basque region of Spain. It is the headquarters of the Mondragon Corporation (MC), a stunningly successful alternative to the capitalist organization of production.
ในเดือนพฤษภาคม 2012 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเมือง Arrasate-Mondragon ในภาค Basque ของสเปน  ที่นั่นเป็นสำนักงานใหญ่ของ บริษัท มอนดรากอน (MC), ทางเลือกที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าประหลาดมาก แทนองค์กรการผลิตทุนนิยม

MC is composed of many co-operative enterprises grouped into four areas: industry, finance, retail and knowledge. In each enterprise, the co-op members (averaging 80-85% of all workers per enterprise) collectively own and direct the enterprise. Through an annual general assembly the workers choose and employ a managing director and retain the power to make all the basic decisions of the enterprise (what, how and where to produce and what to do with the profits).
MC ประกอบด้วยหลายๆ วิสาหกิจสหกรณ์ที่รวมเป็นกลุ่มๆ ในสี่ประเภท คือ อุตสาหกรรม การเงิน ค้าปลีก และความรู้   ในแต่ละวิสาหกิจ สมาชิกสหกรณ์ (เฉลี่ย 80-85% ของคนงานในทุกๆ วิสาหกิจ) ได้เป็นเจ้าของร่วม และกำหนดทิศทางร่วมกันสำหรับวิสาหกิจของตน   ณ ที่ประชุมสามัญประจำปี คนงานจะเลือกและจ้าง ผู้อำนวยการจัดการคนหนึ่ง และสงวนอำนาจการตัดสินใจขั้นพื้นฐานของวิสาหกิจ (ผลิตอะไร อย่างไร และที่ไหน และจะทำอย่างไรกับผลกำไร)

As each enterprise is a constituent of the MC as a whole, its members must confer and decide with all other enterprise members what general rules will govern MC and all its constituent enterprises. In short, MC worker-members collectively choose, hire and fire the directors, whereas in capitalist enterprises the reverse occurs. One of the co-operatively and democratically adopted rules governing the MC limits top-paid worker/members to earning 6.5 times the lowest-paid workers. Nothing more dramatically demonstrates the differences distinguishing this from the capitalist alternative organization of enterprises. (In US corporations, CEOs can expect to be paid 400 times an average worker's salary – a rate that has increased 20-fold since 1965.)
เนื่องจากในแต่ละวิสาหกิจ เป็นหน่วยหนึ่งขององค์รวมของ MC  สมาชิกของแต่ละวิสาหกิจจะต้องพบปะพูดคุย และตัดสินใจร่วมกับสมาชิกทั้งหมดของวิสาหกิจอื่น เกี่ยวกับกติกาทั่วไปที่จะใช้ปกครอง MC และวิสาหกิจลูกทั้งหมด   พูดง่ายๆ สมาชิกคนงาน MC จะร่วมกันเลือก ว่าจ้าง และเลิกจ้าง เหล่าผู้อำนวยการ ในขณะที่วิสาหกิจทุนนิยม สิ่งที่เกิดขึ้นตรงกันข้าม   กติกาหนึ่งที่ถูกยอมรับอย่างร่วมมือกันและอย่างเป็นประชาธิปไตย ที่ปกครอง MC จำกัดรายได้ของสมาชิกคนงานระดับสูงสุดให้อยู่ที่ 6.5 เท่าของค่าจ้างต่ำสุดของคนงาน   ไม่มีอะไรที่จะสาธิตได้ชัดเจนกว่านี้ถึงความแตกต่างที่แยกระบบนี้ จากองค์กรวิสาหกิจที่เป็นทางเลือกแทนทุนนิยม  (ในบริษัทสหรัฐฯ ผู้บริหารสูงสุดคาดได้ว่า จะได้รับเงินเดือน 400 เท่าของคนงานทั่วไป—อัตรานี้ได้เพิ่มขึ้น 20 เท่าตัว ตั้งแต่ 1965)

Given that MC has 85,000 members (from its 2010 annual report), its pay equity rules can and do contribute to a larger society with far greater income and wealth equality than is typical in societies that have chosen capitalist organizations of enterprises. Over 43% of MC members are women, whose equal powers with male members likewise influence gender relations in society different from capitalist enterprises.
MC มีสมาชิก 85,000 คน (ตามรายงานประจำปี 2010) กฎความเท่าเทียมในค่าจ้างของมัน สามารถและมีคุณูปการต่อสังคมใหญ่ ให้มีความเสมอภาคในรายได้และความมั่งคั่ง มากกว่าปกติในสังคมที่ได้เลือกวิสาหกิจที่มีรูปแบบองค์กรแบบทุนนิยม   กว่า 43% ของสมาชิกของ MC เป็นผู้หญิง ซึ่งอำนาจที่เท่าเทียมของพวกเธอกับสมาชิกเพศชาย ก็มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์เชิงเพศสภาวะในสังคม ที่แตกต่างจากวิสาหกิจทุนนิยม

MC displays a commitment to job security I have rarely encountered in capitalist enterprises: it operates across, as well as within, particular cooperative enterprises. MC members created a system to move workers from enterprises needing fewer to those needing more workers – in a remarkably open, transparent, rule-governed way and with associated travel and other subsidies to minimize hardship. This security-focused system has transformed the lives of workers, their families, and communities, also in unique ways.
MC ได้แสดงออกถึงความยึดมั่นต่อการประกันความมั่นคงของงานว่าจ้าง ซึ่งไม่ค่อยพบในวิสาหกิจทุนนิยม  มันบริหารข้าม ตลอดจนภายใน  วิสาหกิจสหกรณ์เฉพาะหนึ่งๆ  สมาชิก MC สร้างระบบการเคลื่อนย้ายคนงานจากวิสาหกิจที่ต้องการคนงานน้อยไปยังวิสาหกิจที่ต้องการคนงานมาก—ในวิธีการที่เปิดเผย โปร่งใส เคารพกฎเกณฑ์อย่างยิ่ง และเกี่ยวโยงกับการเดินทางและเงินสนับสนุน เพื่อลดความยากลำบาก   ระบบที่เน้นความมั่นคงนี้ ได้แปรเปลี่ยนชีวิตของคนงาน ครอบครัวของพวกเขา และชุมชน ในลักษณะพิเศษด้วยเช่นกัน

The MC rule that all enterprises are to source their inputs from the best and least-costly producers – whether or not those are also MC enterprises – has kept MC at the cutting edge of new technologies. Likewise, the decision to use of a portion of each member enterprise's net revenue as a fund for research and development has funded impressive new product development. R&D within MC now employs 800 people with a budget over $75m. In 2010, 21.4% of sales of MC industries were new products and services that did not exist five years earlier. In addition, MC established and has expanded Mondragon University; it enrolled over 3,400 students in its 2009-2010 academic year, and its degree programs conform to the requirements of the European framework of higher education. Total student enrollment in all its educational centers in 2010 was 9,282.
กฎเกณฑ์ของ MC ที่ว่า วิสาหกิจทั้งหมดจะต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบจากผู้ผลิตที่ดีที่สุดและแพงน้อยที่สุด—ไม่ว่าแหล่งดังกล่าวจะเป็นสมาชิกของ MC หรือไม่—ได้ช่วยให้ MC อยู่ในแนวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ    ในทำนองเดียวกัน การตัดสินใจใช้ส่วนหนึ่งของรายได้สุทธิของแต่ละสมาชิกวิสาหกิจ ให้เป็นกองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทำให้ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่น่าประทับใจ    ปัจจุบัน งาน R&D ภายใน MC ได้จ้าง 800 คน ด้วยงบประมาณกว่า $75 ล้าน    ในปี 2010 สถิติการขายของอุตสาหกรรม MC 21.4% เป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยปรากฏมาเมื่อห้าปีก่อน

The largest corporation in the Basque region, MC is also one of Spain's top ten biggest corporations (in terms of sales or employment). Far better than merely surviving since its founding in 1956, MC has grown dramatically. Along the way, it added a co-operative bank, Caja Laboral (holding almost $25bn in deposits in 2010). And MC has expanded internationally, now operating over 77 businesses outside Spain. MC has proven itself able to grow and prosper as an alternative to – and competitor of – capitalist organizations of enterprise.
ในฐานะที่เป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในภูมิภาคบาสก์ MC ก็เป็นหนึ่งในสิบของบริษัทใหญ่ที่สุดระดับบนสุดของสเปนด้วย (ในเชิงยอดขายและการจ้างงาน)  MC ได้เติบโตพรวดพราด ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1956 มากกว่าเพียงเอาตัวรอดทีเดียว    ในระหว่างทาง มันได้เติมธนาคารสหกรณ์ Caja Laboral (มียอดการฝากถึง $25 พันล้าน ในปี 2010)   MC ยังได้ขยายสู่ระหว่างประเทศ ปัจจุบัน บริหารธุรกิจ 77 กิจการนอกสเปน  MC ได้พิสูจน์ว่า สามารถเติบโตและร่ำรวย ในฐานะที่เป็นทางเลือกแทน—และแข่งขันกับ—วิสาหกิจองค์กรทุนนิยมได้

During my visit, in random encounters with workers who answered my questions about their jobs, powers, and benefits as cooperative members, I found a familiarity with and sense of responsibility for the enterprise as a whole that I associate only with top managers and directors in capitalist enterprises. The easy conversation (including disagreement), for instance, between assembly-line workers and top managers inside the Fagor washing-machine factory we inspected was similarly remarkable.
ในระหว่างการเยือน ผมได้สุ่มคุยกับคนงาน ผู้ตอบคำถามของผมเกี่ยวกับงาน อำนาจ และผลประโยชน์ในฐานะสมาชิกของสหกรณ์ ผมพบว่า มีความคุ้นเคยและมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อวิสาหกิจในลักษณะเป็นองค์รวม ซึ่งต่างจากในวิสาหกิจทุนนิยม ที่ผมมักจะพบเพียงในผู้จัดการและผู้อำนวยการระดับสูง  ยกตัวอย่าง การสนทนาง่ายๆ (รวมทั้งการไม่เห็นด้วย) ระหว่างคนงานในสายพานงาน และผู้จัดการระดับสูงภายใน โรงงานผลิตเครื่องซักผ้า Fagor ที่พวกเราได้เข้าไปตรวจตรา ก็น่าทึ่งเช่นเดียวกัน

Our MC host on the visit reminded us twice that theirs is a co-operative business with all sorts of problems:
เจ้าภาพ MC ของเรา ได้เตือนพวกเราถึงสองครั้งว่า ธุรกิจสหกรณ์ของพวกเขาเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ
"We are not some paradise, but rather a family of co-operative enterprises struggling to build a different kind of life around a different way of working."
“พวกเราไม่ใช่เป็นสรวงสวรรค์อะไรทั้งนั้น แต่เป็นครอบครัวของวิสาหกิจสหกรณ์ ที่ดิ้นรนเพื่อสร้างชีวิตประเภทหนึ่งที่แตกต่าง ด้วยวิธีการทำงานต่างๆ กัน”

Nonetheless, given the performance of Spanish capitalism these days – 25% unemployment, a broken banking system, and government-imposed austerity (as if there were no alternative to that either) – MC seems a welcome oasis in a capitalist desert.
ถึงกระนั้น หากดูจากผลงานของระบบทุนนิยมสเปนทุกวันนี้—การไม่มีงานทำ 25%  ระบบการธนาคารถังแตก  รัฐบาลบังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัด (ประหนึ่งไม่มีทางเลือก)—MC ดูเหมือนเป็นโอเอซิส แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ท่ามกลางทะเลทรายทุนนิยมที่เหือดแห้ง

© 2012 Guardian News and Media Limited

Richard D Wolff is professor of economics emeritus at the University of Massachusetts, Amherst, where he taught economics from 1973 to 2008. He is currently a visiting professor in the graduate program in international affairs of the New School University, New York City. Richard also teaches classes regularly at the Brecht Forum in Manhattan. His most recent book is Capitalism Hits the Fan: The Global Economic Meltdown and What to Do About It (2009). A full archive of Richard's work, including videos and podcasts, can be found on his site.
ริชาร์ด ดี วูล์ฟ เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์สาขาเศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซทส์ แอมเฮิร์สท  เขาสอนเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ปี 1973 ถึง 2008  เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้เป็นศาสตราจารย์เยี่ยมเยียนในโปรแกมบัณฑิต ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของ New School University, New York City.  ริชาร์ดได้สอนประจำที่ Brecht Forum ใน Manhattan ด้วย   หนังสือเล่มล่าสุดของเขา คือ “ทุนนิยม (ลอย) ตีกับพัดลม (เพดาน): การหลอมละลายของเศรษฐกิจโลก และจะทำอย่างไรกับมัน (2009).   

Published on Monday, June 25, 2012 by The Guardian/UK

ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น