โครงการ อาหารอินทรีย์สู้โรค : กู้สุขภาพคน-นิเวศ สร้างธรรมาภิบาล
ผู้รับผิดชอบ คุณไพโรจน์ รุ้งรุจิเมฆ
องค์กร บ้านไร่ไพโรจน์
ที่อยู่ ๕๕ หมู่บ้านกลางเมือง ซอยศรีนครินทร์ ๒๔ ถนนศรีนครินทร์
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
กรุงเทพฯ ๑๐๒๕๐
โทรศัพท์ 086-367-4362, 085-975-4086
Email
phair_ru@hotmail.com
Website www.fcthai.com
|
หลักการและเหตุผล
ในเวทีการประชุมเชิงวิชาการทั้งด้านสังคมวิทยาหรือสหวิชา ส่วนใหญ่มักจะวนเวียนอยู่ที่การวิเคราะห์ปัญหา
หรืออาการป่วยของสังคมและโลก ว่ามีสาเหตุตั้งแต่โลกาภิวัตน์/ความโลภ
จนถึงอัตลักษณ์/ชาติพันธุ์/สิทธิ์ โดยรวม
คือ การพัฒนาแบบบนกดทับล่าง ทำลายความหลากหลายของมนุษย์ สัตว์ และนิเวศ ด้วยพลังคอรัปชั่น
หรืออาจยืมจากพุทธวาทะกรรมมาอธิบายว่า “อวิชชาและกิเลส” ครองโลก
ในรูปของทุนนิยม-วัตถุนิยม-บริโภคนิยม
อาการป่วยเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ได้ด้วยกลไกรัฐ ตามทฤษฎีกระแสหลักของรัฐศาสตร์ เพราะขณะนี้กลไก รัฐทุกระดับถูกอำนาจ “อวิชชา”
ดังกล่าวครอบงำจนหมดอำนาจที่จะรักษาความเป็นธรรม หรือธำรงความสมดุลระหว่างธรรมะกับอธรรมะได้
ดังที่คาดหมายตามทฤษฎีการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมกระแสหลัก
ปรากฏการณ์น้ำท่วมเกือบทั่วประเทศไทยในปลายปี
๒๕๕๔ และคำร้องเรียนจากการจ่ายเงินชดเชยที่บิดเบี้ยว
ตลอดจนความไม่ชัดเจนในการรับมือกับภัยน้ำระลอกใหม่ เป็นสัญญาณให้ภาคประชาสังคม—ปัญญาชน
นักกิจกรรม พลเมือง—ต้องรีบเปลี่ยนกระบวนทัศน์
ความไม่พร้อมในระดับนโยบายที่จะเตรียมชาวไทยให้พร้อมรับมือกับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน
(AEC) ในอีก ๒-๓ ปีข้างหน้า (2015)
บวกกับข่าวลือการฟื้นคืนชีพของกระแสเจ้าอาณานิคม/ทุนนิยมตะวันตกที่กำลังหิวโหยด้วยวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน
(เช่น เปลวสีเงิน “ไทยที่ถูกขนาบ ศึกนอก-ศึกใน” ไทยโพสต์ ๑๑ มิย ๒๕๕๕) ว่า
ต้องการทำลายระบบเศรษฐกิจพอเพียงในไทย
ทำให้การถกเถียงในวงการวิชาการและปัญญาชนไทย ดูเหมือนเป็นการสร้างวาทะกรรมมากกว่าสามารถผ่าทางตันให้แก้ไขความป่วยของประเทศได้ ในเชิงวิชาการ
น่าจะสรุปได้โดยไม่ต้องเก็บข้อมูลมากมายว่า ชาวไทยยังไม่พร้อม โจทย์คือ
จะทำให้ชาวไทยแข็งแรงขึ้นพอที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่อย่างไร ?
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ “อาหารอินทรีย์สู้โรค” และนัยสำคัญ
โครงการ
“อาหารอินทรีย์สู้โรค” เป็นการยกระดับความสำเร็จของบ้านไร่ไพโรจน์
ซึ่งเป็นวิสาหกิจสังคมขนาดเล็กที่ผลิตพืชผลด้วยวิถีเกษตรพอเพียงเลียนแบบวงจรป่าธรรมชาติ
ให้มีคุณภาพสูงพอสำหรับใช้ประกอบเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคได้ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้
เพื่อช่วยเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียงให้มีสถานภาพสูงขึ้น ด้วยการเพิ่มมูลค่า
ไม่เพียงแต่เพื่อรักษาสุขภาพ แต่ยังรักษาโรคได้ด้วย
สมาชิกเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ในการเยียวยา
จากบ้านไร่ไพโรจน์ จะสามารถมีรายได้ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน
เพราะผลิตอาหารที่รักษาโรคได้ เมื่อเจ้าของมีองค์ความรู้ในการรักษาโรค ก็จะไม่คิดโกงผู้บริโภคด้วยการใช้สารเคมีในแปลงพืชผักของตน (เพราะจะทำให้รักษาโรคไม่ได้ผล เป็นการทุบหม้อข้าวตนเอง)
จากประสบการณ์ชมรมสุขภาพ
6009 ของบ้านไร่ไพโรจน์ (www.fcthai.com) ที่รักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ
ได้ เช่น มะเร็ง (ต่อมน้ำเหลือง
ต่อมลูกหมาก เต้านม)
ตับอักเสบ เบาหวาน โคเรสเตอรัลสูง อ้วนเกิน/ผอมเกิน ความดันสูง เป็นต้น ทำให้ตระหนักว่า การใช้อาหารอินทรีย์เช่นนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาตามกระแสหลักในโรงพยาบาลทั่วไปมาก
นี่หมายถึงการช่วยประหยัดงบประมาณสาธารณสุขของรัฐบาลได้มหาศาล หากประสบการณ์นี้
สามารถแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย
ผลพวงจากการที่เกษตรกรมีมูลค่าเพิ่มเช่นนี้
จะช่วยให้ “กระดูกสันหลัง” ของชาติเลิกป่วยด้วยโรคหนี้ หรือถูกยัดเยียดให้ “โง่ จน
เจ็บ” การทำเกษตรอินทรีย์พอเพียงที่รักษาโรคได้
จะต้องมีการขุดบ่อน้ำ ซึ่งจะเป็นแก้มลิง
ย่อมๆ กระจายไปทั่ว และการรักษาดินเลียนแบบและปลูกป่า
ก็จะเป็นการช่วยบรรเทาความรุนแรงของภัยแล้งสลับน้ำท่วม ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี
(ราคาแพง) ที่ทำลายคุณสมบัติของดิน
น้ำ อากาศ ความไร้สารของผืนดินเกษตรไทย
ซึ่งเป็นแผ่นดินทองในการผลิตอาหาร จะทำให้ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในการเป็น ครัวโลกไร้สาร
(เกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้นด้วย)
แทนที่จะทำลายทรัพยากรล้ำค่านี้
หรือปล่อยให้เกษตรกรจำต้องขายที่ทำกินให้คนต่างชาติ การรักษาทรัพยากรดิน น้ำ อากาศ (ไม่ใช่แค่ sun,
sand, sea and sex) และชื่อเสียงอาหารไทยรักษาโรคได้ จะเป็นจุดดึงดูดให้ชาวโลกมาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ที่เคารพความเป็นคนไทย และแผ่นดินไทย
รายได้หลักจากทั้งสองแหล่ง จะช่วยลดการพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรมต่างชาติ
ที่ทำร้าย/ทำลายนิเวศ และความเป็นไทยมากกว่า “พัฒนา”
กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติ
ก. ประชาสัมพันธ์
a.
แม้จะมีสมาชิกของชมรมสุขภาพ
6009 (ปัจจุบันมี ๖๐ กว่าคน)
ได้หายฟื้นจากโรคร้าย
แต่เพื่อเป็นการทดลองให้เห็นประจักษ์
เพื่อนใกล้ชิด หรือรู้ข่าว สามารถจะเข้าทดลองรับบริการรับประทานอาหารของชมรมได้
b.
มีการตรวจเลือดและร่างกายก่อนและหลังการรักษา จากประสบการณ์ ผู้ป่วยทั่วไป จะเห็นผลใน ๒-๓
สัปดาห์ ในรายที่อาการหนักมาก อย่างเช่นผู้ป่วยล่าสุดที่เป็นมะเร็งขั้นที่
๔ ได้แสดงอาการตอบสนองหลังจากรับประทานอาหารของชมรมสุขภาพไป
๒๔ ชั่วโมง ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ผู้ป่วยคนนี้มีโอกาสรอดด้วยวิธีนี้ แม้ว่าผู้ป่วยคนนี้จะยังไม่พ้นขีดอันตราย
จะต้องปรับอาหารไปตามสภาวะ
c.
ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่สาธารณชนถึงภัยในห่วงโซ่อาหารกระแสหลักที่ทำให้เกิดโรคทั้งเฉียบพลันและซ่อนเร้น ที่สำคัญ ประชาชนจะได้รับรู้ว่า ตนมีทางเลือก จะหาได้ที่ไหน และในราคาที่จ่ายได้
d.
ลดมายาคติว่า
อาหารเพื่อสุขภาพ ต้องเป็นมังสวิรัติ ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย สิ่งสำคัญ
วัตถุดิบจะต้องมาจากดินที่มีพลังชีวิต หรือ ปลา เป็ดไก่ ก็ต้องเลี้ยงด้วยตามธรรมชาติของสัตว์เลี้ยง
มีอิสระและมีศักดิ์ศรี แม้ท้ายสุดจะต้องกลายเป็นอาหารของมนุษย์
e.
ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่สมดุล
จะทำให้คนรู้จักบริโภค และสามารถลิ้มรสอาหารธรรมชาติ และการใช้เครื่องปรุง
แทนที่จะใช้เครื่องปรุงรสจัดเพื่อกลบเกลื่อนรสชาดที่ไม่พึงปรารถนาจากสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพืชผัก
ข. สร้างวิทยากร แปลงสาธิต และการรักษา
a.
ต่อยอดจากเครือข่ายของเอ็นจีโอ
หรือหน่วยงานที่ทำงานส่งเสริมเกษตรทางเลือก โดยเลือกผู้นำชุมชน จังหวัดละ ๑ คน
ให้มาเข้าร่วมการอบรมที่บ้านไร่ไพโรจน์
(หรือเรียนรู้ด้วยคู่มือ
เพราะมีพื้นฐานการเกษตรอยู่แล้ว)
b.
ผู้นำแต่ละคน จะต้องนำความรู้ไปปฏิบัติ—ฟื้นฟูดิน
เพาะปลูก และรักษา—รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกอื่นๆ ในชุมชน ที่สำคัญ
ผู้สอนจะต้องลงมือทำด้วย
c.
บ้านไร่ไพโรจน์
จะลงพื้นที่ไปติดตามเป็นระดับภาค เพื่อฝึกการให้คำปรึกษา แก้ปัญหา สร้างคน/วิทยากรไปในกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัตินี้
ค. เชื่อมผู้ผลิต-ผู้บริโภค ลดคนกลาง
a.
ผู้ผลิตส่วนใหญ่อาจจะอยู่ในชนบท แต่คนในเมืองก็ผลิตได้ หากมีที่ดินอย่างน้อย ๕
ไร่ต่อเกษตรกร ๑ คน เพื่อการรักษาโรคของผู้ป่วย ๕๐ คน (ที่ดินกึ่งหนึ่ง นำมาปลูกพืชผัก ๔๐-๕๐ ชนิด ส่วนที่ดินอีกกึ่ง เพื่ออยู่อาศัยปลูกป่าและขุดบ่อน้ำ
เป็นต้น หากทั้งสามีภรรยาต้องการทำ
ก็จะต้องมีที่ดินอย่างน้อย ๑๐-๑๒ ไร่ เพื่อประกันรายได้คนละ
๒๐,๐๐๐ บาท/เดือน)
b.
เมื่อสาธารณชนมีความรู้ที่ถูกต้องมากขึ้น
จะเกิดผู้บริโภค (ทั้งเพื่อสุขภาพและเพื่อรักษาโรค) และผู้ผลิตมากขึ้น ทำให้สามารถจับกลุ่มให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดโสหุ้ยการขนส่ง
และคนกลาง โครงการนี้ จึงรับสมัครสมาชิก
ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคทั่วประเทศ
เพื่อสร้างฐานข้อมูลให้สะดวกในการวางแผนการกระจายสินค้าและบริการ รวมทั้งเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย
เปรียบเทียบและค้นคว้าต่อไป
ง. สมาชิกทุกคนเป็นนักวิจัยอาสาได้หมด โดยเก็บข้อมูลตามที่บ้านไร่ไพโรจน์ออกแบบ
เพื่อให้เอื้อต่อการติดตาม ประเมินผล/ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที (ข้อมูลจะอยู่ทั้งที่ส่วนกลางกรุงเทพฯและแต่ละจังหวัดตามความเหมาะสม)
จ. กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สุขภาพ นี้ จะเป็นฐานการบ่มความเป็นประชาธิปไตย
หรือธรรมาภิบาลไปในตัว
ภาคีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ก. เอ็นจีโอ
ข. สถาบันการศึกษา และนักวิชาการ
ค. ผู้นำชุมชน / ปราชญ์ชาวบ้าน
งบประมาณ
ประชาสัมพันธ์
สร้างวิทยากรปฏิบัติและสาธิต
เชื่อมผู้ผลิต-ผู้บริโภค
หมายเหตุ
ปัจจุบัน โครงการนี้ยังไม่ได้ขอ
หรือรับทุนใดๆ แต่เพราะกระบวนการมีลักษณะศึกษาวิจัยในตัว จึงเห็นว่า เป็น R&D (Research & Development) เหมือนกัน
โครงการนี้เป็นการริเริ่มจากจิตสำนึกร่วม
จิตสาธารณะ และอาศัยทรัพยากรพื้นฐานของวิสาหกิจสังคม (social enterprise) ที่บ้านไร่ไพโรจน์ได้ดำเนินมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (และต้นทุนทางสังคม คือ คนรู้จัก ทักษะที่มี) ด้วยเชื่อว่า
การระดมสมาชิก (เป้าหมาย ๓๐ ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรไทย) จะเป็นการขยายจิตสำนึกร่วม—ที่กินได้และแข็งแรง—เพื่อพลิกผันวิกฤตของชาติ เนื่องจากเกษตรกรมี “ต้นทุนทรัพย์สิน” คือ
ที่ดิน ทักษะเพาะปลูก ฯลฯ อยู่แล้ว การร่วมโครงการนี้
จึงเกือบไม่ต้องลงทุนมากมายอย่างไร เช่นเดียวกับการลงทุนแบบอื่น (รายละเอียดใน www.fcthai.com)
จุดสำคัญ
คือ การหาข้อต่อ (entry point) ให้เชื่อมกับฐานรากของสังคมไทย
คือ ผู้นำของชุมชนที่เข้มแข็ง ตื่นตัว แสวงหาทางออกจากกระแสหลัก หรือ
รู้จักแยกแยะดี-ชั่ว ในกระแสหลัก
ผู้สนใจทั้งในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ผลิต
ตลอดจนผู้เพียงแต่ต้องการติดตาม สนับสนุนโครงการนี้
สามารถสมัครเป็นสมาชิกฟรีได้ที่ www.fcthai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น