Losing Strength? An Alternative Vision of Spain’s
Indignados Movement
A silent revolution emerges from the underground. Far from
losing strength, decentralization has allowed 15-M to become ever more dynamic.
by Marta Sánchez
หมดแรงรึ?
วิสัยทัศน์ทางเลือกของขบวนการขุ่นเคืองของสเปน
การปฏิวัติเงียบที่ผุดจากใต้ดิน ยังห่างไกลจากการหมดแรง
การเคลื่อนไหวดาวกระจาย ได้ทำให้ 15-M มีพลวัตสูงยิ่งขึ้น
-มาร์ทา ซานเชส
Is the 15-M movement going invisible? Or is it rather gaining
strength in the ‘underground’? The mainstream media keep claiming that the
indignados have lost support since last year, that its only success is its
ability to bring people together on special dates. Spanish newspaper El País
concluded in May 2012 that, one year after the birth of the movement, popular
support and sympathy for the indignados had decreased around 13% among the
Spanish population, despite the massive mobilizations that took place from the
12th until the 15th of May, commemorating the anniversary of the movement. ABC
opened its edition of May 15 stating that “the indignados movement shows less
strength on their anniversary.” But the media misses the point. In reality,
rather than losing strength, the movement has become stronger, more organized,
better coordinated, and supported by the commitment of hundreds of people.
ขบวนการ 15-M จะล่องหนหายไปรึ? หรือว่ามันกำลังแข็งแกร่งขึ้นใต้ดิน? สื่อกระแสหลักเพียรอ้างว่า พวกขุ่นเคือง (indignados) ได้สูญการสนับสนุนเมื่อปีที่แล้ว
ว่าความสำเร็จเพียงเรื่องเดียว คือ
มันสามารถนำประชาชนให้มาอยู่ร่วมกันในวันพิเศษต่างๆ หนังสือพิมพ์ El País ในเดือนพฤษภาคม 2012 สรุปว่า
หนึ่งปีหลังจากการก่อกำเนิดการขับเคลื่อนนี้
แรงสนับสนุนและความเห็นใจจากประชาชนต่อพวกขุ่นเคือง ได้ลดลงประมาณ 13% ในหมู่ชาวสเปน ทั้งๆ
ที่การขับเคลื่อนมวลชนได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 15 พฤษภาคม ในงานครบรอบหนึ่งปีของการเคลื่อนไหว ABC ได้เปิดรายการของวันที่ 15 พฤษภาคม บอกว่า
“ขบวนการพวกขุ่นเคืองได้อ่อนกำลังลงในการฉลองปีนี้” แต่สื่อมองข้ามไป ในความเป็นจริง แทนที่จะอ่อนกำลัง
การเคลื่อนไหวเข้มแข็งยิ่งขึ้น มีการจัดรูปองค์กรมากขึ้น ประสานงานกันดีขึ้น
และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนนับร้อยที่ยึดมั่นในปณิธานของขบวนการ
The decentralization of the movement
การเคลื่อนไหวแบบดาวกระจาย
When May 2011 came to an end, the recently born 15-M
movement had to find out how to survive beyond the camp at Puerta del Sol
(acampadasol). Thus arose the idea of decentralizing the movement towards the
neighborhoods: the ‘toma los barrios‘, or take the neighborhoods, initiative
supported and encouraged the creation of assemblies in every neighborhood of
Madrid. In this way, the movement went local: since the creation of the
neighborhood assemblies on May 28, 2011, around 120 assemblies have been set
up, and they coordinate through the Asamblea Popular de Madrid, the popular
assembly of Madrid, also known as Asamblea Interbarrios (the inter-neighborhood
assembly). As there were many thematic working groups in the original Sol camp,
working groups with similar interests were created in most of the neighborhood
assemblies, which since then collaborate and coordinate with the general groups
from acampadasol.
ปลายพฤษภาคม 2011 การเคลื่อนไหว 15-M ที่เพิ่งถือกำเนิด
ต้องค้นหาว่าจะอยู่รอดได้อย่างไรโพ้นเขตค่ายที่ at Puerta del Sol
(acampadasol) จึงเกิดความคิดเคลื่อนขบวนการแบบดาวกระจายสู่ละแวกเพื่อนบ้าน
: the ‘toma los barrios‘, หรือยึดละแวกเพื่อนบ้าน
การริเริ่มที่สนับสนุนและชักชวนให้ก่อตั้งสมัชชาในทุกๆ ละแวก/ย่าน
ของกรุงแมดริด ด้วยวิธีนี้
ขบวนการได้กลายเป็นท้องถิ่น ตั้งแต่การจัดตั้งสมัชชาในย่านเพื่อนบ้าน เมื่อ 28
พฤษภาคม
2011 มีทั้งหมดประมาณ 120 สมัชชา
พวกเขาประสานงานผ่าน Asamblea Interbarrios (หน่วยระหว่างสมัชชาย่าน) เนื่องจากมีกลุ่มทำงานหัวข้อต่างๆ
ในกลุ่มเริ่มต้นที่ ค่ายโซล
ก็ได้จัดตั้งกลุ่มทำงานที่สนใจคล้ายๆ กันในสมัชชาย่านส่วนใหญ่
ที่ได้ทำงานร่วมกับ หรือประสานงานกับกลุ่มทั่วไปจาก ค่ายโซล
The objectives of such decentralization aimed, in the first
place, to promote direct and participatory democracy in the local sphere, based
on an understanding of politics as the art of collectively creating an
alternative pattern of social relations, thereby bringing people out of
isolation and into a community. A second objective aimed to retake the public
sphere, as defined by Habermas, as a place in which political participation is
enacted through the medium of talk, the space in which citizens deliberate
about their common affairs, hence, an arena of discursive interaction. This
interaction is structured through assemblies, which constitute the greatest
expression of horizontal organization
and democracy from below. The combination of both objectives shows the
movement’s efforts in fighting for a ‘real democracy now’ (Democracia Real Ya),
which goes in the direction of Daniel Barber’s concept of ‘strong democracy‘, a
“normative alternative where citizens are engaged at the local and national
levels in a variety of political activities and regard discourse, debate and
deliberation as essential conditions for reaching common ground.”
จุดประสงค์ของดาวกระจายเช่นนี้ ประการแรก มุ่งไปที่ส่งเสริมให้มีประชาธิปไตยทางตรงและมีส่วนร่วมในท้องถิ่น
บนพื้นฐานความเข้าใจการเมืองในฐานะเป็นศิลปะของการร่วมสรรสร้างแบบแผนทางเลือกของความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างเป็นหมู่คณะ ด้วยวิธีนี้
นำประชาชนออกมาจากความโดดเดี่ยวสู่ความเป็นชุมชน
ประการที่สอง มุ่งที่ยึดพื้นที่สาธารณะคืนมา ดังที่ ฮาเบอร์มาส นิยาม
ให้เป็นสถานที่ๆ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเกิดขึ้นผ่านสื่อกลางด้วยการพูดคุย
พื้นที่ๆ พลเมืองถกกันอย่างรอบคอบในกรณีกิจร่วม ดังนั้น
เป็นเวทีของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ยอกย้อน
ปฏิสัมพันธ์นี้มีสมัชชาเป็นโครงสร้าง
ที่ประกอบด้วยการแสดงออกขององค์กรในแนวระนาบและประชาธิปไตยจากล่างขึ้นบน การรวมวัตถุประสงค์ทั้งสองข้อ แสดงให้เห็นว่า
ความพยายามของการขับเคลื่อนในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่อยู่ในทิศทางเดียวกับแนวคิด
“ประชาธิปไตยที่แข็งแรง” ของ แดเนียล บาร์เบอร์ ว่าเป็น
“มาตรฐานทางเลือกที่พลเมืองมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติในกิจกรรมการเมืองต่างๆ
และเกี่ยวกับวาทกรรม การอภิปราย และการถกเถียง
ว่าเป็นภาวะที่จำเป็นสำหรับไปให้ถึงจุดยืนร่วม
The emergence of new social initiatives
การอุบัติของการริเริ่มใหม่ทางสังคม
The neighborhood assemblies usually meet once a week and
they constitute public spaces for debate, where neighbors exchange ideas and
visions about general topics (the economy, unemployment, housing, the financial
system, education, social security), but also about local problems that
particularly affect their neighborhood. A large number of activities have been
organised within these assemblies, one of the most interesting of which is the
creation of so-called ‘time banks’, or bancos de tiempo. Time banking is a
pattern of non-monetary reciprocal service, which seeks to address requirements
outside of the market sphere. As an alternative to the monetary system, the
unit of currency used is one hour of any person’s labor. In this way, time
banks seek to provide incentives and rewards for work usually done on a
volunteer basis. The assembly of the La Concepción neighborhood, in the
northeast of Madrid, has one of the biggest and better organised bancos de
tiempo, which is coordinated through the internet. The neighbors can create an
online profile where they share information about the services they can
provide, and they can get in touch with people who offer services they are
interested in. They conclude the transaction between one another, and a
mediation commission is planned in case any problem come up.
สมัชชาย่านมีประชุมเป็นปกติสัปดาห์ละหน
และใช้พื้นที่สาธารณะในการอภิปราย ที่ๆ
เพื่อนบ้านแลกเปลี่ยนความคิดและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับหัวข้อทั่วไป (เศรษฐกิจ
การว่างงาน ที่อยู่อาศัย ระบบการเงิน การศึกษา ความมั่นคงทางสังคม)
แต่ก็มีปัญหาท้องถิ่นด้วย ที่กระทบต่อย่านของพวกเขาโดยเฉพาะ
กิจกรรมส่วนใหญ่ได้ถูกจัดตั้งภายในสมัชชาเหล่านี้
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดในบรรดาสิ่งสร้างสรรค์เหล่านี้ คือ ที่เรียกว่า
“ธนาคารเวลา”
การธนาคารเวลาเป็นแบบแผนของการแลกบริการกันโดยไม่ใช้เม็ดเงิน
อันเป็นการหาทางจัดการกับความต้องการภายนอกวงการตลาด ในฐานะที่เป็นทางเลือกของระบบเงินตรา
หน่วยที่ใช้คือเวลาหนึ่งชั่วโมงของแรงงานหนึ่งคน ด้วยวิธีนี้
ธนาคารเวลาหาทางสร้างแรงจูงใจและรางวัลสำหรับงานที่ทำแบบอาสาสมัคร สมัชชาของย่าน ลา คอนเซปซิออน ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงแมดริด
มี ธนาคารเวลาที่ใหญ่ที่สุดและมีการจัดรูปองค์กรที่ดีกว่า
ที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการประสานงาน
เพื่อนบ้านสามารถสร้างประวัติออนไลน์
ที่พวกเขาสามารถแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการบริการในความสามารถของพวกเขา
และก็ติดต่อกับคนที่ให้บริการที่พวกเขาสนใจ
พวกเขาตกลงกันเอง และมีแผนจัดตั้ง กรรมาธิการคนกลาง เพื่อแก้ไข
หากมีปัญหาเกิดขึ้น
Other initiatives that originated within the assemblies
include the creation of organic vegetable gardens in empty neighborhood spaces,
aiming to reduce food dependency, and the constitution of co-operatives of
agro-ecological consumption, which seek to shorten the commercialization
circuits and establish closer relationships to producers. The latter is a very
clear materialization of the movement’s critique of the conventional models of
production and consumption of the capitalist system, claiming that they are
neither sustainable, fair, healthy, nor tasty. In this way, the assemblies are
encouraging the emergence of alternative lifestyles and consumption habits.
การริเริ่มอื่นที่เกิดขึ้นภายในสมัชชา
รวมถึงการก่อตั้งสวนผักอินทรีย์ในพื้นที่ว่างในย่าน
เพื่อลดการพึ่งอิงอาหารจากภายนอก
และการเขียนธรรมนูญสหกรณ์ของการบริโภคเชิงเกษตร-นิเวศ
ที่ต้องการตัดวงจรพาณิชย์ให้สั้นลง และกระชับความสัมพันธ์กับผู้ผลิต ประการหลังเป็นรูปธรรมชัดเจนมากของขบวนการในการวิพากษ์โมเดลกระแสหลักในการผลิตและบริโภคของระบบทุนนิยม โดยอ้างว่า พวกหลังไม่ยั่งยืน ไม่เป็นธรรม
ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่อร่อย ด้วยวิธีนี้
สมัชชากำลังชักจูงให้เกิดลีลาชีวิต และนิสัยการบริโภคทางเลือก
One of the most successful actions of the 15-M movement that
the neighborhoods have helped to coordinate is the ‘stop forced evictions’
campaign (stop desahucios). Around 200 evictions have been stopped since last
year. Since the beginning, a working group on housing rights was constituted
inside of the indignados movement, which formed the housing office (oficina de
vivienda). When the neighborhood assemblies were created, they served as a
means to channel the desahucios initiative. Only last year, 58.241 evictions
were processed in the country, a rise of 22 percent compared to 2010. The
Platform of Those Affected by a Mortgage (PAH: Plataforma de Afectados por la
Hipoteca), association that was created in 2009 to try to find a solution to
the drama of forced evictions, tightly connected to the 15-M movement, was able
to provide its people-gathering strength and visibility to the stop evictions.
The neighborhoods were a key actor in this process: they started collecting
information of the evictions planned in their area, and organized the
mobilization of activists on eviction dates. Through the celebration of mutual
assemblies and the sharing of information through social networks, housing has
become one of the main targets for the neighborhood assemblies to work on and
mobilize around.
ปฏิบัติการหนึ่งของ 15-M ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ
ย่านได้ช่วยประสานการรณรงค์ให้ “ยุติการบังคับไล่ที่” ตั้งแต่ปีที่แล้ว มีการยับยั้งการขับไล่ที่ถึง
200 ราย ตั้งแต่เริ่ม
กลุ่มทำงานด้านสิทธิในที่อยู่อาศัยเป็นส่วนหนึ่งภายในการขับเคลื่อนพวกคนขุ่นเคือง
และได้ตั้งเป็นสำนักงานที่อยู่อาศัย
พอสมัชชาย่านก่อตั้งขึ้น ก็ได้เป็นรูปแบบหรือช่องทางให้จัดตั้งตาม ปีที่แล้ว มีการไล่ที่ถึง 58.241 รายในประเทศ เพิ่มสูงขึ้น 22% เทียบกับปี 2010
สมาคมผู้ได้รับผลกระทบจากการจำนองที่ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 เพื่อหาทางออกสำหรับการบังคับไล่ที่
ซึ่งเกาะเกี่ยวกับ 15-M
อย่างเหนียวแน่น สามารถช่วยระดมกำลังของประชาชนและทำให้สาธารณะประจักษ์
เพื่อยับยั้งการไล่ที่
กุญแจสำคัญของย่านในกระบวนการนี้ คือ พวกเขาเริ่มรวบรวมข้อมูลการไล่ที่ๆ
วางแผนไว้แล้วในบริเวณของพวกเขา
และทำการจัดและเคลื่อนกำลังนักกิจกรรมในวันที่จะมีการไล่ที่ ด้วยวิธีการจัดประชุมสมัชชาที่มีหัวข้อร่วมกับสมัชชาอื่นๆ
และแบ่งปันข้อมูลผ่านเครือข่ายสังคม ประเด็นที่อยู่อาศัยได้กลายเป็นเป้าหมายหลักหนึ่ง
สำหรับสมัชชาย่าน ในการทำงานและใช้ขับเคลื่อน
The truth is that the 15-M movement has marked a turning
point in Spain’s social climate: it has opened up a whole new sphere of public
debate. It has shown that it is possible to think differently, to feel
differently, and to act differently. It has proved that it is possible to set
up alternatives to the current system, and it has gathered together a large
number of people who are now showing that there is more beyond the movement than
only sporadic massive mobilizations.
ความจริง คือ ขบวนการ 15-M ได้ฝากรอยจุดเปลี่ยนในบรรยากาศสังคมของสเปน
มันได้เปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการถกเถียงสาธารณะ มันได้แสดงว่า เป็นไปได้ที่จะคิดต่าง
รู้สึกต่าง และทำตัวต่าง
มันได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นไปได้ที่จะจัดตั้งทางเลือกแทนระบบปัจจุบัน
และมันก็ได้รวบรวมคนเป็นจำนวนมาก ผู้กำลังแสดงให้เห็นว่า
ยังมีอีกมากมายข้างหน้าของการขับเคลื่อน
มากกว่าเป็นแค่การเคลื่อนมวลชนอย่างกระเส็นกระสาย
Under the slogan ‘No human being is illegal’, the
Neighborhood Brigades for Human Rights Monitoring (Brigadas Vecinales de
Observación de los Derechos Humanos) have been formed within some popular
assemblies in Madrid, mostly in those neighborhoods with big immigrant
collectives, with the goal of rendering visible the police raids on the
immigrant population, as well as denouncing the xenophobic and racist bias that
they usually display. The neighborhood assemblies, with their Human Rights
Monitoring Brigades, have also been the cradle of protest against immigration
detention centres (CIEs: Centro de Internamiento de Extranjeros), advocating
for their closure and the improvement of detainee’s human rights guarantees.
ภายใต้คำขวัญ
“ไม่มีมนุษย์คนใดเป็นคนนอกกฎหมาย”
กองพลย่านติดตามสิทธิมนุษยชน
ได้จัดตั้งขึ้นภายในบางสมัชชาในกรุงแมดริด
ส่วนมากเป็นย่านที่มีกลุ่มคนย้ายถิ่นมาก
มีเป้าหมายที่จะทำให้การปราบปรามของตำรวจต่อประชากรย้ายถิ่น
เป็นข่าวมากขึ้น ตลอดจนปฏิเสธความหวาดกลัวคนต่างชาติ การเหยียดเชื้อชาติ
ที่มักแสดงออก สมัชชาย่าน
พร้อมกับกองพลย่านฯ ได้เป็นบ่อเกิดของการประท้วงต่อต้านศูนย์กักกันคนย้ายถิ่น รณรงค์ให้ปิดศูนย์เหล่านี้
และปรับปรุงการประกันสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกกักกัน
The indignados have revitalized the neighborhood movement:
new forms of cooperation coexist with the old neighborhood associations, and
they are coordinating and sharing a large number of initiatives and joint
actions. The neighborhood associations, which appeared in Madrid in the late
sixties, had gradually moderated their demands and plunged into a light sleep.
The 15-M movement has reawakened local politics and boosted community-based
mobilization: we are witnessing how old and new forms of neighborhood
organization are coexisting, coordinating and mutually learning from one
another.
พวกขุ่นเคือง
ได้ให้พลังชีวิตแก่การขับเคลื่อนย่าน
รูปแบบสหกรณ์ใหม่เกิดขึ้น คงอยู่คู่กับสมาคมย่านแบบเก่า
และพวกเขาประสานงานและแบ่งปันความคิดริเริ่มและปฏิบัติการร่วม สมาคมย่าน
ที่เกิดขึ้นในกรุงแมดริดในปลายทศวรรษ 60 ได้ค่อยๆ อ่อนข้อลงในการเรียกร้อง
และได้ม่อยหลับไป ขบวนการ 15-M ได้ปลุกการเมืองท้องถิ่นให้ตื่นขึ้น
และกระเตื้องการเคลื่อนไหวชุมชน
เรากำลังเห็นองค์กรย่านเก่าและใหม่อยู่ร่วมกัน ประสานงานกัน
เรียนรู้จากกันและกัน ได้อย่างไร
A new social climate
บรรยาการสังคมใหม่
The media has emphasized lately that the 15-M movement still
has a powerful people-gathering effect, but that, apart from the massive
mobilizations, it is losing its influence in day-to-day life. But the 15-M
movement has in fact created a new social climate. As the popular assembly of
Algete expressed on its Twitter account, “we were sleeping, we woke up, and now
we have chronic insomnia” (dormíamos, despertamos, y ahora tenemos insomnio
crónico). Philosopher Amador Fernández-Savater goes beyond that and claims that
the 15-M movement has opened a “new state of mind”. The truth is that the 15-M
movement has marked a turning point in Spain’s social climate: it has opened up
a whole new sphere of public debate. It has shown that it is possible to think
differently, to feel differently, and to act differently. It has proved that it
is possible to set up alternatives to the current system, and it has gathered
together a large number of people who are now showing that there is more beyond
the movement than only sporadic massive mobilizations.
เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อได้เน้นว่า การขับเคลื่อน 15-M ยังมีอำนาจในการระดมประชาชน นอกจากการขับเคลื่อนมวลชนแล้ว
มันกำลังสูญอิทธิพลในชีวิตประจำวัน
แต่แท้จริงแล้ว ขบวนการ 15-M ได้สร้างบรรยากาศสังคมใหม่
ดังที่ สมัชชาประชาชน Algete ได้แสดงบนทวิตเตอร์ “พวกเราเคยนอนหลับ พวกเราได้ตื่นขึ้นแล้ว และตอนนี้ พวกเรานอนไม่หลับอย่างเรื้อรัง” นักปรัชญา Amador Fernández-Savater ไปไกลกว่านั้น อ้างว่า ขบวนการ 15-M ได้เปิด
“ภาวะจิตใจใหม่” ความจริง คือ ขบวนการ 15-M
เป็นจุดเปลี่ยนของบรรยากาศสังคมของสเปน
In more than one hundred neighborhoods of Madrid, every
single week, popular assemblies are held, working groups are created, and new
initiatives are taking shape. Once a week, the Popular Assembly of Madrid
(Asamblea Popular de Madrid, or Comisión Interbarrios), the inter-neighborhood
coordination instance, meets to analyze, discuss and adopt proposals coming
from the different neighborhood assemblies. A silent interconnection of minds
takes place on a weekly basis all over the city, in the squares and on the
internet. Yet the media keeps insisting that the movement is losing strength.
We are witnessing the appearance of a parallel, alternative, underground
economy. Yet those in power remain blind to it. As political scientist Carlos
Taibo expresses it, “we constantly see how the media declares that the 15-M
movement is dead. And I have realized that it is better not to reply back: the
less they know about the reality of the movement, the more surprised they will
be by what emerges from the invisible.”
ทุกๆ สัปดาห์ กว่าหนึ่งร้อยย่านในกรุงแมดริด
จะมีการประชุมสมัชชาประชาชน มีการจัดตั้งกลุ่มทำงาน และก่อรูปการริเริ่มใหม่ๆ สัปดาห์ละครั้ง สมัชชาประชาชนของแมดริด
และศูนย์ประสานงานระหว่างย่าน จะพบกันเพื่อวิเคราะห์ อภิปราย
และรับโครงการนำเสนอที่ส่งเข้ามาจากสมัชชาย่านต่างๆ การเชื่อมต่อระหว่างจิตใจเกิดขึ้นเงียบๆ ทุกๆ
สัปดาห์ทั่วเมือง ในจัตุรัส และบนอินเตอร์เน็ต
แต่สื่อกระแสหลักเพียรยืนยันว่า ขบวนการได้สูญความเข้มแข็ง เรากำลังเห็นการเกิดเศรษฐกิจคู่ขนาน ทางเลือก
ใต้ดิน แต่พวกที่กุมอำนาจยังมืดบอด ดังที่นักวิทยาศาสตร์การเมือง Carlos
Taibo กล่าว
“เราเห็นได้อย่างสม่ำเสมอว่า สื่อได้ประกาศว่า ขบวนการ 15-M ตายแล้ว
และผมก็ตระหนักว่า ไม่ต้องไปโต้ตอบกลับจะดีกว่า
พวกเขารู้ความจริงเกี่ยวกับขบวนการมากเท่าไร การโผล่จากความล่องหนก็จะน่าประหลาดใจมากเท่านั้น”
“The 15-M movement was an explosion in the streets, but it
has spread seeds of work all over the neighborhoods,” says Lola Díaz, from
Ágora Sol. One year after its birth, we can conclude that the 15-M movement is
more vibrant than ever before. It has raised a world awareness on the
importance of being united for change. As activist and researcher Esther Vivas
remarks, “with individual single actions we are not going to change the world,
the change of paradigm will come only from collective action; if we don’t fight,
if we are not proactive, if we don’t take the streets, we have lost before
starting.”
“ขบวนการ 15-M เป็นการระเบิดบนท้องถนน
แต่มันได้กระจายเมล็ดของงานไปทั่งย่าน” Lola Díaz จาก Ágora Sol กล่าว
หนึ่งปีหลังการก่อตั้ง เราสามารถสรุปได้ว่า ขบวนการ 15-M มีพลังมากกว่าก่อน
มันได้ปลุกให้โลกตื่นและรับรู้ถึงความสำคัญของความสามัคคีในการเปลี่ยนแปลง นักกิจกรรมและนักวิจัย Esther Vivas แสดงความเห็น
“ด้วยปฏิบัติการเดี่ยวหลายๆ หน เราจะไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้
การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จะมาจากปฏิบัติการร่วมเป็นกลุ่มเท่านั้น ถ้าเราไม่สู้ ถ้าเราไม่รุก
ถ้าเราไม่ออกไปที่ถนน เราก็แพ้แล้วก่อนที่จะเริ่มต้น”
The 15-M movement has gone beyond protest: it has succeeded
in altering the collective imagination and the political atmosphere at its very
roots. It has generated a process of re-politicization of society. The agenda
of actions has expanded and been radicalized: now we do not only occupy the
squares, but we are taking back the public spaces in our own neighborhoods. We
stop evictions. We crowd-fund our initiatives. We bring legal actions against
bankers. We build our own parallel networks of social support. Does this show a
weakened movement, running out of strength? Or does it rather show a dynamic
movement, working in the underground on a silent revolution? The 15-M movement,
armed with a ‘slow impatience’, as philosopher Daniel Bensaïd pointed out, is
putting its efforts in rebuilding the correlation of forces between the 1
percent in power and the vast majority of society, the other 99 percent. And
stay sharp: this is only just the beginning.
ขบวนการ 15-M ได้ข้ามพ้นการประท้วง
มันได้ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนจินตนาการ
และบรรยากาศการเมืองถึงรากเหง้า
มันได้สร้างกระบวนการจุดประกายการเมืองในสังคม วาระของปฏิบัติการได้ผ่าขยาย
และได้เกิดการเปลี่ยนแปลงถึงฐานราก
ตอนนี้ เราไม่เพียงตายึดพื้นที่จัตุรัส
แต่เรากำลังทวงคืนพื้นที่สาธารณะในบริเวณย่านของเรา เรายับยั้งการไล่ที่ กิจกรรมที่เราริเริ่มได้รับทุนสนับสนุนจากการลงขันของฝูงชน เราฟ้องร้องนายธนาคาร เราสร้างเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมคู่ขนานของเราเอง นี่เป็นการแสดงว่าขบวนการอ่อนแอลงหรือ? หรือว่า แสดงว่าเป็นขบวนการที่มีพลวัต
ทำงานใต้ดิน เป็นการปฏิวัติเงียบๆ?
ชบวนการ 15-M
ที่ติดอาวุธ “ความไม่อดทนช้าๆ” ดังที่นักปรัชญา Daniel Bensaïd ชี้ว่า
เป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์ใหม่ของพลังงานระหว่างคน 1% ที่กุมอำนาจและคนส่วนใหญ่ในสังคม อีก 99% และตั้งใจติดตามให้ดี นี่เป็นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น
Copyleft – All Wrongs Reversed.
Marta Sánchez is a contributor to Reflections on a
Revolution (ROAR), an online magazine that seeks to amplify the voice of the
contemporary generation amidst the clamorous cacophony of a rapidly changing
world
มาร์ทา ซานเชส เขียนใน Reflections on a
Revolution (ROAR),
แม็กกาซีนออนไลน์ที่ต้องการขยายเสียงของคนร่วมรุ่น ท่ามกลาง เสียงอลหม่านวุ่นวาย
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Published on Tuesday, June 26, 2012 by ROARmag.org
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น