วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

9 สร้างงาน จะช่วยอเมริกาหลุดหลุมหนี้

จะทำให้อเมริกากลับเข้าทำงานได้อย่างไร
โดย โจเซฟ สติกลิตส์
8 กันยายน 2011 ใน Politico.com

How to Put America Back to Work
Published on Thursday, September 8, 2011 by Politico.com

ประเทศเน้นหรือควรจะเน้นที่งานจ้าง   ชาวอเมริกัน 25 ล้านคนต้องการงานเต็มเวลา แต่หางานทำไม่ได้  อัตราการไร้งานของคนหนุ่มสาวสูงกว่าค่าเฉลี่ยแห่งชาติที่มีอัตราสูงอย่างยอมรับไม่ได้อยู่แล้วกว่าสองเท่า
The country is — or should be — focused on jobs. Some 25 million Americans who want a full-time job can’t get one. The youth unemployment rate is as much as twice that of the already unacceptable national average.

อเมริกาคิดเสมอมาว่าตัวเองเป็นดินแดนแห่งโอกาสแต่ โอกาสอยู่ที่ไหนสำหรับคนหนุ่มสาวของเราที่กำลังเผชิญหน้ากับอนาคตอันมืดมน?  ในประวัติศาสตร์ คนที่เสียงานไป จะได้งานใหม่ทำอย่างรวดเร็ว จำนวนคนไร้งานกำลังเพิ่มมากขึ้นขณะนี้ มากกว่า 40%--ไม่มีงานทำมากว่า 6 เดือนแล้ว
America has always thought of itself as a land of opportunity — but where is the opportunity for our youngsters who face such bleak prospects? Historically, those who lose their jobs quickly got another, but an increasingly large fraction of the unemployed — now more than 40 percent — have been out of work for more than six months.

ประธานาธิบดี บารัค โอบามา จะแสดงสุนทรพจน์ในค่ำคืนนี้ เพื่อเผยโครงร่างวิสัยทัศน์ว่าด้วยสิ่งที่พวกเราสามารถทำได้   คนอื่นๆ ก็ควรทำเช่นเดียวกัน
President Barack Obama will deliver an address tonight outlining his vision of what can be done. Others should be doing the same.

ความรู้สึกหมดอาลัยมีมากขึ้นทั่วไปในประเทศ  โวหารก็ใช้ได้  แต่มีอะไรบ้างที่คนทำได้จริงๆ จังๆ ในเงามืดของหนี้และการขาดดุลที่คืบคลานเข้าปกคลุมประเทศ?
Around the country there is growing pessimism. The rhetoric will be fine. But is there anything that anyone can really do — given the country’s looming debt and deficit?

คำตอบเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ มีหลายอย่างที่เราสามารถทำได้เพื่อสร้างงานจ้างและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
The answer from economics is: There is plenty we can do to create jobs and promote growth.

มีนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยเรื่องนี้ได้ ในระยะกลางจนถึงระยะยาว ที่จะลดอัตราส่วนของมูลค่าหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)  นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายอย่าง ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในการสร้างงาน ก็สามารถปกป้องภาวะการขาดดุลในระยะสั้นได้
There are policies that can do this and, over the intermediate to long term, lower the ratio of debt to gross domestic product. There are even things that, if less effective in creating jobs, could also protect the deficit in the short run.

แต่การเมืองจะยอมให้เราทำในสิ่งที่เราสามารถและควรทำหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
But whether politics allows us to do what we can — and should — do is another matter.

ความรู้สึกหมดอาลัยนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้  นโยบายเงินตรา อันเป็นเครื่องมือหลักในการจัดการเศรษฐกิจมหภาค ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ไม่มีประสิทธิภาพและมันก็คงจะยังดำเนินต่อไปเช่นนี้    (แต่) เป็นการหลงผิดที่คิดว่ามันจะสามารถช่วยให้พวกเราหลุดพ้นจากความยุ่งเหยิงที่มันได้ช่วยสร้างขึ้นมา   พวกเราต้องยอมรับว่ามันเป็นเช่นนั้น
The pessimism is understandable. Monetary policy, one of the main instruments for managing the macro-economy, has proved ineffective — and will likely continue to be. It’s a delusion to think it can get us out of the mess it helped create. We need to admit it to ourselves.

ในขณะเดียวกัน  การขาดดุลอย่างใหญ่หลวง และหนี้ประชาชาติ ได้ขัดขวางการใช้นโยบายการเงินแผ่นดิน  หรือเป็นเช่นนั้นอย่างที่ถูกกล่าวอ้าง  และก็ไม่มีฉันทามติว่านโยบายการเงินประเภทไหนอาจทำงานได้ผล
Meanwhile, the large deficits and national debt apparently preclude the use of fiscal policy. Or so it is claimed. And there is no consensus on which fiscal policy might work.

พวกเราจำต้องรับชะตากรรมของการป่วยแบบญี่ปุ่นในระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานจนกว่าแรงงัดที่มากเกินไป กับสรรถนะทำงานได้จริงจะหาทางออกของมันได้หรือ?  คำตอบ อย่างที่ผมได้แนะไว้ คือ การส่งเสียงก้องว่า ไม่    ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ผลพวงเช่นนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้
Are we doomed to an extended period of Japanese-style malaise — until the excess leverage and real capacity works its way out? The answer, I have suggested, is a resounding “no.” More accurately: This outcome is not inevitable.

ประการแรก เราต้องสลัดทิ้งเรื่องโกหกสองเรื่อง  เรื่องแรกคือ การลดความขาดดุลจะช่วยกู้คืนเศรษฐกิจ   คุณไม่สามารถสร้างงานและเติบโตด้วยการไล่คนงานและตัดการใช้จ่าย   เหตุผลที่กิจการที่มีทุนมากเกินไปขณะนี้ ไม่ยอมลงทุนและจ้างคนงาน ก็เพราะ ไม่มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ของเขามากพอ   อุปสงค์ลดนั่นคือความหมายของการรัดเข็มขัดมีแต่จะลดการลงทุนและการจ้าง
First, we must dispose two myths. One is that reducing the deficit will restore the economy. You don’t create jobs and growth by firing workers and cutting spending. The reason that firms with access to capital are not investing and hiring is that there is insufficient demand for their products. Weakening demand — what austerity means — only discourages investment and hiring.

อย่างที่ พอล ครุกแมน ย้ำ ไม่มี เทพธิดาแห่งความมั่นใจ ที่จะเนรมิตดลใจให้เกิดการลงทุน เมื่อพวกเขาเห็นการขาดดุล   พวกเราได้ทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า   ด้วยการใช้สูตรรัดเข็มขัด ประธานาธิบดีในอดีต เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ได้แปลงการล้มครืนของตลาดหุ้นให้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำร้ายแรง   ผมเห็นกับตาของผมเองว่า กองทุนเงินตราระหว่างประเทศ (IMF) ได้บังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดในประเทศเอเชียตะวันออก  ผลคือได้เปลี่ยนสภาพจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอให้เป็นเศรษฐกิจถดถอย และจากถดถอยเป็นตกต่ำขั้นวิกฤต
As Paul Krugman emphasizes, there is no “confidence fairy” that magically inspires investors once they see the deficit go down. We’ve tried that experiment — over and over. Using the austerity formula, then-President Herbert Hoover converted the stock market crash into the Great Depression. I saw firsthand how the International Monetary Fund’s imposed austerity on East Asian countries converted downturns into recessions and recessions into depressions.

ผมไม่เข้าใจว่าทำไม  ด้วยหลักฐานชัดเจนเช่นนี้  ประเทศใดจะบังคับใช้นโยบายนี้กับตัวเอง  แม้แต่ IMF เอง ตอนนี้ก็ตระหนักว่า คุณจำเป็นต้องมีการเงินแผ่นดินรองรับ
I don’t understand why, with such strong evidence, any country would impose this on itself. Even the IMF now recognizes you need fiscal support.

เรื่องโกหกที่สองคือ การกระตุ้นใช้ไม่ได้ผล  หลักฐานที่ถูกอ้างเพื่อสนับสนุนความเชื่อนี้ไม่มีอะไรมาก: การไร้งานถึงจุดสูงสุดที่ 10%--และตอนนี้ก็ยังสูงกว่า 9%  (การวัดที่แม่นยำขึ้นจะทำให้ค่านี้สูงขึ้นอีกมาก)   ถึงอย่างไร รัฐบาลก็ได้ประกาศว่า การใช้มาตรการกระตุ้น จะทำให้ได้เพียง 8%
The second myth is that the stimulus didn’t work. The purported evidence for this belief is simple: Unemployment peaked at 10 percent — and is still more than 9 percent. (More accurate measures put the number far higher.) The administration had announced, however, that with the stimulus, it would reach only 8 percent.

รัฐบาลได้ทำผิดอย่างใหญ่หลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งผมได้ชี้ให้เห็นในหนังสือของผม ดิ่งพสุธา”—ว่า มันได้ประเมินความรุนแรงของวิกฤตที่ตกทอดกันมาต่ำไปมาก
The administration did make one big error, which I pointed out in my book “Freefall” — it vastly underestimated the severity of the crisis it inherited.

แต่ เมื่อปราศจากการกระตุ้น การไร้งานจ้างอาจจะสูงสุดกว่า 12%  ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า การกระตุ้นน่าจะถูกออกแบบดีกว่านี้   แต่มันก็ได้ลดการไร้งานว่าจ้างลงได้อย่างมีนัยสำคัญ   การกระตุ้นได้ผล  เพียงแต่มันไม่ใหญ่พอ และมันอยู่ไม่นานพอ:  รัฐบาลประเมินความคงทนและความลุ่มลึกของวิกฤตต่ำเกินไป
Without the stimulus, however, unemployment would have peaked at more than 12 percent. There is no doubt that the stimulus could have been better designed. But it did bring unemployment down significantly from what it otherwise would have been. The stimulus worked. It was just not big enough, and it didn’t last long enough: The administration underestimated the crisis’s durability as well as its depth.

มาคิดด้านของการขาดดุล เราต้องรำลึกย้อนไป 10 ปีก่อน เมื่อประเทศมีการเกินดุลขนาดใหญ่ถึง 2% ของจีดีพี ถึงขนาดประธานสหพันธ์ธนาคารทุนสำรอง วิตกว่า เราจะตัดหนี้แห่งชาติทั้งหมดได้ทำให้การบริหารนโยบายเงินตรายากขึ้น   ด้วยการรู้ว่า เราได้ผ่านจากสถานการณ์เช่นนั้น จากวันนั้นจนถึงวันนี้อย่างไร จะช่วยให้เราคิดออกว่า จะแก้ไขปัญหาการขาดดุลได้อย่างไร
Thinking about the deficit, we need to reflect back 10 years, when the country had such a large surplus at 2 percent of GDP that the Federal Reserve Bank chairman worried we would soon pay off the entire national debt — making the conduct of monetary policy difficult. Knowing how we went from that situation to this helps us think through how to solve the deficit problem.

เท่าที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญ 4 ประเภท  อันแรก การลดภาษีเกินกว่าที่ประเทศสามารถหาได้  อันที่สอง สงครามราคาแพงสองสมรภูมิ และค่าใช้จ่ายกองทัพที่สูงลิ่วคิดเป็น 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในมูลหนี้  อันที่สาม ประกันสุขภาพส่วน D – และมาตรการจำกัดบทบาทรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้ซื้อยารายใหญ่ที่สุด ไม่ให้ต่อรองกับบริษัทเภสัชกรรม นับเป็นต้นทุนหลายแสนล้านดอลลาร์ในช่วงกว่า 10 ปี  อันที่สี่ เศรษฐกิจตกต่ำ
There have been four major changes: First, tax cuts beyond the country’s ability to afford. Second, two costly wars and soaring military expenditures — contributing roughly $2.5 trillion to our debt. Third, Medicare Part D — and the provision restricting government, the largest drug buyer, from negotiating with pharmaceutical companies, at a cost of hundreds of billions of dollars over 10 years. Fourth, the recession.

การผันกลับนโยบายทั้งสี่ จะช่วยให้ประเทศกลับคืนสู่เส้นทางที่มีความรับผิดชอบด้านการเงิน  แต่ สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ ทำให้อเมริกากลับไปทำงานได้ : รายได้สูงขึ้น หมายถึง รายได้ภาษีเข้าคลังแผ่นดินมากขึ้นด้วย
Reversing these four policies would quickly put the country on the road of fiscal responsibility. The single most important thing, however, is putting America back to work: Higher incomes mean higher tax revenues.

แต่จะทำให้อเมริกากลับไปทำงานได้อย่างไรตอนนี้?  ทางที่ดีที่สุด คือ ใช้โอกาสนี้ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวต่ำมากเพื่อทำการลงทุนระยะยาวที่อเมริกาต้องการอย่างยิ่งในระบบสาธารณูปโภค เทคโนโลยี และการศึกษา
But how do we get America back to work now? The best way is to use this opportunity — with remarkably low long-term interest rates — to make long-term investments that America so badly needs in infrastructure, technology and education.

เราควรจะมุ่งที่การลงทุน ที่ทั้งให้ผลคืนสูง และใช้แรงงานมาก  อันนี้จะสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนมันจะเพิ่มการให้ผลตอบแทนในภาคเอกชน และดังนั้น จะเป็นการจูงใจภาคเอกชนไปด้วย
We should focus on investments that both yield high returns and are labor intensive. These complement private investments — they increase private returns and so simultaneously encourage the private sector.

การช่วยรัฐต่างๆ จ่ายในด้านการศึกษา จะเป็นการช่วยรักษางานนับพันอย่างรวดเร็ว  มันไร้สาระที่ประเทศที่ร่ำรวย ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา จะลอยแพครูโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการแข่งขันในโลกดุเดือด   ประเทศที่มีแรงงานที่มีการศึกษาดีกว่า ย่อมแข่งขันได้ดีกว่า  เหนือกว่านั้น การศึกษาและการฝึกงาน เป็นเรื่องจำเป็น หากเราตั้งใจจะจัดโครงสร้างเศรษฐกิจของเราใหม่ให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21
Helping states pay for education would also quickly save thousands of jobs. It makes no sense for a rich country, which recognizes education’s importance, to be laying off teachers — especially when global competition is so fierce. Countries with a better educated labor force will do better. Moreover, education and job training are essential if we are to restructure our economy for the 21st century.

ข้อได้เปรียบจากการที่มีภาคเอกชนที่ลงทุนน้อยไปเป็นเวลานาน คือ เรามีโอกาสมากที่จะได้ผลตอบแทนสูง  ผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นในระยะสั้น และการเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว จะทำให้สามารถจัดเก็บภาษีมากเกินพอ เพื่อจ่ายคืนหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ  ผลคือ หนี้ของเราจะลดลง จีดีพีเพิ่มสูงขึ้น และสัดส่วนหนี้ต่อ จีดีพี จะดีขึ้น
The advantage of having underinvested in the public sector for so long is that we have many high-return opportunities. The increased output in the short run and increased growth in the long run can generate more than enough tax revenues to pay the low interest on the debt. The result is that our debt will decrease, our GDP will increase and the debt to GDP ratio will improve.

ไม่มีนักวิเคราะห์ที่พิจารณาแค่มูลหนี้ของบริษัทเขาจะตรวจสอบทั้งสองด้านของบัญชี ทรัพย์สิน และหนี้สิน   สิ่งที่ผมกำลังชักชวน คือ เราต้องทำอย่างเดียวกันนี้กับรัฐบาลสหรัฐฯ--และเลิกความเชื่องมงายเรื่องการขาดดุล
No analyst would ever look at just a firm’s debt — he would examine both sides of the balance sheet, assets and liabilities. What I am urging is that we do the same for the U.S. government — and get over deficit fetishism.

หากเราไม่สามารถทำได้ ยังมีวิธีอื่น แม้จะไม่มีอิทธิพลเท่า แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพมากพอ นั่นคือ การสร้างงาน  นักเศรษฐศาสตร์ ได้เห็นมานานแล้วว่า การเพิ่มการใช้จ่ายและการจัดเก็บภาษีไปด้วยกันอย่างสมดุล เป็นหนทางเพิ่ม จีดีพี   ปริมาณที่ จีดีพี เพิ่มขึ้นต่อทุกๆ ดอลลาร์จากการเพิ่มภาษี และการใช้จ่าย เรียกว่า ตัวทวีคูณงบประมาณที่สมดุล
If we can’t, there is another, not as powerful but still very effective, way of creating jobs. Economists have long seen that simultaneously increasing expenditures and taxes in a balanced way increases GDP. The amount that GDP is increased for every dollar of increased taxes and spending is called the “balanced-budget multiplier.”

ด้วยการเพิ่มการจัดเก็บภาษีที่ออกแบบอย่างดีมุ่งไปที่ชาวอเมริกันที่มีรายได้ขั้นสูง  บรรษัทที่ไม่ได้ลงทุนในอเมริกา หรือปิดช่องโหว่ในการจัดเก็บภาษี--และโปรแกมการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด ที่มุ่งไปที่การลงทุน ตัวทวีคูณจะมีค่าระหว่าง 2 และ 3
With well-designed tax increases — focused on upper-income Americans, corporations that aren’t investing in America or closing tax loopholes — and smart expenditure programs that are focused on investments, the multiplier is between 2 and 3.

นี่หมายความว่า ขอให้ชาวอเมริกัน 1% ที่มีรายได้สูงสุด ผู้เคยตักตวงรายได้ถึง 25% ของรายได้ทั้งหมดของสหรัฐฯ ให้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือแค่จ่ายส่วนของเขาที่เป็นธรรม (ต่อสังคม)  การลงทุนดังกล่าว จะมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลลัพธ์และการจ้างงาน  และเพราะเศรษฐกิจะขยายตัวมากขึ้นได้ในอนาคต อีกครั้ง สัดส่วนมูลหนี้ต่อ จีดีพี จะลดลง
This means asking the upper 1 percent of our country, who now garner some 25 percent of all U.S. income, to pay a little more in taxes — or just pay their fair share. Investing this could have a significant effect on output and employment. And because the economy would grow more in the future, again, the debt to GDP ratio would come down.

ยังมีภาษีบางประเภทที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ด้วยผลกระทบที่ใหญ่กว่าต่อผลลัพธ์ของชาติ หากเราวัดผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้อง     ผมได้เป็นประธานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการวัดผลงานทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงรอยด่างพร้อย (จุดอ่อน) ในระบบการวัดที่มีอยู่ปัจจุบัน
There are some taxes that could actually improve the efficiency of the economy and the quality of life, with an even bigger effect on national output, if we correctly measure output. I chaired an International Commission on the Measurement of Economic Performance and Social Progress, which identified large flaws in our current system of measurement.

มีหลักการพื้นฐานในเศรษฐศาสตร์: จัดเก็บภาษีจากสิ่งเลวๆ ที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงลบ ดีกว่าเก็บจากสิ่งดีๆ  หมายความว่า เราควรจัดเก็บภาษีมลภาวะหรือทำให้ธุรกรรมการเงินไม่เสถียร   ยังมีหนทางอื่นในการเพิ่มเงินแผ่นดินยกตัวอย่าง เปิดประมูลทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของเรา
There is a basic principle in economics: It is better to tax bad things that generate negative externalities than good things. The implication is that we should tax pollution or destabilizing financial transactions. There are also other ways of raising revenues — better auctions of our country’s natural resources, for example.

ด้วยเหตุผลบางอย่าง หากการเพิ่มเงินแผ่นดินดังกล่าวทำไม่ได้และไม่มีเหตุผลเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ดีกว่าว่ามันควรเป็นเช่นนี้ก็ยังมีพื้นที่ให้ขยับ   รัฐบาลสามารถเปลี่ยนการออกแบบโปรแกมการเก็บภาษีและการใช้จ่ายแม้จะยังจำกัดอยู่ในซองงบประมาณปัจจุบัน
If, for some reason, such revenue enhancements are ruled out — and there is no good economic reason why they should be — there is still room to maneuver. The government can change the design of tax and expenditure programs — even within the current budget envelope.

เช่น เพิ่มการจัดเก็บภาษีจากชั้นบนสุด และลดการเก็บภาษีจากชั้นล่างสุด จะนำสู่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคมากขึ้น   เพิ่มภาษีกับบรรษัทที่ไม่ลงทุนในอเมริกา และลดภาษีแก่พวกที่ลงทุนในประเทศจะสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนมากขึ้น   ตัวทวีคูณปริมาณจีดีพีที่เพิ่มขึ้นต่อทุกๆ ดอลลาร์ที่ใช้จ่ายเช่น สำหรับใช้จ่ายในสงครามในต่างแดน มีค่าต่ำกว่าเพื่อการศึกษามาก   ดังนั้น การขยับเงินมาที่การศึกษาที่นี่ จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
Increasing taxes at the top, for example, and lowering taxes at the bottom will lead to more consumption spending. Increasing taxes on corporations that don’t invest in America and lowering them on those that do would encourage more investment. The multiplier — the amount GDP increases per dollar spent — for spending on foreign wars, for example, is far lower than education, so shifting money here stimulates the economy.

มีสิ่งที่เราจะทำได้มากกว่าเรื่องงบ  รัฐบาลควรจะมีอิทธิพลเหนือธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่เขายังติดพวกเราให้ช่วยกู้   แครอทและไม้เรียว สามารถจะจูงใจให้มีการปล่อยกู้แก่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมากขึ้น และเพื่อปรับโครงสร้างการจำนอง   มันไม่มีข้อแก้ตัวเลยว่าเราได้ทำน้อยมากในการช่วยเหลือเจ้าของบ้าน ตราบเท่าที่การยึดทรัพย์ที่ถูกจำนองไว้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างรวดเร็ว  (ผลคือ) ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะยังคงอ่อนเปลี้ยต่อไป
There are things we can do beyond the budget. The government should have some influence over the banks, particularly given the enormous debt they owe us for their rescue. Carrots and sticks can encourage more lending to small- and medium-sized businesses and to restructure more mortgages. It is inexcusable that we have done so little to help homeowners, and as long as the foreclosures continue apace, the real estate market will continue to be weak.

บัตรเครดิตธนาคารที่ต่อต้านการแข่งขัน แท้จริงเป็นการบังคับเก็บภาษีในการทำธุรกรรมทุกครั้งแต่มันเป็นภาษีที่จัดเก็บเข้ากระเป๋าธนาคาร ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะรวมทั้งการลดหนี้แห่งชาติ   การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาดของธนาคารอย่างเข้มแข็ง จะเป็นการช่วยธุรกิจขนาดเล็กอีกมากมาย
The banks’ anti-competitive credit card practices also essentially impose a tax on every transaction — but it is a tax with revenues that go to fill the banks’ coffers, not for any public purpose — including lowering the national debt. Stronger enforcement of antitrust laws against the banks would also be a boon to many small businesses.

กล่าวสั้นๆ เรายังก้าวไม่พ้นจากการทำศึก  สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของพวกเรา ไม่ใช่เรื่องเศรษฐศาสตร์   ทฤษฎีและประสพการณ์แสดงให้เห็นว่า ยุทโธปกรณ์ของพวกเรายังไม่แข็งแรงพอ  แน่นอน การขาดดุลและหนี้ จำกัดสิ่งที่เราสามารถทำได้  แต่ถึงแม้จะยังอยู่ในขอบเขตจำกัดเช่นนี้  เราสามารถสร้างงานและขยายเศรษฐกิจของเราและทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ จีดีพี ลดลง
In short, we are not out of ammunition. Our predicament is not a matter of economics. Theory and experience show that our arsenal is still strong. Of course, the deficit and debt do limit what we can do. But even within these confines, we can create jobs and expand the economy — and simultaneously bring down the debt to GDP ratio.

มันเป็นเรื่องการเมือง  ไม่ว่าเราจะเลือกที่จะก้าวไปหรือไม่ เราจะต้องก้าวเพื่อหาทางกู้เศรษฐกิจให้กลับคืนสู่ความรุ่งเรืองให้ได้
It is simply a matter of politics: whether we choose to take the steps we need to take to restore our economy to prosperity.


โจเซฟ อี. สติกลิตส์ เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  ในบรรดาหนังสือหลายเล่มที่เขาเขียน คือ โลกาภิวัตน์และความไม่พึงพอใจของมัน   เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในป 2001 สำหรับงานวิจัยว่าด้วย เศรษฐศาสตร์ของข้อมูล/สารนิเทศ   เขาได้เป็นผู้ร่วมเขียนหนังสือกับ ลินดา บิลเมส เรื่อง สงครามสามหมื่นล้านดอลลาร์: ต้นทุนที่แท้จริงของสงครามอิรัค  หนังสือใหม่ล่าสุดของเขา คือ ดิ่งพสุธา (การดิ่งตกอย่างเสรี) : อเมริกา  ตลาดเสรี  และเศรษฐกิจโลกที่กำลังล่มจม
Joseph E. Stiglitz is University Professor at Columbia University. Among many books, he is the author of Globalization and Its Discontents. He received the Nobel Prize in Economics in 2001 for research on the economics of information. He is the co-author, with Linda Bilmes, of The Three Trillion Dollar War: The True Costs of the Iraq Conflict.  His most recent book is Free Fall: America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy.

© 2011 Politico.com
9-9-11/ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น