วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

8 ต้องฉีกกรอบเศรษฐกิจเก่า เพื่อเศรษฐกิจใหม่จะได้งอก


วิถีสู่ความมั่งคั่งที่แท้จริง
แผนสร้างงานว่าจ้างเป็นความคิดที่เล็กเกินไป 
สิ่งที่เราต้องการคือเศรษฐกิจใหม่
โดย เดวิด คอร์เต็น
8 กันยายน 2011  ใน YES! Magazine
The Path to Real Prosperity
A new jobs plan is thinking too small.
What we need is a new economy.
Published on Thursday, September 8, 2011 by YES! Magazine

ดังเช่นชนชั้นกลางอเมริกันผิวขาวในรุ่นของผม ๆ เจริญเติบโตมาพร้อมกับความเชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจตลาดและสถาบันการเมืองประชาธิปไตยที่เข้มแข็งของเรา ทำให้เราเป็นรัฐชาติที่ยิ่งใหญ่และมั่งคั่งที่สุดในโลก  อเมริกาในวัยเยาว์ของผม เป็นผลผลิตของพันธะสัญญาสังคมที่เข้มแข็ง ที่ว่า พวกเราทั้งหมดอยู่ในนี้ร่วมกันอย่างน้อยก็ชาวผิวขาวและพวกเราทั้งหมดก็ทำดีที่สุดเมื่อพวกเราทั้งหมดจะได้อยู่ดีมีสุข   พันธะสัญญาสังคมนี้ทำให้อเมริกาเป็นที่อิจฉาของโลก  ในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเรือน (ต่อต้านการแยกสีผิว) พวกเราหลายคนได้หวังว่า เราจะสามารถขยายพันธะสัญญาสังคมนี้ ให้ครอบคลุมทุกๆ คนเข้ามาด้วย
Like most white middle class Americans of my generation, I grew up believing that our strong market economy and democratic political institutions make us the world's greatest and most prosperous nation. The America of my youth was the product of a strong social contract that said we are all in this together—at least the white folks—and we all do best when we all do well. That contract made America the envy of the world. With the civil rights movement, many of us hoped we could expand the contract to truly include everyone.

แต่แล้ว วอลล์สตรีท ก็เริ่มโลภ ได้สลัดทิ้งพันธะสัญญานี้ และได้สร้างระบบเศรษฐกิจที่ผู้ชนะรวบกินหมด และควบคุมโดยกลุ่มคนแค่หยิบมือ ที่อุทิศตัวให้กับการทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวงอกงาม   ความจริงจึงกลับตรงข้ามกับสิ่งที่นักโฆษณาชวนเชื่อของวอลล์สตรีทต้องการให้พวกเราเชื่อ นั่นคือ แท้จริงแล้ว วอลล์สตรีทเป็นนักฆ่างานว่าจ้าง ไม่ใช่ผู้สร้างงาน   มันร่ำรวยจากการกดค่าจ้างให้ต่ำที่สุด ขจัดและส่งงานของชาวอเมริกันออกไปนอกประเทศ และสกัดคั้นจากชาวอเมริกันด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงลิ่ว บังคับให้ต้องกู้ยืมเพื่อซื้ออาหารมาเลี้ยงครอบครัว หรือธำรงลีลาชีวิต/ความเป็นอยู่ในระดับชนชั้นกลาง   ผลคือ อเมริกาที่เสื่อมถอยและไร้งานทำ
Then Wall Street got greedy, abandoned the contract, and created a winner-take-all economy controlled by an oligarchy dedicated to growing its personal financial assets. Contrary to what Wall Street propagandists would have us believe, Wall Street is a job killer, not a job creator. It prospers by depressing wages, eliminating and outsourcing American jobs, and extracting usurious interest rates from Americans forced to borrow to put food on the table or to maintain a middle class lifestyle. The result is an America in decline and out of work.

วอลล์สตรีท ชักธงอเมริกาตามความสะดวก  แต่มันมีความสัมพันธ์กับอเมริกาในลักษณะผู้ครอบครองต่างด้าว  เหมือนกับเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าครอบครอง ก่อนที่ชาวอเมริกันจะลุกฮือขึ้นปฏิวัติ   การให้พักภาษี และการลดการควบคุม/กฎเกณฑ์สำหรับวอลล์สตรีท รังแต่จะทำให้บทบาทของเจ้าต่างด้าวที่ครอบครองเราเข้มแข็งขึ้น และทำลายงานจ้างมากกว่าสร้างงาน   โครงการสร้างงานที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเพิ่มการเก็บภาษีจากนานาบรรษัทและเหล่าเศรษฐีพันล้านแห่งวอลล์สตรีท  และตั้งกฎเกณฑ์ที่ควบคุมวิถีปฏิบัติแบบทำลายล้างของพวกเขา
Wall Street flies the American flag when it is convenient. It relates to America, however, as an alien occupier, much like the British prior to the American Revolution. Tax breaks and deregulation for Wall Street will only strengthen the role of the occupier and destroy more jobs than they create. An effective jobs program will increase taxes on Wall Street corporations and billionaires and regulatory restraints on their destructive practices.

ในขณะที่ผมประจักษ์รู้เห็นการทำลายล้างที่กระทำอย่างตั้งใจโดยระบบเศรษฐกิจเก่า  แหล่งที่ยิ่งใหญ่ของความเศร้าสลดของผม มาจากความตื่นรู้ถึงช่องว่างที่ลึกล้ำระหว่างความจริงของมนุษย์ และความเป็นไปได้ของมนุษย์
As I witness the devastation wrought by the Old Economy, my greatest source of sadness comes from an awareness of the profound gap between our human reality and our human possibility.

เมนสตรีท (ถนนสายเอก) เป็นผู้สร้างงานจ้าง  เรามาสร้างสมรรถนะการผลิตของอเมริกากันใหม่ ด้วยโปรแกมและสถาบันที่สนับสนุน และลงทุนในธุรกิจ บนถนนสายเอก (เมนสตรีท) เกษตรกรรม และระบบสาธารณูปโภคที่ประชาชนเป็นเจ้าของ--ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเป็นพลเรือนที่รับผิดชอบในชุมชนของพวกเขา   โปรแกมและสถาบันเหล่านี้จะได้รับเงินสนับสนุนอย่างเหมาะสม, อย่างน้อยก็บางส่วน, จากเงินภาษีที่เก็บจากความมั่งคั่งที่เหล่าบรรษัทและเศรษฐีพันล้านของวอลล์สตรีท ได้ยึดไปด้วยการหลอกลวงและชักใยการเงินที่ไม่มีผลิตภาพ
Main Street is the job creator. We rebuild America’s productive capacity through programs and institutions that support and invest in Main Street businesses, farms, and infrastructure owned by people who have a stake in being responsible citizens in their communities. These programs and institutions are properly funded, at least in part, by taxing the financial wealth expropriated by Wall Street corporations and billionaires through deception and unproductive financial manipulation.

เพื่อสร้างอเมริกาที่เจริญรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 21 เราต้องประกาศอิสรภาพของประเทศของเราจาก (การครอบครองของ) วอลล์สตรีท และสร้างเศรษฐกิจใหม่ ที่ปรับตัวเข้ากับความจริงของโลกที่มีขอบเขตจำกัด และโลกที่เชื่อมโยงถึงกันในศตวรรษที่ 21
To build a prosperous 21st century America we must declare our national independence from Wall Street and build a New Economy adapted to the realities of a finite planet and an interconnected 21st century world.

พื้นฐานของโครงสร้างสถาบันของเศรษฐกิจใหม่นี้ จะมีหน้าตาคล้ายกับเศรษฐกิจถนนสายเอก (เมนสตรีท) ที่มีขนาดที่มนุษย์เข้าถึงได้  ธุรกิจที่หยั่งรากในท้องที่อันเป็นแหล่งผลิตชนชั้นกลางอเมริกัน  ซึ่งได้ทำให้อเมริกาเป็นผู้นำของโลกในด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และได้ทำให้ชาวอเมริกันนับล้านได้บรรลุ ความฝันแบบอเมริกันมาแล้ว  ระบบเศรษฐกิจนี้ เป็นผลผลิตของการตั้งกฎเกณฑ์ที่เข้าเรื่องกับการตอบสนอง/รับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงในช่วงทศวรรษ 1930 เพื่อจำกัดอิทธิพล/อำนาจของวอลล์สตรีท และบังคับให้มันประพฤติตัวให้ตอบรับความจำเป็น/ต้องการ และผลประโยชน์ของเมนสตรีทตามวิถีประชาธิปไตย ที่มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้
The underlying institutional structure of this New Economy will look a good deal like the Main Street economies of human-scale, locally rooted businesses that produced the American middle class, made America the world leader in industry and technology, and fulfilled the American Dream for millions of Americans. This economy was the product of rules put in place in response to the Great Depression of the 1930s to limit Wall Street power and hold it democratically accountable to Main Street needs and interests.

การขยับอำนาจเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบเศรษฐกิจวอลล์สตรีท (ถนนกำแพง) แบบนักล่าเหยื่อ/กาฝาก ไปเป็นระบบเศรษฐกิจเมนสตรีท (ถนนสายหลัก) ที่เป็นแหล่งก่อกำเนิด เป็นหัวข้อร่วมในเกือบทุกกิจกรรมหรือคำแนะนำในหนังสือของผม วาระเพื่อเศรษฐกิจใหม่ และในบล็อกนี้
Shifting economic and political power from a predatory Wall Street economy to a generative Main Street economy is the common theme of most every initiative documented or recommended in my book, Agenda for a New Economy and this blog series.

ต่างจากระบบเศรษฐกิจอเมริกันทั้งก่อนหรือหลังการยึดวอลล์สตรีท  เศรษฐกิจยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 ของอเมริกาจะเป็นดังนี้
Unlike the American economy either before or after the Wall Street takeover, America’s new 21st century economy will:

-         นำพาให้การบริโภควัตถุของอเมริกาเข้าสู่ภาวะสมดุลกับทรัพยากรนิเวศน์ของเรา
  • Bring America’s material consumption into balance with our ecological resources.

-         สร้างความมั่นคงแก่ชาวอเมริกันทุกๆ คนไม่ว่าจะเป็นชนชาติหรือเพศใด--ให้มีโอกาสที่จะบรรลุการยังชีพที่พอเพียงและมีศักดิ์ศรี
  • Secure for every American—irrespective of race or gender—the opportunity to achieve an adequate and dignified living.

-         เดินหน้าก้าวใหม่อย่างห้าวหาญสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ด้วยการสร้างรัฐชาติที่บรรดาเจ้าของเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างจริงจังในด้านสุขภาพและความมีพลังชีวิตในชุมชนและธรรมชาติแวดล้อมของพวกเขา
  • Take a bold new step toward true democracy by creating a nation of owners who have a strong stake in the health and vitality of their local communities and natural environments.

พวกเราเหล่ามนุษย์ เป็น (สิ่งมีชีวิต/สัตว์โลก) สายพันธุ์หนึ่งที่เป็นไปได้หลายอย่าง  วอลล์สตรีทได้พิสูจน์ถึงความสามารถของพวกเราในการสรรค์สร้างวัฒนธรรมและสถาบัน ที่เพาะบ่ม เฉลิมฉลอง และให้รางวัลแก่พยาธิที่แฝงอยู่ในตัวเรา อันเป็นสมรรถนะของสัตว์เลื้อยคลานที่ด้อยวิวัฒนาการ มีลักษณะปัจเจกนิยมอย่างอำมหิต ละโมภ และพลุ่งพล่าน   พวกเราสามารถหากเลือกที่จะทำสร้างวัฒนธรรมและสถาบันที่บำรุง หล่อเลี้ยง เฉลิมฉลอง และให้รางวัลแก่สมรรถนะระดับสูงกว่า ในการสร้างสรรค์ แบ่งปัน และร่วมมือที่จะทำให้พวกเราเป็นมนุษย์อย่างเด่นชัด (และพิเศษกว่าสัตว์เดียรฉาน)
We humans are a species of many possibilities. Wall Street has proven our ability to create a culture and institutions that cultivate, celebrate, and reward the pathologies of our lesser evolved reptilian capacities for ruthless individualism, greed, and violence. We can, if we choose, create a culture and institutions that nurture, celebrate, and reward the higher order capacities for creativity, sharing, and cooperation that make us distinctively human.

ในลักษณะ (สัตว์โลก) สายพันธุ์หนึ่ง เราสามารถจะพลิกระบบเศรษฐกิจที่เคยอุทิศตัวให้การบ่มสมรรถนะ (มนุษย์) เพื่อการแข่งขันเฉือดเฉือนอย่างดุเดือดรุนแรง  ไปเป็นการอุทิศตัวเพื่อทำให้สมรรถนะของเราในการเอื้ออารี ดูแลกัน โอบรวมทุกฝ่ายสู่การร่วมมือปฏิบัติการให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้น (แก่ทุกฝ่าย) เราสามารถจะหันเหจากสถาบันเศรษฐกิจที่ดูดทรัพยากรสำรองของพลังงานฟอสซิลที่ไม่อาจเกิดใหม่ได้อีกจากใต้ผืนพิภพ เพื่อต่อต้าน ครอบงำ และวางระเบิดในชั้นบรรยากาศของโลก สู่สถาบันที่ทำงานได้อย่างเป็นหุ้นส่วนบูรณาการร่วมกับระบบมีชีวิตของโลกที่สามารถจัดการเองได้อันเป็นสมรรถนะแห่งความเจริญงอกงามที่ไม่ธรรมดา
We can turn as a species from an economic system devoted to perfecting our capacity for violent exclusionary competition to one devoted to perfecting our capacity for caring, inclusive cooperation. We can turn from economic institutions that draw down Earth’s nonrenewable reserves of fossil energy to oppose, dominate, and mine Earth’s biosphere to institutions that work in integral partnership with the extraordinary generative capacity of Earth’s self-organizing living systems.

ในขณะที่ผมประจักษ์รู้เห็นถึงการทำลายล้างอย่างตั้งใจโดยระบบเศรษฐกิจเก่า  แหล่งอันยิ่งใหญ่ของความเศร้าสลดของผม มาจากความตื่นรู้ถึงช่องว่างอันล้ำลึกระหว่างความจริงของมนุษย์และความเป็นไปได้ของมนุษย์  แหล่งอันยิ่งใหญ่ของความปิติยินดีและความหวังของผม คือ ความตื่นรู้ของผมในพลังชีวิตของเจตนารมณ์ของมนุษย์ ดังที่ได้แสดงออกโดยผู้คนนับล้าน ผู้ทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วม ที่มุ่งสู่โลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน ที่ทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล   แหล่งยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นแรงบันดาลใจของผม คือ ความรู้ที่ว่า มันเป็นเรื่องเป็นไปได้ที่พวกเราจะร่วมมือร่วมใจกัน ในการปลดปล่อยศักยภาพบวกและสร้างสรรค์ในจิตสำนึกของมนุษย์ และทำให้วิสัยทัศน์นั้นกลายเป็นความจริงได้
As I witness the devastation wrought by the Old Economy, my greatest source of sadness comes from an awareness of the profound gap between our human reality and our human possibility. My greatest source of joy and hope is my awareness of the vitality of the human spirit as demonstrated by the millions of people who are working to realize their shared vision of a just and sustainable world that works for all. My greatest source of motivation is the knowledge that it is within our collective means to unleash the positive creative potential of the human consciousness and make that vision a reality.

พวกเรามีอภิสิทธิ์ที่ได้มีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดของการมีโอกาสสร้างสรรค์ในบรรดาประสพการณ์ของมนุษย์ทั้งหมด  นี่เป็นห้วงเวลาแห่งการปฏิบัติการ  เรามีอำนาจที่จะพลิกโลกกลับ เพื่อพวกเราเองและเพื่อลูกหลานของเรา และอนุชนที่ตามหลังกันมา  พวกเรานี่แหละ คือ ผู้คนที่พวกเราได้ตั้งหน้ารอคอยมานาน
We are privileged to live at the most exciting moment of creative opportunity in the whole of the human experience. Now is the hour. We have the power to turn this world around for the sake of ourselves and our children for generations to come. We are the ones we have been waiting for.


เดวิด คอร์เต็น (livingeconomiesforum.org) เป็นผู้เขียนหนังสือ วาระสำหรับเศรษฐกิจใหม่  การหันกลับครั้งยิ่งใหญ่: จากจักรวรรดิ์สู่ชุมชนพิภพ  และหนังสือขายดีที่สุดระหว่างประเทศ เมื่อบรรษัทครอบครองโลก    เขาเป็นประธานกรรมการของ นิตยสาร YES” และประธานร่วมของ กลุ่มทำงานเพื่อเศรษฐกิจใหม่
David Korten (livingeconomiesforum.org) is the author of Agenda for a New Economy, TheGreat Turning: From Empire to Earth Community, and the international best seller When Corporations Rule the World. He is board chair of YES! Magazine and co-chair of the New Economy Working Group.

This work is licensed under a Creative Commons License
9-9-11/ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น