เหนือกรอบรัฐ-ชาติ
โดย โรเบิร์ต ซี. โคห์เลอร์
Beyond the Nation-State
Thursday, September 29, 2011 by CommonDreams.org
มีไหม ที่ประเทศชาติหนึ่งที่ดูผ่อนคลาย—แต่คุณรู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่เป็นเช่นนั้นจริง, ที่หมกมุ่นอยู่กับขอบเขตพรมแดน และเรื่องอัตลักษณ์?
Is there such a thing as a relaxed nation — one that isn’t, you know, obsessed with its borders and sense of identity?
เราเห็นได้ง่ายดายว่ามันไร้สาระเพียงไร เมื่อเราอ่านข่าวการปล่อยตัวนักเดินเที่ยวเมื่อเร็วๆ นี้จากคุกในอิหร่าน ที่ๆ พวกเขาถูกจองจำอย่างทารุณอยู่กว่า 2 ปี เพราะพวกเขาไม่ได้เจตนาแต่เดินทางหลงข้ามพรมแดน ออกนอกเขตยึดครองของสหรัฐฯ ในอิรัค การตอบสนองที่ไร้มนุษยธรรมของอิหร่าน—ด้วยข้อหาจารกรรมที่ถูกกุขึ้น เพื่อจับกุม ชายหนุ่มสองคน เชน เบาเออร์ และ โจช แฟททัล กับผู้ร่วมทาง ซาราห์ ชูร์ด เป็นเวลานานกว่าปี—เป็นเรื่องที่สื่ออเมริกันย่อมมีความปิติยินดีอย่างเห็นได้ชัด...เพราะว่าพวกเขาเป็นชาวอเมริกัน และอิหร่านเป็นส่วนหนึ่งของ “แกนแห่งความชั่วร้าย” ถึงกระนั้น นักเดินเที่ยวเหล่านั้น เมื่อถูกปล่อยตัวเมื่อสัปดาห์ก่อน ได้พลัดหลงข้ามอีกพรมแดนหนึ่ง และ ด้วยการกระทำเช่นนี้ ได้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในความคิดแยกระหว่าง ชาติดี และชาติเลว
We can easily see how absurd it all is when we read about the hikers recently released from prison in Iran, where they were held in cruelly restricted confinement for more than two years because they had inadvertently strayed across the border, out of U.S.-occupied Iraq. The inhuman nature of Iran’s response — the trumped up charges of espionage against the two young men, Shane Bauer and Josh Fattal, and their companion, Sarah Shourd, who was imprisoned for over a year — were gleefully obvious to the American media . . . because they were Americans, and Iran is part of the Axis of Evil.
However, the hikers, upon their release last week, strayed across another border as well, and in so doing belied the concept of good nations and bad ones.
“ในคุก ทุกครั้งที่พวกเราร้องทุกข์ถึงสภาพของพวกเรา ผู้คุมจะตอกกลับทันทีด้วยการเปรียบเทียบกับสภาพที่อ่าวกวนตานาโม” เบาเออร์กล่าว เมื่อชายหนุ่มทั้งสองกลับมาถึงนิวยอร์ค “พวกเขาจะเตือนเราถึงคุกของ ซีไอเอ ในภาคส่วนอื่นๆ ทั่วโลก และ ประสพการณ์ของคนอื่นๆ ในคุกในสหรัฐฯ”
“In prison, every time we complained about our conditions, the guards would immediately remind us of comparable conditions at Guantanamo Bay,” Bauer said when the two young men arrived in New York. “They would remind us of CIA prisons in other parts of the world, and the conditions that Iranians and others experience in prisons in the U.S.
“พวกเราไม่เชื่อว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลของพวกเรา เป็นความชอบธรรมสำหรับสิ่งต่างๆ ที่พวกเราถูกกระทำ” เขาพูดต่อ “ไม่แม้แต่ชั่วขณะใด ถึงอย่างไร พวกเราก็เชื่อว่า ปฏิบัติการในส่วนของรัฐบาลของเรา ได้อนุญาตให้รัฐบาลอื่นๆ ใช้เป็นข้ออ้าง รวมทั้งรัฐบาลอิหร่าน ในการปฏิบัติเช่นเดียวกัน”
“We do not believe that such human rights violations on the part of our government justify what has been done to us,” he added. “Not for a moment. However, we do believe that these actions on the part of the U.S. provide an excuse for other governments, including the government of Iran, to act in kind.”
ส่วน ชูร์ด ในการให้สัมภาษณ์กับ เอมี กู๊ดแมน ในรายการ “ประชาธิปไตย เดี๋ยวนี้” กล่าวว่า “ไม่มีใครสามารถจะอยู่ในคุกได้มากกว่า 1 ปี อย่าว่าแต่เกิน 2 ปีเลย ด้วยชีวิตที่ถูกกักขังอย่างอยุติธรรม ถูกจำคุกและตัดขาดจากโลกภายนอก ปราศจากความรู้สึกเชื่อมโยงกับนักโทษอื่นๆ ทั้วโลก...เราจะไม่มีวันลืม ผู้คนอื่นๆ ที่ยังคงนั่งอยู่ในสภาพที่เราเคยเป็น”
And Shourd, in an interview with Amy Goodman on “Democracy Now,” noted that “no one can spend over a year, let alone over two years, of their lives unjustly detained, imprisoned and cut off from the world, without feeling connected to other prisoners around the world. . . . We will never, ever be able to forget that other people are still sitting in the position that we were in.”
และบางคน—อันที่จริง เป็นจำนวนใหญ่หลวง—กำลังนั่งรออยู่ในคุกอเมริกัน และศูนย์กักกัน ดังที่สามเกลอได้แถลงในที่สาธารณะหลายครั้ง ด้วยการกระทำเช่นนี้ พวกเขาได้ละเมิดความรักชาติแบบตื้นๆ ของ แอลเลียต เอบรามส์ สัญญลักษณ์ของข่าวฉาว อิหร่าน-คอนทรา ในยุคแรแกน คำแถลงการณ์ดังกล่าวของชาวอเมริกันที่ถูกปล่อยเป็นอิสระแล้ว ได้ทิ้ง “รสแย่มากๆ” ในปากของเอบรามส์ “ใครกันแน่ที่เป็น ‘นักโทษการเมือง‘ ในอเมริกา?” เขาเขียนในบล๊อก ในเว็บไซต์ สภาวิเทศสัมพันธ์ “ขอชื่อหน่อยได้ไหม?”
And some of those people — an extraordinary number, in fact — are sitting in American prisons and detention centers, as the trio stated publicly a number of times, in so doing violating the simplistic patriotism of, among others, Elliott Abrams, icon of the Reagan era Iran-Contra scandal. Such statements by the freed Americans left “a very bad taste” in Abrams’ mouth. “Who exactly are the ‘political prisoners’ in America?” he blogged on the Council of Foreign Relations website. “Can we have some names?”
เมื่อพิจารณาถึงภาวะผู้นำโลกของอเมริกา รวมทั้ง การอยู่แนวหน้าของประชากรนักโทษ ที่มีรายงานมากมายบรรยายอย่างละเอียดถึงการทารุณกรรมอย่างแพร่หลายในหมู่นักโทษและผู้ถูกกักเพราะการข้ามแดน และพูดให้ตรงประเด็น ถึงสงครามปราบปรามการก่อการร้ายอย่างลับๆ ของเรา ที่ทรมานและกักกันแบบไม่เลือกหน้าแยกประเภท ได้กลายเป็นคลื่นยักษ์ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก การเผยโฉมความเขลาที่เอบรามส์เรียกตัวเอง เป็นเรื่องเกือบช๊อค
Considering that America’s world leadership includes leading the world in prison population, that numerous reports have detailed widespread abuse of prisoners and border detainees, and more to the point, that our covert war-on-terror torture and indiscriminate detention operations have generated a tsunami of global publicity, Abrams’ revelation of self-imposed ignorance is almost shocking.
นี่เป็นชื่อของอีกคนหนึ่ง อับดุล ราซาค อัล แจนโค เป็นชาวซีเรีย ที่ถูกคุมขังโดยทั้งตาลิบัน และอเมริกัน แม้ว่าเขาจะได้พยายามหลบหนีจากตาลิบัน เขาลงท้ายถูกจับเข้า กวนตานาโม เป็นเวลา 7 ปี ในที่สุด เขาถูกปล่อยตัว เมื่อผู้พิพากษาสหพันธ์ที่ บุช แต่งตั้ง กล่าวว่า การกักขังเขาต่อไป “เป็นการฝ่าฝืนสามัญสำนึก”
Here’s one name: Abdul Razak al Janko, a Syrian national who was imprisoned by both the Taliban and the Americans. Though he had tried to flee from the Taliban, he wound up being held at Guantanamo for seven years; he was finally released when a Bush-appointed federal judge said his continued detention “defies common sense.”
ตามคดีความที่ แจนโค ได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคนเมื่อปีที่แล้ว ที่ กิตมอ เขาถูกทุบตีหลายครั้ง ถูกขัดขวางไม่ให้เขาได้หลับนอน ถูกจับให้ทนต่ออุณหภูมิสุดโต่ง ถูกขู่กรรโชกด้วยการใช้สุนัขตำรวจ ถูกข่มขู่ว่าจะได้รับความเจ็บปวดยิ่งยวดทางกาย (เช่น การถอนเล็บ) ทำลายศักดิ์ศรีอย่างสุดโต่ง (เขาอ้างว่า ทหารสหรัฐฯ ปัสสาวะรดเขาเมื่อเขามาถึง กิตมอ ครั้งแรก) จำนวนปีที่ถูกกักขังเดี่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย
According to a lawsuit Janko filed last year against numerous government officials, he was subjected at Gitmo to severe beatings, sleep deprivation, exposure to extreme temperatures, intimidation with police dogs, threats to inflict intense physical pain (such as removal of his fingernails), extreme degradation (he claims that U.S. soldiers urinated on him when he first arrived at Gitmo), years of solitary confinement, and much more.
นี่คือสภาวะเสื่อมโทรมของอเมริกันในฐานะผู้นำโลก และแน่นอน มันไม่ใช่เรื่องน่าตกใจเลย ที่มีคนบางคนเช่น เอบรามส์ ผู้ได้หลอมรวมอัตลักษณ์ของตนเข้ากับชาติ ย่อมไม่ “รู้”—ไม่ว่าเขาจะได้รับรู้ข้อมูลมากเพียงไร—ว่า นรกเหล่านี้ ที่แท้กำลังเกิดขึ้นในฝ่ายนี้ของการแยกส่วนความชอบธรรม/ยุติธรรม
This is the degenerated nature of American world leadership, and of course it is not shocking at all that someone like Abrams, who has fused his own identity with that of the nation, would not “know” — regardless how much data he’s been exposed to — that such hellish things are actually occurring on this side of the righteous divide.
รัฐ-ชาติ เท่าที่ผมสนใจ เป็นนิยายพ้นสมัย การแยกโลกออกเป็น 194 ชิ้น ด้วยการสุ่มซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสงครามและการขูดรีด ได้ทำให้ชาติต่างๆ ตกอยู่ในภาวะเงื่อนตายของความไม่ไว้ใจต่อกันตลอดกาล และความตึงเครียดต่อชาติอื่นที่ขยับตัวตลอดเวลานั้น เป็นตัวปัญหามากว่าเป็นทางออกในศตวรรษที่ 21 รัฐ-ชาติ เป็นกลไกเอื้อต่อการทำสงคราม มันถูกแสวงประโยชน์ได้ง่ายๆ ด้วยความคิดแปลกแยกเฉพาะตัว “พวกเรา ปะทะ พวกเขา” เป็นปัจจัยพื้นฐานของอัตลักษณ์ของพวกเขา ซึ่งอธิบายปริมาณพลังงานที่ชาติต่างๆ ได้ใช้ไปเพื่อการตระเวณ และตรวจรักษาพรมแดนของตัวเอง ประหนึ่งว่า พรมแดนเหล่านี้มีอยู่จริง
The nation-state, as far as I’m concerned, is an obsolete fiction. The division of the world into 194 random fragments, mostly born of war and exploitation, locked in a state of perpetual mistrust and ever-shifting tensions toward one another, is more problem than solution in the 21st century. Nation-states are a convenience of war. An easily exploited, “us vs. them” exclusivity is basic to their identity, which explains the amount of energy that nations expend patrolling and defining their borders, as though these were in some way real.
ในผืนพิภพที่ไม่เพียงสมาน ยึดเหนี่ยวถึงกันด้วยเทคโนโลยี และระบบเศรษฐกิจโลก แต่ยังด้วยภาวะผันผวนในภูมิอากาศ และปัญหาเป็นตับ ที่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการร่วมมือร่วมใจทั่วโลกเท่านั้น มนุษยชาติจำเป็นต้องทวงคืนสวามิภักดิ์ต่อทั้งพิภพ และต่อความอยู่ดีมีสุขของทุกๆ ปัจเจกชนในโลกนี้ แต่ความสวามิภักดิ์ทั้งสองประการนี้ ไม่ใช่วาระต้นๆ ของรัฐ-ชาติ ดังที่ อิหร่าน และสหรัฐฯ ได้แสดงให้เห็นทั้งคู่
On a planet united not merely by technology and a global economy, but also by climate change and an array of problems that can only be addressed effectively with worldwide cooperation, humanity needs to claim allegiance both to the whole planet and to the well-being of every individual on it. Neither of these allegiances are the priority of nation-states, as Iran and the United States both demonstrate.
นี่เป็นคำวิงวอนไม่ใช่เพื่อก่อตั้ง “รัฐบาลโลก” ด้วยการหลอมรวมคลางแคลงใจระหว่างรัฐบาลต่างๆ และประชาชนต่างๆ และไม่ใช่เพื่อการเบ่งบานของคุกต่างๆ แต่ เพื่อให้มีการเปิดใจต่อกันอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
This is a plea not for “world government” so much as a melting of the distrust between governments and peoples, and the flowering not of prisons but of an unprecedented spirit of openness.
โรเบิร์ต โคห์เลอร์ เป็นนักข่าวประจำอยู่ที่ชิคาโก ที่ได้รับรางวัล และเป็นนักเขียนขายข่าว หนังสือเล่มใหม่ของเขา “ความกล้าหาญเข้มแข็งมากขึ้นตรงบาดแผล”
Robert Koehler is an award-winning, Chicago-based journalist and nationally syndicated writer. His new book, Courage Grows Strong at the Wound is now available. Contact him at koehlercw@gmail.com or visit his website at commonwonders.com.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น