วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

7 เศรษฐกิจสีเขียวจะสำเร็จได้ ผู้บริโภคต้องแก้ไขพฤติกรรมด้วย

 
อเมริกากลาง: ‘เศรษฐกิจเขียวไม่ใช่ยาครอบจักรวาล
โดย ดานิโล แวลลาดาเรส
CENTRAL AMERICA: 'Green Economy' Not a Panacea
By Danilo Valladares

กัวเตมาลา  25 สค 2011 เศรษฐกิจสีเขียวจะไม่แก้ไขปัญหาความยากจนและภัยวพิบัติธรรมชาติในอเมริกากลาง ตราบเท่าที่โมเดลการพัฒนายังคงตั้งอยู่บนฐานของการบริโภคแบบสวาปามและการผลิตแบบล้นหลาม  ผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคกล่าว
GUATEMALA CITY, Aug 25, 2011 (IPS) - The "green economy" will not solve the problems of poverty and natural disasters in Central America as long as the development model continues to be based on over-consumption and over-production, regional experts say.


เจอร์มัน ร็อดริกัส ผู้ประสานงานของ เครือข่ายเพื่อการอบรมและวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กล่าวว่า ความพยายามทั้งหลายที่มุ่งไปที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งดี แม้ว่าเขาจะ มีข้อสงวน เกี่ยวกับ เศรษฐกิจสีเขียว
Germán Rodríguez, the coordinator of the National Network for Environmental Training and Research (REDFIA), told IPS that all efforts directed at protecting the environment and natural resources "are a good thing," although he said he has "reservations" about the "green economy".

โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ได้นิยาม เศรษฐกิจสีเขียว ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้ความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์และสังคมมีความเท่าเทียมเชิงโอกาสดีขึ้น ในขณะที่ลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและความขาดแคลนด้านนิเวศน์อย่างมีนัยสำคัญ
The United Nations Environment Programme (UNEP) defines the "green economy" as one that results in improved human wellbeing and social equity, while significantly reducing environmental risks and ecological scarcities.

ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างแท้จริงเกี่ยวข้อง (ในคำนิยามนี้) เพราะว่า (เศรษฐกิจสีเขียว) ยังคงผูกติดกับโมเดลเศรษฐกิจกระแสหลัก ซึ่งลำเอียงไปทางวิถีผลิตเฉพาะแบบหนึ่ง   ถึงกระนั้น มันก็ชี้ทางสู่ระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ที่มีความกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ร็อดริกัส กล่าว
"No real structural changes are involved, because (the green economy) remains tied to the dominant economic model, which favours one particular mode of production; however, it does provide a path towards an economy in greater harmony with the environment," said Rodríguez.

ผู้เชี่ยวชาญชาวกัวเตมาลาเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงโมเดลการพัฒนาปัจจุบัน เป็นเรื่องซับซ้อนมาก และเพื่อให้สัมฤทธิ์ได้ จะต้องเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อการบริโภค และพฤติกรรมเพื่อให้เกิดความสมดุลกับโลกธรรมชาติ
The Guatemalan expert believes that changing the current development model "is a very complex undertaking," and to achieve it "one must start by changing consumer attitudes" and behaviour to achieve a balance with the natural world.

หากผู้บริโภคหยุดซื้อผลิตภัณฑ์เฉพาะหนึ่งๆ  ผู้ผลิตจะต้องหยุดขายมัน เขากล่าว
"If consumers stop buying a particular product, producers will have to stop selling it," he said.

ในความเห็นของร็อดริกัส  ปัจจัยหลักคือ การให้การศึกษาสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน ส่งเสริมผ่านช่องทางกระทรวงศึกษาและมหาวิทยาลัย  รวมทั้งกฎข้อบังคับของรัฐบาล เพื่อให้บริษัทต่างๆ จัดการของเสียของพวกเขาด้วยความรับผิดชอบ
In Rodríguez's view, the key factors are environmental education for young people, promoted through the Education Ministry and the universities, and government regulation so that companies handle their waste responsibly.

ผลกระทบของการบริโภคแบบสวาปามในโลกต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่หนีไม่พ้นสำหรับประชากร 43 ล้านคนในอเมริกากลาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิภาคนี้ เป็นหนึ่งในบรรดาพื้นที่ๆ ถูกกระหน่ำด้วยปรากฏการณ์ภูมิอากาศสุดโต่ง ทั้งๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดมลภาวะในโลกน้อยมาก
The effect of global over-consumption on the environment is an inescapable issue for the 43 million people of Central America, particularly as the region is one of the worst hit by extreme climate phenomena, in spite of contributing very little to worldwide pollution.

งานศึกษาในปี 2009 โดยคณะกรรมาธิการลาตินอเมริกาและแคริเบียน (ECLAC) ชื่อ เศรษฐกิจของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในลาตินอเมริกาและแคริเบียน  รายงานว่า อเมริกากลางมีส่วนน้อยกว่า 0.5% ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อน
A 2009 study by the Economic Commission for Latin America and the Caribbean (ECLAC), titled "Economics of Climate Change in Latin America and the Caribbean", reports that Central America contributes less than 0.5 percent of the global greenhouse gas emissions that are responsible for global warming.

แต่ลาตินอเมริกาได้ถูกกระหน่ำด้วยภัยแล้งอย่างสาหัสในปี 2009 และด้วยพายุเฮอร์ริเคน มิตช์ (1998)  สตาน (2005) และ อกาธา (2010)   ปรากฏการณ์อากาศสุดโต่ง ซึ่งถูกกล่าวอย่างกว้างขวางว่าเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ได้คร่าชีวิตคนหลายพัน คนหลายร้อยต้องไร้ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภครวมทั้งพืชผลต้องเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนิคารากัว ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ และกัวเตมาลา
But Central America was hit by severe drought in 2009, and by hurricanes Mitch (1998), Stan (2005) and Agatha (2010). The extreme weather phenomena, widely attributed to climate change, left thousands of people dead, made hundreds of thousands of people homeless and severely damaged infrastructure and crops in the region, especially in Nicaragua, Honduras, El Salvador and Guatemala.

อเมริกากลางยังคงดิ้นรนที่จะฟื้นตัวจากระลอกภัยพิบัติธรรมชาติ ซึ่งมีแต่ทับถมความยากจน ที่ประชาชนประมาณครึ่งของภูมิภาคนี้จมปลักอยู่
Central Americans are still struggling to recover from the series of natural disasters, which have only exacerbated the poverty that afflicts approximately half the region's population.

ในปี 2010 จีดีพี ของกัวเตมาลาขยายตัวที่ 2.8% แต่อากาศรุนแรงได้ลดผลงานของมันให้เหลือ 2.3%   ดังนั้น เราจะพูดถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจอะไรได้ หากเราไม่ใส่ใจกับตัวแปรสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง?  ร็อดริกัส ถาม
"In 2010, Guatemala's GDP growth was 2.8 percent, but extreme weather knocked 2.3 percent off its economic performance. So what economic growth can we speak of, if we don't take environmental variables seriously?" Rodríguez asked.

ในความเห็นของ ริคาร์โด นาวาร์โร แห่งองค์กรสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมซัลวาดอรัน CESTA/เพื่อนธรณี  ตราบเท่าที่ วิธีคิด ผลิตให้มาก บริโภคให้มาก ถูกยอมรับง่ายๆ อย่างไม่มีการวิพากษ์/ฉุกคิด  ผลได้จากเศรษฐกิจสีเขียว ก็จะเป็นทุกอย่าง แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
In the view of Ricardo Navarro, of the Salvadoran environmental and appropriate technology organisation CESTA/Friends of the Earth, "as long as the produce-more, consume-more paradigm is uncritically accepted, the results yielded by the green economy will be all but imperceptible."

อันที่จริง เศรษฐกิจสีเขียว ได้ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกๆ หนึ่งดอลลาร์ของมูลค่าในการผลิตหรือบริโภค  แต่ทันทีที่การผลิตและการบริโภคเพิ่มขึ้น ผลประโยชน์ก็พลันหายไป เขากล่าว
"The green economy does, in fact, reduce the environmental impact of every dollar's worth of production or consumption, but as soon as production or consumption increases, the benefits vanish," he told IPS.

นาวาร์โร บอกว่า จะต้องสร้างสรรค์ระบบการเมืองและเศรษฐกิใหม่ ที่ตั้งอยู่บนสัมพันธภาพที่กลมกลืนกับธรรมชาติ
Navarro said a new political and economic system must be created, based on a harmonious relationship with nature.

ความหมายก็คือ พวกเราจะต้องจำกัดการผลิตและการบริโภค ให้สอดคล้องกับขอบเขตที่ธรรมชาติอนุญาต ในแง่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการทิ้งของเสีย  ในขณะเดียวกัน พวกเราจะต้องสร้างหลักประกันให้เคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพิ้นฐาน เขากล่าว
"What this means is that we must limit production and consumption to the bounds that nature permits, in terms of natural resource use and waste disposal, and at the same time we must guarantee respect for basic human rights," he said.

เพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม ประเทศแถบอเมริกากลาง ได้เริ่มออกแบนโยบายใหม่ในปริมณฑลต่างๆ ของการผลิต   อาทิเช่น ในด้านการผลิตพลังงาน คอสตาริกา สามารถผลิตไฟฟ้ากว่า 80% จากทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด
To mitigate environmental impact, Central American countries have redesigned policies in different areas of production. In terms of energy production, for instance, Costa Rica has managed to generate more than 80 percent of electricity from renewable sources.

นิคารากัว ที่อยู่ข้างบ้าน ตั้งปณิธานว่าจะผลิตพลังงาน 90% จากทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด ภายในปี 2016 ในขณะที่ กัวเตมาลา มีแผนผลิต 99% ของพลังงานตนเองจากทรัพยากรไม่มีวันหมดภายในปี 2022 ตามคำแถลงของกระทรวงพลังงานและเหมืองในประเทศทั้งสอง
Nicaragua, next door, aspires to generate 90 percent of its energy from renewable sources by 2016, while Guatemala plans to produce 99 percent of its energy from renewables by 2022, according to the energy and mines ministries of both countries.

แต่นักสิ่งแวดล้อมต่างสงสัยว่าแผนเหล่านี้จะเป็นไปได้หรือ และบอกว่า แม้จะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็ยังอยู่ห่างไกลจากเศรษฐกิจสีเขียวที่แท้จริง
But environmentalists are sceptical about the feasibility of these plans, and say that even if the goals are reached, a truly green economy will still be a long way off.

รัฐบาลในภูมิภาคนี้ กำลังโต้เถียงกันว่า จะดำเนินนโยบายพัฒนาอย่างไรให้เป็นไปพร้อมกับปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ  แต่พวกมีผลประโยชน์ (ธุรกิจ) เอกชนที่ทรงอำนาจ กำลังต่อต้านอย่างแข็งขัน และจะ กีดขวางเศรษฐกิจสีเขียวให้ถึงที่สุด  ตามคำบอกของ เอ็ดดี้ กัลเลโกส แห่ง AMICTLAN สมาคมเทศบาลเพื่อการสงวนบึง ลากูนา เดอ อโปโย ซึ่งเป็นทะเลสาปปล่องภูเขาไฟในนิคารากัว
"The region's governments are debating how to implement development policies while at the same time protect natural resources," but powerful private interests actively oppose and will "ultimately prevent a green economy," according to Eddie Gallegos of AMICTLAN, the association of municipalities for the preservation of Laguna de Apoyo, a crater lake in Nicaragua.

กัลเลโกส สนับสนุนการเปลี่ยนนิสัยเคยชินของผู้บริโภค เพื่อว่า หากเรามีรองเท้าสี่คู่ เราควรถามตัวเองว่า เราต้องการทั้งหมดจริงๆ หรือ
Gallegos advocated a change in consumer habits, so that "if we own four pairs of shoes, we should ask ourselves whether we really need all of them."

กุญแจทางออก คือ คนที่ซื้อมากเกินไปจะต้องลดการบริโภคให้เหลือน้อย และต้องลดอัตราการเพิ่มประชากร เขากล่าว
"The key is to diminish consumption by those who buy too much, and to slow the rate of population growth," he told IPS.

นักเศรษฐศาสตร์กัวเตมาลา เฟอร์นันโด คาร์เรรา กล่าวว่า ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และผลิตภาพของเศรษฐกิจ มีความสำคัญเท่าๆ กัน
Guatemalan economist Fernando Carrera told IPS that environmental sustainability and economic productivity are equally important.

จีนได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การใช้ทุกสิ่งทุกอย่างในเอื้อมมือ เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจขยายตัว  โดยไม่ยั้งคิดถึงความยากจนหรือสิ่งแวดล้อม ได้สร้างมลภาวะใหญ่หลวงในประเทศ และสู่ที่ส่วนอื่นๆ ที่เหลือในโลก  ด้วยเหตุนี้ การควบคุมสิ่งแวดล้อม จึงได้เป็นประเด็นห่วงใยมากยิ่งขึ้น เขากล่าว
"China has proved that using up everything within reach to ensure economic growth, with no thought for poverty or the environment, generates a vast amount of pollution at home and in the rest of the world, so that environmental regulations are increasingly of concern," he said.

ในความเห็นของ คาร์เรรา  มันเป็นไปได้ที่จะแทนที่โมเดลเศรษฐกิจทุนนิยม แม้ว่ามนุษยชาติ จะยังไม่พบบางอย่างที่มีประสิทธิภาพกว่าเพื่อทดแทนมัน
In Carrera's view, it is possible to supersede the capitalist economic model, "although humanity has yet to find something more efficient to replace it," he said.

9-2-11/ดรุณีแปล  9-5-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น