เหลียวมอง 9/11 หนึ่งทศวรรษให้หลัง
โดย โนม ชอมสกี้
6 กันยายน 2011 ใน TomDispatch.com
9/11 and the Imperial Mentality
Looking Back on 9/11 a Decade Later
by Noam Chomsky
Published on Tuesday, September 6, 2011 by TomDispatch.com
© 2011 Noam Chomsky
เรากำลังเคลื่อนใกล้เข้าสู่วาระครบรอบ 10 ปีของความชั่วร้ายที่น่าสะพรึงกลัวของ 11 กันยายน 2001 ซึ่งกล่าวกันว่า ได้เปลี่ยนโลก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม อุสมา บิน ดาลิน ผู้ถูกทึกทักเอาว่าเป็นผู้บงการวินาศกรรมครั้งนั้น ได้ถูกลอบสังหารในปากีสถานโดยทีมจู่โจมคอมมานโดของสหรัฐฯ SEAL แห่งกองทัพเรือ หลังจากที่เขาถูกจับ ไม่มีอาวุธ และป้องกันตัวไม่ได้ ในปฏิบัติการเกอโรนิโม
We are approaching the 10th anniversary of the horrendous atrocities of September 11, 2001, which, it is commonly held, changed the world. On May 1st, the presumed mastermind of the crime, Osama bin Laden, was assassinated in Pakistan by a team of elite US commandos, Navy SEALs, after he was captured, unarmed and undefended, in Operation Geronimo.
นักวิเคราะห์หลายคนได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถึงแม้ในที่สุด บิน ดาลิน จะถูกฆ่าตาย เขาก็ได้รับชัยชนะครั้งสำคัญ ในการทำสงครามต้านสหรัฐฯ “เขาได้ยืนกรานครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ทางเดียวที่จะบีบสหรัฐฯ ให้ออกจากโลกมุสลิม และเอาชนะบรรดาข้าหลวงของสหรัฐฯ ได้ ก็คือ ดึงชาวอเมริกันให้ลงมาทำสงครามย่อยๆ ราคาแพง ซึ่งที่ในที่สุดจะทำให้พวกเขาล้มละลาย” อิริค มาร์โกลิส เขียน “เขาเรียกว่า ‘ทำให้เลือดไหลไม่หยุด’” ฝ่ายสหรัฐฯ ตอนแรกภายใต้ จอร์ช ดับเบิลยู. บุช แล้วต่อมา บารัค โอบามา ได้วิ่งถลันเข้าสู่กับดักของ บิน ดาลิน... เป่างบใช้จ่ายของกองทัพให้พองโตจนเกินตัวและเสพติดหนี้อย่างวิตถาร... ซึ่งอาจเป็นมรดกที่อันตรายที่สุดของชายคนหนึ่งที่คิดว่า เขาจะเอาชนะสหรัฐฯ ได้”—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อฝ่ายขวาสุดโต่ง ได้ฉวยโอกาสหล่มหนี้นี้ สุมหัวกับฝ่ายผู้นำของดีโมแครต กัดกร่อนโปรแกมสังคม การศึกษาสาธารณะ สหภาพแรงงาน ซึ่งโดยทั่วไป เป็นสิ่งที่หลงเหลือในการขวางกั้นทรราชย์บรรษัท
A number of analysts have observed that although bin Laden was finally killed, he won some major successes in his war against the U.S. "He repeatedly asserted that the only way to drive the U.S. from the Muslim world and defeat its satraps was by drawing Americans into a series of small but expensive wars that would ultimately bankrupt them," Eric Margolis writes. "'Bleeding the U.S.,' in his words." The United States, first under George W. Bush and then Barack Obama, rushed right into bin Laden’s trap... Grotesquely overblown military outlays and debt addiction... may be the most pernicious legacy of the man who thought he could defeat the United States” -- particularly when the debt is being cynically exploited by the far right, with the collusion of the Democrat establishment, to undermine what remains of social programs, public education, unions, and, in general, remaining barriers to corporate tyranny.
ที่ว่า วอชิงตัน โน้มไปทางที่จะบรรลุความปรารถนาอันแรงกล้าของ บิน ดาลิน ก็ชัดเจนขึ้นในบัดดล ดังที่ผมได้อภิปรายไว้ในหนังสือของผม 9-11 ที่เขียนขึ้นไม่นานหลังจากวินาศกรรมเกิดขึ้น ใครก็ตามที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ จะรู้ได้ทันทีว่า “การบุกจู่โจมมหึมาต่อประชาชนชาวมุสลิม จะเป็นการตอบสนองคำอ้อนวอนของ บิน ดาลิน และพวก และจะนำสหรัฐฯ และพันธมิตรของมันให้ตกอยู่ใน ‘กับดักปีศาจ’ ดังที่รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศสเปรียบเปรยไว้”
That Washington was bent on fulfilling bin Laden’s fervent wishes was evident at once. As discussed in my book 9-11, written shortly after those attacks occurred, anyone with knowledge of the region could recognize “that a massive assault on a Muslim population would be the answer to the prayers of bin Laden and his associates, and would lead the U.S. and its allies into a ‘diabolical trap,’ as the French foreign minister put it.”
นักวิเคราะห์ซีไอเออาวุโส ผู้รับผิดชอบในการไล่ล่า อุสมา บิน ดาลิน ตั้งแต่ 1996 ไมเคิล ชิวเออร์ ได้เขียนไว้ไม่นานหลังจากนั้นว่า “บิน ดาลิน มีความแม่นยำเสมอมาในการบอกอเมริกาถึงเหตุผลที่เขาทำสงครามกับเรา เขาตั้งมั่นที่จะพลิกโฉมหน้านโยบายโลกตะวันตกที่มีต่อโลกอิสลาม” และเขาก็ทำสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ “กำลังสหรัฐฯ และนโยบายกำลังวิ่งแข่งกับการปั่นโลกอิสลามให้เป็นพวกหัวรุนแรงสุดโต่ง อันเป็นสิ่งหนึ่งที่อุสมา บิน ดาลิน ได้เพียรพยายามมาตลอด ซึ่งได้ผลเป็นกอบเป็นกำแต่ก็ยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ด้วยเหตุนี้ ผมคิดว่า มันสมเหตุสมผลที่จะสรุปว่า สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นพันธมิตรเดียวที่ขาดไม่ได้ของ บิน ดาลิน” และยังคงเป็นเช่นนั้น แม้หลังจากการตายของเขา
The senior CIA analyst responsible for tracking Osama bin Laden from 1996, Michael Scheuer, wrote shortly after that “bin Laden has been precise in telling America the reasons he is waging war on us. [He] is out to drastically alter U.S. and Western policies toward the Islamic world,” and largely succeeded: “U.S. forces and policies are completing the radicalization of the Islamic world, something Osama bin Laden has been trying to do with substantial but incomplete success since the early 1990s. As a result, I think it is fair to conclude that the United States of America remains bin Laden’s only indispensable ally.” And arguably remains so, even after his death.
9/11 ครั้งที่ 1
The First 9/11
มีทางเลือกอื่นไหม? มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ขบวนการสงครามศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่จ้องจับผิด บิน ดาลิน อยู่แล้ว จะแตกแยกและอ่อนกำลังลงหลังจาก 9/11 “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” ดังที่มันสมควรถูกเรียกเช่นนั้น สามารถถูกจัดการในฐานะเป็นอาชญากรรม ด้วยปฏิบัติการนานาชาติในการจับตัวผู้ต้องสงสัย นั่นเป็นสิ่งที่มีการกล่าวถึงในขณะนั้น แต่ความคิดเช่นนั้นไม่ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณา
Was there an alternative? There is every likelihood that the Jihadi movement, much of it highly critical of bin Laden, could have been split and undermined after 9/11. The “crime against humanity,” as it was rightly called, could have been approached as a crime, with an international operation to apprehend the likely suspects. That was recognized at the time, but no such idea was even considered.
ในหนังสือ 9/11 ผมได้ยกข้อความสรุปของ โรเบิร์ต ฟิสค์ที่กล่าวว่า “อาชญากรรมที่น่าสยดสยอง” ของ 9/11 ถูกกระทำด้วย “ความชั่วร้ายและความโหดเหี้ยมที่น่าสะพรึงกลัว” นั้นเป็นคำพิพากษาที่ถูกต้อง มันมีประโยชน์ที่จะระลึกว่า วินาศกรรมสามารถเลวร้ายกว่านั้นได้ ยกตัวอย่าง สมมติว่า การจู่โจมได้ไปไกลถึงขนาดทิ้งระเบิดทำเนียบขาว สังหารประธานาธิบดี บังคับใช้เผด็จการทหารที่โหดร้าย ที่ฆ่าคนนับพัน และทรมานคนนับหมื่น ในขณะที่สถาปนาศูนย์ก่อการร้ายระหว่างประเทศ ที่ช่วยบังคับให้รัฐเป็นผู้ก่อความหวาดกลัวและทรมานในที่ต่างๆ และทำการรณรงค์ให้เกิดการลอบสังหารระหว่างประเทศ และนำเข้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ –เรียกพวกเขาว่า “เด็กชายน้อยคันดาหาร์”—ผู้สามารถขับเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะตกต่ำที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ได้ นั่นจะเป็นสถานการณ์ที่แย่กว่า 9/11 มากทีเดียว
In 9-11, I quoted Robert Fisk’s conclusion that the “horrendous crime” of 9/11 was committed with “wickedness and awesome cruelty,” an accurate judgment. It is useful to bear in mind that the crimes could have been even worse. Suppose, for example, that the attack had gone as far as bombing the White House, killing the president, imposing a brutal military dictatorship that killed thousands and tortured tens of thousands while establishing an international terror center that helped impose similar torture-and-terror states elsewhere and carried out an international assassination campaign; and as an extra fillip, brought in a team of economists -- call them “the Kandahar boys” -- who quickly drove the economy into one of the worst depressions in its history. That, plainly, would have been a lot worse than 9/11.
โชคไม่ดี มันไม่ใช่เป็นการทดลองเชิงความคิด มันได้เกิดขึ้นจริงๆ แล้ว สิ่งเดียวที่คลาดเคลื่อนในการบรรยายนี้ คือ จำนวนควรจะคูณด้วย 25 เพื่อให้ได้ค่าเทียบเท่าต่อหัว อันเป็นการวัดที่เหมาะสม แน่นอน ผมกำลังพูดถึงสิ่งที่ในลาตินอเมริกามักเรียกกันว่า “9/11 ครั้งที่ 1”: 11 กันยายน 1973 เมื่อสหรัฐฯ ใช้กำลังที่เข้มข้น ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตย ซัลวาดอร์ อัลเลนเด แห่งชิลี ด้วยการสนับสนุนทหารให้ทำรัฐประหาร อันทำให้ประเทศตกอยู่ในยุคหฤโหดภายใต้ นายพล ปิโนเชต์ เป้าหมาย, ในคำพูดของรัฐบาลนิกสัน, คือ ฆ่า “เชื้อไวรัส” ที่อาจชักจูงให้เจ้าพวก “คนต่างชาติที่ออกมาขัดขวางทำให้พวกเรายุ่งยากลำบาก” ในการยึดครองทรัพยากรของพวกเขาเอง และในวิธีการอื่นๆ เพื่อดำเนินนโยบายไม่ยอมอดทนต่อการพัฒนาที่อิสระ ปูมหลัง คือ บทสรุปของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ว่า หากสหรัฐฯ ไม่สามารถควบคุมบังคับลาตินอเมริกาได้ มันก็ไม่สามารถคาดหวังได้ว่า “จะรักษาระเบียบที่ไหนในโลกได้”
Unfortunately, it is not a thought experiment. It happened. The only inaccuracy in this brief account is that the numbers should be multiplied by 25 to yield per capita equivalents, the appropriate measure. I am, of course, referring to what in Latin America is often called “the first 9/11”: September 11, 1973, when the U.S. succeeded in its intensive efforts to overthrow the democratic government of Salvador Allende in Chile with a military coup that placed General Pinochet’s brutal regime in office. The goal, in the words of the Nixon administration, was to kill the “virus” that might encourage all those “foreigners [who] are out to screw us” to take over their own resources and in other ways to pursue an intolerable policy of independent development. In the background was the conclusion of the National Security Council that, if the US could not control Latin America, it could not expect “to achieve a successful order elsewhere in the world.”
9/11 ครั้งที่ 1, ต่างจากครั้งที่ 2, มันไม่ได้เปลี่ยนโลก มัน “ไม่มีผลกระทบอะไรใหญ่โตเลย” ดังที่ เฮนรี คิสซิงเกอร์ รับรองต่อเจ้านายของเขาหลังจากนั้นไม่กี่วัน
The first 9/11, unlike the second, did not change the world. It was “nothing of very great consequence,” as Henry Kissinger assured his boss a few days later.
เหตุการณ์ที่ไม่มีผลอะไรมากเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดที่ทหารทำรัฐประหาร ที่ทำลายประชาธิปไตยของชิลี และเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องน่าหวาดผวาที่ตามมาภายหลัง 9/11 ครั้งแรก เป็นเพียงปฏิบัติการดั่งบทละครที่เริ่มต้นในปี 1962 เมื่อ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ขยับภารกิจจากการทหารในลาตินอเมริกา จาก “การอารักขาครึ่งโลก”—อนาธิปไตยเรื้อรังที่เป็นควันหลงจากสงครามโลกครั้งที่ 2—สู่ “ความมั่นคงภายใน” กรอบคิดที่มาพร้อมด้วยการตีความให้เสียววูบในวงลาตินอเมริกาที่ถูกสหรัฐฯ ครอบงำ”
These events of little consequence were not limited to the military coup that destroyed Chilean democracy and set in motion the horror story that followed. The first 9/11 was just one act in a drama which began in 1962, when John F. Kennedy shifted the mission of the Latin American military from “hemispheric defense” -- an anachronistic holdover from World War II -- to “internal security,” a concept with a chilling interpretation in U.S.-dominated Latin American circles.
ในหนังสือที่เพิ่งพิมพ์เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประวัติศาสตร์สงครามเย็น นักวิชาการลาติอเมริกัน จอห์น โค๊ตส์เวิร์ธ เขียนว่า จากช่วงเวลานั้นถึง “การล่มสลายของโซเวียตในปี 1990 จำนวนนักโทษการเมือง เหยื่อที่ถูกทรมาน และการประหารชีวิตผู้ประท้วงทางการเมืองด้วยวิธีอหิงสาในลาตินอเมริกา มีมากกว่าอย่างใหญ่หลวงเมื่อเทียบกับที่เกิดขึ้นในสหภาพโซเวียตและรัฐบริวารในยุโรปตะวันออก” รวมทั้ง ผู้พลีชีพเพื่อศาสนา และการสังหารหมู่ ล้วนได้รับการสนับสนุนและริเริ่มโดยวอชิงตัน ปฏิบัติการสำคัญครั้งหลังสุด คือ การฆาตกรรมอำมหิตปัญญาชนชั้นนำ 6 คน นักบวชเยซุต ไม่กี่วันหลังจากกำแพงเบอร์ลินถล่ม ผู้ก่อกรรมทำเข็ญนี้ เป็นเหล่าทหารในกองพันซัลวาดอเรียน ที่ได้ทิ้งรอยเลือดเป็นทางที่น่าตกใจ พวกเขาเพิ่งจบจากการฝึกใหม่ที่ โรงเรียน เจเอฟเค เพื่อการทำสงครามพิเศษ และปฏิบัติการตามคำสั่งตรงจากกองบัญชาการระดับสูงของรัฐลูกค้าสหรัฐฯ
In the recently published Cambridge University History of the Cold War, Latin American scholar John Coatsworth writes that from that time to “the Soviet collapse in 1990, the numbers of political prisoners, torture victims, and executions of non-violent political dissenters in Latin America vastly exceeded those in the Soviet Union and its East European satellites,” including many religious martyrs and mass slaughter as well, always supported or initiated in Washington. The last major violent act was the brutal murder of six leading Latin American intellectuals, Jesuit priests, a few days after the Berlin Wall fell. The perpetrators were an elite Salvadorean battalion, which had already left a shocking trail of blood, fresh from renewed training at the JFK School of Special Warfare, acting on direct orders of the high command of the U.S. client state.
ผลกรรมของโรคระบาดกึ่งโลกนี้ แน่นอน ยังคงสั่นสะเทือนก้องกังวานอยู่
The consequences of this hemispheric plague still, of course, reverberate.
จากการลักพาและทรมานสู่การลอบสังหาร
From Kidnapping and Torture to Assassination
ทั้งหมดนี้ และอีกมากมายทำนองนี้ ถูกปัดออกเหมือนเพียงสวะว่าไม่มีผลอะไรใหญ่โต และถูกลืมเลือนไปแล้ว พวกที่มีภารกิจในการปกครองโลก ต่างเพลิดเพลินสำราญกับความสุขสบาย ดังที่ได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในวารสารอันทรงเกียรติ (และมีคุณค่า) ฉบับนี้ (ราชสถาบันกิจกรรมระหว่างประเทศในกรุงลอนดอน) บทความนำ อภิปราย “ระเบียบระหว่างประเทศในจินตนาการ” ของ “ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20” ที่มีรอยสลักของ “การทำให้วิสัยทัศน์แห่งความรุ่งเรืองเชิงพาณิชย์ของอเมริกันกลายเป็นสากล” มันคล้ายๆ จะเป็นเช่นนั้น แต่ไม่ได้พูดถึงความคิดเห็นของพวกที่อยู่ปลายเสียเปรียบของด้ามปืน
All of this, and much more like it, is dismissed as of little consequence, and forgotten. Those whose mission is to rule the world enjoy a more comforting picture, articulated well enough in the current issue of the prestigious (and valuable) journal of the Royal Institute of International Affairs in London. The lead article discusses “the visionary international order” of the “second half of the twentieth century” marked by “the universalization of an American vision of commercial prosperity.” There is something to that account, but it does not quite convey the perception of those at the wrong end of the guns.
นี่เป็นความจริงในทำนองเดียวกันกับการลอบสังหาร อุสมา บิน ดาลิน ที่ยุติอย่างน้อยหนึ่งฉากของ “สงครามแห่งความหวาดกลัว” ที่ถูกประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิลยู. บุช ประกาศใช้ใหม่ ใน 9/11 ครั้งที่ 2 ขอให้พวกเราหันมาดูความคิดบางประการเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นและนัยสำคัญของมัน
The same is true of the assassination of Osama bin Laden, which brings to an end at least a phase in the “war on terror” re-declared by President George W. Bush on the second 9/11. Let us turn to a few thoughts on that event and its significance.
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2011 อุสมา บิน ดาลิน ถูกสังหารในที่อยู่ที่ไม่มีการป้องกันเลย โดยหน่วยจู่โจมนาวิกโยธิน SEAL 79 นาย ผู้ได้เข้าสู่ปากีสถานโดยทางเฮลิคอปเตอร์ หลังจากที่รัฐบาลได้โปรยเรื่องที่น่าตื่นตกใจมากมาย แล้วก็ถอนเรื่องเล่าเหล่านั้น รายงานทางการก็บอกชัดว่า ปฏิบัติการทหารครั้งนั้น เป็นการลอบสังหารที่ได้วางแผนไว้ เมื่อคูณกับการละเมิดจารีตพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ นั่นเป็นการเริ่มต้นบุกรุก (ประเทศ) ทีเดียว
On May 1, 2011, Osama bin Laden was killed in his virtually unprotected compound by a raiding mission of 79 Navy SEALs, who entered Pakistan by helicopter. After many lurid stories were provided by the government and withdrawn, official reports made it increasingly clear that the operation was a planned assassination, multiply violating elementary norms of international law, beginning with the invasion itself.
ตามที่ปรากฏ ไม่มีความพยายามที่จะจับกุมเหยื่อที่ไร้อาวุธ อย่างที่น่าจะเป็น ด้วยคอมมานโด 79 นาย ไม่มีอะไรขัดขวางหรือต่อต้าน—ยกเว้น พวกเขารายงานว่า มีแต่ภรรยาของเขาที่สู้กลับ ซึ่งเธอก็ไร้อาวุธเช่นกัน ตามแถลงการณ์จากทำเนียบขาว พวกเขายิงเพื่อป้องกันตัวเองเมื่อเธอ “พุ่งเข้าหา” พวกเขา
There appears to have been no attempt to apprehend the unarmed victim, as presumably could have been done by 79 commandos facing no opposition -- except, they report, from his wife, also unarmed, whom they shot in self-defense when she “lunged” at them, according to the White House.
นักข่าวผู้ช่ำชองในตะวันออกกลาง โยชิ ดรีเซน และเพื่อนร่วมงาน ในสำนักพิมพ์ แอตแลนติก ได้ทำการปะติดปะต่อเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นจริง ดรีเซน เป็นอดีตนักข่าวการทหารสำหรับ วารสารวอลล์สตรีท ปัจจุบันเป็นนักข่าวอาวุโสสำหรับกลุ่มวารสารแห่งชาติ ที่ทำข่าวครอบคลุมกิจกรรมกองทัพและความมั่นคงแห่งชาติ จากการสอบสวนของพวกเขา ในกระบวนการวางแผนที่ทำเนียบขาว ไม่ปรากฏว่ามีการคำนึงถึงทางเลือกที่จะจับเป็น บิน ดาลิน : “รัฐบาลได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนต่อกองกำลังลับ บัญชาการปฏิบัติการร่วมพิเศษ ของกองทัพว่า มันต้องการจับตาย บิน ดาลิน ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ คนหนึ่ง ผู้รู้เรื่องการอภิปรายนั้น ทหารระดับสูงคนหนึ่งที่ทำหน้าที่เล่าถึงการจู่โจมโดยสังเขป กล่าวว่า SEALs รู้ดีว่า ภารกิจของพวกเขาไม่ใช่การจับเป็น”
A plausible reconstruction of the events is provided by veteran Middle East correspondent Yochi Dreazen and colleagues in the Atlantic. Dreazen, formerly the military correspondent for the Wall Street Journal, is senior correspondent for the National Journal Group covering military affairs and national security. According to their investigation, White House planning appears not to have considered the option of capturing bin Laden alive: “The administration had made clear to the military's clandestine Joint Special Operations Command that it wanted bin Laden dead, according to a senior U.S. official with knowledge of the discussions. A high-ranking military officer briefed on the assault said the SEALs knew their mission was not to take him alive.”
ผู้เขียนๆ ต่อว่า “สำหรับที่เพนทากอนและ ซีไอเอ ผู้ได้ใช้เวลาเกือบทศวรรษไล่ล่า บิน ดาลิน การสังหารนักรบคนนี้ เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นการแก้แค้นที่ชอบธรรม” ยิ่งกว่านั้น “การจับเป็น บิน ดาลิน จะทำให้รัฐบาลต้องเผชิญกับสิ่งยั่วยุและระคายเคืองมากมายจากการท้าทายเชิงกฎหมายและการเมือง” ดังนั้น เป็นการดีกว่าที่จะลอบสังหารเขาเสีย ทิ้งร่างของเขาลงทะเล โดยปราศจากการชันสูตรศพ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นหลังการสังหาร—การกระทำที่คาดได้ว่า จะปลุกโลกมุสลิมส่วนใหญ่ให้ทั้งโกรธเกรี้ยวและกังขา
The authors add: “For many at the Pentagon and the Central Intelligence Agency who had spent nearly a decade hunting bin Laden, killing the militant was a necessary and justified act of vengeance.” Furthermore, “capturing bin Laden alive would have also presented the administration with an array of nettlesome legal and political challenges.” Better, then, to assassinate him, dumping his body into the sea without the autopsy considered essential after a killing -- an act that predictably provoked both anger and skepticism in much of the Muslim world.
ดังที่ แอตแลนติค ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ “การตัดสินใจสังหาร บิน ดาลิน ไปเลย เป็นการแสดงที่ชัดเจนที่สุดจนถึงวันนี้ ถึงด้านที่ได้ถูกเปิดเผยน้อยมากเกี่ยวกับนโยบายรับมือกับการก่อการร้ายของรัฐบาลโอบามา รัฐบาลของบุช ได้จับกุมนักรบผู้ต้องสงสัยนับพัน และส่งพวกเขาออกไปที่สถานกักกันในอัฟกานิสถาน อิรัค และอ่าวกวนเตนาโม รัฐบาลโอบามา ในทางตรงข้าม ได้มุ่งที่ขจัดปัจเจกบุคคลผู้ก่อการร้าย มากกว่าพยายามที่จะจับเป็น” นี่เป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างบุชและโอบามา ผู้เขียนได้ยกคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมันตะวันตก เฮลมัท ชมิดท์ ผู้ “กล่าวในโทรทัศน์เยอรมันว่า การบุกของสหรัฐฯ เป็น ‘การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ’ และบอกว่า บิน ดาลิน ควรจะถูกจับเป็นและนำมาขึ้นศาลไต่สวน” นี่เป็นความเห็นต่างจากอัยการของสหรัฐฯ อิริค โฮลเดอร์ ผู้ “ปกป้องการตัดสินใจสังหาร บิน ดาลิน แม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายต่อนาวิกโยธิน SEALs ได้กล่าวต่อคณะกรรมการสภาคองเกรส... ว่าการจู่โจมนั้น ‘ได้กระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเหมาะสมในทุกทาง’”
As the Atlantic inquiry observes, “The decision to kill bin Laden outright was the clearest illustration to date of a little-noticed aspect of the Obama administration's counterterror policy. The Bush administration captured thousands of suspected militants and sent them to detention camps in Afghanistan, Iraq, and Guantanamo Bay. The Obama administration, by contrast, has focused on eliminating individual terrorists rather than attempting to take them alive.” That is one significant difference between Bush and Obama. The authors quote former West German Chancellor Helmut Schmidt, who “told German TV that the U.S. raid was ‘quite clearly a violation of international law’ and that bin Laden should have been detained and put on trial,” contrasting Schmidt with U.S. Attorney General Eric Holder, who “defended the decision to kill bin Laden although he didn't pose an immediate threat to the Navy SEALs, telling a House panel... that the assault had been ‘lawful, legitimate and appropriate in every way.’"
การทิ้งร่างโดยปราศจากการชันสูตรศพ ได้ถูกวิจารณ์โดยฝ่ายพันธมิตร นักกฎหมายสหราขอาณาจักรผู้เป็นที่เคารพนับถือมาก เจฟฟรีย์ โรเบิร์ตสัน ผู้สนับสนุนการแทรกแซงและคัดค้านการประหารชีวิตส่วนใหญ่ด้วยเหตุผลในเชิงปฏิบัติ ถึงกระนั้น ได้พูดถึงข้ออ้างของโอบามาที่ว่า “ความยุติธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว” ว่าเป็นคำพูด “ไร้สาระ” ที่ควรจะประจักษ์ชัดสำหรับอดีตศาสตราจารย์วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
The disposal of the body without autopsy was also criticized by allies. The highly regarded British barrister Geoffrey Robertson, who supported the intervention and opposed the execution largely on pragmatic grounds, nevertheless described Obama’s claim that “justice was done” as an “absurdity” that should have been obvious to a former professor of constitutional law.
กฎหมายปากีสถาน “เขียนไว้ว่า จะต้องมีการสอบสวนตามแบบยุคอาณานิคมในกรณีที่มีการตายที่รุนแรง และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศยืนหยัดว่า ‘สิทธิที่จะยังคงชีพ’ สั่งให้ต้องมีการสอบสวนเมื่อไรก็ตามที่มีการตายที่รุนแรงเกิดขึ้นจากปฏิบัติการของรัฐบาลหรือตำรวจ ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ จึงมีหน้าที่ๆ จะจัดให้มีการสอบสวน ที่ทำให้โลกพอใจว่า มันเป็นสถานการณ์แท้จริง (เลี่ยงไม่ได้) ในการสังหารนี้”
Pakistan law “requires a colonial inquest on violent death, and international human rights law insists that the ‘right to life’ mandates an inquiry whenever violent death occurs from government or police action. The U.S. is therefore under a duty to hold an inquiry that will satisfy the world as to the true circumstances of this killing.”
โรเบิร์ตสันมักจะเตือนพวกเราว่า “มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป พอถึงเวลาที่จะพิจารณาชะตากรรมของชาย (คน) ที่ชั่วร้ายยิ่งกว่า อุสมา บิน ดาลิน—ผู้นำนาซี—รัฐบาลสหราชอาณาจักร ต้องการแขวนคอพวกเขาภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากการจับกุม ประธานาธิบดี ทรูแมน ไม่ยอมทำตาม โดยอ้างบทสรุปของผู้พิพากษา โรเบิร์ต แจ๊คสัน ที่ว่า การสรุป/ด่วนประหารชีวิต ‘จะไม่นั่งสงบเสงี่ยมได้ในมโนสำนึกของชาวอเมริกันได้ง่ายๆ หรือถูกจดจำด้วยความภาคภูมิโดยลูกหลานของเรา ... วิธีการเดียว คือ ตัดสินผู้ถูกกล่าวหาว่า บริสุทธิ์ หรือ ทำผิด หลังจากที่ได้ฟังดัวยความสงบและเป็นกลาง ภายในเวลาที่กำหนด และด้วยการมีบันทึกคำให้การ เพื่อที่จะช่วยให้พวกเรามีเหตุผลและแรงบันดาลใจที่ชัดเจนขึ้น’”
Robertson usefully reminds us that “[i]t was not always thus. When the time came to consider the fate of men much more steeped in wickedness than Osama bin Laden -- the Nazi leadership -- the British government wanted them hanged within six hours of capture. President Truman demurred, citing the conclusion of Justice Robert Jackson that summary execution ‘would not sit easily on the American conscience or be remembered by our children with pride... the only course is to determine the innocence or guilt of the accused after a hearing as dispassionate as the times will permit and upon a record that will leave our reasons and motives clear.’”
อิริค มาร์โกลิส แสดงความเห็นว่า “วอชิงตัน ไม่เคยเปิดเผยหลักฐานต่อสาธารณะ ที่อ้างว่า อุสมา บิน ดาลิน อยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 9/11” เหตุผลหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ว่าทำไม “ผลการสำรวจความเห็นแสดงว่า หนึ่งในสามของชาวอเมริกันที่ตอบการสำรวจ เชื่อว่า รัฐบาลสหรัฐฯ และ/หรือ อิสราเอล อยู่เบื้องหลัง 9/11” ในขณะที่ในโลกมุสลิม ความสงสัยมีสูงกว่านี้ “การพิจารณาคดีในศาลเปิดในสหรัฐฯ หรือในกรุงเฮก จะช่วยตีแผ่ข้ออ้างเหล่านี้ให้ปรากฏ” เขาเขียนต่อ นั่นเป็นเหตุผลเชิงปฏิบัติ ที่ทำไมวอชิงตันควรจะทำตามกฎหมาย
Eric Margolis comments that “Washington has never made public the evidence of its claim that Osama bin Laden was behind the 9/11 attacks,” presumably one reason why “polls show that fully a third of American respondents believe that the U.S. government and/or Israel were behind 9/11,” while in the Muslim world skepticism is much higher. “An open trial in the U.S. or at the Hague would have exposed these claims to the light of day,” he continues, a practical reason why Washington should have followed the law.
ในสังคมที่ปฏิญาณตัวว่า มีความเคารพกฎหมายอยู่บ้าง ผู้ต้องสงสัยจะต้องถูกนำสู่กระบวนยุติธรรม ผมขอย้ำคำว่า “ผู้ต้องสงสัย” ในเดือนมิถุนายน 2002 หัวหน้าหน่วย เอฟบีไอ โรเบิร์ต มูลเลอร์ ดังที่หนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ ได้บรรยายว่า “ในบรรดาข้อคิดเห็นที่ให้รายละเอียดถี่ยิบของเขา เกี่ยวกับจุดกำเนิดของการโจมตี” สามารถพูดได้เพียงว่า “นักสืบเชื่อในชุดความคิดของวินาศกรรม 11 กันยายน ที่เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ และเพนทากอน ว่ามาจากผู้นำ อัลกออิดะ ในอัฟกานิสถาน วางแผนในเยอรมัน และส่งเงินผ่านทางสหรัฐเอมีเรตส์จากแหล่งในอัฟกานิสถาน”
In societies that profess some respect for law, suspects are apprehended and brought to fair trial. I stress “suspects.” In June 2002, FBI head Robert Mueller, in what the Washington Post described as “among his most detailed public comments on the origins of the attacks,” could say only that “investigators believe the idea of the Sept. 11 attacks on the World Trade Center and Pentagon came from al Qaeda leaders in Afghanistan, the actual plotting was done in Germany, and the financing came through the United Arab Emirates from sources in Afghanistan.”
สิ่งที่ เอฟบีไอ เชื่อและคิดในเดือนมิถุนายน 2002 นั้น พวกเขาไม่ได้รู้เมื่อ 8 เดือนก่อนหน้า เมื่อ วอชิงตัน ได้เมินเฉยต่อข้อเสนอที่ยังไม่แน่นอนจาก ตาลิบัน (เราไม่รู้ว่าข้อเสนอนั้นจริงจังแค่ไหน) ให้เปิดการดำเนินการไต่สวน บิน ดาลิน หากพวกเขาได้รับหลักฐาน ดังนั้น มันไม่เป็นความจริง ดังที่ประธานาธิบดี โอบามา อ้างในแถลงการณ์ทำเนียบขาว หลังจากการตายของ บิน ดาลิน ว่า “เราได้เรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า วินาศกรรม 9/11 กระทำโดย อัลกออิดะ”
What the FBI believed and thought in June 2002 they didn’t know eight months earlier, when Washington dismissed tentative offers by the Taliban (how serious, we do not know) to permit a trial of bin Laden if they were presented with evidence. Thus, it is not true, as President Obama claimed in his White House statement after bin Laden’s death, that “[w]e quickly learned that the 9/11 attacks were carried out by al-Qaeda.”
ไม่มีเหตุผลใดเลย ที่จะสงสัยในสิ่งที่ เอฟบีไอ เชื่อในกลางปี 2002 แต่นั่นก็ยังไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ความผิด ที่สังคมอารยะต้องการ—และ ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานใดๆ มันก็ไม่พอที่จะรับรองให้กระทำฆาตกรรมผู้ต้องสงสัย ผู้สามารถ, ดังที่ปรากฏให้เห็น, ว่าน่าจะสามารถจับกุมและนำสู่ศาลไต่สวนได้อย่างง่ายดาย ในทำนองเดียวกันสำหรับหลักฐานที่ได้นำออกมาแสดงตั้งแต่นั้นมา ดังนั้น คณะกรรมาธิการ 9/11 ได้เปิดเผยหลักฐานเชิงสถานการณ์อย่างละเอียด เกี่ยวกับบทบาทของ บิน ดาลิน ใน 9/11 ซึ่งอยู่บนพื้นฐานปฐมภูมิจากสิ่งที่บอกเล่า หรือคำสารภาพโดยนักโทษใน กวนเตนาโม มันน่าสงสัยที่ว่า หลักฐานส่วนใหญ่เหล่านั้น จะมีน้ำหนักเพียงพอในศาลอิสระ หากเราพิจารณาจากวิธีการที่คำสารภาพเหล่านั้นถูกบีบคั้นออกมา แต่ไม่ว่าจะกรณีใดก็แล้วแต่ บทสรุปของการสอบสวนที่สภาคองเกรสสั่งให้มีขึ้น ไม่ว่ามันจะฟังดูน่าคล้อยตามเพียงไร ก็หยุดอยู่แค่ที่ว่า ไม่มีศาลที่น่าเชื่อถือเป็นผู้พิพากษา ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่จะขยับประเภทของผู้ต้องหา จากผู้ต้องสงสัยเป็นนักโทษ/ผู้ต้องโทษ
There has never been any reason to doubt what the FBI believed in mid-2002, but that leaves us far from the proof of guilt required in civilized societies -- and whatever the evidence might be, it does not warrant murdering a suspect who could, it seems, have been easily apprehended and brought to trial. Much the same is true of evidence provided since. Thus, the 9/11 Commission provided extensive circumstantial evidence of bin Laden’s role in 9/11, based primarily on what it had been told about confessions by prisoners in Guantanamo. It is doubtful that much of that would hold up in an independent court, considering the ways confessions were elicited. But in any event, the conclusions of a congressionally authorized investigation, however convincing one finds them, plainly fall short of a sentence by a credible court, which is what shifts the category of the accused from suspect to convicted.
มีการพูดถึงกันมากถึง “คำสารภาพ” ของ บิน ดาลิน แต่นั่นเป็นเพียงการคุยโม้ ไม่ใช่คำสารภาพ ซึ่งก็น่าเชื่อถือพอๆ กับ “คำสารภาพ” ของผม ที่ว่าผมชนะการวิ่งแข่งมาราธอนบอสตัน คำคุยโม้บอกเราหลายอย่างเกี่ยวกับอุปนิสัยของเขา แต่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขาถือว่า เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องการอ้างเป็นเจ้าของ
There is much talk of bin Laden's “confession,” but that was a boast, not a confession, with as much credibility as my “confession” that I won the Boston marathon. The boast tells us a lot about his character, but nothing about his responsibility for what he regarded as a great achievement, for which he wanted to take credit.
อีกครั้ง ทั้งหมดนี้คือ ว่ากันอย่างโปร่งใส แยกเป็นอิสระจากคำพิพากษาของใครคนหนึ่งเกี่ยวกับความรับผิดชอบของเขา ซึ่งดูเหมือนจะชัดเจนขึ้นมาทันที แม้แต่ก่อนการไต่สวนของ เอฟบีไอ และก็ยังคงเป็นเช่นนั้นจนถึงบัดนี้
Again, all of this is, transparently, quite independent of one’s judgments about his responsibility, which seemed clear immediately, even before the FBI inquiry, and still does.
อาชญากรรมของการบุกรุก
Crimes of Aggression
มันสมควรที่จะเพิ่มที่ตรงนี้ว่าความรับผิดชอบของ บิน ดาลิน ได้ถูกยอมรับกันทั่วในโลกชาวมุสลิม และถูกกล่าวโทษด้วย ตัวอย่างสำคัญหนึ่ง คือ บุคลากรในศาสนาชาวเลบานอนที่โดดเด่น ชิกห์ ฟัดลัลลาห์ ผู้ได้รับความเคารพอย่างสูงจาก กลุ่มฮิซโบลลาห์ และ กลุ่มเชีย รวมทั้งผู้อยู่ภายนอกเลบานอน เขามีประสพการณ์กับการถูกลอบสังหาร เคยถูกหมายหัวเป็นเป้า: โดยการระเบิดรถบรรทุกข้างนอกมัสยิด อันเป็นปฏิบัติการที่ ซีไอเอ จัดการในปี 1985 เขาหนีพ้น แต่ 80 คนอื่นๆ ถูกฆ่า ส่วนมากเป็นผู้หญิงและเด็กหญิงในขณะที่พวกเธอเดินออกจากมัสยิด--นี่เป็นหนึ่งในอาชญากรรมนับไม่ถ้วน ที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในรายงานประจำปีเกี่ยวกับการก่อการร้าย เพียงเพราะวิธีคิดที่ผิดๆ ของ “ฝ่ายผิด/ตรงข้าม” ชิกห์ ฟัดลัลลาห์ ประณามวินาศกรรม 9/11 อย่างแรง
It is worth adding that bin Laden’s responsibility was recognized in much of the Muslim world, and condemned. One significant example is the distinguished Lebanese cleric Sheikh Fadlallah, greatly respected by Hizbollah and Shia groups generally, outside Lebanon as well. He had some experience with assassinations. He had been targeted for assassination: by a truck bomb outside a mosque, in a CIA-organized operation in 1985. He escaped, but 80 others were killed, mostly women and girls as they left the mosque -- one of those innumerable crimes that do not enter the annals of terror because of the fallacy of “wrong agency.” Sheikh Fadlallah sharply condemned the 9/11 attacks.
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสงครามศักดิ์สิทธิ์คนหนึ่ง ฟาวาซ เกอเจส แนะว่า ขบวนการสงครามศักดิ์สิทธิ์อาจจะแตกแยกได้ หากสหรัฐฯ ได้ฉวยโอกาสนั้น แทนที่จะกลับกลายเป็นเพิ่มพลังขับเคลื่อนมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจู่โจมอิรัค อันเป็นอานิสงค์ใหญ่หลวงแก่ บิน ดาลิน ซึ่งนำไปสู่การกระพือการก่อการร้ายอย่างรวดเร็วดังที่หน่วยสืบราชการลับได้คาดไว้ ขอยกตัวอย่าง ณ ที่การให้การ ชิลค็อต เพื่อไต่สวนพื้นเพการบุกรุกอิรัค อดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับในประเทศของสหราชอาณาจักร MI5 ได้ให้การว่า หน่วยสืบราชการลับของทั้งสหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ต่างรู้ดีว่า ซัดดัม ไม่ได้เป็นภัยร้ายแรง ว่าการบุกรุกจะรังแต่เพิ่มการก่อการร้าย และว่าการบุกรุกอิรัคและอัฟกานิสถาน ได้ทำให้บางส่วนของชาวมุสลิมรุ่นหนึ่ง กลายเป็นคนหัวรุนแรงสุดโต่งผู้เห็นปฏิบัติการทหารเป็นการ “โจมศาสนาอิสลาม” มันเป็นเช่นนั้นเสียส่วนใหญ่ ความมั่นคง ไม่ใช่วาระสำคัญที่สุดสำหรับปฏิบัติการของรัฐ
One of the leading specialists on the Jihadi movement, Fawaz Gerges, suggests that the movement might have been split at that time had the U.S. exploited the opportunity instead of mobilizing the movement, particularly by the attack on Iraq, a great boon to bin Laden, which led to a sharp increase in terror, as intelligence agencies had anticipated. At the Chilcot hearings investigating the background to the invasion of Iraq, for example, the former head of Britain’s domestic intelligence agency MI5 testified that both British and U.S. intelligence were aware that Saddam posed no serious threat, that the invasion was likely to increase terror, and that the invasions of Iraq and Afghanistan had radicalized parts of a generation of Muslims who saw the military actions as an “attack on Islam.” As is often the case, security was not a high priority for state action.
เราน่าจะถามตัวเราเองว่า เราจะมีปฏิกิริยาอย่างไร หากหน่วยคอมมานโดอิรัค ได้บุกเข้าที่อยู่อาศัยของ จอร์ช ดับเบิบยู. บุช ลอบสังหารเขา และทิ้งร่างของเขาลงในมหาสมุทรแอตแลนติค (แน่นอน หลังจากที่ได้ทำพิธีศพอย่างเหมาะสม) มันไม่ใช่เรื่องขัดแย้งในตัวเองว่า เขาไม่ได้เป็น “ผู้ต้องสงสัย” แต่เป็น “ผู้ตัดสินใจ” ผู้ออกคำสั่งให้บุกอิรัค—นั่นคือ กระทำ “อาชญากรรมระหว่างประเทศสูงสุด ที่ต่างกับอาชญากรรมสงครามอื่นๆ เพียงที่ว่า ในตัวของมันเต็มไปด้วยความชั่วร้ายของ (อาชญากรรม) ทั้งหมด” ซึ่งอาชญากรนาซีถูกแขวนคอ: ความตายนับแสน คนอพยพนับล้าน การทำลายล้างส่วนใหญ่ของประเทศ และมรดกแห่งชาติ และการฆาตกรรมในความขัดแย้งต่างๆ ที่ได้แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค ที่ไม่ใช่เรื่องขัดแย้งในตัวเองพอๆ กัน คือ อาชญากรรมเหล่านี้ ใหญ่โตมโหฬารกว่า สิ่งใดๆ ที่มากกว่าสิ่งที่มาจาก บิน ดาลิน
It might be instructive to ask ourselves how we would be reacting if Iraqi commandos had landed at George W. Bush's compound, assassinated him, and dumped his body in the Atlantic (after proper burial rites, of course). Uncontroversially, he was not a “suspect” but the “decider” who gave the orders to invade Iraq -- that is, to commit the “supreme international crime differing only from other war crimes in that it contains within itself the accumulated evil of the whole” for which Nazi criminals were hanged: the hundreds of thousands of deaths, millions of refugees, destruction of much of the country and its national heritage, and the murderous sectarian conflict that has now spread to the rest of the region. Equally uncontroversially, these crimes vastly exceed anything attributed to bin Laden.
ในการบอกว่า ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เรื่องขัดแย้งในตัว อย่างที่มันเป็นนั้น ไม่ได้หมายความว่า มันไม่ถูกปฏิเสธ การมีอยู่ของพวกที่เห็นว่าโลกแบน ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า, อย่างไม่มีข้อขัดแย้ง, ว่าโลกไม่แบน ในทำนองเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องขัดแย้งกันเองที่ว่า สตาลินและฮิตเลอร์ ต่างรับผิดชอบต่ออาชญากรรมเหี้ยมโหดมากมาย แม้ว่าผู้จงรักภักดีต่อพวกเขาจะปฏิเสธมัน ทั้งหมดนี้ควรจะ, อีกครั้ง, ชัดแจ้งในการแสดงความเห็น, และจะเป็น, ยกเว้นในบรรยากาศของอารมณ์ระเบิด ที่ขัดขวางความคิดที่มีเหตุผล
To say that all of this is uncontroversial, as it is, is not to imply that it is not denied. The existence of flat earthers does not change the fact that, uncontroversially, the earth is not flat. Similarly, it is uncontroversial that Stalin and Hitler were responsible for horrendous crimes, though loyalists deny it. All of this should, again, be too obvious for comment, and would be, except in an atmosphere of hysteria so extreme that it blocks rational thought.
ในทำนองเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องขัดแย้งกันเองในตัวที่ บุชและพวกได้กระทำ “อาชญากรรมระหว่างประเทศที่ร้ายแรงที่สุด”—อาชญากรรมของการบุกรุก อาชญากรรมนั้น ได้ถูกนิยามชัดเจนพอโดยผู้พิพากษา โรเบิร์ต แจ๊คสัน หัวหน้าคณะที่ปรึกษาสหรัฐ ที่นูเรมเบอร์ก แจ๊คสัน เสนอคำนิยาม “ผู้บุกรุก” ต่อศาลยุติธรรมในตอนต้นของแถลงการณ์ของเขาว่า เป็นสภาวะที่เป็นก้าวแรกที่จะปฏิบัติการ เช่น “การบุกรุกของกองกำลังติดอาวุธ, จะด้วยการประกาศหรือไม่ได้ประกาศสงครามก็ตาม, สู่อาณาเขตของรัฐอื่น” ไม่มีใคร, แม้แต่ผู้ที่สนับสนุนการบุกรุกอย่างหัวชนฝา, จะปฏิเสธได้ว่า บุชและพวกได้กระทำเช่นนั้น
Similarly, it is uncontroversial that Bush and associates did commit the “supreme international crime” -- the crime of aggression. That crime was defined clearly enough by Justice Robert Jackson, Chief of Counsel for the United States at Nuremberg. An “aggressor,” Jackson proposed to the Tribunal in his opening statement, is a state that is the first to commit such actions as “[i]nvasion of its armed forces, with or without a declaration of war, of the territory of another State ….” No one, even the most extreme supporter of the aggression, denies that Bush and associates did just that.
เราอาจจะรำลึกถึงคำพูดของแจ๊คสันที่ นูเรมเบอร์ก ว่าด้วยหลักการสากล: ”หากการกระทำหนึ่งๆ ละเมิดกฎบัตร เป็นอาชญากรรม มันเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ที่กระทำมัน หรือเยอรมันกระทำมัน และเราก็ไม่ได้เตรียมตัวที่จะวางกฎเกณฑ์ของความประพฤติเชิงอาชญากรรมต่อผู้อื่น ซึ่งเราจะไม่ยินดีที่จะให้มันนำมาบังคับใช้เพื่อลงโทษเรา”
We might also do well to recall Jackson’s eloquent words at Nuremberg on the principle of universality: “If certain acts in violation of treaties are crimes, they are crimes whether the United States does them or whether Germany does them, and we are not prepared to lay down a rule of criminal conduct against others which we would not be willing to have invoked against us.”
มันชัดเจนที่จะประกาศว่า เจตนารมณ์ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน, แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อเช่นนั้นจริงๆ บันทึกภายในเผยว่า เผด็จการญี่ปุ่นได้เชื่อจริงๆ ว่า ด้วยการทำลายล้างจีน พวกเขากำลังทำงานหนักเพื่อเปลี่ยนให้มันเป็น “สวรรค์บนดิน” และแม้ว่ามันจะยากที่จะจินตนาการ มันก็เป็นไปได้ที่ บุชและพวก เชื่อจริงๆ ว่า พวกเขากำลังปกป้องโลกจากการทำลายล้างโดยอาวุธนิวเคลียร์ของซัดดัม ทั้งหมดนี้ไม่มีความสัมพันธ์กัน แม้ว่า ผู้จงรักภักดีอย่างยิ่งของทุกฝ่ายอาจจะพยายามโน้มน้าวตัวเองให้คล้อยตามเช่นนั้น
It is also clear that announced intentions are irrelevant, even if they are truly believed. Internal records reveal that Japanese fascists apparently did believe that, by ravaging China, they were laboring to turn it into an “earthly paradise.” And although it may be difficult to imagine, it is conceivable that Bush and company believed they were protecting the world from destruction by Saddam’s nuclear weapons. All irrelevant, though ardent loyalists on all sides may try to convince themselves otherwise.
เรามีสองทางเลือก: บุชและพวกมีความผิด ใน “อาชญากรรมระหว่างประเทศสูงสุด” รวมทั้งความชั่วร้ายทั้งหลายที่ตามกันมา หรือเราประกาศว่า เอกสารจากการประชุมที่ นูเรมเบอร์ก เป็นเรื่องตลก และพันธมิตรมีความผิดฐานฆาตกรรมกระบวนการพิจารณาคดี
We are left with two choices: either Bush and associates are guilty of the “supreme international crime” including all the evils that follow, or else we declare that the Nuremberg proceedings were a farce and the allies were guilty of judicial murder.
เจตคติจักรวรรดิ์ และ 9/11
The Imperial Mentality and 9/11
สองสามวันก่อนการลอบสังหาร บิน ดาลิน โอลันโด โบสช์ ตายอย่างสงบในฟลอริดา ที่ๆ เขาได้อาศัยร่วมกับผู้สมรู้ร่วมคิด ลูอิส โปซาดา คาร์ริลส์ และพรรคพวกอื่นๆ หลายคนในขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ หลังจากที่เขาถูก เอฟบีไอ กล่าวหาว่าได้ก่ออาชญากรรมก่อการร้ายหลายโหล โบสช์ ได้รับอภัยโทษจากประธานาธิบดีจาก บุช-1 ทั้งๆ ที่กระทรวงยุติธรรมได้ขัดแย้ง ซึ่งพบในบทสรุป “จะหนีไม่พ้นว่า มันจะเป็นผลร้ายต่อประโยชน์สาธารณะของสหรัฐฯ ที่จะให้ที่หลบภัยที่ปลอดภัยแก่โบสช์” ความตายทั้งสองที่บังเอิญเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้คิดถึงหลักการบุช-2 –“เป็นกฎของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างแท้จริง” ตามความเห็นของ แกรแฮม อัลลิสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของฮาร์วาร์ดที่มีชื่อเสียง—ซึ่งเพิกถอน “อธิปไตยของรัฐที่ยอมให้ที่หลบภัยแก่ผู้ก่อการร้าย”
A few days before the bin Laden assassination, Orlando Bosch died peacefully in Florida, where he resided along with his accomplice Luis Posada Carriles and many other associates in international terrorism. After he was accused of dozens of terrorist crimes by the FBI, Bosch was granted a presidential pardon by Bush I over the objections of the Justice Department, which found the conclusion “inescapable that it would be prejudicial to the public interest for the United States to provide a safe haven for Bosch.” The coincidence of these deaths at once calls to mind the Bush II doctrine -- “already… a de facto rule of international relations,” according to the noted Harvard international relations specialist Graham Allison -- which revokes “the sovereignty of states that provide sanctuary to terrorists.”
อัลลิสัน หมายถึง การประกาศของ บุช-2 ที่เล็งไปที่ ตาลิบัน ว่า “พวกที่ปิดบังผู้ก่อการร้าย มีความผิดพอๆ กับตัวผู้ก่อการร้ายเอง” ดังนั้น รัฐเหล่านี้ได้สูญเสียอธิปไตยของตน และเข้าข่ายเป็นเป้าการทิ้งระเบิดและการก่อกวนให้หวาดกลัว—ยกตัวอย่าง รัฐที่ให้โบสช์และพวกหลบซ่อน เมื่อ บุช ออกประกาศกฎใหม่นี้ที่เป็น “กฎความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่แท้จริง” ดูเหมือนไม่มีใครสังเกตว่า เขากำลังเรียกร้องให้บุกรุกและทำลายล้างสหรัฐฯ และฆาตกรรมประธานอาชญากรทั้งหลายของมันเอง
Allison refers to the pronouncement of Bush II, directed at the Taliban, that “those who harbor terrorists are as guilty as the terrorists themselves.” Such states, therefore, have lost their sovereignty and are fit targets for bombing and terror -- for example, the state that harbored Bosch and his associate. When Bush issued this new “de facto rule of international relations,” no one seemed to notice that he was calling for invasion and destruction of the U.S. and the murder of its criminal presidents.
ไม่มีอะไรเป็นปริศนา แน่นอน หากเราละทิ้งหลักการสากลของผู้พิพากษาแจ๊คสัน และยอมรับหลักการที่ว่า สหรัฐฯ มีภูมิต้านทานในตัวเอง ต่อกฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญาต่างๆ แทน—ดังที่รัฐบาลได้บอกชัดอยู่บ่อยๆ
None of this is problematic, of course, if we reject Justice Jackson’s principle of universality, and adopt instead the principle that the U.S. is self-immunized against international law and conventions -- as, in fact, the government has frequently made very clear.
มันน่าสนใจที่เราจะมาคิดพิจารณาชื่อที่ตั้งให้กับ ปฏิบัติการ บิน ดาลิน: ปฏิบัติการ เกอโรนิโม เจตคติจักรวรรดิ์นี้ช่างล้ำลึกขนาดที่น้อยคนจะสามารถหยั่งได้ว่า ทำเนียบขาวได้สรรเสริญ บิน ดาลิน ถึงกับเรียกเขาว่า “เกอโรนิโม”—หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง อะปาเช่ ผู้นำการต่อสู้ที่กล้าหาญต่อต้านผู้บุกรุกแดนอะปาเช่
It is also worth thinking about the name given to the bin Laden operation: Operation Geronimo. The imperial mentality is so profound that few seem able to perceive that the White House is glorifying bin Laden by calling him “Geronimo” -- the Apache Indian chief who led the courageous resistance to the invaders of Apache lands.
เหตุปัจัยของการเลือกชื่อ เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงความง่ายดายในการตั้งชื่ออาวุธที่ใช้ฆาตกรรมเหยื่อของอาชญากรรมของเรา: อะปาเช่ แบล็กฮอว์ก... เราอาจแสดงปฏิกิริยาต่างออกไป หากพวก ลูฟท์วาฟฟ์ ได้เรียกเครื่องบินต่อสู้ของมันว่า “ยิว” และ “ยิปซี”
The casual choice of the name is reminiscent of the ease with which we name our murder weapons after victims of our crimes: Apache, Blackhawk… We might react differently if the Luftwaffe had called its fighter planes “Jew” and “Gypsy.”
ตัวอย่างที่ได้พรรณามา จะตกอยู่ภายใต้หัวข้อ “ลัทธิยกเว้นอเมริกัน” หากไม่ใช่เพราะความจริงที่ว่า การปราบปรามอาชญากรรมของตนเองอย่างง่ายดาย เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนแห่งในบรรดารัฐที่ทรงอำนาจ อย่างน้อยพวกที่ไม่ถูกทำให้แพ้และบังคับให้ยอมรับความจริง
The examples mentioned would fall under the category of “American exceptionalism,” were it not for the fact that easy suppression of one’s own crimes is virtually ubiquitous among powerful states, at least those that are not defeated and forced to acknowledge reality.
บางที รัฐบาลได้มองว่า การลอบสังหาร เป็น “การกระทำของการแก้แค้น” ดังที่โรเบิร์ตสันได้สรุป และบางทีการละทิ้งทางเลือกกระบวนการกฎหมายที่นำไปสู่การดำเนินคดี สะท้อนถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมศีลธรรมของปี 1945 และ ของทุกวันนี้ ดังที่เขาชี้แนะ ไม่ว่าแรงบันดาลใจจะเป็นฉันใด มันก็ยากที่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง ดังกรณีของ “อาชญากรรมระหว่างประเทศสูงสุด” ในอิรัค การลอบสังหาร บิน ดาลิน เป็นตัวอย่างประกอบอีกอันหนึ่งถึงความจริงที่สำคัญว่า ความมั่นคง ไม่ได้เป็นวาระสำคัญระดับสูง สำหรับปฏิบัติการของรัฐ ซึ่งตรงข้ามกับหลักการที่ได้รับมา
Perhaps the assassination was perceived by the administration as an “act of vengeance,” as Robertson concludes. And perhaps the rejection of the legal option of a trial reflects a difference between the moral culture of 1945 and today, as he suggests. Whatever the motive was, it could hardly have been security. As in the case of the “supreme international crime” in Iraq, the bin Laden assassination is another illustration of the important fact that security is often not a high priority for state action, contrary to received doctrine.
โนม ชอมสกี้ เป็นศาสตราจารย์สถาบัน (ปลดเกษียณแล้ว) ที่ MIT เขาได้เขียนหนังสือหลายเล่ม และบทความมากมาย เกี่ยวกับกิจกรรมระหว่างประเทศและประเด็นสังคม-การเมือง และเป็นผู้มีส่วนร่วมระยะยาวในการเคลื่อนไหวทางสังคม หนังสือล่าสุดของเขา เช่น 9-11: ฉบับที่ 10, รัฐล้มเหลว, ฯลฯ
Noam Chomsky is Institute Professor (retired) at MIT. He is the author of many books and articles on international affairs and social-political issues, and a long-time participant in activist movements. His most recent books include: 9-11: 10th Anniversary Edition, Failed States, What We Say Goes (with David Barsamian), Hegemony or Survival, and the Essential Chomsky.
ดรุณีแปล / 9-13-11
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น