ขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงจิตวิญญาณ:
รักษาเยียวยาพวกเราเองด้วยการเติมเต็มคืนพระแม่ธรณี
โดย วันการิ มาธาย © 2011 Wangari Maathai
26 กันยายน 2011 ใน YES! Magazine
Spiritual Environmentalism:
Healing Ourselves by Replenishing the Earth
by Wangari Maathai © 2011 Wangari Maathai
Monday, September 26, 2011 by YES! Magazine
บทบรรณาธิการ YES! Magazine: วันการิ มาธาย นักกิจกรรมขับเคลื่อน และ ผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2004 ได้ถึงแก่มรณกรรมในวันที่ 25 กันยายน ในบทความต่อไปนี้ ซึ่งยกมาจากหนังสือของเธอ เติมเต็มคืนพระแม่ธรณี: คุณค่าทางจิตวิญญาณเพื่อการรักษาเยียวยาพวกเราเองและโลก เธอบรรยายถึงแรงดลใจที่นำเธอให้ลุกขึ้นบุกเบิก
วันการิ มาธาย (1940-2011 / พ.ศ. 2483-2554)
YES! Magazine Editor's Note: Wangari Maathai, the Kenyan activist and 2004 winner of the Nobel Peace Prize, passed away on September 25. In this essay from her book Replenishing the Earth: Spiritual Values for Healing Ourselves and the World, she describes what motivated her groundbreaking work. Wangari Maathai (1940-2011)
YES! Magazine Editor's Note: Wangari Maathai, the Kenyan activist and 2004 winner of the Nobel Peace Prize, passed away on September 25. In this essay from her book Replenishing the Earth: Spiritual Values for Healing Ourselves and the World, she describes what motivated her groundbreaking work. Wangari Maathai (1940-2011)
ในห้วงเวลากว่าสามทศวรรษของฉันในฐานะนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักรณรงค์เพื่อสิทธิประชาธิปไตย ผู้คนมักถามฉันว่า สิ่งที่ดลใจฉันและมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของฉันและงานขับเคลื่อน แถบคาดเขียว นั้น เป็นความคิดทางจิตวิญญาณจากศาสนาอื่น และจากคัมภีร์ไบเบิลหรือเปล่า ฉันเกิดความคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเสริมพลังอำนาจคนธรรมดาสามัญ โดยมองว่าเป็นอาชีพทางศาสนาประเภทหนึ่งหรือเปล่า? มีบทเรียนทางจิดวิญญาณสำหรับให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้กับความกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของพวกเขา หรือใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นองค์รวมอย่างไร?
During my more than three decades as an environmentalist and campaigner for democratic rights, people have often asked me whether spirituality, different religious traditions, and the Bible in particular had inspired me, and influenced my activism and the work of the Green Belt Movement (GBM). Did I conceive conservation of the environment and empowerment of ordinary people as a kind of religious vocation? Were there spiritual lessons to be learned and applied to their own environmental efforts, or in their lives as a whole?
เมื่อฉันเริ่มต้นทำงานนี้ในปี 1977 (พ.ศ. 2520) ฉันไม่ได้มีแรงดลใจจากความศรัทธาในศาสนาของฉัน หรือศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ฉันคิดไปตามสภาพความเป็นจริงและในทางปฏิบัติจริงได้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ติดดิน ฉันต้องการช่วยชาวชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง ให้ได้มาซึ่งปัจจัยพื้นฐานที่พวกเขาบอกเล่าให้ฉันฟัง ในระหว่างการประชุมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ พวกเขาบอกว่า พวกเขาต้องการน้ำดื่มที่สะอาด อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เพียงพอ รายได้ และพลังงานเพื่อการหุงต้มและทำความร้อน ดังนั้น พอฉันถูกตั้งคำถามเหล่านี้ในช่วงเวลาต้นๆ นั้น ฉันก็ตอบไปว่า ฉันไม่คิดว่า การขุดรู และขับเคลื่อนชุมชนให้ปกป้องและฟื้นฟูต้นไม้ ป่าไม้ ต้นน้ำ ดิน หรือ ที่อยู่ของสัตว์ป่า ที่อาศัยอยู่รายรอบพวกเขานั้น เป็นงานทางจิตวิญญาณเลย
When I began this work in 1977, I wasn't motivated by my faith or by religion in general. Instead, I was thinking literally and practically about solving problems on the ground. I wanted to help rural populations, especially women, with the basic needs they described to me during seminars and workshops. They said that they needed clean drinking water, adequate and nutritious food, income, and energy for cooking and heating. So, when I was asked these questions during the early days, I'd answer that I didn't think digging holes and mobilizing communities to protect or restore the trees, forests, watersheds, soil, or habitats for wildlife that surrounded them was spiritual work.
ถึงอย่างไรก็ตาม ฉันไม่เคยแยกระหว่างกิจกรรมที่อาจถูกเรียกว่า “จิตวิญญาณ” และพวกที่อาจถูกกล่าวขานว่าเป็น “ทางโลก/ฆราวาส” เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปี ฉันเริ่มประจักษ์ว่า ความเพียรพยายามของเรา ไม่ใช่แค่การปลูกต้นไม้ แต่เป็นการหว่านเมล็ดชนิดอื่นด้วย—เมล็ดพันธุ์ที่จำเป็นในการช่วยให้ชุมชนเกิดความมั่นใจในตัวเอง และเกิดความรู้ในตัวเอง เพื่อหวนกลับไปค้นพบเสียงที่แท้จริงของพวกเขา ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถเปล่งเสียงพูดในฐานะรักษาสิทธิ์ของตัวเอง (สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม พลเรือน และการเมือง) ภารกิจของจึงกลายเป็นแผ่ขยายครอบคลุมประเด็นที่กว้างขึ้น อย่างที่พวกเราเรียกว่า “พื้นที่ประชาธิปไตย” ที่ซึ่ง พลเรือนธรรมดา จะสามารถร่วมตัดสินใจในฐานะของพวกเขาเอง เพื่อดูแลผลประโยชน์ของพวกเขา ชุมชนของพวกเขา และประเทศของพวกเขา และสิ่งแวดล้อมที่ได้ธำรงรักษาพวกเขามาตลอด
However, I never differentiated between activities that might be called "spiritual" and those that might be termed "secular." After a few years I came to recognize that our efforts weren't only about planting trees, but were also about sowing seeds of a different sort—the ones necessary to give communities the self-confidence and self-knowledge to rediscover their authentic voice and speak out on behalf of their rights (human, environmental, civic, and political). Our task also became to expand what we call "democratic space," in which ordinary citizens could make decisions on their own behalf to benefit themselves, their community, their country, and the environment that sustains them.
ด้วยบริบทนี้ ฉันเริ่มตระหนักว่า มีอะไรบางอย่างที่เป็นแรงดลใจและธำรง/ประคอง ขบวนการแถบคาดเขียว (GBM) รวมทั้งผู้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของการเคลื่อนไหวในหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนมากมายจากชุมชนและภูมิภาคต่างๆ ได้ยื่นมือออกมาหาเรา เพราะพวกเขาต้องการแบ่งปันประสพการณ์จากวิธีการของพวกเขากับคนอื่นๆ ฉันจึงตระหนักว่า งานของ GBM ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยคุณค่านามธรรมบางอย่าง คุณค่าเหล่านี้คือ ความรักต่อสิ่งแวดล้อม ความกตัญญูรู้จักบุญคุณและเคารพต่อทรัพยากรที่เกื้อกูลจากพระแม่ธรณี ความสามารถที่จะเสริมพลังอำนาจและปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น และวิญญาณแห่งการให้บริการและจิตอาสา พอรวมเข้าด้วยกัน คุณค่าเหล่านี้หุ้มห่อภารกิจที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ ที่มีความลึกล้ำ และไม่ใช่วัตถุ ของ GBM ในฐานะองค์กร คุณค่าเหล่านี้ ได้ทำให้พวกเราทำงานต่อไป แม้จะต้องข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก
In this context, I began to appreciate that there was something that inspired and sustained the GBM and those participating in its activities over the years. Many people from different communities and regions reached out to us because they wanted us to share the approach with others. I came to realize that the work of the GBM was driven by certain intangible values. These values were: love for the environment; a gratitude and respect for Earth's resources; a capacity to empower and better oneself; and a spirit of service and volunteerism. Together, these values encapsulate the intangible, subtle, nonmaterialistic aspects of the GBM as an organization. They enabled us to continue working, even through the difficult times.
แน่นอน ฉันรู้ดีว่า คุณค่าเหล่านี้ไม่ใช่ลักษณะพิเศษที่จำกัดอยู่เพียง GBM มันเป็นสากล / คุณค่าของจักรวาล เราไม่สามารถมองเห็นหรือแตะต้องมันได้ เราไม่สามารถกำหนดราคาค่างวดให้มันได้: ด้วยเหตุฉะนี้ มันจึงมีราคาหาค่ามิได้ คุณค่าเหล่านี้ ไม่ได้ถูกกักกันอยู่ในบางจารีตศาสนา คนใดที่ต้องการดำรงชีวิตด้วยคุณค่าเหล่านี้ ก็ไม่ต้องเข้ารีต ปฏิญาณตนว่าจะจงรักภัดี หรือขึ้นตรงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง แต่ ดูเหมือนคุณค่าเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ของเราเอง และฉันก็เชื่อมั่นว่า พวกเราเป็นคนที่ดีกว่า ก็เพราะพวกเรายึดถือในคุณค่าเหล่านี้ และว่า มนุษยชาติจะดีกว่านี้มาก หากยังยึดถือมันไว้ แทนที่จะสลัดมันทิ้งไป ที่ใดละเลยคุณค่าเหล่านี้ อบาย / สิ่งชั่วร้าย ก็จะเข้าครอบงำ เช่น ความเห็นแก่ตัว ทุจริต/คอรัปชั่น ตะกละ/ละโมภ และการขูดรีดผลประโยชน์เข้าตัว
Of course, I'm aware that such values are not unique to the Green Belt Movement. They are universal; they can't be touched or seen. We cannot place a monetary value on them: in effect, they are priceless. These values are not contained within certain religious traditions. Neither does one have to profess a faith in a divine being to live by them. However, they do seem to be part of the our human nature and I'm convinced that we are better people because we hold them, and that humankind is better off with them than without them. Where these values are ignored, they are replaced by vices such as selfishness, corruption, greed, and exploitation.
ในกระบวนการช่วยเยียวยาพระแม่ธรณี เราก็ช่วยรักษาพวกเรากันเองด้วย
In the process of helping the earth to heal, we help ourselves.
จากประสพการณ์และการสังเกตของฉัน ฉันเชื่อว่า การทำลายพระแม่ธรณีทางกายภาพ ได้ส่งผลตกทอดมาถึงพวกเราเองด้วย หากพวกเราอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บาดเจ็บ—ที่ซึ่งน้ำถูกทำให้สกปรก อากาศเต็มไปด้วยควันและเขม่า อาหารถูกปนเปื้อนด้วยโลหะหนักและเศษพลาสติก หรือดินได้กลายเป็นฝุ่นไปหมด—มันย่อมทำร้ายเราด้วยการกัดกร่อนสุขภาพของพวกเรา และสร้างบาดแผลบนเรือนกาย ในเรือนใจ/อารมณ์ และถึงขั้นจิตวิญญาณของพวกเรา ในการสร้างความเสื่อมโทรมแก่สิ่งแวดล้อม เราได้สร้างความเสื่อมโทรมแก่พวกเรากันเองด้วย
Through my experiences and observations, I have come to believe that the physical destruction of the earth extends to us, too. If we live in an environment that's wounded—where the water is polluted, the air is filled with soot and fumes, the food is contaminated with heavy metals and plastic residues, or the soil is practically dust—it hurts us, chipping away at our health and creating injuries at a physical, psychological, and spiritual level. In degrading the environment, therefore, we degrade ourselves.
ในทางกลับกัน ซึ่งก็เป็นจริงเช่นกัน ในกระบวนการช่วยเยียวยาพระแม่ธรณี ก็เป็นการช่วยพวกเรากันเองด้วย หากเรามองเห็นว่า พระแม่ธรณีกำลังเลือดตกยางออกจากการสูญเสียหน้าดิน สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หรือเกิดภาวะความแห้งแล้ง และกลายสภาพเป็นทะเลทราย และหากพวกเราช่วยกันกู้คืนสิ่งที่สูญหายไปแล้ว—เช่น ด้วยการฟื้นฟูป่าเสี่อมโทรม—ผืนพิภพนี้ ก็จะช่วยพวกเราให้เยียวยาตัวเองได้ และแท้จริง อยู่รอดได้ เมื่อเราสามารถกินอาหารที่ถูกอนามัยกว่า และไม่มีสารพิษปนเปื้อน เมื่อพวกเรามีอากาศสะอาดหายใจและน้ำสะอาดดื่ม เมื่อแผ่นดินสามารถผลิตพืชผักหรือธัญญพืชอันอุดมสมบูรณ์ ความป่วยของเรา และลีลาชีวิตที่ไม่ถูกอนามัยของเรา ก็จะได้รับการเยียวยารักษา คุณค่าเดียวกันนี้ ที่เราใช้ในงานบริการเพื่อให้เติมเต็มคืนแก่พระแม่ธรณี จะมีผลต่อพวกเราด้วยเช่นกัน พวกเราสามารถจะรักตัวเองได้ เช่นเดียวกับเรารักพระแม่ธรณี รู้สึกปิติยินดีกับความเป็นตัวเรา แม้ในขณะที่เรากำลังรู้สึกปิติยินดีกับความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดิน รู้สึกดีขึ้นกับตัวเอง แม้ในขณะที่เรากำลังใช้การเสริมพลังอำนาจตัวเองเพื่อปรับปรุงผืนแผ่นดิน เราให้บริการแก่ตัวเอง แม้ในขณะที่เรากำลังทำงานด้วยจิตอาสาต่อผืนแผ่นดิน
The reverse is also true. In the process of helping the earth to heal, we help ourselves. If we see the earth bleeding from the loss of topsoil, biodiversity, or drought and desertification, and if we help reclaim or save what is lost—for instance, through regeneration of degraded forests—the planet will help us in our self-healing and indeed survival. When we can eat healthier, nonadulterated food; when we breathe clean air and drink clean water; when the soil can produce an abundance of vegetables or grains, our own sicknesses and unhealthy lifestyles become healed. The same values we employ in the service of the earth's replenishment work on us, too. We can love ourselves as we love the earth; feel grateful for who we are, even as we are grateful for the earth's bounty; better ourselves, even as we use that self-empowerment to improve the earth; offer service to ourselves, even as we practice volunteerism for the earth.
มนุษย์มีมโนสำนึกที่ทำให้เราสามารถชื่นชมความรัก ความงาม ความสร้างสรรค์ และ นวัตกรรม หรือ เศร้าโศกเมื่อปราศจากสิ่งเหล่านี้ ถึงขั้นที่พวกเราสามารถออกไปไกลเกินตัวของเราเองและสัญชาติญาณชีวภาพปกติ พวกเราสามารถจะสัมผัสถึงความหมายของการเป็นมนุษย์ ซึ่งแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ พวกเราสามารถชื่นชมกับความอ่อนโยนของหยาดน้ำค้าง หรือดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน กระแสน้ำที่ไหลกระทบกรวดหิน หรือ ความสง่างามของช้าง ความเปราะบางของผีเสื้อ หรือ ทุ่งข้าวสาลี หรือ ใบไม้ไหวในสายลม การตอบสนองเชิงสุนทรีย์เหล่านี้ ชอบแล้วด้วยตัวของมันเอง หรือในฐานะที่เป็นปฏิกิริยาต่อโลกธรรมชาติ พวกมันก็เป็นแรงบันดาลใจให้เราสามารถสัมผัสถึงความอัศจรรย์และความงามที่ ในทางกลับกัน นำพาให้เราสัมผัสถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้
Human beings have a consciousness by which we can appreciate love, beauty, creativity, and innovation or mourn the lack thereof. To the extent that we can go beyond ourselves and ordinary biological instincts, we can experience what it means to be human and therefore different from other animals. We can appreciate the delicacy of dew or a flower in bloom, water as it runs over the pebbles or the majesty of an elephant, the fragility of the butterfly or a field of wheat or leaves blowing in the wind. Such aesthetic responses are valid in their own right, and as reactions to the natural world they can inspire in us a sense of wonder and beauty that in turn encourages a sense of the divine.
มโนสำนึกนั้น ตระหนักว่า ในขณะที่ต้นไม้ ป่า หรือภูเขา โดยตัวมันเองอาจไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ประการใด แต่การยังชีพอยู่ของมันก็ได้ให้บริการที่ธำรงชีวิตทั้งมวล—อ๊อกซิเจนสำหรับหายใจ น้ำสำหรับดื่ม—ล้วนทำให้การดำรงชีพเป็นไปได้ และดังนั้น จึงสมควรได้รับความเคารพและสักการะจากพวกเรา จากมุมมองนี้ สิ่งแวดล้อมกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะว่า การทำลายสิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ย่อมเป็นการทำลายมวลชีวิตเองด้วย
That consciousness acknowledges that while a certain tree, forest, or mountain itself may not be holy, the life-sustaining services it provides—the oxygen we breathe, the water we drink—are what make existence possible, and so deserve our respect and veneration. From this point of view, the environment becomes sacred, because to destroy what is essential to life is to destroy life itself.
วันการิ มาธาย เป็นนักกิจกรรมชาวเคนยา และผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2004 (พ.ศ. 2547) เธอได้ก่อตั้ง ขบวนการแถบคาดเขียว (Green Belt Movement) ซึ่งได้อบรมผู้หญิงทั่วอัฟริกาให้ต่อสู้กับการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนหนึ่งด้วยการปลูกต้นไม้กว่า 40 ล้านต้น และได้เขียนหนังสือ ความท้าทายสำหรับอัฟริกา, ไม่ยอมสยบ: บันทึกความจำ, ขบวนการแถบคาดเขียว: แบ่งปันวิธีการและประสพการณ์ และ เติมเต็มคืนพระแม่ธรณี: คุณค่าเชิงจิตวิญญาณเพื่อการเยียวยาพวกเราและโลก
Wangari Maathai (1940-2011) was a Kenyan activist and 2004 Nobel Peace Prize winner. She the founded the Green Belt Movement, which has trained women throughout Africa to combat deforestation, in part through the planting of more than 40 million trees, and authored The Challenge for Africa, Unbowed: A Memoir, The Green Belt Movement: Sharing the Approach and the Experience, and Replenishing the Earth: Spiritual Values for Healing Ourselves and the World, from which this piece is excerpted.
9-28-11/ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น