วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

11 รำลึก 9/11 : “อเมริกาก้าวหน้า” ต่อต้าน “จักรวรรดิ์นิยมสหรัฐฯ”


 
ประสาทหลอนจักรวรรดิ์: เมินบทเรียนของ 9/11
โดย โรเบิร์ต เจนเซน
9 กันยายน 2011 ใน CommonDreams.org
Imperial Delusions: Ignoring the Lessons of 9/11
Published on Friday, September 9, 2011 by CommonDreams.org

สิบปีก่อน ผู้วิพากษ์วิจารณ์อเมริกาที่วิ่งแล่นอย่างคลุ้มคลั่งสู่สงคราม พูดถูก แต่มันไม่มีความหมายอะไร
Ten years ago, critics of America’s mad rush to war were right, but it didn’t matter.

ภายในหลายชั่วโมงหลังจากผู้ก่อการร้ายจู่โจม 9/11 มันชัดเจนอยู่แล้วที่ผู้นำทางการเมืองจะใช้การจู่โจมนี้ สร้างความชอบธรรมให้กับการทำสงครามในเอเชียกลางและตะวันออกกลาง  และภายในหลายชั่วโมง พวกเราที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายนั้น ก็เริ่มนำเสนอข้อโต้แย้งทั้งเชิงหลักการและเชิงปฏิบัติใช้ได้จริง เพื่อต่อต้านสงครามอหังการ์ ที่หมายเป็นการโต้ตอบอาชญากรรม
Within hours after the 9/11 terrorist attacks, it was clear that political leaders were going to use the attacks to justify war in Central Asia and the Middle East. And within hours, those of us critical of that policy began to offer principled and practical arguments against aggressive war as a response to the crimes.

มันไม่มีความหมาย เพราะทั้งสาธารณชนและผู้วางนโยบายต่างไม่สนใจในข้อถกเถียงในหลักการหรือสิ่งที่ทำได้จริง  ประชาชนต้องการแก้แค้น และนักนโยบายก็ฉวยโอกาสนี้แสดงแสนยานุภาพของกองทัพสหรัฐฯ   ความคิดเชิงวิพากษ์ได้กลายเป็นเครื่องหมายไม่ใช่ของพลเมืองที่มีจิตสำนึก แต่เป็นความไม่จงรักภักดีที่อันตราย
It didn’t matter because neither the public nor policymakers were interested in principled or practical arguments. People wanted revenge, and the policymakers seized the opportunity to use U.S. military power. Critical thinking became a mark not of conscientious citizenship but of dangerous disloyalty.

พวกเราเป็นฝ่ายถูก แต่สงครามก็เกิดขึ้น
We were right, but the wars came.

สมรรถนะในการทำลายล้างของกองทัพสหรัฐฯ หมายถึง ชัยชนะ ด่วน ที่ด่วนพอๆ กับภาพลวงตาที่ได้ถูกพิสูจน์แล้ว   ในขณะที่สงครามในอัฟกานิสถานและอิรัคได้ลากถูกันไป มันก็ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ฝ่ายคัดค้านตั้งแต่ต้นเป็นฝ่ายถูกสงครามไม่เพียงแต่ผิดกฎหมาย (ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือรัฐธรรมนูญ) และไร้ศีลธรรม (ต่อสู้ด้วยวิธีที่ประกันว่าจะมีพลเรือนตายและถูกโยกย้ายมหาศาล) แต่ยังคงเป็นความล้มเหลวไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรใดก็ตาม  กองกำลังสหรัฐฯ ได้สังหารผู้คนที่เล็งเป้ามาที่สหรัฐฯ และได้ทำลายระบบสาธารณูปโภคและองค์กรของพวกเขา   แต่พอหนึ่งทศวรรษผ่านไป เรากลับอ่อนแอลง และความรู้สึกปลอดภัยของเราก็เปราะบางยิ่งขึ้น   ความสามารถในการครอบงำด้วยกำลังทหารได้พิสูจน์ว่า มันทั้งไม่เพียงพอ และอยู่ได้เพียงชั่วคราว ดังที่ได้พยากรณ์กันไว้
The destructive capacity of the U.S. military meant quick “victories” that just as quickly proved illusory. As the wars in Afghanistan and Iraq dragged on, it became clearer that the position staked out by early opponents was correct -- the wars not only were illegal (conforming to neither international nor constitutional law) and immoral (fought in ways that guaranteed large-scale civilian casualties and displacement), but a failure on any pragmatic criteria. The U.S. military has killed some of the people who were targeting the United States and destroyed some of their infrastructure and organization, but a decade later we are weaker and our sense of safety more fragile. The ability to dominate militarily proved to be both inadequate and transitory, as predicted.

10 ปีให้หลัง พวกเราก็ยังถูกอยู่ และมันก็ยังไม่มีความหมาย
Ten years later, we are still right and it still doesn’t matter.

มีเหตุผลง่ายๆ ที่เป็นเช่นนั้น: จักรวรรดิ์ไม่ค่อยรู้จักเรียนรู้ เพราะอำนาจมักจะทำให้สมรรถนะของคนในการคิดเชิงวิพากษ์สะท้อนตัวเองเป็นสนิม   ในขณะก้าวขึ้นสู่อำนาจ  จักรวรรดิ์เชื่อว่าไม่มีใครจะอยู่ล้มพวกตนได้   ในขณะที่ถอยลงจากอำนาจ พวกเขาก็จะกอดตำนานเก่าๆ ที่เป็นความทรงจำอดีตที่รุ่งเรืองไว้แน่นอย่างสิ้นหวัง
There’s a simple reason for this: Empires rarely learn in time, because power tends to dull people’s capacity for critical self-reflection. While ascending to power, empires believe themselves to be invincible. While declining in power, they cling desperately to old myths of remembered glory.

ทุกวันนี้ สหรัฐฯ ล้มละลายทางศีลธรรมและจิตวิญญาณแตกสลาย  ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ว่าเราได้เถลไถลออกจากรากฐานของหลักการของเรา แต่เพราะว่า เรายังคงทำงานในหลักการเหล่านั้นความเชื่อหลอกหลอนเกี่ยวกับพรหมลิขิตของลัทธิยกเว้นอเมริกัน (อภิสิทธิ์) นั่นคือ สิทธิในการหยิบฉวยทรัพยากรโลกมากกว่าส่วนที่พึงมีพึงได้ ด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่ที่จำเป็นเพื่อให้ได้มา   ในขณะที่สหรัฐฯ เติบใหญ่ในความมั่งคั่งและอำนาจ   ความอุดมสมบูรณ์สำหรับผู้ถูกเลือกนี้ ก็ได้มาด้วยต้นทุนแห่งความทุกข์ระทมของชีวิตมากหลาย
Today the United States is morally bankrupt and spiritually broken. The problem is not that we have strayed from our founding principles, but that we are still operating on those principles -- delusional notions about manifest destiny, American exceptionalism, the right to take more than our share of the world’s resources by whatever means necessary. As the United States grew in wealth and power, bounty for the chosen came at the cost of misery for the many.

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่สหรัฐฯ ได้กลายเป็นมหาอำนาจไม่เพียงแต่ในทวีปอเมริกา แต่ในเวทีโลกด้วย  หลักการนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย   นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้หาทางที่จะทำให้แสนยานุภาพของสหรัฐฯ ยื่นออกไปไกลและล้วงลงลึกยิ่งขึ้นรอบโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตะวันออกกลางที่ร่ำรวยน้ำมันและเป็นจุดยุทธศาสตร์   สหรัฐฯ จับตาเพ่งเล็งพร้อมเสมอที่จะสับรางโค่นสังคมโลกที่สามใดที่พยายามจะพัฒนาตัวเองอย่างอิสระนอกขอบข่ายของสหรัฐฯ  และตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้รัฐอื่นๆ ที่มีอำนาจสามารถท้าทายการครอบงำของสหรัฐฯ ได้
After World War II, as the United States became the dominant power not just in the Americas but on the world stage, the principles didn’t change. U.S. foreign policy sought to deepen and extend U.S. power around the world, especially in the energy-rich and strategically crucial Middle East; always with an eye on derailing any Third World societies’ attempts to pursue a course of independent development outside the U.S. sphere; and containing the possibility of challenges to U.S. dominance from other powerful states.

บทสรุปดังกล่าวฟังดูเหมือนอาการคลุ้มคลั่งสุดเหวี่ยงไหม?   ลองย้อนดูคำแถลงการณ์ของ ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ในปี 1980 ความพยายามโดยกองกำลังภายนอกเพื่อควบคุมอ่าวเปอร์เซีย จะถูกมองว่าเป็นการจู่โจมผลประโยชน์ที่สำคัญยิ่งของสหรัฐอเมริกา และการจู่โจมเช่นนี้ จะต้องถูกขับไล่ด้วยวิธีการที่จำเป็น รวมทั้งการใช้กำลังทหาร  ทั้งดีโมแครตและรีพับลิกัน ก่อนและหลังจากนั้น ล้วนทำตามนโยบายเดียวกัน
Does that summary sound like radical hysteria? Recall this statement from President Jimmy Carter’s 1980 State of the Union address: “An attempt by any outside force to gain control of the Persian Gulf region will be regarded as an assault on the vital interests of the United States of America, and such an assault will be repelled by any means necessary, including military force.” Democrats and Republicans, before and after, followed the same policy.

รัฐบาลจอร์ช ดับเบิลยู. บุช ได้เสนอลัทธิคลั่งอุดมการณ์อย่างเข้มข้นชนิดหนึ่ง  แต่วิถีที่นำโดยรัฐบาลโอบามา ก็ยังคงเหมือนกัน  ลองฟังแถลงการณ์ในปี 2006 ของ โรเบิร์ต เกตส์ ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการความมั่นคงในรัฐบาลทั้งสอง ผมคิดว่า ข้อความที่เราส่งออกไปถึงทุกคน ไม่ใช่แค่อิหร่าน บอกว่า สหรัฐฯ จะอยู่ในแถบโลกส่วนนี้อย่างถาวร  พวกเราได้อยู่ที่นี่มานานแล้ว  พวกเราจะอยู่ที่นี่ต่อไปอีกยาวนาน และทุกคนพึงจำไว้ให้ดีทั้งมิตรของเราและผู้ที่อาจคิดว่าตนเป็นศัตรูของเรา
The George W. Bush administration offered a particularly intense ideological fanaticism, but the course charted by the Obama administration is much the same. Consider this 2006 statement by Robert Gates, who served as Secretary of Defense in both administrations: “I think the message that we are sending to everyone, not just Iran, is that the United States is an enduring presence in this part of the world. We have been here for a long time. We will be here for a long time and everybody needs to remember that -- both our friends and those who might consider themselves our adversaries.”

หากเจ้านายใหม่พูดเหมือนเจ้านายเก่า มันไม่ใช่เพียงเพราะปัญหาของผู้นำเลว แต่ระบบเลว    นั่นคือเหตุผลว่าทำไม เสียงของนักวิพากษ์สงครามทุกวันนี้ จึงฟังคล้ายกับเสียงวิพากษ์สงครามในอดีต  นี่เป็นคำประเมินของ Martin Luther King, Jr. ต่อสงครามจักรวรรดิ์ในสมัยของเขา  ไม่มีใครที่มีความห่วงใยต่อศักดิ์ศรีและชีวิตของอเมริกาทุกวันนี้ จะสามารถเมินเฉยต่อสงครามปัจจุบัน  หากวิญญาณของอเมริกาถูกวางยาพิษหมดสิ้น บางส่วนของรายงานการชันสูตรศพจะต้องอ่านว่า: เวียดนาม   มันจะไม่มีทางปลอดภัยได้ ตราบเท่าที่มันทำลายล้างความหวังที่ลึกล้ำที่สุดของมนุษย์ในโลกทั้งผอง
If the new boss sounds a lot like the old boss, it’s because the problem isn’t just bad leaders but a bad system. That’s why a critique of today’s wars sounds a lot like critiques of wars past. Here’s Martin Luther King, Jr.’s assessment of the imperial war of his time: “[N]o one who has any concern for the integrity and life of America today can ignore the present war. If America’s soul becomes totally poisoned, part of the autopsy must read: Vietnam. It can never be saved so long as it destroys the deepest hopes of men the world over.”

รายงานการชันสูตรศพของพวกเราจะอ่าน สงครามโลกต่อผู้ก่อการร้าย ไหม?
Will our autopsy report read “global war on terror”?

ฟังดูแข็งกร้าวอยู่  และก็อยากแย้งว่า เราควรงดเว้นการโต้วาทีเชิงการเมืองในวาระครบรอบ 10 ปี ของ 9/11 เพื่อให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตและเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก   ผมยินดีที่จะปฏิบัติตาม หากกองเชียร์ของจักรวรรดิ์สหรัฐฯ จะงดเว้นจากการใช้วันดังกล่าว สร้างความชอบธรรมให้แก่สงครามแห่งความอหังการ์ที่ไล่ตาม 9/11   แต่ด้วยเหตุการณ์ในทศวรรษที่ผ่านมา มันไม่มีทางที่จะเอาการเมืองออกไปให้พ้นจากการรำลึกครั้งนี้
That sounds harsh, and it’s tempting to argue that we should refrain from political debate on the 9/11 anniversary to honor those who died and to respect those who lost loved ones. I would be willing to do that if the cheerleaders for the U.S. empire would refrain from using the day to justify the wars of aggression that followed 9/11. But given the events of the past decade, there is no way to take the politics out of the anniversary.

เราต้องใช้เวลาในวัน 9/11 เพื่อรำลึกถึงเกือบ 3,000 ชีวิตที่ตายลงในวันนั้น  แต่ในฐานะพลเรือนผู้รับผิดชอบ เราควรจะเผชิญหน้ากับความจริงที่แข็งกร้าวด้วย:  ในขณะที่ลัทธิก่อการร้ายของบุคคลและกลุ่มคลั่งไคล้ เป็นภัยคุกคามที่หนักหน่วง   ความหายนะที่ยิ่งใหญ่กว่าได้ก่อเกิดโดยรัฐ-ชาติของพวกเราเอง ที่คลั่งไคล้ยึดติดอยู่ในความเชื่อว่าตัวเองเป็นจักรวรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่
We should take time on 9/11 to remember the nearly 3,000 victims who died that day, but as responsible citizens, we also should face a harsh reality: While the terrorism of fanatical individuals and groups is a serious threat, much greater damage has been done by our nation-state caught up in its own fanatical notions of imperial greatness.

นี่เป็นเหตุที่ทำไม ผมจึงไม่มีความพอใจในการเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อต้านสงคราม/ต่อต้านจักรวรรดิ์   การเป็นฝ่ายถูกไม่ได้มีความหมายอย่างไรเลยหากเราล้มเหลวในการสร้างนโยบายต่างประเทศที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น และดำเนินการโดยประเทศที่รู้จักถ่อมตนมากขึ้น
That’s why I feel no satisfaction in being part of the anti-war/anti-empire movement. Being right means nothing if we failed to create a more just foreign policy conducted by a more humble nation.

10 ปีให้หลัง ผมรู้สึกอย่างเดียวกันกับที่รู้สึกเกี่ยวกับ 9/11--ความเศร้าสลดสุดพรรณาถึงความตายที่ไร้สาระในวันนั้น และในวันข้างหน้าที่จะมาถึง
Ten years later, I feel the same thing that I felt on 9/11 -- an indescribable grief over the senseless death of that day and of days to come.


โรเบิร์ต เจนเซน เป็นศาสตราจารย์วารสารศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน และกรรมการบอร์ดของ Third Coast Activist Resource Center   หนังสือล่าสุดของเขา คือ ออกไปให้พ้น: สื่อและศิลปะลามกและจุดจบของความเป็นชายชาตรี  เจนเซนเป็นผู้เขียน หัวใจของความเป็นผิวขาว: ชนชาติ ชนชาตินิยม และอภิสิทธิ์ผิวขาว และ พลเรือนและจักรวรรดิ์: การดิ้นรนเพื่อทวงคืนมนุษยธรรมของเรา และ เขียนแย้ง: เอาความคิดประเภทหัวรุนแรงจากชายขอบใส่กระแสหลัก

9-10-11/ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น