ฉลองตำนาน วันการิ มาธาย
วันการิ มาธาย (พ.ศ. 2483-2554) ผลงาน: ขบวนการแถบคาดเขียว
Wangari Maathai (1940-2011). Credit: The Green Belt Movement.
September 26th, 2011
IPS ขอร่วมกับประชาคมนานาชาติในการไว้อาลัยต่อการสูญเสีย วันการิ มาธาย นักสู้ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อสันติภาพและสิ่งแวดล้อม เราได้รับเกียรติที่ได้เธอเป็นส่วนหนึ่งของผู้เขียนบทความสำหรับ “บริการคอลัมนิสต์” ของ IPS ในช่วงปีที่ผ่านมา “งานริเริ่มของสตรีผู้ได้รับรางวัลโนเบล”, ภาคีที่มีค่าของเรา, ได้ช่วยให้เราเชื่อมต่อกับงานเขียนมากมายของเธอ และกับวงพี่สาวน้องสาวผู้ได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกับเธอ
IPS joins the international community in mourning the loss of Wangari Maathai, a tireless fighter for peace and the environment. We were honoured to have her as a contributor to our IPS Columnist Service. In recent years the Nobel Women’s Initiative, our valued partner, helped to connect us to more of her writings and those of her sister Laureates.
ด้วยการให้เธอได้ใช้ช่องทาง “บริการคอลัมนิสต์” แสดงความเห็นออกสู่สื่อกระแสหลักได้ IPS ได้นำเสนอผลงานของ ศาสตราจารย์มาธาย อย่างสม่ำเสมอ ครอบคลุมประเด็น เคนยา สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และประชาสังคม
As well as giving her a channel through the Columnist Service to reach the mainstream media with her opinions, Professor Maathai was regularly featured in IPS coverage of issues including Kenya, human rights, the environment and civil society.
เราได้ค้นในคลังเอกสารออนไลน์ของเราที่ย้อนหลังไปถึงปี 1995 (พ.ศ. 2538) และได้เลือกหัวข้อข่าวที่สะท้อนถึงชีวิตและผลงานของ ศ.มาธาย ดังที่รายงานในเครือข่าย IPS
We looked back in our online archive that stretches back to 1995 and picked out some of the highlights of Professor Maathai’s life and activism, as reported by the IPS network:
1995 | 2538 นักกิจกรรมรวมตัวกล่าวโทษระบบการปกครองในเคนยาและไนจีเรีย |
1997 | 2540 วันการิ มาธาย ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี |
1998 | 2541 การรณรงค์ของประชาชนต่อต้านการ “ฉกแย่งที่ดิน” |
1999 | 2542 หัวหน้า ยูเอ็น กล่าวโทษการทุบตีนักนิเวศน์ |
2000 | 2543 ต่อสู้ความยากจนด้วยการมีส่วนร่วมของคนจน |
2001 | 2544 รัฐบาลถูกกล่าวหาว่ายุยงให้เกิดความรุนแรงระหว่างชนเผ่า |
2004 | 2547 นักสตรีนิยมและแชมเปี้ยนสิ่งแวดล้อมอัฟริกัน ชนะรางวัลสันติภาพ |
2005 | 2548 ธนาคารโลกเร่งรัดให้ทำ “บัญชีเขียว” |
2007 | 2550 การประชุมเวทีสังคมโลก—นักกิจกรรมมุ่งมั่นที่จะต่อกรกับความท้าทายของโลกาภิวัตน์ |
2008 | 2551 เปิดตัวกองทุนใหม่ สำหรับลุ่มน้ำคองโก |
2010 | 2553 คำถาม และคำตอบ ‘ผู้นำอัฟริกันที่แท้จริง ไม่มีอะไรต้องหวาดหวั่นจาก ICC‘ |
2011 | 2554 ความหลากหลายทางชีวภาพ--การต่อสู้เพื่ออนาคตเขียว |
คำชื่นชมโดย เคอรีย์ เคนเนดี
วันการิ มาธาย : ‘สตรีทรงพลัง‘ ผู้ลั่นสัจธรรมต่อผู้มีอำนาจ
An appreciation by Kerry Kennedy:
Wangari Maathai: A 'Mighty Woman' Who Spoke Truth to Power
By Kerry Kennedy*
นิวยอร์ค, 26 กันยายน 2011 – เมื่อคืนนี้ วันการิ มาธาย สตรีอัฟริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลโบเบลสาขาสันติภาพ ได้ถึงแก่มรณกรรม คนส่วนใหญ่คิดว่า คุณมาธาย เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ ในความเป็นจริง กิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมของเธอเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่เป็นองค์ครวมในการเสริมพลังอำนาจแก่ผู้หญิง ในการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และในการปกป้องพิทักษ์ผืนพิภพ
NEW YORK, Sep 26, 2011 (IPS) - Last night, Wangari Maathai, the first African woman to win the Nobel Peace Prize, died. Most people think of Ms. Maathai as an environmentalist, planting trees. In reality, her environmental activism was part of a holistic approach to empowering women, advocating for democracy, and protecting the earth.
วันการิ มาธาย เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเรียกร้องสิทธิสตรีแนวหน้าสุดของเคนยา เธอเถียงว่า ผู้หญิงมีความเชื่อมโยงพิเศษกับสิ่งแวดล้อม และว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้หญิง ได้ทวีความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
Wangari Maathai was Kenya's foremost environmentalist and women's rights advocate. She contended that women have a unique connection to the environment and that human rights violations against women exacerbate environmental degradation.
ทั่วทั้งอัฟริกา และในบริเวณส่วนใหญ่ของโลก ผู้หญิงมีความรับผิดชอบในการไถนา ตัดสินใจว่าจะเพาะปลูกอะไร บำรุงดูแลการงอกเงยของพืชไร่ และเก็บเกี่ยวอาหาร พวกเธอเป็นคนแรกที่ตื่นตัวกับอันตรายของการทำลายสิ่งแวดล้อม ที่ทำร้ายผลผลิตเกษตร หากบ่อน้ำแห้งลง พวกเธอเป็นคนที่มีความห่วงกังวลมากที่สุด ในการแสวงหาแหล่งน้ำใหม่ และเป็นคนที่ต้องเดินไกลยิ่งขึ้นเพื่อไปตักน้ำมา
Throughout Africa, as in much of the world, women are responsible for tilling the fields, deciding what to plant, nurturing the crops, and harvesting the food. They are the first to be aware of environmental damage that harms agricultural production. If the well goes dry, they are the ones who are most concerned about finding new sources of water and the ones who must walk further to fetch it.
ในฐานะมารดา ผู้หญิงมักเป็นคนแรกที่รู้ เมื่ออาหารที่พวกเธอนำมาเลี้ยงลูกๆ ว่าได้ถูกปนเปื้อนด้วยสารพิษหรือสิ่งไม่บริสุทธิ์ เพราะพวกเธอเห็นได้จากน้ำตาของลูกๆ และได้ยินจากเสียงร้องไห้ของทารก
As mothers, women are often the first to know when the food they feed their children is tainted with pollutants or impurities, because they can see it in the tears of their children and hear it in their babies' cries.
ในการรับรู้ปัญหานี้ คุณมาธาย ได้ก่อตั้ง “ขบวนการแถบคาดเขียว” ในวันโลก ปี พ.ศ. 2520 เธอได้เปิดตัวการรณรงค์หญิงเดี่ยว เพื่อฟื้นผืนป่าเคนยา เธอหวังว่าจะช่วยหยุดการชะล้างหน้าดิน และเป็นการสร้างแหล่งท่อนซุงสำหรับสร้างบ้านและไม้ฟืนสำหรับการหุงหาอาหาร เธอได้แจกเมล็ดให้หญิงชนบท และจัดตั้งระบบจูงใจเพื่อให้เป็นรางวัลแก่ต้นไม้ทุกต้นที่รอดตาย มีชีวิตเติบโตต่อไปได้
In recognition of this, Ms. Maathai founded the "Green Belt Movement". On Earth Day, 1977, she launched a one-woman campaign to reforest Kenya. She hoped to help stop soil erosion and to provide a source of lumber for homes and firewood for cooking. She distributed seedlings to rural women and set up an incentive system for each seedling that survived.
เธอได้ชักจูงให้ชาวนาที่ 70% เป็นผู้หญิง ให้ปลูก “แถบคาดเขียว” ที่ได้รับการคุ้มครองดูแล เพื่อหยุดยั้งการสึกกร่อนชะล้างหน้าดิน ให้ร่มเงากันแดด และกลายเป็นแหล่งท่อนซุงและไม้ฟืน
She encouraged farmers, 70 percent of them women, to plant protective "green belts" to stop soil erosion, provide shade, and become a source of timber and fuel.
ขบวนการแถบคาดเขียว ได้ปลูกต้นไม้มากกว่า 30 ล้านต้นในอัฟริกา อันเป็นการช่วยเหลือผู้หญิง 900,000 คน ขบวนการแถบคาดเขียวได้ขยายไปทั่วโลก จากอัฟริกา สู่สหรัฐฯ สู่ไฮติ และที่ห่างไกลออกไป
The Green Belt Movement has planted more than 30 million trees in Africa, helping 900,000 women. The Green Belt Movement has spread throughout the world, from Africa, to the United States, to Haiti, and beyond.
มันเป็นความคิดง่ายๆ แต่ประสบความสำเร็จใหญ่หลวงทีเดียว
It was a simple concept and it was vastly successful.
เธอได้ชนะรางวัลอัฟริกา สำหรับการช่วยหยุดยั้งความหิวโหย รัฐบาลเคนยาได้ยกย่องเธอให้เป็นพลเมืองตัวอย่างชั้นนำคนหนึ่งของประเทศ หนังสือพิมพ์และองค์กรท้องถิ่นได้ร่วมสรรเสริญเธอด้วย
She won the Africa Prize for helping to stop hunger. The Kenyan government heralded her as one of the country's most exemplary citizens. Newspapers and local organisations lauded her.
ความมุ่งมั่นของเธอถูกทดสอบ เมื่อประธานาธิบดี เดเนียล อะเรป โมอิ ตัดสินใจว่าจะก่อสร้างอาคารสูง 60 ชั้น ในใจกลางสวนสาธารณะใหญ่ที่สุดของไนโรบี อาคารสำนักงานนี้คาดว่าจะเป็นอนุสาวรีย์สำหรับโมอิ และตามแผน ตรงทางเข้าจะมีรูปปั้นสูงเท่าอาคารสองชั้นของประธานาธิบดีที่กำลังย่างก้าว, ตามแบบเลนิน, เข้าสู่อนาคต
Her commitment was tested when President Daniel arap Moi decided to erect a 60-story skyscraper in the middle of Nairobi's largest park. The office building was to be a monument to Moi, and plans called for the entranceway to be graced by a two-story statue of the president striding, Leninesque, into the future.
เมื่อคุณมาธาย ประณามแผนดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการปูลาดพื้นในบริเวณพื้นที่สีเขียวเพียงแห่งเดียวสำหรับคนยากจนในไนโรบีหลายหมื่นคน เจ้าหน้าที่สั่งให้เธอหุบปาก เมื่อคุณมาธาย เดินหน้านำการรณรงค์ของเธอสู่สาธารณะ เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงมาหาเธอที่สำนักงานและบ้าน ข่มขู่ว่าจะจับกุมเธอ เมื่อเธอปฏิเสธที่จะเงียบเสียง เธอก็ถูกคุกคาม รังควานโดยกระบวนการที่รัฐบาลเป็นผู้ประสานสั่งการ
When Ms. Maathai condemned the plans, which would have paved the only green space for tens of thousands of Nairobi's poor, officials told her to stop. When Ms. Maathai took her campaign public, security forces came to her office and home, threatening her with arrest. When she refused to be silenced, she was subjected to a harassment campaign orchestrated by the government.
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ปรักปรำ คุณมาธาย และเรียกองค์กรของเธอว่าเป็น “กลุ่มหญิงหย่าสามี” หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลขุดคุ้ย ตั้งคำถามถึงกิจกรรมทางเพศของเธอในอดีต และกระจายข่าวลือว่าเธอเป็นเลสเบี้ยน ตำรวจได้เข้าจับกุมและซักไซ้ไต่ถามเธอ โดยไม่มีหมายจับหรือข้อกล่าวหา
Members of Parliament denounced Ms. Maathai and called her organisation "a bunch of divorcees". The government-run newspaper questioned her past sexual activities, spread rumours that she was a lesbian, and police detained her and interrogated her, with no warrant and no charges.
คุณมาธายจึงจัดกระบวนกลุ่มหญิงสูงอายุออกประท้วงในสวนสาธารณะ ตำรวจดูแลความวุ่นวายได้เข้าก่อกวน ทำให้พวกเธอต้องอับอาย ทุบตี ใช้แก๊สน้ำตา และจับกุมคุณมาธายและพวก
Ms. Maathai then organised a demonstration of women elders in the park itself. Riot police harassed, humiliated, beat, tear gassed and arrested Ms. Maathai and her companions.
การแสดงออกอย่างไม่ยอมจำนนของคุณมาธาย ทำให้เธอต้องยืนเผชิญหน้ากับรัฐบาลทื่ทรงอำนาจ สูญเงินทองและการงาน แต่การประท้วงอย่างสันติที่เธอเป็นผู้นำในวันนั้น ได้กลายเป็นเสียงร้องให้กำลังใจแก่นักกิจกรรมผู้หญิง นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้นำประชาธิปไตย
That act of defiance cost Ms. Maathai her standing with an all- powerful government, her funding, and her job. But the peaceful protest she led that day became a rallying cry for women activists, environmentalists and democracy leaders.
ฉันได้พบกับ วันการิ มาธาย หลายเดือนก่อนหน้านั้น ในภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนที่เคนยา สำหรับศูนย์โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี (RFK) เพื่อสิทธิมนุษยชน เรากลายเป็นเพื่อนกันทันทีแต่นั้นมา เธอพูดอย่างเข้าถึงอารมณ์เรื่องงานของเธอกับหญิงชนบท และความยากลำบากที่พวกเธอต้องเผชิญด้วยรายได้น้อยนิด เหล่าสามีที่ไม่อยู่บ้าน รัฐบาลที่เป็นปรปักษ์ และความขาดแคลนในอาหาร น้ำ และไม้ฟืน คุณมาธายได้ทำงานกับพวกเธอด้วยการเริ่มปลูกต้นไม้
I had met Wangari Maathai months earlier, on a human rights mission to Kenya for the RFK Center for Human Rights, and we had become instant friends. She spoke passionately about her work with rural women, and the difficulties they faced with little income, absentee husbands, a hostile government, and few resources for food, water, and firewood. Ms. Maathai worked with them to start planting trees.
ศูนย์ RFK พร้อมกับกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนเล็กๆ ได้เรียกร้องให้ปล่อยตัว คุณมาธาย และให้ลงโทษตำรวจผู้ก่อกวนที่ได้กระทำการทารุณกรรมต่อนักประท้วงที่ดำเนินการอย่างสันติ หลังจากนั้น คุณมาธาย ก็ยังคงทำงานของเธอด้วยความมุ่งมั่นยิ่งขึ้นต่อไป ด้วยการใช้แนวทางการปลูกต้นไม้ และการจัดกระบวนองค์กรเป็นเครื่องมือสำหรับเสริมพลังอำนาจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง
Along with a small cadre of Kenyan human rights defenders, the RFK Center demanded Ms. Maathai's release and the prosecution of the riot police who had so brutalised peaceful protesters. More determined than ever, Ms. Maathai continued her work, using planting trees as an organising tool for women's empowerment and political participation.
ฉันภูมิใจที่จะกล่าวว่า คุณมาธาย เป็นหนึ่งในบรรดาวีรชนที่ฉันได้รวบรวมบันทึกไว้ในหนังสือเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน “พูดความจริงต่ออำนาจ”
I am proud to say that Ms. Maathai was among the heroes profiled in the book I wrote about human rights defenders, "Speak Truth to Power".
วันการิ มาธาย เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่ทรงพลัง สร้างสรรค์ ปราศจากความกลัว และเต็มไปด้วยความรัก พวกเราจะยังคงคิดถึงเธอ
Wangari Maathai was a mighty woman, creative, fearless and full of love. We will miss her.
*เคอรีย์ เคนเนดี เป็นประธานของ ศูนย์ โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี เพื่อความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
*Kerry Kennedy is President of the Robert F. Kennedy Center for Justice & Human Rights.
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น