286. Violence vs Non-violence :
America and Chile
A Time for Creative Suffering:
Martin Luther King’s Words in a Surveillance World
เวลาสำหรับความทุกข์สร้างสรรค์: คำพูดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในโลกสอดแนม
-แอเรียล ดอร์ฟแมน
So much has changed since that hot day in August 1963 when
Martin Luther King delivered his famous words from the steps of the Lincoln
Memorial. A black family lives in the White House and official segregation is a
thing of the past. Napalm no longer falls on the homes and people of Vietnam
and the president of that country has just visited the United States in order
to seek “a new relationship.”
โลกเปลี่ยนไปมากตั้งแต่วันร้อนระอุในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๖ เมื่อ
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เปล่งคำพูดที่เลื่องลือต่อมา จากขั้นบันไดของอนุสรณ์สถานลินคอล์น. (ปัจจุบัน)
ครอบครัวผิวดำหนึ่ง อาศัยอยู่ในทำเนียบขาว และ การแยกผิวอย่างเป็นทางการ
กลายเป็นเรื่องในอดีต. ระเบิดนาปาล์ม
ไม่ตกลงในบ้านและประชาชนเวียดนามอีกต่อไป และ
ประธานาธิบดีของประเทศนั้นก็เพิ่งมาเยือนสหรัฐฯ เพื่อแสวงหา “ความสัมพันธ์ใหม่”.
A health-care law has been passed that guarantees medical
services to many millions who, 50 years ago, were entirely outside the system.
Gays were then hiding their sexuality everywhere -- the Stonewall riots were
six years away -- and now the Supreme Court has recognized that same-sex
couples are entitled to federal benefits. Only the year before, Rachel Carson
had published her groundbreaking ecological classic Silent Spring, then
one solitary book. Today, there is a vigorous movement in the land and
across the Earth dedicated to stopping the extinction of our planet.
กฎหมายสุขภาพเพิ่งออกมา
ซึ่งให้หลักประกันการบริการแพทย์แก่ประชาชนหลายล้านคน ผู้, เมื่อ ๕๐ ปีก่อน, อยู่นอกระบบโดยสิ้นเชิง. ตอนนั้น
เกย์ก็ยังต้องแอบซ่อนเพศวิถีของตนทุกแห่งหน—จลาจล สโตนวอลล์ ก็อยู่ห่างออกไป ๖ ปี—และตอนนี้
ศาลสูงสุดได้ยอมรับให้คู่สมรสเพศเดียวกันได้รับผลประโยชน์จากรัฐบาลกลางด้วย. เพียงก่อนหน้าหนึ่งปี ตอนนั้น, เรเชล คาร์สัน
ได้ตีพิมพ์หนังสือคลาสสิคเชิงนิเวศสะท้านโลก ของเธอ “ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบกริบ”,
ตอนนั้น เป็นหนังสือโดดเดี่ยวหนึ่งเดียว.
ทุกวันนี้, มีการเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาทั่วแผ่นดิน และ ทั่วโลก
ที่อุทิศตัวให้กับการหยุดยั้งการล้างผลาญดับสูญพิภพของเรา.
In 1963, nuclear destruction threatened our species every
minute of the day and now, despite the proliferation of such weaponry to new
nations, we do not feel that tomorrow is likely to bring 10,000 Hiroshimas
raining down on humanity.
ในปี ๒๕๐๖, การทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขู่คุกคามสายพันธุ์ของเราอยู่ทุกนาทีแต่ละวัน และ ตอนนี้,
แม้จะมีการขยายกำลังยุทโธปกรณ์ในประเทศใหม่ๆ, เราไม่รู้สึกว่า พรุ่งนี้
อาจนำมาซึ่งห่าฝนเทียบได้กับ ๑๐,๐๐๐ ฮิโรชิมา ตกลงสู่มนุษยชาติ.
So much has changed -- and yet so little.
หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงมากมาย—แต่ก็ยังเปลี่ยนไปน้อยมาก.
The placards raised in last week’s commemorative march on
Washington told exactly that story: calls for ending the drone wars in foreign
lands; demands for jobs and equality; protests against mass incarceration,
restrictions on the right to an abortion, cuts to education, assaults upon the
workers of America, and the exploitation and persecution of immigrants;
warnings about the state-by-state spread of voter suppression laws. And chants
filling the air, rising above multiple images of Trayvon Martin, denouncing gun
violence and clamoring for banks to be taxed. Challenges to us all to occupy
every space available and return the country to the people.
แผงป้ายยกชูขึ้นในการเดินขบวนรำลึกเมื่อสัปดาห์ก่อน
สู่วอชิงตัน เล่าเรื่องเช่นนั้น: เรียกร้องให้ยุติสงครามลำบินติดอาวุธไร้คนขับในต่างแดน; เรียกร้องให้มีงานและความเท่าเทียม; ประท้วงคัดค้านการกักขังหมู่,
การจำกัดสิทธิ์ในการทำแท้ง, การตัดงบการศึกษา, การข่มเหงคนงานแห่งอเมริกา, และการกดขี่และประหัตประหารคนย้ายถิ่น; คำเตือนเกี่ยวกับการแพร่ขยายของกฎหมายปราบปรามผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในแต่ละรัฐ. และในอากาศที่เต็มไปด้วยเสียงร้องเป็นจังหวะ,
ลอยเหนือรูปภาพหลากหลายของ เทรวอน มาร์ติน, ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงด้วยปืน และ เสียงโห่ร้องกึกก้องให้เก็บภาษีธนาคาร. เป็นการท้าทายให้พวกเราทั้งหมด
ยึดพื้นที่ทุกหัวระแหงที่มีอยู่ และ คืนประเทศนี้แก่ประชาชน.
Yes, so much has changed -- and yet so little.
ใช่แล้ว, หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป—แต่แล้วก็เปลี่ยนแปลงน้อยมาก.
In my own life, as well.
ในชีวิตของผม, ก็เช่นเดียวกัน.
Words for an Assassination Moment ...
คำพูดสำหรับห้วงเวลาแห่งการลอบสังหาร
I wasn’t able to attend last week’s march, but I certainly
would have, if events of a personal nature hadn’t interfered. It was just a
matter of getting in a car with my wife, Angélica, and driving four hours from
our home in Durham, North Carolina.
ผมไม่สามารถเข้าร่วมในการเดินขบวนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว,
แต่ผมต้องเข้าร่วมแน่นอน, หากไม่ได้ถูกแทรกแซงด้วยเหตุการณ์ส่วนตัว. มันเป็นเพียงแค่การขึ้นรถกับภรรยาของผม,
แองเจลิกา, และขับรถ ๔ ชั่วโมงจากบ้านของเราในเดอร์แฮม, แครอไลนาเหนือ.
Fifty years ago, that would have been impossible. We
were living in distant Chile and didn’t even know that a march on Washington
was taking place. I was 21 years old at the time and, like so many of my
generation, entangled in the struggle to liberate Latin America. The
speech by King that was to influence my life so deeply did not even register
with me.
ห้าสิบปีก่อน, นั่นคงเป็นไปไม่ได้. เรายังอาศัยอยู่ในแดนไกลประเทศชิลี
และไม่รู้แม้กระทั่งว่ามีการเดินขบวนสู่วอชิงตันครั้งนั้น. ผมอายุ ๒๑ ตอนนั้น,
เช่นเดียวกับหลายคนรุ่นเดียวกัน, พัวพันอยู่กับการดิ้นรนต่อสู้เพื่อปลดแอกลาตินอเมริกา. สุนทรพจน์ของคิง ที่กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของผมอย่างลึกซึ้ง
ขณะนั้น ไม่ได้แม้แต่ลงทะเบียนในหัวของผม.
What I can remember with ferocious precision, however, is
the place, the date, and even the hour when, five years later, I had occasion
to listen for the first time to those “I have a dream” words, heard the
incantations of that melodious baritone, that emotional certainty of victory. I
can remember the occasion so clearly because it happened to be April 4, 1968,
the day Martin Luther King was killed, and ever since, his dream and his death
have been grievously conjoined in my mind as they still are, almost half a
century later.
แต่สิ่งที่ผมจำได้อย่างแม่นยำอย่างดุเดือด คือ สถานที่,
วันที่, และแม้แต่ชั่วโมงเมื่อ, ห้าปีต่อมา, ผมเผอิญได้ฟังเป็นครั้งแรกคำพูดที่ว่า
“ผมมีความฝันหนึ่ง”, ได้ยินเสียงแบริโทนดั่งเสียงสวดมนตร์ที่มีท่วงทำนองไพเราะ,
ที่เต็มไปด้วยอารมณ์แน่ใจในชัยชนะ.
ผมจำได้ถึงวาระนั้นได้อย่างแจ่มชัด เพราะ มันเกิดขึ้นในวันที่ ๔ เมษายน
๒๕๑๑, วันที่มาร์ติน ลูเธอร์ คิงถูกสังหาร, และ ตั้งแต่นั้นมา,
ความฝันของเขาและความตายของเขา
ได้เชื่อมต่อกันอย่างเศร้าสลดในจิตใจของผมอย่างที่มันเป็นอยู่ตอนนี้,
เกือบครึ่งศตวรรษให้หลัง.
I recall how I was sitting with Angélica and our
one-year-old child, Rodrigo, in a living room high up in the hills of Berkeley,
the university town in California. We had arrived from Chile barely a
week earlier. Our hosts, an American family who generously offered us temporary
lodgings while our apartment was being readied, had switched on the television.
We all solemnly watched the nightly news, probably delivered by Walter
Cronkite, the famed CBS anchorman. And there it was, the murder of Martin
Luther King in that Memphis hotel, and then came the first reports of riots all
over America and, finally, a long excerpt from his “I have a dream” speech.
ผมยังจำได้ว่า ผมนั่งอยู่กับแองเจลิกาและลูกน้อยหนึ่งขวบ,
ร็อดริโก, ในห้องนั่งเล่นที่อยู่สูงขึ้นไปในเนินเขาของเบอร์กลีย์,
เมืองมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย.
เราเพิ่งมาจากชิลีได้ยังไม่ครบสัปดาห์.
เจ้าภาพของเรา, ครอบครัวชาวอเมริกัน ผู้เอื้ออารี
ได้ให้ที่พักพิงชั่วคราวกับเรา ในขณะที่อพาร์ตเมนท์ของเรายังไม่เรียบร้อย,
ได้เปิดโทรทัศน์.
พวกเราทั้งหมดกำลังดูข่าวยามค่ำ, คงแถลงโดย วอลเตอร์ ครองไคท์, โฆษกอ่านข่าวผู้เรืองนามของ
ซีบีเอส. และแล้วมันก็โผล่ขึ้นมา,
การฆาตกรรม มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในโรงแรมเมมฟิส, และตามด้วยข่าวการจลาจล
ที่แพร่ขยายไปทั่วอเมริกา และ, ในที่สุด, เป็นการถ่ายทอดสุนทรพจน์บทยาวของเขา
“ผมมีความฝันหนึ่ง”.
It was only then, I think, that I began to realize who
Martin Luther King had been, what we had lost with his departure
from this world, the legend he was becoming before my very eyes. In later
years, I would often return to that speech and would, on each occasion, hew
from its mountain of meanings a different rock upon which to stand and
understand the world.
ตอนนั้นเองที่, ผมคิดว่า, ผมเริ่มตระหนักว่า ใครคือ มาร์ติน
ลูเธอร์ คิง และเป็นมาอย่างไร,
อันเป็นสิ่งที่ผมได้สูญเสียไปพร้อมกับการไปจากโลกนี้ของเขา,
เขากำลังกลายเป็นตำนานต่อหน้าต่อตาของผม.
ในปีหลังๆ, ผมมักกลับไปที่สุนทรพจน์นั้น และจะ, ในแต่ละโอกาส, หักล้างถางพงจากขุนเขาแห่งความหมายอันมากมาย
เพื่อแสวงหาหินก้อนใหม่ที่จะเป็นฐานให้ผมยืนและเข้าใจโลกได้.
Beyond my amazement at King’s eloquence, my immediate
reaction was not so much to be inspired as to be puzzled, close to despair.
After all, the slaying of this man of peace was answered not by a pledge to
persevere in his legacy, but by furious uprisings in the slums of black
America. The disenfranchised were avenging their dead leader by burning
down the ghettos in which they felt themselves imprisoned and impoverished,
using the fire this time to proclaim that the non-violence King had advocated
was useless, that the only way to end inequity in this world was through the
barrel of a gun, that the only way to make the powerful pay attention was to
scare the hell out of them.
เหนือกว่าความอัศจรรย์ใจต่อคำพูดโน้มน้าวจับใจของ คิง, ปฏิกิริยาในบัดดลของผม
ไม่ได้อยู่ที่แรงบันดาลใจ แต่เป็นความฉงน, เกือบเป็นความสิ้นหวัง. และแล้ว, การสังหารชายแห่งสันติภาพผู้นี้
ถูกขานรับไม่ใช่ด้วยการประกาศว่าจะพากเพียรอดทน/ขันติ อันเป็นตำนานของเขา,
แต่ด้วยการจลาจลกราดเกรี้ยวในสลัมของอเมริกาผิวดำ. ผู้ด้อยโอกาสที่ถูกกีดกันสิทธิ์
กำลังล้างแค้นให้ผู้นำของพวกเขาที่ตายไป
ด้วยการเผาสลัมแออัดที่พวกเขาอยู่อาศัยและรู้สึกว่า
มันเป็นคุกกักขังและทำให้พวกเขายากจน, การใช้ไฟครั้งนี้ เพื่อประกาศว่า อหิงสาที่ คิง
ได้รณรงค์มาตลอด ใช้ไม่ได้, ว่า ทางเดียวที่จะยุติความไม่เท่าเทียมในโลกนี้ คือ
ด้วยกระบอกปืน, ว่า ทางเดียวที่ผู้มีอำนาจจะหันมาสนใจ คือ ทำให้พวกเขาตื่นตระหนกพรั่นพรึง.
King’s assassination, therefore, savagely brought up a
question that was already bedeviling me -- and so many other activists -- in
the late sixties: What was the best method to achieve radical change? Could we
picture a rebellion in the way that Martin Luther King had envisioned it,
without drinking from the cup of bitterness and hatred, without treating our
adversaries as they had treated us? Or did the road into the palace of justice
and the bright day of brotherhood inevitably lead through fields of
violence? Was violence truly the unavoidable midwife of revolution?
ด้วยเหตุนี้, การลอบสังหาร คิง ได้ตั้งถามดุร้าย
ดังที่ได้สิงในตัวผมอยู่แล้ว—และในนักกิจกรรมอีกหลายต่อหลายคน—ในยุคทศวรรษ ๒๕๐๓- (1960’s):
อะไรเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดถอนรากถอนโคน? เรามองเห็นภาพการปฏิวัติตามวิสัยทัศน์ของ
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง, โดยปราศจากการดื่มความขมขื่นและเกลียดชัง,
ปราศจากการกระทำต่อปฏิปักษ์ของเรา ดังที่พวกเขาได้กระทำต่อพวกเรา ได้ไหม? หรือ ถนนสู่วังเวียงแห่งความยุติธรรม และ
วันแห่งแสงสว่างของภราดรภาพ ได้นำเราให้ผ่านท้องทุ่งแห่งความรุนแรงอย่างเลี่ยงไม่ได้? ความรุนแรงเป็นหมอตำแยที่เลี่ยงไม่ได้ของการปฏิวัติหรือ?
Martin Luther King and the Dream of a Revolutionary Chile
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และ
ความฝันของการปฏิวัติใน ชิลี
These were questions that, back in Chile, I would soon be
forced to answer, not through cloudy theoretical musings, but while immersed in
the day-to-day reality of history-in-the-making. I’m talking about the
years after 1970 when Salvador Allende was elected Chile’s president and we
became the first country to try to build socialism through peaceful means.
Allende’s vision of social change, elaborated over decades of struggle and
thought, was similar to King’s, even though they came from very different
political and cultural traditions.
เหล่านี้เป็นคำถามที่, ย้อนกลับไปใน ชิลี, ผมจะต้องถูกบังคับให้ตอบ,
ไม่ใช่ด้วยการลุยผ่านเมฆหมอกรำพึงรำพันทางทฤษฎี,
แต่ท่ามกลางความจริงในชีวิตประจำวันของการสร้างประวัติศาสตร์. ผมกำลังพูดถึงห้วงปีหลังจาก ๒๕๑๓ เมื่อ
ซัลวาดอร์ อัลเลนเด ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของ ชิลี และ
เราก็กลายเป็นประเทศแรก ที่พยายามสร้างสังคมนิยมด้วยสันติวิถี. วิสัยทัศน์การเปลี่ยนสังคมของ อัลเลนเด,
ซึ่งได้ประดิษฐ์ประดอยมาหลายทศวรรษด้วยการดิ้นรนต่อสู้และครุ่นคิด,
คล้ายคลึงกับวิสัยทัศน์ของ คิง, แม้ว่า ทั้งสองจะมาจากขนบทางการเมืองและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างยิ่ง.
Allende, for instance, was not at all religious and would
not have agreed with King that physical force must be met with soul
force. He favored instead the force of social organizing. At a time when
many in Latin America were still dazzled by the armed struggle proposed by
Fidel Castro and Che Guevara, however, it was Allende’s singular accomplishment
to imagine the two quests of our era to be inextricably connected: the quest by
the dispossessed of this Earth for more democracy as well as civil freedoms,
and the parallel quest for social justice and economic empowerment.
อัลเลนเด, ยกตัวอย่าง, ไม่เชื่อศาสนาเลย และ คงไม่เห็นพ้องกับ
คิง ที่ว่า พละกำลังทางกาย จะต้องเสมอกับ พละกำลังทางวิญญาณ.
เขาฝักใฝ่กับการจัดองค์กรสังคมด้วยการใช้กำลัง. ในขณะนั้น หลายๆ คนในลาตินอเมริกา ยังคงตื่นตาตื่นใจกับการต่อสู้ติดอาวุธที่นำเสนอโดย
ฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา, แต่, มันเป็นผลงานเดี่ยวของ อัลเลนเด
ที่จินตนาการได้ว่า การแสวงหาทั้งสองทางในยุคของเรา
เชื่อมต่อกันอย่างแบ่งแยกไม่ได้:
การแสวงหาของเหล่าผู้ถูกกีดกันของโลก เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยเต็มใบขึ้น รวมทั้ง
เสรีภาพของพลเมือง, และ การแสวงหาคู่ขนานเพื่อให้ได้สังคมเป็นธรรมและเสริมสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ.
Unfortunately, it was Allende’s fate to echo King’s.
Three years after King's death in Memphis, it was Allende’s choice to die in
the midst of a Washington-backed military coup against his democratic
government in the presidential palace in Santiago, Chile.
โชคไม่ดี, มันเป็นชะตากรรมของอัลเลนเด
ที่เป็นเสียงสะท้อนชะตากรรมของ คิง.
สามปีหลังจากการตายของ คิง ในเมมฟิส, มันเป็นทางเลือกของ อัลเลนเด ที่จะตายท่ามกลางดารรัฐประหารโดยกองทัพที่มีวอชิงตันหนุนหลัง
ต่อต้านรัฐบาลประชาธิปไตยของเขา ในทำเนียบประธานาธิบดีใน ซานติอาโก, ชิลี.
Yes, on the first 9/11 -- September 11, 1973 -- almost 10
years to the day since King’s “I have a dream” speech, Allende chose to die
defending his own dream, promising us, in his last speech, that sooner, not
later, más temprano que tarde, a day would come when the free men and
women of Chile would walk through las amplias alamedas, the great
avenues full of trees, toward a better society.
ถูกต้อง, เมื่อ 9/11 ครั้งแรก—๑๑ กันยายน ๒๕๑๖—เกือบ ๑๐ ปี หลังจากวันที่ คิง กล่าวสุนทรพจน์
“ผมมีความฝันหนึ่ง”, อัลเลนเด เลือกที่จะตาย เพื่อปกป้องความฝันของเขาเอง, ด้วยคำสัญญาในสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา,
ว่า อีกเร็วๆ นี้, ไม่ใช่ช้ากว่านี้, ..., วันหนึ่งจะมาถึง
เมื่อชายและหญิงเสรีชนแห่ง ชิลี จะเดินผ่าน ..., ถนนกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้,
สู่สังคมที่ดีกว่า.
It was in the immediate aftermath of that terrible defeat,
as we watched the powerful of Chile impose upon us the terror that we had not
wanted to visit upon them, it was then, as our nonviolence was met with
executions and torture and disappearances, it was only then, after that
military coup, that I first began to seriously commune with Martin Luther King,
that his speech on the steps of the Lincoln Memorial came back to haunt me. It
was as I left Chile and headed, with wife and child, into an exile lasting many
years that King’s voice and message began to filter fully, word by word, into
my life.
มันเป็นช่วงเวลาทันทีทันใดหลังจากการพ่ายแพ้ที่ร้ายกาจนั้น,
ในขณะที่เราเฝ้าดูผู้เรืองอำนาจของ ชิลี ถาโถมความรุนแรงที่น่าสพรึงกลัวใส่พวกเรา
โดยไม่ได้รับเชิญ, ช่วงนั้นแหละ, ในขณะที่อหิงสาของพวกเรา
ถูกตอบรับด้วยการประหารชีวิตและการทรมานและการหายสาบสูญ, มันถึงตอนนั้นเท่านั้น,
หลังจากรัฐประหารด้วยกองทัพ, ที่ผมเป็นครั้งแรก เริ่มสื่อสารกับ มาร์ติน ลูเธอร์
คิง อย่างจริงจัง, ที่สุนทรพจน์ของเขา ณ ขั้นบันไดของอนุสรณ์สถานลินคอล์น
ได้กลับมาหลอนผม. มันเป็นเวลาที่ผมได้ละลา
ชิลี และมุ่งสู่, พร้อมกับภรรยาและลูก, การเนรเทศ ซึ่งกินเวลาหลายปี
ที่เสียงและสาส์นของ คิง เริ่มซึมซาบในชีวิตของผมเต็มที่, ทุกๆ คำพูด.
If ever there were a situation where violence could be
justified, it would have been against the military junta in Chile led by
Augusto Pinochet. He and his generals had overthrown a constitutional
government and were now murdering, torturing, imprisoning, and persecuting
citizens whose radical sin had been to imagine a world where you would not need
to massacre your opponents in order to allow the waters of justice to
flow.
หากมีสถานการณ์หนึ่งใด ที่มีความชอบธรรมให้ใช้ความรุนแรงได้,
มันคงเป็นการต่อต้านกองทหารพรานใน ชิลี ที่นำโดย ออกัสโต ปิโนเช่. เขาและเหล่านายพลของเขา ได้โค่นรัฐบาลที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
และ ต่อมาก็ทำการฆาตกรรม, ทารุณกรรม, จำขัง, และ ปราบปรามพลเมือง
ผู้ซึ่งบาปสุดโต่งของพวกเขา คือ จินตนาการโลกใบหนึ่ง ที่คุณไม่จำเป็นต้องสังหารหมู่คู่อริ
เพื่อปล่อยให้สายน้ำแห่งความยุติธรรมไหลผ่านได้.
The Dogs of Mississippi and Valparaiso /
สุนัขแห่งมิสซิสซิปปี และ วาลปาไรโซ
And yet, very wisely, almost instinctively, the Chilean
resistance embraced a different route: slowly, resolutely, dangerously taking
over every possible inch of public space in the country, isolating the
dictatorship inside and outside our nation, making Chile ungovernable through
civil disobedience. It was not entirely different from the strategy that the
civil rights movement had espoused in the United States; and, indeed, I never
felt closer to Martin Luther King than during the 17 years it took us to free
Chile of the dictatorship.
แต่แล้ว, อย่างชาญฉลาด เกือบตามสัญชาตญาณ, ชาวชิลีกลุ่มต่อต้าน
ได้ใช้วิธีอื่น:
ช้าๆ, มุ่งมั่น, อันตราย รุกคืบไปในพื้นที่สาธารณะทุกๆ นิ้วที่เข้าไปได้ในประเทศ,
แยกเผด็จการทั้งในและนอกประเทศออกให้อยู่โดดเดี่ยว, ทำให้ ชิลี
ปกครองไม่ได้ด้วยวิธีอารยะขัดขืน.
มันไม่ได้ต่างจากยุทธวิธีของขบวนการสิทธิพลเมือง (แบ่งผิว)
ที่เจริญงอกงามในสหรัฐฯ ทั้งหมด; และ อันที่จริง
ผมไม่เคยรู้สึกใกล้ชิด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง มากไปกว่าความรู้สึกในช่วง ๑๗ ปีที่พวกเราทำการปลดปล่อย
ชิลี จากเผด็จการ.
His words to the militants who thronged to Washington in
1963, demanding that they not lose faith, resonated with me, comforted my sad
heart. He was speaking prophetically to me, to us, when he said, “I am not
unmindful that some of you have come here out of great trials and tribulations.
Some of you have come fresh from narrow cells.”
He was speaking to us, to me, when he thundered, “Some of
you come from areas where your quest for freedom left you battered by the
storms of persecution and staggered by the winds of police brutality. You have
been the veterans of creative suffering.” He understood that more difficult
than going to your first protest was awakening the following morning and
heading for the next protest, and then the one after, engaging, that is, in the
daily grind of small acts that can lead to large and lethal consequences.
คำพูดของเขาต่อบรรดานักต่อสู้แข็งข้อ
ที่เดินแถวสู่วอชิงตันในปี ๒๕๐๖, เรียกร้องให้พวกเขาอย่าสูญศรัทธา, ส่งกระแสคลื่นเข้าจังหวะกับผม,
ช่วยปลอบประโลมหัวใจอันเศร้าสร้อยของผม.
เขาพูดเชิงพยากรณ์ต่อผม, เมื่อเขาพูดว่า, “ผมไม่ใช่ไม่รู้หรอกนะว่า
พวกคุณบางคน มาที่นี่ เพราะความยากแค้นแสนเข็ญ.
พวกคุณบางคน เพิ่งออกมาจากห้องกักขังแคบๆ”. เขากำลังพูดกับพวกเรา, กับผม,
เมื่อเขาแผดเสียง, “พวกคุณบางคนมาจากพื้นที่ๆ การแสวงหาอิสรภาพของคุณ
ทำให้คุณถูกทุบตีด้วยพายุของการประหัตประหาร และ ถูกซัดเซด้วยลมแห่งทารุณกรรมของตำรวจ. คุณได้เป็นทหารผ่านศึกของความทุกข์เข็ญแบบสร้างสรรค์”. เขาเข้าใจว่า
สิ่งที่ยากกว่าการไปร่วมประท้วงครั้งแรก คือ การตื่นขึ้นในเช้าวันรุ่งขึ้น และ
มุ่งหน้าไปร่วมการประท้วงครั้งต่อไป, และก็ไปครั้งหลังจากนั้น,
ร่วมกิจกรรมอันเป็นการกระทำเล็กๆ น้อยๆ
ประจำวันที่สามารถนำไปสู่ผลพวงที่ใหญ่หลวงกว่าและถึงตายได้.
The sheriffs and dogs of Alabama and Mississippi were alive
and well in the streets of Santiago and Valparaiso, and so was the spirit that
had encouraged defenseless men, women, and children to be mowed down, beaten,
bombed, harassed, and yet continue to confront their oppressors with the only
weapons available to them: the suffering of their bodies and the conviction
that nothing could make them turn back.
นายตำรวจและสุนัขของอลาบามา และ มิสซิสซิปปี
ยังมีชีวิตและอยู่ดีในท้องถนนของ ซานติอาโก และ วาลปาไรโซ, และก็เป็นเช่นนั้นด้วยกับความกระเหี้ยนกระหือที่จะปราบปราม,
ทุบตี, ทิ้งระเบิด, ข่มเหง ชาย, หญิง, และเด็กๆ ที่ไม่มีเครื่องป้องกันตัวเอง,
แต่ก็ต้องเผชิญกับผู้กดขี่ด้วยอาวุธเพียงชิ้นเดียวที่มีอยู่: ความทุกข์ทรมานบนร่างกาย และ ความเชื่อมั่นที่ว่า ไม่มีสิ่งใดจะสามารถทำให้พวกเขาหันหลังกลับได้.
Like the blacks in the United States, so in Chile we sang in
the streets of the cities that had been stolen from us. Not spirituals, for
every land has its own songs. In Chile we sang, over and over, the Ode to
Joy from Beethoven’s Ninth Symphony, the hope that a day would come when
all men would be brothers.
เช่นเดียวกับชาวผิวดำในสหรัฐฯ, ในชิลี เราร้องเพลงในท้องถนนของเมืองต่างๆ
ที่ถูกปล้นไปจากพวกเรา. ไม่ใช่เป็นพวกฝักใฝ่ทางจิตวิญญาณ,
เพราะทุกดินแดนย่อมมีบทเพลงของตนเอง.
ในชิลี เราร้องเพลง, ซ้ำแล้วซ้ำเล่า, Ode
to Joy (โคลงแห่งความปรีดา) จาก ซิมโฟนีลำดับที่เก้า ของ บีโทเฟน, ด้วยความหวังว่า
สักวันหนึ่งจะมาถึง เมื่อคนทั้งมวลเป็นพี่น้องกัน.
Why were we singing? To give ourselves courage, of course,
but not only that. In Chile, we sang and stood against the hoses and tear gas
and truncheons, because we knew that somebody else was watching. In this, we
were also following in the media-savvy footsteps of Martin Luther King.
After all, that mismatched confrontation between a police state and the people
was being photographed or filmed and transmitted to other eyes. In the deep
south of the United States, the audience was the majority of the American
people; while in that other struggle years later in the deeper south of Chile,
the daily spectacle of peaceful men and women being repressed by the agents of
terror targeted national and international forces whose support Pinochet and
his dependent third world dictatorship needed in order to survive.
ทำไมพวกเราถึงร้องเพลง?
เพื่อให้พวกเราเองมีความหาญกล้า, แน่นอน, แต่ไม่ใช่เพียงเท่านั้น. ใน ชิลี, เราร้องเพลงและยืนปะทะกับท่ออัดฉีดน้ำ
และก๊าซน้ำตาและ กระบองตำรวจ, เพราะเรารู้ว่า ยังมีบางคนเฝ้ามองพวกเราอยู่. ในด้านนี้, พวกเราเดินตามรอยเท้าของ มาร์ติน
ลูเธอร์ คิง ที่รู้ใจสื่อ. ทั้งหมดนี้,
การเผชิญหน้าอย่างเทียบกำลังกันไม่ได้ระหว่าง ตำรวจรัฐ และ ประชาชน
ก็ถูกบันทึกภาพและถ่ายเป็นภาพยนตร์ และ เผยแพร่สู่สายตาอื่นๆ. ในตอนใต้สุดของสหรัฐฯ, ผู้ชมคือ
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่; ในขณะที่ในการต่อสู้ในปีหลังๆ ในตอนใต้สุดๆ ของชิลี, ภาพประจำวันของชายหญิงที่อยู่อย่างสันติ
ถูกปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการอันน่าสพรึงกลัว เป็นเป้าของกองกำลังแห่งชาติและนานาชาติ
ที่ให้การสนับสนุน ที่ปิโนเช่และพรรคพวก เผด็จการในโลกที่สาม
จำเป็นต้องพึ่งเพื่อความอยู่รอด.
The tactic worked because we understood, as Gandhi and King
had before us, that our adversaries could be influenced and shamed by public
opinion, and could in this fashion eventually be compelled to relinquish power.
That is how segregation was defeated in the South; that is how the Chilean
people beat Pinochet in a plebiscite in 1988 that led to democracy in 1990;
that is the story of the downfall of tyrannies around the world, more than ever
today, from the streets of Burma to the cities of the Arab Spring.
กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผล เพราะเราเข้าใจ, ดังที่ คานธี และ คิง
เข้าใจก่อนหน้าพวกเรา, ว่า ปรปักษ์ของเราสามารถถูกกดดันและทำให้ละอายด้วยความเห็นสาธราณะได้,
และด้วยวิธีนี้ ในที่สุด อาจถูกบีบให้ละทิ้งอำนาจได้. นั่นเป็นวิธีทำให้การแยกสีผิวพ่ายแพ้ในแถบใต้; นั่นเป็นวิธีที่ชาวชิลี โค่น ปิโนเช่ ในการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศในปี
๒๕๓๑ ที่นำไปสู่ประชาธิปไตยในปี ๒๕๓๓; นั่นเป็นเรื่องเล่าถึงการโค่นล้มของทรราชย์ทั่วโลก,
มากยิ่งขึ้นในทุกวันนี้, จากท้องถนนของพม่า ถึง เมืองต่างๆ ของอาหรับสปริง.
King in the Age of Surveillance / คิง ในยุคสอดแนม
And what of this moment? When I return to that speech I
first heard 45 years ago, the very day King died, is there still a message for
me, for us, something we need to hear again as if we were listening to those
words for the first time?
แล้วตอนนี้เป็นอะไร?
เมื่อผมกลับไปฟังสุนทรพจน์ที่ผมได้ยินเป็นครั้งแรกเมื่อ ๔๕ ปีก่อน, วันที่
คิง ตายไป, ยังมีสาระอะไรสำหรับผม, สำหรับพวกเรา, บางอย่างที่เราจำเป็นต้องฟังอีกครั้ง
ประหนึ่งว่า เรากำลังฟังคำพูดเหล่านั้นเป็นครั้งแรกไหม?
What would Martin Luther King say if he could return to
contemplate what his country has become since his death? What if he could see
how the terror and slaughter brought to bear upon New York and Washington on
September 11, 2001, had turned his people into a fearful, vengeful nation,
ready to stop dreaming, ready to abridge their own freedoms in order to be
secure? What if he could see how that obsession with security has fed espionage
services and a military-industrial complex run amok?
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จะพูดอะไร หากเขาสามารถกลับมาครุ่นคิดถึงความเป็นไปของประเทศทุกวันนี้
ตั้งแต่เขาได้ตายจากไป? อะไรจะเกิดขึ้น
หากเขาได้เห็นความน่าสะพรึงกลัวและการเข่นฆ่าที่เกิดขึ้นที่นิวยอร์กและวอชิงตัน
เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔, ได้ทำให้ประชาชนของเขากลายเป็นชนชาติที่หวาดกลัว,
อาฆาต, พร้อมที่จะหยุดฝันใฝ่, พร้อมที่จะตัดทอนอิสรภาพของตนเองเพื่อความมั่นคง? อะไรจะเกิดขึ้น หากเขาได้เห็นว่า ความหมกมุ่นอยู่กับความมั่นคงได้หล่อเลี้ยงการบริการด้านจารกรรมและการจับมือกันของกองทัพ-อุตสาหกรรมให้อาละวาดไปทั่ว?
What would he say if he could observe how that fear was
manipulated in order to justify the invasion and occupation of a foreign land
against the will of its people? How would he react to the newest laws
disenfranchising the very citizens he fought to bring to the voting booths?
What sorrow would have gripped his heart as he watched the rich thrive and the
poor be ever more neglected and despised, as he observed the growing abyss
between the one percent and the rest of the country, not to speak of the power
of money to intervene and intercede and decide?
เขาจะพูดอะไร หากเขาได้มาสังเกตเห็นว่า ความกลัวได้ถูกกำกับควบคุมอย่างไรเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การบุกรุกและยึดครองต่างแดนที่ตรงข้ามกับความประสงค์ของประชาชนในถิ่นนั้น? เขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ต่อกฎหมายฉบับล่าสุดที่ริดลอนสิทธิ์ของพลเมืองที่เขาได้ต่อสู้เพื่อนำพวกเขาให้เข้าสู่คูหาลงคะแนนเสียงได้? หัวใจของเขาจะถูกรุมเร้าด้วยความเศร้าโศกขนาดไหน
ในขณะที่เขาเฝ้ามอง เห็นคนรวยยิ่งเจริญงอกงาม และ คนจนก็ถูกทอดทิ้งและรังเกียจมากขึ้นกว่าเดิม,
ในขณะที่เขาสังเกตเห็นห้วงเหวที่ขยายกว้างและลึกขึ้น ระหว่างพวก 1% และ ส่วนที่เหลือในประเทศ, นี่ยังไม่ต้องพูดถึงอำนาจของเงินที่แทรกแซง
และ ขัดขวาง และ ตัดสิน?
What words would he have used to denounce the way the
government surveillance he was under is now commonplace and pervasive,
potentially targeting anyone in the United States who happens to own a phone or
use email? Wouldn’t he tell those who oppose these policies and institutions
inside and outside the United States to stand up and be counted, to march
ahead, and not ever to wallow in the valley of despair?
เขาจะใช้คำพูดอะไร
เพื่อประณามวิธีการสอดแนมของรัฐบาลที่เขาเคยอยู่ภายใต้มัน แต่บัดนี้
กลายเป็นของธรรมดาและมีอยู่ทุกแห่งหน, จะพุ่งเป้าไปที่คนใดก็ได้ในสหรัฐฯ
ผู้ใดที่มีโทรศัพท์ หรือใช้อีเมล? เขาจะบอกไหม
ต่อคนที่ต่อต้านนโยบายและสถาบันเหล่านี้ทั้งในและนอกสหรัฐฯ ให้ลุกขึ้น
และเข้าชื่อ, เพื่อเดินประท้วงไปข้างหน้า,
และจะไม่ยอมถูกกลืนเข้าไปในหุบเขาแห่งความสิ้นหวังเป็นอันขาด?
That’s my belief. That he would repeat some of the words he
delivered on that now-distant day in the shadow of the statue of Abraham
Lincoln. My guess is that he would once again affirm his faith in the
potential of his country. He would undoubtedly point out that his dream
remained rooted in an American dream which, in spite of all the difficulties
and frustrations of the moment, was still alive; that his nation still had the
ability to rise up and live out the true meaning of its original creed, summed
up in the words “we hold these truths to be self-evident: that all men are
created equal.”
นี่เป็นความเชื่อของผม.
ว่าเขาจะพูดบางคำพูดเดิมซ้ำๆ ที่เขาได้กล่าวในวันอันไกลโพ้นในอดีต
ในร่มเงาของอนุสาวรีย์ของ อับราฮัม ลินคอล์น.
ผมเดาว่า เขาคงตอกย้ำอีกครั้งถึงความศรัทธาของเขาในศักยภาพของประเทศของเขา. ไม่ต้องสงสัย เขาจะชี้ให้เห็นว่า
ความฝันของเขายังหยั่งรากอยู่ใน ฝันอเมริกันหนึ่ง ซึ่ง,
แม้จะมีความยากลำบากและอึดอัดใจทั้งปวงในช่วงเวลาหนึ่งๆ, ยังมีชีวิตอยู่; ว่า ประเทศชาติของเขา ยังมีความสามารถที่จะลุกขึ้นยืน และ
ยังชีพบนความหมายที่แท้จริงของ หลักความเชื่อแรกเริ่ม, สรุปรวมในคำพูด “เราถือว่า
ความจริงเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในตัวของมันเอง: ว่า
คนทั้งปวงถูกสร้างมาให้เท่าเทียมกัน”.
Let us hope that his faith in us was and still is on the
mark. Let us hope and pray, for his sake and ours, that his faith in his own
country was not misplaced and that 50 years later his compatriots will once
again listen to his fierce yet gentle voice calling on them from beyond death
and beyond fear, calling on all of us, here and abroad, to stand together for
freedom and justice in our time.
ขอให้เราหวังว่า ความศรัทธาของเขาในพวกเรา เคยมีอยู่ และ ยังปรากฏอยู่. ขอให้เราหวังและอ้อนวอน, เพื่อเขาและพวกเรา,
ว่าความศรัทธาของเขาในประเทศของเขาเอง ไม่ได้ผิดที่ผิดทาง และ ว่า ๕๐ ปีให้หลัง
เพื่อนร่วมชาติของเขา จะยังฟังเสียงอันดุดัน แต่อ่อนโยนของเขา เรียกร้องพวกเขาจากแดนโพ้นความตายและความกลัว,
เรียกร้องพวกเราทั้งหมด, ที่นี่และในต่างแดน, ให้ลุกขึ้นด้วยกัน
เพื่ออิสรภาพและความยุติธรรมในยุคของเรา.
Copyright 2013 Ariel Dorfman
Ariel Dorfman is a Chilean-American writer. His books have
been published in over 40 languages and his plays staged in more than one
hundred countries. He is the author, most recently, of Feeding on Dreams: Confessions of an
Unrepentant Exile (Houghton Mifflin Harcourt). His
website, including a message to his readers, can be viewed by clicking here.
แอเรียล ดอร์ฟแมน เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน
เชื้อสายชิลี. หนังสือของเขาถูกตีพิมพ์ใน
๔๐ กว่าภาษา และ บทละครของเขาก็ขึ้นเวทีแสดงในกว่า ๑๐๐ ประเทศ. เขาเป็นนักประพันธ์, หนังสือล่าสุด, “มีชีวิตด้วยความฝัน: คำสารภาพของการเนรเทศที่ไม่เสียใจในความผิด” (Houghton Mifflin Harcourt).
Strange is our situation
here upon earth. Each of us comes for a short visit, not knowing why, yet
sometimes seeming to a divine purpose. From the standpoint of daily life,
however, there is one thing we do know: That we are here for the sake of
others… for the countless unknown souls with whose fate we are connected by a
bond of sympathy. Many times a day, I realize how much my outer and inner life
is built upon the labors of people, both living and dead, and how earnestly I
must exert myself in order to give in return as much as I have received.
Albert Einstein